Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ผ่ากลยุทธ์ธุรกิจพิชิตวัยเกษียณ

พิมพ์ PDF
ผ่ากลยุทธ์ธุรกิจพิชิตวัยเกษียณ
15 มิถุนายน 2015
Hires_Thai_aging_Q2_2015-1.jpg

ผ่ากลยุทธ์ธุรกิจพิชิตวัยเกษียณ 

ไทยมีแนวโน้มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุค่อนข้างเร็วและกำลังกลายเป็นอีกหนึ่งโอกาสและความท้าทายทางเศรษฐกิจและธุรกิจที่ต้องเตรียมรับมือ ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุด้วยสัดส่วนของประชากรสูงอายุที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 20% ของประชากรภายในอีก 20 ปีข้างหน้า บทวิเคราะห์นี้จึงมุ่งหวังให้ทั้งภาครัฐและเอกชนตระหนักถึงประเด็นที่น่ากังวลจากการที่ไทยยังไม่มีความพร้อมเพียงพอเพื่อรับมือกับผลกระทบที่จะตามมาทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม และยังได้นำเสนอกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อให้ไม่พลาดโอกาสและเติบโตได้อย่างยั่งยืนในยุคของสังคมผู้สูงอายุ

 

ติดตามอ่านรายละเอียดบทวิเคราะห์ ได้ที่ link :https://www.scbeic.com/th/detail/product/1375

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 17 มิถุนายน 2015 เวลา 15:20 น.
 

วางกลยุทธ์ฝ่าวิกฤติแรงงานไทย

พิมพ์ PDF
วางกลยุทธ์ฝ่าวิกฤติแรงงานไทย
30 มีนาคม 2015
thumb_Thai_labor_insight_Q1_2015_v2-1.jpg

วางกลยุทธ์ฝ่าวิกฤติแรงงานไทย

ปัญหาท้าทายประการหนึ่งของธุรกิจไทยในปัจจุบันคือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับความต้องการ อีไอซีจึงขอสะท้อนความรุนแรงของปัญหาและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางการปรับตัวของธุรกิจเพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าวในบทวิเคราะห์ “Insight: วางกลยุทธ์ฝ่าวิกฤติแรงงานไทย (Bridging Thailand’s Labor Gap)” ฉบับนี้ จากผลการสำรวจธุรกิจโดยอีไอซีพบว่า กว่า 50% ของผู้ประกอบการไม่สามารถหาแรงงานที่ต้องการได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน โดยปัญหานี้จะรุนแรงในกลุ่มธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก เช่น ธุรกิจก่อสร้าง และกลุ่มธุรกิจที่ต้องการทักษะเฉพาะ เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์

 

สามารถติดตามอ่านรายละเอียดการวิเคราะห์ได้ที่ Link :https://www.scbeic.com/th/detail/product/1249

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 17 มิถุนายน 2015 เวลา 15:26 น.
 

กรรมการ บอร์ด กับกลยุทธขององค์กร

พิมพ์ PDF

นิตยสาร Boardroom ของ IOD Vol 38, Issue 1/2015, Jan – Feb เน้นเรื่อง Board Strategy ผู้เชี่ยวชาญที่เขาไปสัมภาษณ์ บอกว่า ตำแหน่งกรรมการขององค์กรเป็นอาชีพ ตรงกับที่ผมไปฟังมาจากสิงคโปร์ ตาม บันทึกนี้

กระบวนทัศน์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเรื่อง strategy ไม่ใช่เรื่องที่ทำกลยุทธกันครั้งหนึ่งแล้วเอาไป ปฏิบัติตามนั้น แต่เป็นกระบวนการต่อเนื่อง และสำหรับกรรมการ เน้นที่วิธีคิดมากกว่า คือกรรมการต้องคิด เชิงกลยุทธ ไม่ใช่คิดเชิงบริหาร จะให้คิดเชิงกลยุทธได้ดี กรรมการต้องมี information ที่ฝ่ายบริหารป้อนให้ อย่างครบถ้วนและเข้าใจง่าย

