Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

China's shock move to trigger the biggest one-day decline in its currency for more than 20 years is evidence that the currency wars are still live.” ที่มา: Bloomberg View (Aug. 11, 2015)

พิมพ์ PDF

ความหมาย: Currency War คืออะไร?

หลังจากที่จีนได้ประกาศปรับลดค่าเงินหยวน (Renminbi; CNY) ลงเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา สถาบันการเงินและตลาดหลักทรัพย์หลายแห่งทั่วโลกต่างมีปฏิกิริยาที่แสดงถึงความวิตกว่าการลดค่าเงินของจีนจะเป็นการเปิดฉาก “สงครามค่าเงิน” (currency war) ครั้งใหม่หรือไม่

คำว่า “currency war” ในความหมายปัจจุบันนั้นเป็นคำที่นายกิดู มันเตกา (Guido Mantega) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของบราซิล กล่าวขึ้นในปี 2010 เพื่อใช้เรียกสถานการณ์ที่นานาประเทศดำเนินนโยบายลดค่าเงินตามๆ กัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกของประเทศ หรือที่เรียกอีกอย่างว่า “competitive devaluation” (การแข่งขันด้านนโยบายค่าเงินอ่อน)

 

สาเหตุ: ทำไมถึงเกิด currency war ขึ้น?

โดยทั่วไป สงครามค่าเงินมีจุดเริ่มต้นจากการที่ประเทศหนึ่ง (สมมุติให้เป็นประเทศ ก.) ต้องการกระตุ้นให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจ และได้ตัดสินใจใช้นโยบายการลดค่าเงิน หลังจากนั้นอัตราแลกเปลี่ยนที่ลดลงจะส่งผลให้สินค้าของประเทศ ก. มีราคาถูกลงในสายตาของประเทศผู้นำเข้า ทำให้เกิดข้อได้เปรียบในการส่งออก 2 ประการ ได้แก่ 1.) สินค้าส่งออกสามารถเข้าถึงประเทศต่างๆ ได้มากขึ้น (higher affordability) 2.) ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ก. จะสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ไม่ได้ปรับลดค่าเงิน (higher competitiveness)

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการลดค่าเงินจะเป็นการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศผู้วางนโยบาย แต่ทว่าผลประโยชน์ดังกล่าวนั้นต้องแลกมาด้วยความสูญเสียของประเทศที่เป็นคู่แข่งทางการค้า จึงมีการเรียกนโยบายประเภทนี้ว่าเป็น “นโยบายผลักเพื่อนบ้านให้เป็นยาจก” (Beggar-thy-neighbor policy) กล่าวคือ เมื่อประเทศ ก. ใช้นโยบายการลดค่าเงินจนทำให้มีส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้น ประเทศอื่นๆ ย่อมมีส่วนแบ่งการตลาดที่ลดลง จนสุดท้ายประเทศเหล่านี้จำเป็นต้องลดค่าเงินลงตามประเทศ ก. เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกของตนไว้ เมื่อแต่ละประเทศปรับลดค่าเงินตามๆ กันเป็นลูกโซ่ ก็จะอุบัติเป็นสงครามค่าเงินขึ้นในที่สุด

กลไก: รัฐบาลทำอย่างไรได้บ้างเพื่อลดค่าเงิน?

ผู้ที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่สงครามค่าเงิน คือ ธนาคารกลางของแต่ละระบบเศรษฐกิจ เช่น ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (FED) ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น ทั้งนี้ ธนาคารกลางมีวิธีที่นิยมใช้ในการลดค่าเงิน ดังต่อไปนี้

 

1.) มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE (Quantitative Easing) เป็นนโยบายทางการเงินที่ธนาคารกลางพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการเพิ่มปริมาณเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจผ่านการซื้อสินทรัพย์บางประเภท เช่น พันธบัตร จากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นๆ กระบวนการดังกล่าวจะก่อให้เกิดการไหลออกของเงินทุน พร้อมทั้งทำให้อุปทานของเงินสกุลนั้นสูงขึ้น จึงนำไปสู่การอ่อนค่าของสกุลเงินของประเทศตามการทำงานของกลไกตลาด

 

2.) การกำหนดค่าเงินโดยตรง เป็นการที่ธนาคารกลางกำหนดค่าเงินไปเลยโดยไม่ผ่านกลไกตลาด เช่น การที่ธนาคารกลางจีน (PBoC) ประกาศปรับลดค่าเงินหยวนลง 1.9% จากระดับ 6.116 หยวนเป็น 6.229 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา

 

3.) วิธีอื่นๆ อาทิ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางใช้กำหนดทิศทางการดำเนินนโยบายการเงิน โดยอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงจะทำให้เกิดการลดลงของอุปสงค์ของสกุลเงินของประเทศ ค่าเงินของประเทศจึงต่ำลงตามกลไกตลาด

 

ภูมิหลัง: Currency War เคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อไร?

