Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ทำหน้าที่กรรมการสภามหาวิทยาลัยที่ดี (๒)

พิมพ์ PDF

เช้าวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๘ ผมอ่านรายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ครั้งที่ ๓๖๔ (๒/๒๕๕๘) เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๘ เพื่อจะแจ้งข้อแก้ไขกลับไป

ต่อไปนี้เป็นการสะท้อนคิด ระหว่างอ่านรายงานนี้

ในขณะที่ มช. เป็นมหาวิทยาลัยตาม พรบ. ใหม่ ปี ๒๕๕๑ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีจำนวนกรรมการสภาเพียง ๒๖ คน แต่ มอ. ยังใช้ พรบ. เก่า ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังเป็นมหาวิทยาลัยภายใต้ระบบ ราชการ มีจำนวนกรรมการสภา ๗๑ คน เพราะนอกจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๑ - ๑๕ คนแล้ว อธิการบดี รองอธิการบดี และคณบดี เป็นกรรมการสภาหมด คือยังเน้นกรรมการสภามหาวิทยาลัยแบบตัวแทนบุคลากร ภายในเป็นหลัก ซึ่งถือว่าล้าหลัง แต่สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก็เป็นสภาที่เข้มแข็งมากมหาวิทยาลัย หนึ่ง โดยผมตีความว่า เพราะมีวัฒนธรรมที่ดี คือกรรมการที่เป็นตัวแทนภายในเคารพและรับฟังความเห็น ของกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ ภายนอก นำไปถือปฏิบัติ โดยไม่จำเป็นต้องตราเป็นกฎหมาย

การที่ผู้บริหารและตัวแทนอาจารย์ ได้นั่งในสภา และรับฟังความเห็นของกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ ด้วยตนเอง ทำให้ได้รับฟัง "ความรู้โดยตรง" จากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เกิดความเข้าใจ และที่สำคัญ ความไว้วางใจ เพราะต่างก็ได้รับข้อมูลความรู้เท่ากัน

ข้อเสนอความเห็นจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้น มักจะมีสาระเสนอให้ขับเคลื่อนออกไปจาก ความเคยชินเดิมๆ ไปสู่นวัตกรรมใหม่ ที่คนมหาวิทยาลัยไม่เคยชิน หรือไม่ค่อยอยากปฏิบัติ เพราะทำอย่างเดิม สบายดีแล้ว ผู้บริหารคนใดเอาไปขับเคลื่อน ก็มัก "เจ็บตัว" สูญเสียความนิยม แต่หากนำไปดำเนินการ อย่างเป็นระบบ โดยอ้างมติสภา แรงต่อต้านก็จะเบาลง

ในขณะที่ มช. มีจุดแข็งที่ความเป็นล้านนา ที่มีประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมยาวนาน มีขอบเขต กว้างขวางไปถึงดินแดนประเทศเพื่อนบ้าน มอ. มีจุดแข็งที่มีถึง ๕ วิทยาเขต กระจายไปทั่วภาคใต้ และเป็นที่ยึดถือกันว่า ต้องทำหน้าที่พัฒนาพื้นที่

ทั้งสองมหาวิทยาลัยกำลังดำเนินการยกระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษา และบัณฑิต อย่างเอาจริงเอาจังมาก และพบว่าอุปสรรคสำคัญที่สุดคือความ "เอาถ่าน" ของตัวนักศึกษาเอง คือมีนักศึกษา จำนวนหนึ่งที่ไม่มีเป้าหมายในชีวิต สนใจความสบายมากกว่าชีวิตอนาคตของตน สภาพเช่นนี้ มีต้นเหตุ มาจากครอบครัว การศึกษาระดับพื้นฐาน และกระแสสังคม เป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยชั้นดีต้องแสดงเจตนารมณ์ อย่างชัดแจ้ง ว่าไม่ใช่ลักษณะของนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยชั้นดีต้องการ นั่นคือ กระบวนการคัดเลือกนักศึกษา ต้องหาวิธีคัดคนแบบนี้ออกไป ไม่ทราบว่าความคิดแบบนี้ของผมมีข้อบกพร่องหรือไม่ อยากฟังข้อคิดเห็น ของท่านผู้อ่านครับ

แนวความคิดหนึ่ง คือ มหาวิทยาลัยในท้องถิ่น ต้องช่วยนักเรียนระดับมัธยม เอาชนะความอ่อนแอ ของการศึกษาระดับพื้นฐาน โดยเข้าไปช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนในพื้นที่ ผมมีความเห็นว่า ต้องไม่ใช่ไปช่วยโรงเรียน/คณะครู ที่ไม่ช่วยตัวเอง ต้องไปช่วยหนุนให้เขาเดินถูกทาง (จากระบบการศึกษา ปัจจุบันที่เดินผิดทาง) และช่วยตัวเองได้ดีขึ้น

