Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

Seminar on “Integrated Management Capacity Building for ASEAN Community”

พิมพ์ PDF

Seminar on "Integrated Management Capacity Building for ASEAN Community"

Tourism and Sport Organization Network Integrated Management Development Project for Entering ASEAN Community On January 20-23, 2015 At Lanna civilization and the northern tourism cluster Venue: Wiang Inn Hotel, Chiang Rai, Thailand

According to thestrategicplandevelopment on 2013-2018 to development of Thailand's framework by providing vital links of AEC. Ministry of Tourism and Sports was assigned to mobilize strategies for enhancing the competitiveness for Thailand tourism and services. And to stimulate all parties are aware of the development of the quality of products, services and managed in all dimensions. So, this is an important driver mechanism of Thai tourism and sports to support AEC. And led to the development of research capacity in "Development of integration management for tourism and sports network project to support AEC"

The discovery of the key issues is the development of human capital among the stakeholders in the tourism and sport section to have the knowledge and ability to be ready for the opening of the AECThis has led to the preparation of guidelines to promote knowledge of integration for tourism and sports project to support AEC (Phase 1).

Subsequently,the project is to disseminate knowledge of the tourism and sport integrated into 4 groups. The group consists of;

1. G overnment sector.

2. Private sector.

3. I nstitutions, experts, scholars.

4. L ocal communities and residents of 700 people in the Northern provinces: Northeast, Lower, South East, Coast East which the timeframe of 6 months in 2013.

The project in Phase 1 has been received the comments from many sectors that we should be operated continuously to develop Development of integration management for tourism and sports network project to support AEC because the driven human capital development should be extensive in all provinces of Thailand and we should create continuity to the sustainable developmentThrough a culture of lifelong learning with the learning on "process how to learn"

For this reason, it is essential to the continued development of human capital. The Policy and Strategy, Ministry of Tourism and Sports is to organize "Development of integration management for tourism and sports network project to support AEC" to focus on strengthen of social basis for stability and sustainable. To support for competitive of capacity building's to be recognized internationally. To focus on the achievement of the people gets the opportunity to access resources equally. Create a competitive edge to be ready for the opening of the AEC. To supports thelocal community's strengthening. And to realize and preparation of changes and finally, people can involve and get benefit on management development.

In addition, the provincial office of Tourism and Sport is responsiblefor promoting and supporting the cognition awareness of human development at the center of economy for local government, enterprise networks, people and other agencies which operating in the field of sports and recreation in the area of the province.

For this reasons, it is urgently required in the preparation of the relevant agencies, both public and private sectorEntrepreneurs in the tourism and sport dimension to know about the opportunities and obstacles that will occur when the liberalization of trade in services of AEC.

Officeof Policy and Strategy, Ministry of Tourism and Sports is to organize "Development of integration management for tourism and sports network project to support AEC" to support and promote knowledge on Thai tourism and Thai sports. And to develop the knowledge and understanding of the direction of Thai tourism and Thai sport into AEC for enterprises and entrepreneurs. To support skills and professional practice in all sector. And create a guideline on implementation of Thai tourism and sports. The faculty advisor of The Suan Sunandha Rajabhat University and the Foundation for International Human Resource Development are responsible for implementing this project.

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/584135

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม 2015 เวลา 10:48 น.
 

ปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พิมพ์ PDF

ปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน[*]

วิจารณ์ พานิช

…………..

ขอแสดงความชื่นชมและให้กำลังใจสมาชิกของ สพฐ. ที่ดำเนินการเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่เรียกว่าการปฏิรูประบบการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศ จากระบบแห่งศตวรรษที่ ๒๐ (หรือ ๑๙) มาเป็นระบบแห่งศตวรรษที่ ๒๑

เพื่อร่วมให้ข้อคิดเห็น สำหรับ กพฐ./สพฐ. นำไปพิจารณาดำเนินการปรับปรุงวิธีการทำงานของ สพฐ. เพื่อบรรลุเป้าหมาย การยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับพื้นฐานของประเทศ ขอเสนอแนะใน ๘ ประเด็น ดังต่อไปนี้

  • 1.ชัดเจนแน่วแน่ในเป้าหมาย และยุทธศาสตร์
  • 2.ลดขนาดของหน่วยงานกลาง
  • 3.สพฐ. ลดการควบคุมสั่งการ เปลี่ยนไปทำงานแบบเอื้ออำนาจ (empowerment)
  • 4.มอบความเป็นอิสระ และความรับผิดรับชอบให้แก่โรงเรียน
  • 5.พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ และรูปแบบการประเมินแนวใหม่จากห้องเรียนไทย
  • 6.พัฒนาครู และระบบตอบแทนครูแนวใหม่
  • 7.การวิจัยระบบการศึกษา
  • 8.ระบบสารสนเทศการศึกษาที่สนองการใช้ประโยชน์สาธารณะ

เป้าหมายและยุทธศาสตร์ของการจัดการระบบการศึกษา

ต้องแน่วแน่ว่าเป้าหมายคือผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ ไม่เฉไฉอย่างที่ผ่านมา ๑๖ ปี และยุทธศาสตร์ ในการบรรลุเป้าหมายคือ การเรียนรู้แบบที่ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือทำและคิด (active learning & reflection) ไม่ใช่การสอนแบบถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูปอย่างที่ทำกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ต้องเป็นการเรียนรู้และพัฒนาการรอบด้าน ที่เรียกว่า 21st Century Skills หรือ multiple intelligence หรือ Chickering's 7 vectors ไม่ใช่ผลสัมฤทธิ์เฉพาะด้านเรียนรู้วิชา และต้องไม่ใช่สอน เพื่อสอบ แต่เป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการครบด้านของผู้เรียน

พัฒนาการที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ทักษะและฉันทะในการเรียนรู้ (learning skills) ที่จะสามารถเรียนรู้ได้ ในทุกกิจกรรมในการดำเนินชีวิต ซึ่งก็คือมิติของการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั่นเอง

ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ต้องบรรลุในระดับ "รู้จริง" (mastery learning) ของผู้เรียนทุกคน รวมทั้งนักเรียนที่สมองช้าด้วย ครูและผู้บริหารการศึกษาไทยต้องไม่หลงเอาใจใส่เฉพาะเด็กเก่งจำนวนน้อย อย่างในปัจจุบัน ต้องไม่ละทิ้งเด็กส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่เด็กเรียนเก่ง ต้องมีความเชื่อว่า เด็กที่สมองธรรมดาๆ สามารถเรียนแล้วบรรลุสภาพรู้จริงได้ทุกคน และดำเนินการให้เด็กเหล่านี้บรรลุผลสัมฤทธิ์ การเรียนรู้ แบบรู้จริงทุกคน (ย้ำคำว่าทุกคน) มีตัวอย่างที่ประเทศฟินแลนด์ เป็นต้น

ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในทุกระดับ ต้องบรรลุ Transformative Learning ซึ่งหมายถึง (๑) เกิดการพัฒนา มิติด้านภาวะผู้นำ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ร่วมกับคนอื่น กล้าคิดนอกกรอบ (๒) บรรลุผลการเรียนรู้ในระดับ เปลี่ยนแปลงตนเอง เปลี่ยนกรอบความคิด/กระบวนทัศน์ ซึ่งส่วนหนึ่งคือ เปลี่ยนจากสัญชาตญาณสัตว์ ไปสู่ มนุษย์ผู้มีจิตใจประเสริฐ ซึ่งก็โยงไปสู่ผลลัพธ์ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ในมิติทักษะชีวิต

เป้าหมายและยุทธศาสตร์ นอกจากมุ่งที่ผู้เรียนแล้ว ควรมุ่งที่ตัวระบบเองด้วย ที่ต้องเป็น "ระบบที่เรียนรู้" (Learning Systems) มีการสร้างข้อมูล/สารสนเทศ/ความรู้ เพื่อการเปลี่ยนแปลงตัวระบบเอง ระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน ขาดมิติด้าน Learning Systems ซึ่งส่วนหนึ่งคือ สถาบันวิจัยระบบการศึกษา

ลดขนาดของหน่วยงานกลาง

นี่คือความเจ็บปวด (pain) ที่ต้องเผชิญและยอมรับ หากหลีกเลี่ยงหรือไม่อดทนต่อความเจ็บปวด ก็จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้

หน่วยงานกลางต้องเปลี่ยนไปเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายจัดการ/บริหารการศึกษา ของประเทศ เปลี่ยนจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจสั่งการ ไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบเครือข่าย ที่มีการเชื่อมโยงสื่อสาร สองทาง/หลายทาง อย่างซับซ้อน เป็นความสัมพันธ์แนวราบ เกิดการปรับตัวด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีใครมาสั่ง คือทุกส่วนของเครือข่าย ต้องมีความรับผิดรับชอบ (Accountability) และมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจ ด้วยตนเอง (Autonomy) เพื่อเป้าหมายในหัวข้อแรก

นั่นคือ หน่วยงานกลางต้องไม่เพียงลดขนาด ต้องเปลี่ยนบทบาทด้วย ซึ่งหมายความว่า ต้องพัฒนาทักษะใหม่สำหรับใช้ในการทำงานตามบทบาทใหม่นี้ เรื่องนี้ยืดยาวและซับซ้อนเกินกว่าจะเขียน ลงในพื้นที่ ๓ หน้ากระดาษ

ระบบการศึกษา มีธรรมชาติเป็นระบบที่เรียนรู้และปรับตัว (Complex-Adaptive Systems) ต้องไม่บริหารหรือจัดการแบบ Simple, Command and Control System อย่างที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน

ลดการทำงานแบบควบคุมสั่งการ เปลี่ยนเป็นทำงานแบบเอื้ออำนาจ

การทำงานแบบควบคุมสั่งการเป็นระบบแห่งอดีต (ศตวรรษที่ ๒๐ - ๑๘) และเป็นระบบที่ปิดกั้น ความริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติตามปกติของมนุษย์ ทำให้ครูไม่มีโอกาสฝึกความริเริ่มสร้างสรรค์ กลายเป็นคนที่ทำงานแบบรอรับคำสั่ง ขาดภาวะผู้นำ นานเข้ากลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร และวัฒนธรรมวิชาชีพ เป็นโรคระบาดไปสู่นักเรียน ที่ไม่ได้ฝึกฝนภาวะผู้นำ

ต้องขจัดระบบการทำงานที่ลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของครูโดยเร่งด่วน ซึ่งจะช่วยให้ครูพัฒนา คุณสมบัติความริเริ่มสร้างสรรค์ และภาวะผู้นำ ของตนเอง สำหรับนำไปใช้ปลูกฝังความริเริ่มสร้างสรรค์ และภาวะผู้นำ ให้แก่ศิษย์

การทำงานแบบอำนาจรวมศูนย์ เป็นบ่อเกิดของความฉ้อฉลชั่วร้าย ที่วงการศึกษาไทยกำลังเผชิญอยู่

มอบความเป็นอิสระและความรับผิดรับชอบให้แก่โรงเรียน

ระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันใช้เงินมาก แต่ผลสัมฤทธิ์น้อย เป็นความล้มเหลวของระบบ แต่ไม่มีใครรับผิดชอบ สภาพเช่นนี้รังแต่จะก่อหายนะแก่ประเทศ และนำมาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อเสียง ของคนในวงการศึกษา หมดศักดิ์ศรี ผู้คนไม่ให้ความยอมรับนับถือ มีหลักฐานมากมายที่คนมีเงิน ส่งลูกเข้าเรียนในต่างประเทศ หรือในโรงเรียนที่ไม่ใช่ของรัฐบาล

ทางแก้คือต้องให้โรงเรียนมีอำนาจตัดสินใจในการดำเนินการเพื่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ของนักเรียน ของตนเอง (Autonomy) รวมทั้งให้ต้องรับผิดรับชอบ (Accountability) โดยความร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ ในพื้นที่/ชุมชน และในประเทศ ซึ่งอาจรวมทั้งความร่วมมือต่างประเทศ ภายใต้การกำกับดูแลที่ผลลัพธ์และ ความโปร่งใส

ในระยะแรก ควรกำหนดเกณฑ์โรงเรียนที่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะสมัครเข้ารับการคัดเลือกให้เป็น โรงเรียนนิติบุคคล รวมทั้งกำหนดเกณฑ์ในการกำกับดูแลแบบเอื้ออำนาจ (Empowerment) ซึ่ง สพฐ. เองก็ต้องเรียนรู้ทักษะนี้

โรงเรียนนิติบุคคล ต้องสามารถตัดสินใจเรื่องการบริหารงานบุคคล (hire and fire, promotion) การบริหารการเงิน การพัสดุ และการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้ ภายใต้ระบบกำกับดูแลโดยคณะกรรมการ โรงเรียน และกำกับดูแลแบบเอื้ออำนาจ โดย สพฐ.

พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ และรูปแบบการประเมินแนวใหม่จากห้องเรียนไทย

ห้องเรียน และโรงเรียน ต้องไม่ใช่เป็นแค่ที่จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบในตำรา หรือที่เอาตัวอย่างมาจาก ต่างประเทศ แต่ต้องเป็นที่พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ และรูปแบบการประเมินแนวใหม่จากการปฏิบัติของครู ที่มีการริเริ่มสร้างสรรค์ทดลองรูปแบบวิธีการใหม่ๆ จนในที่สุดอาจเกิดทฤษฎีใหม่ ด้านการเรียนรู้ ในบริบทไทย

นั่นคือ ห้องเรียนต้องเป็นที่เรียนรู้ห้าระดับ คือระดับนักเรียน ระดับครู ระดับโรงเรียน ระดับวงการ ศึกษาของประเทศ และระดับทฤษฎีว่าด้วยการเรียนรู้ (รวมทั้งการประเมิน)

นั่นคือ ระบบการศึกษาไทย ไม่ใช่แค่ผลิตนักเรียนที่เรียนผ่าน ได้รับประกาศนียบัตร/ปริญญา ได้รับผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กล่าวในหัวข้อแรกเท่านั้น ต้องเป็นที่พัฒนาครู พัฒนาตัวโรงเรียน และพัฒนาบทบาทของฝ่ายต่างๆ ที่เป็นภาคีของระบบการศึกษาด้วย