ยังไม่มีการกำหนดตายตัวว่า การแข่งขันการลดค่าเงินต้องมีขอบเขตหรือความรุนแรงแค่ไหนถึงจะเรียกว่าเป็น “สงคราม” แต่โดยทั่วไปแล้วจะเข้าใจกันว่า มีสงครามค่าเงินครั้งสำคัญเกิดขึ้นมาแล้วทั้งหมด 3 ครั้ง

 

1.) Currency War ครั้งที่ 1 (1921-1936)

ตั้งแต่ราวๆ ปี 1870 จนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 (1914) หลายประเทศใช้ระบบมาตรฐานทองคำ (gold standard) ซึ่งเป็นระบบที่กำหนดว่าเงิน 1 หน่วยของแต่ละประเทศ สามารถแลกเป็นทองคำได้ในปริมาณเท่าไร ในช่วงเวลาดังกล่าวจึงมีทองคำเป็นตัววัดมูลค่าที่แท้จริง (intrinsic value) ของเงินตรา ต่างจากปัจจุบันที่มูลค่าของเงินสกุลหนึ่งมาจากการเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ ระบบมาตรฐานทองคำที่มั่นคง ประกอบกับการค้าระหว่างประเทศที่ยังไม่แพร่หลาย ทำให้แทบไม่มีการแข่งขันทางค่าเงินเกิดขึ้นก่อนต้นศตวรรษที่ 20 เลย

 

ต่อมาไม่นาน ผลพวงจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (the great depression) ได้ทำให้หลายประเทศยกเลิกการผูกค่าเงินไว้กับทองคำ หลังจากนั้น ประเทศมหาอำนาจอย่าง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ได้เริ่มใช้วิธีการลดค่าเงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการว่างงาน สงครามค่าเงินจึงได้เกิดขึ้นในวงกว้าง อย่างไรก็ตามสงครามค่าเงินครั้งที่ 1 ได้สิ้นสุดลงอย่างสมบูรณ์หลังจากระบบเศรษฐกิจทั่วโลกได้ประชุมและร่วมตกลงกันใช้ระบบเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods System) ในปี 1945

 

2.) Currency War ครั้งที่ 2 (1967-1987)

ภายใต้ระบบเบรตตันวูดส์ ค่าเงินของแต่ละประเทศผูกไว้กับเงินดอลลาร์ โดยค่าเงินดอลลาร์นั้นจะผูกไว้กับทองคำอีกทีหนึ่ง นอกจากนี้ ยังมีข้อบังคับมิให้แต่ละประเทศลดค่าเงินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อีกด้วย ระบบดังกล่าวนี้จึงทำให้การเงินระหว่างประเทศมีเสถียรภาพสูง อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงอัตราเติบโตของเศรษฐกิจสูงขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม สงครามค่าเงินก็ได้อุบัติขึ้นอีกครั้งในปี 1967 เนื่องจากระบบเบรตตันวูดส์เริ่มสั่นคลอนด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น การเสียค่าใช้จ่ายปริมาณมหาศาลของสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนาม ต่อมา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ริชาร์ด นิกสัน ได้ประกาศยกเลิกความสามารถในการแลกเป็นทองคำ (gold convertibility) ของเงินดอลลาร์ในปี 1971 นำไปสู่การล่มสลายของระบบเบรตตันวูดส์ในที่สุด ประเทศต่างๆ ได้ยกเลิกการตรึงค่าเงินกับดอลลาร์และเปลี่ยนไปใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว นานาประเทศจึงเริ่มปฏิบัติการลดค่าเงินเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า

 

3.) Currency War ครั้งที่ 3 (ตั้งแต่ 2010)

การแข่งขันทางค่าเงินครั้งใหญ่เริ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2010 เนื่องจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำปี 2008 หลายประเทศได้เริ่มมาตรการค่าเงินอ่อนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการส่งออกของประเทศ

 

