Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

มรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจโรงแรม

พิมพ์ PDF

ทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจโรงแรม


มนุษย์เป็นทรัพยสิน หรือ ทรัพยากร

ทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจโรงแรม

ธุรกิจโรงแรมประกอบด้วยส่วนใหญ่ๆ  ๖ ส่วน ดังนี้

  1. ที่ดิน ได้แก่ที่ตั้งและบริเวณโดยรอบของโรงแรม
  2. ตัวอาคารโรงแรม  ห้องพัก ห้องจัดเลี้ยง ห้องประชุม และสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งภายในและภายนอก  ได้แก่บริเวณสวน ที่จอดรถ เป็นต้น
  3. อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในดำเนินธุรกิจ รวมถึงระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้า ระบบน้ำประปา  ระบบการรักษาสิ่งแวดล้อม และระบบอื่นๆอีกมากมาย
  4. อุปกรณ์ที่ใช้เพื่อนำไปให้บริการแก่ลูกค้าโดยตรง
  5. การบริหารการจัดการทั้งด้านการตลาด การบริการ การควบคุม การเงิน และอื่นๆ
  6. ทรัพยากรมนุษย์ได้แก่ ผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการ ผู้ลงทุน  ผู้บริหาร และพนักงานทั้งหมด

 

ส่วนประกอบลำดับที่ ๑ – ๔ เป็นสิ่งที่มองเห็นและจับต้องได้ แต่ละส่วนต้องมีความสอดคล้องกันโดยมีการตลาดเป็นตัวกำหนด แต่โรงแรมในประเทศไทยส่วนมากไม่ได้นำการตลาดมาเป็นตัวกำหนด โดยมากกำหนดขึ้นโดยความพอใจของเจ้าของเป็นหลัก สร้างโรงแรมตามกระแสโดยไม่เคยมีความรู้ด้านธุรกิจมาก่อน บางรายสร้างโรงแรมมาเพื่อนำไปขายต่อ มิได้มีความตั้งใจที่จะทำธุรกิจโรงแรม บางรายก็ทำธุรกิจโรงแรมเพื่อการฟอกเงิน หรือเพื่อหน้าตา

 

ส่วนประกอบที่ ๕ และ ๖ เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ส่วนประกอบทั้งสองส่วนนี้ได้มาจากทรัพยากรมนุษย์ ทั้งสิ้น ทรัพยากรมนุษย์ มีความแตกต่างกันหลายระดับ เป็นการยากที่จะมองเห็นคุณค่าที่แท้จริงของทรัพยากรนั้นๆจากภายนอก

 

ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมส่วนมากใช้เงินลงทุนกับส่วนประกอบในลำดับที่ ๑-๔  เท่านั้น ส่วนประกอบลำดับที่ ๕ และ ๖ มักจะไม่ได้รับการดูแล ไม่มีการจัดงบไว้สำหรับการลงทุนในส่วนนี้  เจ้าของจะเป็นผู้บริหารและจัดการเอง โดยจ้างผู้จัดการมาทำงานเป็นกันชน และทำงานตามความต้องการของเจ้าของ ส่วนพนักงานทั่วๆไปจะจ้างตามสถานะของธุรกิจในชั่วงนั้นๆ มองค่าจ้างแรงงานเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ดังนั้นเมื่อธุรกิจไม่ดี ก็จะลดต้นทุนการดำเนินการ  โดยการลดจำนวนพนักงานหรือตั้งเงินเดือนพนักงานให้น้อยที่สุด โดยไม่คำนึงถึงกฎหมายแรงงานเพราะมีวิธีเลี่ยงหลายวิธีด้วยกัน

 

ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดเพราะเมื่อไม่มีมนุษย์ก็ไม่มีการดำเนินการอะไรทั้งสิ้น ทรัพยากรมนุษย์มิได้หมายถึงเฉพาะลูกจ้างเท่านั้น เจ้าของหรือผู้ลงทุนเองก็เป็นทรัพยากรมนุษย์เช่นกัน ดังนั้นประเทศชาติและสังคมจะอยู่ได้ก็ต้องมีทรัพยากรมนุษย์ที่ดีมีคุณภาพ ถ้าประเทศใดหรือสังคมใดมีทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่ดีมีคุณภาพต่ำ ประเทศและสังคมนั้นก็จะมีปัญหามากไม่เจริญเหมือนกับประเทศและสังคมที่มีทรัพยากรมนุษย์ที่ดีและมีคุณภาพที่สูงกว่า

 

 

ธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจการให้บริการประกอบด้วนส่วนโครงสร้างตัวโรงแรมและสิ่งของที่เป็นวัตถุที่จับต้องและมองเห็นได้กับส่วนของการให้บริการและการจัดการ ทั้งสองส่วนจะต้องสอดคล้องกันจึงจะทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการอธิบายและทำความเข้าใจค่อนข้างยากและซับซ้อน ผมจึงจะไม่ขอกล่าวถึง แต่จะไปเน้นพูดในเรื่องของส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์เท่านั้น

ทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจโรงแรมแยกเป็นกลุ่มต่างๆดังนี้

๑) พนักงานระดับล่าง ความจริงธุรกิจโรงแรมต้องการพนักงานระดับล่างเป็นจำนวนมากและหลากหลายตำแหน่งด้วยกัน เช่นพนักงานบัญชี พนักงานการเงิน พนักงานต้อนรับ พนักงานเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม พนักงานทำความสะอาดในห้องพักลูกค้า พนักงานทำความสะอาดบริเวณทั่วไป พนักงานทำอาหาร พนักงานทำสวน พนักงานด้านธุรการ พนักงานยกกระเป๋า พนักงานฝ่ายบุคคล ยาม และอื่นๆอีกหลายตำแหน่ง  พนักงานในแต่ละตำแหน่งต้องการทักษะและความรู้ในการทำงานแตกต่างกัน ถึงแม้นว่าจะเป็นตำแหน่งงานในตำแหน่งเดียวกันแต่ต่างโรงแรม ก็ยังมีความต้องการความรู้ที่แตกต่างกัน เช่นพนักงานเสิร์ฟในห้องอาหารของโรงแรมในเมืองหลวงที่ลูกค้าเป็นชาวต่างชาติ กับโรงแรมในต่างจังหวัดที่ลูกค้าเป็นคนไทยจะมีมาตรฐานของทักษะความรู้ที่แตกต่างกัน

๒) พนักงานระดับหัวหน้างาน ได้แก่พนักงานที่ดูแลลูกน้องที่เป็นพนักงานในสายงานให้ทำงานถูกต้องมีประสิทธิภาพในสายงานนั้นๆ  เมื่อหัวหน้างานลาออก ผู้จัดการที่รับผิดชอบในสายงานนั้นก็จะแต่งตั้งให้พนักงานที่มีอายุการทำงานมากกว่าเพื่อนร่วมงานในสายงานเดียวกัน หรือผู้ที่ทำงานดีให้ขึ้นมาเป็นหัวหน้างาน โดยไม่มีการอบรมและสอนงานการเป็นหัวหน้า ด้วยเหตุนี้หลายๆโรงแรมจึงมีปัญหาเรื่องการให้บริการลูกค้า

๓) ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่พนักงานระดับบริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับสายงานของแต่ละสายงาน จะต้องได้ผู้ที่มีความรู้และเข้าใจในงานของสายงานนั้นอย่างละเอียด สามารถบริหารและจัดการให้งานในฝ่ายที่รับผิดชอบมีประสิทธิภาพและมาตรฐานตามที่ผู้บริหารระดับสูงตั้งเป้าไว้ นอกเหนือกว่านั้นยังต้องมีความเป็นผู้นำที่ดี และมีความรู้และเหตุผลในการชี้แจงต่อผู้บริหารระดับสูงขึ้นไป

๔) ผู้บริหารระดับสูง คนไทยมีโอกาสน้อยมากที่ได้ตำแหน่งนี้ เพราะโดยทั่วไปแล้ว เจ้าของหรือลูกหลานเจ้าของ จะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนี้เอง

๕) เจ้าของโรงแรม คือผู้ที่สำคัญที่สุดเพราะธุรกิจจะออกมาอย่างไรขึ้นอยู่กับเจ้าของเกือบจะ ๑๐๐ % โรงแรมบางแห่งมีเจ้าของคนเดียว บางโรงแรมมีหลายเจ้าของ (หุ้นส่วน) เจ้าของจะต้องเป็นผู้กำหนดวิธีการบริหารและจัดการว่าจะดำเนินการบริหารเองหรือจ้างคนอื่นมาบริหาร โรงแรมขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางในประเทศไทยส่วนมากเจ้าของจะเป็นผู้บริหารเอง และจ้างผู้จัดการมาเป็นกันชน

 

