Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ด้อยประสิทธิ์ภาพ

พิมพ์ PDF

วันที่ 8 ตุลาคม ผมไปชำระเงินค่างวดเงินกู้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ศูนย์การค้า The Mall งามวงศ์วาน เจ้าหน้าที่ธนาคารแจ้งว่าผมไม่สามารถชำระค่างวดครั้งนี้ได้ เนื่องจากเป็นงวดสุดท้าย ทางเจ้าหน้าที่ไม่ทราบว่าเป็นเงินเท่าใด ต้องไปที่สาขาของธนาคารอาคารสงเคราะห์โดยตรง ผมเริ่มไม่พอใจในการให้บริการครั้งนี้มาก เนื่องจากเวลาผมไปชำระเงินค่างวดประจำทุกเดือน จะได้รับใบเสร็จรับเงิน แจ้งจำนวนเงินชำระ และแยกให้เห็นว่าเป็นชำระเงินต้นเท่าใด ดอกเบี้ยเท่าใด และยอดคงเหลือเท่าใด การชำระเงินงวดเดือนกันยายน ใบเสร็จระบุว่า ผมชำระจำนวนเงิน  600 บาท เป็นเงินต้น 592.78 บาท ดอกเบี้ย 7.22 บาท เงินต้นคงเหลือ 532 บาท เมื่อผมไปชำระงวดสุดท้ายในวันที่ 8 ตุลาคม ผมจะต้องชำระเงินต้นที่ยังค้างอยู่ คือ 532 บาท + ดอกเบั้ย (ทางเจ้าหน้าที่ธนาคารบอกไม่ทราบ) ในความเป็นจริงเครื่องสามารถคิดดอกเบี้ยออกมาได้เหมือนกับที่ชำระในแต่ละงวดเดือนที่ผ่านมา ไม่ว่าผมจะพูดอย่างไร เจ้าหน้าที่ก็ไม่ให้ความสนใจ บอกว่าถึงแม้นผมจะชำระที่นี่ ก็ต้องชำระน้อยกว่ายอดเงินคงค้าง เพื่อให้เหลือเงินไปปิดบัญชีที่สาขา ผมจึงแจ้งว่าและทำไมเมื่อผมชำระเมื่อเดือนที่แล้วทำไมไม่แจ้งผมว่าเดือนหน้าต้องไปชำระที่สาขา  เงียบ ไม่มีคำตอบ เจ้าหน้าที่ทำเหมือนผมไม่มีตัวตน

ผมไปที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขา ที่อยู่ในเมืองทองธานี (สาขาถนนแจ้งวัฒนะ 025) สาขาที่ผมกู้เงิน เมื่อไปถึงเคาน์เตอร์ เจ้าหน้าที่ให้ขึ้นไปชั้นบน เพื่อให้เจ้าหน้าที่คำนวนค่าดอกเบี้ยและนำลงมาชำระเงินที่เคาน์เตอร์ เมื่อผมขึ้นไปชั้นบนไปสอบถามกับหัวหน้าสินเชื่อ หัวหน้าสินเชื่อชี้มือให้ผมไปติดต่อเจ้าหน้าที่อีกโต๊ะหนึ่ง เจ้าหน้าที่ไดจัดพิมพืสำเนาเอกสาร และนำไปวางที่โต๊ะหัวหน้าสินเชื่อ (คนที่ผมไปพบก่อนหน้านี้) ซึ่งเจ้าตัวไม่อยู่ ผมนั่งรออยู่นานพอสมควร จึงพูดกับเจ้าหน้าที่ว่าถ้าเอกสารจะต้องลงนามโดยหัวหน้าสินเชื่อซึ่งเป็นคนที่ผมไปหาครั้งแรก ทำไมเขาไม่ทำให้ผมเลย ต้องโยนมาให้คุณทำและนำไปให้เขาลงนาม ข้อสำคัญคือตอนนี้เขาไปไหนทำให้ผมต้องนั่งรอ พนักงานผู้นั้นจึงเดินไปหาผู้ชายอีกคน ผู้ชายคนนั้นพูดอะไรกับพนักงานผมไม่ทราบ  พนักงานคนนั้นจึงนำเอกสารของผมเดินไปอีกที่หนึ่งและกลับมาให้ผม

เมื่อผมลงไปข้างล่างที่เคาน์เตอร์เพื่อไปชำระเงิน ปรากฏว่าผมต้องชำระเงินทั้งสิ้น 537.70 บาท เป็นเงินต้น 532.86 ดอกเบี้ย 4.84 บาท

โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ แต่คนไม่เปลี่ยนวิธีการทำงาน ซื้อเทคโนโลยีมาใช้เป็นเงินจำนวนมาก แต่ไม่ใช้ให้คุ้มค่า ลดขั้นตอนและเวลาในการทำงาน แต่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ไม่ได้ทำ ไม่เห็นยากอะไร เมื่อทุกเดือนเครื่องสามารถคำนวนดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นที่ชำระและคำนวนเงินต้นคงเหลือ และทำไมเมื่อถึงงวดสุดท้ายจะทำไม่ได้ ส่วนเรื่องปิดบัญชี ก็ไม่เห็นยากเย็นอะไร เมื่อผมชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย ครบแล้วเท่ากับเป็นการปิดบัญชีเงินกู้นี้ ทางเจ้าหน้าที่ก็ต้องทราบและดำเนินเรื่องภายในให้เสร็จสมบูรณ์เป็นการปิดบัญชีเงินกู้อย่างถูกต้อง ไม่เห็นต้องให้ผมไปที่สาขา และไปแจ้งปิดบัญชีเงินกู้ (ไม่ใช่บัญชีเงินฝากหรือบัญชีเงิน OD ที่จะต้องให้เจ้าของบัญชีไปทำการปิดบัญชี)

เรื่องเล็กนิดเดียวแต่ผู้บริหารไม่ให้ความสนใจเพราะตัวเองไม่เดือดร้อน แต่ผลที่เกิดขึ้นคือนิสัย และความเคยชิน ฉันไม่เดือดร้อนไม่เป็นไร คนอื่นจะเป็นอย่างไรก็ช่าง แสดงให้เห็นถึงจริยธรรม คุณธรรม และความรับผิดชอบในการบริหารจัดการของผู้บริหารที่กินเงินเดือนสูงๆแต่ไม่รับผิดชอบเพราะเห็นเป็นเรื่องเล็ก แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่องเล็กๆเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบกับลูกค้า (คนธนาคารไม่ได้เห็นผู้กู้เป็นลูกค้าเห็นเป็นแค่ผู้ที่ด้อยกว่าต้องมาขอเงินกู้จากฉันซึ่งก็ไม่ใช่เงินของตัวเองแต่มีอำนาจในการให้กู้) ไม่ใช่แค่ลูกค้าคนเดียวที่ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นเวลาและค่าเดินทาง เจ้าหน้าที่เองก็เช่นกัน เสียเวลาและต้องใช้คนถึงหลายคนในการทำเรื่องเล็กๆเพียงเรื่องเดียว ข้อสำคัญที่สุดคือทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ธนาคารและลูกค้ามีปัญหา

เรื่องเล็กๆที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องนโยบาย นโยบายของผู้บริหารธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือนโยบายของผู้จัดการงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของธนาคารอาคารสงเคราะห์  หรือนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ผมในฐานะของประชาชนและลูกค้าของธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ ต้องการทราบเหตุผลในนโยบายนี้ จึงได้เขียนบันทึกนี้เพื่อเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ และคาดหวังที่จะได้รับคำตอบหรือการดำเนินการที่เหมาะสมเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่คำนึงถึงประชาชนทุกคน ตามนโยบายของรัฐบาล

ขอให้ผู้บริหารหน่วยงานทุกแห่งโดยเฉพาะหน่วยงานของภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของประชาชนและสังคม โปรดสำนึกไว้ด้วยว่าการบริหารจัดการของท่านล้วนมีผลกระทบทั้งด้านลบและด้านบวกกับประชาชนทั่วไป สังคม และประเทศชาติ ทั้งด้านความเจริญรุ่งเรื่อง และความตกต่ำ ด้อยคุณภาพ  ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง  ท่านจะคิดถึงแต่ตัวท่านเอง ครอบครัว ญาติพี่น้อง หรือพรรคพวกของท่านเท่านั้นไม่ได้

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

9 ตุลาคม 2558

 

 

 

 

 

Leadership Principle and Lead with Passion

พิมพ์ PDF

บันทึกสรุปการบรรยาย

Leadership Principle and Lead with Passion ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประธานมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

ในวันอังคารที่ ุ6 ตุลาคม 2558 ณ โรงพยาบาลพญาไท 2 ให้แก่บุคลากรภายในองค์กร เครือโรงพยาบาลพญาไท และเครือโรงพยาบาลเปาโล จำนวน 45 คน

วัตถุประสงค์

1)เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างผู้นำสำหรับผู้นำองค์กรที่มีคุณธรรม จริยธรรม

2)มีวิสัยทัศน์ มีสมรรถนะและขีดความสามารถสูง พร้อมที่จะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

3)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้

4)นำแนวคิดไปปฏิบัติต่อไปในเรื่อง Leadership principle และ Leadership กับ Passion

วันนี้จะเน้น 2 เรื่อง ใหญ่ ๆ คือ

-Leadership principle

-Leadership กับ Passion

  • วันนี้สิ่งที่สำคัญ 2 เรื่องที่เราจะต้องนำมาคิดต่อและนำมาใช้ คือ Process and Knowledge
  • เราต้องเริ่มด้วยเรื่อง Leadership Principles จะวิ่งตาม Principles กับ Passion เน้นไปที่ตัวท่านที่จะค้นหาตัวเอง ถามตัวเองว่าเราอยู่ตรงไหน รู้ถึง Gap ของเราว่าอยู่ตรงไหน
  • ครั้งที่ 1 เราได้มีการเรียนรู้ร่วมกันอย่างสนุกสนาน
  • ในวันนี้ต้องวิเคราะห์ Leadership การเรียนของเราต้องปะทะกับความจริง ตาม 2R's ของผม
  • ความคาดหวังของคนเรียน : หลัง 16.00 น. อยากได้อะไรเกี่ยวกับ Leadership & Principle?
    • กลุ่ม 1 อยากได้เกี่ยวกับการสร้างแรงบันดาลใจของตัวเอง
    • กลุ่มที่ 2 อยากเข้าใจกระบวนการสร้างผู้นำกับแรงบันดาลใจที่จะสามารถนำไปปรับใช้กับทุกสภาวะ
    • กลุ่มที่ 3 อยากได้ศิลปะในการนำด้วยความรัก มันคงจะยากแต่ก็ต้องทำให้ได้
  • Quotations:

อ.จีระ: พูดถึง Process ดีมาก เวลาทำ Workshop พยายามทำเรื่อง 1,2,3 และต้องทำ 4,5,6, ทำให้ต่อเนื่อง ต้องเกิดแรงบันดาลใจด้วย

อ.พิชญ์ภูรี: จากหัวข้อวันนี้เราเรียนรู้หลักการซึ่งเป็นศาสตร์ในขณะเดียวกันเรื่องที่เราเรียนรู้นั้นเป็นเรื่องของ "ศิลปะในการดำเนินการ" เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะได้เรียนรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์

Leadership: สามารถเลือกทำในสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อองค์กร

Leaders: ไม่ใช่คนที่มีตำแหน่งเท่านั้น แต่จะต้องทำอะไรบางอย่างแล้วเกิดศรัทธา

-Leader ในห้องนี้ต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

-การเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวดเร็ว คาดเดาไม่ได้ และไม่แน่นอน

-Leader กับ Human Capital เกี่ยวข้องกัน

-Human Capital มี 4 เรื่องที่สำคัญ

  • มอง Macro – Micro การแข่งขัน ระบบการศึกษา การขาดแคลนแรงงาน การพูดเรื่องคนในโรงพยาบาลของเราเรามอง Micro แต่ถ้าเราเป็นผู้นำ เราไม่มอง Macro ไม่ได้ เช่น ในอนาคตอันใกล้นี้ คือ เรื่องการเคลื่อนย้ายของแรงงาน- - เราต้องเข้าใจผลกระทบของ Macro ต่อ Micro
  • การปลูก ให้ทุกคนมีความเป็นเลิศ
  • เก็บเกี่ยว
  • Execution คือ การเอาชนะอุปสรรคไปสู่ความสำเร็จ และLeadership คือ ตัวที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เราเอาชนะอุปสรรค

อ.พิชญ์ภูรี: อาจารย์จีระพูดถึงคำว่า “สะพาน” และผู้นำจะเป็นคนที่ยืนอยู่บนจุดที่สูงที่สุดขององค์กร

อ.จีระ: ถ้าเราจะเก็บเกี่ยวเราต้องสร้างแรงจูงใจ ซึ่งทำได้หลายอย่าง และLeadership ที่สำคัญที่สุด คือ ต้องเค้นเอาความเป็นเลิศของคนของเราออกมา มนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักร เราต้องแน่ใจว่าเขาอยากทำงานให้เรา

Passion น่าจะเป็นทั้งการปลูกและการเก็บเกี่ยว

Passion เป็นส่วนหนึ่งของ Happiness – Happy at work & Happy work place

ทฤษฎีเพื่อการสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ของ ดร.จีระ (Chira’s Way)

  • 4L’s คือ 1. ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตามเราจะต้องให้ความสำคัญกับวิธีการ 2. ต้องมีบรรยากาศ 3. ต้องมีการสร้างโอกาสร่วมกัน อาจจะทำได้โดยการปะทะกันทางปัญญา 4.ต้องเกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่จะเอาความรู้ที่ได้ต่าง ๆ ไปใช้ต่อ

-2R’s คือ 1. การพยายามมองความจริงที่เกิดขึ้น 2.วิเคราะห์ถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในองค์กรของเรา

-2I’s คือ 1. การจุดประกาย 2. มีจินตนาการ

-8K’s คือ ทุนมนุษย์ขั้นพื้นฐาน

-5K’s คือ ทุนมนุษย์ที่สำคัญในยุคโลกาภิวัตน์

-Learn – Share – Care:

อ.พิชญ์ภูรี: การทำงานของโรงพยาบาล น่าจะต้องคำนึงถึง 3 เรื่องหลักที่สำคัญการรักษาพยาบาลที่ดีที่สุด บริการที่ดีที่สุด และผลกำไร

-วันนี้คนไทยควรจะมี 8K’s ให้สมบูรณ์ก่อน แล้วค่อยพัฒนาไปสู่ 5K’s เพราะมันจะช่วยให้เราไปสู่ความยั่งยืน

-Sustainability เป็นเรื่องที่สำคัญ

-วันนี้ถ้า 3V+Passion+Leadership ได้ จะเกิดความเป็นเลิศ

Leaders แตกต่าง กับ Managers

  • ไม่ได้สอนเรื่อง Leadership หรือให้ ลอก Copy แต่นำไปคิดและนำไปปฏิบัติเพื่อให้ Leadership ช่วยทำให้การทำงานของท่านมีคุณค่าสูงขึ้นหรือเรียกว่า Performance

Leadership คือ ภาวะผู้นำที่จะจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่กระทบเราอย่างรวดเร็ว

  • Speed

ü ความไม่แน่นอน

ü และทายไม่ได้

Leadership Principle

คำจำกัดความ :

ü ไม่ว่าเรื่องที่จำเป็นและสำคัญที่จะต้องเข้าใจ

ü และไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ใดๆ Principle ต้องคงอยู่ให้ได้ แต่ Principle คือ เสาเข็มหลัก เป็นพื้นฐาน ในบางสถานการณ์อาจจะต้องเพิ่มประเด็นอื่นๆเข้ามา

แต่ เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ผมจะขอเรียกว่า Chira Principle of Leadership

ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ผมจะนำมาเสนอเพราะ ก่อนจบผมจะเสนอ.. Chira Leadership 9 ข้อ ให้ดูที่หลัง ซึ่งบางส่วนอาจจะนำมาผสมกันได้ แล้วแต่สถานการณ์

ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยต่างๆ ทั้งนอกและใน เช่น

  • เศรษฐกิจ
  • สังคม
  • เทคโนโลยี
  • โครงสร้างประชากร
  • ค่านิยมของคนรุ่นเก่า – รุ่นใหม่
  • การเมือง
  • นวัตกรรมในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
  • ASEAN 2015

รวมทั้งปัจจัยต่างๆ ในองค์กร

  • วัฒนธรรมองค์กร
  • คุณภาพของทุนมนุษย์ในองค์กรของเรา
  • การบริหารและวิธีการจัดการ
  • ภายใน 2 เรื่อง คือ
  • ภายนอก คือ
  • แต่ก่อนปัญหาการขาดแคลนบุคลากรมีมาก แต่ปัจจุบันที่สาขาพหลโยธินลดลงแล้ว แต่สาขาอื่นอาจจะยังมีอยู่บ้าง
  • สภาวะทางสุขภาพของคนในสังคมเมือง
  • นโยบายรัฐ – ประกันสังคม ความสามารถในการจ่ายของภาครัฐเรื่องประกันสังคมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมทั้งเรื่องกองทุนต่าง ๆ ของราชการที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นต้องเตรียมรับมือ

Workshop (1)

ปัจจัยท้าทายและรองรับการเปลี่ยนแปลงขององค์กรของท่าน 4 เรื่องในอนาคต คืออะไร และ Leadership จะแก้หรือช่วยปัจจัยท้าทายเหล่านั้นได้อย่างไร?

กลุ่ม 1

  • เรื่องคน – ขาดแคลนบุคลากร (สมองไหล) +คุณภาพ
  • ความสุขในการทำงาน ซึ่งเราจะต้องค้นหาของแต่ละหน่วยงาน
  • สิทธิและข้อร้องเรียนของผู้บริโภค การร้องเรียนผ่าน Social Medias
  • การเปิดเสรีอาเซียน

Comment จากกลุ่ม 2

กลุ่ม 2

ปัจจัยภายใน

  • ค่านิยมของคนในสังคม ดูแลสุขภาพของตัวเองดีขึ้น และความคาดหวังต่อคุณภาพและบริการของโรงพยาบาลมีมากขึ้น ดังนั้นจะทำอย่างไรให้คนของเรามีคุณภาพเพียงพอที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
  • Comment จากกลุ่ม 3 : ฟังแล้วมองเห็นในภาพกว้าง และการเชื่อมโยงเป็นระบบ และได้เห็นถึงการเชื่อมโยงแนวทางในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง

กลุ่ม 3

  • Healthcare Seeker : ความต้องการในการรักษาพยาบาลคนไข้ต่างชาติเป็นแนวทางที่น่าสนใจ โดยเฉพาะ CLMV ดังนั้น ผู้บริหารก็จะต้องมองเรื่องการพัฒนาบุคลากรทั้งทางการแพทย์และสายสนับสนุนให้มีความพร้อมทั้งภาษา วัฒนธรรม การบริการ และการศึกษาเรียนรู้ประเทศเป้าหมาย รวมทั้งการสร้างการรับรู้ในคุณภาพ บริการ และราคาของโรงพยาบาลของเราให้ลูกค้ารับรู้
  • การสร้างมาตรฐานคุณภาพ หรือ ทำให้ได้อย่างที่ลูกค้าคาดหวัง

Comment: น่าสนใจที่กลุ่ม 2 วิเคราะห์เรื่องการปรับตัวสู่ตลาดอินเตอร์ฯ

อ.จีระ เสริมว่า อยากให้มีการมองความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลของเอกชน กับ โรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งอาจจะช่วยเสริมแรงกันในบางเรื่อง และที่สำคัญ คือ คุณประโยชน์ระยะยาวต่อระบบการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ

Leader ต่างกับ Manager

Leader

  • เน้นที่คน
  • Trust
  • ระยะยาว
  • What , Why
  • มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์
  • เน้นนวัตกรรม
  • Change

Manager

  • เน้นระบบ
  • ควบคุม
  • ระยะสั้น
  • When , How
  • กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน
  • จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ
  • Static

แต่ผู้นำถ้าไม่มีความสามารถในการบริหารก็พัง เพราะฉะนั้น ผู้นำก็ต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการด้วย

