Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๔๙๙. ศิลปะจีน.

พิมพ์ PDF

ภาพยนตร์สารคดีของ บีบีซี เรื่อง Art of China มี ๓ ตอน เล่าเรื่องศิลปะจีนตั้งแต่สมัยสามพันปีก่อน ว่าตอนนั้นศิลปะผูกพันอยู่กับ tomb และ temple เป็นเครื่องดินเผา (terra cotta) และเครื่องบรอนซ์

ต่อมาเป็นศิลปะที่ผูกพันกับศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธ มีการแกะสลักพระพุทธรูป และเรื่องราวการต่อสู้ กับกิเลสของมนุษย์ ในถ้ำ หรือสลักเข้าไปในภูเขาหิน เห็นแล้วการสลักภูเขาหินทำที่อยู่ของอินเดียนแดงที่ผมเคยไปดู (และบันทึกไว้ ที่นี่) ชิดซ้ายไปเลย

ยุคต่อมา มีภาพวาดธรรมชาติโดยยอดศิลปินแห่งยุคบนผืนผ้าที่เก็บเป็นม้วน เรียกว่า scroll ยาวเป็นสิบเมตร ที่เขาเก็บไว้อย่างดี เวลาเอามาให้ชม คนชมต้องสวมผ้าปิดปากปิดจมูก

ต่อมาศิลปะเข้าไปรวมอยู่ในสถาปัตยกรรม ที่ใหญ่โตโอ่อ่าสะท้อนความเป็นโอรสสวรรค์ของฮ่องเต้ และฮ่องเต้บางองค์ก็โปรดสะสมศิลปวัตถุต่างๆ

ถึงราชวงศ์ชิง ที่จักรพรรดิ์เฉียนหลงเป็นพระเอก เป็นกษัตริย์แห่งศิลปะ ให้วาดภาพสภาพเป็นอยู่ของผู้คน ที่สะท้อนความเจริญมั่งคั่งของสังคมจีน

แล้วก็เข้าถึงยุคที่ตะวันตกเข้ามา เริ่มแรกก็ทำการค้า แล้วก็มอมเมาด้วยฝิ่น ตามด้วยรุกราน และยึดครอง จนนำไปสู่การปฏิวัติเปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐในปี 1911

ปี 1928 มีภาพวาดสไตล์ตะวันตก สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกจากการถูกญี่ปุ่นรุกราน เป็นศิลปะภาพวาด แบบตะวันตกชิ้นเยี่ยมชิ้นแรกของจีน

แล้วก็ถึงยุคจีนคอมมิวนิสต์ ยุคปฏิวัติวัฒนธรรม ที่ศิลปวัตถุถูกทำลายไปมากมาย เพื่อทำลายล้างทรากเดนศักดินา จนถึงยุคปัจจุบัน ก็ยังมีศิลปินตีความสังคม ผลิตชิ้นงานศิลปะออกมาบอกความสะเทือนอารมณ์แก่สังคม

ผมได้เรียนรู้ทั้งด้านศิลปะและประวัติศาสตร์

ขอขอบคุณ อ. หมอปรีดา มาลาสิทธิ์ ที่เอื้อเฟื้อไฟล์ภาพยนตร์


วิจารณ์ พานิช

๒๓ ส.ค. ๕๘


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/595009

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน 2015 เวลา 16:14 น.
 

Performance Management Starts With Onboarding

พิมพ์ PDF

Performance Management Starts With Onboarding by Sharlyn Lauby

Many organizations are re-examining the value of the performance management process - and with good reason. The workplace doesn’t look the same. Employees are being asked to develop new and different skills. We shouldn’t think that the performance management processes that worked a decade ago would still be as effective today.

But the answer isn’t to eliminate or decrease performance management. It plays an important role in the organization. According to the Society for Human Resource Management (SHRM), performance management “drives employee behavior to align with organizational goals and objectives.” This is exactly the reason why performance management needs to play a greater role within the organization. If not a greater role, then at least an earlier role.

