Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

สรรพสิ่งล้วนอิงอาศัยกัน

พิมพ์ PDF

ตามหลักอิทัปปัจจยตา (ภาวะที่สิ่งนี้มีเพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนดำรงอยู่ในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน ขึ้นต่อกันและกัน สัมพันธ์กันในแง่ใดแง่หนึ่งเสมอ ไม่มีอะไรในจักวาลนี้ดำรงอยู่อย่างเป็นเอกเทศ ดังกวีนิพนธ์ที่ว่า

"เราต่างมีกันและกันในสรรพ์สิ่ง

เราต่างอิงองค์อื่นอีกหมื่นหมาย

เราต่างถ้อยธำรงจึงทรงกาย

เราต่างคล้ายเป็นส่วนหนึ่งที่ถึงกัน"

จากความจริงข้อนี้ ทำให้เราตระหนักรู้ว่า ไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดก็ตาม พึงใคร่ครวญถึงผลลัพธ์ที่จะตามมาให้ดี เพราะทุกการกระทำของเราจะส่งผลถึงคนอื่นและสิ่งอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ

คัดลอกจากหนังสือ "คาถาชีวิต 2"

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 02 มีนาคม 2015 เวลา 22:55 น.
 

ความรับผิดชอบต่อสังคม

พิมพ์ PDF

ความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นหน้าที่ร่วมกันของเราทุกคน เราแต่ละคนต่างก็พึ่งพาอาศัยกันและกัน ไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่งเสมอ สังคมจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับความใส่ใจร่วมกันของเราทุกคน ไม่ว่าคนยากคนจนหรือมหาเศรษฐี เราต่างก็มีพันธกิจต่อสังคมไม่ต่างกัน ความแตกต่างอยู่ตรงที่ ผู้ที่เป็นเศรษฐีควรจะมีความรับผิดชอบต่อสังคมสูงกว่าคนทั่วไป เนื่องเพราะเศรษฐีเป็นผู้ได้รับอะไรต่อมิอะไรไปจากสังคมมากกว่าคนอื่น เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ได้จากการทำธุรกิจ เงินเหล่านั้นล้วนหายไปจากกระเป๋าของประชาชนเพื่อที่จะเพิ่มพูนมากขึ้นในกระเป๋าของเศรษฐี เศรษฐีจึงเป็นหนี้สังคม และดังนั้น เขาจึงต้องคืนให้แก่สังคมมากกว่าคนทั่วไป แต่หากเขาไม่ใส่ใจมิติเชิงสังคมเลยแม้แต่น้อย ความเป็นเศรษฐีของเขาก็จะต่ำต้อยด้อยค่า เขาเองก็จะได้ชื่อว่าเป็นเพียงนักสะสมความมั่งคั้งอันว่างเปล่าเท่านั้นเอง

คัดลอกจาก "หนังสือคาถาชีวิต 2 "

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 02 มีนาคม 2015 เวลา 23:17 น.
 

ความไม่ชัดเจน

พิมพ์ PDF

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2558 ผมมีกำหนดลงไปที่เกาะ พี พี เพื่อช่วยเป็นที่ปรึกษาและเป็นโค้ช ให้กับผู้บริหารโรงแรมในด้านการทบทวนและปรับปรุ่งแผนตลาดให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับปี 2558-2560 แต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากมีกรณีด่วนเรื่องประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ในระดับผู้จัดการฝ่าย จนทำให้ผู้บริหารที่จะเข้าร่วมประชุมจัดทำแผน ไม่มีสมาธิในการทบทวนด้านแผนการตลาด โชคดีที่ผู้ว่าจ้างผมได้มอบหมายให้ผมช่วยให้การปรึกษาด้านการบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ด้วย ผมจึงได้เปลี่ยนจากการประชุมทบทวนและจัดทำแผนตลาดไปเป็นการโค้ชผู้จัดการในการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารจัดการผู้จัดการระดับกลางถึงระดับสูงที่มีปัญหาซ้ำซากอยู่เป็นประจำ ปัญหาเดิมๆ แต่เปลี่ยนคนที่ได้รับปัญหา ผมเริ่มสอนและโค้ชให้ผู้จัดการพิจารณาเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างรอบครอบ ดึงผู้เกี่ยวข้องทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการ ตีปัญหาให้แตกและแก้ไขให้ถูกจุด ใช้เวลาถึง 3 วันเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน โดยการใช้กรณีของจริงที่เกิดขึ้น