ผมนึกถึงตอนไปฟังเรื่อง Corporate Govenance and Director Duties Excellence ที่สิงคโปร์ เมื่อต้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๘ ที่วิทยากรบอกว่า information ที่ได้จากฝ่ายบริหารไม่เพียงพอต่อการทำหน้าที่ บอร์ด ที่ดี ตัวกรรมการต้องไปเยี่ยมเยียนทำความเข้าใจกิจการที่หน้างานเองด้วย จะช่วยให้มองภาพเชิงกลยุทธ ได้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น

ผู้บริหารท่านหนึ่งบอกว่า กลยุทธต้องมีความชัดเจน ในระดับที่มีตัวชี้วัดผลสำเร็จ และต้องเป็นวงจร มีการติดตามตรวจสอบ และปรับวิธีดำเนินการตามกลยุทธ

หน้า ๒๒ ของนิตยสารดังกล่าว เป็นเรื่อง คณะกรรมการบริษัทกับความยั่งยืนของกิจการ และอ้างถึงรายงาน Key considerations for board and audit committee members 2013 – 2014 ของบริษัท PwC ซึ่งเป็นความเห็นระดับโลก และเป็นสถานการณ์ในปีที่แล้ว ที่เขาบอกว่ามีปัจจัยสำคัญ ๕ ประการคือ

  • ๑.การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
  • ๒.การเปลี่ยนแปลงอำนาจทางเศรษฐกิจ
  • ๓.การพัฒนาของเมือง
  • ๔.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการขาดแคลนทรัพยากร
  • ๕.ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ผมค้นด้วยชื่อรายงานนี้ และพบรายงานของปี 2014 – 2015 ที่นี่ โดยมีประเด็นสำคัญที่บอร์ด และคณะกรรมการตรวจสอบพึงคำนึงถึง ๗ ประการคือ

  • ๑.กิจกรรมของผู้ถือหุ้น (Shareholder activism) คือยิ่งนับวันผู้ถือหุ้นก็ไม่ทำตัวนิ่งเฉย แต่จะรวมตัวกันตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ สำหรับประเทศไทยผมคิดว่าเป็นสิ่งดี ผมเสียดายที่ไม่มีกิจกรรมแบบนี้ ต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย เพราะเราไม่มี "ผู้ถือหุ้น"
  • ๒.เทคโนโลยีอุบัติใหม่ (Emerging technologies) เขาระบุถึง big data, mobile devices, cloud computing และ social media ซึ่งผมคิดว่ามหาวิทยาลัยในประเทศไทยเอาใจใส่เรื่องนี้น้อยไป เขาแนะนำให้บอร์ดนำเรื่องนี้ไปอภิปรายกับฝ่ายบริหาร
  • ๓.การดูแลความเสี่ยง โดยเฉพาะการดูแลระดับการยอมรับความเสี่ยง (Risk appetite) และความเสี่ยงของ ปาร์ตี้ที่สาม (Third parties) ที่บริษัท outsource กิจการบางอย่าง
  • ๔.ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ นี่คือประเด็นด้านธุรกิจ ไม่ใช่ด้านเทคโนโลยี ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความเสี่ยงในยุคปัจจุบัน
  • ๕.การจัดการภาวะวิกฤต ต้องมีแผน crisis response plan
  • ๖.รายงานการเงิน และบันทึกรายรับ จะมีกติกาใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ องค์กรต้องเตรียมพร้อม
  • ๗.มุมมองของผู้ลงทุนต่อ บอร์ด ที่มีส่วนมองต่างจากกรรมการบอร์ดเอง ผมคัดมุมมองที่ต่างกันของคนสองกลุ่มนี้จากเอกสาร ดังข้างล่าง