ปัจจุบันธุรกิจโรงแรมขาดแคลนพนักงานเป็นจำนวนมากเกือบทุกระดับ โรงแรมระดับ ๔ – ๕ ดาวไม่ค่อยมีปัญหา เพราะ โรงแรมระดับนี้ส่วนมากบริหารงานโดยเชนจากต่างประเทศ เป็นโรงแรมที่มีรายได้ดีอย่างสม่ำเสมอ มีการตลาดระดับนานาชาติ โรงแรมระดับนี้มีการบริหารงานแบบมืออาชีพ โดยคนต่างชาติ พนักงานที่ทำงานด้านโรงแรมอยู่แล้ว และเด็กจบใหม่ที่ต้องการจะยึดงานโรงแรมเป็นอาชีพ จะพากันมาสมัครงานในโรงแรมระดับนี้ เมื่อมีผู้มาสมัครจำนวนมาก ทางโรงแรมก็มีโอกาสคัดเลือกคนที่มีคุณสมบัติตามที่โรงแรมต้องการ เมื่อรับพนักงานใหม่เข้ามาแล้ว โรงแรมก็ยังมีการจัดอบรมเพื่อพัฒนาพนักงานให้มีทักษะและความสามารถในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น โรงแรมมีหน่วยงานดูแลเรื่องการพัฒนาคุณภาพของพนักงานโดยตรง ทำให้โรงแรมได้พนักงานดี มีทักษะและความสามารถสูง ประกอบกับความพร้อมด้านมาตรฐานในส่วนอื่นๆ ทำให้กิจการของโรงแรมดี มีรายได้สูง พนักงานได้รับค่า “ services charge “ สูง ส่วนเงินเดือนไม่แตกต่างกว่าโรงแรมในระดับอื่นมากนัก ( Services Charge คือเงินที่ทางโรงแรมเรียกเก็บจากลูกค้า และนำมาแบ่งให้กับพนักงานในอัตราที่เท่ากัน ดังนั้นเงินจำนวนนี้จะได้มากน้อยขึ้นอยู่กับการมาใช้บริการของลูกค้า ทางโรงแรมไม่ได้เป็นผู้จ่ายเงินจำนวนนี้  )

                โรงแรมที่บริหารโดยเจ้าของจะมีปัญหาเรื่องการขาดพนักงานมากที่สุด เพราะพนักงานเข้าใหม่ส่วนมากจะเป็นเด็กจบใหม่ที่เหลือมาจากโรงแรมที่บริหารโดยเชนต่างชาติ  เด็กที่มาสมัครไม่ค่อยรู้อะไรแต่โรงแรมก็จำเป็นต้องรับเข้ามาเพราะไม่มีพนักงานคอยให้บริการลูกค้า  พนักงานที่เข้าใหม่ไม่ได้รับการฝึกอบรมเป็นเรื่องเป็นราว เรียนรู้จากพนักงานที่อยู่มาก่อนหรือจากหัวหน้างานที่ไม่ค่อยได้สอนเพราะสอนไม่เป็น หรือหัวหน้างานบางคนก็สอนแบบผิดๆถูกๆ งานหนักมากเพราะมีพนักงานน้อย  เงินเดือน และ services charge ค่อนข้างต่ำไม่พอเพียงกับค่าใช้จ่าย (โรงแรมระดับนี้มีรายได้จากค่า Services Charge น้อยกว่าโรงแรมที่บริหารโดยเชนจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก) พนักงานไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนและพัฒนาในด้านการเรียนรู้มากนัก พนักงานที่เก่งเพราะเรียนรู้ด้วยตัวเองเมื่อมีโอกาสก็จะไปสมัครงานกับโรงแรมที่มีได้รายได้มากกว่า หรือได้รับการซื้อตัวให้ไปดำรงตำแหน่งงานที่สูงขึ้นจากโรงแรมอื่น พนักงานที่มีความสามารถไม่สูงนักก็จะต้องทนทำงานให้ผ่านไปวันๆโดยไม่มีอนาคต แถมวันดีคืนดีธุรกิจโรงแรมตกต่ำ พนักงานที่ยังไม่พ้นการทดลองงานก็จะถูกปลดออกส่วนพนักงานที่ยังเหลืออยู่ก็อาจถูกลดเงินเดือน

                พนักงานระดับหัวหน้างานและพนักงานบริหารระดับกลางยิ่งแล้วใหญ่ ปัจจุบันขาดเป็นจำนวนมาก โรงแรมที่บริหารโดยการจ้างเชนจากต่างประเทศมาบริหาร ผู้บริหารระดับกลางขึ้นไปจะเป็นคนต่างด้าว หรือถ้าเป็นคนไทยก็มีตำแหน่งให้น้อยและพนักงานเก่าไม่ค่อยจะออก จึงทำให้พนักงานที่มาทีหลังมีโอกาสที่จะได้ตำแหน่งยาก ในที่สุดก็ต้องออกไปอยู่โรงแรมที่บริหารโดยเจ้าของ เมื่อไปอยู่ด้วยกันต่างคนก็ต่างผิดหวังทั้งเจ้าของและพนักงาน ส่วนของพนักงานเมื่อเคยอยู่โรงแรมที่มีระบบในการบริหารการจัดการที่แน่นอน เมื่อมาอยู่โรงแรมที่เจ้าของเป็นผู้บริหารทุกอย่างไม่แน่นอนแล้วแต่อารมณ์ของเจ้าของ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวกหลายๆอย่างต่างกันมากจึงทำให้พนักงานไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ทำให้ผลงานไม่เด่นชัด ทางเจ้าของก็ผิดหวัง ในที่สุดพนักงานผู้นั้นก็ต้องไปหางานที่อื่น หรืออยู่แบบผ่านไปวันๆ

               

 

สืบเนื่องจากรัฐบาลปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากกว่ารัฐบาลที่ผ่านๆมา        ทำให้มีผู้สร้างโรงแรมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก นักธุรกิจต่างแย่งกันลงทุนสร้างโรงแรมเพราะเห็นว่าจะได้กำไรแน่ๆ แม้นธุรกิจโรงแรมจะทำกำไรได้ไม่มากนักก็ไม่เดือดร้อนเพราะเงินที่ลงทุนไม่สูญหายไปไหน โรงแรมเป็นทรัพย์สิน นานๆไปก็มีกำไรในตัวของมันเอง แต่การลงทุนสร้างบุคลากรไม่ใช่ทรัพย์สิน จึงไม่สนใจที่จะลงทุน เมื่อสร้างโรงแรมเสร็จก็ไปดึงตัวบุคลากรจากโรงแรมอื่นถ้าธุรกิจไม่ดีก็ปลดพนักงานออก ปัญหาจึงไปตกหนักอยู่ที่ผู้บริหาร หรือผู้จัดการที่ถูกจ้างมาบริหารและจัดการ

                โรงแรมที่สร้างด้วยเงินจำนวนมากจะกลายเป็นโรงแรมล้างทันที่ถ้าขาดพนักงาน งานโรงแรมเป็นงานบริการที่ละเอียดอ่อน แต่ละหน่วยงานมีความสำคัญพอๆกัน เกี่ยวข้องกันเป็นลูกโซ่  ธุรกิจโรงแรมจำเป็นต้อได้รับการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก  มนุษย์เป็นได้ทั้งผู้สร้างและผู้ทำลาย การสร้างทรัพยากรมนุษย์เพื่อมารองรับธุรกิจโรงแรมต้องทำให้ถูกทาง มีการร่วมมือกันเป็นเครือข่าย รัฐบาลต้องให้การสนับสนุนฝ่ายเอกชนอย่างถูกต้อง เอกชนหรือผู้ประกอบการโรงแรมเองก็ต้องปรับทัศนคติ เปลี่ยนวิสัยทัศน์ และหันมาลงทุนด้านทรัพย์ยากรมนุษย์อย่างจริงจัง

                นับเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่นายกสมาคมโรงแรมไทย และประธานมูลนิธิกำหนดมาตรฐานและพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมการบริการ ตลอดจนผู้ประกอบการโรงแรมหลายแห่งได้ยอมรับว่าขณะนี้ธุรกิจโรงแรมมีปัญหาเรื่องมบุคคลากรเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการขาดแคลนพนักงานทุกระดับ และการพัฒนาประสิทธิภาพของพนักงาน จึงได้เชิญ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่ให้ความสนใจและมีผลงานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ให้มาช่วยแก้ปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์ให้กับธุรกิจโรงแรม

                ท่าน ศ.ดร จีระมีความตั้งใจอย่างสูงที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคธุรกิจโรงแรม เพราะเห็นว่าเกี่ยวของกับประชาชนคนไทยเป็นจำนวนมาก ทำไมชาวต่างชาติจึงได้ตำแหน่งงานผู้บริหารระดับสูงและระดับกลาง  ทำไมชาวต่างชาติจึงได้เงินเดือนสูงกว่าคนไทย  ทำอย่างไรสถาบันการศึกษาจะสามารถผลิตนักศึกษาให้เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่โรงแรมต้องการ  ทำอย่างไรให้เจ้าของโรงแรมหันมาลงทุนเรื่องทรัพยากรมนุษย์             ทำอย่างไรให้พนักงานโรงแรมได้รับการพัฒนาและเรียนรู้เพื่อขึ้นไปเป็นผู้บริหารที่มีความสามารถและได้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม  ทำอย่างไรให้โรงแรมที่บริหารโดยคนไทยสามารถแข่งขันและทำรายได้เช่นเดียวกับโรงแรมที่บริหารโดยเชนต่างประเทศได้ ทำอย่างไรให้พนักงานโรงแรมมีงานที่มั่นคงและได้รับผลตอบแทนที่พอเพียงต่อการเลี้ยงชีพและครอบครัว

 

 

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๒๒ มกราคม ๒๕๔๙

 

 

                                                               

หมายเลขบันทึก: 409379เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2010 20:48 น. (11 ปีที่แล้ว)แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. (9 ปีที่แล้ว)สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันดอกไม้: 1 · ความเห็น: 2
 

สรุปงาน้สวนา "ตน....ทางรอดธุรกิจโรงแรม SMEs"

พิมพ์ PDF

สรุปงานเสวนา ฅน...ทางรอดธุรกิจโรงแรมSMEs”

จัดโดย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  

ร่วมกับ ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ  

และสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย

วันอังคารที่  25 พฤศจิกายน 2551 เวลา 08.30  16.00 น.

