Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านอาเซียนและเอเชียศึกษา

พิมพ์ PDF

ได้รับเชิญจากศูนย์อาเซียนและเอเชียศึกษา สถาบันบันฑิตพัมนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เข้าร่วมประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านอาเซียนและเอเชียศึกษา (ASEAN Expert Forum) เรื่อง " ทิศทางความร่วมมือทางการศึกษาของอาเซียน" ในวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น ณ.ห้องประชุมสิริวัมนภัคดี อาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ผมไปถึงสถานที่ประชุม ก่อนเวลา เจ้าหน้าที่เชิญให้ไปพักในห้องรับรอง ซึ่งอยู่บนชั้นสูงสุดของอาคาร ห้องรับรองสวยมาก นอกเหนือจากนั้นยังสามารถเดินออกไปชมวิวด้านนอกห้องรับรอง มองเห็นวิวทิวทัศน์ของพื้นที่บริเวณใกล้เคียงสวยงานมาก ได้พบ รศ.เมตตา วิวัฒนานุกุล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั่งรับลมเย็นอยู่ด้านนอกเพียงท่านเดียว ได้เข้าไปแนะนำตัว และสนทนากันสักพัก ผมทนไม่ไหวเนื่องจากลมพักมาแรงอากาศหนาวมาก ทั้งๆที่ใส่เสื้อนอก จึงชวน รศ.เมตตา เข้ามาคุยกันในห้องรับรอง สักพักจึงมีผู้เข้าร่วมประชุมท่านอื่นๆทยอยเข้ามาร่วมสนทนาเป็นวงใหญ่ขึ้น  จนถึงเวลาประชุมจึงพากันเข้าห้องประชุม ผมและ  Mr'Lee Chong Hock Deputy Chief of Mission and Minister-Counsellor,The Embassy of Singapore เข้าห้องประชุมเป็นคู่สุดท้ายเนื่องจากยังสนทนาติดพันในเรื่องของการคาดการณ์ในการสร้างคนในอนาคตข้องหน้า

มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 32 ท่าน เป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 ท่านได้แก่
1.Mr.Lee Chong Hock Deputy Chief of Mission and Minister-Counsellor,The Embassy of Singapore
2.Mr.Edgar B.Badajos Minister and Consul General,Philippine Embassy
3.Ms.Nordiana Zin Zawawi Second Secretary,Embassy of Malasia
4.Mr.Pittipong Techo, Information Assistant II,Embassy of Malasia
5.ผศ.ดร. การาดี เลียวไพโรจน์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร C.asean
6.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
7.ว่าที่ ร้อยตรี เสกสรร อานันทศิริเกียรติ ศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8.นายพจน์ หาญพล ผู้อำนวยการกองสังคมและวัฒนธรรม กรมอาเซียน
9.นายมานากรณ์ เมฆประยูรทอง นักการทูตศึกษาชำนาญการพิเศษ กองสังคมและวัณนธรรม กรมอาเซียน
10.นางสาวประภา ทันตศุภารักษ์ นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ สำนักนโยบายความร่วมมือกับต่างประเทศ สภาการศึกษา
11.นางสาวพัชรี กล่อมเมือง ศูนย์ศึกษาอาเซียน คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง
12.นาวาอากาศเอก ภูมิใจ เลขสุนทรากร ผู้อำนวยการกองภูมิภาคศึกษา ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
13.นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา สำนักคณะกรรมการอุดมศึกษา
14.ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ประธานอนุกรรมการด้านทุนมนุษย์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
15.รศ.เมตตา วิวัฒนานุกุล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
16.ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล กรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ กรรมการสภาที่ปรึกษาเศรษกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการหลักสูตรนโยบายสาธารณะและการจัดการ มหาวิทยาลัย เกษมบัณฑิต
17.ผศ.รุจิระ โรจนประภายนต์
18.ดร.ณัฐพร ไทยจงเจริญ อาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
19.ดร.วิษณุ วงศ์สินศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ผู้เข้าร่วม จำนวน 13 ท่าน
1.นางสาวปารณีย์ เทศขยัน เจ้าหน้าที่ฝ่าย AEC และกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
2.นายเหมพัสสิริ หว่างพัน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
3.ดร.ไพศาล การถาง ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
4.ผศ.ดร.อนุพงษ์ อินฟ้าแสง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยธนบุรี
5.คุณอารีรัตน์ จันทรโพธิืศรี อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี
6.รศ.ดร.ธนวดี บุญลือ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสยาม
7.ผศ.สมชาย บุญญบาล มหาวิทยาลัยราชมงคลกรุงเทพ
8.รศ.ดร.อารี พันธ์มณี หัวหน้าสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
9.คุณอรวรรณ ลีลาเกียรติวณิช ผู้ประสานศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี
10.ผศ.อำไพวรรณ ทัพเป็นไทย อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
11.นางสาวอัยนา เจะมะ นักวิเทศสัมพันธ์ กองยุทธศาสตร์ต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎธัญบุรี
12.ดร.คม คัมภิรานนท์ ผู้อำนวยการกิงวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัญฑิตย์
13.คุณสุนีย์ สถาพร ผู้อำนวยการด้านเอกชนสัมันธ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