The earliest connection a new hire has with the organization is onboarding. My definition for onboarding is the process in which an employee acquires the knowledge and skills to be an effective employee. Because employees gain knowledge and skills about the company prior to ever completing an application, I include recruiting in the onboarding process. Then of course, when an employee gets hired, they attend orientation, receive initial training, etc. All of these activities are a part of the total onboarding process.

Performance management starts on day one

For employees to perform at a high level, it only makes sense to include performance management in the onboarding process. This means talking about performance management before an employee ever applies. Here are some examples:

On career portals, we tell employees about office environments, perks and benefits, etc. Also let employees know before they ever apply that the organization wants them to be successful, so regular performance conversations are a part of the company culture. Feedback leads to better performance which allows both the company and the employee to achieve their goals.

During interviews, we ask employees about their past jobs and work responsibilities. Include in the interview questions about the best way to share feedback or the most valuable feedback received from their boss. It will help the company learn more about the candidate and their preferred ways of hearing performance feedback. The candidate will understand the importance of performance management within the organization.

In orientation, we share the company history, explain benefits, and outline policies and procedures. Add to the list distributing performance appraisals so employees can get comfortable with the form, the process and ask questions. After orientation, managers can review the form in detail with employees so they understand rating scales and how performance is evaluated.

After orientation, give employees a checklist of remaining tasks they should complete with deadline dates. I’m a fan of this for several reasons. Employees have a roadmap of activities they need to learn. They don’t have to wonder “Is my manager going to train me on this?” The checklist tells them the plan. The company can schedule these activities at exactly the right time so employee retention is at its highest. Managers can keep track of the tasks that need completion. They can also assign other employees to complete tasks with the new hire.

Making performance a priority throughout the employee lifecycle

Organizations that value the role employee performance plays in helping it achieve its goals and objectives (and that should be every organization), will want employees to understand that performance is a priority. It’s not about having performance meetings when employees do something wrong and documenting behavior. It isn’t about once a year conversations. Performance management is about developing employees to be their best. That should be ingrained in organizational culture.

As organizations spend more time talking about employment brands, candidate experiences and employee retention, the question should be asked: Are we telling employees that their performance matters and we want them to be successful? If the answer is “yes”, then confirm that employees are hearing it early and every step of the way.

คัดลอกจาก : http://www.halogensoftware.com/blog/performance-management-starts-with-onboardingPerformance Management Starts With Onboarding

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 16 กันยายน 2015 เวลา 09:26 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๔๙๔. เปิดโอกาสทางสังคม

พิมพ์ PDF

คนที่เกิดมาด้อยโอกาสนั้น ความด้อยโอกาสมีมากกว่าด้อยทางเศรษฐฐานะ และฐานะในสังคม และความด้อยโอกาส บางด้านอาจแฝงอยู่อย่างลี้ลับจนไม่มีใครตระหนักรวมทั้งเจ้าตัว เช่น ด้อยโอกาสเห็นโลกกว้าง สังคมวงกว้าง เพราะหน้าที่ การงาน (ที่ดีเลิศ) กำหนดให้ต้องทำงานและมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในวงแคบ วันแล้ววันเล่า ปีแล้วปีเล่า จนกลายเป็นคนที่ ความคิดคับแคบ ขัดแย้งกับคนอื่นง่าย

“เลขา” หายไปสิบกว่าวัน กลับมาอย่างกระปรี้กระเปร่า และเล่าเรื่อง Transformative Learning ของนักศึกษาสาว ไทยมุสลิมที่ได้รับทุนจาก มูลนิธิพูนพลัง แบบที่มีเรื่องเล่าหลายตอนไม่รู้จบ คราวนี้เป็นการเรียนรู้ จากการไปออกค่ายในอีสาน ร่วมกับคนญี่ปุ่น