ณ ห้อง Activity Hall ชั้น 1 อาคารบรรเจิด ชลวิจารณ์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

 

         นายวีรชัย  วงศ์บุญสิน ประธานคณะอนุกรรมการติดตามผลการเจรจาเขตการค้าเสรี กำหนดจัดงานเสวนา ฅน...ทางรอดธุรกิจโรงแรม SMEs”  เมื่อวันอังคารที่  25 พฤศจิกายน 2551 เวลา 08.30  16.00 น.  ณ ห้อง Activity Hall ชั้น 1 อาคารบรรเจิด ชลวิจารณ์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยร่วมกับศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

 

1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  โดย ดร.ชุมพล  พรประภา

            ธุรกิจโรงแรมภายใต้ภาวะการณ์สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศไทย ที่มีปัญหารุมเร้า ทั้งปัญหาภายใน เช่น ปัญหาผลิตภาพแรงงานไทยต่ำกว่ามาตรฐานของโลก ปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจนส่งผลต่อราคาสินค้าและค่าครองชีพ รวมไปถึงปัญหาความไม่สงบทางการเมือง ที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน และปิดสนามบิน นอกจากปัญหาภายในแล้วยังมีปัญหาภายนอกที่สำคัญ คือปัญหาวิกฤตซับไพร์ม อันจะทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงโดยยังไม่สามารถกำหนดปริมาณความเสียหายที่ชัดเจนได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวที่ชะงักงัน ซึ่งเป็นแรงกดดันในการหาทางรอดของธุรกิจที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม จากการคาดการณ์ว่าจะมีการซบเซา 4-5 ปีติดต่อกัน

            หากเป็นธุรกิจรถยนต์ สิ่งที่จะทำได้ภายใต้ภาวะการณ์วิกฤตเช่นนี้ คือ 1) จะต้องหลีกเลี่ยงการลงทุนขนาดใหญ่ 2) การลดสินค้าคงคลัง และ 3) การคงเหลือบุคลากรในปริมาณที่จำเป็นเท่านั้น หากเป็นธุรกิจโรงแรมก็อาจหมายถึงการหยุดโครงการก่อสร้างโรงแรมใหม่ การลดพนักงานให้เหลือเท่าที่จำเป็น แต่ในส่วนของการลดสินค้าคงคลัง ไม่อาจทำได้เนื่องจากเป็นบริการไม่ใช่สินค้า ทั้งนี้ธุรกิจโรงแรมอาจต้องลดจำนวนพนักงานหากจำเป็นจริง ๆ และพยายามติดตามสภาวะการณ์ที่เป็นสัญญาณต่างๆ เช่น ผลประกอบการที่ลดลงของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ การผลิตที่ลดลงของอุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น

           

2. ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์  โดย ดร.ธรรมชัย  เชาว์ปรีชา

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เกิดจากการรวมตัวกันของผู้ที่เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลากหลายหน่วยงาน โดยหน้าที่หลักจะเป็นผู้ประสานกับภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบบูรณาการให้ตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจ เน้นการพัฒนามนุษย์ทั้งด้านทักษะความรู้ ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรม พยายามแสวงหาความร่วมมือจากผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นผู้ต้องการแรงงานโดยตรง รวมตัวกันเพื่อบอกถึงความต้องการที่แท้จริงในด้านทรัพยากรมนุษย์ในสาขาของตนเอง โดยรายได้ส่วนหนึ่งมาจากการสมัครสมาชิก ซึ่งกิจกรรมจะดำเนินเพื่อสมาชิก แต่จะไม่เน้นที่การแสวงหากำไร เน้นเพียงเพื่อการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ฯได้ เท่านั้น

 

3. ทุนมนุษย์ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทุนมนุษย์ เป็นการผลักดันให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวมีความสามารถในการแข่งขันและสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน หากสนใจงานวิจัยและด้านการท่องเที่ยว คุณวิจิตร ณ ระนอง ได้แนะนำว่าควรจะดึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมามีส่วนร่วมในการร่วมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจท่องเที่ยว เพราะทุนมนุษย์ต้องมีการลงทุน ต้องมีความเชื่อและศรัทธาในทุนมนุษย์  ต้องหาความรู้ตลอดเวลา คนที่จะมาช่วยภาคการท่องเที่ยวต้องรู้บริบท การจะทำงานต่อไปนี้ต้องเน้น 3 เรื่อง คือ

- ยกศักยภาพคนให้ดี 

- คิดเป็น วิเคราะห์เป็น เพื่อให้สามารถแข่งขันได้

- ทำแล้ววัดผลได้ มีแนวร่วม

ทรัพยากรมนุษย์เป็นตัวตัดสินว่าธุรกิจท่องเที่ยวจะอยู่อย่างยั่งยืนหรือไม่ ปัญหาด้านทุนมนุษย์ คือ ต้องรับคนทำงานที่ไม่มีคุณภาพเข้ามา  ต้องปรับปรุงระบบการศึกษา และเปลี่ยนแรงงานท่องเที่ยวให้เป็นแรงงานที่มีความรู้และหาความรู้ได้ให้เป็นทุนมนุษย์ที่ดี เพื่อให้สามารถแข่งขันได้  ซึ่งต้องสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้คนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ต้องทำให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ นำความคิดไปทำ มีความสุขในการทำงาน รู้จักสร้างเครือข่าย คิดถึงอนาคต ควรเน้นการท่องเที่ยวเชิงรุก เช่น Health Tourism, Cultural Tourism และ Education Tourism นำภูมิปัญญามาขาย มีการสร้างมูลค่าเพิ่ม ต้องสร้างความตระหนักให้ภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และลงทุนเรื่องคน

 

4.  ฅน ....ทางรอดธุรกิจโรงแรม SMEs : บริหารแบบฝรั่ง ตั้งมั่นแบบจีนบริการแบบไทย โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และดร.ชุมพล  พรประภา

คุณศุภฤกษ์ ศูรางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัท หนุ่มสาวทัวร์ จำกัด กล่าวว่า ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ขึ้นเวทีทรัพยากรมนุษย์ด้านโรงแรมที่จัดโดยภาคเอกชน ธุรกิจโรงแรมต้องอาศัยคนเป็นหลักดังนั้น เรื่องคนจึงเป็นปัจจัยสำคัญไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจโรงแรม  ทุกวันนี้เราลงทุนในอุตสาหกรรมโรงแรมค่อนข้างมาก แต่ลงทุนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์น้อย โรงแรมใหญ่ไม่มีปัญหา แต่โรงแรมเล็กมีจำนวนมากมายล้มกว่าร้อยละ 50 เนื่องจากการลงทุน การบริหารจัดการ การตลาด แต่ที่สำคัญที่สุด คือ การบริหารจัดการองค์กรก็มีเรื่องคนเกี่ยวข้อง นักลงทุนส่วนมากมักมาจากนอกวงการเพราะการลงทุนโรงแรมใช้เงินทุนมหาศาล การที่ได้ทำบริษัทท่องเที่ยวทำให้ได้เปรียบ เพราะมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว และเข้าใจความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยได้ลงทุนทั้งหมด 14 โรงแรมและส่วนมากมักเป็นรีสอร์ท และเลือกลงทุนทำโรงแรมในพื้นที่ห่างไกล เช่น เกาะยาว แม่ริมโดยเริ่มจากสร้าง Concept ให้โรงแรมแล้วหาทำเลให้ได้ตรงตาม Concept หรือตั้ง concept ให้เหมาะกับที่ดินที่มีคนเสนอมา นอกจากนี้ ยังจ้างคนในท้องถิ่นมาทำงานให้เพราะค่าแรงและค่าใช้จ่ายไม่แพง ซึ่งได้ประโยชน์และจะได้ช่วยปกป้องโรงแรม แต่ก็ต้องพัฒนาทักษะการบริการให้ในด้านการบริหารจัดการ หาผู้จัดการทั่วไปที่มีประสบการณ์ไปอยู่ลำบากมากในพื้นที่ที่ห่างไกล เช่น เกาะยาวหรือแม่ฮ่องสอน  ผู้จัดการทั่วไปต้องเข้าใจทุกด้าน คนที่จบมาโดยตรงมีน้อย ส่วนใหญ่มาจาก F&B, Front Office ควรจะจัด training for trainer เพื่อช่วยให้ผู้บริหารมาช่วยฝึกพนักงานได้ ภาครัฐควรมีหน่วยพัฒนาโรงแรมในประเทศไทย คนไทยควรได้รับการพัฒนาด้านภาษา ระบบบริหารจัดการ  และควรพัฒนาวัฒนธรรมไทยเพื่อป้อนคนสู่ตลาดโลกและรับมือกับการแข่งขันที่จะมาพร้อมกับการเปิดเสรีภาคบริการ