หากถือตามคุณมีชัย วีระไวทยะ โรงเรียนต้องเป็นแหล่งพัฒนาทักษะการทำมาหากิน (ธุรกิจ) ทั้งของนักเรียน ครู และประชาชนในพื้นที่โดยรอบ ถือเป็นส่วนหนึ่งของทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

การประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ควรเป็นความรับผิดชอบของครู และโรงเรียน ไม่ใช่ยกไปให้หน่วยประเมินกลางอย่างในปัจจุบัน โดย สพฐ. ทำหน้าที่ส่งเสริมช่วยเหลือให้ครู และโรงเรียนประเมินได้แม่นยำ และซื่อสัตย์

พัฒนาครู และระบบตอบแทนครูแนวใหม่

ระบบการพัฒนาครูประจำการ และการตอบแทนครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการเลื่อนวิทยฐานะครู ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นเหตุสู่ความเสื่อมของศักดิ์ศรีครู และของวงการศึกษาไทย

เพราะเป็นระบบที่ไม่นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีคุณภาพ และนำไปสู่ความฉ้อฉล เสื่อมโทรมศีลธรรมในวงการศึกษา

ระบบที่ต้องจัดใหม่ คือการพัฒนาครูจากการปฏิบัติงานเป็นตัวหลัก ให้การทำงานโค้ชการเรียนรู้ ของศิษย์ เป็นกระบวนการเรียนรู้ของครูด้วย ให้ครูได้เรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติหน้าที่เป็นกิจวัตรประจำวัน และถือเวลาเรียนรู้ร่วมกันของครูเป็นเวลาปฏิบัติงาน รวมทั้งครูใหญ่หรือผู้อำนวยการต้องเป็นหัวหน้าหรือ ผู้นำการเรียนรู้นี้ ที่เรียกว่า PLC (Professional Learning Community) ผมได้เขียนเรื่องนี้ไว้โดยละเอียดใน บล็อก ชุด บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้

ย้ำว่า การพัฒนาครูประจำการ ต้องเน้นการพัฒนาแบบ Learning หรือ School-based ไม่ใช่เน้น Training หรือ Hotel-based อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยอาจจะจัดสรรทรัพยากรสนับสนุนการพัฒนาครูทั้งสองแบบ ในสัดส่วน ๘๐ : ๒๐ หรือ ๙๐ : ๑๐

การพัฒนาครูประจำการแบบ School-based ดังกล่าวจะมีผลดีโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ ของนักเรียน และมีผลดีต่อการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ตามหัวข้อที่แล้ว

การวิจัยระบบการศึกษา

นี่คืออาวุธสำคัญสำหรับ สพฐ. ในรูปแบบใหม่จะใช้ในการทำหน้าที่ ผมมีความเห็นว่า ประเทศไทยควรออกพระราชบัญญัติจัดตั้งหน่วยงานใหม่ที่เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐ ทำหน้าที่ จัดการงานวิจัยระบบการศึกษา สำหรับใช้สร้างความรู้เชิงระบบ เพื่อนำมาขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง หรือการพัฒนา ของระบบการศึกษา ผมจะขอเรียกชื่อย่อว่า สวรศ. (สถาบันวิจัยระบบการศึกษา)

สพฐ. ใหม่ จะต้องเป็นภาคีที่แนบแน่นกับ สวรศ. โดย สพฐ. เป็นทั้ง "ผู้ใช้" ผลงานวิจัย และเป็นผู้ตั้งโจทย์วิจัย รวมทั้งจัดหาทุนวิจัยมาให้ สวรศ. ดำเนินการ หรือหาทีมนักวิจัยที่มีฝีมือสูงมาดำเนินการ

การวิจัยระบบการศึกษา จะเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้ระบบการศึกษาเป็นระบบที่เรียนรู้ และปรับตัว

ระบบสารสนเทศการศึกษาที่สนองการใช้ประโยชน์สาธารณะ

ระบบสารสนเทศในปัจจุบันมีพลังมาก และจะยิ่งทรงพลังยิ่งขึ้นในอนาคต แต่ระบบการศึกษาไทย ยังไม่ได้นำมาใช้อย่างจริงจัง และอย่างเป็นระบบ มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่

เป้าหมายของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ต้องใช้เพื่อ (๑) อำนวยความสะดวกการเรียนรู้ ทั้งในห้องเรียนและในการฝึกฝน หรือทำกิจกรรมนอกห้องเรียน ทั้งของนักเรียน และของครู (๒) การบริหารทรัพยากรเพื่อการศึกษา (๓) การเรียนรู้เชิงระบบ หรือการวิจัยระบบการศึกษา และ (๔) การเปิดเผยข้อมูลแก่สาธารณชน ให้มีโอกาสเลือกเรียนในสถานศึกษาที่มีคุณภาพเป็นที่พอใจ รวมทั้งเป็นกลไกกำกับระบบการศึกษาโดยสาธารณชน คือทำให้ระบบการศึกษาเป็นระบบที่โปร่งใส ตรวจสอบได้โดยสาธารณชน ซึ่งจะเป็นการสร้างเกียรติภูมิให้แก่วงการศึกษาในระยะยาว

กระผมขอแสดงความชื่นชมอีกครั้งหนึ่ง ต่อ กพฐ./สพฐ. ในการริเริ่มจัดการประชุมระดมความคิด เพื่อการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานในครั้งนี้ กระผมเสียดายมาก ที่ไม่สามารถเข้าร่วมได้ เพราะติดภารกิจของ การประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล จึงเร่งเขียนข้อเสนอนี้มาร่วม ด้วยความหวังว่า จะมีการ ดำเนินการอย่างจริงจัง ไม่กลัวความเจ็บปวดในระยะแรก โดยกระผมเชื่อว่าการดำเนินการปฏิรูปอย่างได้ผล นอกจากจะก่อคุณูปการต่อคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาแล้ว ยังจะเรียกเกียรติภูมิของวงการศึกษาไทย กลับคืนมาด้วย

…………………………………………


[*] เสนอในการประชุมเสวนาระดมความคิด เรื่องการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดโดย สพฐ. วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๘

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/584476

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม 2015 เวลา 11:06 น.
 