Chira’s Leadership

  • Leadership คือ Trust ไม่ใช่ ตำแหน่ง
  • Leadership ไม่ใช่ Order สั่งการ แต่เป็นการสร้าง โดยพยายามใช้เป็น Role Model คล้อยตาม พลังทางอิทธิพล (Influence)
  • Leaders ต้องมีคุณธรรม จริยธรรมก่อน แล้วถึงมีคุณสมบัติอื่นๆตามมา
  • Leaders ต้องเป็นที่พึ่งของคนในองค์กร เมื่อมี Crisis ต้องแก้หรือทำอะไรต้องให้เกิด Impact ให้ได้ เช่น วันนี้ผมมาที่นี่ ถ้า Dr.Chira เป็น Leaders ต้องทำให้ทุกๆคนเกิดพลังเกิดความอยาก เรียนและนำไปปฏิบัติไม่ใช่แค่ Lecture ไปเฉยๆ
  • Leaders น่าจะพูดถึง Vision หรือ Future แต่ไม่ลืมอดีต อย่าพูดแค่ บริษัทจะกำไรเท่าไหร่?
  • Leadership in human Capital คือ ต้องรู้จัก เรื่อง ทุนมนุษย์ หรือทรัพยากรมนุษย์และรู้จักอย่างดี เช่น รู้จักลูกน้องที่ต่ำสุด ไม่ใช่บ้าแต่นาย
  • Leadership คือ สิ่งที่มองไม่เห็น หรือเรียกกันว่า Trend ใหม่ คือ Intangible ดึงเอาความเป็นเลิศข้างในของคนออกมา
  • Leadership คือ ต้องเป็นของแท้ ไม่ใช่สร้างขึ้นมาแบบลอก ภาษาวิชาการเรียกว่า Authenticity
  • Leadership ไม่ใช่แค่สำเร็จหนเดียวจบกันคือ การสร้าง ให้เกิด Energy ในองค์กร แต่ทำ ต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่องหรือผมเรียกว่า 3 ต.

Workshop (2)

วิจารณ์และวิเคราะห์ Chira Leadership Principle ว่าเห็นด้วยกับข้อไหน? และจะเพิ่มเติมหลักการอะไรที่เหมาะสมกับองค์กรของท่าน (ยกตัวอย่างหลักการข้อใหญ่ที่ใช้ในการแก้ปัญหาขององค์กรของท่านเป็นกรณีศึกษา)

กลุ่ม 3

  • เห็นด้วยกับทุกข้อแต่เห็นด้วยอย่างมากกับ 3 ข้อดังต่อไปนี้
  • ข้อ 6 Leadership in human Capital คือ งานการบริการของเรา ต้องรู้จัก เรื่อง ทุนมนุษย์ หรือทรัพยากรมนุษย์และรู้จักอย่างดี เช่น รู้จักลูกน้องที่ต่ำสุด ไม่ใช่บ้าแต่นาย
  • Leaders ต้องเป็นที่พึ่งของคนในองค์กร เมื่อมี Crisis ต้องแก้หรือทำอะไรต้องให้เกิด Impact ให้ได้ เช่น วันนี้ผมมาที่นี่ ถ้า Dr.Chira เป็น Leaders ต้องทำให้ทุกๆคนเกิดพลังเกิดความอยาก เรียนและนำไปปฏิบัติไม่ใช่แค่ Lecture ไปเฉยๆ
  • เห็นด้วยตามแนวคิดอาจารย์ และโดยเฉพาะเรื่อง Role Model
  • ดร.จีระ ต้องมี IT base และ Passion ในการทำงาน เรื่องเงินไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ต้องมีคุณธรรม คนเก่งและดี มีมันสมอง อยู่ที่นี่ คนที่ปะทะกับมันสมอง และเกิด Diversity ร่วมกัน ระหว่างหมอ พยาบาลและบุคลากร ต้องทำงานร่วมกัน แต่ทุกคนต้องปรับ Mindset

-ข้อ 3 Leaders ต้องมีคุณธรรม จริยธรรมก่อน แล้วถึงมีคุณสมบัติอื่นๆตามมา

-ข้อ 7 Leadership คือ สิ่งที่มองไม่เห็น หรือเรียกกันว่า Trend ใหม่ คือ Intangible ดึงเอาความเป็นเลิศข้างในของคนออกมา การดึงศักยภาพของคนออกมา

Comment จากกลุ่ม 1: คิดเหมือนกันเรื่องคุณธรรมจริยธรรม เรื่องการดึงศักยภาพของคนออกมา และการทำประโยชน์สู่สังคม

กลุ่มที 2

Comment จากกลุ่ม 3: เห็นด้วยเรื่อง Role Model เป็นต้นแบบที่ทำเป็นแบบอย่าง

กลุ่มที่ 1

-มองทฤษฎีของ Maslow ดูแลเรื่องครอบครัว เริ่มปลูกฝังตั้งแต่เด็ก สิ่งที่ดีที่มีค่านิยม 10 ประการ โตไปไม่โกงไม่กิน

-สร้าง Impact ทำงานร่วมกับชุมชน เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

-เรื่องคุณธรรม ที่เราเจอคือ คุณนะทำ เราทำงานในโรงพยาบาลต้องมีคุณธรรมจริยธรรม ตัวนี้ต้องนำก่อนเสมอ ทำให้เขาเชื่อถือเรา

Comment จากกลุ่ม 2: ขอชื่นชมที่ผู้นำต้องมีความมั่นคงและมีเสถียรภาพทางครอบครัวด้วย

Chira Leadership and Passion

Passion คือ อะไร?

คือ ความรู้สึกที่อยากมาทำงาน หลงใหล คลั่งในงานที่ทำ แต่น่าจะหมายถึงหลงใหลคุณภาพในคุณภาพของงานที่ทำ Quality และ Excellence ด้วย

  • ในอเมริกาพนักงานมี Passion แค่ 12% อีก 88% ไม่มี จึงเรียกว่า Passion gap (ช่องว่าง)
  • Leaders จึงจะต้องมีศักยภาพในการสร้างบรรยากาศให้ทุกๆคนในองค์กรมี Passion ในการทำงาน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากๆ หลักของ Passion มาจากทฤษฎี 8K’s ของผม เรียน 8K’s และเน้นไปที่ทุนแห่งความสุข
  • Happiness CapitalDr. Chira Hongladarom’s Model
  • ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้นำแห่งความสุขในการทำงาน ไม่ใช่แค่ควบคุมสั่งการ KPIs เพื่อเป้าหมายของงานเพิ่มขึ้น แต่…ต้องดูถึง
    • Feeling
    • อารมณ์
    • และความสุขในการทำงานด้วย
  • ผมเลยขอเสนอแนวคิด 4 เรื่องใหญ่ ว่า การทำงานที่ประสบความสำเร็จต้องมีผู้นำที่สร้าง happiness capital หรือ happy at work โดยเน้น..
    • สุขภาพกายและใจของพนักงาน
    • ความอยากและชอบในงานที่ทำ passion of work
    • งานที่ทำต้องไม่เน้นเรื่องตำแหน่งหรือเงินต้องเน้นเป้าหมายของงาน ทำแล้วมีคุณค่าหรือไม่?
    • และงานที่ทำต้อง เน้นความหมายของงานที่ทำแล้วสร้างความภูมิใจให้แค่ตัวเอง และครอบครัว
  • Passion กับ Leadership เป็นเรื่องจำเป็น แต่ยาก เพราะเป็นเรื่อง inner feeling ของความรู้สึกข้างในที่จะต้องดึงออกมาหรือจะต้องเข้าใจและศึกษาอย่างดีขึ้น ซึ่ง Leadership ยุคใหม่จะต้องมี
  • สรุป
  • Blanchard’s passion
  • สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม (Healthy)
  • ชอบงานที่ทำ (Passion)

3. รู้เป้าหมายของงาน (Purpose)

4. รู้ความหมายของงาน (Meaning)

5. มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ (Capability)

6. เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา (Learning)

7. เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)

8. ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว (Teamwork)

9. ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกน้อง (Coaching)

10. ทำงานที่ท้าทาย (Challenge)

11. ทำงานที่มีคุณค่า (Enrichment)

Leadership Principles คือหลักการที่สำคัญ

Leadership กับ Passion เป็นวิธีการที่สำคัญที่จะนำมาใช้

คำถามคือ จะนำมาใช้กับโรงพยาบาล และทุกๆ คนในห้องนี้ได้หรือไม่?

1.ปัจจัยทางองค์กร

  • การร่วมมือและทำงานเป็นทีม
  • ความยุติธรรมในการกระจายทรัพยากรความสม่ำเสมอและความยุติธรรมของนโยบายและกฎระเบียบ

2.ปัจจัยเรื่องงาน

  • งานที่น่าสนใจ,ท้าทายและมีความหมาย
  • อิสระในการทำงาน
  • การได้รับการ Feedback
  • งานที่มีอนาคต เติบโตไปกับงาน
  • Workload งานไม่มากไป
  • มี diversity ในงานไม่จำเจ
  • ความสมดุลระหว่างงานกับครอบครัว

3. ปัจจัยเรื่องความเชื่อมโยง

  • Connect กับนาย
  • Connect กับเพื่อนร่วมงานและลูกน้อง

วันนี้... สำหรับเรื่องภาวะผู้นำ (Leadership)

ขอยกตัวอย่างจากกรณีศึกษาของ ดร.จีระ 9 ข้อ

  • Anticipate change คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงได้
  • Managing uncertaintyการบริหารความไม่แน่นอน
  • Crisis management การจัดการภาวะวิกฤต
  • Explore opportunities การแสวหาโอกาส
  • Rhythm & Speed รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็ว
  • Edge ( Decisiveness ) กล้าตัดสินใจ
  • Motivate others to be excellent การสร้างแรงจูงใจให้คนอื่นเป็นเลิศ
  • Teamwork ทำงานเป็นทีม
  • Conflict resolution การแก้ไขความขัดแย้ง

และเปรียบเทียบกับ Peter Druckers

  • Ask what needs to be done ถามตัวเองว่าเราต้องทำอะไรให้สำเร็จ
  • Ask what’s right for enterprise ถามว่าอะไรคือสิ่งที่จะต้องลงมือทำ
  • Develop action plans พัฒนาแผนปฏิบัติการ
  • Take responsibility for decision รับผิดชอบต่อการตัดสินใจ
  • Take responsibility for communicating รับผิดชอบต่อการสื่อสาร
  • Focus on opportunities not problems มุ่งที่โอกาสไม่ใช่ปัญหา
  • Run productive meetings จัดให้มีการประชุมที่สร้างให้เกิดผลผลิต
  • Think and say We not I คิดและพูดด้วยคำว่า “เรา” ไม่ใช่ “ฉัน”

WORKSHOP (3)

ในความเห็นของท่าน ปัจจัยในองค์กรและภาวะผู้นำ ที่จะช่วยทำให้ Passion ของคนในองค์กรดีขึ้น คืออะไร? เป็นข้อๆ จะลดช่องว่าง Passion gap ของคนในองค์กรให้แคบลงนี้ ด้วยวิธีอะไรและภาวะผู้นำจะช่วยได้อย่างไร?