คุณณรงค์ สุทธิพงศ์พิธาน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารโรงแรม กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานโรงแรมมายาวนาน พบว่า มี 2 ปัจจัยสำคัญในการสร้างรายได้  คือ 1) ห้องพัก และ2) อาหารและเครื่องดื่ม จากการที่ได้สอนนักศึกษาหลายแห่ง นักศึกษาบอกว่างานบริการสร้างรายได้ให้กับโรงแรม ลูกค้า คือ คนที่วัดคุณภาพโรงแรม ดังนั้น คนจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อความเจริญของโรงแรม ต้องทำให้ลูกค้ามีความสุขที่ได้รับบริการ และพนักงานต้องมีความสุขในการให้บริการแก่ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าพอใจและบอกต่อ ๆ กันเพื่อมาใช้บริการโรงแรม และต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนด้วย

คุณสายสิริ ฮุนตระกูล กรรมการผู้จัดการ ท้องทรายเบย์ รีสอร์ท กล่าวว่า ต้องทำให้พนักงานที่มีประสบการณ์มากและมีความจงรักภักดีสูงมีความสุข ส่วนพนักงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้และความสามารถ ต้องใช้เหตุผลและหลักการบริหาร และควรเลี่ยงการรับพนักงานที่ผ่านงานมาหลายที่ ที่ละไม่กี่ปี เนื่องจากจะตั้งค่าตอบแทนสูงเวลามาสมัครงาน เพราะต้องการตำแหน่งสูงแต่มีประสบการณ์น้อยในงานแต่ละแห่ง  ทำให้ทางรีสอร์ทไม่สามารถพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพได้ การเรียนในสถาบันการศึกษา เน้นทฤษฎี แต่เวลาทำงานต่างกันมาก คนในปัจจุบันมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานน้อยลงทุกวัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวเสริมว่า คนในโลกตั้งข้อสังเกตเปรียบเทียบระหว่างความจงรักภักดีกับประสิทธิภาพในการทำงาน ปัจจุบัน คนไม่จงรักภักดีต่อองค์กร ถ้ามีคนเก่งแต่ไม่จงรักภักดี ก็บริหารยาก เวลาจ้างงานก็ต้องดูทัศนคติด้วยทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง เวลาจัดการทุนมนุษย์ ก็ต้องมองเป็นกระบวนการ ไม่ควรผลิตคนมามาก แต่ขาดคุณธรรมและความอดทน

คุณวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นักท่องเที่ยวมีความต้องการไม่สิ้นสุดแต่ต้องการจ่ายในราคาที่ไม่แพง โรงแรมควรจะเน้นความสะดวก สะอาด และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในด้านความสะดวกการใช้บริการของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ คนพิการ ปรับปรุงโรงแรมให้มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่อลูกค้าหลายประเภท สำหรับผู้สูงอายุและคนพิการต้องมีทางลาดและในห้องน้ำก็ต้องมีราวจับ ในเรื่องความสะอาด โรงแรมไม่จำเป็นต้องมีการประดับประดามากเกินไป แต่ต้องมีความสะอาดน่าพัก ด่านหน้าที่มีการเช็คอิน เมื่อนักท่องเที่ยวมาถึงก็ต้องได้รับการดูแลจากพนักงานต้อนรับที่มีความสามารถในการสื่อสารที่ดีเพราะการต้อนรับถือเป็นประตูสำคัญ เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เช่น ปลอดภัยจากโจร ปลอดภัยจากกล้องถ่ายวีดีโอคลิปที่ซ่อนอยู่ในสปริงเคิล บางครั้งทางโรงแรมมีการขอความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวในการลดภาวะโลกร้อน แต่ทางโรงแรมมิได้ให้อะไรตอบแทนแก่นักท่องเที่ยว ในฐานะที่ให้ความร่วมมือ ควรจะมีคูปองในการเข้าพักแบบไม่หมดอายุเป็นการสร้างความจงรักภักดีของลูกค้า รีสอร์ทไกล ๆ ควรร่วมมือกับสถานพยาบาลในการดูแลรักษาพยาบาลเวลานักท่องเที่ยวเจ็บป่วย ไม่ควรใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยจนเกินไป โทรทัศน์ควรเป็นชนิดเปิดติดง่าย และตัดบริการที่ไม่จำเป็นทิ้ง เช่น Pay TV เป็นต้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวเสริมว่า เจ้าของโรงแรมต้องสร้างจิตวิญญาณ ให้เกียรติและยกย่องคน ผู้จัดการทั่วไปที่ได้รับมอบหมายอาจเก่งด้านอื่นแต่ไม่เก่งการฝึกคน ควรจะมีการวางแผนพัฒนาผู้จัดการทั่วไปแบบ SMEs โดยรวมกลุ่มกันพัฒนาในเขตเดียวกัน

 

5. การแสดงความคิดเห็นในช่วงการอภิปราย

คุณไพบูลย์ สำราญภูติ ประธานกรรมการ บจก.ไพบูลย์ แอนด์ ซันส์ คอนซัลแดนท์ กล่าวว่า การพูดถึงคนและโรงแรม แต่ก็ต้องคิดถึงลูกค้าด้วยว่า เขาชอบโรงแรมเพราะอะไร พนักงานก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าชอบโรงแรม ต้องให้จิตวิญญาณคนที่ให้บริการ โรงแรมไม่ใช่อุตสาหกรรม จึงไม่ควรปลดคนออกจากงานในช่วงวิกฤติ

ดร.ชุมพล พรประภา ได้แสดงความเห็นว่า หลายท่านอาจเคยมีแขกวีไอพีมารับประทานอาหารที่โรงแรมแต่ไม่สามารถเรียกเก็บเงินกับเขาได้ คุณอากร ฮุนตระกูล แก้ปัญหานี้โดยให้แขกวีไอพีให้ทิปพนักงานโรงแรม ทำให้พนักงานรักเจ้านายด้วย

 

6. คำถามของผู้เข้าร่วมงานเสวนา

1. ทำไมผู้จัดการทั่วไป (GM) จึงเป็นฝรั่งมากกว่าคนไทย ทำอย่างไรจึงจะทำให้คนมีความรับผิดชอบ

คุณศุภฤกษ์ ศูรางกูร ตอบว่าในฐานะที่เป็นเจ้าของ ไม่อยากจ้างฝรั่ง ต้องจ้างเป็น  Package มีที่พักและตั๋วเครื่องบินด้วยทำให้แพงมาก อันที่จริงแล้วอยากจ้างคนไทยมากกว่า แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว คนไทยขาดความต่อเนื่อง ทำรายงานเฉพาะช่วงทดลองงาน แต่ฝรั่งทำรายงานทุกเดือน ดังนั้น จึงเลือกจ้างฝรั่งเพราะทำงานมีคุณภาพมากกว่า นอกจากนี้ ผู้บริหารไทยไต่เต้าจากระดับปฏิบัติการ และใช้วิธีล่างานด้วยการเขียน Resume ให้ดี แต่ประสบการณ์การทำงานไม่มากเท่าที่ควร เมื่อทางโรงแรมไปแทรกแซงมากก็ลาออก แต่ผู้บริหารฝรั่งเขียนขั้นตอนการทำงานและทำตามนโยบาย จึงจ้างฝรั่งเพื่อให้ได้เรียนรู้จากเขา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวเสริมว่า ต้องคิดสร้างผู้บริหารไทยให้ก้าวสู่ระดับสูง การศึกษาของไทยต้องช่วยให้คนไทยมีสติปัญญา เรียนรู้ คนไทยยังขาดการติดตามผลและรายงาน ต้องขายความเป็นเลิศของคน โรงแรม และทำให้เขาไปทำงานที่ต่างประเทศได้ และต้องทำให้คนไทยมีระบบความคิดที่เป็นองค์รวมด้วย จะได้เป็นผู้บริหารที่ดี

ดร.ชุมพล พรประภา กล่าวว่า ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จมีแล้วในประเทศไทย ปัญหา คือ สถาบันการศึกษาสอนแค่ความรู้ แต่ฝรั่งสอนคนให้ปฏิบัติจนติดเป็นนิสัย ตอนนี้โรงแรมได้เจรจากับ สกอ. ทำหลักสูตรสหกิจให้คนจบปริญญาตรีทำงาน 1 ปี หมุนเวียนทำงานในหลายตำแหน่ง เมื่อจบแล้วก็จะได้เงินเดือนเต็มวุฒิ

 

2. ทำอย่างไรให้อาจารย์ที่สอนการโรงแรมมีประสบการณ์การทำงานด้วย จะหาพนักงานทัศนคติดีได้ที่ไหน และจะปรับเงินเดือนอย่างไร

