Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

31 มีนาคม 2330 วันพระราชสมภพ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3

พิมพ์ PDF

๓๑ มีนาคม
วันเสด็จพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมหากษัตริย์เจ้าสัว 
ทรงใฝ่ธรรมมะ ผและทรงนำพากรุงรัตนโกสินทร์
สู่ยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐิจ

เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าจอมมารดาเรียม ซึ่งภายหลังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระศรีสุราลัย พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ ณ พระราชวังเดิม มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าชายทับ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๙ สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล จึงได้รับเลื่อนพระยศตามพระบิดาขึ้นเป็นพระองค์เจ้า ต่อมาเมื่อพระชนมายุครบผนวชตามพระราชประเพณี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระอัยยิกาธิราชจึงโปรดเกล้าฯ จัดพิธีผนวชให้ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จออกในพิธีผนวชครั้งนี้ด้วยแม้จะมีพระชนมายุถึง ๗๒ พรรษาแล้วก็ตาม เมื่อทรงผนวชแล้วพระองค์ก็เสด็จไปจำพรรษา ณ วัดราชสิทธาราม
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๕๖ ขณะพระชนมายุได้ ๒๖ พรรษาสมเด็จพระบรมชนกนาถทรงสถาปนาขึ้นดำรงพระยศเจ้าต่างกรม มีพระนามกรมว่า พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ด้วยมีพระปรีชาสามารถในหลายแขนงวิชา ไม่ว่าจะเป็นด้านพระพุทธศาสนา อักษรศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ สถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านพาณิชยศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ ทำให้เป็นที่วางพระราชหฤทัยจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ ให้กำกับราชการโดยดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในกรมต่างๆ เช่น กรมท่ากรมพระคลังมหาสมบัติ กรมตำรวจ และยังทรงทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีความแทนพระองค์อยู่เสมอ จึงทำให้ทรงรอบรู้งานราชการต่างๆ ของแผ่นดินเป็นอย่างดี
จนกระทั่งวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคตโดยมิได้ทรงมอบพระราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสพระองค์ใด เจ้านายและขุนนางชั้นผู้ใหญ่จึงประชุมหารือแล้วลงมติกันว่า ควรถวายพระราชสมบัติให้แก่พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ สืบราชสมบัติแทนเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรีพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงมีความรู้ความชำนาญทางด้านการปกครองเป็นอย่างดี เนื่องด้วยสนองพระเดชพระคุณในรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาเป็นเวลานาน
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงสถาปนาผู้ใดขึ้นเป็นพระบรมราชินี คงมีแต่เพียงเจ้าจอมมารดาและสนมเอกเท่านั้น และมีพระราชโอรสกับพระราชธิดารวมทั้งสิ้น ๕๑ พระองค์