ผมอ่านเอกสารนี้แล้วนึกถึงระบบการทำหน้าที่กรรมการ บอร์ด ของมหาวิทยาลัย (ซึ่งก็คือสภามหาวิทยาลัยนั่นเอง) ว่าเราแทบไม่มีกลไกขับเคลื่อนการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงวิธีการ ทำหน้าที่กรรมการ อย่างที่มีอยู่ในระบบ บอร์ด ขององค์กรธุรกิจ

หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้ (เวลานี้คือ สกอ.) ไม่เข้าใจวิธีแสดงบทบาทแนวนี้ ทำเป็นเฉพาะบทบาท command & control ซึ่งเห็นอยู่ว่าใช้ไม่ได้ผล ไม่สร้างความเจริญอย่างแท้จริงให้แก่ระบบกำกับดูแลมหาวิทยาลัย

วิจารณ์ พานิช

๑๔ เม.ย. ๕๘


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

คัดลอกจาก : https://www.gotoknow.org/posts/590585

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2015 เวลา 00:15 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๔๒๐. กระบวนทัศน์งอกงามสู่ศิลปะแห่งการรัก.

พิมพ์ PDF

ผมได้แรงบันดาลใจในการเขียนบันทึกนี้ จากการอ่านหนังสือ ศิลปะแห่งการรัก แปลจาก The Art of Loving หนังสือคลาสสิค เขียนโดย Erich Fromm แปลโดยสุรพงษ์ สุวจิตตานนท์

ผมอ่านบทกล่าวนำ โดย ปีเตอร์ ดี. เครเมอร์ และเพียงไม่กี่หน้าของบทแรก ก็เกิดแรงบันดาลใจเขียนบันทึกนี้ โดยผมติดใจการแยกแยะคำว่า "ความรัก" ออกเป็น ๒ นัย คือ การเป็นที่รัก (being loved) กับ การรัก (loving) คือการมอง "ความรัก" ให้กว้าง ทั้งเพื่อตนเอง, เพื่อคนอื่น, และเพื่อส่วนรวม เช่นเพื่อสังคม เพื่อมนุษยชาติ เพื่อโลก หรือหากตีวงแคบที่ความรักระหว่างคน ๒ คน ก็ยังมองได้เป็น ๔ นัย คือ เพื่อให้เขารักเรา, เพื่อเรารักเขา, เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน, และเพื่อเราร่วมกันสร้างสังคมที่น่าอยู่

อีกมุมหนึ่ง สามารถมอง "ความรัก" ได้เป็น ๒ นัย นัยหนึ่งมองว่าเป็นเสมือน "สิ่งของ" หรือ "เป้า" (object) และอีกนัยหนึ่งมองเป็น "ความสามารถ" (faculty) การมองเป็น ความสามารถ หรือสมรรถนะ นี่แหละ ที่ทำให้ผมคิดลากเข้าสู่ การเรียนรู้ เราสามารถมอง "ความสามารถในการรัก" เป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ที่ผมคิดว่า อยู่ในกลุ่มการเรียนรู้ทักษะชีวิต หากคิดเช่นนี้ "การรัก" ก็เป็นสิ่งที่เรียนรู้ฝึกฝนได้ และเราจะเรียนรู้ได้ดี หากเราเชื่อใน "กระบวนทัศน์งอกงาม" (Growth Mindset) ว่าคนเราฝึกฝนตนเองเพื่องอกงาม "ขีดความสามารถในการรัก" ให้แก่ตนเองได้

โดยนัยข้างต้น กระบวนทัศน์งอกงาม (Growth Mindset) จึงนำไปสู่การงอกงามทักษะแห่งการรัก (The Skills of Loving)

ตรงกับคำโปรยที่ปกหลังของหนังสือ ที่ระบุว่า "การรักเป็น" ช่วยให้คนจำนวนมากได้พัฒนาความสามารถในการรัก เปลี่ยนชีวิตของคนเมื่อรู้จัก "ศิลปะแห่งการรัก"