คุณณรงค์ สุทธิพงศ์พิธาน ให้คำตอบว่า ตนเองเริ่มงานตั้งแต่งานถูพื้น ทำอาหาร เป็นต้น ควรให้พนักงานรู้ว่า คือ งานของเขา เวลาทำงานจะบอกพนักงานให้พูดกันดี ๆ ปัญหา คือ คนมีประสบการณ์สอนไม่ได้เพราะไม่จบปริญญา ต้องเรียนต่อ ผู้จัดการทั่วไปก็ต้องดูรายรับ  รายจ่าย ต้องปรึกษาเจ้าของโรงแรมเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือนและต้องมีการสื่อสารในองค์กรที่ดี ต้องให้ความรักด้วยแล้วพนักงานจะอยู่กับเรา เวลาทำงานอย่าวางอำนาจข่มคนอื่นมากเกินไป คุณภาพโรงแรมกำหนดได้จากคุณภาพที่ลูกค้าที่จะได้รับ

 

3. ทำอย่างไรจึงจะสร้างความท้าทายใหม่ ๆ ให้กับพนักงานในองค์กรได้

คุณสายสิริ ฮุนตระกูล กล่าวว่า บางครั้งต้องทำใจ เพราะยากที่จะสร้างความท้าทาย เรามีพนักงานไอที ต้องพยายามหาโครงการใหม่ ๆ ให้เขาทำ ตอนนี้มีโรงแรม Chain มาก ทำให้การแข่งขันยากขึ้นสำหรับ SMEs เพราะแพ้เรื่องเงินเดือน พอสนับสนุนให้คนไทยเป็นผู้บริหาร ก็ทำไม่ได้ โรงแรม Chain ก็มีฝรั่งมาทำงาน ทางโรงแรมมีความยินดีถ้าพนักงานลาออกไปแล้วมีอนาคตก้าวไกลขึ้น ประสบความสำเร็จและมีความสุข และหวังว่าเขาอาจกลับมาช่วยเราได้อีก แต่มีพนักงานบางคนที่เราสนับสนุนเขาไม่สำเร็จ เขาทำงานมานานแล้ว พอใจที่จะทำงานใน Comfort Zone คือ ทำงานไปเรื่อย ๆ โดยไม่อยากทำงานอย่างอื่นเพิ่มเติม นี่ก็ คือ ความพอเพียงของเขาที่พอใจแค่นี้ แต่บางคนเราก็ต้องเชิญเขาออก ในการสร้างความจงรักภักดี ก็ต้องมีน้ำใจกับพนักงาน

 

4. ควรมีธนาคารการท่องเที่ยวและโรงแรมหรือไม่ ในเมื่อมี ธกส. และธอส.

คุณวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ กล่าวว่า การจะมีธนาคารการท่องเที่ยวและโรงแรม คงเป็นไปได้ยาก หลายธนาคารแข่งขันกันจนเกิด Sub-prime ธนาคารไม่ให้เงินแก่ธุรกิจท่องเที่ยว เพราะมีความเสี่ยงสูง สมัยก่อนมีวิกฤตต้มยำกุ้ง SMEs bank ให้เซ็นค้ำประกันกันเอง แต่ก็มีปัญหาการไม่ชำระหนี้ การตัดราคาค่าบริการเป็นเรื่องธรรมดาคล้าย ๆ กับปัญหาของบริษัททัวร์ ต้องอาศัยเครือข่าย เพื่อลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และจะอยู่รอด

ดร.ชุมพล พรประภา กล่าวว่า  คนเรามองแต่ลูกจ้างแต่พูดถึงลูกค้าน้อยมาก  ขอให้เสียสละเงินมารวมกลุ่มกัน ให้ข้อมูลแก่ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์แล้วจะไปขอเงินจากรัฐมาช่วยทำวิจัย การที่ลูกน้องไม่จงรักภักดี อาจจะมีสาเหตุมาจากทั้งฝ่ายเจ้านายและลูกน้อง

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กล่าวว่า คนไทยมีโอกาสน้อยกว่าฝรั่งที่ก้าวสู่ระดับสูง เจ้าของโรงแรมไม่ให้โอกาสคนไทยทำงานเป็นทีม ฝรั่งก็ทำตามเรื่องของเขา คนไทยยังไม่ได้รับการเรียนรู้จากฝรั่ง

 

7. ผลกระทบและการช่วยเหลือจากกองทุน FTA  โดยคุณปรีชญา  พุดน้อย

คุณปรีชญา พุดน้อย หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานกองทุนฯสำนักสิทธิประโยชน์ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าได้นำเสนอขั้นตอนในการเสนอโครงการ คือ กลุ่มเกี่ยวข้อง คือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบทางลบจาก FTA ต้องจัดทำเป็นโครงการระยะสั้น 1-3 ปีในรูปแบบการวิจัย ฝึกอบรม ฝึกอาชีพพร้อมตารางการทำงาน วงเงินและตัวชี้วัดเสนอต่อฝ่ายเลขานุการ คือ กรมการค้าต่างประเทศ โดยเสนอผ่านสถาบันที่เกี่ยวข้องเพื่อรับรองว่ามีตัวตนอยู่จริง เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมฯ และหน่วยราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

ปัจจุบันปีงบประมาณ 2552 ทางกองทุนฯ มีเงินที่สามารถช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการได้ประมาณ 165 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการจะต้องเขียนโครงการเข้ามาเพื่อขอใช้เงิน ซึ่งทางกลุ่มงานมีหน้าที่ให้คำปรึกษาในการเขียนโครงการ หากผู้ประกอบการติดปัญหาขัดข้องประการใด อาจติดต่อมายังกลุ่มงานได้

 

 

 

8. ปัญหาและแนวทางแก้ไข  โดยคุณอุไรวรรณ อยู่ชา และคุณไพบูลย์ สำราญภูติ

มีการแบ่งเป็น 3 กลุ่ม เพื่อหารือปัญหาและแนวทางแก้ไขของธุรกิจโรงแรมอันเกิดจาก ประเด็น คือ 1) Man หรือ คน 2) Management หรือการบริหารจัดการ และ 3) Marketing หรือการตลาด

กลุ่มที่ 1 หารือเรื่อง Man หรือ คน

·        ปัญหาที่เกิดจากพนักงาน นายจ้าง เพื่อน ลูกค้า  หนีไม่พ้น

·        เพื่อนและนายจ้างต้องทำให้พนักงานทำงานอย่างมีเป้าหมาย

·        ควรสร้างการทำงานเป็นทีมตั้งแต่ระดับหัวหน้าแผนกลงสู่ระดับล่าง

·        ควรสร้างทัศนคติให้พนักงานรักองค์กรเหมือนบ้าน โดยผู้บริหารองค์กรต้องรักองค์กรก่อน

·        การพัฒนาบุคลากรและการคัดสรรบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญ ต้องเลือกคนให้เหมาะกับงานพัฒนาบุคลากร

·        ควรสร้างความรักและสามัคคีในองค์กร

·        ควรสร้างจิตสำนึกและแรงจูงใจให้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างคนในองค์กร

·        มี service mind

·        ต้องทำให้ทุกคนได้รับประโยชน์แล้วจะได้อยู่ในองค์กรอย่างมีความสุข

·        ควรส่งเสริมให้ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแก้ปัญหาเงินเดือนไม่พอใช้ และหนี้สิน

 

กลุ่มที่ 2 หารือเรื่อง Management หรือการบริหารจัดการ

·        ฝ่าย F&B กับฝ่ายขายมีปัญหากัน

·        ธุรกิจในไทยเริ่มเปิดเสรี มีการขายคอนโดมีเนี่ยมแล้วทำเป็นโรงแรม

<span style="font-si

หมายเลขบันทึก: 232191เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2008 14:46 น. (13 ปีที่แล้ว)แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. (9 ปีที่แล้ว)สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการดอกไม้: 1 · ความเห็น: 1
 

หัวใจของธุรกิจบริการคือ การจัดการกับมนุษย์

พิมพ์ PDF

หัวใจของธุรกิจบริการคือ การจัดการกับมนุษย์


ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นธุรกิจให้บริการ หัวใจอยู่ที่การบริหารจัดการมนุษย์

หัวใจของธุรกิจบริการคือ การจัดการกับมนุษย์

 

ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นธุรกิจการให้บริการล้วนๆ  ดังนั้นหัวใจของธุรกิจจึงอยู่ที่การจัดการ  การจัดการที่ยากที่สุดคือการจัดการกับมนุษย์ มนุษย์ มีความคิดเห็นของตัวเอง ไม่เหมือนกับสิ่งของ ที่เราสามารถนำมาตบแต่งและทำอะไรก็ได้ มนุษย์มีอารมณ์และความคิดของตัวเอง ไม่ยอมให้ใครมาสั่งหรือให้ทำอะไรก็ได้ตามใจของผู้สั่ง

การให้บริการเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ไม่มีตัวตน ทุกอย่างไม่สามารถกำหนดตายตัวเหมือนกับสิ่งของที่เป็นวัตถุ  คุณค่าของการบริการจึงขึ้นอยู่กับความพอใจของลูกค้า ลูกค้าแต่ละคนมีความต้องการไม่เหมือนกัน จึงเป็นการยากที่จะกำหนดหรือจัดกรอบการบริการเพื่อให้ลูกค้าทุกคนพอใจ