พระราชกรณียกิจ
พระราชกรณียกิจด้านเศรษฐกิจ
ในขณะที่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นเวลาที่ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะยากจนเป็นอย่างมาก เนื่องจากเมื่อครั้งสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลเพื่อทำนุบำรุงบ้านเมืองขึ้นมาใหม่ ประกอบกับการที่กรุงศรีอยุธยาสูญเสียทรัพย์สินจากการพ่ายแพ้สงคราม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตั้งระบบการจัดเก็บภาษีขึ้นหลายอย่างเพื่อหาเงินเข้าท้องพระคลังหลวง เช่น จังกอบ อากร ฤชา ส่วย ภาษีเงินค่าราชการจากไพร่ เงินค่าผูกปี้ข้อมือจีน เป็นต้น
การเก็บภาษีอากรนี้ทรงตั้งระบบการเก็บภาษีโดยให้เอกชนประมูลรับเหมาผูกขาดไปเรียกเก็บภาษีจากราษฎรเอง เรียกว่า เจ้าภาษีหรือนายอากร ซึ่งส่วนใหญ่ชาวจีนจะเป็นผู้ประมูลได้ การเก็บภาษีด้วยวิธีนี้ทำให้เกิดผลดีหลายประการ กล่าวคือนอกจากจะสามารถเก็บเงินเข้าพระคลังได้สูงแล้วยังส่งผลดีด้านการเมือง คือทำให้ชาวจีนที่เป็นเจ้าภาษีนายอากรนั้น มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และมีความผูกพันกับแผ่นดินไทยมากขึ้น
นอกจากนี้รายได้ของรัฐอีกส่วนหนึ่งยังได้มาจากการค้าขายกับชาวต่างชาติ โดยไทยได้ส่งเรือสินค้าเข้าไปค้าขายในประเทศต่างๆ มากมาย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยและเชี่ยวชาญการส่งเรือสินค้าออกไปค้าขายมาตั้งแต่ครั้งดำรงยศเป็นพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ จนสมเด็จพระบรมชนกนาถตรัสเรียกพระองค์ว่า “เจ้าสัว” และเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติก็ได้ทรงสนับสนุนการค้ากับต่างประเทศมากขึ้น โดยโปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือกำปั่นเพื่อใช้ในการค้าจำนวนมาก รายได้จากการค้าสำเภานี้นับเป็นรายได้สำคัญของประเทศในขณะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการทำสนธิสัญญาเบอร์นี้ที่ไทยอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาค้าขายภายในประเทศอย่างเสรี ยกเว้นสินค้าประเภทข้าว อาวุธปืน และฝิ่น
เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศมีเสถียรภาพมั่นคงและรัฐมีรายได้มากขึ้น รายได้ของแผ่นดินในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้จึงสูงขึ้นมาก โดยบางปีมีจำนวนมากถึง ๒๕ ล้านบาททีเดียว เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เงินในท้องพระคลังหลวงซึ่งรวมถึงเงินค่าสำเภาที่เหลือจากการจับจ่ายของแผ่นดินมี ๔๐,๐๐๐ ชั่ง และด้วยความที่พระองค์มีพระราชหฤทัยห่วงใยในด้านการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ก่อนที่จะเสด็จสวรรคต จึงทรงมีพระราชปรารภให้แบ่งเงินส่วนนี้ไปทำนุบำรุงรักษาวัดที่ชำรุดเสียหาย และวัดที่สร้างค้างอยู่ ๑๐,๐๐๐ ชั่ง ส่วนที่เหลืออีก ๓๐,๐๐๐ ชั่ง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รักษาไว้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับแผ่นดินต่อไป
เงินจำนวนนี้ กล่าวกันว่าพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใส่ถุงแดงเอาไว้ ซึ่งต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาใช้จ่ายเป็นค่าปรับในกรณีพิพาทระหว่างประเทศ ร.ศ. ๑๑๒(พ.ศ.๒๔๓๖) จะเห็นได้ว่าแม้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จสวรรคตไปแล้ว พระองค์ก็ยังทรงมีส่วนช่วยเหลือประเทศให้รอดพ้นวิกฤตการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น ด้วยเงินถุงแดงที่พระองค์ทรงเก็บสะสมไว้
กลองวินิจฉัยเภรี
พระราชกรณียกิจด้านการปกครอง
พระราชกรณียกิจด้านการปกครองที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำกลองใบใหญ่ที่เจ้าพระยาพระคลังนำมาถวายไปตั้งไว้ที่ทิมดาบ กรมวังลั่นกุญแจ พระราชทานนามว่า “วินิจฉัยเภรี” สำหรับให้ประชาชนที่ต้องการร้องทุกข์ถวายฎีกามาตี แล้วกรมวังก็จะไขกุญแจให้ เมื่อตีกลองแล้วตำรวจเวรก็จะรับตัวมาสอบถามเรื่องราวแล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูล จากนั้นจึงมอบหมายให้ขุนนางคอยดูแลชำระความ และคอยสอบถามอยู่เสมอมิให้ขาด ทำให้ขุนนางไม่อาจหลีกเลี่ยงต่อหน้าที่ได้ ประชาชนจึงได้รับผลประโยชน์เป็นอย่างมาก