อีกแนวทางหนึ่ง คือหนุนให้นักศึกษาที่เป็นคนในพื้นที่ ไปช่วยหนุนให้นักเรียนรุ่นน้องมีการเรียนรู้ จากการปฏิบัติ และกิจกรรมเหล่านั้นเกิดประโยชน์ต่อชุมชน/ท้องถิ่น ด้วย ที่เรียกว่า service learning และเป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งของพื้นฐานสาระวิชาเป็นเป้าหมายหลัก

ในขณะที่ภาคเหนือมีวิกฤตหมอกควัน ภาคใต้ก็มีวิกฤตยางพาราราคาตก มอ. เข้าไปดำเนินการ แก้ปัญหายางพาราราคาตก ในระดับตั้ง สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา เป็นสัญญาณว่า จะมีการทำงานระยะยาว และนำมาเสนอในที่ประชุมสภา และได้รับคำแนะนำจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่า ยังมียุทธศาสตร์การทำงานร่วมมือกับภาคเอกชน หรือภาคอุตสาหกรรม น้อยไป ยุทธศาสตร์ที่ใช้เป็นยุทธศาสตร์ ที่ขึ้นกับภาครัฐมากเกินไป ทำให้ไม่ค่อยทันกับความเปลี่ยนแปลง

ในการประชุมครั้งนี้ มีรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (เมษายน - กันยายน ๒๕๕๗) เข้าสู่สภา ด้วย รายงานดังกล่าวสะท้อนความเอาใจใส่ของสภาฯ ต่อการตรวจสอบ ที่น่าชื่นชมคือ คณะกรรมการ ตรวจสอบเน้นบางส่วนงานที่ควรเข้าไปตรวจสอบ และตรวจสอบปัจจัยที่จะบรรลุเป้าหมายแผนงานหลัก เฉพาะกิจ ที่เรียกว่า Top Goals 6 ด้าน การตรวจสอบแบบเน้นผลลัพธ์ที่เป็นเป้าหมายหลักนี้น่าจะเป็น ยุทธศาสตร์หลักอย่างหนึ่งของการตรวจสอบ

คณะกรรมการตรวจสอบของมหาวิทยาลัย ต้องทำหน้าที่ทั้งตรวจสอบปัจจัยสำคัญของการบรรลุ เป้าหมายหลัก คือตรวจสอบเชิงบวก และตรวจสอบสิ่งที่ไม่ชอบมาพากล ที่จะก่อความเสียหาย และความเสื่อมเสีย คือตรวจสอบเชิงลบ

คณะกรรมการตรวจสอบ ได้เข้าไปตรวจสอบระบบบริหารความเสี่ยง (Risk Management) และให้คำแนะนำไว้ด้วย

รวมทั้งได้ตรวจสอบระบบการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (Management Audit) ด้านต่างๆ

ท่านนายกสภาฯ (ศ. นพ. จรัส สุวรรณเวลา) ได้ขอมติสภาฯ ให้อธิการบดีกลับไปจัดทำรายงานต่อสภาฯ ว่าจะดำเนินการอะไร อย่างไรบ้าง ตามประเด็นที่คณะกรรมการตรวจสอบเสนอ ผมคิดว่าเป็นมติที่สำคัญยิ่ง น่าถือเป็นแบบอย่าง

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ทดลองให้มีสภาวิทยาเขต ทำหน้าที่ดูแลด้านหลักสูตร วิชาการ และพันธกิจสัมพันธ์ (engagement) กับพื้นที่ เพื่อแบ่งเบาภาระของสภามหาวิทยาลัย และเพื่อความใกล้ชิด ระหว่างสภาฯ ฝ่ายบริหารและปฏิบัติการ และชุมชนในพื้นที่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินผลการดำเนินงาน ของสภาวิทยาเขต



วิจารณ์ พานิช

๑๔ เม.ย. ๕๘


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม 2015 เวลา 14:31 น.
 

ลำเดียวกัน?...(1)

พิมพ์ PDF

วันนี้เล่าเรื่อง….จากการอ่านหนังสือธรรมะ ... ชื่อว่า "ลำเดียวกัน"...เป็นหนังสือที่ พระอาจารย์ Shaun Chiverton (ณอน ซิวเวอร์ตัน) ... หรือ พระอาจารย์ ชยสาโรภิกขุ เป็นผู้แต่งคะ ... พระอาจารย์เป็น ชาวอังกฤษ... ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดหนองป่าบง โดยมี พระอาจารย์ / หลวงพ่อ ชา สุภัทโท เป็นพระอุปัชฌาย์