ชนวนของสงครามค่าเงินครั้งนี้ ได้แก่ 1.) การที่จีนตรึงค่าเงินหยวนให้อ่อนค่าจนเกินไป (undervalued yuan) และ 2.) การดำเนินมาตรการ QE ของสหรัฐอเมริกาเนื่องจากเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวจากวิกฤติปี 2008 ทั้งยังไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยได้อีกแล้วเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในขณะนั้นอยู่ที่ระดับ 0-0.25% มาตรการดังกล่าวทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนลงมาก1 และก่อให้เกิดการไหลของเงินทุนออกจากสหรัฐอเมริกาไปยังตลาดเกิดใหม่ของประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูง ค่าเงินของประเทศเหล่านี้จึงแข็งค่าขึ้นและกลายเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกและการเติบโตทางเศรษฐกิจในที่สุด

 

นอกจากสหรัฐอเมริกาและจีนแล้ว ในช่วงเวลาดังกล่าวยังมีอีกหลายประเทศที่พยายามลดค่าเงินของตนลง เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ โคลัมเบีย สวิตเซอร์แลนด์ อิสราเอล เป็นต้น แม้จะยังไม่มีการนิยามคำว่าสงครามค่าเงินอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม คำว่า “currency war” ก็ได้ปรากฏอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์อย่างนับครั้งไม่ถ้วนตั้งแต่มีการสร้างคำนี้ขึ้นมาในปี 2010 ทั้งนี้ แสดงให้เห็นว่ามวลชนกำลังตระหนักถึงการที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ได้แทรกแซงค่าเงินบ่อยครั้งขึ้นนับจากวิกฤตการณ์การเงินปี 2008 โดยประเด็นนี้ได้รับความสนใจอีกครั้งเมื่อจีนประกาศลดค่าเงินเมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

 

สังเกต: มีจุดร่วมอะไรระหว่างสงครามค่าเงินทั้งสามครั้งนี้?

สงครามค่าเงินมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในสภาวะถดถอย

ในภาวะเศรษฐกิจคล่องตัวนั้น ค่าเงินแข็งในระดับอ่อนๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่แต่ละประเทศยอมรับได้ ดังนั้น สงครามค่าเงินจะอุบัติขึ้นในสถานการณ์ที่แม้แต่การหดตัวของการส่งออกอีกเพียงเล็กน้อย เพราะมีประเทศหนึ่งลดค่าเงินก็เป็นสาเหตุที่เพียงพอที่ทำให้แต่ละประเทศปรับลดค่าเงินตามไปด้วย

 

ปัจจุบัน: ทำไมตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกถึงวิตกเมื่อจีนลดค่าเงินหยวน?

เพราะตลาดหลักทรัพย์คาดการณ์ได้ว่าอีกหลายสกุลเงินในระบบเศรษฐกิจโลกจะอ่อนค่าลงตามเงินหยวนไป และอาจจะเกิดสงครามค่าเงินขึ้นอีกครั้ง เงินดอลลาร์ของสหรัฐฯ จะแข็งค่าขึ้น และจะส่งผลให้รายได้การส่งออกของสหรัฐอเมริกาลดลงอย่างมากในภายภาคหน้า

แล้วเหตุการณ์ก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ภายในเวลาเพียง 1 วันหลังจากที่จีนประกาศลดค่าเงิน โดยเริ่มจากเงินวอนของเกาหลีใต้ซึ่งได้อ่อนค่าลงกว่า 1.3% เงินดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนลงเกือบ 1.5% ส่วนเงินบาทอ่อนค่า 0.7% แล้วยังตามด้วยเกือบทุกสกุลเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำถามคือ ทำไมเหตุการณ์ที่ว่านี้ถึงเกิดขึ้นแทบจะทันที ทั้งๆ ที่ผลของการปรับค่าเงิน ยังไม่แสดงออกมาเลย? คำตอบก็คือ นี่เป็นฝีมือของ “ความคาดหมาย” (expectation) ของนักลงทุนและผู้เล่นทั้งหลายในระบบเศรษฐกิจ

 

จีนเป็นระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกด้าน GDP ซึ่งระบบเศรษฐกิจขนาดยักษ์นี้ก็ได้ทำการค้าขายและนำเข้าสินค้าจำนวนมหาศาลจากนานาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตลาดเกิดใหม่ อาทิ ไทย มาเลเซีย เวียดนาม และประเทศในทวีปแอฟริกา เมื่อจีนลดค่าเงินหยวน ผลที่จะตามมาไม่ใช่เพียงการทำให้ยอดการส่งออกของจีนสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้จีนนำเข้าจากต่างประเทศลดลง นักลงทุนคาดการณ์ได้ว่า ประเทศที่พึ่งพาการส่งออกไปจีนจะเสียดุลการส่งออกและอาจเกิดภาวะเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจขึ้น ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนจึงเร่งย้ายเงินทุนออกจากประเทศกลุ่มดังกล่าว ไปไว้ในประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ ส่งผลให้สกุลเงินของประเทศเหล่านั้นอ่อนค่าลงตามลำดับ

 

ผลกระทบ: ถ้าเกิดสงครามค่าเงินขึ้น แล้ว สุดท้ายจะลงเอยอย่างไร?