พระราชกรณียกิจด้านการป้องกันประเทศ
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสงครามระหว่างไทยกับพม่าได้เบาบางและสิ้นสุดลง เพราะพม่าติดพันการทำสงครามอยู่กับอังกฤษ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีสงครามเกิดขึ้นหลายครั้งในหลายรัชกาลนี้ โดยสงครามที่สำคัญได้แก่
๑. พ.ศ. ๒๓๑๖ สงครามกับเจ้าอนุวงศ์ แห่งเมืองเวียงจันทน์ เดิมทีเมืองเวียงจันทน์ตกเป็นเมืองขึ้นของไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี แต่ในขณะนั้นเจ้าอนุวงศ์เริ่มมีอำนาจมากขึ้น จึงถือโอกาสช่วงเปลี่ยนแผ่นดิน ก่อกบฏยกกองทัพเข้ามาตีไทยเพื่อประกาศตนเป็นอิสระทว่าถูกกองทัพของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขับไล่ออกไปได้หมดสิ้น ดินแดนแคว้นลาวจึงยังคงอยู่ในอำนาจของไทยต่อไปจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒. พ.ศ. ๒๓๗๖ – พ.ศ. ๒๓๙๐ สงครามกับญวน สงครามครั้งนี้กินเวลายาวนานถึง ๑๕ ปี เริ่มจากปี พ.ศ. ๒๓๗๖ ญวนที่เมืองไซง่อนก่อกบฏขึ้น พระเจ้าเวียดนามมินมาง จึงต้องทำสงครามปราบปรามกบฏ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่าเป็นโอกาสที่จะแย่งชิงเขมรกลับคืน และปราบญวนให้หายกำเริบ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองเขมร หัวเมืองญวนไปจนถึงไซ่ง่อน และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ยกทัพเรือไปตีหัวเมืองเขมรและญวนตามชายฝั่งทะเล สงครามยืดเยื้อมาเป็นเวลานานจนเป็นอันเลิกรบ แต่ไทยก็ได้เขมรมาอยู่ในปกครองอีกครั้ง

พระราชกรณียกิจด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
เหตุการณ์ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่สำคัญมีดังนี้
๑. สัมพันธไมตรีกับอังกฤษ ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๖๙ ไทยได้ทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและพาณิชย์กับอังกฤษ ชื่อว่า สนธิสัญญาเบอร์นี เนื่องจากมีนายเฮนรี่ เบอร์นี เป็นผู้ทำการเจรจากับรัฐบาลไทยเกี่ยวกับปัญหาการค้าและการเมืองในมลายู ใช้ระยะเวลา ๕ เดือน ประกอบด้วยสนธิสัญญาทางพระราชไมตรี ๑๔ ข้อ และสนธิสัญญาทางการพาณิชย์แยกอีกฉบับรวม ๖ ข้อ สนธิสัญญาเบอร์นี ถือเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับประเทศตะวันตกในสมัยรัตนโกสินทร์
๒. สัมพันธไมตรีกับสหรัฐอเมริกา ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ เริ่มจากการทำการค้าและมีการทำสนธิสัญญาระหว่างกัน โดยลงนามเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๗๕ มีนายเอ็ดมันส์ โรเบิร์ต เป็นทูตเจรจาใช้ระยะเวลาในการเจรจา ๒๒ วัน โดยมีข้อตกลงทางการเมืองและการค้าอยู่ในฉบับเดียวกัน ๑๐ ข้อ สำหรับบรรดาประเทศต่างๆ ในเอเชียนั้น ประเทศจีนนับเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีกับไทย ทั้งทางด้านการทูตและการค้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไทยได้จัดส่งราชทูตอัญเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศจีนใน พ.ศ. ๒๓๖๘ การค้าระหว่างไทยกับจีนดำเนินไปได้ด้วยดีตลอดสมัยรัชกาลที่ ๓
ฤษีดัดตน
พระราชกรณียกิจด้านการศึกษาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังไม่มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้น ดังนั้นวัดจึงมีบทบาทเป็นสถาบันทางการศึกษาที่สำคัญมาก เช่นเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีพระสงฆ์เป็นครูสอนหนังสือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสนับสนุนการศึกษาโดยโปรดเกล้าฯ ให้ผู้มีความรู้นำตำราต่างๆ จารึกลงบนศิลาประดับไว้ตามฝาผนังอาคารต่างๆ ของวัดราชโอรสาราม วัดสุทัศนเทพวราราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ความรู้ต่างๆ ที่โปรดเกล้าฯ ให้จารึกไว้มีทั้งวิชาอักษรศาสตร์ แพทยศาสตร์ พุทธศาสตร์และโบราณคดี ตำราโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ตำรายา ตำราโหรศาสตร์ พร้อมกันนั้นก็โปรดเกล้าฯ ให้ปั้นรูปฤาษีดัดตน แสดงท่าบำบัดโรคลม กับคำโคลงบอกชนิดของลม ตั้งไว้ในศาลารอบเขตพุทธาวาส เพื่อให้ประชาชนศึกษาความรู้ต่างๆ ได้อย่างแพร่หลาย จนอาจเรียกได้ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของเมืองไทย

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน องค์ข้างตะวันตกในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ รวมพระชนมายุได้ ๖๓ พรรษา ๒ วัน รวมระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ๒๖ ปี ๘ เดือน ๑๒ วัน พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในศาสตร์ต่างๆ หลายแขนง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน พาณิชยศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ฉลาดหลักแหลมพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการต่างพระเนตรพระกรรณมาตั้งแต่ยังทรงดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ครั้นเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติพระองค์ก็ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ นำความมั่นคงก้าวหน้ามาสู่ประเทศนานัปการ และด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณปวงชนชาวไทยจึงร่วมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นในบริเวณลานเจษฎาบดินทร์ ถนนราชดำเนิน

คัดลอกจากบทความของคุณพิชาญ พงษ์พิทักษ์ ในเฟสบุ๊ค

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 31 มีนาคม 2015 เวลา 00:42 น.
 

เสวนาทางวิชาการ HROD TALK ครั้งที่ 68

พิมพ์ PDF

วันที่ 12 มีนาคม 2558 ได้รับเชิญเข้าร่วมงานเสวนาทางวิชาการ HROD TALK ครั้งที่ 68  หัวข้อ "ก้าวสู่ที่ปรึกษามืออาชีพ (HROD Consultancy)  เจ้าของงานได้แก่ ศ.ดร.ชาติชาย ณ.เชียงใหม่ ผู้อำนวยการหลักสูตร การพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อองค์การที่ยั่งยืนคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (นิด้า) เป็นกิจกรรมที่ให้นักศึกษาเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้การให้คำปรึกษาแบบมืออาชีพ เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับแนวความคิด ทฤษฎี แนวทาง ขอบเขต และตัวแบบของความสำเร็จในองค์การที่นักศึกษาไปให้คำปรึกษา  มานำเสนอเพื่อเป็นกรณีศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม โดยมีเวลาการนำเสนอกลุ่มละ 20 นาที ดังนี้

กลุ่มที่ 1. Build competence Thai Watsadu through Workshop learning

กลุ่มที่ 2.การวินิจฉัยปัญหาการลาออกของพนักงานขายเพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาองค์กร กรณีศึกษา บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง

กลุ่มที่ 3 ทฤษฎีและการพัฒนาองค์กร

กลุ่มที่ 4 การเตรียมความพร้อมระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์สู่ AEC

กลุ่มที่ 5.การวินิจฉัยสาเหตุการลาออกของพนักงานประจำสาขาเพื่อวางแนวทางการปรับปรุงกระบวนการทำงานของส่วนงานค้าปลีกให้มีประสิทธิภาพ

กลุ่มที่ 6 การปรับปรุงระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

กลุ่มที่ 7 การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงขององค์กร

การนำเสนอของนักศึกษาทั้ง 7 กลุ่ม ถือว่าใช้ได้ แต่ที่ผมให้ความสนใจ มีอยู่ 2 กลุ่ม ซึ่งกรณีศึกษาของทั้ง 2 กลุ่มตรงกับปัญหาที่ผมกำลังจะเข้าไปเป็นโค้ชให้คำปรึกษาในด้านการบริหารงานด้านทรัพยากรมนุษย์ ให้กับองค์กรหนึ่งพอดี ข้อมูลที่ได้รับจากการนำเสนอถือว่าเป็นการตอกย้ำว่าสิ่งที่ผมเข้าใจนั้นถูกต้อง คือปัญหาเรื่องการบริหารจัดการคน เหมือนกันกับทุกองค์กร หลักใหญ่ๆอยู่ที่ ความไม่เข้าใจ หรือเข้าใจไม่ตรงกัน ของแต่ละหน่วยงาน  โดยเฉพาะ HR และ ฝ่ายปฎิบัติการ ต่างฝ่ายต่างไม่พยายามทำงานร่วมกัน มองคนละด้าน สิ่งที่ต้องแก้ไข คือระบบการสื่อสารที่ทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับงานต้องมีความเข้าใจและมองภาพเดียวกัน คิดถึงองค์กรไม่ใช้เอาชนะกัน โยนกันไปโยนกันมาจนทำให้องค์กรเสียหาร