อ่านหนังสือแล้ว ผมนึกถึงความรักที่เกิดจากสัญชาตญาณ ที่ผมนึกออกมี ๒ อย่าง คือ สัญชาตญาณรวมหมู่ ในฐานะที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม กับสัญชาตญาณสืบต่อเผ่าพันธุ์ แต่ในวิธีคิดแบบ "กระบวนทัศน์งอกงาม" ความรักเกิดจากการงอกงามด้านในของความเป็นมนุษย์ได้ด้วย

อีริก ฟรอมม์ บอกว่า ความรักเป็นศิลปะ เหมือนดนตรี หรือการเขียนรูป จึงเรียนรู้ได้ และต้องเรียนรู้ ๒ ด้าน คือด้านทฤษฎี กับด้านปฏิบัติ

ทฤษฎีที่ผมคิดว่ามีคุณค่าที่สุดคือ เรื่องการรักตนเอง กับ การรักผู้อื่น สองสิ่งนี้ไม่เป็นขั้วตรงกันข้ามกัน คนที่รักตนเอง ไม่ใช่คนที่ไม่รักผู้อื่น คนที่รักผู้อื่น ไม่ใช่คนที่ไม่รักตนเอง ความรักตนเองกับความรักคนอื่นเป็นสิ่งที่เกื้อกูลกัน ไม่ใช่สิ่งที่ขัดกัน คนที่รักตนเองไม่เป็น จะรักคนอื่นไม่เป็นด้วย และในทำนองเดียวกัน คนที่รักคนอิ่นไม่เป็น ก็จะรักตนเองไม่เป็นด้วย หลักการเช่นนี้ เรียกว่า ตรรกะที่เป็นปฏิทัศน์ (paradoxical logic) หรือ จุดยืนที่เป็นทวิลักษณ์ (dualistic standpoint) และผมตีความว่า สอดคล้องกับ Growth Mindset

แล้วผมก็พบคำว่า "มนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไป" (transforming man) (หน้า ๑๒๑) ซึ่งหมายความว่า มนุษย์เรามีการเรียนรู้ งอกงาม และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตรงกับหลักการ Transformative Learning ที่เราใช้กันในปัจจุบัน และในหน้า ๑๓๙ ระบุชัดเจนว่า คำว่า ความรัก ในหนังสือเล่มนี้ หมายถึงความรักในฐานะที่เป็นการแสดงออกของบุคลิกที่มีวุฒิภาวะ

ที่หน้า ๑๒๙ มีคำว่า "ความรักจอมปลอม"และ อีริก ฟรอมม์ บอกว่า ที่คนในยุคปัจจุบันเรียกว่าความรักนั้น ส่วนใหญ่เป็นความรักจอมปลอม โดยเขาโทษว่าทุนนิยมเป็นสาเหตุ นี่คือหนังสือที่เขียนในปี ค.ศ. 1956 คือ ๕๙ ปีมาแล้วนะครับ คำถามคือ แล้วเวลานี้ สภาพของความรัก ในสังคมไทยเราชำรุดทรุดโทรมอย่างในสังคมตะวันตก ตามที่ อีริก ฟรอมม์ วิพากษ์เมื่อ ๖๐ ปีที่แล้วหรือไม่ คำตอบของผมคือ ใช่

ในบทที่ ๔ การปฏิบัติการรัก เขาระบุว่า ไม่มีสูตรตายตัว (ไม่มีใบสั่งยา) แต่ได้ระบุปัจจัยสำคัญ ๔ ประการคือ ความมีวินัย (discipline), สมาธิ (concentration), ความอดทน (patience), และ ความใส่ใจสูงสุด (supreme concern) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ในการทำงานศิลปะ เงื่อนไขสำคัญต่อความสำเร็จคือ การเอาชนะการหลงใหลตัวเอง (narcissistic orientation) (น. ๑๗๘)

ท่านที่สนใจเรื่องราวของ อีริก ฟรอมม์ อ่านได้ ที่นี่

สรุปสุดท้ายของผม ความรักคือส่วนผสมที่พอดีระหว่างความเป็นหนึ่งเดียว กับความเป็นปัจเจกหรืออัตลักษณ์ของตนเอง เราจะรักคนอื่นได้อย่างยั่งยืน หากเรายอมรับอัตลักษณ์ของเขา