กลุ่มที่ 3

  • การมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ของโรงพยาบาลพญาไท 2 คือ
  • ภาวะผู้นำและทุนแห่งความสุขในองค์กร
  • อ.จีระ อยากให้จดจำทฤษฎี PM คือ Passion & Meaning
  • ผู้นำต้องเริ่มและทำเป็นตัวอย่าง และส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติ
  • ประเด็นเรื่องครอบครัวมีความสำคัญอาจจะใส่เป็นข้อที่ 10 หรือ ข้อที่ 6 ของ อาจารย์จีระ
  • เรื่อง Mindset และการพูดถึงสิ่งที่เราให้แก่สังคมน่าสนใจ

1.We care การเปิดใจ

2.We change การยอมรับในการเปลี่ยนแปลง

3.We serve การบริการที่มาจากใจ

4.We happy ทุกคนมีความสุขในการทำงาน

คัดลอกจาก : https://www.gotoknow.org/posts/595877

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 07 ตุลาคม 2015 เวลา 12:37 น.
 

เสวนา วิถีธุรกิจ ....บรรษัทพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมโลก

พิมพ์ PDF

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม 2558 เวลา 13.00-15.45 น ผมได้เข้าร่วมงานเสวนา วิถีธุรกิจสู่ .....บรรษัทพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมโลก  United Nations Global Compact (UNGC) ณ.ห้องเทวกรรมรังรักษ์ ชั้น 2 สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต

งานเสวนาครั้งนี้จัดโดย องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน Thailand Business Council for Sustainable Development (TBCSD) และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย Thailand Environment institute ( TEI) โดยมีหลักการดังนี้

ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจประเภทต่างๆทั่วโลก นอกจากจะคำนึงถึงผลประกอบการของธุรกิจในแต่ละปีว่าธุรกิจนั้นมีแนวโน้มในการขยายตัวมากขึ้น หรือหดตัวน้อยลง แล้วนั้น ยังจะต้องคำนึงถึงการดำเนินธุรกิจควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในด้านสิทธิมนุษย์ชน มาตรฐานแรงงาน สิ่งแวดล้อม ตลอดจนบรรษัทภิบาลหรือการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งประเด็นเหล่านี้สหประชาชาติ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในความเป็นบรรษัทพลเมือง Corporate Citizenship ของบรรดากิจการทั้งหลายที่อาจส่งผลกระทบต่อโลกทั้งทางบวก และทางลบอย่างมากมายมหาศาล ซึ่งข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ หรือ UN Global Compact ได้เริ่มขึ้นในปี 2542 เพื่อชวนเชิญให้องค์กรภาคธุรกิจทั้งหลายเข้าร่วมทำข้อตกลงภายใต้หลักสากล 10 ประการ ที่ครอบคลุมประเด็นหลัก 4 ด้าน ได้แก่ สิทธิมนุษย์ชน Human Rights แรงงาน Labour  สิ่งแวดล้อม Environment และการต้านททุจริต Anti-Corruption สำหรับนำไปใข้ในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นบรรษัทพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ Responsible Corporate Citizen ในสังคมโลก

นับตั้งแต่ที่มีการประกาศข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2543 ได้มีองค์กรธุรกิจเข้าร่วมกว่า 8,300 ราย จากกว่า 135 ประเทศทั่วโลก สำหรับประเทศไทย มีองค์กรธุรกิจ จำนวน 33 องค์กรได้เข้าร่วมในข้อตกลงดังกล่าว และมีเพียง 4 อวค์กรที่ได้รีบการรับรองให้เป็น Advanced Level

ดังนั้น องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) ได้เห็นความสำคัญในประเด็นดังกล่าวจึงกำหนดจัดงานเสวนานี้ขึ้น โดยได้เรียนเชิญ 4 องค์กร ที่ได้รับการรับรองให้เป็น Advanced Level ได้แก่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)  บริษัท ปตท สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมีคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งล้วนเป็นองค์กรสมาชิกของ TBCSD เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเสนอแนวทางการดำเนินงานธุรกิจภายใต้หลักสากล 10 ประการ จนได้รับการรับรองให้เป็น Advanced Level  เพื่อสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจ นำแนวทางการดำเนินธุรกิจตามหลักสากล ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กร อันเป็นการแสดงถึงการดำเนินธุรกิจที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อนำไปสู่บรรษัทพลเมืองที่มีความรับผิดชอบในสังคมโลก มีหน่วยงานที่เข้าร่วมเสวนา ประมาณ 150 คนประกอบด้วย สมาชิกขององค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ ผู้สนใจทั่วไป

คุณปราโมทย์ อินสว่าง ที่ปรึกษาองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดงาน หลังจากนั้นเป็นการเสวนา "แนวทางการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักสากล :สิทธิมนุษย์ชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต้านธุรกิจ เพื่อพัฒนาสังคมโลกสู่ความยั่งยืน" วิทยากร ประกอบด้วย คุณมนวิภา จูภิบาล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สำนักกิจการองค์กร บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด มหาชน คุณมนัสวีร์ เรืองเดช รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม บริษัท ปตท สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) คุณวราวรรณ ทิพพาวนิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกิจกรรมองค์กร และเลขานุการบริษัท บริษัท ทีทีที โกลบอล เคมีคอล จำกัด (มหาชน) คุณกิตตินันท์ โปรา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศและความยั่งยืน บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินรายการโดย คุณดาริน คล่องอักขระ ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

ผู้ดำเนินรายการปล่อยให้วิทยาลัยทั้ง 4 ท่านนำเสนอได้อย่างเต็มที่ ท่านละ 2 รอบ  การนำเสนอของทุกท่านอยู่ในประเด็นการเสวนทั้ง 4 ประเด็น เอกสารนำเสนอน่าสนใจ ทำให้เกินเวลาไปประมาณ 15 หลังจากผู้ดำเนินรายการกล่าวขอบคุณวิทยากรทุกท่าน ผมกลัวว่าผู้ดำเนินรายการจะปิดการเสวนาเพราะเกินเวลาไปแล้วร่วม 30 นาที จึงรีบยกมือเพื่อขอแสดงความเห็น

ผมกล่าวขอบคุณผู้จัดและแสดงความเห็นว่าการเสวนานี้มีประโยชนืและขอชื่นชมวิทยากรและผู้ดำเนินรายการ อย่างไรก็ตามมีข้อสงสัยอยากถามและขอแสดงความเห็นดังนี้

องค์กรที่ผู้จัดได้เชิญมาในวันนี้ เป็นบริษัทชั้นนำของประเทศไทย ได้แก่ ปตท และ ปูนซีเมนท์ไทย  ที่ท่านวิทยากรนำเสนอนั้น ดี แต่มีกี่บริษัทที่สามารถทำเช่นเดียวกับทั้ง 2 บริษัทได้ ผมมีความเห็นว่าบริษัททั้ง 2 เจริญเติบโต และยั่งยืนอยู่ได้ เนื่องจากได้แต้มต่อในการทำธุรกิจที่ได้นำเอาทรัพยากรของประเทศมาใช้ ดังนั้น บริษัททั้งสองถือว่าเป็นบริษัทของคนไทยทุกคน คนไทยทุกคนถือว่าควรจะต้องได้รับผลประโยชน์ของทั้ง 2 บริษัทนี้ ไม่ใช่เป็นของผู้ถือหุ้นเท่านั้น

จากที่ท่านวิทยากรทั้ง 4 ท่านได้นำเสนอ นั้น เป็นสิ่งที่ท่านดำเนินการเพื่อธุรกิจของท่านเป็นหลัก กิจกรรมและโครงการต่างๆที่กล่าวมา เป็นกิจกรรมที่ทำเพื่อผลประโยชน์ขององค์กรท่านเป็นหลัก ผมคิดว่าเป็นการทำ PR และเป็นการสร้าง brand มากกว่า จึงขอฝากให้นำไปพิจารณาในการจัดงบที่เป็นการตอบแทนประชาชนและประเทศชาติอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่การสร้างภาพ อยากเห็นบริษัทใหญ่ๆโดยเฉพาะที่ใช้ทรัพยากรของชาติ หันมาสร้างโอกาสและให้การสนับสนุนบริษัท SMEs ที่ดีเพื่อให้สามารถเจริญเติบโตและมีความยั่งยืนเพื่อเป็นกำลังของชาติอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่บริษัทใหญ่เพียงไม่กีบริษัทที่เจริญเติบโต แต่บริษัทเล็กๆไม่สามารถเกิดได้

หลังจากผมกล่าวจบ คุณปริญญา ศิริสารการ กรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติ ได้ขึ้นมาแสดงความเห็นสนับสนุนที่ผมกล่าว และท่านได้เน้นไปพูดเรื่องของสิทธิมนุษย์ชน ได้น่าฟังมาก รายละเอียดผมจำไม่ได้ จำได้ว่าถ้าพูดถึงสิทธิมนุษย์ชน จะต้องกล่าวถึง เสรีภาพ ศักดิ์ศรี ความเท่าเทียม

ท่านที่สนใจอ่านเอกสารนำเสนอของวิทยากรทั้ง 4 ท่าน โปรดเข้าไปค้นหาได้ที่ www.tei.or.th/tbcsd/ (ทางผู้จัดจะนำขึ้นเวปให้ประมาณปลายอาทิตย์หน้า ถ้าติดขัดอย่างใดโปรดติดต่อ ที่เบอร์โทร 02-5033333 ต่อ 330,509 หรือทาง e-mail : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

2 ตุลาคม 2558

 


แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 03 ตุลาคม 2015 เวลา 00:05 น.
 