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

19 มีนาคม 2558

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม 2015 เวลา 23:08 น.
 

SB 2015 Sustainable Brands

พิมพ์ PDF

ขอขอบคุณ  สมคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ที่เชิญผมเข้าร่วมงาน SB 2015 ( Sustainable Brands'15 Bangkok เปลี่ยนวิธีคิด ปฏิวัติธุรกิจสู่ความยั่งยืน  ในวันที่ 18 และ วันที่ 19 มีนาคม 2558 ที่โรงแรม Plaza Athenee Bangkok

Sustainable Brands : เครือข่าย Sustainable Brands เกิดขึ้นในปี 2550 จากการรวมตัวกันของผู้นำทางธุรกิจกลุ่มเล็กๆที่พยายามหาคำตอบและวิธีการที่จะทำใหแบรนด์ของตนเองพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต ในเวลาต่อมา Sustainable Brands ได้กลายเป็นชุมชนระดับโลกที่มีสมาชิกเกือบหนึ่งล้านคน ซึ่งพร้อมขับเคลื่อนความสำเร็จทางธุรกิจจากการพัฒนาแบรนด์ตามวิถีแห่งความยั่งยืนด้วยช่องทางการสื่อสารทั้งทางออนไลน์ผ่านทาง www.sustainablebrandsbangkok.com และทางเครือข่ายการจัดงานระดับโลก ทำให้เจ้าของแบรนด์และผู้นำทางด้านความยั่งยืนได้ค้นพบจุดแข็งของเพื่อนร่วมวงการและพันธมิตรช่วยสร้างเสริมจินตนาการอันนำไปสู่แนวคิดธุรกิจรูปแบบใหม่ตลอดจนการออกแบบผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆที่จะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

การจัดงาน Signature Event ครั้งนี้จะเป็นการรวมกลุ่มกันของผู่เชี่ยวชาญด้านแบรนด์และนวัตกรรมจากทั่วทั้งภูมิภาค มาแลกเปลี่ยนความรู้ในการสร้างแบรนด์ให้ดียิ่งขึ้น พร้อมปลูกฝังนวัตกรรมเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อมไว้ในดีเอนเอของธุรกิจเพื่อพัฒนาธุรกิจให้ยั่งยืน แสวงหาหนทางใหม่ๆในการส่งเสริมแบรนด์ที่ดีอยู่แล้วให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

 

 

Attachments:
FileคำอธิบายFile size
Download this file (SAM_0154.JPG)SAM_0154.JPG 334 Kb
Download this file (SAM_0168.JPG)SAM_0168.JPG 316 Kb
Download this file (SAM_0179.JPG)SAM_0179.JPG 339 Kb
Download this file (SAM_0188.JPG)SAM_0188.JPG 342 Kb
Download this file (SAM_0201.JPG)SAM_0201.JPG 342 Kb
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2015 เวลา 00:02 น.
 

