Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ผลลัพธ์การจัดการความรู้องค์กร 7 ประการที่ทุกองค์กรควรรู้

พิมพ์ PDF

ตอนที่ 2 ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ 7 ประการที่ทุกองค์กรควรรู้

ต้องขอขอบคุณสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านเป็นอย่างยิ่งสำหรับความร่วมมือในการระดมสมองทางออนไลน์ด้านการจัดการความรู้ (Knowledge management: KM) ครั้งสำคัญของประเทศอีกครั้งนะคะ

จากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามในอาทิตย์ที่ผ่านมา 1,600 คน พบข้อมูลผลการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ในองค์กรของไทยดังนี้ค่ะ


ผลการทำ KM ในองค์กร

(1) 82% ทำงานในองค์กรที่มีการริเริ่มโครงการ KM แล้ว

(2) 66% คิดว่าโครงการ KM ในองค์กรไม่ประสบความสำเร็จ

(3) 59% คิดว่าไม่ควรส่งองค์กรเข้าประกวดองค์กรแห่งการเรียนรู้ (L0)

ปัญหาหลักที่พบในการทำโครงการ KM คือ

(4) 58% คิดว่าผู้ใช้ไม่ค้นหาความรู้จากระบบการจัดการความรู้

(5) 50% คิดว่าผู้ใช้ไม่ให้ความร่วมมือในการเพิ่มความรู้ลงในระบบ

(6) 46% คิดว่าองค์กรมีระบบจัดเก็บความรู้ที่กระจัดกระจาย ไม่มีระบบศูนย์กลางของการจัดการความรู้

สาเหตุที่ไม่มีการนำ KM มาใช้ในองค์กรอย่างเต็มที่

(7) 45% คิดว่าองค์กรไม่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะวางแผนและนำการจัดการความรู้มาใช้


ซึ่งพอจะเห็นภาพได้ค่อนข้างชัดเจนว่า

การจัดการความรู้ในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จ

โดยเฉพาะคนทำงานภาครัฐ (80% ของผู้ตอบแบบสอบถาม) รู้จักการจัดการความรู้กันทั้งนั้นค่ะ แต่ยังไม่เกิดความเข้าใจในกระบวนการ KM ที่แท้จริงทั้งด้าน Human KM และ KM technology ความยั่งยืนของโครงการ KM ต่างๆ ในองค์กรจึงขาดหายไปค่ะ

ผลจากโครงการ KM เหล่านี้จึงไม่สามารถส่งผลไปยังเป้าหมายหลักขององค์กรนั้นๆ ค่ะ อาทิ การเพิ่มขึ้นของยอดขาย การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การพัฒนาปรับปรุงบริการและผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ๆ เป็นต้น

ดังนั้นประเทศไทยยังต้องการการผลักดันครั้งใหม่เพื่อการจัดการความรู้ของประเทศค่ะ (KM 3.0) เพราะความรู้เป็นสินทรัพย์ที่สำคัญขององค์กรและบุคคลค่ะ แม้จะแตะต้องไม่ได้แต่ยิ่งจัดการก็จะยิ่งเพิ่มพูน และจะยังผลให้เพิ่มประสิทธิภาพต่อการตัดสินใจ การพัฒนางาน พัฒนาคน และพัฒนาองค์กรค่ะ

และในปัจจุบันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้อย่างยิ่งค่ะ อาทิ บริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำของโลก 100 บริษัทมุ่งพัฒนาระบบเพื่อการจัดการความรู้ทั้งนั้น เพราะอันที่จริงแล้วความรู้ในตัวบุคคลแลกเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลาทั้งในทางออนไลน์และออฟไลน์และมีอยู่เป็นจำนวนมากมหาศาล อาทิ บันทึก ความเห็น การสนทนา อย่างที่เราเรียกกันว่า Big data นั่นเองค่ะ

ดิฉันขอทิ้งท้ายไว้แค่นี้ค่ะ พร้อมเปิดประเด็นให้ทุกท่านได้แลกเปลี่ยนค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

 

สายงานที่นำ KM ไปใช้

ช่องทางการใช้ความรู้

สาเหตุที่ไม่ทำ KM

 

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/594272

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 07 กันยายน 2015 เวลา 11:36 น.
 