ทุกคนจะเป็นผู้เสียประโยชน์ หรือไม่ก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย

สงครามค่าเงินนั้นเป็นการ “race to the bottom” กล่าวคือ ทุกประเทศจะแข่งกันลดค่าเงินให้ต่ำที่สุดเพื่อผลประโยชน์จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลประโยชน์ที่ว่านี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อค่าเงินของประเทศตนต่ำกว่าประเทศอื่นๆ แต่เมื่อทุกประเทศต่างลดค่าเงินกันหมด ผลประโยชน์นั้นย่อมหมดความสำคัญลง

 

การลดค่าเงินยังมีต้นทุน หรือข้อเสียอยู่ด้วยหลายประการ ได้แก่ 1.) เป็นการทำให้ค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยราคาการนำเข้าที่สูงขึ้นจะไปลดการลงทุนของบริษัทที่ต้องอาศัยการนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักรจากต่างประเทศ 2.) เมื่อค่าเงินอ่อน หนี้ต่างประเทศจะสูงขึ้น 3.) เป็นการทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจากมูลค่าของสกุลเงินนั้นต่ำลง นอกจากนี้ การนำเข้าที่ลดลงยังเป็นการลดการแข่งขันภายในประเทศ ทำให้ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นไปอีก และ 4.) การแข่งขันด้านการลดค่าเงินยังมีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การใช้นโยบายกีดกันทางการค้า (protectionist policy) เช่น การตั้งกำแพงภาษี ดังที่เคยมีปรากฏในสงครามค่าเงินครั้งที่ 1 ด้วยเหตุนี้ เมื่อทำการลดค่าเงินไปจนถึงจุดหนึ่ง ต้นทุนเหล่านี้จะเริ่มมากกว่าผลประโยชน์ที่ได้ และจะทำให้มาตรการลดค่าเงินค่อยๆ สิ้นสุดลง

 

เรียนรู้: เราจะป้องกันและรับมือการเกิดขึ้นของ currency war ได้อย่างไร?

สงครามค่าเงินนั้น อาจจะมีประเทศใดเป็นชนวนสงครามก็ได้ ซึ่งสามารถคาดการณ์ในระยะยาวได้ยาก ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุด คือการประชุมเพื่อสร้างข้อตกลงระหว่างประเทศ ดังเช่นแถลงการณ์ร่วมจากการประชุมสมาชิก G-20และAPECซึ่งได้กำหนดให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามกลไกตลาด และให้หลีกเลี่ยงการแทรกแซงค่าเงินจากรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงเหล่านี้ใช่ว่าจะป้องกันการเกิดสงครามค่าเงินได้เสมอไป ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ควรให้ความสำคัญคือการเรียนรู้เพื่อลดผลกระทบด้านลบจากสงครามค่าเงินที่เกิดขึ้น เช่น รัฐบาลไทยอาจส่งเสริมให้ธุรกิจการผลิตหันมาใช้การเพิ่มคุณภาพหรือมูลค่า ให้แก่สินค้าที่ผลิต ควบคู่ไปกับการแข่งขันทางราคา เพื่อมิให้ประเทศเสียเปรียบจากการส่งออก รัฐบาลอาจจัดเตรียมหน่วยงานเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการ พร้อมแนะนำให้หลีกเลี่ยงการลงทุนในประเทศที่มีความเสี่ยง เป็นต้น ทั้งนี้รัฐบาลต้องเลือกใช้มาตรการให้เหมาะสมต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อปลดปล่อยประเทศให้หลุดออกจากวงจรการแข่งขันที่พร้อมจะนำความสูญเสียมาได้ทุกเมื่อ

 

1 ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (U.S. Dollar Index) ลดลงจาก 76.5 เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2010 มาต่ำสุดที่ 72.9 เมื่อ 29 เมษายน 2011

คัดลอกจาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/1694

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม 2015 เวลา 16:08 น.
 