ขอบฟ้าใหม่ในเรื่องความรู้ : ๑๘. ตัวอย่าง ๓. บริษัท IBM GBS..

พิมพ์ PDF

บันทึกชุด “ขอบฟ้าใหม่ในเรื่องความรู้” นี้ ถอดความจากหนังสือชื่อ The New Edge in Knowledge เขียนโดย Carla O’Dell & Cindy Hubert แห่ง APQC (American Productivity and Quality Center) ให้มุมมองต่อ KM สมัยใหม่ มีประเด็นทั้ง เชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ สอดคล้องกับยุคสมัยอย่างยิ่ง

บันทึกตอนที่ ๑๘ นี้ มาจาก Appendix : Case Studies. IBM

สรุปได้ว่า บริษัท IBM GBS มี ระบบการเรียนรู้และความรู้ ที่ปรับมาใช้เทคโนโลยี Web 2.0 เน้นการ เชื่อมโยงคน และความร่วมมือ แล้วจับความรู้จากโซเชี่ยลเน็ตเวิร์กมาไว้ในฐานข้อมูลความรู้สำหรับใช้งาน และมีการทำ pruning ความรู้ที่เก่าและจำเป็นน้อยในฐานข้อมูลสำหรับใช้งาน เอาไปเก็บไว้ในคลังความรู้ (archive) เพื่อให้คลังความรู้สำหรับใช้งานมีความสดใหม่ ไม่รกรุงรัง ใช้งานง่าย และมีการปรับปรุงเครื่องมือ และวิธีการต่อเนื่องตลอดเวลา

บริษัท ไอบีเอ็ม มีขนาดใหญ่ที่สุดใน ๔ บริษัท ที่หนังสือเล่มนี้ยกมาเป็นตัวอย่าง คือมีพนักงานถึง ๓๗๐,๐๐๐ คน ใน ๑๗๐ ประเทศ และมี ๕ สายธุรกิจ ที่ยกมาเรียนรู้เฉพาะสายธุรกิจเดียว คือ IBM GBS (Global Business Services) ซึ่งมีพนักงาน ๑๕๐,๐๐๐ คน ให้บริการ “การจัดระบบการเรียนรู้และความรู้” (Learning and Knowledge Organization) ที่ให้บริการ ๓ ด้าน ได้แก่

  • Knowledge-sharing services ให้บริการที่ปรึกษาการทำให้องค์กรลูกค้ามีระบบแบ่งปัน ความรู้ที่เข้มแข็ง ทั้งที่เน้นตัวพนักงานรายคน และรายกลุ่ม (CoP) มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี และการเสริมพลัง (empower) สำหรับการแบ่งปันความรู้
  • Education services เพื่อ virtual curriculum platform
  • Benchmarking services โดยจัด open standards approach ให้องค์กรลูกค้าตรวจสอบ เปรียบเทียบได้เอง

บริการของ IBM GBS เน้นส่งเสริมวัฒนธรรมแบ่งปันความรู้ ผ่าน (๑) กระบวนการที่ทรงพลัง, (๒) โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี, (๓) บริการวิจัยธุรกิจ, (๔) การจัดการเนื้อความรู้ (Content Management), และ (๕) CoP


ประวัติของ KM ใน IBM GBS

พัฒนาการของ KM ใน IBM GBS มี ๓ ช่วง

  • ช่วงที่ ๑ เป็น KM แบบกระจาย (decentralized) แต่ละหน่วยย่อยออกแบบและจัดการ KM ของตนเอง
  • ช่วงที่ ๒ เป็นแบบรวมศูนย์ (centralized) เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
  • ช่วงที่ ๓ สร้าง การจัดระบบการเรียนรู้และความรู้ เพื่อบูรณาการกระบวนการ KM และ ทำให้กระบวนการง่าย ไม่ยุ่งยาก ในช่วง ๕ ปีแรก ระบบการเรียนรู้และความรู้ รับผิดชอบ วงจรชีวิตของเนื้อความรู้ ซึ่งรวมถึง (๑) การเก็บเกี่ยวเนื้อความรู้ (๒) การตรวจสอบและ รับรองความรู้ และ (๓) การจัดเก็บไว้ใช้งานต่อ

ต่อมาในปี 2008 มีการเปลี่ยนวิธีการของ ระบบการเรียนรู้และความรู้ จากระบบ KnowledgeView ไปเป็นระบบ social software (เป็น Web 2.0) โดยสร้าง portal ใหม่ที่ช่วยให้เข้าสู่เนื้อความรู้ และเข้าสู่บุคคล ได้ง่ายขึ้น มีคุณลักษณะ (๑) ยกระดับ social computing tools, (๒) ให้ผู้ใช้มีบทบาทในการปรับปรุง, (๓) ความรู้ใน CoP ไม่แข็งตัว

ข้อเรียนรู้ที่สำคัญก็คือ ต้องมีการพัฒนาระบบให้มีเสน่ห์ และผลสัมฤทธิ์ต่อการใช้งาน โดยเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ซึ่งในกรณีนี้ มีเหตุปัจจัยสำคัญๆ ๔ ประการคือ

  • เนื้อความรู้ที่สร้างขึ้น และมีการใช้ เพิ่มอย่างมากมาย เป็นไปไม่ได้ที่จะ codify ความรู้ทั้งหมด
  • ยากที่จะจัดระบบผู้เชี่ยวชาญความรู้ เพราะความเชี่ยวชาญมีบริบท
  • ทุนปัญญาส่วนใหญ่เป็น ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge)
  • ธรรมชาติของการเป็นองค์กรที่กระจายอยู่ทั่วโลก ทำให้การพัฒนาเครือข่าย ความเป็นส่วนตัว ทำได้ยาก

ด้วยเหตุผลว่าในยุคปัจจุบัน คนเรานิยมแบ่งปันความรู้ผ่าน โซเชี่ยล เน็ตเวิร์ก และพนักงานต้องการความรู้ปฏิบัติ ที่ยากต่อการเขียนเป็นตัวอักษร (codify) ในการทำงานของตน ระบบการเรียนรู้และความรู้ ของ IBM GBS จึงออกแบบกลไกการแบ่งปันความรู้ ด้วย “เครือข่ายมนุษย์” โดยมี

  • BluePages เป็น directory ขององค์กร
  • Practioner Support Network เป็นบริการ knowledge broker
  • การจัดการ BlueGroups, e-mail, และ distribution list
  • Forums ที่สนับสนุนให้มี CoP ทั้งแบบที่เป็นทางการ และแบบไม่เป็นทางการ
  • วิธีการที่ใช้ทั่วไป ได้แก่โทรศัพท์ และ Rolodex

ระบบการเรียนรู้และความรู้ นี้ มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ในช่วงแรก พนักงานค้นหาผู้เชี่ยวชาญโดยอาศัยความช่วยเหลือจาก Practioner Support Network แต่ต่อมาก็หันมาช่วยเหลือตนเอง โดยที่ portal อำนวยความสะดวกให้ และ Practioner Support Network เปลี่ยนไปทำงาน เชิงวิเคราะห์

Practitioner Portal ของ IBM GBS มีความสามารถเป็น single point access ไปยังบุคคล, เนื้อความรู้, และบริการแบ่งปันความรู้ โดยมี Federated Search Function ให้สามารถออกผลบูรณาการความรู้จากหลายฐานข้อมูล และจาก social networking ได้ และยังมีพลังจากเทคโนโลยี Web 2.0 ให้บริการอีกหลายอย่าง รวมทั้งมีการพัฒนา ความสามารถขึ้นไปเรื่อยๆ ตามพัฒนาการของเทคโนโลยี


เปลี่ยนแปลงวิธีทำงานโดยสิ้นเชิง

เป้าหมายของ KM คือ ใช้ Web 2.0 เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและพลวัตทางสังคม (social dynamics) ของพนักงาน ซึ่งจะทำให้เกิดการเปิดเผยและค้นพบความรู้สำคัญที่ซ่อนอยู่ในตัวพนักงาน และกระตุ้น ให้เกิดการแบ่งปันความรู้ และความร่วมมือ รวมทั้งให้ค้นหาตัวบุคคลที่มีความชำนาญได้ง่าย เพื่อให้พนักงาน ที่ใช้บริการ KM สามารถเพิ่มคุณค่าทางธุรกิจของตนได้

โดยเป้าหมายสุดท้ายคือ สมรรถนะในงานของพนักงานผู้นั้นเอง


กระบวนการและเครื่องมือ

เครื่องมือสำคัญคือ Practitioners’ Portal ซึ่งทำหน้าที่เป็น hub ของ ระบบการเรียนรู้และความรู้ ของ IBM GBS ภายใน Practitioners’ Portal แบ่งออกเป็นหลาย portlet ที่มีความจำเพาะ

แต่ละ portlet มี tab สำหรับช่วยการค้น หาทักษะความสามารถ และหาความรู้ที่จำเพาะต่อธุรกิจ

ผู้ใช้สามารถเข้าไปจัดให้ portal มีการ personalize การใช้งานจำเพาะสำหรับตนเองได้ เพื่อให้ไม่ถูก ข้อมูลที่ไม่จำเป็นวิ่งเข้ามา และเมื่อค้น ก็ได้ข้อมูลที่ตรงความต้องการ

คุณสมบัติพิเศษของ Practitioners’ Portal คือ Federated Search ทำให้ได้ผลการค้นจากข้อมูลที่มา จากหลายแหล่งในคราวเดียวกัน

บริการในตอนที่เขียนหนังสือเล่มนี้ของ Practitioners’ Portal ได้แก่

  • Federated search
  • SmallBlue-enabled search
  • บริการเชื่อมผู้ใช้ไปยังผู้เชี่ยวชาญ
  • tab “My Place” สำหรับให้ผู้ใช้แต่ละคนระบุ portlet ที่ตนต้องการใช้
  • social bookmarking ให้แบ่งปัน URL ที่ต้องการรับข้อมูล
  • RSS feed ที่ต้องการให้ข้อมูลจากแหล่งนั้นไหลเข้ามาหา