ขอบฟ้าใหม่ในเรื่องความรู้ : 14. ปฏิบัติตาม Best Practice.

พิมพ์ PDF

การดำเนินการจัดการความรู้ให้เกิดผลดีต่อองค์กรไม่น่าจะยากเกินเอื้อม หากยึดหลักการ ตามประสบการณ์ของผู้ทำมาก่อนแล้ว และรู้จักใช้ตัวช่วย

บันทึกชุด “ขอบฟ้าใหม่ในเรื่องความรู้” นี้ ถอดความจากหนังสือชื่อ The New Edge in Knowledge เขียนโดย Carla O’Dell & Cindy Hubert แห่ง APQC (American Productivity and Quality Center) ให้มุมมองต่อ KM สมัยใหม่ มีประเด็นทั้ง เชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ สอดคล้องกับยุคสมัยอย่างยิ่ง

บันทึกตอนที่ ๑๔ นี้ มาจากบทที่ 11 Make Best Practices Your Practices

สรุปได้ว่า การดำเนินการจัดการความรู้ให้เกิดผลดีต่อองค์กรไม่น่าจะยากเกินเอื้อม หากยึดหลักการ ตามประสบการณ์ของผู้ทำมาก่อนแล้ว และรู้จักใช้ตัวช่วย

สาระในตอนนี้เป็นการตอกย้ำวิธีปฏิบัติที่ดีที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนก่อนๆ โดยต้องไม่ลืมว่า คนทำงานในยุคนี้ (Gen Y) แตกต่างจากคนในยุค Gen X ที่รอไม่เป็นและสมาธิสั้น ต้องจัดให้สามารถ ได้ความรู้ที่พร้อมใช้ ณ เวลาที่ต้องการ

ในงานและนอกงาน

ผู้เขียนแนะนำประเด็นสำคัญ ๔ ประเด็นคือ

  • จัดการความรู้ในงาน และจัดการความรู้นอกงาน การดำเนินการ KM ตามขั้นตอนของงาน เพื่อส่งเสริมให้พนักงานทำงานง่ายขึ้น โดยการร่วมมือกัน ในการจับ (capture) ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยไม่เสียเวลา ทำงานตามขั้นตอนปกติ เรียกว่าทำ KM ในงาน (KM in the work flow) ส่วนการดำเนินการ KM แบบที่พนักงานต้องหยุดงาน เพื่อร่วมกัน ไตร่ตรองสะท้อนคิด เรียกว่าการจัดการความรู้นอกงาน (KM above the work flow) ทั้งสองแบบมีประโยชน์
  • จัดทีมออกแบบ และ CoP ตามธุรกิจและพนักงานทุกระดับ คือต้องจัดให้พนักงาน ทุกระดับมีส่วนในการออกแบบ และดำเนินการระบบ KM เพื่อให้ระบบ KM สนับสนุนการทำงาน ของพนักงานทุกระดับชั้น
  • ให้พนักงานได้รับบริการอำนวยความสะดวกด้านความรู้ ณ เวลาที่ต้องการ (Teachable Moment) ให้พนักงานค้นหาความรู้ที่ต้องการ ณ เวลา และสถานที่ปฏิบัติงาน เพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาต่อ work flow เวลานี้มีเทคโนโลยีให้จัดอำนวยความสะดวกตาม หลักการดังกล่าวได้ไม่ยาก
  • จัดพื้นที่มาตรฐานสำหรับความร่วมมือในการทำงาน ที่ใช้ในทุกส่วนขององค์กร ซึ่งจะช่วย ให้พนักงานทำ KM แบบไม่รู้สึกตัว และช่วยให้สามารถวัด KM เปรียบเทียบข้ามหน่วยงาน ได้