ผมเขียนบันทึกนี้แบบตีความสุดๆ ไม่ได้สรุปหรือรวบรวมประเด็นจากหนังสือเล่มนี้ ผมลากเข้าหาประเด็นของ การเรียนรู้ ที่เป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิต - ทักษะชีวิต การอ่านบันทึกนี้จึงไม่ทดแทนการอ่านหนังสือเล่มนี้เลยแม้แต่น้อย ผมคิดว่า ศิลปะแห่งการรัก เป็นหนังสือที่ประเทืองปัญญายิ่ง ขอขอบคุณที่มูลนิธิเพื่อสังคมแปลออกสู่สังคมไทย

ขอขอบคุณมูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม ที่ส่งหนังสือเล่มนี้มาเป็นอภินันทนาการ อ่านแล้วประเทืองปัญญาจริงๆ ผมเคยเขียนอ่านหนังสือของสำนักพิมพ์นี้ ๒ เล่ม คือ ฟ้ากว้างทางไกล กับ ความสุขแห่งชีวิต


วิจารณ์ พานิช

๑๑ เม.ย. ๕๘


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/590556

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 27 พฤษภาคม 2015 เวลา 11:45 น.
 

การเลี้ยงลูก..ของชาวพุทธ?

พิมพ์ PDF

วันนี้คุยต่อเรื่อง การเลี้ยงลูก อีกนิดหนึ่งนะคะ .... การเลี้ยง ... ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า .... "เขาต้องเป็นอย่างนั้น" …. เขาควรเป็นอย่างนี้ ...พ่อ-แม่ ต้องยอมรับความเป็นมนุษย์ของลูก ... และอย่าเอาลูกไปเปรียบเทียบกับลูกคนอื่น.... เพราะจะทำให้ พ่อ-แม่ "เป็นทุกข์" ... "ต้องปล่อยวาง" ... การเลี้ยงลูกช่วยให้ปฏิบัติธรรมได้ดี....จุดสำคัญในการปฏิบัติธรรมคือการละความเห็นแก่ตัว ... มีลูก.... พ่อ-แม่มีแต่ให้อย่างเดียว... ไม่ควรจะเอาอะไรจากลูก ...พ่อ-แม่ควร "มีความสุขจากการให้" และสอนให้ลูกตั้งอยู่ใน... "ธรรมและเป็นตัวอย่างที่ดี" ให้ลูกเห็น ... คือ พ่อ-แม่ เป็นชาวพุทธต้องไม่ทะเลาะกันทุกวัน ... ต้องไม่หน้าบูดเบี้ยวอยู่ทั้งวันทั้งคืน...ลูกเห็นเขาจะไม่สนใจธรรมะนะคะ.....

สรุปได้ว่า ... การเลี้ยงลูก...เป็นส่วนหนึ่งของ การปฏิบัติธรรม ... ให้เห็นว่าการปฏิบัติธรรมเป็น "การให้" เป็นการให้ ทาน รักษาศีล การภาวนา ... การปฏิบัติธรรมเป็นการให้ ... ฝึกให้ ... ยิ่งให้ยิ่งมีความสุข ... ยิ่งให้ยิ่งมีโอกาส .... ยิ่งให้ยิ่งมีความมั่นคง ที่จะให้ความสุขแก่คนอื่น .... ถ้าตัวเองยังไม่มีความสุขแล้วเราก็ให้ความสุขคนอื่นไม่ได้ .... ดังนั้นเริ่มให้กับคนใกล้ตัวก่อนค่ะ และ พ่อ-แม่ ต้องยอมรับในความเป็นมนุษย์ของลูกด้วยนะคะ


ขอบคุณค่ะ

26 พ.ค. 2558

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

คัดลอกจาก https://www.gotoknow.org/posts/590545

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 27 พฤษภาคม 2015 เวลา 11:53 น.
 


หน้า 300 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8747851

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า