Infographic รายงานผลการจัดการความรู้องค์กร 2558

พิมพ์ PDF

คัดลอกจาก https://www.gotoknow.org/posts/594428

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม 2015 เวลา 21:47 น.
 

Dale Carnegie Thailand

พิมพ์ PDF

วันนี้ขอนำคติดีๆของ Dale Carnegie Thailand ที่เผยแพร่บน Facebook ของ Dale Carnegie มาเผยแพร่ในวันนี้

"แรงจูงใจ" เป็นสิ่งที่ทำให้เราเริ่มต้นทำในสิ่งที่เราชื่นชอบ ส่วน "นิสัย" ที่อยู่ในตัวเราจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราทำสิ่งๆนั้นต่อไปได้

 

อย่ามัวแต่ปรารถนาให้ความสำเร็จมาหาเราเอง เราต้องตั้งความหวังและไปให้ถึงความสำเร็จนั้นให้ได

10% ของสิ่งที่เกิดในชีวิตอยู่นอกเหนือการควบคุม
ที่เหลืออีก 90% ขึ้นอยู่กับว่าเราตอบสนองกับสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านั้นอย่างไร

การใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ เราต้องอยู่อย่างปราศจากความกลัวที่จะทำผิด

การเป็นตัวของตัวเอง ยืนหยัดอยู่บนความถูกต้อง เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม เป็นสิ่งที่ควรกระทำ

ถ้าคุณไม่ชอบอะไรซักอย่าง คุณก็ต้องเปลี่ยนสิ่งนั้นให้ได้ และถ้าคุณไม่สามารถเปลี่ยนได้ คุณก็ต้องเปลี่ยนทัศนคติหรือวิธีคิดของคุณเอง ‪#‎สู้ไม่ถอย‬



แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม 2015 เวลา 14:08 น.
 

FUTURECITIES

พิมพ์ PDF

ได้รับ e-mail จาก TMA (Thailand Management Association) เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2558 เชิญให้เข้าร่วมกิจกรรม ของ CNN "CNN International Correspondent,Andrew Stevens for an engaging night of discussion with a panel of speakers including Mr.Arkhom Termpittayapaisith,Minister of Transport and Dr.Piyasvasti Amranand,Chairman of the Board of Director of PTT Public Company Limited,on the importance of infrastructure,advanced technology& Media and what it means for Thailand and for building a better tomorrow ในวันอังคารที่ 20 ตุลาคม 2558 เวลา 18.00-21.30 น ที่ชั้น 14 Astor Ballroom,The St Regis Bangkok ถนนราชดำริ

ผมให้ความสนใจกับกิจกรรมนี้มาก จึงรีบส่งแบบตอบรับไปทันทีในวันที่ 23 กันยายน เวลา 22.55 น และได้รับการตอบรับว่าได้ลงทะเบียนให้แล้วเมื่อวันที่ 24 กันยายน เวลา 15.56 น ในวันงานผมออกจากบ้านเวลา 16.00 น เผื่อเวลาไว้ 2 ชั่วโมงก่อนเริ่มงาน เพราะกลัวรถติด แต่ผิดคาด ตลอดการเดินทางไม่เจอรถติดมาถึงโรงแรมเวลา 17.00 น เหลือเวลาถึง 1 ชั่วโมง จึงเดินออกไปนอกโรงแรมเพื่อชมบรรยากาศรอบๆโรงแรม (ผมไม่ได้ไปบริเวณนั้นนานมากแล้ว) พบโรงแรม 5 ดาว เกิดขึ้นใหม่และโรงแรมเก่าแต่เปลี่ยนชื่อหลายโรงแรมด้วยกัน แวะเข้าไปชมสินค้าในศูนย์การค้าเพนนินซูล่า แทบไม่มีลูกค้า พบเจ้าของร้าน "Museum" บนชั้น 3 ร้านนี้จัดของเหมือกับอยู่ในบ้าน เป็นของตบแต่ง และภาพวาด ได้คุยกันนานพอสมควร จึงทราบว่า ศูนย์การค้านี้เป็นที่ดินของทรัพย์สิน กำลังจะหมดสัญญา เจ้าของโครงการพยายามจะขอต่อสัญญาอีก 30 ปี แต่ไม่ทราบว่าจะตกลงกันได้ไหม ใกล้เวลา 18.00 น จึงเดินกลับไปที่โรงแรมและต่อคิวลงทะเบียน ปรากฎว่า ไม่พบรายชื่อของผม อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ได้ขอนามบัตรผมไปและเขียนชื่อผมติดป้ายผู้เข้าร่วมงานให้ (รู้สึกไม่ค่อยพอใจกับการเตรียมการเรื่องการลงทะเบียนหน้างานเท่าไหร่ ไม่ใช่ผมคนเดียวที่ไม่มีชื่อ มีหลายคนด้วยกัน ทำให้เสัยเวลาในการลงทะเบียนพอสมควร

