Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

World Chinese Elite Entrepreneur Summit 2015

พิมพ์ PDF

วันที่ 3 เมษายน ได้รับโทรศัพท์ จาก คุณดาวิน หยาง นายกสมาคมการค้าอาเซียน-จีน เชิญให้ไปร่วมงาน World Chinese Elite Entrepreneur Summit  2015 ในวันที่ 8 -9 เมษายน 2558 ที่โรงแรมแชงกริล่า กรุงเทพ  ผมคิดไม่ออกว่าทำไมคุณหยางถึงมาเชิญผม ทั้งๆที่ผมไม่เข้าใจภาษาจีน  และไม่ได้เป็นพ่อค้า อย่างไรก็ตามผมรับปากว่าจะไปร่วมและขอให้ส่งหมายกำหนดการมาให้

สักครู่ก็ได้รับจดหมายเชิญ พร้อมหมายกำหนดการ ทาง e-mail โดยมีข้อความดังนี้

ประเทศไทยเป็นจุดหมายแรกของนโยบายการพัฒนาเส้นทางสายไหมทางทะเลของรัฐบาลจีน ขณะเดียวกันก็เป็นประเทศที่มีการพัฒนาการด้านต่างๆอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเซีย ภูมิประเทศที่มีความได้เปรียบของตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุน ตลอดจนความพร้อมของสาธารณูปโภคได้กลายเป็นปัจจัยที่ดึงดูดการลงทุนจากกลุ่มทุนต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนจีน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญ

เพื่อตอบสนองต่อนโยบายส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศมูลค่าสี่ล้านล้านหยวนของรัฐบาลจีน รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจจีนกับกลุ่มธุรกิจอาเซียน จึงได้ร่วมกันจัดงาน World Chinese Elite Entrepreneur Summit 2015 c]t China-ASEAN Cooperation Forum ระหว่างวันที่ 7-9 เมษายน 2558 ขึ้น ณ.กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศที่อยู่ในแนวเส้นทางสายไหมทางทะเลกับจีน เพื่อร่วมกันแสวงหาโอกาสการพัฒนาในทุกด้าน รวมถึงสนับสนุนให้ธุรกิจจีนก้าวออกมาร่วมมือด้านการลงทุนกับธุรกิจในกลุ่มอาเซียน

การประชุมดังกล่าว World Chinese Elite Entrepreneur Association ร่วมกับ สมาคมการค้าอาเซียน-จีนและสมาคม อื่นๆ จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์จะเสริมสร้างเวทีและโอกาสความเจริญเติบโตซ่งกันและกัน โดยเชิญแขกผู้มีเกียรติทั้งจากประเทศไทย ประเทศอาเซียนอื่นๆรวมถึงประเทศจีน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากภาคราชการ ภาคธุรกิจเอกชน นักลงทุนเข้าร่วมเพื่อระดมแลกเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาภาคธุรกิจการค้าและเศรษฐกิจในภูมิภาคต่อไป

ทางผู้จัดงานมีความยินดีที่จะขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมงาน World Chinese Elite Entrepreneur Association ระหว่างวันที่ 7-9 เมษายน 2558 พร้อมแนบหนังสือตอบรับเข้าร่วมงานมาพร้อมกันนี้ หากท่านมีความสนใจที่จะเข้าร่วมงานดังกล่าว โปรดกรอกข้อมูลในหนังสือตอบรับและส่งกลับมาที่คณะกรรมการจัดงานฯ

หมายเหตุ : สิ่งที่ส่งมาด้วย

1.ร่างกำหนดการ

2.ข้อมูลทั่วไปของงาน

3.หนังสือตอบรับเข้าร่วมงาน

ร่างหมายกำหนดการ :

วันที่ 7 เมษายน 2558 :