เปิดประชุมโดย ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมธิการปฎิรูปการเมือง สภาปฎิรูปแห่งชาติ  และ ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนและเอเชียศึกษา

Moderated by Assistant Professor Savitri Gadavanij,Ph.D., Associate Dean for Academic Affairs,Graduate School of Language and Communication,NIDA

Topic of Discussion

Part 1.

 

  • Current Status of Education in ASEAN
  • Lesson Learned from the Bologna Process
  • Free Flow of Education in ASEAN

 

Part 2

 

  • Education Agreement in ASEAN
  • Multiculturalism &Multicultural Education in ASEAN

 

การดำเนินการประชุมใช้ภาษาอังกฤษ ผู้เชี่ยวชาญทุกท่านแสดงความคิดเห็นเป็นภาษาอังกฤษ ยกเว้นผมที่ขอแสดงความคิดเห็นเป็นภาษาไทย เนื่องจากผมเห็นว่าประเด็นที่ประชุมนี้สำคัญต่อภาคการศึกษาของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เวลาที่จะแสดงความคิดเห็นของแต่ละคนน้อยมาก จึงจำเป็นต้องใช้ทักษะการลำดับความสำคัญและนำเสนออย่างชัดเจนในเวลาที่จำกัด สิ่งที่ผมนำเสนอเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีใครคิดถึงและทำความเข้าใจยาก จึงตัดสินใจใช้ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษา่ที่ผมคุ้ยเคยและใช้อยู่เป็นประจำทุกวัน ประกอบกับผู้เข้าร่วมประชุมส่วนมากก็เป็นคนไทย มีต่างชาติเข้าร่วมประชุมไม่กี่คน การนำเสนอเป็นภาษาไทยจะสามารถสื่อสารให้เกิดความเข้าใจได้มากกว่า ทั้งคุณภาพและปริมาณผู้รับฟัง โดยให้ผู้ดำเนินรายการสรุปเป็นภาษาอังกฤษให้ต่างชาติฟัง ถึงแม้นการสรุปจะไม่ครบเต็มตามที่ผมนำเสนอ ก็ไม่สำคัญเท่ากับการที่ผมสามารถสื่อสารให้กับคนไทยที่เข้าร่วมประชุมเข้าใจประเด็นการนำเสนอของผมได้มากกว่า
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
7 กุมภาพันธ์ 2558



แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 22:35 น.
 

การศึกษาอาจจบลงในมหาวิทยาลัยแต่การเรียนรู้จะต้องดำเนินต่อไปตลอดชีวิต

พิมพ์ PDF

วันนี้ขอนำ คาถาชีวิต โดยท่าน ว.วชิรเมธี หัวข้อ "การศึกษาอาจจบลงในมหาวิทยาลัย แต่การเรียนรู้จะต้องดำเนินต่อไปตลอดชีวิต" มาเป็นประเด็น

 

เวลาที่นักศึกษาเรียนจบ เรามักเรียกว่า "สำเร็จการศึกษา" หมายความว่า สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรที่ทางสถาบันการศึกษาวางเอาไว้เท่านั้น คนที่สำเร็จการศึกษาอย่างที่กล่าวมานี้ไม่ใช่ผู้ที่รอบรู้ไปเสียทุกเรื่อง เขารู้เพียงบางเรื่องเท่านั้นเอง ยังมีเรื่องที่น่ารู้อีกมากมายที่พวกเขาควรรู้หรือที่ยังไม่รู้ ดังนั้น คนที่สำเร็จการศึกษาจึงไม่ควรลำพองใจว่า ตนเป็นผู้รู้แล้ว หรือตนเป็นกูรูชั้นยอดของวงการแล้ว โลกของเรานั้นกว้างใหญ่ไพศาลนัก ภูมิรู้ภูมิปัญญาของโลกก็มีมากมายหลายสาขานับอเนกอนันต์ ทั้งยังมีภูมิปัญญาใหม่ๆ ผุดพรายเพิ่มขึ้นมาทุกทิวาราตรี ใครขืนลำพองว่าตนรู้แจ้งเจนจบ ก็นับว่ากำลังล้าหลังลงทุกทีที่คิดเช่นนั้น วิธีการที่ดีที่สุดที่จะอยู่ในโลกนี้อย่างมีความสุขและความก้าวหน้าก็คือ การเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า เรายังรู้ไม่พอ เรายังไม่เก่งจริง เรายังไม่ใช่นักปราชญ์ราชบัณฑิตสูงสุด เราเป็นแต่เพียงนักเรียนตัวน้อยๆของมหาวิทยาลัยชีวิตเท่านั้น คนที่มีทัศนคติอย่างนี้ เขาจะเบิกบานกับการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต และยิ่งเรียนรู้ ก็จะยิ่งมีปัญญาสว่างไสวกลายเป็นปัญญาชนที่แท้จริงขึ้นมาในวันหนึ่งข้างหน้า