หลักการอื่นๆ

อย่าลืมพลังของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบ F2F (Face to Face) การพบกันใน virtual space ไม่ทดแทนการพบปะกันจริงๆ

การวัดมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นกลไกเชื่อม KM เข้ากับผลประกอบการ ขององค์กร

เมื่อกำหนดผลที่ต้องการจาก KM ให้วางแผนวัดผลกระทบดังกล่าวทันที แนวคิดเช่นนี้จะช่วยให้กระบวนการ KM พุ่งเป้า ไม่เลื่อนลอย

กำหนดยุทธศาสตร์ KM ของทั้งองค์กร ซึ่งจะมีประโยชน์

-ช่วยให้ KM เอื้อต่อพนักงานในหลายหน่วยงานขององค์กร

-ส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากร KM และ IT อย่างมีประสิทธิภาพ

-เพิ่มโอกาสการจัดมาตรฐาน และการนำความรู้ไปใช้ต่อ

-สร้างความชัดเจนต่อธุรกิจ และผลที่ต้องการ

-เอื้อต่อการเน้นเนื้อหาและการเชื่อมต่อ ไม่หลงเน้นวิธีการ KM

  • เชื่อมโยงและยกระดับ ใช้ความรู้จาก SS หรือ Best Practice ที่มีอยู่แล้ว และหาทาง ยกระดับขึ้นไป

แหล่งความรู้

ในกรณีของความรู้ที่หายาก เช่นความรู้ด้านเทคนิค หรือความรู้ด้านการตลาด ระบบ KM สามารถช่วยเชื่อมความรู้จากภายนอกองค์กร ที่คัดเลือกแล้วว่าเหมาะสมต่องานขององค์กร นำมาอยู่ใน ฐานความรู้ขององค์กร ให้พร้อมต่อการค้นเมื่อพนักงานต้องการใช้

 

อย่าเริ่มจากศูนย์

เขาถือโอกาสโฆษณา เว็บไซต์ www.newedgeinknowledge.com เป็นตัวช่วย ว่าสามารถเข้าไป ประเมินตนเองอย่างง่าย หรือเข้าไปขอความช่วยเหลือเพื่อประเมินในรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้น และสามารถ เปรียบเทียบกับองค์กรในกลุ่มเดียวกันได้

หรือแม้องค์กรมี KM ที่ก้าวหน้าแล้ว ก็ยังสามารถใช้บริการของทีมที่ปรึกษา KM ได้

วิจารณ์ พานิช

๒๘ ก.ค. ๕๘

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/594445

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 07 กันยายน 2015 เวลา 11:46 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๔๗๗. Big data กับการนอนหลับที่มีคุณภาพ

พิมพ์ PDF

บทความเรื่อง Can big data help you get a good night’s sleep?บอกเราว่า sensor การนอนหลับที่มีคนซื้อมาสวมข้อมือ กำลังสร้าง big data ให้แก่บริษัทขายเครื่องดังกล่าว สำหรับทำวิจัยทำความเข้าใจการนอนหลับที่มีคุณภาพสูง

ผมเคยบันทึกเรื่อง big data ไว้ ที่นี่

คราวนั้น เป็นเรื่องการใช้ big data พัฒนาวิธีวินิจฉัยโรคตั้งแต่เริ่มต้น ยังไม่มีอาการ คราวนี้ เป็นเรื่องการใช้ big data พัฒนาคุณภาพของการนอนหลับ ดำเนินการโดยบริษัท Fullpower ที่มีทั้ง sleep lab เอาพนักงานมาทดสอบการนอนหลับหาข้อมูล polysomnogram ของแต่ละคน