อย่ายอมให้คอร์รัปชั่นกลายเป็นวัฒนธรรม

พิมพ์ PDF

การทุจริตหรือคอร์รัปชันคือมะเร็งร้ายที่กัดกินสังคมไทยมาอย่างยาวนาน มันนานพอจนกระทั่งคนไทยรู้สึกว่า คอร์รัปชันคือส่วนหนึ่งของวิถีชีวืตคนไทย คอร์รัปชั่นนับว่าเป็นสิ่งเลวร้าย แต่ความจริงทัศนคติที่ยอมรับว่า คอร์รัปชั่นเป็นเรื่องธรรมดานับว่าเลวร้ายยิ่งกว่า เพราะหากเราไม่ยอมรับ หากเราไม่เห็นดีเห็นงามด้วยมีหรือที่คอร์รัปชันจะหยั่งรากลึกลงสู่สังคมไทยอย่างลึกซึ้งถึงเพียงนี้ สิ่งที่เราต้องทำร่วมกันในเวลานี้คือ เราต้องร่วมกันถอดถอนทัศนคติที่ยอมรับว่า คอร์รัปชันเป็นเรื่องธรรมดาซึ่ง"ใครๆเขาก็ทำกัน"  ออกไปจากจิตสำนึกของคนไทยให้ได้ แล้วจากนั้นก็มาร่วมกันสร้างจิตสำนึกใหม่ลงไปแทน นั่นคือ จิตสำนึกที่ว่า "จงอย่ายอมให้คอร์รัปชันกลายเป็นวัฒนธรรม" ประเทศนี้ไม่ยินดีต้อนรับคอร์รัปชันทุกรูปแบบ ประเทศนี้ไม่ยินดีต้อนรับคนโกง ประเทศนี้ไม่ยกย่องคนโกง หากไม่ร่วมกันสร้างสรรค์วัฒนธรรมแห่งการต้านคอร์รัปชัน ถึงระดับนี้ ประเทศไทยก็คงจะต้องวุ่นวายกันต่อไปไม่จบสิ้น

คัดลอกจากหนังสือ คาถาชีวิต 2 โดยท่าน ว.วชิรเมธี

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2015 เวลา 22:42 น.
 

กฎแห่งความช้า

พิมพ์ PDF

ผมได้รับจดหมายเชิญลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์  จาก คุณทิพย์พาพร ตันติสุนทร ผู้อำนวยการร่วม สถาบันนโยบายศึกษา เชิญร่วมงานสังสรรค์สาระประจำปีสถาบันนโยบายศึกษาในวันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 15.00-19.00 น  ผมเคยได้รับเชิญเข้าร่วมกิจกรรมของคุณทิพย์พาพร หลายครั้ง ไม่เคยผิดหวัง เป็นกิจกรรมที่ดีเสริมสร้างความรู้ให้กับผมมาก จึงไม่เคยพลาด ครั้งนี้เช่นกัน ความจริงผมมีงานอื่นที่ตรงกัน ผมได้เลือนและยกเลิกงานหลายงานด้วยกันเพื่อมาร่วมงานที่ได้รับเชิญนี้

งานในวันนี้เป็นงานเสวนากับผู้เขียนหนังสือ 2 เล่ม คือ กฎแห่งความช้า" โดย ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช และ "ศาสตร์การสอนความเป็นนักประชาธิปไตย" โดย ดร.วิชัย ตันศิริ

"กฏแห่งความช้า" โดย ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นหนังสือเล่มเล็ก ขนาด ครึ่งหน้า A 4 หนา 31 หน้า เป็นหนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อยู่ในเล่มเดียวกัน หนังสือเล่มนี้ เป็นงานคิดของ ศ.ดร.อนันต์ สมุทรวนิช ในขณะที่นอนป่วยอยู่ด้วยโรคหัวใจ ที่ต้องทำการสวนหัวใจถึง 4 ครั้ง และต้องฟอกไตเป็นเวลาครั้งละ 4 ชั่วโมง ในขณะอยู่โรงพยาบาล มีความเจ็บปวดนอนไม่หลับ  แต่พอใกล้เช้าจะมีอาการเหมือนเตียงหมุน แต่ไม่วิงเวียน ผลของการสวนหัวใจและฟอกไตทำให้สมองทำงานได้อย่างดี ในขณะที่ต้องลาการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดร.ชัยอนันต์ ก็คิดปัญหาของสังคมได้ทะลุ โดยใช้กรอบความคิดของความช้า ประกอบกับมิติของชีวิตมนุษย์ที่เป็นธรรมชาติ โดยเชื่อว่ากรอบนี้จะนำไปสู่การแก้ปัญหาการปฎิรูปได้

ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช

ตึก ภปร.ห้อง 1522

เวลา 05.00 น

24 พ.ย.2557

คัดลอกจาก "คำนำ" ในหนังสือ "กฎแห่งความช้า"