ที่ยกหัวข้อนี้มาเผยแพร่ในวันนี้ เนื่องจากต้องการนำบทความนี้มาสนับสนุนสิ่งที่ผมพูดอยู่เสมอว่าอย่าคิดว่าเด็กไทยหรือคนไทยสมัยนี้ไม่มีคุณภาพ จบปริญญาออกมามากมาย แต่ไม่มีคุณภาพ และมัวไปโทษผู้บริหารการศึกษา เสียเวลาพูดและถกกันมากมายหลายเวทีจะแก้ไขระบบการศึกษา ความรู้ในห้องเรียนมีเพียง 20 % ของความรู้ทั้งหมดที่คนเราเรียนรู้ แต่เราไปมัวหมกมุ่นกับความพยายามจัดการกับการศึกษาในระบบที่ให้ความรู้คนได้มากที่สุด 20 % และใช้วิธีประเมินคุณค่าหรือคุณภาพของคนจากความรู้แค่ 20% ส่วนความรู้อีก 80% ของคนไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการประเมินคุณภาพและคุณค่าของคน

ผมยังมีความเชื่อว่าคนทุกคนมีศักยภาพ และมีความสามารถ เพียงแต่เขาขาดโอกาสในการที่จะทำให้เขาค้นพบศักยภาพของตัวเขาเอง หรือบางคนสามารถค้นพบตัวเอง รู้ศักยภาพของตัวเอง แต่ขาดโอกาสที่จะใช้ศักยภาพของเขา ความล้มเหลวจึงอยู่ที่ระบบการประเมิน เครื่องมือและวิธีวัดคุณภาพคน และคุณค่าของคน ไม่ใช่ว่าคนไทยด้อยกว่าคนชาติอื่น

นี่คือสิ่งที่มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์กำลังดำเนินการอยู่ เราจัดตั้งมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ขึ้นมาเพื่อให้เป็นมูลนิธิฯของคนไทยทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม สามารถเป็นเจ้าของมูลนิธิฯ มูลนิธิฯเป็นเวทีของคนไทย เพื่อใช้เวทีนี้ในการเรียนรู้ มาเรียนรู้ร่วมกัน มาร่วมกันเป็นผู้ให้และเป็นผู้รับ มาร่วมทำกิจกรรมเพื่อต่อยอดสร้างความรู้ ปัญญา ความมั่นคง อย่างยั่งยืนให้กับตัวเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
3 กุมภาพันธ์ 2558

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 03 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 10:39 น.
 

การศึกษา คือ การ (ตื่นขึ้นมา) รู้จักตัวเอง

พิมพ์ PDF

ขอนำคาถาชีวิต ของท่าน ว.วชิรเมธี ที่ลงเผยแพร่ในหนังสือ " คาถาชีวิต 2" เรื่อง การศึกษา คือ การ (ตื่นขึ้นมา) รู้จักตัวเอง"

การศึกษาไม่ควรจะมีความหมายอย่างตื้นเขินว่า ได้แก่การเรียนสรรพวิชาในมหาวิทยาลัยจนได้ปริญญาสาขาใดสาขาหนึ่งเท่านั้น แต่คำว่า"การศึกษา" ควรจะมีความหมายที่กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งไปกว่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษา ควรจะหมายความว่า กระบวนการที่จะทำให้คนรู้จักตัวเองอย่างแท้จริง จนกระทั่งสามารถที่จะ "ดูตัวเองออก บอกตัวเองได้ ใช้ตัวเองเป็น เห็นตัวเองชัด จัดวางตัวเองถูก"อันสอดคล้องตามคำนิยามในภาษาบาลีที่ว่า (ขอโทษที่แป้นพิมพ์ไม่มีอักษรบาลี จึงไม่สามารถพิมพ์ได้) แปลว่า"การศึกษา หมายความว่า การ (ตื่นขึ้นมา) รู้จักตัวเอง" ระบบการศึกษาใดก็ตาม ที่ทำให้คนไม่รู้จักตัวเอง ว่าเราเป็นใคร (Who are you?) เกิดมาในโลกนี้ทำไม (What are you looking for ?) จึงยังไม่ใช่ระบบการศึกษาที่ดีพอ