นอกจากนั้น บริษัท Fullpower ยังมีข้อมูลจากเครื่อง wearable sleep-tracking & activity monitoring เช่นยี่ห้อ Jawbone UP, Nike Fuel, เป็นต้น ที่บริษัทขาย software ให้ และให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า และในขณะเดียวกัน ก็ใช้ข้อมูลในการวิจัย เพื่อทำความเข้าใจรายละเอียดต่างๆ ของการนอนหลับในคนจำนวนมาก … big data ที่ขณะนี้เขามีข้อมูลการนอนหลับของคน ๒๕๐ ล้านคืน สำหรับเอามาวิเคราะห์หาความหมายได้

เขาพบว่า หากตื่นตอนกำลังนอนหลับไม่ลึก ตื่นขึ้นมาจะรู้สึกสดชื่น กระชุ่มกระชวย จึงสร้างโปรแกรมให้เครื่อง ปลุกตอนที่คนกำลังอยู่ในช่วงนอนหลับตื้น

อีกทีมหนึ่ง ที่กำลังศึกษาข้อมูล big data ของการนอนหลับ คือทีมของบริษัท Fitbit ซึ่งทั้งขายเครื่องติดตามการนอนหลับ และการเคลื่อนไหวร่างกาย และพัฒนาซอฟท์แวร์ในการจัดการและวิเคราะห์ big data ที่ได้จากเครื่อง Fitbit ที่เป็นสายรัดข้อมือบอก การนอนหลับและการเคลื่อนไหวที่ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด เขาพบว่าคนอายุ ๔๐ - ๖๐ ปีเป็นช่วงนอนน้อย และผู้หญิงนอน มากกว่าผู้ชาย แต่ความต่างนี้น้อยลงเมื่อสูงอายุ ในฤดูหนาวคนนอนหลับยาวกว่าในฤดูร้อน

ทีมที่สาม บริษัท Reset Therapeutics ทำวิจัยเรื่องการหลับลงลึกไปถึงขั้น Genomics และ High throughput screening เพื่อหายาที่มีผลเปลี่ยนจังหวะการนอนหลับ

ผมขอทำตัวเป็นทีมที่สี่ (ตัวคนเดียว) ที่ไม่ได้ใช้เครื่องสวมข้อมือ เคยแต่ลองใช้ iPhone 6 download App ฟรี Sleep Better มาลองใช้ และพบว่าคุณภาพการนอนหลับของผมดีเกินคาด ผมนอนหลับวันละ ๗ ชั่วโมง หลับรวด ไม่ฝันเลย ไม่ตื่นเข้าห้องน้ำ และเครื่องบอกว่าเป็นช่วงหลับลึกกว่าร้อยละ ๘๐ ผมคิดเอาเองว่า คุณภาพการหลับนี้มาจากการวิ่งออกกำลัง ทุกเช้า การทำจิตใจให้ปลอดโปร่งไม่เก็บเรื่องจุกจิกมากวนใจ การแผ่เมตตา และการกินอาหารสุขภาพ


วิจารณ์ พานิช

๑๖ ก.ค. ๕๘

ห้องรับรองการบินไทยที่สนามบินสุวรรณภูมิ รอไปลอนดอน


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/593631

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 07 กันยายน 2015 เวลา 11:52 น.
 

ข้อมูลโปรไฟล์สำคัญ 4 ประการของชาว

พิมพ์ PDF

เพียงแค่หนึ่งสัปดาห์เท่านั้นค่ะ ผู้เขียนและผู้อ่าน GotoKnow.org จำนวน 1,600 คนได้ร่วมกันระดมสมองทางออนไลน์ (Crowdsourcing) เสนอความเห็นต่อการดำเนินการด้านการจัดการความรู้ในองค์กรที่ตนปฏิบัติงานอยู่

ต้องขอขอบคุณสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านเป็นอย่างยิ่งสำหรับความร่วมมือในการระดมสมองด้านการจัดการความรู้ครั้งสำคัญของประเทศครั้งนี้นะคะ