18.00-20.00 น Welcome Dinner โดยมี นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ และนายกร  ทัพรังสี อดีตรองนายกรัฐมนตรีและนายกสมาคม Thai-Chinese Friendship Association กล่าวต้อนรับ Mr.William He ประธาน The World Association of Chinese Elite กล่าวต้อนรับ ผู้แทนหน่วยราชการขึ้นกล่าวเพื่อเป็นเกียรติ ผู้แทนสมาคมและองค์กรที่เข้าร่วมงานขึ้นกล่าวเพื่อเป็นเกียรติ์

วันที่ 8 เมษายน 2558

8.30-9.00 น ลงทะเบียนและถ่ายรูปร่วมกัน

9.00-9.20 น ฉายวีดีทัศน์และกล่าวแนะนำงาน

9.20-9.30 น Mr.William He ประธาน The World Association of Chinese Elite ขึ้นกล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ

9.30-10.00 น ผู้แทนจากสถานฑูตประเทศอาเซียน และประเทศจีน ในไทย / ขึ้นกล่าวเพื่อเป็นเกียรติ์

10.00-10.30 น นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนขึ้นกล่าวเปิดงาน และกดปุ่มเปิดงาน

10.30-11.00 น บรรยายพิเศษ โดย Dr.Tang Zhimin ,Dean International College

11.00-11.30 น ประชาสัมพันธ์การลงทุน "เขตเศรษฐกิจพิเศษเบตง" โดย นายสมยศ เลิศลำยอง นายกเทศมนตรีเมืองเบตง

12.00-14.00 น อาหารกลางวัน

14.00-14.20 น The Vision of ASEAN Economic Community  by Dr.dar Wong - Director and Fund Strategist,Dektos Investment (Singapore)

14.20-14.40 น นโยบายสนับสนุนนักธุรกิจต่างชาติของธนาคารไทยพาณิชย์ โดย คุณมานพ เสงี่ยมบุตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่่ สายธุรกิจต่างประเทส ธนาคารไทยพาณิชย์

14.40-15.00น ยุทธศาสตร์และนโยบายการค้าของไทย โดย คุณจิตนิภา หวังเชิดชูวงศ์ Senior Trade Officer กรมส่งเสริมการค้สระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

15.00-15.20 น นโยบายการสงเสริมการลงทุนของไทย

15.20-17.30 น เสวนา โอกาสทางธุรกิจ  China-ASEAN Cooperation Forum

โครงการมืองวัสดุก่อสร้างจีน โดย นายอัครวัฒน์ มั่นปิยะพงศ์ ประธาน บริษัท รัตนาบดีแลนด์ จำกัด

โครงการ Diamond City โดย นายโอฬาร อัศวฤทธิกุล

โครงการความร่วมมือพัฒนาสถาบันการศึกษาและโรงแรม นำเสนอโดย นางลดาวัลย์ วงศ์ศรีวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวง แรงงาน

โอกาสธุรกิจจากมาเลเซีย โดย  Y.M.Tongku Suthaimi bin tengku Sulaiman ผู้แทน รัฐเคดาห์ ทาเลเซีย

โอกาสธุรกิจจากสิงค์โปร

18.30-21.00 รับประทานอาหารค่ำ

พลเอก เสริมศักดิ์ วิเศษๆชศรี นายกสมาคม ASEAN Business Association

วันที่ 9 เมษายน

9.00 - 09.40 น ความได้เปรียบของไทยบนเวทีอาเซียน โดย นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรัฐมนตรีช่วย กระทรวงพาณิชย์

09.40-11.00 น เสวนา กะเทาะโอกาสธุรกิจจีนและอาเซียนภายใต้บริบทใหม่ โดยมีวิทยากรผู้แทนจากประเทศต่างๆในอาเซียน และจีน

12.00-12..300 อาหารกลางวัน

14.00-17.30 ลงพื้นที่ สำรวจและศึกษาโครงการการลงทุน

 

