Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ศิลปะและวัฒนธรรม .......จัดการอย่างไรภายใต้การเปลี่ยนแปลง

พิมพ์ PDF

ศิลปะและวัฒนธรรม ................จัดการอย่างไรภายใต้การเปลี่ยนแปลง

ในสภาพสังคมปัจจุบัน เราไม่อาจยับยั้งการหลั่งไหลและถาโถมของศิลปะและวัฒนธรรมที่เข้ามาทุกทิศทางพร้อมกับอารยธรรมในโลกศตวรรษที่ ๒๑ ได้ แต่เราจะอยู่ร่วมกับ "ความเป็นอื่น" อย่างไร ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงโดยไม่ถูกครอบงำและกลืนหาย หากคนไทยและสังคมไทยไม่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ไม่รู้เท่าทันสื่อ ไม่ตระหนักถึงคุณค่าเชิงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง ขาดการน้อมนำการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ไม่มีกระบวนการวางรากฐานเชิงระบบ และไม่บริหารจัดการ สังคมทั้งสังคมก็จะขาดภูมิคุ้มกันทางปัญญา อันเป็นผลต่อมาให้การพัฒนาคนบนรากฐานของศาสนา ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ไม่อาจเกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน

คำตอบสำคัญในที่นี้อยู่ที่การพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรมของเราให้มีอัตลักษณ์ มีความเป็นหนึ่ง เป็นตัวของตัวเอง มีคุณค่าโดดเด่น ภายใต้การบริหารจัดการที่ดีและสมดุลของภาคประชาชนผู้เป็นเจ้าของศิลปะและวัฒนธรรม  โดยมีกฏหมายเป็นเครื่องรองรับ

แต่ทว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาคประชาชนไม่สามารถเข้ามามีบทบาทในการปกครอง ฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสาน พัฒนาศิลปะและวัฒนธรรม และบริหารจัดการได้อย่างเต็มที่และเต็มศักยภาพนั้น คือ ข้อจำกัดทางกฏหมายที่ไม่เอื้อประโยชน์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอและจัดการนโยบายด้านศิลปะและวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วมและเป็นรูปธรรม การขาดดุลยภาพในการจัดการด้านศิลปะและวัฒนธรรมในส่วนของภาคประชาชน การขาดพื้นที่สาธารณะเพื่อการแสดงผลงานและการเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม รวมถึงการขาดโอกาสในช่องทางและการเข้าถึงในการสนับสนุนต่อยอดทั้งในด้านแหล่งทุนและองค์ความรู้

ในขณะที่ภาครัฐที่ดูแลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมส่วนใหญ่เน้นการทำงานในเชิงรับ ขาดกลไกเชิงรุกในการประสานงานกับทุกภาคส่วนต่างๆ ผู้ปฏิบัติงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมในด้านต่างๆขาดความเข้มแข็ง และไม่มีเครือข่ายที่กว้างขวาง ศิลปินหรือผู้ที่เป็นเจ้าของผลงานศิลปะไม่ได้รับการคุ้มครองผลงานอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพเพียงพอ

คัดลอกจาก "สมุดปกขาว" แจกในเวทีสัมมนา การรับฟังและสร้างการมีส่วนร่วม นโยบายปฏิรูปศิลปะและวัฒนธรรม โดยคณะกรรมาธิการปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและศาสนา

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2015 เวลา 11:07 น.
 

กรอบความคิดหลักของการปฎิรูปด้านศิลปะและวัฒนธรรม

พิมพ์ PDF

กรอบความคิดหลักของการปฎิรูปด้านศิลปะและวัฒนธรรม

"ศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ"

เนื่องจากศิลปะและวัฒนธรรม มีส่วนสำคัญในการหล่อหลอม สร้างเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ได้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ยกระดับความตื่นรู้ทางปัญญา ยกระดับความฉลาดรู้ด้านสื่อและวิถีสุขภาวะ บนพื้นฐานของความดี  ความงามและความสุข ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาค และประเทศชาติ ตลอดจนสามารถนำคุณค่าทางศิลปะและวัฒนธรรมมาเป็นพลังในการพัฒนานโยบายและพลังแนวรุกในการขับเคลื่อนมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม การแก้ปัญหาทางสังคม การขับเคลื่อนในมิติต่างๆ จากการยกระดับทุนทางวัฒนธรรม จะนำไปสู่สังคมและประเทศชาติที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามแบบอย่างของนานาอารยประเทศได้ในที่สุด