สาเหตุที่ผมนำคาถาชีวิตนี้มาลง เนื่องจาก ผมได้พูดเรื่องนี้มานานแล้ว ในเวทีต่างๆ โดยล่าสุดได้พูดที่เวทีปฎิรูปการศึกษา ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ ในแผนเป้าหมายของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ก็ได้ย้ำว่า ภาระหน้าที่ของมูลนิธิในการบูรณาการพัฒนามนุษย์ สำหรับเด็กในช่วงที่เป็นนักศึกษา เราจะต้องพยายามที่จะทำให้นักเรียนชั้น ม.3 รู้จักตัวเอง ค้นพบตัวเอง และการวัดคุณภาพการศึกษาไทยในระดับมัธยมศึกษาควรวัดที่ความสามารถของการศึกษาในระบบสามารถทำให้เด็กจบการศึกษาระดับมัธยมต้น สามารถค้นพบตัวเอง รู้จักตัวเอง
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
2 ก.พ.2558

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 03 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 11:21 น.
 

ร่างแผนปฏิบัติการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพของประเทศ พ.ศ.2558 - 2560.

พิมพ์ PDF

วันที่ 26 มกราคม 2558 เข้าร่วมประชุม "ร่างแผนปฎิบัติการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพของประเทศ พ.ศ.2558-2560 โดยกรมการท่องเที่ยว และ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นเวทีประชุมกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง มีผู้ให้ความร่วมมือเข้าประชุมเต็มจำนวน หลังจากรับฟังการนำเสนอผลที่ได้จากเจ้าของโครงการ มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นหลากหลาย แต่จบเรื่องที่เรื่องคน ทั้งหมดที่กล่าวอยู่ที่คนทั้งสิ้น ถ้าคนที่เกี่ยวข้องไม่เข้าใจในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างแท้จริง ผู้นำชุมชน และผู้เกี่ยวข้องในแหล่งท่องเที่ยวขาดจิตสำนึก ขาดทัศนคติ และจิตวิญญาณที่ดี ก็จะไม่สามารถทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพได้

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 30 มกราคม 2015 เวลา 23:08 น.
 

เราจะส่งเสริมให้นักลงทุนให้ความสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์ได้อย่างไร.

พิมพ์ PDF

คน เป็น ทรัพย์สิน (Asset) มีสภาพ เป็นทุน (Human Capital) สำคัญต่อ การบริหารและการสร้างคุณค่า (Value Creation) ให้กับองค์กร

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ประธานคณะอนุกรรมการทุนมนุษย์ และรองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการและนโยบายการลงทุน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ นำคณะประกอบด้วย ดร.นพดล ปิยะตระภูมิ รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ Prof.Dr.Walter Jamieson,Director Collage of Innovation ดร.คงศักย์ ล้อเลิศรัตนะ คุณกิตติพงษ์ ภูริกิตติ เข้าประชุมหารือกับ ผู้อำนวยการ ยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ผู้อำนวยการปริเยศ และคุณอุทัยวรรณ BOI ถึงแนวทางการให้การส่งเสริมการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์กับผู้ประกอบการ SMEs เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2558

ข้อสังเกตต่อนโยบายส่งเสริมการลงทุนกรณีการพัฒนาทุนมนุษย์ 

1.—นโยบายการส่งเสริมการลงทุนมุ่งเน้นที่ 

การฝึกอบรมขั้นสูง การค้นคว้าวิจัยขั้นสูง

การสนับสนุนศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะทางที่มุ่งเน้นวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี่

การออกแบบผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์

2.—การส่งเสริมการลงทุนไม่มีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระดับความรู้ เช่นจากระดับการศึกษาช่างเทคนิค ไปสู่การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย หรือสูงกว่า 

3.—การพัฒนาความรู้ทั่วไป และการพัฒนาความรู้ขณะทำงานถูกละเลยจากนโยบาย

4.—วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอาจไม่มีกำลังทรัพยากรเพียงพอในการวิจัยขั้นสูง ทำให้ไม่ได้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม

5.—การให้ความรู้และอบรมพื้นฐานเป็นประโยชน์โดยตรงต่อกิจการแต่ไม่ได้รับการส่งเสริม

การพัฒนาทุนมนุษย์ในประเทศไทยจะไปในทิศทางใด ?

Going Up or Going Down

เราจะส่งเสริมให้นักลงทุนให้ความสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์ได้อย่างไร

คน เป็น ทรัพย์สิน (Asset) มีสภาพ

เป็นทุน (Human Capital) สำคัญต่อ

การบริหารและการสร้างคุณค่า (Value Creation) ให้กับองค์กร

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 30 มกราคม 2015 เวลา 23:03 น.
 


หน้า 308 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8747781

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า