"ศาสตร์การสอนความเป็นประชาธิปไตย" โดย ดร.วิชัย ตันศิริ  เป็นหนังสือขนาด ครึ่งหน้า A 4 หนา 160 หน้า ขอยกบางประโยคจาก "คำนิยม" มาเผยแพร่ดังนี้

"วัฒนธรรมการเมืองเป็นรากฐานสำคัญของระบอบประชาธิปไตย วัฒนธรรมการเมืองเป็นเรื่องที่เรียนรู้ได้ โดยมีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมเป็นหลัก หน่วยสำคัญในการเรียนรู้คือ คน ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติและค่านิยม ดร.วืชัย ตันศิริ ได้ให้คำอธิบายและวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในทุกแง่มุม นับเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการศึกษาทางการเมืองที่ครอบคลุมประเด็นสำคัญของการเรียนรู้ระบอบประชาธิปไตยไว้อย่างครบถ้วน ที่สำคัญคือ ดร.วิชัย ชี้ให้เห็นว่า กระบวนการสร้างแรงบันดาลใจ  เป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ของพลเมือง  โดยได้เสนอให้มีกิจกรรมภาคปฎิบัติไว้ด้วย ดร.วิชัย เน้นว่า การศึกษาด้านนี้ควรกระทำตั้งแต่ในวัยเด็กและวัยรุ่น อีกทั้งยังได้ให้ความสำคัญต่อการสร้างประชาธิปไตยในระดับรากหญ้า คือระดับหมู่บ้านอีกด้วย"

หนังสือเล่มนี้จัดจำหน่ายโดย ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร 02-2189872

ผมยังไม่มีเวลาอ่าน อย่างไรก็ตามจากการเสวนา ทั้งสองเรื่องควบคู่กันไป มีผู้แสดงความเห็นสนับสนุนความคิดของผู้เขียน และมีการเสนอแนะ และสอบถามเพิ่มเติม ผมเองก็ได้ แสดงความเห็นไว้ทั้งสองเรื่อง เรื่องแรกเห็นด้วยกับ "กฏแห่งความช้า"  อีกเรื่องเป็นเรื่องของประชาธิปไตย ทำไมเราต้องไปคัดลอกเขามา เราจัดทำระบบการปกครองที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมของไทยเองไม่ได้หรือ ดร.วิชัย ตันศิริ กล่าวว่าที่อธิบายมาทั้งหมดก็เพื่อให้ได้ข้อสรุปตามที่ผมสรุปนี้ แต่ท่านไม่เป็นคนพูดเอง ต้องการให้ออกมาจากความคิดของผู้ฟัง และการพูดเพื่อให้ได้คำตอบตามที่ผมได้สอบถามก็เพิ่งเคยใช้กับที่นี่เป็นครั้งแรก

หลังเสวนาพบ ผู้เข้าร่วมเสวนาท่านหนึ่งเข้ามาพบผมและแสดงความชื่นชมในการแสดงความคิดเห็นของผม ผมรู้สึกคุ้นหน้ามากๆแต่จำไม่ได้ พออ้างอิงกันสักครู่จึงนึกออกว่า ท่านผู้นั้นชื่อคุณสมคิด เคยเป็นเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของ UN และเป็นลูกค้าซื้อตั๋วเครื่องบินจากผม ไม่ได้พบกันร่วม 40 ปี และคุณสมคิดเป็นเพื่อนสนิทของ ดร.วิชัย ตันศิริ จึงร่วมวงสนทนาตลอดเวลาทานอาหารเย็น และมีการนัดหมานที่จะพบแลกเปลี่ยนรู้ร่วมกันอีกในเร็วๆนี้

ต้องขอขอบคุณ คุณทิพย์พาพร ที่เชิญผมมาร่วมเรียนรู้ และได้เสวนาแลกเปลี่ยนกับผู้มีความรู้ และข้อสำคัญทำให้ผมได้พบกับผู้ใหญ่ที่เคยสนุบสนุนผมเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ผมอายุ 65 ปี lส่วนคุณสมคิดอายุร่วม 80 ปีแต่ยังแข็งแรง และมีสุขภาพที่ดี

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

2 มีนาคม 2557

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 02 มีนาคม 2015 เวลา 22:25 น.
 


หน้า 306 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8747780

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า