ปัญหาได้ถูกแก้ไข อย่างถูกต้อง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจจากสิ่งที่เกิดขึ้น วิธีการแก้ไขที่ถูกต้อง  ทำให้ขวัญและกำลังใจของพนักงานในทุกระดับ ดีขึ้น การจัดทำแผนตลาดเลื่อนออกไปเป็นกลางเดือน มีนาคม เมื่อการจัดทำแผนตลาดเสร็จสมบูรณ์ จะต่อด้วยแผนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สอดคล้องกับแผนตลาด

ปัญหาใหญ่ๆในด้านการบริหารจัดการคน ส่วนมากจะเป็นเรื่องการสื่อสาร ความไม่ชัดเจน และการวางตำแหน่งงานที่ไม่เหมาะสมกับความสามารถและทักษะ ตำแหน่งงานหลายๆตำแหน่งไม่สามารถหาผู้ที่เหมาะสมได้ จึงได้ดันคนเข้าไปรับตำแหน่งเพื่อให้คบตามตำแหน่งที่วางไว้ โดยไม่คำนึงถึงความสามารถ ผลออกมาล้มเหลว ถือว่าเป็นการทำลายคน ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นกับสถานประกอบการ SMEs เกือบทุกแห่ง ผู้ประกอบการไม่สร้างคน เพราะถือว่าเมื่อสร้างแล้วเขาก็ไปอยู่ที่อื่น จึงไม่ยอมลงทุนในด้านคน ทำให้คนขาดแคลน โทษว่าคนไม่มีคุณภาพ ไม่อดทน

ผมขอยืนยันว่าคนทุกคนมีความสามารถและเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ทุกคนต้องช่วยกันสร้างไม่ใช่คอยแต่จะทำลาย เช่นเดียวกับป่าไม้ เราคิดแต่จะตัดไม้มาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ หรือสร้างบ้าน แต่ไม่เคยปลูกทดแทน ในที่สุดป่าไม้ก็หมด ทำให้เกิดผลตามมามากมาย เช่นเดียวกับคน เรามีแต่ตักตวง คิดแต่จะใช้ แต่ไม่เคยส่งเสริม สร้างคุณค่าให้กับคน เราส่งเสริมการศึกษาแต่เราไม่สร้างคน

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

2 มีนาคม 2558

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 02 มีนาคม 2015 เวลา 20:47 น.
 

ศักยภาพในการตัดสินใจ คือสาระสำคัญของการเป็นผู้นำ

พิมพ์ PDF

การเป็นผู้นำ ไม่ได้วัดกันที่การดำรงตำแหน่ง หากแต่วัดกันที่ศักยภาพในการตัดสินใจว่ามีประสิทธิภาพมากพอหรือไม่ คนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำ แต่ตัดสินใจล้มเหลวอยู่บ่อยๆ คนเช่นนี้ ไม่ควรนับว่าเป็นผู้นำ เขาเป็นได้แค่ผู้ได้รับฉันทานุมัติให้ดำรงตำแหน่งเท่านั้น ส่วนผู้นำตัวจริง ไม่ว่าจะมีตำแหน่งหรือไม่ก็ตาม แต่ทุกครั้งที่เขาตัดสินใจเขามักไม่พลาด

ผู้นำมีอยู่หลายประเภท แต่ผู้นำที่ยอดเยี่ยมที่สุด เขานำโดยไม่นำ หมายความว่า เขาไม่จำเป็นต้องมีตัวตนอยู่ในองค์กรใดเลย แต่ถึงกระนั้น ทุกคนก็ตระหนักรู้เป็นอย่างดีวา คนอย่างนี้เขามีภาวะผู้นำ มหาตมะ คานธี คือตัวอย่างของผู้นำเช่นที่กล่าวมา  เนลสัน แมนเดลา ออง ซาน ชูจี นักเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ ล้วนถือว่า คานธี คือบุคคลผู้เป็นแรงบันดาลใจในชีวิตและการทำงานของพวกเขา นี่คือตัวอย่างของการนำโดยไม่นำ แต่สามารถก่อให้เกิดการกระทำในเชิงสร้างสรรค์และการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหลือเชื่อ