ผมตัดสินใจเข้าร่วมงานในวันที่ 8 ทั้งวัน โดยขอให้ผู้ที่ผมนัดหมายไว้เวลา 11,00 น มาพบผมที่โรงแรมแชงกริล่า แทนเพื่อผมจะได้ปลีกตัวออกจากห้องประชุมมาพบกับแขกที่ผมนัดไว้ก่อนได  ทำให้สามารถอยู่ร่วมงานได้ตลอด ครั้งแรกนึกว่าคงไม่ได้อะไรมาก เพราะผมไม่ใช่นักธุรกิจ และแถมพูดจีนและฟังจีนไม่ได้ โชคดีที่คณะจัดงานได้มีล่ามไว้คอยแปลให้ ทำให้เข้าใจข้อมูลต่างๆด้านการลงทุน โดยเฉพาะแผนงานและนโยบายของประเทศจีนที่ส่งเสริมให้คนของเขาออกไปลงทุนในประเทศต่างๆ ได้ทราบนโยบายเชิงลึกของการลงทุนของจีน ได้รู้จักกับเจ้าของนักลงทุนคนจีนที่อยู่ในประเทศไทยหลายๆท่าน และต่างก็มีความสนใจและเห็นความสำคัญของการสร้างคนตามแนวทางของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

วันที่ 9 ผมกำหนดจะอยู่แค่ 11.00 น เนื่องจากมีประชุมที่อื่นช่วงบ่าย แต่ไม่นึกว่าท่านประธานจัดงาน ขอให้ผมช่วยเป็นตัวแทนของคนไทยเข้าร่วมเสวนากับผู้แทนประเทสอื่นๆในช่วง 9.40-11.00 น ผู้แทนของประเทศอื่นๆพูดภาษาจีนทุกคน มีผมเพียงคนเดียวที่พูดจีนไม่ได้ จึงพูดภาษาไทยและให้ผู้ดำเนินรายการช่วยแปลให้ หลังจบการเสวนา ผมรีบลงจากเวทีและเพื่อรีบไปประชุมที่อื่นต่อ ปรากฎว่ามีผู้เข้าฟังทั้งคนจีนที่อยู่ในประเทศไทย และคนจีนจากประเทศจีน เข้ามาขอแลกนามบัตรและบางท่านขอถ่ายรูป ผู้สือข่าวขอสัมภาษณ์ แต่ผมต้องรีบไปจึงให้สัมภาษณ์สั้นๆ และเสียมารยาทไม่ได้ไปลาท่านประธานจัดงาน รีบออกไปโดยขอให้จัดอาหารกลางวันใส่กล่องไปทานระหว่างขับรถไปสถานที่นัด โชคดีไปทันเวลานัดก่อนประชุม 5 นาที

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

11 เมษายน 2558

 

 

 



แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 11 เมษายน 2015 เวลา 02:33 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง ๒๓๘๑. เรียนรู้วิธีคิดของธนาคารชั้นดี..... อ่านต่อได้ที่

พิมพ์ PDF

บ่ายวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ผมร่วมประชุมคณะกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ ที่มีเรื่องคดีฉ้อโกงเงิน ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เข้าสู่การประชุม ใช้เวลามาก มีประเด็นถกเถียงมากกว่าจะเลิกประชุมก็ปาเข้าไปเกือบ ๑ ทุ่ม

ทำให้ผมได้เรียนรู้วิธีคิด เพื่อดำรงฐานะธนาคารชั้นดีของสังคม

ท่านที่ต้องการทราบเรื่องเดิมอ่านได้ที่ จะเห็นว่า ทางธนาคารก็งงอยู่นานหลายวัน

ที่จริงศาลฎีกาเคยตัดสินไว้เป็นบรรทัดฐาน ว่าธนาคารมีหน้าที่ดูแลปกป้องเงินของผู้ฝาก หากพบว่าเกิดความเสียหาย ต่อผู้ฝาก จากการฉ้อโกงที่มีเจ้าหน้าที่ของธนาคารเกี่ยวข้องด้วย ไม่ว่าโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ต้องถือว่าเป็นความบกพร่อง ของธนาคาร และธนาคารต้องรับผิดชอบต่อเจ้าของบัญชีผู้ฝากทรัพย์