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว จำเป็นต้องส่งเสริมการสานพลังยกระดับทุนทางวัฒนธรรมและบูรณาการการทำงานแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชน ปราชญ์ชาวบ้าน ศิลปิน นักวิชาการ เอกชนและองค์กรภาครัฐให้เกิดดุลยภาพการจัดการและการพัฒนานโยบายสาธารณะทางวัฒนธรรม และเกิดการขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม จึงสมควรมีนโยบายและกฏหมายรองรับให้เกิดองค์กรสมัชชาศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ โดยมีกองทุนทุนทางวัฒนธรรมแห่งชาติสนับสนุนอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ

วิสัยทัศน์และเป้าหมาย

ภายในปี ๒๕๗๕ ประชาชนคนไทยจะต้องเป็นศูนย์กลางแห่งการบูรณาการในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ การเข้าถึง การมีส่วนร่วมในการสร้างดุลยภาพการบริหารจัดการด้านศิลปะและวัฒนธรรมโดยมีองค์กรสมัชชาศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ กองทุนทุนทางวัฒนธรรมแห่งชาติเพื่อการขับเคลื่อนให้เกิดแผนแม่บทระดับชาติว่าด้วยศิลปะและวัฒนธรรม การเกิดพื้นที่สร้างสรรค์กายภาพและพื้นที่สื่อสาธารณะเพื่อการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทั่วถึง มีคุณภาพและหลากหลาย พัฒนาผู้สร้าง ผู้เสพ และผู้สนับสนุนอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ บนฐานคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนสามารถนำคุณค่าทางศิลปะและวัฒนธรรมมาเป็นพลังในการพัฒนานโยบายและพลังแนวรุกในการขับเคลื่อนมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม การแก้ไขปัญหาสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม สร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุข การขับเคลื่อนในมิติต่างๆจากการยกระดับทุนทางวัฒนธรรม จะนำไปสู่สังคมและประเทศชาติที่มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนตามแบบอย่างนานาอารยประเทศ

คัดลอกจาก "สมุดปกขาว" แจกในเวทีสัมมนา การรับฟังและสร้างการมีส่วนร่วม นโยบายปฏิรูปศิลปะและวัฒนธรรม โดยคณะกรรมาธิการปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฯธรรม จริยธรรมและศาสนา

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2015 เวลา 12:00 น.
 

ศิลปะและวัฒนธรรม .....จรรโลงชาติ

พิมพ์ PDF

ศิลปะและวัฒนธรรม...........จรรโลงชาติ

ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นสื่อเชื่อมประสานและร้อยสายใยทางสังคมในทุกระดับอย่างไม่แบ่งแยก ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น และเติมเต็มช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นใครยากหรือดีมีหรือจน ก็สามารถส่งผ่านความปรารถนาดีต่อกันและกันได้ผ่านศิลปะและวัฒนธรรม ในฐานะกัลยาณมิตร

นอกจากนี้ การสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะและวัฒนธรรมภายใต้บริบท เงื่อนไขและกลไกที่เหมาะสม ยังช่วยก่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันของศิลปิน จากกลุ่มกลายเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง เสริมหนุนต่อยอดองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน ท้ายที่สุดกลายเป็น "ภูมิปัญญาร่วม" ที่ส่งต่อจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง

ศิลปะและวัฒนธรรม ช่วยรักษาบาดแผลอันเกิดจากความขัดแย้งและร้าวฉานของสังคม เสริมสร้างความมุ่งมั่น เข้มแข็ง บนพื้นฐานของสัมมาทิฏฐิ ฟื้นฟู "ความสุข" หรือสุขภาวะของบุคคลและสังคมในทุกมิติผ่านพื้นที่การเรียนรู้ต่างๆ ทั้งพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมโดยตรง เช่น พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ หอภาพยนต์ ศูนย์วัฒนธรรม ฯลฯ พื้นที่สาธารณะทั่วไป เช่นลานวัด ลานกัฬา หอประชุมโรงเรียน สวนสาธารณะ ฯลฯ และพื้นที่สื่อ ทั้งสื่อมวลชน สื่อใหม่สื่อโลกออนไลน์

ศิลปะวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือสำคัญของการรักษาบรรทัดฐานทางสังคม เช่น ระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม การอยู่ร่วมกันอย่างวิญญูชน และเป็นเครื่องมือการเยียวยาและแก้ปัญหาต่างๆ อาทิ ความรุนแรง อาชญากรรม การติดเหล้า ติดการพนัน ติดเกม ฯลฯ เป็นต้น อันจะนำมาซึ่งการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบ ร่มเย็น และสันติ

คัดลอกจาก สมุดบกขาว หนังสือแจกในเวทีสัมมนา การรับฟังและสร้างการมีส่วนร่วม นโยบายปฏิรูปศิลปะและวัฒนธรรม โดยคณะกรรมาธิการปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและศาสนา

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

27 สิงหาคม 2558

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2015 เวลา 18:47 น.
 