ตามกำหนดการช่วงเวลา 18.00-19.00 น เป็นช่วง Drinks / Networking พบคนรู้จักไม่กี่คน อย่างไรก็ตามได้พบคนที่ไม่เคยรู้จัก และได้มีการแลกเปลี่ยนนามบัตรและสนทนากัน ประมาณ 5-6 ท่าน เวลา 19.00 น ตรง พิธีกรได้มาเชิญให้เข้าห้องประชุมได้ ที่นั่งจัดเป็นโต๊ะกลมมีเก้าอี้นั่งตัวใหญ่นั่งสบายโต๊ะละประมาณ 8-10 ที่นั่ง ผมเลือกโต๊ะหน้าด้านขวาของเวที และตรงกับจอ เพื่อความสะดวกในการถ่ายรูป  Mr.Andrew Stevens จาก CNN เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมี speakers เป็นคนไทยทั้ง 3 ท่าน 2 ท่านแรกตามรายชื่อที่แจ้งในเอกสารเชิญ ส่วนอีกท่านผมจำไม่ได้ว่าเป็นท่านใดและมาจากไหน ก่อนเริ่มการเสวนามีการนำสนอในเรื่องของการสร้างอุโมงค์ เนื้อหาของการเสวนาไม่แตกต่างจากที่รู้ๆกันอยู่แล้ว ไม่มีสิ่งใดน่าสนใจหรือตื่นเต้น เลิกการเสวนาประมาณ 21.00 น มีผู้ถามข้อสงสัย 2-3 ท่าน ที่น่าสนใจคือเรื่องแผนการคมนาคมทางน้ำ แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบที่เด่นชัด

เหมือนกับผมไม่ได้อะไรเพิ่มเติมจากการเสวนาครั้งนี้ หัวเรื่องดีมาก "FUTURE CITIES" จัดโดย CNN International Correspondent in association with HITACHI เข้าใจว่า TMA เป็นผู้เชิญและดูแลเรื่องการลงทะเบียน เอกสารแจกที่ใส่ถุงเป็นของ HITACHI การเสวนาบน Panel ไม่มีอะไรโดดเด่น อาจเพิ่มเติมความรู้ใหม่จากการฆ่าเวลาในการไปชมร้านขายของในศูนย์การค้า เพนนินซูล่า ได้ข้อมูลจากเจ้าของร้านค้า "MUSEUM" คุณวรรณจิตร กฤษณะมระ ที่ไม่เคยทราบมาก่อน สิ่งที่แปลกใจที่สุดคือ คุณวรรณจิตร ดูเหมือนกับสาววัยรุ่น จากรูปร่างและการแต่งงาน โดยเฉพาะทรงผม ผมเข้าใจว่าคงมีอายุระหว่าง 40-50 ปี ทั้งๆที่อายุจริงของคุณวรรณจิตร คือ 76 ปี

ถ้าผมไม่ใช่คนที่บ้าเอกสารผมคงได้เท่านั้นจริงๆ ผมได้หยิบเอกสารที่โต๊ะลงทะเบียน หลังจากกลับจากเข้าห้องน้ำ (นำมาวางที่หลังจากผมลงทะเบียนแล้ว ) เป็นเอกสารที่เป็นหัวใจของงานในวันนี้ เป็นเอกสารที่ผมไม่เคยเจอและพบเห็นที่ไหนมาก่อน เป็นแผ่นพับเล็กๆ แต่เต็มไปด้วยเนื้อหาที่สมบูรณ์ 2 ฉบับ และเป็นเอกสาร A 4 1 คู่  เป็น Newsletter ขนาด A 4 อีก 1 คู่  เอกสาร 4 ชุดนี้มีค่าเป็นอย่างยิ่ง จึงขอนำมาเผยแพ่ดังนี้