​สอนอย่างมือชั้นครู :๒๘. ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด

พิมพ์ PDF

บันทึกชุด "สอนอย่างมือชั้นครู" ๓๕ ตอน ชุดนี้ ตีความจากหนังสือ Teaching at Its Best : A Research-Based Resource for College Instructors เขียนโดย Linda B. Nilson ซึ่งเป็นฉบับพิมพ์ปรับปรุงครั้งที่ ๓ ผมขอเสนอให้อาจารย์ในสถาบันการศึกษาไทยทุกคน หาหนังสือเล่มนี้อ่านเอง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เพราะหากติดตามอ่านจากบันทึกใน บล็อก ของผม ซึ่งลงสัปดาห์ละตอน จะใช้เวลากว่าครึ่งปี และการอ่านบันทึกของผมจะแตกต่างจากการอ่านฉบับแปล หรืออ่านจากต้นฉบับโดยตรง เพราะบันทึกของผมเขียนแบบตีความ ไม่ได้ครอบคลุมสาระทั้งหมดในหนังสือ

ตอนที่ ๒๘ นี้ ตีความจาก Part Five : Making Learning Easier มี ๕ บท ตอนที่ ๒๘ ตีความจากบทที่ 27. Using Instructional Technology Wisely

สรุปได้ว่าเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีทั้งที่เป็น โลว์เทค และไฮเทค สามารถเลือกใช้ให้เหมาะแก่สถานการณ์ เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการเรียนรู้แบบรู้จริง และสนุกสนาน จุดสำคัญคืออย่าหลงเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายที่แท้จริง คือการเรียนรู้

การสอนที่ดีที่สุดหมายถึง การใช้เครื่องมืออะไรก็ได้ ที่ทำให้ศิษย์เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ ที่ดีที่สุด และช่วยให้นักศึกษาที่มีสไตล์การเรียนรู้ที่แตกต่างกันได้เรียนรู้ เกิดผลเรียนรู้จริง (mastery learning) เท่าเทียมกัน


เครื่องมือ โลว์เทค ที่ใช้การได้ดี

เครื่องมือโลว์เทคใช้กันมานาน และได้ผลดี ได้แก่


กระดานเขียน

สมัยก่อนเป็นกระดานดำกับชอล์ก สมัยนี้เป็นกระดานขาว เขียนด้วยปากกาหลากสี การที่อาจารย์เขียนบนกระดานระหว่างสอน มีประโยชน์สำคัญสองอย่าง ที่อาจารย์มักละเลย คือ (๑) ช่วยให้อาจารย์ลดความเร็วในการสอนลง ช่วยให้นักศึกษาติดตามได้ง่ายขึ้น (๒) ระหว่างเขียนไปด้วยและอธิบายไปด้วย เป็นกระบวนการให้นักศึกษาติดตามขั้นตอนความคิดได้โดยง่าย

ผู้เขียนให้คำแนะนำวิธีใช้กระดานอย่างชาญฉลาดดังต่อไปนี้

  • เขียนอย่างประณีต ตัวอักษรโต พอที่นักศึกษาจะเห็นได้ทั้งชั้น ระมัดระวังเขียนตัวสะกดการันต์ให้ถูกต้อง
  • ใช้ชอล์ก หรือปากกาเส้นหนา
  • ใช้ชอล์กหรือปากกาต่างสี เพื่อช่วยความเข้าใจ
  • เขียนมาก่อนชั้นเรียน เพื่อประหยัดเวลา
  • เขียนโครงร่าง ไม่ใช่เขียนรายละเอียด
  • ใช้กระดานเป็นเครื่องมือจัดระบบความคิด (organization tool) โดยเขียนจากซ้ายไปขวา ให้หมายเลขประด็น แยกประเด็นด้วยเส้นแบ่ง หรือช่องว่าง ใช้เส้นเชื่อมโยงประเด็น ขีดเส้นใต้เทอมใหม่ ฯลฯ
  • ฝึกเขียน โดยหันไปพูดกับนักเรียนในชั้น เพื่อไม่ให้อาจารย์หันหลังให้ชั้นเรียนเป็นระยะเวลา นานๆ ที่สำคัญอย่าเขียนด้วยมือขวา แล้วใช้มือซ้ายลบตาม ฝึกมีการสบตากับนักศึกษา ในช่วงเวลาดังกล่าว
  • หมั่นถามนักศึกษาว่ามองเห็นกระดานชัดเจนหรือไม่
  • ใช้การเขียนกระดาน กับการให้คำอธิบายให้ประสานเชื่อมโยงกัน
  • ใช้กระดาน บันทึกผลการอภิปราย และการโต้ตอบของนักศึกษา
  • ก่อนลบกระดาน ถามนักศึกษาว่าลบได้แล้วใช่ไหม
  • ให้นักศึกษามาอธิบายแก่เพื่อน โดยใช้กระดานช่วย
  • อย่าแต่งกายสีเข้ม ในวันที่จะสอนโดยใช้กระดานเป็นเวลานาน เพราะจะเปื้อนชอล์ก


ฟลิปชาร์ต

ฟลิปชาร์ตใช้มากในการประชุม ในห้องเรียนใช้น้อย แต่หากเป็นชั้นเรียนขนาดเล็ก หรือมีการแบ่งกลุ่มย่อย ฟลิปชาร์ตมีประโยชน์หลายอย่าง ที่สำคัญคือเมื่อเขียนและใช้อธิบายแล้ว สามารถนำไปติดแสดง หรือใช้เป็นเอกสารเก็บไว้ใช้ทำความเข้าใจพัฒนาการของการเรียนรู้ในชั้นเรียน

อาจารย์อาจใช้ฟลิปชาร์ต โดยเขียนโครงร่างมาก่อน มาเติมรายละเอียดและอธิบายไปพร้อมๆ กันในชั้นเรียน


เครื่องฉายแผ่นใสข้ามศีรษะและเครื่องฉายแผ่นทึบ

สามารถใช้ฉายภาพหลากหลายชนิดขึ้นจอ ประกอบคำอธิบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพ concept map, mind map และสื่อสายตาอย่างอื่นตามที่ระบุในตอนที่แล้ว มีคำแนะนำวิธีใช้ ดังต่อไปนี้

  • สาระในแต่ละแผ่นให้มีเพียงหลักการ (concept) เดียว และให้ดูง่าย ไม่ซับซ้อน
  • ใช้คำหลัก ไม่ใช่ประโยคทั้งประโยค เป็นคำหลักของหัวข้อใหญ่และหัวข้อรอง เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการและความสัมพันธ์
  • แต่ละหน้าให้มีข้อความไม่เกิน ๗ บรรทัด ตัวอักษรใหญ่ ในกรณีที่ต้องใช้ข้อมูลรายละเอียดประกอบความเข้าใจ อาจแจกรายละเอียดแก่นักศึกษาแต่ละคน ไม่ใช่ฉายรายละเอียดที่ไม่มีใครอ่านออกขึ้นจอ
  • ชี้ด้วยปลายดินสอ หรือที่ชี้ อย่าใช้นิ้วของตนชี้
  • อย่ายืนบังจอ

ในกรณีของแผ่นใส แนะนำให้ใช้เทคนิคซ้อนแผ่นใส ทีละชั้นๆ เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นตอน และใช้แผ่นใสที่ไม่สะท้อนแสง รวมทั้งใช้ปากกาสีช่วยเน้นข้อความ ที่สำคัญเมื่อไม่ใช้เครื่องฉายให้ปิดไฟ เพื่อดึงความสนใจนักศึกษามาอยู่ที่อาจารย์


เครื่องมือ ไฮเทค หลากหลายชนิด

ในที่นี้หมายถึงเครื่องมือที่ใช้ผ่านคอมพิวเตอร์หรือ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน และการค้นคว้า โดยมีหลักการสำคัญคือ เอาเรื่องการเรียนรู้เป็นเป้าหมาย ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้นั้น ไม่ใช่เอาเทคโนโลยีหรูหรา หรือนำสมัย เป็นเป้าหมายหลัก