ผู้นำคือ บุคคลที่มีผู้เฝ้าจับตามองทุกฝีก้าว ทุกการกระทำ ทุกคำพูดของผู้นำล้วนส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อผู้ตามและต่อชะตากรรมของบ้านเมือง  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีมาตราฐานทางปัญญาและจริยธรรมสูงกว่าคนทั่วไป หากมีมาตรฐานทางปัญญาและจริยธรรมต่ำเท่ากับหรือต่ำกว่าผู้ตาม ภาวะผู้นำของผู้นำก็จะเสื่อมถอยลงทันที หากผู้นำทุจริตฉ้อฉล ผู้ตามก็จะทุจริตคอร์รัปชัน ไม่ยึดมั่นกฎหมายกบิลเมือง  ผู้นำมีมาตรฐานทางปัญญาและจริยธรรมสูง ผู้ตามจะคล้อยตามอย่างแน่วแน่มั่นคง รัฐจะดำรงในสันติสุข

คัดลอกบางส่วนจากหนังสือ"คาถาชีวิต" ของท่าน ว.วชิรเมธี

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 12:20 น.
 

ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของทุนมนุษย์

พิมพ์ PDF

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ได้รับเชิญจาก ศูนย์อาเซียนและเอเชียศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เข้ารับฟังในงานนำเสนอบทความวิชาการโดยใช้วิเคราะห์อภิมาน (Meta-Analysis) ในประเด็นที่เกี่ยวข้องอาเซียนและเอเชียศึกษา ณ.ห้องประชุม 202 ชั้น 2 อาคารสยามบรมราชกุมารี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โดยมีหมายกำหนดการดังนี้

09.00 -09.15 ลงทะเบียน

09.15-09.30 พิธีเปิดกล่าวรายงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิสาขา ภู่จินดา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

กล่าวเปิดงานโดย รศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

09.30-12.00 นำเสนอบทความวิชาการ โดยคณะอาจารย์ นักวิจัยและนักวิจัยร่วมของศูนย์อาเซียนและเอเชียศึกษา

1.ปัจจัยความสำเร็จการพัฒนาเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดของมาเลเชีย นำเสนอโดย ดร.สุธาดา เมฆรุ่งเรื่องกุล

วิพากษ์โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณดา จันทร์สม

2.การเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและอุปสรรคของนโยบายการศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน ระดับอุดมศึกษา

นำเสนอโดย ดร.ขวัญมิ่ง คำประเสริฐและคณะ วิพากษ์โดย รองศาสตราจารย์ ดร.บุญอนันต์ พินัยทรัพย์

3.ความสำเร็จในการจัดการพหุวัฒนธรรมของประเทศอาเซียน กรณีศึกษาประเทศมาเลเซีย

นำเสนอโดยนางสาวลลิตา งามโขนง วิพากษ์โดย ดร.รุจิระ โรจนประภายนต์

4.The Rise of China's Economy: Trend,Challenges and Implications for ASEAN

นำเสนอโดย ดร.ภัณณิน สุมนะเศรษฐกุล วิพากษ์โดย ดร.หลี่ เหลิน เหลียง

5.ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEsในธุรกิจการท่องเที่ยว : ความท้าทายที่มีต่อภาคการท่องเที่ยวภายใต้การเปิดเสรีการค้า                            ภาคบริการ นำเสนอโดย ดร.พรพธู รูปจำลองและคณะ วิพากษ์โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัทรียา หลักเพ็ชร

6.กลยุทธการเพิ่มขีดความสามารถของทุนมนุษย์เพื่อเผชิญสิ่งท้าทายในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

นำเสนอโดย ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล และคณะ วิพากษ์โดย ผศ.ดร.อรนุช พฤฒิพิบูลธรรม

ผู้ดำเนินรายการ กำหนดเวลาในการนำเสนอได้ไม่เกิน 10 นาทีต่อบทความ วิพากษ์ไม่เกิน 7 นาที ต่อบทความ และช่วงคำถาม-คำตอบไม่เกิน 5 นาทีต่อบทความ  เวลาค่อนข้างจำกัดสำหรับเวลาในการนำเสนอ ทำให้ยากที่ผู้นำเสนอจะสามารถนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามยังดีที่มีการจัดทำเอกสารประกอบการนำเสนอได้ค่อนข้างดี ผู้วิพากษ์ทำการบ้านมาดีได้อ่านบทความมาก่อนหน้านี้ จึงสามารถวิพากษ์ได้ค่อนข้างดี เป็นประโยชน์ต่อเจ้าของบทความและผู้เข้ารับฟัง