1.เอกสาร THE URBAN CHANGE AGENT ( UddC) ฟื้นฟูเมืองเรื่องของเรา

จุดเริ่มต้นเพื่อคุณภาพที่ยั่งยืน
ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี 2555 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อเป็น “แกนกลาง” (Platform) เชื่อมต่อและบูรณาการความรู้แขนงต่างๆ ผ่านการมองแบบองค์รวม  และประสานงานระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง เพื่อผลักดันให้เกิดโครงการฟื้นฟูเมืองอย่างเป็นรูปธรรม ที่สามารถเป็นพื้นที่นำร่องต้นแบบการฟื้นฟูเมืองประเภทต่างๆ (Urban Renewal Prototype) สำหรับการพัฒนาพื้นที่สำคัญอื่นๆ ต่อไปได้ อีกทั้งยังเป็นคลังสมองที่รวบรวมความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการดำเนินการโครงการฟื้นฟูเมือง เพื่อการเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาเมืองของประเทศไทย และร่วมผลิตบุคลากรเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการออกแบบและพัฒนาเมืองในอนาคตต่อไป

มือขวาคือสัญลักษณ์
UddC ใช้สัญลักษณ์องค์กรเป็นรูป "มือขวา" (RIGHT HAND) ซึ่งสื่อถึงนัยสำคัญของการลงมือนำโครงการฟื้นฟูเมืองสู่การปฏิบัติจริง และการอาสาเป็นแกนกลางในการเชื่อมต่อภาคียุทธศาสตร์ โดยมือขวานี้ประกอบด้วยนิ้วทั้งห้า ที่สื่อความหมายถึงหลักการของการทำงานของเราทั้ง 5 ประการได้แก่

หากนำอักษรตัวแรกของหลักการทั้ง 5 นี้มารวมกัน จะได้คำว่า RIGHT ที่สามารถสื่อความหมายได้ทั้ง มือขวาซึ่งเป็นสัญลักษณ์องค์กร และความถูกต้อง เหมาะสม เป็นธรรม อีกด้วย

(สามารถเข้าไปหารายละเอียดได้ใน www.uddc.net

2.UddC : NEWSLETTER ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2558

3.แผนพับ "กรุงเทพฯ 250 (จัดทำโดย สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร และ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง)

กรุงเทพฯ 250 เป็นโครงการฟื้นฟูเมืองที่ดำเนินการผ่านกระบวนการคาดการณ์อนาคต และการวางแผนแบบร่วมมือหารือของคนหลากหลายกลุ่มเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อและเติมเต็มกับฝังเมืองรวมกรุงเทพมหาหนคร สู่เมืองน่าอยู่ หลากหลาย และเต็มไปด้วยโอกาสสำหรับทุกคน

หมุดหมายของการวางแผน คือ ปี 2575 อันเป็นวาระเฉลิมฉลอง 250 ปี กรุงเทพมหานคร และ 100 ปี ประชาธิปไตยของประเทศไทย

วัตถุประสงค์โครงการ คือ การจัดทำผังเมืองใน 2 ระดับ คือ ผังยุทธศาสตร์การฟื้นฟูเขตเมืองชั้นใน 17 เขต และผังแม่บทฟื้นฟูพื้นที่นำร่องย่านกะดีจีน-คลองสาน (โปรดดูรายละเอียดได้ที่ www.bangkok250.org)

4.แผ่นพับ "เมืองเดินได้-เมืองเดินดี" "GOODWALK" ก้าวแรกสู่การเปลียนเมือง

เมืองเดินได้ - เมืองเดินดี การพัฒนาที่มากกว่าการปรับปรุงทางเท้า

สุขภาวะ เมืองเดินได้ช่วยลดอัตราความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้ การอยู่ในย่านที่มีการใช้ที่ดินแบบ ผสมผสาน ทำให้มีอัตราการเคลื่อนไหวร่างกายสูงขึ้น  การจัดสาธารณูปการให้อยู่ในระยะเดินเท้าสร้างความเชื่อมต่อของถนนและมีผู้คนอยู่อาศัยหนาแน่นช่วยเพิ่มอัตราการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการเดิน

เศรษฐกิจ การพัฒนาถนนเพื่อการเดินเท้าและการใช้จักรยานช่วยเพิ่มมูลค่าของอสังหริมทรัพย์และค่าเช่าให้สูงขึ้นรวมถึงดึงดูดธุรกิจใหม่ๆ

สังคม การปรับปรุงศักยภาพการเดินเท้าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ชุมชน หรือย่านน่าอยู่มากขึ้น ในย่านที่มีการจราจรต่ำ ผู้คนมีความห่วงใยในสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ทำให้เกิด ความเป็นย่าน สูงขึ้น แรงงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีแนวโน้นที่จะเลือกที่ทำงานในย่านที่มีสภาพแวดล้อมเป็นมิตรต่อการเดินเท้า

3 ก้าว สู่การเปลี่ยน กรุงเทพฯ เป็นเมืองเดินดี

โปรดติดตามรายละเอียดได้ที่ www.GoodWalk.org

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

21 ตุลาคม 2558

 

 

 

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 21 ตุลาคม 2015 เวลา 15:22 น.
 