ในหนังสือเล่มนี้ มีเนื้อเรื่องที่ดีดี 3 เรื่องค่ะ ได้แก่

- หนี้ศักดิ์สิทธิ์

- ความรักที่แท้ และ

- การเลี้ยงลูก ค่ะ ..... อ่านแล้วดีทั้ง 3 หัวข้อค่ะ

วันนี้นำเรื่อง... "การลี้ยงลูก" .... มาเล่าสู่กันฟังก่อน นะคะ ... เพราะ ช่วงนี้เป็นช่วงเปิดเทอมใหม่ๆ .... เนื้อเรื่องโดยย่อ ดังนี้ค่ะ พ่อ แม่ ต้องเป็นพระพรหมของลูก ... ต้องเป็นเพื่อนของลูก ... ต้องเป็นกัลยาณมิตรของลูก คือต้องปลูกฝัง สร้างศรัทธา มีศีล จาคะ และสร้างปัญญาในจิตใจให้ลูก สร้างปัญญาในการเลี้ยงลูก ... ไม่ให้การเลี้ยงลูก "เหมือนการลงทุน" ทำเช่นนั้นเป็นบาป เพราะความรู้สึกต่อลูกไม่บริสุทธิ์ ... จะมีกิเลส .... เป็นความอยากได้แอบแฝงอยู่ในความรัก ... ไม่เป็นความรักที่ประกอบด้วยธรรม ที่เรียกว่า "เมตตา" พ่อ แม่ ต้องมีความความหวังดีต่อลูกแต่ต้อง..... งดเว้นจากความหวังดีจากลูก ... คือ "หวังดีต่อลูกแต่อย่าหวังดีจากลูก" .... เพราะ พ่อ แม่เลี้ยงลูกเพราะเป็นหน้าที่ ... ที่จะต้องเลี้ยงและเลี้ยงให้ดีที่สุด เพราะการเลี้ยงลูกคือ การปฏิบัติธรรม คือ การเลี้ยงลูกต้องอยู่ในขอบเขตแห่งศีลธรรมและไม่ช่วยลูกจนเกินไป ... จนลูกไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ... ไม่มีความคิดที่จะช่วยตัวเองอาศัยแต่พ่อ แม่

 

การใช้ "ขันติ" ซึ่งเป็น... เครื่องหมายเผ่ากิเลส ... ต้องสร้างโอกาสให้ลูก ที่มีโอกาสที่จะได้สร้างเครื่องเผ่ากิเลส และเลี้ยงลูกให้รู้จักพอและให้มีปัญญา ... ให้ปัญญากำกับ ... ปัญญามีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ... สติ ปัญญาเป็นที่พึ่งที่แท้จริงของลูก ... เป็นสิ่งที่ลูกต้องสร้างขึ้นมาเอง... ให้ลูกเขาเห็นเอง ให้ลูกสัมผัสเอง การช่วยลูกด้วยจิตบริสุทธิ์ .... สอนให้เขาเป็นคนมีความกตัญญูกตเวที ... รู้จักบุญคุณของผู้อุปการคุณ แต่ไม่บังคับลูกให้เขาเป็นไปตามที่เราต้องการ แต่ควรแนะนำหลักที่ดี เท่าที่เราจะสามารถแนะนำเขาตามที่สติปัญญาจะอำนวย เรื่องผลที่จะออกมาไม่ควรบังคับเอา .... เหมือนปลูกต้นไม้...หน้าที่มีคือ การขุดดิน การปลูก การพรวนดิน การลดน้ำ ... แต่ผลไม้ที่จะออกมานั้นเป็นเรื่องของธรรมชาติ ... เรื่องลูกเป็นธรรมชาติ

การเลี้ยงลูกให้ความรักอย่างเดียวไม่พอ... แต่ต้องมีปัญญาประกอบด้วย ค่อยพิจารณาว่าเราควรจะพูดอย่างไร ควรจะทำอย่างไร ไม่ใช้ให้ลูกทำแต่ในสิ่งที่เราอยากให้เขาทำหรือทำตามใจเรา

การเลี้ยงลูกต้องให้ "เครื่องมือ" แก่เขา ... เครื่องมือในการสร้างชีวิตของเขาเอง ... โดยที่ตัวเรา "เป็นตัวอย่างที่ดี" ค่ะ

สรุปได้ว่า .... การเลี้ยงลูก....เป็นเรื่องธรรมชาติ คือ การมีธรรมะ ... และการเลี้ยงลูกนั้น ... พ่อ - แม่.... "หวังดีต่อลูก ...แต่...อย่าหวังดีจากลูก" ค่ะ ... การเลี้ยงลูกเปรียบเหมือน...การปลูกต้นไม้...เราทำหน้าที่ในการปลูกต้นไม้...ส่วนผลไม้ที่ออกมาเป็นอย่างไร "เป็นเรื่องธรรมชาติ" ค่ะ .... จบตอนที่1 แค่นี้ก่อนนะคะ

ขอบคุณค่ะ

Dr.Ple

 

 

25 พ.ย. 2558

คัดลอกจากบทความของ Dr.Ple บันทึกใน gotoknow

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม 2015 เวลา 14:50 น.
 