ฟังแล้วผมคิดว่านักศึกษาคนนี้ได้เรียนรู้สิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิตอย่างมากมาย ในลักษณะเปลี่ยนความคิดต่อการเคร่งศาสนา ในเรื่องอาหาร ที่เดิมตนเคร่งเกินพอดี พอคนญี่ปุ่นตั้งคำถามแบบซื่อๆ ก็ฉุกคิด และโทรศัพท์ไปถามครูสอนศาสนาอิสลาม และได้คำตอบว่า ศาสนาไม่ได้ห้ามอย่างที่ตนคิด นักศึกษาคนนี้ถึงกับอุทานว่า “หนูเข้าใจผิดมาตลอดชีวิต”

ผมมองว่า นี่คือการที่พูนพลัง">มูลนิธิพูนพลังทำประโยชน์ให้แก่นักศึกษาที่ได้รับทุน ในลักษณะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (socialization) กับคนต่างชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม ที่เป็นมิตร เกิดการเปิดโลกทัศน์ นำไปสู่ “การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง” ความคิดเกี่ยวกับข้อห้ามในศาสนาของตน

คนที่เกิดมาด้อยโอกาสนั้น ความด้อยโอกาสมีมากกว่าด้อยทางเศรษฐฐานะ และฐานะในสังคม และความด้อยโอกาส บางด้านอาจแฝงอยู่อย่างลี้ลับจนไม่มีใครตระหนักรวมทั้งเจ้าตัว เช่น ด้อยโอกาสเห็นโลกกว้าง สังคมวงกว้าง เพราะหน้าที่ การงาน (ที่ดีเลิศ) กำหนดให้ต้องทำงานและมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในวงแคบ วันแล้ววันเล่า ปีแล้วปีเล่า จนกลายเป็นคนที่ ความคิดคับแคบ ขัดแย้งกับคนอื่นง่าย

การศึกษา หรือการเรียนรู้ ในชีวิตนี้ มีมากกว่าการศึกษาในรูปแบบมากมายนัก วันนี้ผมได้เรียนรู้แง่มุมที่จะช่วยให้ทำ หน้าที่ประธานมูลนิธิพูนพลังได้ดียิ่งขึ้น อีกแง่มุมหนึ่ง เกิดความสุขใจยิ่งนัก



วิจารณ์ พานิช

๑๒ ส.ค. ๕๘

วันแม่


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/594610

 

TMA Open House 2015

พิมพ์ PDF

เรียน ทุกท่าน

ตามที่-TMA สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ได้จัดงาน TMA Open House 2015 ในวันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา ภายใต้หัวข้อ “Developing Global Leadership” เพื่อเผยแพร่ความรู้และถ่ายทอดวิสัยทัศน์ของผู้นำที่ประสบความสำเร็จในการนำพาธุรกิจก้าวไกลสู่ระดับสากลให้แก่สมาชิกและบุคคลภายนอกนั้น ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกท่านได้รับประโยชน์สูงสุดจากการสัมมนา ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ ขอนำส่งไฟล์ presentation ในวันดังกล่าวโดยท่านสามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิ้งค์ตามด้านล่าง

1. หัวข้อ “A Vision of Global Leader”

โดย คุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และ กรรมการอำนวยการ TMA

http://tma.or.th/userfiles/printing_download/20150908110507.pdf

2. หัวข้อ “Thailand Competitiveness”

โดย คุณวรรณวีรา รัชฎาวงศ์ กรรมการบริหาร TMA

http://tma.or.th/userfiles/printing_download/20150908105930.pdf

 

 

 

ขอแสดงความนับถือ

 

ธนวัฒน์ อารีประยูรกิจ

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 08 กันยายน 2015 เวลา 23:20 น.
 

Infographic รายงานผลการจัดการความรู้องค์กร 2558.

พิมพ์ PDF

คัดลอกจาก บทความของ ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ ใน gotoknow

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 07 กันยายน 2015 เวลา 11:22 น.
 


หน้า 287 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5645
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8748237

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า