เทคโนโลยีช่วยบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ได้ดี ในกรณีต่อไปนี้

  • ใช้ Web-based simulation สร้างสถานการณ์เสมือน ช่วงเวลา สถานที่ เหตุการณ์ ที่นักศึกษาไม่มีทางได้สัมผัสโดยตรง เช่นการซ้อมผ่าตัด การทดลองปฏิกิริยาเคมีอันตราย การทดลองทางชีววิทยาโมเลกุล
  • ใช้สาธิตปรากฏการณ์ที่เล็กมาก ใหญ่มาก หรือเร็วมาก เป็นคอมพิวเตอร์กราฟิก ทำให้เข้าใจง่าย
  • ใช้บริการให้นักศึกษาได้ฝึกฝนตามความเร็วในการเรียนรู้ของตนเอง
  • ช่วยให้นักศึกษาเรียนรู้เทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐานในงานวิชาชีพของตนในภายหน้า และต่อไปเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าหรือเปลี่ยนชุด ก็สามารถติดตามได้ทัน
  • ช่วยเพิ่มผลิตภาพของการสอนของอาจารย์ และของการเรียนของศิษย์ โดยเฉพาะเทคโนโลยี Learning Management System ที่จะกล่าวถึงในตอนต่อไป

แต่อย่างไรก็ตาม มีการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด หรือไม่คุ้มค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่ได้ดำเนินการจัดการใกล้ชิดโดยอาจารย์ แต่ก็มีการใช้เทคโนโลยีที่นักศึกษาบอกว่า มีประโยชน์มาก ได้แก่ course interactive website ที่ใช้ทำ preclass online testing ในวิชา reading


ระบบจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System)

อาจเรียกชื่อว่า course management system เป็นซอฟท์แวร์ หลากหลายยี่ห้อ ได้แก่ Blackboard, Moodle, Desire2Learn, eTEA, Sakai และที่เป็นของไทยคือ ClassStart เป็นเครื่องมือ ออนไลน์ ที่ช่วยทำกิจกรรมได้หลากหลาย เช่น

  • หน้าประกาศ
  • หน้าข้อมูลของรายวิชา : เอกสารรายวิชา, ปฏิทินการเรียน, ความหมายของศัพท์เทคนิค ที่ pop-up ได้, รายชื่อนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน
  • พื้นที่สำหรับโพสต์ วัสดุการเรียน (ตำรา กราฟิก มัลติมีเดีย) : เอกสารรายวิชา เอกสารแจก เอกสารมอบหมายให้อ่าน เอกสารประกอบการบรรยาย เอกสารนำเสนอของนักศึกษา และคำอธิบายต่อชิ้นงานที่มอบหมาย
  • พื้นที่สำหรับลิ้งค์ไปยังเอกสารห้ามยืมในห้องสมุด
  • Drop-box สำหรับมอบการบ้าน และการทดสอบที่ให้ทำนอกชั้นเรียน
  • Online test
  • Automatic grading
  • Automatic test feedback ให้แก่นักศึกษา
  • Student survey template
  • Student Web page template
  • Online help and search
  • Email ที่อาจารย์ส่งครั้งเดียวถึงนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนทุกคน
  • Class และ Team discussion board
  • Live chatroom
  • Blog
  • Wiki

เครื่องมือ ๕ ตัวหลัง เป็น electronic communication ที่จะช่วยเสริมการเรียนในชั้นเรียน และช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ติดตัวตลอดไป โดยที่การสื่อสารผ่านอิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะไม่เผยตน จึงช่วยลดความกังวลใจในตัวตน และลดการปกป้องการเสียหน้า ทำให้สบายใจที่จะเข้าไปร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้


พื้นที่สำหรับประกาศเนื้อหารายวิชา

มีผลการวิจัย พบว่าการประกาศเนื้อหาที่ตรงกับการบรรยาย จะไม่เพิ่มผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา เพราะจะทำให้นักศึกษาไม่ต้องจด ทำให้ไม่เพิ่มความเข้าใจและความจำ คำแนะนำคือ อย่าประกาศสิ่งที่ซ้ำกัน กับการบรรยาย ให้ประกาศสิ่งที่ช่วยเสริมการฟัง ทำความเข้าใจ และจดการบรรยาย เช่นประกาศ Lecture outline หรือ skeletal note และส่งเสริมให้นักศึกษา print เอามาใช้ประกอบการจดการบรรยาย มีผลการวิจัยว่า การประกาศ skeletal note ช่วยให้ผลลัพธ์การเรียนรู้ดีขึ้น

หากอาจารย์ประกาศทั้งเอกสาร ทั้งเสียงคำบรรยาย ก็จะสามารถใช้เวลาในห้องเรียนให้นักศึกษา ทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่ลึกและรู้จริง ได้แก่ การอภิปราย โต้วาที ฝึกเขียนเพื่อเรียน ทำงานกลุ่ม เล่นเกม และกิจกรรมที่นักศึกษาตื่นตัวอื่นๆ


การทดสอบ (Quiz) ออนไลน์ก่อนเข้าชั้นเรียน

learning management system ช่วยให้การ quiz ทางออนไลน์ทำได้ง่าย เพื่อเป็นแรงจูงใจ ให้นักศึกษาอ่านมาก่อน และอาจใช้เป็น inquiry-based diagnostic technique สำหรับตรวจหาความเข้าใจผิด ของนักศึกษา สำหรับนำมาออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อแก้ข้อเข้าใจผิด การสอนแบบนี้เรียกว่า just-in-time-teaching ผลการวิจัยบอกว่า การสอนแบบนี้ ช่วยยกระดับการเตรียมตัวมาเข้าชั้นเรียน ยกระดับจำนวนคนเข้าชั้นเรียน ยกระดับความเอาใจใส่การเรียน และยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการเรียน


อี-เมล์ ของชั้นเรียน

ใช้ในการสื่อสาร การให้การบ้านและส่งการบ้าน โดยที่อาจารย์อาจสื่อสารกับนักศึกษาทั้งชั้น แต่ในกรณีที่นักศึกษามีปัญหาเป็นรายคน อาจารย์ก็อาจใช้การสื่อสารกับนักศึกษาผู้นั้นเฉพาะคน โดยไม่เปิดเผยแก่นักศึกษาคนอื่นๆ

อาจารย์ต้องแจ้งข้อจำกัดในการเข้าไปตอบคำถามทางอี-เมล์ของนักศึกษา ว่าจะเข้าไปทุกวันหรือเฉพาะบางวัน และในช่วงเวลาใด เพื่อไม่ให้นักศึกษาเข้าใจผิดว่าอาจารย์ต้องตอบ อี-เมล์ของตนทันทีที่ตนติดต่อ


บอร์ดอภิปราย (Discussion Board)

เป็นเครื่องมือของการเรียนรู้แบบ เมื่อไร (any time) ที่ไหน (anywhere) ก็ได้ และข้อความจะอยู่บน บอร์ด ตลอดไป และเป็นการสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบ หนึ่งสู่หลาย (one to many) โดยอาจจำกัดไว้ในนักศึกษากลุ่มเล็ก เฉพาะที่ลงทะเบียนเรียนวิชานั้น