SmallBlue/Atlas

เป็นชื่อของ web service ที่อยู่ใน Practitioners’ Portal ภายใน IBM GBS เรียกชื่อว่า SmallBlue แต่ในบริการของบริษัท Lotus เรียกชื่อว่า Atlas หรือ Lotus Connections ภายใน SmallBlue มีข้อมูลที่เปิดเผย ภายในบริษัท ผนวกกับข้อมูลเชิงสถิติที่พนักงานผู้ใช้อนุญาต (เขาเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของพนักงาน) ให้รวบรวมเข้ามาเป็นข้อมูลความชำนาญ ภายในบริษัท จัดทำออกมาเป็นแผนผังโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก SmallBlue จึงช่วยให้การค้นหาผู้เชี่ยวชาญความรู้ทำได้ง่ายและรวดเร็วมาก

เครื่องมือ SmallBlue ประกอบด้วยเครื่องมือย่อย ๔ ตัว ที่ทำงานเชื่อมโยงกัน

  • SmallBlue Find ช่วยค้นหาบุคคลที่มีความรู้ที่ต้องการ
  • SmallBlue Reach ช่วยการตัดสินใจเลือกติดต่อคน จากรายชื่อจำนวนหนึ่ง
  • SmallBlue Net ช่วยให้เห็นโซเชี่ยลเน็ตเวิร์กในสาขาความรู้ด้านใดด้านหนึ่ง
  • SmallBlue Ego ช่วยให้พนักงานเข้าใจว่าตนมีคุณค่าอยู่ตรงไหนในโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก

มี SmallBlue Team ทำหน้าที่ยกระดับการทำงานของเครื่องมือนี้อย่างสม่ำเสมอ เช่นเกิด Synergy Search tool ช่วยให้ได้ผลค้นตรงตามความต้องการรายบุคคล โดยใช้ข้อมูลการใช้งานในอดีตของผู้นั้นเป็นนวทาง เกิด SmallBlue Whisper tool ช่วยแนะนำความรู้ที่เพื่อนร่วมโซเชี่ยลเน็ตเวิร์กทำ tagging ไว้ คือทำให้ระบบมี ความฉลาดขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง

กระบวนการนำเสนอความรู้ ให้ได้รับการยอมรับเข้าฐานข้อมูลพร้อมใช้ก็ได้รับการปรับปรุงให้ง่ายขึ้น ลดขั้นตอนลง และการแยกความรู้ที่มีคนใช้น้อยออกไปเก็บเข้าคลัง (archive) ก็มีการปรับปรุง จะเห็นว่า ฐานความรู้พร้อมใช้ของบริษัทไม่รก ไม่มีความรู้มากเกินจำเป็น ซึ่งจะทำให้ค้นยาก

เครื่องมืออีกตัวหนึ่งคือ WikiCentral ใช้ Wiki platform ในการร่วมกันเขียนความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ งาน

BluePedia เป็นระบบเอนไซโคลปีเดียของ IBM GBS

นอกจากนี้ยังเริ่มใช้ blog ด้วย


มีผู้เชี่ยวชาญพร้อมช่วย ณ กาละที่ต้องการ

กาละที่ต้องการความรู้คือ teachable moment เครื่องมือที่อำนวยต่อความต้องการนี้เริ่มในปี 2005 เพื่อให้พนักงานสามารถติดต่อและเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ณ จุดทำงาน โดยไม่ต้องละจากงาน โดยใช้ IM (Instant Messaging) Application เมื่อผู้เชี่ยวชาญตอบ หรือมีการโต้ตอบกัน ความรู้ที่เกิดขึ้นถูกบรรจุเข้าใน FAQ เครื่องมือดังกล่าวทำให้บริษัทสามารถระบุผู้เชี่ยวชาญความรู้เฉพาะด้าน และในด้านที่พนักงานอาวุโส ผู้เชี่ยวชาญใกล้จะเกษียณอายุงาน กิจกรรมนี้ได้ช่วยเก็บความรู้ไม่ให้สูญหายไปจากบริษัท


วัฒนธรรมองค์กร

กิจกรรม KM ที่ใช้ Web 2.0 มีผลเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรของ IBM GBS และมีผลเปลี่ยนแปลง ระบบการเรียนรู้และความรู้ คือทำให้เกิดวัฒนธรรม “ปรับตัวและปรับปรุงตลอดเวลา” โดยที่ยึดมั่นใน วัฒนธรรมเคารพสิทธิส่วนตัว และปกป้องข้อมูลของพนักงาน


ผลกระทบ : ดัชนีและการวัดผลสำเร็จ

ตอนเขียนต้นฉบับหนังสือ กิจกรรม Web 2.0 เพิ่งเริ่มต้นได้เพียง ๗ เดือน ตัวชี้วัดจึงเป็นกิจกรรมของ การถามและตอบคำถาม และจำนวนการเข้าไปใช้เครื่องมือต่างๆ ซึ่งมากอย่างน่าพอใจ


ข้อเรียนรู้และแผนในอนาคต

  • ให้ฝ่ายกฎหมายและผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นส่วนตัวเข้าร่วมตั้งแต่ต้น
  • ตรวจสอบความหมายของความรู้ให้ดี แยกแยะระหว่างความเชี่ยวชาญ กับความสนใจ คนที่สนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้วย
  • ประโยชน์ใช้งาน และประสบการณ์ของผู้ใช้มีความสำคัญ ในการปรับปรุงความรู้ให้เหมาะ ต่อผู้ใช้
  • เน้นพลังของเทคโนโลยีประมวลผล และเอาใจใส่ความเป็นส่วนตัวไปพร้อมๆ กัน
  • เทคโนโลยีประมวลผลอย่างเดียวไม่พอ ต้องคำนึงถึงบริบท และตัวคน

เขาบอกว่าโอกาสในการสะกัดความรู้จากข้อมูลโซเชี่ยลเน็ตเวิร์กมีมากกว่าที่ทำกันอยู่ นั่นคือ ความเห็นเมื่อราวๆ ๗ ปีที่แล้ว ที่เทคโนโลยี big data ยังไม่เบ่งบานอย่างในปัจจุบัน



วิจารณ์ พานิช

๑๔ ส.ค. ๕๘


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/595400

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 29 กันยายน 2015 เวลา 20:02 น.
 

ขอบฟ้าใหม่ในเรื่องความรู้ : 16. ตัวอย่าง 2. บริษัท Fluor (1)..

พิมพ์ PDF

บันทึกชุด “ขอบฟ้าใหม่ในเรื่องความรู้” นี้ ถอดความจากหนังสือชื่อ The New Edge in Knowledge เขียนโดย Carla O’Dell & Cindy Hubert แห่ง APQC (American Productivity and Quality Center) ให้มุมมองต่อ KM สมัยใหม่ มีประเด็นทั้ง เชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ สอดคล้องกับยุคสมัยอย่างยิ่ง

บันทึกตอนที่ ๑๖ นี้ มาจาก Appendix : Case Studies. Fluor และเนื่องจากเป็นสาระด้านการปฏิบัติที่มี ความสำคัญ ผมจึงสรุปรายละเอียดมาลงไว้ จึงต้องแบ่งเรื่องของบริษัท Fluor เป็นสองตอน คือตอนที่ 16 และ 17

สรุปได้ว่า บริษัท Fluor มีการดำเนินการ KM อย่างจริงจังมาก เป็น KM ที่กลมกลืนไปกับธุรกิจ ขององค์กร มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมผลประกอบการ ใช้ CoP เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินการ

ข้อมูลของบริษัท Fluor โดยย่ออยู่ใน บันทึกนี้ เป็นบริษัทข้ามชาติด้านวิศวกรรม ที่ทำธุรกิจ หลากหลายมาก ก่อตั้งในปี 1912 คือมีอายุ ๑๐๓ ปี ปัจจุบันทำงานพัฒนาและดำเนินการกิจการ ใน อุตสาหกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ เคมี ปิโตรเคมี บริการภาคราชการ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ กระบวนการการผลิต เหมืองแร่ น้ำมันและก๊าซ โทรคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม

โครงการที่ทำได้แก่ ออกแบบและก่อสร้างโรงงานผลิตสินค้า โรงถลุงแร่ โรงงานผลิตยา โรงพยาบาล โรงไฟฟ้า โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม และการขนส่ง มีสำนักงานใน ๒๕ ประเทศในทุกทวีป

บรรยากาศการทำงานของบริษัทคือ global, mobile, cyclical, และ collaborative โดยพนักงานในทุก สำนักงานทั่วโลกต้องทำงานร่วมกัน ในการทำโครงการแต่ละชิ้น บริษัทจึงเผชิญสภาพหาพนักงานยาก และพนักงานต้องเดินทาง และเนื่องจากเป็นบริษัทเก่าแก่ การเกษียณอายุงานจึงเกิดบ่อย และต้องการมาตรการ เก็บความรู้ไว้ในองค์กร รวมทั้งการบูรณาการและร่วมมือกับ supply chain


ประวัติของ KM และ CoP

บริษัท Fluor ใช้ KM อย่างไม่เป็นทางการมากว่า ๒๐ ปี เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและยกระดับความรู้ ร่วมกัน

KM ทั่วทั้งองค์กร อย่างเป็นทางการเริ่มในปี 1999 โดยมีเป้าหมาย “เพื่อเปลี่ยนบริษัทไปเป็น premier knowledge-based services company” ให้พนักงานของบริษัทมี global mind-set โดยมีวิสัยทัศน์ KM ว่า เพื่อให้บริษัทมีระบบตอบโจทย์เทคโนโลยีระบบเดียว ผ่าน CoPs ที่มีการบูรณาการ เนื้อหา การอภิปราย และประวัติพนักงาน เพื่อยกระดับทุนปัญญาที่มีร่วมกันของพนักงาน ไปสู่ทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ขององค์กร

มีการออกแบบ CoP ให้ตอบสนองการแก้ปัญหา ข้ามพรมแดนภูมิศาสตร์ และสายงานธุรกิจ โดยจัดให้มีเครื่องมือค้นที่มีพลังสูง และทำได้จากทั่วโลก

ให้ระบบ KM เอื้อต่อการเรียนรู้ของพนักงาน โดยให้สามารถเข้าถึงคลังความรู้ และวัสดุเพื่อการ ฝึกอบรม รวมทั้งมีระบบปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท ไม่ให้รั่วไหลออกไปภายนอก