สำหรับผมให้ความสนใจบทความสุดท้าย มากเป็นพิเศษ และดีใจที่ได้มีการวิจัยในประเด็นนี้ จึงขอนำบางส่วนมาเผยแพร่ดังนี้

"ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของทุนมนุษย์เพื่อเผชิญสิ่งท้าทายในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" นำเสนอโดย ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล

บทคัดย่อ

"ทุนที่มีค่าที่สุดของบรรดาทุนทั้งหลายคือ ทุนที่นำมาลงทุนในมนุษย์"  (Alfred Marshall,n.d.อ้างใน Becker,1993) การศึกษาวิจัยนี้เน้นศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับทุนมนุษย์ เพื่อให้ทราบถึงองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยของทุนมนุษย์ โดยได้ศึกษาปัจจัยที่เป็นดัชนีชี้วัดทุนมนุษย์ (Human Capital Index) และนำปัจจัยที่เป็นตัวชี้วัดทุนมนุษย์ตามรายงานเจาะลึกด้านทุนมนุษย์ของ World Economic Forum (2013) ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยอันเป็นเสาหลัก 4 ด้านได้แก่

1.เสาหลักด้านการสึกษา

2.เสาหลักด้านสุขภาพและอยู่ดีมีสุข

3.เสาหลักด้านแรงงานและการจ้างงาน

4.เสาหลักด้านสิ่งแวดล้อมที่ช่วยเสริม

ทั้งนี้ได้นำดัชนีชี้วัดทุนมนุษย์ของประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและข้อมูลจากการศึกษาเอกสารทางวิชาการจากแหล่งอื่นมาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและปัจจัยคุกคาม (SWOT Analysis) ทุนมนุษย์ของไทย ผลการศึกษาพบว่าจุดอ่อนที่รุนแรงที่สุดของทุนมนุษย์ของประเทศไทยได้แก่ ปัจจัยอันเป็นองค์ประกอบของเสาหลักด้านการศึกษาซึ่งถูกจัดลำดับไว้ลำดับที่ 79 ของโลกจากจำนวน 122 ประเทศซึ่งได้รับการจัดลำดับ และอยู่ในอันดับที่ 6 ในประชาคมอาเซียน ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอยุทธศาสตร์เพื่อการปรับปรุงหรือปฎิรูปด้านการศึกษาในหลายมิติ

(คำพูดของ ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล ที่ผมพอใจและเห็นด้วยมากที่สุดได้แก่

"ประเทศไทย มุ่งการศึกษาแต่เราไม่ได้เน้นการสร้างคนให้มีศักยภาพและคุณภาพ"

"ความรู้ในห้องเรียนมีจำกัด ครูสอนตามตำรา ไม่ได้เน้นในการออกไปทำมาหากิน มีอะไรบ้างที่เน้นศักบภาพของความเป็นคน")

คำจำกัดความของทุนมนุษย์

Human Capital :"The most valuable of all is that invested in human beings" (Marshall,Alfred.n.d.quoted in Becker,1993)

ทุนมนุษย์ : สิ่งที่มนุษย์คนหนึ่งมีอยู่ในตัวซึ่งประกอบด้วยความสามารถพิเศษ ทักษะและความสามารถ โดยได้ถูกนำออกมาใช้ให้เกิดผลิตผล (WEF,2013)

ทุนมนุษย์ : สินทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง (Intangible Assets) ของมนุษย์ ซึ่งได้มาจากการศึกษา ความรู้ การฝึกฝนทักษะ ประสบการณ์ ความสามารถพิเศษ เฉพาะตัวหรือพรสวรรค์ที่มนุษย์ได้นำไปใช้ประโยชน์และก่อให้เกิดผลที่มีคุณค่าเพิ่มขึ้นทั้งต่อตัวเอง ต่อองคืกร ต่อสังคม และประเทศชาติโดยรวม

 

ดร.อณัฐชัย รัตตกุล และคณะ 2558


แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 01:39 น.
 


หน้า 307 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8747786

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า