ทีมงานได้เร่งการวิเคราะห์ผลการสำรวจออกมาอย่างรวดเร็วเพื่อเป็นข้อมูลประกอบในที่ประชุมการจัดการความรู้ซึ่งทาง สคส. และ สสส. กำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 11-12 กย. นี้ค่ะ

จากการวิเคราะห์เราพบข้อมูลที่สำคัญด้านลักษณะทางประชากรศาสตร์หรือโปรไฟล์ 4 ประการของสมาชิก GotoKnow.org ดังนี้ค่ะ

76% เป็นคนทำงานภาครัฐ 52% มาจากองค์กรด้านการศึกษา 79% อยู่ในระดับผู้ปฏิบัติการ 27% ทำงานในองค์กรปัจจุบัน 20-40 ปี 23% ทำงานในองค์กรปัจจุบัน 5-10 ปี

ดิฉันขอสรุปออกมาคร่าวๆ นะคะ

  1. คน GotoKnow เป็นคนทำงานของรัฐค่ะ
  2. มากกว่าครึ่งอยู่ในองค์กรด้านการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัย โรงเรียน
  3. เกือบ 80% เป็น knowledge workers ของแท้หรือ "คุณกิจ" หรือคนทำงานที่สร้างทรัพย์สินที่แตะต้องไม่ได้ให้แก่องค์กรค่ะ
  4. OMG! ข้อนี้สำคัญทีเดียวค่ะ อายุการทำงานมากๆ กันทั้งนั้นนะคะ (เฉพาะผู้เขียนเองก็ทำงานให้ มอ. มาร่วม 20 ปีแล้วนะคะ) ถ้าบุคคลเหล่านี้ได้ถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานและการใช้ชีวิตลงใน GotoKnow อย่างต่อเนื่อง ประเทศชาติเราจะมีคลังความรู้แห่งประสบการณ์ (Knowledge asset) ที่ระบุตัวตนของเจ้าของความรู้ (Expert mapping) ขนาดใหญ่ที่สุดเชียวนะคะ

ลองดูข้อมูลแล้วคิดเห็นอย่างไรบ้างค่ะ

รอ ลปรร. แลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่นะคะ

ขอบคุณค่ะ

 

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/594269

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 07 กันยายน 2015 เวลา 11:41 น.
 

ดร.แดน คนดีมีพลัง

พิมพ์ PDF

ได้รับการ์ดเชิญร่วมชมละครประกอบเพลงประมวลแนวคิดและแนวทางของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ ในการพัมนาประเทศไปสู่ความเป็นอารยะ เนื่องในโอกาสคล้ายวันเกิดครบรอบ 60 ปี ของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  ในวันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน 2558 เวลา 13.30-16.30 น ณ.อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี

ผมพบและรู้จักท่าน ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ในงานประชุมและสัมมนา หลายครั้งด้วยกัน แต่ยังไม่ลึกซึ่งในผลงานของท่านมากนัก เคยตั้งใจลงคะแนนเลือกตั้ง สส และผู้ว่า กทม แต่ก็ไม่ได้เลือก

กิจกรรมพิเศษในวันนี้เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง ผมขอแสดงความชื่นชมทั้งท่าน ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ และทีมงานของท่าน กิจกรรมในวันนี้ทำให้ผมเข้าใจผลงานของท่าน ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ ลึกซึ้งมากขึ้น ท่านมีความอดทนและมีความตั้งใจอย่างน่าสรรเสริญ อยากเห็นประเทศไทยเป็นอารยะ นับจากนี้เป็นต้นไปผมจะติดตามงานของท่านอย่างต่อเนื่อง และพร้อมที่จะเป็นแนวร่วมและเครือข่ายของท่านในการรณรงค์เพื่อสร้าง "สยามให้เป็นอารยะ"

 

 

 

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

6 กันยายน 2558

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 06 กันยายน 2015 เวลา 20:41 น.
 


หน้า 288 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5645
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8748236

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า