Leading People

พิมพ์ PDF

หัวข้อ Leading People

โดย คุณพจนารถ ซีบังเกิด

ผู้ก่อตั้ง Jimi The Coach และThailand Coaching Academy

20 พฤษภาคม 2558

คุณพจนารถ: คนที่มาโค้ช เพราะเขาต้องการให้ Value ตัวเอง เปิดโรงเรียน Thailand academy coaching เป็นแห่งแรกในประเทศไทย

ตอนแรกไม่มีโรงเรียน รวมเงินกับเพื่อนเช่าโรงแรม เพื่อให้ความรู้ว่าการโค้ชหมายถึงอะไร เพื่อให้การโค้ชนั้นมีคำตอบให้กับทุกคน

โค้ชปราชญ์ชาวบ้านต่างๆ และลงลึกถึงชุมชนด้วย

คำถาม:

1. โค้ชกับ Mentor ต่างกันอย่างไร

คุณพจนารถ: ดูจาก TAPS Model กล่าวว่า การสอนคนต้องมาจากการถามด้วย มีการโฟกัสที่ปัญหา และ วิธีแก้ไข

ถ้ามีปัญหาแล้วมีใช้วิธีถาม เรียกว่า Counselling หรือ คล้ายกับจิตแพทย์

ส่วนคนที่เจอปัญหาแล้วบอก คือ Managing และ Consulting

ส่วนคนที่เจอวิธีการแก้ไขปัญหาและบอก คือ Teaching และ mentoring

ส่วนcoaching ต้องถาม และหาวิธีแก้ไขปัญหา แต่บางคนยังไม่ศรัทธาผู้โค้ช เพราะยังไม่มีศรัทธา

เวลาถามอย่าถามว่า why ให้ถาม what จะเปิดพื้นที่ให้คนอธิบายมากกว่า

  • -ธุรกิจ Coaching เกิดในวงการกีฬา
  • -E+R = O
  • -Event + Result = Outcome
  • ไม่มีทางเปลี่ยนเหตุการณ์ได้ ต้องถามตัวเองว่าต้องการาอะไรกันแน่ ต้องถามว่าชีวิตต้องการอะไร

หากจะเน้นไปที่ result จะต้องทำอย่างไร มีเคสหนึ่ง เมื่อขึ้นโพเดียมจะมีอาการกรดไหลย้อน หรือ มีเคสหนึ่งจะไปเมืองนอก จะต้องปวดท้องตลอด ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีการล็อคresult อยู่แล้ว

เมื่อถามว่าเชื่อเรื่องชาติที่แล้วหรือไม่ คิดอะไร คนเป็นโค้ชต้องไม่งมงาย ทักษะ Mindset อยู่ที่โค้ช เพราะความเชื่อเป็นเรื่องส่วนตัว

มีคำจำกัดความของคำว่า Coach คือ การเป็นเพื่อนคู่คิด

หากเราต้องการ work life balance ต้องตั้งเป้ากับทุกด้าน กับชีวิต เช่น

การทำงาน

ครอบครัว

พัฒนาตัวเอง

การพักผ่อน

สังคม

เงิน

สุขภาพ

ความรัก เป็นเรื่องที่ส่งออก และรับเข้าด้วย ต้องถามว่าเรารักเขาแล้วต้องการอะไรตอบแทน ถ้ารักเท่าไหร่ก็ไม่พอ เติมเท่าไหร่ก็ไม่เต็ม จะไม่สำเร็จในความสัมพันธ์

ถ้าเรารักใครต้องดูว่าถังรั่วอยู่ที่ใคร

ต้องล็อคเป้าที่ outcome ว่าต้องการอะไร แล้วจะทำให้โค้ชคนได้ทุกarea

คนส่วนใหญ่หรือในองค์การ คิดว่า Coaching คือการสอนงาน จริงๆแล้วต้องแปลเป็นเพื่อนคู่คิดมากกว่า

ความหมายของการโค้ช คือ การโค้ชเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโค้ชและผู้ได้รับการโค้ช เพื่อกระตุ้น และจุดประกายความคิด ด้วยกระบวนการที่สร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้ได้รับการโค้ช เกิดแรงบันดาลใจในการที่จะนำเอาศักยภาพและความสามารถที่ถูกบดบังหรือซ่อนอยู่ ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การเป็น Life coach คือ Life Coaching เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโค้ชและผู้ได้รับการโค้ช เพื่อเป็นเพื่อร่วมเดินทางพาผู้ได้รับการโค้ชจากจุดที่อยู่ปัจจุบัน ไปบรรลุเป้าหมายที่ต้องการในทุกด้านของชีวิต ด้วยการกระตุ้น และจุดประกายความคิด โดยใช้ทักษะและกระบวนการที่สร้างสรรค์ในหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้ได้รับการโค้ชตระหนักรู้ถึงศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง ด้วยตนเอง เข้าใจ และขจัดอุปสรรคที่อาจมีภายในตัวตน ตัดสินใจเลือกเส้นทางการดำเนินชีวิตโดยอิสระ เพื่อนำเอาศักยภาพและความสามารถที่มีและอาจยังซ่อนอยู่ ออกมาใช้พาตนเองไปสู่เป้าหมายที่ต้องการอย่างสมดุล มีจริยธรรม มีความสุข และอิ่มเอม.............