Message from Kimberly

พิมพ์ PDF

 

ผมได้รับ e-mail จาก Kimberly เห็นว่าเป็นประโยชน์กับผู้ที่ชอบการท่องเที่ยว และอยากหางานด้านการท่องเที่ยวทำ จึงนำมาเผยแพร่ในวันนี้

Image

Hi Chanchot,

I hope you're having a wonderful Saturday.

How many people do you know absolutely couldn't wait all week for today to finally arrive?

After all, it's Saturday and for many of us it's NOT a workday.

It's an epidemic how many of us, every Monday to Friday, count down to the weekend because we hate our jobs so much and just want to be free.

It's so bad that we've actually assigned names to some of the workdays, just to give us motivation and strength to get us through the week.

Manic Mondays...

Hump Day Wednesday...

And our favorite...TGIF (Thank God It's Friday)

But what if I told you that you don't have to go through week after week, counting down to the weekend, just so you can escape from your job that you hate for two days only.

Your travel dream job is waiting for you. But first let me ask you a question.

Are you looking for it? You should be. Because it's out there. And it's easy to find.

People are always talking about their "dream job" in the travel industry, but how many people do you know have it? Not too many I'm sure. So why do so many people talk about it but so few achieve it?

The truth is that most people don't try to have their travel dream job.

It's not because their dream job doesn't exist in this industry, it's because most people don't know how to go about finding it. Your dream job is not just something you happen to stumble upon one day; it's something that must be carefully crafted.

There are four "S's" that will help you land your dream job in travel, tourism and hospitality: Self-Confidence, Specificity, Skill and Stubbornness.

1. SELF-CONFIDENCE: To find your dream job in this industry you have to be unwilling to settle for less. If you allow yourself to stay in a job outside of this industry that you don't love simply because it's stable and safe, then the chances of finding your dream job will be slim. It takes having confidence in yourself to go after your travel dream job and believe it exists.

2. SPECIFICITY: The number of people who cannot articulate what their dream job really is always surprises me. Ok, so you want to work in travel, tourism and hospitality. What does that mean? What type of position do you want? What kind of company do you want to work for?

3. SKILL: If you don't have the skills or qualifications for your dream job, you can strategically develop your career path to draw your dream job closer to you. Those who get jobs in this industry are those who can sell themselves the best and have functional skills that are transferable from one job to another.

4. STUBBORNNESS: Most people look for their dream jobs when they find themselves with no job or in between jobs. They don't really believe they'll find their travel dream job, but they look for it anyway at the same time they're looking for an "in the meantime" job. Don't do this. The best way to find your dream job is to get as specific as possible about what you're looking for in this industry and then be consistent in taking action to get it.

Chanchot, if you're ready and clear about what you want and what you can do, you can improve your chances of landing your travel dream job. While others are just going through the weekend wishing that it never ends and dreading Mondays, you'll be able to welcome each Monday with a smile, knowing that you're about to start your workweek right because you have your dream job.

However, if you still haven't figured out what you want to do in this industry, I'm actually in the process of creating a program designed specifically to help you get unstuck and finally discover where you belong in the travel industry.

Even if you have no clue where to start, you’ll learn how to come up with a travel career idea that you can use to break into the travel industry and start your travel career right. The step-by-step program will:

  • Share my best shortcuts and proven strategies to help you explore, evaluate and narrow down what type of job or career really fits you best in the travel, tourism and hospitality industry based on your existing skills, knowledge, interests and work experience.
  • Provide detailed explanations on which transferable skills match with which types of career paths in the industry overall, along with complete job titles across the entire industry.
  • Give you the exact steps I took to achieve career clarity quickly, launch my tourism career and make my dreams of getting paid to travel around the world a reality.

​Would this be of interest to you Chanchot?

Please take just a second to hit reply and let me know your response. I read each and every email.

And if you have specific ideas about what you’d like me to include, let me know! This is a unique opportunity to have an online program tailored to your needs.

Thanks and I’ll be in touch soon.

1748 Gordon Lane
Tobyhanna PA 18466
USA

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2015 เวลา 13:12 น.
 


หน้า 284 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5645
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8748241

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า