อาจารย์สามารถใช้เครื่องมือนี้ สร้างความเป็นชุมชนของนักศึกษา สร้างความเข้าใจ เรื่องการเรียนรู้ในระดับที่ "รู้จริง" ในเรื่องหนึ่งๆ รวมทั้งสามารถใช้คัดสรรนักศึกษาเข้ามาทำหน้าที่ "ผู้ช่วยอาจารย์" จัดกิจกรรมสร้างความคึกคักสนุกสนาน ได้สาระในการเรียนรู้ในบอร์ดอภิปราย นี้

ที่สำคัญ อาจารย์ต้องทำความตกลงหน้าที่ และกติกาในการใช้พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้ร่วมกัน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่เกิดโทษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กติกาในการให้คะแนนแก่นักศึกษา


Chatroom, Conference Software และ MOOs

เป็นเครื่องมือสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลายทาง และ "ณ เดี๋ยวนั้น" (real-time) ในเรื่องและเวลาที่ตกลงกัน ใช้ไม่บ่อยเท่า อี-เมล์ และ บอร์ดอภิปราย เพราะคนมักพิมพ์โต้ตอบไม่ทัน สู้คนพิมพ์เร็วไม่ได้ รวมทั้งต้องนัดเวลามา "พบกัน" แบบเสมือน ซึ่งนัดยาก และต้องการมรรยาท หรือจริยธรรมความประพฤติที่เหมาะสมใน เน็ต (netiquette) และเปิดโอกาสให้มีการจับคู่คุยกันออกไปนอกเรื่อง

MOO ย่อมาจาก Multiple-user Object-Oriented Environment เป็นซอฟท์แวร์ที่มีพลังมาก สามารถใส่รูป และคลิปวีดิทัศน์เข้าไปได้

ซอฟท์แวร์ยิ่งมีพลังมาก ก็ยิ่งต้องการกติกาให้ใช้เฉพาะเชิงบวก ไม่ใช้เพื่อเป้าหมายที่ไม่เหมาะสม


ซอฟท์แวร์สำหรับการบรรยาย

การบรรยายที่ไม่ดี เป็นเพียงการถ่ายทอดความรู้ ในขณะที่การบรรยายสมัยใหม่ สามารถเป็น การบรรยายที่ดี ที่สร้างความใคร่รู้ สร้างแรงบันดาลใจ สร้างความตระหนักในคุณค่าของวิชานั้นๆ ในชีวิตจริง หรือชีวิตการงาน

ในยุค ICT เช่นนี้ มีเครื่องมือไฮเทค สำหรับสร้างพลังให้แก่การบรรยายได้อย่างมากมาย ดังตัวอย่าง


ซอฟท์แวร์สำหรับนำเสนอ (Presentation Software)

ตัวหลักคือ PowerPoint ซึ่งอาจใช้แบบถ่ายทอดความรู้อย่าง passive หรือสอดแทรกกิจกรรมการสื่อสารสองทาง เกิดสภาพนักศึกษาตื่นตัวและเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ ก็ได้ รวมทั้งสามารถสอดแทรก วีดิทัศน์กรณีตัวอย่าง สำหรับนำมาอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน


แนวทางการออกแบบ (Design Guidelines)

แนวทางการออกแบบ presentation ก็เช่นเดียวกันกับของแผ่นใสที่ใช้กับเครื่องฉายข้ามศีรษะ คือให้มีสาระสำคัญเรื่องเดียวในแต่ละหน้า และอย่าใส่รายละเอียด รวมทั้งอย่าอ่านสาระทั้งหมดให้นักศึกษาฟัง


การนำเสนอโดยนักศึกษา

การให้นักศึกษาจัดทำ presentation เอง เป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่ง นักศึกษาอาจใส่ลูกเล่น multimedia ได้เก่งกว่าอาจารย์ โดยนักศึกษาอาจนำไปติวกันเองนอกเวลาเรียนก็ได้


Podcast และ Vodcast

Podcast หมายถึงอาจารย์บันทึกเสียงการบรรยายออกเผยแพร่ให้นักศึกษาฟังด้วย คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ Vodcast เป็นการบันทึกวีดิทัศน์ เพื่อประโยชน์เดียวกัน เป้าหมายเพื่อช่วยเสริม การเข้าชั้นเรียน ไม่ใช่เพื่อให้นักศึกษาละเลยการเข้าชั้นเรียน

มี ซอฟท์แวร์ (เช่น Camtasia, Echo 360) ที่ช่วยบันทึกทั้ง Podcast และ Vodcast เป็นไฟล์ดิจิตัล และเอาขึ้นอินเทอร์เน็ต รวมทั้งส่งไปให้แก่นักศึกษาที่บอกรับได้ด้วย

เทคโนโลยีทั้งสอง ช่วยให้ กลับทางชั้นเรียน ได้


เครื่องช่วยการเรียนการสอนผ่าน เว็บ (Web Resources)

อาจารย์สมัยนี้ต้องรู้จักวิธีค้นเอกสารอ้างอิง รวมทั้งลิ้งค์ต่างๆ ผ่านเว็บ ให้สิ้นเปลืองเวลาน้อยที่สุดและได้สิ่งที่ตรงความต้องการที่สุด โดยอาจารย์ในสาขาวิชาเดียวกันอาจช่วยบอกต่อ และผมคิดว่าห้องสมุดของแต่ละมหาวิทยาลัยควรให้บริการจัด workshop ฝึกวิธีค้นดังกล่าว เป็นระยะๆ เพราะเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ หนังสือแนะนำแหล่งที่ดีมากที่มหาวิทยาลัย เคล็มสัน ที่นี่


เครื่องมือช่วยการสอนและการเรียน

ผมคิดว่า ครูสมัยนี้มีเครื่องช่วยการสอนและการเรียนมากมาย และดีขึ้นเรื่อยๆ หากรู้จักขวนขวาย รวบรวมเอามาทดลองปรับใช้ให้เหมาะกับศิษย์แต่ละรุ่น การทำหน้าที่ครูก็จะสนุกและประเทืองปัญญามาก

ตัวช่วยเหล่านี้ ช่วยให้นักศึกษาเรียนด้วยตัวเอง ด้วยความเร็วที่เหมาะสมต่อแต่ละคน เรียนซ้ำได้ ตามที่ต้องการ และมักเป็นกราฟิก หรือแอนิเมชั่น และ interactive ซึ่งตรงรสนิยมของนักศึกษาสมัยนี้

ตัวอย่างของ learning resource ได้แก่

  • สาธิตกระบวนการภายในเซลล์ www.cellsalive.com สำหรับเรียนชีววิทยา
  • ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เสมือน ที่ของจริงแพงมาก หรืออันตราย ที่ www.chemcollective.org
  • การทดลองที่นักศึกษาทดลองกันเอง เช่นเรื่องประสาทรับรู้ ที่ www.bbc.co.uk/science/humanbody/body/interactives/senseschallenge
  • learning resource สนองวัตถุประสงค์อื่นๆ ได้อีกมากมาย ได้แก่ ตัวอย่างการแสดง (ดนตรี ละคร เต้น ฯลฯ), กรณีศึกษา, การเลียนแบบ (simulation), โจทย์สำหรับฝึกซ้อม, resource สำหรับครูในระดับการศึกษาพื้นฐาน, ข้อสอบ, multimedia สำหรับช่วยการค้นคว้า