ศิลปะและวัฒนธรรม .........นำพาเศรษฐกิจสร้างสรรค์

พิมพ์ PDF

ศิลปะและวัฒนธรรม ...........นำพาเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ศิลปะและวัฒนธรรมในสังคมใดๆ คือ "คุณค่า" บนพื้นฐานภูมิปัญญาที่ได้สั่งสมมาหลายชั่วชีวิตคนในสังคมนั้นๆ เป็นคุณค่าที่ไม่อาจประเมินเป็น "ราคา" ได้ แต่ในเวลาเดียวกัน คุณค่าเหล่านี้ สามารถที่จะสร้าง "มูลค่า" ทางเศรษฐกิจได้ ภายใต้การวางแผน การออกแบบ และการสร้างกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรมที่เหมาะสม โดยการที่ชุมชนและสังคมในพื้นที่นั้นๆรู้สึกเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการที่แท้จริง

เศรษฐกิจสร้างสรรค์บนพื้นฐานของศิลปะและวัฒนธรรมภายใต้การบริหารจัดการของชุมชนท้องถิ่น จะส่งผลให้ศิลปินพื้นบ้านผู้สร้างสรรค์ผลงานมีรายได้เพียงพอแก่การเลี้ยงชีพ สามารถที่จะยืนหยัดอุดมการณ์ของตน ธำรงไว้ซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน และสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆได้อย่างไม่มีข้อจำกัด

ในขณะเดียวกัน ผู้เสพรุ่นเก่าก็ได้มีโอกาสชื่นชมและเสพสมผลงานสร้างสรรค์ที่หลากหลาย ส่วนเยาวชนคนรุ่นใหม่ ก็จะกลายเป็นผู้เสพรุ่นใหม่ได้รับการกระตุ้นให้ตระหนักถึงคุณค่าพร้อมที่จะอนุรักษ์ และสืบสานศิลปะวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าไว้ให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป

คนทั่วไปในชุมชนก็จะมีงานทำ มีรายได้จากการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม อาหาร เครื่องดื่ม ที่พัก ของที่ระลึก ฯลฯ ภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดร่วมกัน

ชุมชนที่บริหารจัดการตนเองได้อย่างเข้มแข็ง จะทำให้นักท่องเที่ยว กลายเป็นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ เคารพกฏเกณฑ์กติกาของชุมชนสังคมนั้นๆ

คัดลอกจาก สมุดปกขาว แจกในเวทีสัมมนา การรับฟังและสร้างการมีส่วนร่วม นโยบายปฏิรูปศิลปะและวัฒนธรรม โดยคณะกรรมาธิการปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและศาสนา

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

27 สิงหาคม 2558

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2015 เวลา 19:23 น.
 

สัมมนาเรื่อง "การรับฟังและสร้างการมีส่วนร่วมของนโยบายปฎิรูปศิลปะและวัฒนธรรม

พิมพ์ PDF

วันที่ 24 สิงหาคม ได้รับจดหมายเชิญลงวันที่ 20 สิงหาคม 2558 จากคณะกรรมาธิการปฎิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา สภาปฎิรูปแห่งชาติ ขอให้เข้าร่วมสัมมนาในวันที่ 25 สิงหาคม 2558 เวลา 9.30-17.45 น ณ.ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5. หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ขอนำข้อความบางตอนในจดหมายเชิญมาเผยแพร่ดังนี้

ด้วยคณะกรรมาธิการปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ ร่วมกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มูลนิธิสร้างเสริมศิลปวัฒนธรรมภาคประชาชน และคณะกรรมการเครือข่ายศิลปินเพื่อการปฎิรูปภาคกลาง ได้มีมติให้จัดสัมมนา ...............

ในการนี้ คณะกรรมาธิการพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การสัมมนาเป็นไปตามเป้าหมายและบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น สมควรเรียนเชิญท่านเข้าร่วมสัมมนา เพื่อขอรับฟังข้อมูล ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ "นโยบายทิศทางการปฎิรูปศิลปะและวัฒนธรรม ในอีก 10 ปีข้างหน้า และร่างพระราชบัญญัติสมัชชาศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ...."