หลังจากถกเถียงกันนานมาก คณะกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ก็ลงมติว่า ธนาคารยอมรับว่าธนาคารทำงานบกพร่อง ปล่อยให้พนักงานของธนาคารถอนเงินออกจากบัญชีของ สจล. โดยไม่ถูกเงื่อนไข รวมทั้งร่วมกระทำการอย่างอื่นที่ไม่ถูกต้อง ที่ตำรวจจะเป็นผู้เปิดเผย จึงยินยอมชดใช้เงิน ๑,๕๐๐ ล้านบาทแก่ สจล. โดยทำความตกลงกับ สจล. ว่า หากพบหลักฐาน ในภายหลังว่า เงินของ สจล. สูญหายไปมากกว่า ๑,๕๐๐ ล้านบาท สจล. ก็จะไม่เรียกร้องเพิ่ม แต่ถ้าหากพบว่า สจล. สูญเงินไปไม่ถึง ๑,๕๐๐ ล้านบาท ธนาคารไทยพาณิชย์จะได้รับเงินส่วนต่างคืนพร้อมดอกเบี้ย

นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันโอนสิทธิในการดำเนินการคดีแพ่งต่อผู้ทำผิดให้แก่ธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อเรียกเอา เงินที่ฉ้อโกงไปกลับคืน โปรดอ่านข่าวชิ้นที่ จะเห็นว่า ตำรวจน่าจะได้ตัวหัวหน้าใหญ่ของขบวนการฉ้อโกงนี้แล้ว

ผมได้เรียนรู้ว่า ธนาคารมีความรับผิดชอบต่อผู้ฝากทรัพย์ ทั้งทางกฎหมายและทางจริยธรรม หากมีมิจฉาชีพมาขโมย หรือฉ้อโกงทรัพย์นั้นไปได้ ไม่ว่าโดยวิธีใดๆ หรือทรัพย์นั้นสูญเสียไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ธนาคารจะต้องรับผิดชอบ เพราะผู้ฝาก ทรัพย์นำไปฝากเพราะเชื่อถือว่าทรัพย์นั้นจะได้รับความคุ้มครองอย่างดี ช่วงนี้ธนาคารไทยพาณิชย์จึงคล้ายๆ จะอยู่ในช่วง "เคราะห์ซ้ำกรรมซัด" คือเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ด้วยแต่คณะกรรมการกลับมองว่า นี่คือ "พรที่แฝงตัวมา" (blessing in disguise) เพื่อให้ธนาคารเรียนรู้ ปรับตัว และเข้มแข็งยิ่งขึ้น

ผมแถมในใจว่า เป็นโอกาสแสดง CSR – Corporate Social Responsibility ว่าธนาคารรับผิดชอบต่อสังคม ในฐานะที่ได้รับความไม้วางใจนำทรัพย์มาฝากไว้

แต่คณะกรรมการธนาคารก็ต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นด้วย โดยเฉพาะต่อผู้ถือหุ้นรายย่อย ว่าได้ดำเนินธุรกิจอย่าง ระมัดระวัง เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้น คณะกรรมการได้ปรึกษากันอย่างรอบคอบ ว่าการยอมรับผิดชอบในครั้งนี้ สมเหตุสมผล และเป็นการรักษาผลประโยชน์ของธนาคารอย่างดีที่สุดแล้ว


วิจารณ์ พานิช

๒๔ ก.พ. ๕๘



บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2015 เวลา 23:36 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๓๗๖. จากดัชนีความก้าวหน้าของชาติ สู่การขับเคลื่อนสังคมด้วยวัฒนธรรมการใช้ข้อมูล สู่พันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยกับสังคม

พิมพ์ PDF

บันทึก ชุดนี้ ของผม บอกชัดเจนว่า แผนงานขับเคลื่อนสังคมด้วยวัฒนธรรมการใช้ข้อมูล ของ สสส. เดินทางมาไกลมากในเวลา ๔ ปี และมูลนิธินโยบายสุขภาวะ (มนส.) ผู้ดำเนินการแผนงานนี้ ก็ก้าวหน้าไปมาก ในฐานะที่ผมเกี่ยวข้องมาตั้งแต่ต้น จึงมีความสุขมาก ที่ได้เป็นความก้าวหน้านี้

ตอนเริ่มโครงการเมื่อ ๔ ปีมาแล้ว คิดกันว่าจะพัฒนาดัชนีบอกความก้าวหน้าของชาติที่ครอบคลุมกว่า GDP แต่ทำไประยะหนึ่งก็พบว่า หากต้องการให้พื้นที่/ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ ก็จะไม่ใช่ดัชนีแบบ จีดีพี ที่เป็นตัวเลขตัวเดียว แต่เป็นดัชนีหลายด้าน มองหลายมุม และต้องเปิดช่องให้แต่ละพื้นที่เก็บข้อมูลของตนเอง และวิเคราะห์ทำความรู้จักตัวเอง คือใช้ข้อมูลเป็นกระจกส่องตัวเอง โดยใช้ข้อมูลที่ซับซ้อน

ขอแนะนำหนังสือที่โครงการผลิตออกมา ให้ดาวน์โหลดได้ฟรี ที่นี่

มีตัวเลขกลุ่มดัชนีก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์ จึงต้องมีกระบวนการขับเคลื่อนสังคม โดยมีเป้าหมายระดับสร้างวิถีชีวิต ที่เรียกว่าวัฒนธรรมการใช้ข้อมูล

มนส. ดำเนินการโครงการขับเคลื่อนสังคมฯ ด้วยข้อมูลภาพใหญ่ ภาพเชิงเปรียบเทียบ ด้วยข้อมูลทุติยภูมิ เอามาจากสถิติ และรายงานต่างๆ เช่น รายงานการพัฒนาคน ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ข้อมูลของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและ การเกษตร (องค์การมหาชน) ข้อมูลของสำนักงานสิ่งแวดล้อม ข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ ข้อมูลของกรมพัฒนาพลังงาน ทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ข้อมูลสถิติป่าไม้ รายงานสำมะโนประชากร ข้อมูลของสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่าง ประเทศ ข้อมูลประชากร กรมการปกครอง แผนพัฒนาจังหวัด...

ในการประชุม ปฏิบัติการชวนคิดชวนคุย : วัฒนธรรมการใช้ข้อมูลเพื่อการเปลี่ยนผ่านสังคมไทย ที่โรงแรมอะมารี แอร์พอร์ต เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ผมหยิบเอกสารเล่มเล็ก (ที่เขาให้หยิบและบริจาคค่าพิมพ์) มาหลายเล่ม เอามาอ่านเล่มที่ชื่อ "เมืองกาญจน์ แดนตะวันตก...ในแง่มุมใด" "ขอนแก่น ในทศวรรษหน้า" "เล่าเรื่องเมืองปราจีน ข้อมูลชวนคิด…ก่อนวาดผังชีวิตคนปราจีน" แล้วเข้าใจยุทธศาสตร์การทำงานของทีม ดร. เดชรัต สุขกำเนิด

ว่าทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลภาพใหญ่ระดับประเทศ เอามาย่อยหาความหมายระดับพื้นที่ ซึ่งเน้นพื้นที่ระดับจังหวัด เป็นกลไกให้ "มี" และ "ใช้" ข้อมูลในระดับพื้นที่ ซึ่งผมคิดว่า มหาวิทยาลัยในพื้นที่ต้อง (ไม่ใช่ควร) รับผิดชอบพัฒนาข้อมูล ระดับพื้นที่ สำหรับเอาไว้ใช้เป็นกลไกหนึ่งของ Social Engagement คือมหาวิทยาลัยต้องมีข้อมูล/สารสนเทศ เพื่อใช้ในการทำพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม

หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือทำให้คนในพื้นที่รู้จักตัวเอง

ตัวอย่างที่น่าตื่นตาตื่นใจมาจากเอกสาร เล่าเรื่องเมืองปราจีน ที่หน้า ๑๓ - ๑๖ เรื่องผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด เทียบกับหน้า ๑๗ - ๑๙ เรื่องเศรษฐกิจภาคครัวเรือน เมื่อมองระดับจังหวัด รายได้ต่อหัวประชากร เท่ากับ ๓๖๙,๐๐๖ บาท/ปี แต่เมื่อมองระดับครัวเรือน รายได้ครัวเรือนเท่ากับ ๒๑,๐๓๖ บาท/เดือน เปรียบเทียบกับจังหวัดนครนายก ที่รายได้ต่อหัวประชากรเพียง ๘๖,๗๘๖ บาท/ปี แต่รายได้ต่อครัวเรือนกลับสูงกว่า คือเท่ากับ ๒๓,๓๙๐ บาท/เดือน โดยที่นครนายกมีรายจ่ายต่อครัวเรือนต่ำกว่าด้วย (๑๗,๖๙๗ เทียบกับปราจีน ๑๘,๓๑๕)

นครนายก มีความสมดุลด้านเศรษฐกิจ ไม่เทไปด้านหนึ่งด้านใดมากเกินไป ในขณะที่ปราจีนบุรี รายได้ของจังหวัดร้อยละ ๗๘ มาจากอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยต้องทำหน้าที่ขับเคลื่อนสังคม ด้วยวัฒนธรรมการใช้ข้อมูล/ใช้ความรู้/ใช้การเรียนรู้ และวิธีการที่ มนส./ดร. เดชรัต ทำงานค้นพบ น่าจะแพร่กระจายสู่มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องมือที่มหาวิทยาลัยใช้ในการทำพันธกิจมหาวิทยาลัยกับสังคม

จึงขอเสนอต่อ สสส. และ มนส. ให้จัดการประชุมปฏิบัติการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในกลุ่มมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่น ว่าแต่ละสถาบันดำเนินการขับเคลื่อนสังคมด้วยวัฒนธรรมการใช้ข้อมูลอย่างไรบ้าง ใช้วิธีการใด ใช้ข้อมูลอะไร โดย มนส. อาจจัดร่วมกับสถาบันคลังสมองของชาติ และ Engagement Thailand เพื่อเกื้อหนุนให้สถาบันอุดมศึกษาทำพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยกับสังคม ได้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น


วิจารณ์ พานิช

๒๓ ก.พ. ๕๘




บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2015 เวลา 23:42 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๓๗๙. นิยามใหม่ของ "ที่นี่" และ "เดี๋ยวนี้"

พิมพ์ PDF

บทความเรื่อง Extra-Sensory Perception : How a world filled with sensors will change the way we see, hear, think and liveบอกเราว่ามนุษย์ยุคต่อไปจะรับรู้ได้ไกลกว่าที่ประสาทรับรู้ของเรารับรู้ได้เอง เพราะจะมี sensor หลากหลายชนิด ติดตั้งอยู่ในที่ต่างๆ ส่งสัญญาณมายัง คอมพิวเตอร์สวมใส่ได้ ที่อยู่ติดตัวเรา แล้วคอมพิวเตอร์จะส่งสัญญาณเข้าสู่สมอง ของเราอีกทีหนึ่ง