แหล่ง มัลติมีเดีย เพื่อการค้นคว้า

อาจารย์ไทย ควรรวบรวมแหล่งไทยไว้ใช้งานด้วย


วัสดุช่วยการเรียน

ช่วยให้นักศึกษาเรียนในห้องเรียน หรือเรียนเองที่บ้าน ตามเวลาที่สะดวก และตามอัตราเร็วของตนเอง ตัวอย่างแหล่งวัสดุช่วยการเรียน


ข้อจำกัดในการใช้ ลิ้งค์ ไปยังแหล่งข้อมูล

การให้ ลิ้งค์แก่นักศึกษา เป็นการป้องกันโดนฟ้องฐานละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ก็มีข้อจำกัดตรงที่ ในบางกรณีเมื่อนักศึกษาเข้า ลิ้งค์ นั้น ไม่พบเอกสารเสียแล้ว แก้โดยเอาเอกสารนั้นมาใส่เว็บของรายวิชา โดยอ้างแหล่งที่มาด้วย แต่ต้องขออนุญาตเจ้าของเว็บนั้นๆ เสียก่อน


ใช้คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป ในห้องที่มีระบบเชื่อมต่อไร้สาย อย่างถูกต้อง

นักศึกษาสมัยนี้ มี แล็ปท็อป หรือ แท็บเล็ตกันเกือบทุกคน และอาจใช้ช่วยการเรียนอย่างถูกต้องบ้าง ใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องบ้าง อาจารย์ต้องฝึกฝนตนเอง ให้รู้จักวิธีจัดการให้นักศึกษาใช้เครื่องมือนี้ช่วย เพิ่มประสิทธิภาพของการเรียน ช่วยทำให้จดจ่อกับการเรียน และช่วยส่งเสริมแรงบันดาลใจในการเรียน


ช่วยให้นักศึกษาจดจ่อกับการเรียน

ผลการวิจัยบอกว่า multitasking มีโทษต่อการเรียน อาจารย์จึงต้องหาทางป้องกันไม่ให้นักศึกษาใช้ แล็ปท็อปทำกิจกรรมนอกเหนือจากกิจกรรมในชั้นเรียนในขณะนั้น ด้วยวิธีต่างๆ รวมทั้งบอกให้ปิด แล็ปท็อป เป็นครั้งคราว


ทดลองใช้โทรศัพท์มือถือ

หนังสือตั้งข้อสังเกตว่า การทดลองใช้จัดการเรียนการสอนโดยใช้โทรศัพท์มือถือ ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ผมคิดว่าในบางวิชา อาจมีวิธีใช้ที่ได้ผลดีก็ได้ เป็นเรื่องที่ต้องทดลอง เพราะโทรศัพท์มือถือ มีขีดความสามารถสูงขึ้นตลอดเวลา น่าจะมีวิธีใช้ที่ถูกต้องได้ผลในเฉพาะบริบทนั้นๆ


เครื่องมือ เว็บ 2.0

เว็บ ๒.๐ ก็คือ อินเทอร์เน็ต ในร่างใหม่ ที่สะดวกขึ้น และ interactive ตัวอย่างของ เว็บ ๒.๐ ได้แก่


บล็อก

บล็อก ด้านการเรียนรู้ที่เด่นที่สุดในประเทศไทย คือ www.gotoknow.org ที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี่แหละ เครื่องมือ course management system อาจมีระบบ บล็อก ให้นักศึกษาเขียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และอาจเปิดให้คนภายนอกเข้ามาอ่านได้ เป็นกึ่งสาธารณะ

หากจะใช้ บล็อก ช่วยการเรียนรู้ของนักศึกษาในหลักสูตร อาจารย์ต้องมีวิธีจัดการ มีตัวอย่างวิธีใช้ในหนังสือ


วิกิ

เป็นระบบ เว็บไซต์ ที่สมาชิกช่วยกันเพิ่มเติม แก้ไข ปรับปรุง ข้อความในแต่ละเรื่อง โดยมีบันทึกกิจกรรมทั้งหมดไว้ อาจารย์จึงสามารถเข้าไปประเมินได้ว่านักศึกษาคนไหนบ้างที่เข้าไปร่วมกิจกรรม และทำอะไรบ้าง

พื้นที่ให้บริการ วิกิ รวบรวมไว้ที่ http://en.m.wikipedia.org/wiki/wiki_hosting_service


Social Bookmarking Tools

เมื่อรวบรวม เว็บไซต์ ไว้เป็นจำนวนมาก ก็ต้องการการจัดหมวดหมู่ เพื่อให้ค้นหาและใช้ง่าย จึงมีผู้คิดเครื่องมือจัดหมวดหมู่เว็บไซต์ ได้แก่ Del.icio.us ที่เว็บไซต์ http://delicious.com, และ Diigo ที่เว็บไซต์ http://help.diigo.com

สามารถค้นวิธีใช้เครื่องมือทั้งสองใน YouTube ได้


Social Networking Tools

ได้แก่ FaceBook, Line และอื่นๆ สามารถนำมาใช้สร้างชุมชนการเรียนรู้ของรายวิชาได้ โดยที่อาจารย์ควรทดลอง หรือทำวิจัย หาวิธีใช้ที่ได้ผลดี ลดผลเสีย


โลกเสมือน (Virtual Worlds)

หนังสือแนะนำ เว็บไซต์ http://secondlife.com ที่สามารถเข้าไปใช้สร้างโลกเสมือนสามมิติ เพื่อเป็นบทเรียนได้


มองไปในอนาคต

แน่นอนที่สุด ว่าในอนาคต เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้จะก้าวหน้าไปอย่างคาดไม่ถึง ติดตามได้จากแหล่งเหล่านี้ Syllabus, E-Learning, EDUCAUSE Review, IEEE Computer Graphics and Applications, Innovations, the Journal of Virtual Worlds Research, the International Journal of Mobile Learning, the Journal of Educational Multimedia and Hypermedia, the Journal of Interactive Learning Research, the International Journal of Instructional Technology and Distance Learning


วิจารณ์ พานิช

๑ พ.ย. ๕๗


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/584351

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม 2015 เวลา 11:15 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๓๓๕. ปฏิเสธคำเชิญ

พิมพ์ PDF

ในช่วงเวลา ๒ สัปดาห์ ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๗ ผมปฏิเสธคำเชิญไปบรรยายเรื่องการศึกษาแนวใหม่ ไป ๓ ราย จึงขอนำความในใจเรื่องนี้มาเล่าสู่กัน

เนื่องจากผมได้เขียนและพูดเรื่องนี้ไปแล้วเยอะมาก แล้วนำมาลง บล็อก บ้าง มีคนนำไปลง YouTube บ้าง เมื่อมีคนอ่านหรือชมก็ติดใจ และอยากให้ไปพูดที่สถาบันของตนบ้าง