ผมได้รับจดหมายเชิญทาง e-mail ในวันที่ 22 สิงหาคม 2558 แต่มาเปิดอ่านเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ช่วงเช้า จึงรีบตอบรับกลับไปทาง e-mail และได้โทรไปยืนยันเข้าร่วมสัมมนาตามจดหมายเชิญกับ คุณฉญานี ร่วมรักษ์ ผู้ที่ส่ง e-mail ให้ผม

ตามหมายกำหนดการ เปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 9.30-10.00 น ผมไปถึงสถานที่ประชุม เวลา 9.20 น ตรงไปลงทะเบียน แต่ปรากฎว่าไม่มีรายชื่อของผม อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ได้ให้ผมกรอกรายชื่อตัวเองเพื่อลงทะเบียน และขอโทษในสิ่งที่ผิดพลาด หลังลงทะเบียนได้รับแจกเอกสารการประชุม เป็นหนังสือเล่มเล็กแต่เนื้อหาครบถ้วนเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นอย่างยิ่ง

10.00 น พิธีกรสาวสองท่านออกมาทักทายผู้เข้าร่วมประชุม และเชิญ คุณชินกร ไกรลาส ศิลปินนักร้องออกมาร้องเพลง ก่อนเริ่มการแสดงละคร เรื่อง ศิลปะเปลี่ยน คนก็เปลี่ยน โดยมูลนิธิสมาพันธ์ศิลปินเพื่อสังคม

อาจารย์ฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที กรรมการมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และอาจารย์ ชมัยภร บางคมบาง ประธานเครือข่ายศิลปินเพื่อการปฎิรูปภาคกลาง กล่าวต้อนรับ

กำหนดการเดิม อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะกรรมาธิการปฎิรูปค่านิยม  ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา จะมาเป็นผู้เปิดการประชุม แต่ท่านติดภารกิจที่สภา จึงจะมาร่วมประชุมในช่วงบ่าย

อาจารย์ดนัย หวังบุญชัย ผู้เชียวชาญดำเนินงานของประธานกรรมาธิการปฎิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา ชี้แจงหลัการเหตุผล และสาระสำคัญในเอกสารนโยบายการปฎิรูปศิลปะวัฒนฑรรมและร่างพระราชบัญญัติสมัชชาศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ

ก่อนพักรับประทานอาหารกลางวันเจ้าหน้าที่ได้สำรวจผู้เข้าร่วมสัมมนา มีจำนวนประมาณ 50 กว่าท่าน จึงขอให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาแสดงตัวว่ามาจากกลุ่มไหนโดยการยกมือ โดยเริ่มจากกลุ่ม "วรรณศิลป" มีจำนวน 10 กว่าท่าน ได้ให้แยกไปรับประทานอาหารกลางวันและประชุมกลุ่มอีกห้องหนึ่งที่เล็กกว่า กลุ่มศิลปะร่วมสมัย แสดงตนมีจำนวน ประมาณ 10 ท่านจึงให้แยกไปอีกห้องหนึ่ง ที่เหลือประมาณ 30 กว่าท่าน จากกลุ่ม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ และศิลปะการแสดง ให้อยู่ที่ห้องเดิม สำหรับผู้ที่เป็นข้าราชการ หรือผู้ที่ไม่ได้เป็นศิลปิน ก็ขอเชิญเข้าร่วมในห้องใดห้องหนึ่งตามความต้องการ ผมซึ่งไม่ได้เป็นข้าราชการและศิลปิน จึงเลือกอยู่ห้องประชุมเดิม ที่มีผู้เข้าร่วมประชุมมากที่สุด

หลังรับประทานอาหารกลางวัน ผู้ดำเนินรายการในกลุ่มที่ผมเข้าร่วมได้ชี้แจ้งประเด็นเพื่่ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แสดงความคิดเห็นใน 2 ประเด็น ได้แก่

1.วิสัยทัศน์การปฎิรูปศิลปวัฒนธรรมในอีก 10 ปี ข้างหน้าอย่างไร

2.มีข้อเสนอแนะอย่างไรกับร่าง พรบ สมัชชาศิลปะและวัฒนธรรม แห่งชาติ

ผู้ดำเนินรายการได้ให้แต่ละท่านร่วมแสดงความคิดเห็นโดยไม่ตกหล่น แต่ละท่านแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลและไม่มีการขัดแย้งซึ่งกันและกัน ต่างรับฟังด้วยความสนใจและร่วมแสดงความคิดเห็นที่ต่อยอดจากท่านที่แสดงความเห็นก่อนหน้า ขอสรุปประเด็นที่สำคัญดังนี้