ความพอใจเป็นสิ่งที่อยู่ภายใน พบเห็นอยู่บ่อยๆว่าลูกค้าพอใจในสินค้าแต่ภายนอกแสดงอาการไม่พอใจเพื่อต่อรองให้ได้ราคาสินค้าที่ถูกลง หรือเพื่อให้ได้รับบริการที่เพิ่มขึ้น สินค้าที่เป็นวัตถุ ลูกค้าสามารถแตะต้องและทดลองใช้จนเป็นที่พอใจ จึงตัดสินใจซื้อ เมื่อซื้อแล้วเกิดไม่พอใจหรือไม่ต้องการใช้ก็สามารถขายต่อให้คนอื่นหรือให้กับผู้อื่นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้  สำหรับสินค้าด้านบริการ ไม่สามารถสัมผัสกับสินค้าได้ และเมื่อตัดสินใจซื้อแล้วก็ต้องใช้เลยจะเก็บไว้ไม่ได้ ไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก เมื่อต้องการจะใช้บริการอีกก็ต้องซื้อบริการใหม่ซึ่งอาจได้รับความพอใจไม่เหมือนเดิม อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าเดิม ทั้งๆที่เป็นบริการแบบเดียวกันและซื้อจากที่เดียวกัน

สินค้าที่เป็นวัตถุ ลงทุนในการออกแบบครั้งเดียวสามารถผลิตสินค้าออกมาเป็นจำนวนมาก ที่มีมาตรฐานและคุณค่าเท่ากัน แต่สินค้าบริการไม่สามารถทำได้เหมือนสินค้าที่เป็นวัตถุ เพราะวัตถุดิบที่นำมาใช้เป็น มนุษย์  มนุษย์ไม่เคยคงที่ ไม่มีใครสามารถทำให้มนุษย์คงที่ได้ วัตถุที่เป็นสิ่งของไม่มีชีวิตจึงไม่มีการเรียกร้องค่าตัว แต่มนุษย์มีชีวิตจึงต้องเรียกร้องค่าตัวเพื่อนำเงินทองที่ได้ไปเลี้ยงตัวเองและครอบครัว

ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการนักท่องเที่ยว ประกอบด้วยธุรกิจหลักๆ ได้แก่ธุรกิจคมนาคม ( ให้บริการด้านการเดินทาง) ธุรกิจโรงแรม ( ให้บริการด้านห้องพัก ) ธุรกิจจัดนำเที่ยว ( ผู้จัดโปรแกรมการท่องเที่ยวและให้บริการนำเที่ยว) ธุรกิจร้านอาหาร ( บริการอาหารเครื่องดื่ม ) และอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกหลายธุรกิจ ธุรกิจแต่ละชนิดยังมีการแตกย่อยไปอีกหลายแขนง เช่นธุรกิจ คมนาคม แยกออกเป็น ธุรกิจสายการบิน ธุรกิจรถโดยสารประจำทาง ธุรกิจรถโดยสารไม่ประจำทาง ธุรกิจให้เช่ารถ ธุรกิจรถไฟ ธุรกิจเดินเรือข้ามฝาก ธุรกิจเดินเรือเพื่อท่องเที่ยว และอื่นๆอีกมากมาย

ธุรกิจคมนาคม และธุรกิจโรงแรม จริงๆเป็นธุรกิจที่ให้การสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยว เพราะธุรกิจทั้งสองประเภทเป็นธุรกิจที่ไม่ได้ให้บริการเฉพาะกับนักเที่ยวเที่ยวเท่านั้น ดังนั้นธุรกิจจัดนำเที่ยวจึงถึงว่าเป็นธุรกิจท่องเที่ยวโดยตรง นักท่องเที่ยวได้แก่ใครก็ได้ที่ต้องการเดินทางไปท่องเที่ยว หรือบางครั้งเป็นนักธุรกิจที่เดินทางไปติดต่อการค้าและถือโอกาสแวะชมสถานที่ท่องเที่ยวในช่วงระยะเวลาหนึ่งของการเดินทางไปติดต่อการค้า

นักท่องเที่ยวเองสามารถเลือกการท่องเที่ยวได้หลายวิธี ดังนั้นธุรกิจจัดนำเที่ยวเองอาจไม่มีรายได้ใดๆจากนักท่องเที่ยวผู้นั้นเลยก็ได้ ธุรกิจจัดนำเที่ยวถึงแม้นจะได้ค่าจัดนำเที่ยวจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก แต่ก็ต้องนำไปจ่ายให้กับโรงแรม สายการบิน บริษัทรถเช่า ร้านอาหาร  เหลือเป็นรายได้จริงๆไม่เท่าไหร่ หรืออาจไม่เหลือเลยก็ได้ บางรายอาจจะขาดทุนด้วยซ้ำ

ธุรกิจโรงแรม และ ธุรกิจ คมนาคม ต้องลงทุนสูง เพื่อจัดหาที่ดินในการปลูกสร้างโรงแรม ค่าก่อสร้าง และค่าอุปกรณ์ในการให้บริการต่างๆ เครื่องบิน เรือ รถ  ส่วนธุรกิจจัดนำเที่ยวไม่ต้องลงทุนสูงในการจัดหาวัตถุต่างๆเหมือนกับธุรกิจทั้งสองประเภทที่เอ่ยมา  ธุรกิจโรงแรม และ คมนาคม เริ่มจากเครื่องมือที่เป็นวัตถุ และจึงมาใช้มนุษย์ในการจัดการและให้บริการ วัตถุนั้นมีราคา สามารถซื้อขายได้ สำหรับธุรกิจจัดนำเที่ยว การลงทุนเริ่มต้นที่มนุษย์ ไม่ต้องลงทุนสูงอย่างธุรกิจทั้งสองประเภทที่ยกมา

ธุรกิจจัดนำเที่ยว ลงทุนเพียงแค่มีสำนักงานและเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร ไม่ต้องไปเสียเวลากับการก่อสร้างหรือการจัดหาอุปกรณ์อย่างเช่นธุรกิจอีกสองประเภท แต่สิ่งที่จะต้องลงทุนคือ การจัดการมนุษย์ เริ่มจากการสรรหามนุษย์ ให้ความรู้และอบรม เพื่อช่วยกันผลิตและสร้างสินค้าที่ไม่มีตัวตนและความคงที่ เงินที่ลงทุนในการจัดการกับมนุษย์ไม่สามารถตีราคาได้ และไม่สามารถยึดเป็นเจ้าของได้  สินค้าที่ผลิตมาไม่สามารถเก็บตุนได้

จากที่กล่าวมาแล้วเมื่อพูดถึงธุรกิจท่องเที่ยว ทุกคนจึงมองไปที่ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจคมนาคม เพราะธุรกิจทั้งสองประเภทเป็นธุรกิจที่นักท่องเที่ยวต้องใช้บริการ ทำรายได้มาก จึงมีผู้กล้าลงทุนถึงแม้นว่าการลงทุนจะสูงก็ตาม ผิดจากธุรกิจจัดนำเที่ยวที่การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ที่การจัดการกับมนุษย์ล้วนๆ ลงทุนแล้วเรียกกลับไม่ได้

มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุด หัวใจของธุรกิจบริการ อยู่ที่มนุษย์ แต่ในวงจรของธุรกิจ มนุษย์ยังไม่กล้าลงทุนที่มนุษย์ มากกว่าการลงทุนที่วัตถุ จึงทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทยไม่มีคุณภาพ  ทั้งๆที่ประเทศเรามีทรัพยากรทางด้านการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ไม่แพ้ประเทศใดในโลก

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

20 ตุลาคม 2548

 

ทุนมนุษย์กับการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว

พิมพ์ PDF

ทุนมนุษย์กับการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว


สถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจท่องเที่ยวไทยด้านทุนมนุษย์

ทุนมนุษย์ กับการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว

Education-Architecture of Human Resource

บทที่ สถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจท่องเที่ยวไทยเรื่องทุนมนุษย์

ธุรกิจหลักของธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวของไทย ได้แก่ ธุรกิจบริการที่พัก ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ผู้ประกอบการธุรกิจเหล่านี้กว่าร้อยละ ๙๙ เป็นผู้ประกอบการ SMEs และ MSEs  รูปแบบของการประกอบธุรกิจจะมีลักษณะเป็นกิจการในครอบครัวไม่ได้มีระบบการบริหารจัดการตามระบบทางธุรกิจอย่างเป็นระบบ การดำกิจการจะเป็นรูปแบบง่ายๆไม่ซับซ้อน เนื่องจากจะใช้แรงงานของสมาชิกในครอบครัวเป็นหลัก แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารงานกันตามความสมัครใจหรือความสามารถของสมาชิกในครอบครัวกันอย่างง่ายๆหรืออาจจะเป็นการให้ความช่วยเหลือกันระหว่างเพื่อนบ้านใกล้เคียงหรือคนในท้องถิ่นนั้นๆ โครงสร้างองค์กรหรือ Organization Chart จะมีลักษณะที่ค่อนข้างราบไม่ได้มีการแบ่งแยกเป็นสายงานหรือสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจนหรือยุ่งยากซับซ้อนดังเช่นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ หากงานในส่วนไหนยังขาดคนรับผิดชอบก็สามารถเข้าไปทำแทนกันหรือแรงงานหนึ่งคนสามารถรับผิดชอบในหลายหน้าที่ในเวลาเดียวกันได้เนื่องจากไม่ได้แบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบกันอย่างเด็ดขาดชัดเจนนัก ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการ SMEs บางรายจะมีการจ้างแรงงานเพิ่มเติมจากการใช้แรงงานในครอบครัวก็จะเป็นการจ้างงานเพียงชั่วคราวในฤดูกาลท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการมาก ไม่ได้มีการจัดโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการขยายการบริหารงานหรือการบริการที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ไม่มีการกำหนดตำแหน่งงานหรือการปรับระดับและอัตราเงินเดือนตามโครงสร้างองค์กรหรือหลักเกณฑ์ในการบริหารงานขององค์กรธุรกิจทั่วไป รวมทั้งอาจไม่ได้มีการทำสัญญาจ้างงานและให้สวัสดิการต่าง ๆ ตามกฎหมายแรงงาน โดยอาจจะเป็นการเจรจาตกลงราคาค่าจ้างและขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบกันง่าย ๆ เท่านั้น หากทั้งผู้จ้างและผู้รับจ้างตกลงกันได้ก็เข้ามาร่วมงานกัน ไม่ใช่เป็นการหาแรงงานมาบรรจุตามตำแหน่งที่ว่างตามโครงสร้างองค์กร หากต้องการขยายงานหรือขยายการประกอบธุรกิจในส่วนไหนก็จะทำตามที่เจ้าของกิจการต้องการโดย ไม่ได้มีการวางแผนงานไว้ล่วงหน้า