เดี๋ยวนี้คนเชิญมักจะรู้แล้วว่าติดต่อผมทางอีเมล์สะดวกที่สุด เมื่ออี-เมล์มาเชิญผมก็จะถามหาข้อมูลว่า ทางผู้เชิญต้องการทำอะไร ที่ปฏิเสธไปทั้งสามรายคือ ต้องการฟังการบรรยาย หรือ "เพื่อรู้" ไม่ใช่ "เพื่อทำ"

ผมพิจารณาตนเองว่าอายุมากแล้ว (กว่า ๗๒) เรี่ยวแรงและสมองถอยลงไปทุกวัน และเวลาที่จะ มีชีวิตอยู่ก็คงจะไม่นานมากนัก ควรจัดลำดับความสำคัญของงานที่จะทำเพื่อรับใช้สังคม โดยที่งานที่ผมถนัด และรักคือยุยงส่งเสริม ให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางดี เจริญก้าวหน้า ซึ่งต้องมีการ "ลงมือทำ" ไม่ใช่พูดกันเฉยๆ

สังคมไทยเรามีการพูดกันมาก ลงมือทำน้อยเกินไป และอดทนมานะพยายามทำสิ่งยากๆ ให้แก่สังคมน้อยไป ผมอยากเห็นมีมากขึ้น จึงตั้งใจจัดลำดับความสำคัญในการทำงาน ให้เข้าไปหนุนคนลงมือทำ ให้มากขึ้น

เป็นการจัดลำดับความสำคัญของภารกิจ เพื่อเข้าไปหนุนคนทำงานสร้างสรรค์ สร้างการเปลี่ยนแปลง เป็นลำดับแรก



วิจารณ์ พานิช

๑๓ ธ.ค. ๕๗


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/584563

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม 2015 เวลา 11:01 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๓๒๑. วิพากษ์นักต่อสู้กับความเหลื่อมล้ำ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/583527

พิมพ์ PDF

บทความเรื่อง What the Inequality Warriors Really Want ลงพิมพ์ใน นสพ. The Wall Street Journal ฉบับวันที่ ๒๑ - ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เขียนโดยศาสตราจารย์ John H. Cochrane, Professor of Finance, University of Chicago Booth School of Business and senior fellow, Hoover Institution and adjunct scholar at the Cato Institute

อ่านบทความนี้แล้ว ผมเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง แต่ก็พอจะจับความรู้สึกได้ว่า ผู้เขียนต้องการวิพากษ์นักต่อสู้กับความเหลื่อมล้ำ ผมเดาว่าเขาจงใจใช้คำว่า inequality (ความไม่เท่าแท้) ไม่ใช้คำว่า inequity (ไม่เท่าเทียม)

ความจริงคือ คนรวย 1% บนของโลก มีรายได้เพิ่มในอัตราที่สูงกว่าคนอีก 99% ที่เหลือ ผู้เขียนพยายามบอกว่า "มันเป็นเช่นนั้นเอง" ไม่เห็นว่าจะผิดปกติตรงไหน ไม่เห็นจะต้องเดือนร้อนหาทางแก้ไข เพราะมันไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นผลของการเป็นผู้ประกอบการ ที่ทำประโยชน์ให้แก่สังคม แล้วร่ำรวยขึ้น เศรษฐีอเมริกันเกือบทั้งหมด สร้างตัวจากฐานของคนธรรมดา ที่ทำธุรกิจแบบตรงไปตรงมา ไม่ได้อาศัยการผูกขาดจากผลประโยชน์แบบเล่นพวกจากรัฐบาล

เขาโต้แย้งว่า ในสหรัฐอเมริกา ความเหลื่อมล้ำไม่ได้เกิดจากธุรกิจกับการเมืองรวมตัวกันผูกขาดผลประโยชน์ ไม่ใช่ปัญหาของธุรกิจ และไม่ใช่ปัญหาของการเมือง แต่เป็นปัญหาของการศึกษาที่คุณภาพต่ำ และเป็นปัญหาของประสบการณ์ชีวิตวัยเยาว์ที่บั่นทอนพัฒนาการของเด็ก ผู้เขียนบอกว่าปัญหาเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับคนรวย 1% บนเลยแม้แต่น้อย

บทความบอกว่า นักต่อสู้กับความเหลื่อมล้ำตำหนิว่าความเหลื่อมล้ำเป็นบ่อเกิดของปัญหาสังคม และเศรษฐกิจอื่นๆ ต่อเนื่อง โดยอ้างว่าก่อให้เกิด "ผลต่อลีลาชีวิต" (lifestyle effect) ที่ Joseph Stiglitz เรียกว่า trickle-down behaviorism คือเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมเอาอย่างคนรวย เกิดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยโดยไม่จำเป็น

เขากล่าวว่า นักต่อสู้กับความเหลื่อมล้ำอ้างว่าคนรวยมีเงินเก็บมากเกินไป เงินไม่ออกมาใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ต้องเอาเงินมากระจายเพื่อลด "ความขี้เหนียวแห่งชาติ" (national thriftiness)

เขาต่อต้านมาตรการด้านภาษี เพื่อเอาเงินจากคนรวย ในเป้าหมายเพื่อให้เกิดความยุติธรรม (fairness)

เขากล่าวว่า นักต่อสู้กับความเหลื่อมล้ำ มอง "เงินผูกพันกับการเมือง" คือ เงินทำให้การเมืองชั่วร้าย จึงต้องดึงเงินออกไปเพื่อทำให้การเมืองบริสุทธิ์ คือคนรวยมากๆ มักจะเอาเงินไปหนุนนักการเมือง เพื่อให้สร้างความได้เปรียบแก่คนรวย

โชคดี ที่ผมได้มีโอกาสขอความรู้จาก รศ. ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร เพราะผมรู้สึกว่า นสพ. ฉบับนี้ลงบทความแปร่งๆ ไปในทางหนุนพรรครีพับลิกัน โจมตีพรรคเดโมแครต และผมสงสัยว่าศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยชิคาโกอันทรงเกียรติภูมิเขียนบทความแบบให้ความจริงเพียงบางส่วน (partial fact) ได้อย่างไร ดร. นิพนธ์บอกว่าในอเมริกาเป็นเช่นนี้เอง และ นสพ. ฉบับนี้ก็เป็นที่รู้กันว่า เป็นกระบอกเสียงของลัทธิทุนนิยม

ดร. นิพนธ์บอกว่า สิ่งที่น่ารังเกียจที่สุดทั้งในอเมริกาและไทย คือกฎหมายเกี่ยวกับภาษีที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน ทำให้คนรวยเสียภาษีน้อยกว่าที่เราเข้าใจกันโดยทั่วๆ ไป

ในอเมริกาเป็นอย่างไรเราไม่รู้ แต่ในเมืองไทย การเมืองผูกพันกับเงิน ผูกพันกับการผูกขาด เล่นพวก และคอร์รัปชั่น เรากำลังหาทางป้องกันไม่ให้การเมืองไทยมีความชั่วร้ายดังในอดีต



วิจารณ์ พานิช

๒๒ พ.ย. ๕๗

580106ชีวิตที่พอเพียงinequalityความเหลื่อมล้ำ

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 21 มกราคม 2015 เวลา 22:54 น.
 


หน้า 310 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8747656

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า