ณ วันที่เขียนหนังสือ (เข้าใจว่า ปี 2000) บริษัทมี 46 CoP พนักงาน ๒๔,๐๐๐ คนเป็นสมาชิกของ ๑ หรือหลาย CoP มีผู้เชี่ยวชาญความรู้เฉพาะด้าน ๓,๕๐๐ คน ใน ๑,๐๐๐ สาขาของความรู้ ซึ่งหมายความว่า พนักงานทั้งหมดมีส่วนร่วมใน KM อย่างแข็งขัน ทำให้มีการค้นคลังความรู้กว่า ๑ หมื่นครั้งต่อวัน มีการเข้าไปอ่านหรือดาวน์โหลด attachment 2,600 ครั้ง/วัน และมีคนเข้าไปอ่าน Discussion Forum 1 หมื่นครั้ง/สัปดาห์

บริษัทส่งเสริมให้พนักงานถือ CoP ว่าเป็นเสมือนบ้าน ไม่ใช่เป็นเพียงที่ค้นหาความรู้ แต่เป็นระบบสนับสนุนที่พนักงานมีส่วนเป็นเจ้าของ และใช้ฝึกฝนทักษะและพัฒนาอาชีพของตน เขาถือว่าองค์ประกอบหลักของ CoP คือคน ไม่ใช่ความรู้ ไม่ใช่เทคโนโลยี

เขาเชื่อว่าปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของ CoP มี ๕ ประการ

  • คน
  • การสนับสนุนจากสำนักงานในพื้นที่
  • มีการลงทุน
  • มีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม
  • มีวัฒนธรรมที่จะส่งเสริมชีวิตที่ดีของพนักงาน

พนักงานทุกคนมีสิทธิเข้าถึง portal ของทุก CoP แม้ว่าตนจะไม่ได้เป็นสมาชิก โดยบริษัทมีระบบ push ความรู้ให้แก่พนักงานที่แสดงความสนใจ หรือเป็นสมาชิก CoP แต่จะได้เป็นผู้เชี่ยวชาญความรู้ หรือเป็นผู้ ประเมินความรู้ พนักงานต้องเป็นสมาชิกของ CoP นั้นๆ

การก่อตั้ง CoP จัดตามหน้าที่ (functional process) และตามสายธุรกิจ (business line) และ CoP เกาะเกี่ยวกันเป็นเครือข่ายด้วย


CoP ของบริษัท Fluor จึงมี ๓ แบบคือ

  • Functional CoP เกี่ยวข้องกับกิจกรรมแนวระนาบ ที่พาดขวางรับใช้ทุกหน่วยธุรกิจของ องค์กร ในทุกพื้นที่ปฏิบัติการ ตัวอย่างเช่น Project Management CoP, Electrical Engineering CoP, Mechanical Engineering CoP, Construction CoP รวมทั้งสิ้นมี 18 CoP
  • Business-line CoP แบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อกิจกรรมในแนวตั้ง คือหน่วยธุรกิจ ประเภทเดียวกัน ตัวอย่างเช่น Energy & Chemicals CoP, Government CoP, Industrial & Infrastructure CoP, Global Services CoP, Power CoP
  • Corporate CoP เป็น CoP ของงานสนับสนุน ที่ทำในระดับภาพรวมขององค์กร ตัวอย่าง เช่น HR CoP, IT CoP, Finance CoP รวมทั้งสิ้นมี 4 Corporate CoP

แต่ละ Functional CoP มีผู้นำ เรียกชื่อว่า Global Excellence Leader (GEL) มีอำนาจสูงสุดในองค์กร เกี่ยวกับ หน้าที่ (ภารกิจ) หรือสาขาวิชา (discipline) นั้น ตำแหน่งนี้สำคัญมาก ผู้ทำหน้าที่นี้มักเติบโตไปเป็น ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท GEL ทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบวิธีปฏิบัติเลิศ (Best Practices), ระบบอ้างอิง (Reference Systems), เส้นทางอาชีพ (Career Paths) รวมทั้งการฝึกอบรม, เอกสารต้อง อ่าน, และเครื่องมือที่ต้อง ปฏิบัติได้สำหรับสาขาวิชา GEL ยังมีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ (Career Development)

แต่ละ CoP มี ผู้นำ (Leader), ผู้จัดการตัวความรู้ (Knowledge Manager). ทีม KM ส่วนกลางระดับโลก, และผู้เชี่ยวชาญความรู้เฉพาะสาขาจำนวนหนึ่ง

ทุก CoP ดูแลโดย ทีม KM ส่วนกลาง คอยแนะนำกิจกรรม KM โดยทำงานร่วมกับ ผู้นำ ผู้จัดการตัวความรู้ และผู้เชี่ยวชาญความรู้เฉพาะสาขา

ระบบไอทีที่สนับสนุน KM ชื่อว่า Knowledge OnLine เป็นระบบรวมศูนย์สำหรับกิจกรรม KM ทั้งหมด ทั้งการแบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คลังความรู้ และสินทรัพย์ทางปัญญา เข้าถึงได้ผ่าน portal ขององค์กร

ผู้เชี่ยวชาญความรู้ และสมาชิกของ CoP โชว์โปรไฟล์ของตนบน Knowledge Online และคอยปรับปรุง ให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยมีรูป ประวัติการเรียนและการฝึกฝนเชิงเทคนิค และประวัติผลงาน ในอุตสาหกรรม และแนบ CV ไว้ด้วย แต่ละคนจะทดลองค้นด้วยคำหลักที่แสดงทักษะพิเศษของพนักงาน ดูว่าชื่อของตน ปรากฎในผลการค้นด้วยคำหลักที่สะท้อนทักษะพิเศษของตนหรือไม่


ยุทธศาสตร์ดำรง Network of Excellence ที่มีประสิทธิผล

เขาจงใจใช้ CoP เป็นกลไกขับเคลื่อน Organizational Transformation ซึ่งหมายความว่า องค์กรจะเปลี่ยนแปลงยกระดับขึ้นไปเรื่อยๆ กลไกยกระดับที่สำคัญคือ KM ในรูปแบบของ CoP

พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงคลังความรู้ขององค์กรเพื่อไปค้นหาความรู้ที่ต้องการ หรือเข้าไปตอบคำถามของเพื่อนพนักงานจากทั่วโลก

ยามมีความต้องการทางธุรกิจ หรือมีปัญหาช่องว่างความรู้บางด้าน อาจมีการจัดตั้ง CoP ขึ้นแก้ปัญหาดังกล่าว และเมื่อภารกิจครบถ้วนก็สลายตัว

ทุก CoP จะมีการปรับปรุงวิธีทำงานเป็นระยะๆ โดยผู้เชี่ยวชาญความรู้ของ CoP เป็นผู้ริเริ่ม Discussion Forum เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะ หรือแนวความคิด สำหรับนำไปใช้ปรับปรุงเอกสารคู้มือการทำงานด้านนั้นๆ ทำให้งานดีขึ้น และช่วยให้ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารทั้งในระดับโครงการ ระดับประเภทธุรกิจ และระดับองค์กรส่วนกลาง

เมื่อ KM ก้าวหน้าขึ้น การพัฒนางานทำได้โดยมีค่าใช้จ่ายลดลง ในขณะที่ผลกระทบต่อผล ประกอบการสูงขึ้น ย่อมทำให้ได้รับการสนับสนุนต่อเนื่อง

แต่ละ CoP ส่งจดหมายข่าวไปยังสมาชิก ทาง อีเมล์ โดยแนบจดหมายข่าวฉบับก่อนๆ ไปด้วย ช่วยทำให้ข่าวแพร่ไปยังคนที่ไม่เป็นสมาชิก และทำให้ CoP มีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้น


การประเมินความเสี่ยงต่อการสูญเสียความรู้

แต่ละ CoP ทำหน้าที่ประเมินความเสี่ยงจากการเกษียณอายุงาน โดยใช้ Tennessee Valley Authority Knowledge Loss Risk Assessment รวมทั้งประเมินช่องว่างความรู้ด้านที่ต้องการ เพื่อจะได้หาทางดำเนินการ แก้ไข หรือดำเนินยุทธศาสตร์พัฒนา


การกำกับดูแล

ดำเนินการโดย ทีม KM ส่วนกลาง (Global Core KM Team) ที่มีคนเทียบเท่ากับคนทำงานเต็มเวลา ๘ คน ร่วมกันรับผิดชอบกำกับดูแล แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบเป็นด้านๆ ได้แก่ การสื่อสาร (communications), ปฏิบัติการ (operations), การเชื่อมโยง CoP, และ Knowledge OnLine หน้าที่ในภาพรวมคือคอยดูแลความ ต้องการของระบบ KM

ทีม KM ส่วนกลาง มี เครือข่าย KM เป็นผู้ทำงาน ประกอบด้วย ผู้นำ CoP, ผู้จัดการตัวความรู้, และ KM แชมเปี้ยน ทำหน้าที่คอยสร้างความคึกคักของ KM ทั่วทุกมุมโลกขององค์กร

ทีม KM ส่วนกลาง ไม่ได้ทำหน้าที่รับคำสั่งตามสายบังคับบัญชา แต่ทำหน้าที่ริเริ่มสร้างสรรค์ ด้วยตนเอง โดยทำงานร่วมมือใกล้ชิดกับสายธุรกิจและสายปฏิบัติการเพื่อใช้ KM ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ หลักขององค์กร


งบประมาณสนับสนุน

ทีม KM ส่วนกลางได้รับงบประมาณสนับสนุนเป็นเงินเดือน ค่าใช้จ่ายดำเนินการ ค่า Knowledge OnLine และค่าซื้อซอฟท์แวร์ โดยได้รับงบประมาณผ่านหน่วยธุรกิจ


วิธีปฏิบัติเพื่อส่งเสริมและดำรงกิจกรรม CoP

บริษัทมียุทธศาสตร์ที่เขียนไว้ชัดเจนในการส่งเสริม CoP ตลอดวงจรชีวิตของ CoP ได้แก่ด้าน การก่อตั้ง, การเริ่มโครงการ, การดำเนินการ, และดำรงสมรรถนะ หลังดำเนินการสองสามเดือนก็เริ่มวัด ว่า KM ดำเนินการตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่