 

สำหรับปัญหาหลักในการบริหารจัดการของผู้ประกอบการSMEในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวที่สำคัญน่าจะมีอยู่สองประเด็นด้วยกัน คือ ผู้ประกอบการมักขาดความรู้ทางด้านการบริหารจัดการ และผู้ประกอบการ SMEs ยังไม่มีการนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจมากนัก การขาดความรู้ทางด้านการบริหารจัดการของผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจ การเดินทางและท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นการขาดความรู้และทักษะในด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากผู้ประกอบการSMEsส่วนใหญ่เห็นว่าการบริหารงานเป็นการอาศัยแรงงานภายในครอบครัวเป็นหลักจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยหลักการบริหารจัดการตามหลักวิชาการหรือกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการให้ยุ่งยาก เพราะบุคลากรก็มีจำกัดและสามารถผลัดเปลี่ยนกันเข้าไปรับผิดชอบหรือปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆทดแทนกันได้ตลอดเวลา อีกทั้งในแต่ละวันก็มีการปรึกษาหารือหรือพูดคุยเกี่ยวกับการบริหารงานและการปฏิบัติงานตลอดเวลาหรือหากจะต้องมีการประสานงานก็เป็นลักษณะอาศัยความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการเป็นส่วนใหญ่โดยจะเน้นความช่วยเหลือเกื้อกูลกันทั้งระหว่างเครือญาติและคนในท้องถิ่น อีกทั้งจากการที่ไม่ได้มีการรวบรวมข้อมูลหรือสถิติสำคัญเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของตนเอง อย่างเป็นระบบ ผู้ประกอบการ SMEs จึงไม่เห็น ความสำคัญของการที่จะต้องมีการจัดทำแผนงานหรือวางแผนเกี่ยวกับการดำเนินกิจการรวมทั้งการขยายกิจการในอนาคต ดังนั้น จึงควรมีการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวหันมาให้ความสนใจที่จะศึกษาและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการสมัยใหม่เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการประกอบธุรกิจ ประเด็นเกี่ยวกับผู้ประกอบการ SMEs ไม่เห็นความสำคัญของการนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ อาจเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวโดยผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดเล็กและใช้เงินลงทุนไม่มากนัก ขณะที่การจะนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานจะต้องลงทุนเพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก จึงอาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุนอีกทั้งผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่จึงเห็นว่าการลงทุนใน ด้านระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศไม่น่าจะคุ้มค่าและอาจจะไม่เหมาะสมกับกิจการขนาดเล็ก อีกทั้งรูปแบบของการบริหารจัดการก็ไม่ได้มีความซับซ้อนจนต้องนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ แต่หากหน่วยงานภาครัฐจะมีการจัดทำระบบงานหรือพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่ราคาไม่แพงรวมทั้งมีฝึกอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับใช้ในการประกอบธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวก็น่าจะช่วยลดปัญหาในด้านนี้ลงได้

การจัดการด้านการตลาดของผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เรียบง่ายไม่ได้ดำเนินการอย่างเป็นทางการนัก โดยอาจอาศัยการบอกต่อโดยนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการแล้วเกิดความประทับใจจึงแนะนำให้บุคคลใกล้ชิดหรือนักท่องเที่ยวรายอื่น หรือผู้ประกอบการ SMEs อาจจัดทำเป็นใบปลิวหรือแผ่นพับที่พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์หรือถ่ายเอกสารแล้วนำไปแจกจ่ายแก่นักท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวหรือติดไว้ตามสถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนั้นผู้ประกอบการ SMEs มักไม่ได้มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดอย่างเฉพาะเจาะจง ดังเช่นผู้ประกอบการขนาดใหญ่และหากจะดำเนินกลยุทธ์ด้านการตลาดโดยใช้ราคาเป็นปัจจัยดึงดูดลูกค้าก็อาจทำได้ยากเนื่องจากมีเงินลงทุนไม่มากนัก หรือหากจะปรับตัวให้สอดคล้องกับแคมเปญที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยใช้โปรโมทการท่องเที่ยวของไทยในแต่ละปีก็น่าจะทำได้ยาก เนื่องจากข้อจำกัดด้านเงินลงทุนอีกเช่นกัน ดังนั้นการจัดการด้านการตลาดของผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวจึงทำได้อย่างจำกัด อาจจะต้องมีการรวมกลุ่มกันในชุมชนหรือท้องถิ่นแล้วร่วมกันทำหรือขอความสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลรับผิดชอบด้านการท่องเที่ยว

 

สำหรับด้านทรัพยากรมนุษย์จะเน้นบริหารจัดการจากกําลังแรงงานที่มีอยู่ในครอบครัวก่อน อาจจะมีการจ้างแรงงานเพิ่มแต่ก็อาจไม่มากนัก เนื่องจากเป็นกิจการขนาดเล็กหากมีการ จ้างงานเพิ่มอาจเป็นการสร้างภาระด้านต้นทุนแก่ผู้ประกอบการ SMEs มากเกินไป ดังนั้น แรงงานในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวที่มีผู้ประกอบการเป็น SMEs ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นแรงงานชั่วคราว ที่มีอาชีพหลักอย่างอื่นอยู่แล้ว และเข้ามาประกอบอาชีพในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวเฉพาะในช่วงที่เป็นฤดูกาลท่องเที่ยวเท่านั้น เมื่อหมดฤดูกาลท่องเที่ยวก็กลับไปประกอบอาชีพหลักของตนตามเดิม   ดังนั้น แรงงานส่วนใหญ่จึงมักขาด ความรู้และทักษะในการให้บริการด้านการท่องเที่ยวอย่างมืออาชีพ ได้แก่ความรู้ความสามารถด้านภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เป็นต้น การที่แรงงานส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแรงงานชั่วคราว จึงทำให้ขาดแรงจูงใจที่จะฝึกฝนหรือพัฒนาทักษะเพิ่มเติมโดยเฉพาะที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยว ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากแรงงานในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวมองไม่เห็นความก้าวหน้าทางอาชีพ (career path) ของตนเองอย่างชัดเจนในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยว จึงอาจเห็นว่าไม่คุ้มค่าที่จะลงทุนพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวโดยเสียค่าใช้จ่ายเอง ขณะที่ผู้ประกอบการ SMEs ก็ไม่อยากเพิ่มต้นทุนในการประกอบการโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวให้แก่แรงงาน ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ไม่มีแรงจูงใจที่จะส่งเสริมหรือลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะการให้บริการที่สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่แก่แรงงาน เพราะ ไม่มั่นใจว่าแรงงานที่ได้รับการพัฒนาให้มีทักษะการให้บริการที่สูงขึ้นจะทำงานอยู่นานเพียงพอที่จะ คุ้มค่ากับการลงทุนพัฒนา

 

(เรียบเรียงจากโครงการศึกษาวิเคราะห์และเตือนภัย SMEs สาขาธุรกิจบริการการท่องเที่ยว ของ สสว)

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

15 มีนาคม 2554

 

ทุนมนุษย์กับการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว

พิมพ์ PDF

ทุนมนุษย์กับการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว


สถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจท่องเที่ยวไทยด้านทุนมนุษย์

ทุนมนุษย์ กับการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว

Education-Architecture of Human Resource

บทที่ สถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจท่องเที่ยวไทยเรื่องทุนมนุษย์

ธุรกิจหลักของธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวของไทย ได้แก่ ธุรกิจบริการที่พัก ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ผู้ประกอบการธุรกิจเหล่านี้กว่าร้อยละ ๙๙ เป็นผู้ประกอบการ SMEs และ MSEs  รูปแบบของการประกอบธุรกิจจะมีลักษณะเป็นกิจการในครอบครัวไม่ได้มีระบบการบริหารจัดการตามระบบทางธุรกิจอย่างเป็นระบบ การดำกิจการจะเป็นรูปแบบง่ายๆไม่ซับซ้อน เนื่องจากจะใช้แรงงานของสมาชิกในครอบครัวเป็นหลัก แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารงานกันตามความสมัครใจหรือความสามารถของสมาชิกในครอบครัวกันอย่างง่ายๆหรืออาจจะเป็นการให้ความช่วยเหลือกันระหว่างเพื่อนบ้านใกล้เคียงหรือคนในท้องถิ่นนั้นๆ โครงสร้างองค์กรหรือ Organization Chart จะมีลักษณะที่ค่อนข้างราบไม่ได้มีการแบ่งแยกเป็นสายงานหรือสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจนหรือยุ่งยากซับซ้อนดังเช่นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ หากงานในส่วนไหนยังขาดคนรับผิดชอบก็สามารถเข้าไปทำแทนกันหรือแรงงานหนึ่งคนสามารถรับผิดชอบในหลายหน้าที่ในเวลาเดียวกันได้เนื่องจากไม่ได้แบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบกันอย่างเด็ดขาดชัดเจนนัก ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการ SMEs บางรายจะมีการจ้างแรงงานเพิ่มเติมจากการใช้แรงงานในครอบครัวก็จะเป็นการจ้างงานเพียงชั่วคราวในฤดูกาลท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการมาก ไม่ได้มีการจัดโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการขยายการบริหารงานหรือการบริการที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ไม่มีการกำหนดตำแหน่งงานหรือการปรับระดับและอัตราเงินเดือนตามโครงสร้างองค์กรหรือหลักเกณฑ์ในการบริหารงานขององค์กรธุรกิจทั่วไป รวมทั้งอาจไม่ได้มีการทำสัญญาจ้างงานและให้สวัสดิการต่าง ๆ ตามกฎหมายแรงงาน โดยอาจจะเป็นการเจรจาตกลงราคาค่าจ้างและขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบกันง่าย ๆ เท่านั้น หากทั้งผู้จ้างและผู้รับจ้างตกลงกันได้ก็เข้ามาร่วมงานกัน ไม่ใช่เป็นการหาแรงงานมาบรรจุตามตำแหน่งที่ว่างตามโครงสร้างองค์กร หากต้องการขยายงานหรือขยายการประกอบธุรกิจในส่วนไหนก็จะทำตามที่เจ้าของกิจการต้องการโดย ไม่ได้มีการวางแผนงานไว้ล่วงหน้า

 

สำหรับปัญหาหลักในการบริหารจัดการของผู้ประกอบการSMEในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวที่สำคัญน่าจะมีอยู่สองประเด็นด้วยกัน คือ ผู้ประกอบการมักขาดความรู้ทางด้านการบริหารจัดการ และผู้ประกอบการ SMEs ยังไม่มีการนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจมากนัก การขาดความรู้ทางด้านการบริหารจัดการของผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจ การเดินทางและท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นการขาดความรู้และทักษะในด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากผู้ประกอบการSMEsส่วนใหญ่เห็นว่าการบริหารงานเป็นการอาศัยแรงงานภายในครอบครัวเป็นหลักจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยหลักการบริหารจัดการตามหลักวิชาการหรือกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการให้ยุ่งยาก เพราะบุคลากรก็มีจำกัดและสามารถผลัดเปลี่ยนกันเข้าไปรับผิดชอบหรือปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆทดแทนกันได้ตลอดเวลา อีกทั้งในแต่ละวันก็มีการปรึกษาหารือหรือพูดคุยเกี่ยวกับการบริหารงานและการปฏิบัติงานตลอดเวลาหรือหากจะต้องมีการประสานงานก็เป็นลักษณะอาศัยความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการเป็นส่วนใหญ่โดยจะเน้นความช่วยเหลือเกื้อกูลกันทั้งระหว่างเครือญาติและคนในท้องถิ่น อีกทั้งจากการที่ไม่ได้มีการรวบรวมข้อมูลหรือสถิติสำคัญเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของตนเอง อย่างเป็นระบบ ผู้ประกอบการ SMEs จึงไม่เห็น ความสำคัญของการที่จะต้องมีการจัดทำแผนงานหรือวางแผนเกี่ยวกับการดำเนินกิจการรวมทั้งการขยายกิจการในอนาคต ดังนั้น จึงควรมีการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวหันมาให้ความสนใจที่จะศึกษาและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการสมัยใหม่เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการประกอบธุรกิจ ประเด็นเกี่ยวกับผู้ประกอบการ SMEs ไม่เห็นความสำคัญของการนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ อาจเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวโดยผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดเล็กและใช้เงินลงทุนไม่มากนัก ขณะที่การจะนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานจะต้องลงทุนเพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก จึงอาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุนอีกทั้งผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่จึงเห็นว่าการลงทุนใน ด้านระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศไม่น่าจะคุ้มค่าและอาจจะไม่เหมาะสมกับกิจการขนาดเล็ก อีกทั้งรูปแบบของการบริหารจัดการก็ไม่ได้มีความซับซ้อนจนต้องนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ แต่หากหน่วยงานภาครัฐจะมีการจัดทำระบบงานหรือพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่ราคาไม่แพงรวมทั้งมีฝึกอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับใช้ในการประกอบธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวก็น่าจะช่วยลดปัญหาในด้านนี้ลงได้

การจัดการด้านการตลาดของผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เรียบง่ายไม่ได้ดำเนินการอย่างเป็นทางการนัก โดยอาจอาศัยการบอกต่อโดยนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการแล้วเกิดความประทับใจจึงแนะนำให้บุคคลใกล้ชิดหรือนักท่องเที่ยวรายอื่น หรือผู้ประกอบการ SMEs อาจจัดทำเป็นใบปลิวหรือแผ่นพับที่พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์หรือถ่ายเอกสารแล้วนำไปแจกจ่ายแก่นักท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวหรือติดไว้ตามสถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนั้นผู้ประกอบการ SMEs มักไม่ได้มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดอย่างเฉพาะเจาะจง ดังเช่นผู้ประกอบการขนาดใหญ่และหากจะดำเนินกลยุทธ์ด้านการตลาดโดยใช้ราคาเป็นปัจจัยดึงดูดลูกค้าก็อาจทำได้ยากเนื่องจากมีเงินลงทุนไม่มากนัก หรือหากจะปรับตัวให้สอดคล้องกับแคมเปญที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยใช้โปรโมทการท่องเที่ยวของไทยในแต่ละปีก็น่าจะทำได้ยาก เนื่องจากข้อจำกัดด้านเงินลงทุนอีกเช่นกัน ดังนั้นการจัดการด้านการตลาดของผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวจึงทำได้อย่างจำกัด อาจจะต้องมีการรวมกลุ่มกันในชุมชนหรือท้องถิ่นแล้วร่วมกันทำหรือขอความสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลรับผิดชอบด้านการท่องเที่ยว

 

สำหรับด้านทรัพยากรมนุษย์จะเน้นบริหารจัดการจากกําลังแรงงานที่มีอยู่ในครอบครัวก่อน อาจจะมีการจ้างแรงงานเพิ่มแต่ก็อาจไม่มากนัก เนื่องจากเป็นกิจการขนาดเล็กหากมีการ จ้างงานเพิ่มอาจเป็นการสร้างภาระด้านต้นทุนแก่ผู้ประกอบการ SMEs มากเกินไป ดังนั้น แรงงานในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวที่มีผู้ประกอบการเป็น SMEs ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นแรงงานชั่วคราว ที่มีอาชีพหลักอย่างอื่นอยู่แล้ว และเข้ามาประกอบอาชีพในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวเฉพาะในช่วงที่เป็นฤดูกาลท่องเที่ยวเท่านั้น เมื่อหมดฤดูกาลท่องเที่ยวก็กลับไปประกอบอาชีพหลักของตนตามเดิม   ดังนั้น แรงงานส่วนใหญ่จึงมักขาด ความรู้และทักษะในการให้บริการด้านการท่องเที่ยวอย่างมืออาชีพ ได้แก่ความรู้ความสามารถด้านภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เป็นต้น การที่แรงงานส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแรงงานชั่วคราว จึงทำให้ขาดแรงจูงใจที่จะฝึกฝนหรือพัฒนาทักษะเพิ่มเติมโดยเฉพาะที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยว ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากแรงงานในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวมองไม่เห็นความก้าวหน้าทางอาชีพ (career path) ของตนเองอย่างชัดเจนในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยว จึงอาจเห็นว่าไม่คุ้มค่าที่จะลงทุนพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวโดยเสียค่าใช้จ่ายเอง ขณะที่ผู้ประกอบการ SMEs ก็ไม่อยากเพิ่มต้นทุนในการประกอบการโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวให้แก่แรงงาน ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ไม่มีแรงจูงใจที่จะส่งเสริมหรือลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะการให้บริการที่สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่แก่แรงงาน เพราะ ไม่มั่นใจว่าแรงงานที่ได้รับการพัฒนาให้มีทักษะการให้บริการที่สูงขึ้นจะทำงานอยู่นานเพียงพอที่จะ คุ้มค่ากับการลงทุนพัฒนา

 

(เรียบเรียงจากโครงการศึกษาวิเคราะห์และเตือนภัย SMEs สาขาธุรกิจบริการการท่องเที่ยว ของ สสว)

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

15 มีนาคม 2554

 


หน้า 30 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8739315

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า