1.ณ.ปัจจุบัน ศิลปะและวัฒธรรม ของไทยไม่ได้เลวร้าย เรายังคงรักษาศิลปะวัฒนธรรมได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตามชุมชนต่างๆ เรายังสามารถหาชมการแสดงศิลปะวัฒนธรรมที่ดีงามของเราได้โดยทั่วไป ศิลปะวัฒนธรรมของไทยเป็นที่ยอมรับและชื่นชอบทั่วโลก คนไทยส่วนมากจะซาบซึ้งและภูมิใจในศิลปะวะฒนะธรรมของชาติ เรายังมีศิลปินเก่งๆอีกเป็นจำนวนมาก

2.ประเด็นที่จะพิจารณาเรื่องศิลปะวัฒนธรรม ควรจะคำนึงถึง 3 มิติ ได้แก่

2.1 อนุรักษ์ - รักษา

2.2 ฟื้นฟู

2.3 สร้างอาชีพ สู่ธุรกิจ

3.ศิลปะอยู่ในตัวของทุกคน

สรุปตอบโจทย์ ข้อที่ 1" สิ่งที่ต้องการเห็นในอีก 10 ปี ข้างหน้าคือ องค์กรที่ให้ความรู้อย่างบูรณาการด้านศิลปะและวัฒนธรรม แก่คนไทยทุกคน ทั้งศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน ผู้เสพ รวมทั้งเอกชน ภาคธุรกิจ ข้าราชการ และนักวิชาการ ตลอดจนประชาชนทั่วไป

สำหรับโจทย์ข้อที่ 2 ข้อเสนอแนะอย่างไรกับร่าง พรบ สมัชชัย ศิลปะวัฒนธรรม แห่งชาติ ทางกลุ่มลงความเห็นจากการพิจารณาเอกสารแจก และการนำเสนอของคุณดนัย หวังบุญชัย ในช่วงเช้า ต่างมีความเห็นตรงกันว่า การมี พรบ สมัชชัยศิลปะวัฒนธรรม แห่งชาติ เป็นเรื่องดี แต่ยังเป็นห่วงเรื่องโครงสร้างในคณะกรรมการ เห็นว่าเป็นการซำ้ซ้อน ขอเสนอให้เน้นไปที่ความเป็นอิสระของสัมชชาภาคประชาชน ขณะนี้ก็มีกันอยู่แล้ว สัมชชาตามชุมชนในพื้นที่ต่างๆ สมัชชาตามสาชาของศิลปะ อย่าหวังภาครัฐ ต้องสร้างความเข้มแข็งด้วยตัวเอง ให้ภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุน และเปลี่ยนจากการที่ประชาชนต้องเข้าไปพึงภาครัฐ เปลี่ยนเป็นดึงภาครัฐให้เข้ามามีส่วนร่วมในบทบาทของประชาชน สร้างความเข้าใจให้รัฐ และคนจากภาครัฐ เพื่อให้ภาครัฐหันมาให้การสนับสนุนภาคประชาชน

ท่านประธาน อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และท่านคณะกรรมาธิการ อีกหลายท่าน เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอของตัวแทนกลุ่มต่างๆ ทั้ง 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1. วรรณศิลป์ เป็นผู้นำเสนอกลุ่มแรก ผมจำสิ่งที่นำเสนอไม่ได้

กลุ่มที่ 2.ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ และศิลปะการแสดง ผมได้รับการขอร้องจากผู้ดำเนินรายการ และผู้ร่วมสัมมนาในกลุ่มให้เป็นผู้นำเสนอ สรุปประเด็นนำเสนอดังนี้

"ก่อนที่จะมองไปข้างหน้าอีก 10 ปี ขอให้มาทบทวนถึงศิลปะวัฒนธรรมของประเทศไทยก่อน  คนทุกคนมีศิลปะอยู่ในตัว กลุ่มของเรามีความเห็นตรงกันว่า ณ.ปัจจุบัน ศิลปะวัฒนธรรมของไทย ไม่ได้เลวร้าย หรือขี้เหร่อย่างไร เราคงอนุรักษ์ และรักษามรดกศิลปะวัฒนธรรมของไทยได้เป็นอย่างดี ยังหาชมได้โดยทั่วไป ได้รับการยกย่องไปทั่วโลก ศิลปะวัฒนะธรรมไทยยังคงสร้างความภูมิใจให้กับคนไทยอย่างคงตัว ไม่ลดน้อยลง ถึงแม้นจะมีเด็กรุ่นใหม่ที่ให้ความสนใจกับวัฒนธรรมของต่างชาติ หรือวัฒนธรรมร่วมสมัย