สมัยก่อนเราต้องหัดขี่จักรยาน หัดขับรถยนต์ สมัยหน้าเราจะต้องหัดอยู่กับคอมพิวเตอร์ที่ส่งสัญญาณจาก sensor เข้าสู่การรับรู้ของเรา ในโลกยุค ubiquitous computing

นั่นหมายความว่า เราต้องปรับตัวของเรา ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา ที่เป็น "สิ่งแวดล้อมขยาย" คืออยู่ไกล หรืออยู่นอกระบบประสาทรับรู้ของเรา

แต่ sensors เก่งกว่านั้น เขาสามารถรับรู้ความต้องการของเรา เช่นระดับเสียงเพลงที่เราชอบ ระดับอุณหภูมิ ที่พอดีสำหรับเรา และปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่ตัวเรา

ผู้เขียนบทความเรียกโลกยุคใหม่ว่า sensor-driven world ซึ่งจะช่วยปลดปล่อยมนุษย์จากการจ้องจอสมาร์ทโฟน มาอยู่กับสภาพแวดล้อมรอบตัวมากขึ้น

กลับไปเหมือนสมัยไม่มีสมาร์ทโฟน แต่รับรู้ "ที่นี่" และ "เดี๋ยวนี้" ได้ไกล และซับซ้อนกว่าเดิมอย่างมากมาย



วิจารณ์ พานิช

๒๓ ก.พ. ๕๘


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2015 เวลา 23:48 น.
 

ความหมายของแรงงาน

พิมพ์ PDF

วันนี้มีโอกาสไปอ่านบทความเก่าๆที่เคยเขียนเผยแพร่เมื่อสองปีที่แล้ว และมีคนอื่นเป็นจำนวน หมื่นคนขึ้นไป จึงได้คัดลอกมาให้ได้อ่านดังนี้

"ความหมายของแรงงาน"

ผมได้รับเชิญจากกระทรวงแรงงานให้เป็นวิทยากรปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "ตลาดแรงงานฝีมือกับโลกการค้าเสรี ในวันที่ 26 กันยายน 2555 เวลา 10.45-11.45 น

โจทย์ที่ได้มากว้างมากแถมมีเวลาแค่ 1 ชั่วโมง และไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้เข้ารับฟังเป็นใครมาจากไหน หลังจากทบทวนวัตถุประสงค์ของผู้จัดงานทำให้ตัดสินใจ พูดเรื่องความหมายของแรงงาน ก่อนที่จะเข้าเรื่องตลาดแรงงานและเชื่อมโยงไปถึงโลกการค้าเสรี

 

ค้นพบรายงานวิจัยฉบับหนึ่ง กล่าวถึงความหมายของแรงงานไว้น่าสนใจดังนี้

"แรงงานมีความสำคัญในฐานะที่เป็นปัจจัยการผลิตในการผลิตสินค้า และเป็นทุนมนุษย์ที่สามารถพัฒนาศักยภาพให้สูงขึ้นได้ ตามความหมายของแรงงานเป็นประชากรที่อยู่ในวัยทำงานที่สามารถทำงานได้โดยใช้กำลังกายและกำลังความคิดที่มีหลายระดับความรู้ ความสามารถอันเป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ ซึ่งความหมายของแรงงานมีคำที่เกี่ยวข้องหลากหลายคำ ได้แก่ กำลังคน และกำลังแรงงาน นอกจากนี้ยังมีความหมายที่แบ่งย่อยลงไปเป็น ผู้มีงานทำ ผู้ว่างงาน ผู้ที่อยู่และไม่อยู่ในกำลังแรงงาน โดยที่ผู้มีงานทำยังจำแนกได้ตามสาขาการผลิตอีหลายประเภท ซึ่งแรงงานในทุกสาขาการผลิตมีความสำคัญอย่างยิ่ง และสร้างประโยชน์ทั้งในระดับสถานประกอบการ สังคม และประเทศชาติ"

หลังจากได้ทำความเข้าใจกับข้อสรุปเบื้องต้น ผมได้สรุปความหมายของแรงงานในความเข้าใจของผมดังนี้