Life coach และ Coaching ต่างกันอย่างไร

Coaching สิ่งที่อยู่รอบๆคนก็คือ พฤติกรรม คำพูด บุคลิกภาพ

แต่ Life coach อยู่ภายในตัวเองทั้งธาตุแท้ Belief value needs และ fear

การพรีเซนต์ ต้องใจความมั่นใจ มีจิตใจเป็นผู้ให้ ว่าจะต้องถ่ายทอดความรู้ Life coach คือ จะเข้าไปเจาะสิ่งเหล่านี้ คือ ดึงความกล้าออกมา

ถ้าเราจะเปลี่ยนความเชื่อ ต้องเชื่อว่าจะพรีเซนต์ได้ดี เชื่อว่าคนจะสนใจฟัง

Value เป็นความเชื่อที่ยึดถือเป็นสารนะ การพรีเซนต์ได้ดี ต้องมีค่านิยม ดังนี้

  • -ข้อมูลข่าวสารควรจะแชร์ออกไปให้ได้มากที่สุด การ Contribution คือ การให้ความรู้ออกไป
  • -คนพรีเซนต์ไม่ได้ คือ กลัวอะไร คนส่วนใหญ่คือ Fear not good enough และกลัวคนที่จะตัดสิน
  • -Fear not being love
  • -Fear not belong to

มีโอกาสเปิดร้านอาหาร ขายแอลกอฮอล์ด้วย ต้องเคารพกฎหมายว่าต้องไม่ให้ลูกค้าเมาเกินไป เมื่อก่อนเป็นคนใจร้อนมาก ฆ่าได้หยามไม่ได้ แต่ปัจจุบันนี้เมื่อเรียนศาสตร์นี้ใจเย็นลงและมีเหตุผลขึ้นมาก

Human is not there behavior อย่าตัดสินคนที่พฤติกรรม เพราะพฤติกรรมเปลี่ยนได้ เวลาขึ้นอยู่กับความเต็มใจในการอยากเปลี่ยนของแต่ละคน

ต้องเชื่อว่าเราเป็นได้มากกว่าที่เราคิด ว่าเราเป็น : ถ้าเราไม่ได้ใช่ธาตุแท้ตามที่ตัวเองมีเราก็จะไม่ fulfill

ภาษารัก 5 ภาษา

การแสดงออกที่หมายความว่า "รัก" ของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน Dr. Gary Chapman อธิบายไว้ว่า ภาษารักมี 5 แบบคือ

1.คำพูด ไม่เพียงแต่คำว่า "ฉันรักคุณ" แต่เป็นคำพูดประจำวันตามสถานการณ์ เช่น "คุณใส่ชุดนี้แล้วดูดีจัง" สำหรับภรรยาบางคนอาจต้องการได้ยินคำพูดดีๆ เพื่อให้ได้กำลังใจ และเพื่อตอกย้ำว่าเธอยังเป็นที่รักอยู่เสมอ

2. การปรนนิบัติดูแล สามีบางคนจะพูดดีๆ หรือให้คำว่ารักหลุดจากปากก็ยากเย็นเหลือเกิน แต่เขาชอบดูแลเอาใจใส่ ซ่อมแซมบ้าน ล้างรถให้ ก็เป็นการพูดว่า "รัก" ในภาษาของเขา

3.การให้ของขวัญ คนบางคนชอบที่จะซื้อของขวัญให้ในทุกเทศกาล เพื่อบ่งบอกว่า "รักนะ"

4.การใช้เวลาที่มีคุณภาพด้วยกัน บางคนก็ชอบที่จะใช้เวลากับคนที่รักอย่างมากที่สุด ซึ่งไม่ได้หมายถึง สามีเล่น facebook ส่วนภรรยาดูละคร ลูกเล่น ipad เวลาคุณภาพคือการพูด การฟัง การให้ความสนใจกันและกันอย่างเต็มที่

5.การสัมผัส บางคนก็นิยมระบบสัมผัส จับมือ กอด ตบไหล่ จะสร้างความอบอุ่นใจและมีความหมายกับเขามากๆ

คำถาม

1. พ่อ แม่ ลูก นั่งแท็กซี่ เกิดอุบัติเหตุ พ่อแม่เสียชีวิต ลูกรอดคนเดียว พอต่อมาลูกมีครอบครัว ไม่ยอมปล่อยให้ลูกดำเนินชีวิตเอง เป็นเพราะอะไร

อ.พจนารถ : แผนที่ที่เราเห็นเป็นภาพฝังใจ เป็นคนไม่ปล่อยลูก เกิดจาก

- ไม่อยากให้เกิดอุบัติเหตุ

- ห่วงลูก

ความกลัว คือ กลัวเด็กดูแลตัวเองไม่ได้

ค่านิยม คือ พ่อที่ดีต้องดูแลลูกอย่างใกล้ชิด

6 Core need ของมนุษย์

1. Certainty

2. Variety

3. and connection

4. Significance

5. Growth

6. Contribution

วันนี้ทุกคนจะสนใจ และสิ่งที่อ.เล่าให้ฟังมีประเด็นที่ฟังแล้วสะกิดอารมณ์ เป็นสิ่งใหม่ ปัญหาเดิมแต่มีวิธีการคิด แก้ปัญหาใหม่ๆ6 Core need ของมนุษย์ จะโยงกลับเข้ามาสิ่งที่ทุกคนเป็นได้ หลายคนเอาไปกันศักยภาพของตัวเอง ตัวอย่างในวันนี้ไประยุกต์ใช้และดึงศักยภาพทีมงานเพื่อเสริมสร้างองค์กรต่อไป

ตัดลอกจาก บทความของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เผยแพร่ใน gotoknow

https://www.gotoknow.org/posts/590395

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม 2015 เวลา 22:09 น.
 

เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง : ๑๐. เรียนโดยสานเสวนา

พิมพ์ PDF

บันทึกชุด "เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง" ๒๖ ตอน ชุดนี้ ตีความจากหนังสือ Transformative Learning in Practice : Insight from Community, Workplace, and Higher Education เขียนโดย Jack Mezirow, Edward W. Taylor and Associates ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 2009

ตอนที่ ๑๐ นี้ ได้จากการตีความบทที่ 9 Promoting Dialogic Teaching Among Higher Education Faculty in South Africa เขียนโดย Sarah Gravett (ศาสตราจารย์สาขาอุดมศึกษาและการศึกษาผู้ใหญ่ และคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยโจฮันเนสเบิร์ก อัฟริกาใต้) และ Nadine Peterson (Senior Lecturer, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยโจฮันเนสเบิร์ก อัฟริกาใต้)

สรุปได้ว่า การสอนที่ถูกต้องไม่ใช่โดยการถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูป แต่เป็นการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ ให้ผู้เรียนร่วมกันสร้างความรู้ขึ้นเอง โดยการทำความเข้าใจทฤษฎี ฝึกปฏิบัติ แล้วนำมาใคร่ครวญไตร่ตรอง ร่วมกัน

บทนี้เป็นเรื่องราวของรายวิชา กระบวนการสอน แก่นักศึกษาผู้ใหญ่ ๒ กลุ่ม กลุ่มแรก ๑๕ คน เป็นครู/บุคลากรทางการศึกษา กลุ่มที่สอง ๒๕๐ คน เป็นพยาบาล ทั้งสองกลุ่มมีเป้าหมาย จบออกไปเป็น ครู/ผู้สอน ทั้งสองกลุ่มมีทั้งคนขาว และคนผิวสี ซึ่งเป็นลักษณะของประชากรในประเทศอัฟริกาใต้

เป้าหมายของรายวิชา ก็เพื่อเปลี่ยนความเชื่อและพฤติกรรมของคนเป็นครู จากเน้นสอนแบบถ่ายทอด ความรู้ ไปสู่การสอนแบบ "เน้นการเรียน" (learning-centred) คือให้นักศึกษาเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ เน้นที่กระบวนการสานเสวนา (dialogue) ในกลุ่มผู้เรียน และร่วมกับครู

เขาต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ลึกและถาวร (transformation) ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงที่ตื้น และชั่วคราว

เขานิยาม "การสอนแบบสานเสวนา" (dialogic teaching) ว่าหมายถึง กระบวนการที่ผู้เรียนและผู้สอน มีปฏิสัมพันธ์เชิงสื่อสารซึ่งกันและกัน เพื่อการเรียนรู้ ผ่านการค้นหา การคิด การตั้งคำถาม และการให้เหตุผล ร่วมกัน ภายใต้บรรยากาศที่เคารพต่อกัน ตอบแทนกัน เน้นที่การเรียนรู้ โดยไม่มีฝ่ายใดกุมอำนาจเหนือ

แต่กระบวนการสานเสวนาในรายวิชาไม่ได้เป็นไปตามอิสระ มีการกำหหนดขั้นตอน เป็น "การทำงานเพื่อเรียนรู้" (learning task) รวม ๔ ขั้นตอน ที่ต่อเนื่องกัน ผมจึงเรียกวิธีการเรียนรู้ที่เขาใช้ว่า Task-Based Learning

กิจกรรมในแต่ละ "ชิ้นงานเพื่อการเรียนรู้" ประกอบด้วย การตั้งคำถาม การให้คำตอบ การวิจารณ์ การไตร่ตรองสะท้อนคิด และการสร้างแนวความคิด เพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ร่วมกันโดยผู้เรียน และผู้สอน

ผู้สอนอำนวยการรายวิชา อย่างเป็นประชาธิปไตย ร่วมกับผู้เรียน ดำเนินการเรียนการสอนอย่าง มีโครงสร้าง และในขณะเดียวกันก็เปิดกว้างต่อการมีบทบาทของผู้เรียน ทำให้กระบวนการเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่เปิดเผยต่อกันภายในกลุ่มของผู้เรียนและผู้สอน ไม่เป็นความลับเฉพาะบุคคล สภาพเช่นนี้ ทำให้การเรียนรู้ทรงพลัง และผ่านการตรวจสอบโดยเพื่อนและผู้สอน ก่อนที่จะซึมซับเข้าไปในตน

กระบวนการของรายวิชา เน้นให้ผู้เรียนผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ๗ ขั้นตอน คือ