วัดสมรรถนะของ CoP โดยวัดคุณภาพและปริมาณของกิจกรรมใน Forum และในการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้, วัดความสอดคล้องกับธุรกิจ, และวัดการเกิดผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้


การจัดการดำเนินการ CoP

กระบวนการดำเนินการ CoP มีแบบแผน เอาจริงเอาจัง และต่อเนื่อง แต่ละ CoP ต้องกรอกแบบฟอร์ม ประเมินความพร้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสอดคล้อง (alignment) กับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยมีรายละเอียดของการประเมินความพร้อม ๗ ด้าน ดังนี้

  • สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายภาพใหญ่ขององค์กร และของธุรกิจ
  • สอดคล้องกับหลักการแบ่งปันความรู้
  • ได้รับการอุปถัมภ์ (sponsorship)
  • ได้รับงบประมาณ
  • เข้าใจกระบวนการดำเนินการ KM ค่าใช้จ่าย และผลประโยชน์
  • พร้อมต่อการเปลี่ยนพฤติกรรม
  • สนองธุรกิจส่วนที่มีลำดับความสำคัญสูง

หลังจากนั้น ผู้นำ CoP จัดการประชุมปฏิบัติการจำนวนหนึ่ง เพื่อเริ่มการดำเนินการ KM (deployment workshop) ช่วงจัดการประชุมปฏิบัติการนี้ ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า ๓ เดือน ใช้ในการหาทีมแกนนำ (leadership team), กำหนดโครงสร้างของ CoP, และรวบรวมเนื้อความรู้ที่สำคัญให้ครบถ้วนตามความต้องการใช้ สำหรับใช้สร้างศรัทธาของสมาชิก

CoP มีแบบแผนที่ชัดเจนในการดูแลการดำเนินการ และสมรรถนะ เมื่อมีการกำหนดความรู้สำคัญ รวบรวม และจัดหมวดหมู่ จะมีการกำหนดยุทธศาสตร์การเริ่มต้น CoP โดยทีม KM เข้าร่วม หลังการประกาศ เริ่มต้น มีการจัดการประชุมปฏิบัติการเพื่อให้เกิดสมรรถนะ ที่จะนำไปสู่ความผูกพันต่อเนื่องของสมาชิก

เนื่องจากการจัดตั้ง CoP ต้องใช้พลัง และการลงแรงมาก เมื่อจัดตั้งแล้วจะไม่ล้มเลิกง่ายๆ จะมี กระบวนการสร้างความเข้มแข็งต่อเนื่อง มีการวัดต่อเนื่อง และหากมีสัญญาณความอ่อนแอ ก็จะมีการ ตรวจสอบว่า ภาวะผู้นำยังแข็งแรงอยู่หรือไม่


ความท้าทายต่อการดำรงอยู่ของ CoP

กลุ่มแกนนำส่วนกลาง จะคอยตรวจสอบสัญญาณความเสื่อมของ KM อยู่ตลอดเวลา ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ภาวะผู้นำย่อหย่อน, การสื่อสารไม่ต่อเนื่อง, ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้, ไม่ให้เวลา, งานล้น, กิจกรรม รวมศูนย์อยู่ที่คนบางกลุ่ม ไม่กระจายไปทั่วถึงในหมู่สมาชิก ทีมแกนนำกลางจะคอยตรวจจับสัญญาณเหล่านี้ และร่วมกับ CoP ที่มีปัญหา เพื่อขจัดปัดเป่าปัจจัยความอ่อนแอเหล่านี้


ตัวทำนายความสำเร็จ

ปัจจัยสำคัญที่สุดคือภาวะผู้นำ กลุ่มแกนนำส่วนกลางจะสื่อสารกับ CoP อย่างสม่ำเสมอ และแสดงตัวอย่างของพฤติกรรมที่ดีแก่สมาชิก KM

ผู้นำ CoP สร้างความเข้มแข็งของวัฒนธรรมแบ่งปันความรู้ โดยทำตัวเป็นตัวอย่าง และทำให้ พนักงานรู้สึกปลอดภัยที่จะตั้งคำถาม ตอบคำถาม และเชื่อถือคำตอบที่ได้รับ รวมทั้งทำให้ CoP เป็นชุมชน ของมนุษย์ ไม่ใช่เน้นการใช้เทคโนโลยี แต่เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมนุษย์ เน้นที่การเรียนรู้จากการหา ทางสร้างนวัตกรรมในการทำงาน เรียนรู้วิธีทำงานที่ฉลาดกว่าเดิม จากการร่วมมือกัน

ผู้นำ CoP คอยเชื่อมโยงกิจกรรม KM เข้ากับทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ และผลประกอบการขององค์กร


ทำให้ CoP มีชีวิต

ที่จริงหลักการทำให้ CoP มีชีวิตชีวาง่ายนิดเดียว คือทำให้มันมีประโยชน์ต่อสมาชิก คือเมื่อค้นหา ความรู้ ก็ให้ได้ความรู้ที่ต้องการ และเป็นความรู้ที่มีคุณภาพ ในการค้นครั้งเดียว และเมื่อถามเข้าไปในชุมชน ก็ได้รับคำตอบที่ ต้องการโดยเร็ว โดยบริษัท Fluor กำหนดให้ไม่เกิน ๔๘ ชั่วโมง แต่ต้องการให้ได้ภายในเวลา ไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง

เขามีวิธีขจัดความรู้ที่ล้าสมัย หรือมีที่ใช้น้อย เอาออกไปจากคลังความรู้ หรือเอาบางส่วนไป บูรณาการเข้ากับส่วนอื่น เพื่อทำให้คลังความรู้ไม่รก ค้นง่าย ซึ่งหมายความว่าระบบตรวจสอบคุณภาพ และความทันสมัยของความรู้ต้องดี และทำงานอยู่ตลอดเวลา


ผูกพันสมาชิก

ดำเนินการผูกพันสมาชิกด้วยวิธีการต่อไปนี้

  • รณรงค์ เรื่องราวความสำเร็จ (success story campaign) แต่ละปีบริษัทคัดเลือก 50 – 80 SS ที่มีคุณภาพสูง นำมาประเมินและปรับปรุงถ้อยคำและวิธีนำเสนอโดยทีมแกนนำส่วนกลาง แล้วนำเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงจำนวนหนึ่ง ให้ ประเมิน 16 – 20 SS และเลือก SS ที่ สะท้อนความร่วมมือ การแบ่งปันความรู้ และมีคุณค่าต่อองค์กร ผู้บริหารที่ทำหน้าที่นี้ มีการหมุนเวียนกันทุกปี ทีมชนะการรณรงค์เรื่องราวความสำเร็จ ได้รับเกียรติให้เลือก องค์กรการกุศลที่องค์กรบริจาคช่วยเหลือ องค์กรประกาศเหตุผลที่องค์กรการกุศลนั้น ได้รับเลือก เรื่องราวของ SS ได้รับการกล่าวขานซ้ำแล้วซ้ำเล่า สร้างแรงบันดาลใจ และความผูกพันของสมาชิก
  • รางวัลความยอมรับ และชื่นชม ของเพื่อนร่วมงาน เป็นรางวัลแก่พฤติกรรมในการ เป็นสมาชิก CoP ได้แก่เสนอความรู้(ปฏิบัติ)เข้า knowledge portal อย่างสม่ำเสมอ แสดงบทบาทสมาชิกที่เอาจริงเอาจัง และเสนอแนะการปรับปรุงเพื่อพัฒนาความเข้มแข็ง ของ CoP การเสนอชื่อคนเข้ารับรางวัลทำโดยเพื่อนร่วมงาน รางวัลที่ได้เป็นโล่ และความชื่นชมจากเพื่อนร่วมงาน
  • ระบบผู้เชี่ยวชาญความรู้เฉพาะด้าน ผู้เชี่ยวชาญนี้ได้รับการคัดเลือกจากเพื่อน ร่วมงาน การได้รับคัดเลือกถือว่าเป็นเกียรติ และได้รับการยอมรับอย่างสูง ผู้เชี่ยวชาญได้รับสัญญาณ เตือนเมื่อมีการโพสต์ความรู้ในสาขาที่ตนเชี่ยวชาญ ลงใน Discussion Forum และจะได้รับ การร้องขอให้ตรวจสอบความรู้ชิ้นที่ตนเชี่ยวชาญ
  • ใช้ KM เป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์คัดเลือกคนที่จะมาเป็นพนักงาน ในกระบวนการคัดเลือก ผู้สมัครงานจะได้ทดลองเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้เข้าใจและแสดงพฤติกรรมในวัฒนธรรม แบ่งปันความรู้
  • บูรณาการในการฝึกอบรมพนักงานใหม่ พนักงานใหม่จะได้รับการฝึกทักษะการแบ่งปัน ความรู้ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ภายใต้วัฒนธรรมแบ่งปันความรู้ ที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • โปรแกรมปั้นผู้เชี่ยวชาญความรู้เฉพาะด้าน โดยการจับสามพนักงานใหม่ พนักงานระดับ กลาง และพนักงานอาวุโสที่เป็นผู้เชี่ยวชาญความรู้ เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดและการดูดซับความรู้รุ่นต่อรุ่น และไว้ภายในองค์กร

มีกิจกรรมประจำปีชื่อ Knowvember Knowledge Campaign เพื่อเฉลิมฉลองความรู้ และผลกระทบต่อองค์กร ตลอดเดือนพฤศจิกายนของทุกปี สมาชิก CoP ได้รับการ เชิญชวนเร่งเร้าให้เสนอ SS ระดับโลก และเสนอชื่อสมาชิกของ CoP ที่แสดงบทบาท ได้ดีเยี่ยม


CoP ระดับโลก

ทุก CoP เป็น CoP ระดับโลก ที่มีสมาชิกมาจากหน่วยงานขององค์กรจากทั่วโลก การทำงานด้านต่างๆ ของ KM ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทั่วโลก สร้างความผูกพันต่อสมาชิกจากทั่วโลก

เรื่องราวของ KM ในบริษัท Fluor ยังไม่จบ ยังมีต่อในตอนที่ ๑๗


วิจารณ์ พานิช

๒ ส.ค. ๕๘


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/594825

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 29 กันยายน 2015 เวลา 21:09 น.
 


หน้า 285 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5645
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8748255

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า