"แรงงานหมายถึงทรัพยากรมนุษย์ที่ผ่านการบริหารจัดการจนทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ"

แรงงานแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1  แรงงานฝีมือ (Skilled Labor) หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติ ทั้งนี้ ความชำนาญในงานอาชีพสามารถตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานด้วยตนเองได้

2  แรงงานกึ่งฝีมือ (Semi-skilled Labor) หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติที่มีความชำนาญเพียงบางส่วนของงานอาชีพ

3  แรงงานไร้ฝีมือ (Unskilled Labor) หมายถึง ผู้ที่ทำงานโดยใช้กำลังกาย ไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ความชำนาญ เพียงได้รับคำแนะนำบ้างเล็กน้อยก็สามารถทำงานได้

จากการแบ่งประเภทแรงงานดังที่กล่าวไว้เบื้องต้น แสดงให้เห็นว่า กระทรวงแรงงานได้พุ่งเป้าไปที่แรงงานในภาคการผลิตสินค้า และแรงงานด้านก่อสร้างเป็นหลัก ไม่ได้เน้นถึงแรงงานที่ใช้ความคิดและแรงงานในภาคบริการที่นับวันจะมีความสำคัญมากขึ้น

กระแสสังคมไทยในปัจจุบัน เน้นให้คนไทยจบการศึกษาระดับปริญาตรีเป็นอย่างต่ำ จึงไม่สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิตและก่อสร้างที่เน้นแรงงานขั้นต่ำไม่จำเป็นต้องจบปริญาตรี

พูดถึงตลาดแรงงาน ต้องกล่าวถึงตลาดแรงงานในประเทศหรือตลาดแรงงานต่างประเทศ แรงงานคนไทย หรือแรงงานต่างด้าว

นักศึกษาจบปริญญาตรีไม่สามารถหางานที่ต้องการได้  ผู้ประกอบการไม่สามารถหาแรงงานที่มีคุณภาพได้  แรงงานขาดตลาด จึงทำให้ต้องนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่คนไทยไม่ต้องการทำ

สรุปได้ว่าในอนาคตประเทศไทยจะขาดแรงงาน ให้เตรียมรับแรงงานต่างด้าวในทุกระดับ แรงงานก็จะมีตำแหน่งงานมากขึ้นทั้งงานในประเทศและต่างประเทศ ประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศที่มีแรงงานต่ำอีกต่อไป จะต้องพัฒนาคนไทยให้มีรายได้สูง และธุรกิจบริการจะเป็นธุรกิจที่เหมาะสมกับประเทศไทย

สำหรับความหมายของ "โลกการค้าเสรี" หมายถึงโลกสมัยนี้เป็นโลกที่ไร้พรมแดน การกีดกันทางการค้าจะค่อยๆหมดไป การค้าจะเสรีมากขึ้น การค้าระหว่างประเทศจะมีความสำคัญมากขึ้น ตลาดการค้าจะเป็นตลาดโลก ค้าขายกับคนต่างชาติมากขึ้น ทำงานร่วมกับคนต่างชาติต่างศาสนา ตลาดแรงงานจะเป็นตลาดสากล อย่างไรก็ตามการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศคงไม่ง่ายอย่างที่เข้าใจ แต่ละประเทศยังคงปกป้องคนของแต่ละประเทศไม่ให้ถูกต่างชาติมาแย้งงานทำ แต่ถ้าเข้าใจถึงกลไกการตลาด และยอมรับความจริงต้องเตรียมพร้อมในการแข่งขันในเวทีสากลสำหรับผู้ประกอบการ และแข่งขันในตลาดโลกสำหรับแรงงานระดับกลางขึ้นไป

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

7 เมษายน 2558

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 07 เมษายน 2015 เวลา 22:37 น.
 


หน้า 304 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8747779

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า