  • กิจกรรมกระชากใจ เพื่อให้ตั้งข้อสงสัยต่อความเหมาะสม ถูกต้อง ของแนวคิดเดิม วิธีปฏิบัติเดิม
  • ทำความเข้าใจแนวคิดเดิม วิธีการเดิม ที่เชื่อหรือใช้กันอยู่
  • ตั้งคำถาม เพื่อตรวจสอบแนวคิดเดิม วิธีการเดิม ว่ามีที่มาอย่างไร ก่อผลอย่างไร
  • สานเสวนา หาทางเลือกใหม่
  • สร้างแนวทางใหม่
  • ปฏิบัติตามแนวทางใหม่
  • สร้างสมรรถนะ และความมั่นใจในการปฏิบัติตามแนวทางใหม่

นั่นคือรายวิชามุ่งสร้าง "พื้นที่เพื่อการเปลี่ยนแปลง" (transformative space) ของผู้เรียน ในฐานะนักการศึกษา เป็นพื้นที่ที่เกิดความไม่สมดุล และนำไปสู่มิติใหม่ของสิ่งที่เรียกว่า การทำหน้าที่ครู/ผู้สอน


สู่การสอนแบบสานเสวนา

เป้าหมายของรายวิชานี้มีสองชั้น คือเรียนรู้หลักวิชาว่าด้วยการจัดการเรียนรู้ (content) และเรียนรู้วิธีจัดการเรียนรู้ (pedagogy)


ใช้ชิ้นงานเป็นเครื่องมือของการเรียนการสอน

เครื่องมือของการเรียนการสอนในรายวิชานี้คือ "ชิ้นงานเพื่อการเรียนรู้" (learning task) เป็นเอกสารชุดคำถาม เพื่อให้ผู้เรียนทำเป็นรายคนหรือเป็นทีมเล็กๆ งานที่ให้ทำเริ่มจากง่ายไปยาก และมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น


รายวิชา กระบวนการสอน

รายวิชากระบวนการสอน (teaching methodology) ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ ๑

เป็นขั้นตอนช่วยให้ผู้เรียนทบทวน และอธิบายความรู้เดิมของตนเกี่ยวกับ การสอน ความรู้ และการเรียนรู้ รวมทั้งที่มาของความรู้เดิมนี้ เริ่มจากการให้ชิ้นงาน ๓ ชิ้นคือ (๑) ความเชื่อส่วนตัว เรื่องการเรียนรู้ (๒) ความเชื่อส่วนตัวเรื่องความรู้ (๓) ความเชื่อส่วนตัวเรื่องการสอน

ตัวอย่างชิ้นงาน ความเชื่อส่วนตัวเรื่องการเรียนรู้ : ใช้เวลา ๑๐ นาที และเปลี่ยนกับคู่เรียนรู้ในเรื่อง (๑) ความเข้าใจของคุณในด้านหลักการของ "การเรียนรู้" และรู้ได้อย่างไรว่าคุณได้เรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง (๒) คุณได้ความเข้าใจนี้มาอย่างไร (๓) บอกกระบวนการที่คุณใช้ในการเรียนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

หลัง ๑๐ นาที ให้บางกลุ่มนำเสนอ "ผลงาน" ของตน ตั้งคำถาม ชี้ความแตกต่าง และตั้งสมมติฐาน ทั้งหมดนี้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนวิเคราะห์ชิ้นงานของตน เป็น "กิจกรรมกระชากใจ" ให้ผู้เรียนฉุกคิด ว่าที่ตนปฏิบัติมานั้นอาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด


ขั้นตอนที่ ๒

เป็นขั้นตอนทำความรู้จัก และเข้าใจ "การสอนแบบสานเสวนา" โดยการทำ "ชิ้นงาน" จำนวนหนึ่ง

ตัวอย่างของชิ้นงาน ใช้ "มุมมองแบบสร้างความรู้เพื่อการเรียนรู้" ในการสอน : (๑) ฟังการนำเสนอเรื่อง การเรียนรู้โดยการสร้างความรู้ (constructivist) (๒) หลังจากฟัง แต่ละคนเขียนหัวใจของหลักการนี้ และแลกเปลี่ยนกันในทีมเรียนรู้ จะให้บางกลุ่มนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนในชั้นเรียนใหญ่ (๓) คุยกันในกลุ่มทีมงาน ว่าการนำเสนอในข้อ ๑ กระตุกความคิดเกี่ยวกับการสอนของตนอย่างไรบ้าง จะมีการนำเสนอของบางกลุ่มต่อชั้นเรียน


ขั้นตอนที่ ๓

เป็นการเรียนรู้แง่มุมต่างๆ ของ "การสอนแบบสานเสวนา" สำหรับให้นำไปปฏิบัติได้ โดยการทำชิ้นงานจำนวนหนึ่ง รวมทั้งชิ้นงานฝึกปฏิบัติ


ขั้นตอนที่ ๔

ผู้เรียนออกแบบ และประยุกต์ การสอนแบบสานเสวนา ทั้งในชั้นเรียน และในพื้นที่การเรียนรู้แบบอื่น โดยการทำชิ้นงาน เป้าหมายเพื่อพัฒนาสมรรถนะใหม่ และเพื่อให้เกิดความมั่นใจ หลังจากปฏิบัติการมีการไตร่ตรองสะท้อนคิดร่วมกัน