จึงไม่จำเป็นต้องมีการปฎิรูปศิลปะวัฒนธรรมไทย มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องสร้างความเข้าใจเรื่อง ศิลปะวัฒนธรรม เมื่อเราพูดถึงศิลปะวัฒนธรรม เราต้องพูดถึงศิลปะวัฒนธรรมของชาติอื่นๆด้วย ไม่ใช่แค่ศิลปวัฒนธรรมไทยแค่นั้น ประเด็นที่ควรจะพิจารณาถึงศิลปะวัฒนธรรม ที่กลุ่มได้พูดกันมี 3 มิติ ได้แก่มิติ ของการอนุรักษ์ รักษา มิติของการฟื้นฟู และมิติทางด้านธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านการค้าขาย  หรือด้านผลตอบแทน ของศิลปิน ด้านลิขสิทธิ เอกชน ผู้ประกอบการ และการบังคับปิดกั้นของภาครัฐ

ทางกลุ่มสรุปตอบโจทย์ในข้อที่ 1 ว่า เราอยากเห็นองค์กรที่ให้ความรู้อย่างบูรณาการด้านศิลปะวัฒนธรรม เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจอย่างบูรณาการให้กับประชาชนคนไทยทุกคน ไม่ว่าจะเป็น ศิลปินผู้สร้างสรรค์ ผู้เสพ เอกชน ผู้ประกอบการ ข้าราชการ หรือภาครัฐผู้กำกับนโยบาย  และภาคประชาชนโดยทั่วไป

สำหรับโจทย์ข้อที่ 2 เห็นด้วยกับการมี พรบ สมัชชาศิลปะวัฒนธรรมแห่งชาติ แต่ค่อนข้างหนักใจกับโครงสร้าง ที่ได้ศึกษาจากหนังสือที่แจกให้ ไม่เห็นด้วยที่จะคิดแบบเดิมๆที่หวังพึ่งภาครัฐ ควรจะต้องสร้างองค์กรที่อิสระจากภาครัฐอย่างแท้จริง ให้ความสำคัญและสร้างความเข้มแข็งลงไปที่สมัชชัยในชุมชน ตามพื้นที่ต่างๆ หรือ สมัชชัยในแต่ละสาขาของศิลปะและวัฒนธรรม ทุกสมัชชัยร่วมเป็นเครื่อข่ายและรวมตัวเป็นผู้กำหนดนโยบาย และดึงภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วม ให้ภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุน

กลุ่มที่ 3.ศิลปะร่วมสมัย ผู้แทนนำเสนอมาจากผู้สร้างภาพยนต์ เห็นว่าภาครัฐไม่เสรี เซ็นเซอร์ ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถสร้างผลงานที่ดีๆออกสู่ตลาดได้ จึงไม่เห็นด้วยและไม่ไว้ใจโครงสร้างคณะกรรมการนโยบายศิลปะวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้มีการเสนอความคิดเห็นแตกต่างกันเป็น 2 ด้าน อย่างไรก็ตาม ท่านประธานเนาวรัตน์ ได้ชี้แจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พรบ ที่นำเสนอและจัดพิมพ์ตามเอกสารที่แจกว่าเอกสารชุดที่แจกนี้ยังไม่ใช่ข้อสรุปบทสุดท้ายจนแก้ไขอะไรไม่ได้ ถ้าร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำนี้ได้รับการยอมรับจากสภา ทางคณะทำงานก็จะต้องมีการประชุมและร่วมกันจัดทำร่าง เพื่อนำเสนอกฎหมายลูกและอื่นๆอีก อย่างไรก็ตามการประชุมระดมความคิดในวันนี้ประสบผลตามเป้าหมาย

ผมจะนำข้อมูลดีๆที่ควรรู้ในหนังสือมาพิมพ์เผยแพร่ให้ท่านต่อไป

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

26 สิงหาคม 2558

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2015 เวลา 15:28 น.
 


หน้า 290 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5645
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8748047

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า