ไตร่ตรองสะท้อนคิด

ผู้เรียนจะใช้วิธีเรียนรู้ใหม่ ต่อเมื่อเขาอยู่ที่ชายขอบของพื้นที่สบายใจ (the edge of comfort zone) คือถูกสถานการณ์บังคับให้ต้องเปลี่ยน ในรายวิชา อาจารย์ผู้สอนจึงใช้ยุทธวิธีให้นักศึกษาเข้าไปอยู่ที่ชายขอบนั้น โดยต้องระมัดระวังให้มีความพอดี อย่างสร้างแรงกดดันมากเกินไป จนผู้เรียนก่อแรงต้าน เพื่อปกป้องตนเอง

เป้าหมายที่แท้จริงคือ เพื่อสร้างปฏิบัติการใหม่ คือให้ผู้เรียนเปลี่ยนจากสอนแบบถ่ายทอดความรู้ มาเป็นสอนแบบ active learning โดยใช้การสานเสวนา เครื่องมือสร้างการเปลี่ยนแปลงคือการเรียนรู้ ทฤษฎี - ปฏิบัติ - ไตร่ตรองสะท้อนคิด

การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ในบางครั้งทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าถูกขู่ หรือทำให้กลัว อาจารย์จึงต้อง สร้างบรรยากาศ หรือพื้นที่แห่งความปลอดภัย ให้แก่นักศึกษา

แฟ้มบันทึกการเรียนรู้ (learning portfolio) ช่วยให้นักศึกษามีวินัยต่อการเรียนรู้ ทำงานสม่ำเสมอ อาจารย์จึงควรขอมาดูเป็นระยะๆ เพื่อเป็นตัวกระตุ้น

ชิ้นงานเพื่อการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือสำคัญของการเรียนรู้แบบสานเสวนา เพราะเป็นตัวเชื่อมระหว่า ทฤษฎี - ปฏิบัติ - ไตร่ตรองสะท้อนคิด


วิจารณ์ พานิช

๒ ม.ค. ๕๘


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม 2015 เวลา 21:49 น.
 

คณะมหาวิทยาลัย มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน

พิมพ์ PDF

เนื่องจาก คณะมหาวิทยาลัย มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน มีกำหนดการเดินทางมาเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 18-21 พฤษภาคม 2558 เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างนักเรียน คณาจารย์ นิสิต นักศึกษาของทั้ง 2 ประเทศ และประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านการศึกษาของมณฑลหูเป่ย์ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเห็นโอกาสทางการศึกษาและการลงทุนในมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน
ทั้งนี้ สมาคมการค้าไทย-หูเป่ย์ ได้รับหน้าที่เป็นตัวแทนประสานงาน ในการเดินทางเยือนประไทยของ คณะมหาวิทยาลัย มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน ในครั้งนี้ จึงใคร่ขอเรียนเชิญท่านที่สนใจเข้าร่วมงาน ในวันอังคารที่ 19 พฤษภาคม 2558  ณ ห้องโลตัส ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 8.30 17.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

กำหนดการงาน Hubei Higher Education Fair 2015

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม 2558

ณ ห้องโลตัส   ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ

จัดโดย

กรมการศึกษามณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน

8.30-9.30น                   -  ลงทะเบียน

9.30-10.30                   -  พิธีเปิดงาน

-  กล่าวรายงาน โดย ตัวแทนจากคณะมหาวิทยาลัย มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน

พร้อมฉาย VDO

-  พิธีเปิด  โดย นายพินิจ จารุสมบัติ (อดีตรองนายกรัฐมนตรี)

ประธานสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน

กล่าวต้อนรับ  โดย นายเฉิน เจียง ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม

สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย

-  บรรยายพิเศษ หัวข้อ “ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและมณฑลหูเป่ย์” โดย  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ประธานมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

10.30-12.00                 - เวที สัมมนาเรื่อง  “การศึกษาไทย-จีนเข้าสู่อาเซียน 2015” โดย ผู้ทรงคุณวุฒิจาก

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนาทุนมนุษย์ (iHDC) ,

อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ , อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ

จอมเกล้าพระนครเหนือ , อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ,

ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน

12.00-12.30                 -  ลงนาม ความร่วมมือ , ถ่ายรูปหมู่

12.30-13.30                 -  รับประทานอาหารกลางวัน

14.00-17.00                 -  ผู้ร่วมงานเยี่ยมชม 15 บูธ จากมหาวิทยาลัยมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน ชมวิดีทัศน์  และพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น   (มีล่ามแปลภาษา ไทย - จีน)

 

ผู้สนใจเข้าร่วมงานสามารถลงทะเบียนได้ที่หน้างานโดยไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ สมาคมการค้าไทย -หูเป่ย์ โทรศัพท์ 02-6121277,02-6121450

หรือติดต่อ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท โทร 089-1381950

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม 2015 เวลา 12:40 น.
 


หน้า 301 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8747780

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า