Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

การพัฒนาคนเพื่ออนาคตประเทศไทย

พิมพ์ PDF

วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๗ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดการประชุมประจำปี ๒๕๕๗ “การพัฒนาคนเพื่ออนาคตประเทศไทย” โดยเสนอหลักการ “ร่วมพัฒนาคนในทุกมิติ สร้างพลังร่วมทุกระดับ พร้อมใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมนำการพัฒนา เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ร่วมพัฒนาสังคมไทยสู่ความสุขอย่างยั่งยืน”

การประชุมนี้จัดที่ ศูนย์การประชุม อิมแพ็คท์ เมืองทองธานี มีคนเข้าร่วมประมาณ ๒,๕๐๐ คน ท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ไปเป็นประธานเปิด และกล่าวปาฐกถานำ ตามกำหนดการเดิม ใช้เวลา ๔๕ นาที แต่ท่านใช้เวลากว่า ๑ ชั่วโมง โดยอ่านตามร่างคำกล่าวแล้วพูดขยายความเข้าสู่สภาพบ้านเมืองในปัจจุบัน ฟังดูแล้วท่านหงุดหงิดกับการถูกสื่อมวลชน และฝ่ายตรงข้ามตอดโน่นตำหนินี่ ซึ่งผมก็เห็นตรงกับท่านว่า การพูดเช่นนี้ เป็นการต่อความยาวสาวความยืด หรือท่านจงใจพูดเป็นสายล่อฟ้าก็ไม่ทราบ ฟังการบรรยายของท่านนายกประยุทธได้ ที่นี่

ผมชอบใจยุทธศาสตร์ที่สภาพัฒน์เสนอ และนำมาใช้ในการจัดการประชุมด้วย คือการสนับสนุนให้เกิดการริเริ่ม สร้างสรรค์ ในส่วนของพื้นที่และหน่วยปฏิบัติ แล้วนำเอาผลสำเร็จมา ลปรร. กัน เพื่อส่งเสริมการต่อยอดและขยายผล

ช่วงบ่าย ผมไปเข้าฟังการประชุมห้องย่อยที่ ๔ เรื่องการพัฒนาชุมชนเมือง ได้ฟังเรื่องราวความสำเร็จของเทศบาลเมือง พนัสนิคม จากท่านนายกเทศมนตรี นายวิจัย อัมราลิขิต ที่เป็นนายกฯ ติดต่อกันมากว่า ๓๐ ปี ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนา เทศบาลเมืองพนัสนิคมให้เป็นเมืองน่าอยู่ (Healthy City) และกำลังได้รับทุนจาก อียู ให้มาพัฒนาเป็น เมือง คาร์บอนต่ำ ฟังท่านเล่าวิธีทำงานแล้วผมรู้สึกว่าน่าชื่นชมมาก

ส่วนเทศบาลนครพิษณุโลก นพ. สุธี ฮั่นตระกูล รองนายกเทศมนตรีมาเล่าความสำเร็จเรื่องการจัดการขยะ ซึ่งอ่านได้ที่นี่ น่าเสียดายมากที่ผมไม่สามารถอยู่ฟังคุณหมอสุธีได้ เพราะต้องออกจากห้องประชุม เดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อขึ้นเครื่องบินไปเชียงใหม่

ย้อนกลับมาช่วงเช้า หลังจากท่านนายกรัฐมนตรีพูดจบ และออกไปชมนิทรรศการ มีการฉายวีดิทัศน์จากรายการทีวี ที่ท่านประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ไปออกรายการทีวี เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๗ แล้วหลังจากนั้นเป็นรายการอภิปราย “การพัฒนาคนเพื่ออนาคตประเทศไทย” ที่เมื่อท่านเลขาธิการสภาพัฒน์ นำเสนอสั้นๆ ก็ตามด้วยการอภิปรายโดย ๓ ท่าน คือ ผม คุณโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ และคุณศุภชัย เจียรวนนท์

จึงนำ narrated ppt คำอภิปรายของผม มา ลปรร. ที่นี่ โดยเมื่อกลับมา AAR การพูดของตนเองทีหลัง ผมคิดว่าหากผมพูดเรื่องการพัฒนาคนตามแนวที่เสนอในหนังสือ The Heart of Higher Education ที่ผมบันทึกไว้ ที่นี่ อาจสื่อสารการพัฒนาคนสองด้าน คือด้านการเก่งทักษะภายนอก กับเก่งทักษะภายในตน เป็นประโยชน์ต่อที่ประชุมมากกว่า

ผมได้เรียนรู้จากคุณโฆสิต เกี่ยวกับผลกระทบจากโครงสร้างอายุประชากรไทย ที่เป็นสังคมคนแก่ และครอบครัวเดี่ยว จะมีผลกระทบสูงมาก

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ก.ย. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 07 พฤศจิกายน 2014 เวลา 16:19 น.
 

การพัฒนาคนเพื่ออนาคตประเทศไทย

พิมพ์ PDF

วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๗ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดการประชุมประจำปี ๒๕๕๗ “การพัฒนาคนเพื่ออนาคตประเทศไทย” โดยเสนอหลักการ “ร่วมพัฒนาคนในทุกมิติ สร้างพลังร่วมทุกระดับ พร้อมใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมนำการพัฒนา เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ร่วมพัฒนาสังคมไทยสู่ความสุขอย่างยั่งยืน”

การประชุมนี้จัดที่ ศูนย์การประชุม อิมแพ็คท์ เมืองทองธานี มีคนเข้าร่วมประมาณ ๒,๕๐๐ คน ท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ไปเป็นประธานเปิด และกล่าวปาฐกถานำ ตามกำหนดการเดิม ใช้เวลา ๔๕ นาที แต่ท่านใช้เวลากว่า ๑ ชั่วโมง โดยอ่านตามร่างคำกล่าวแล้วพูดขยายความเข้าสู่สภาพบ้านเมืองในปัจจุบัน ฟังดูแล้วท่านหงุดหงิดกับการถูกสื่อมวลชน และฝ่ายตรงข้ามตอดโน่นตำหนินี่ ซึ่งผมก็เห็นตรงกับท่านว่า การพูดเช่นนี้ เป็นการต่อความยาวสาวความยืด หรือท่านจงใจพูดเป็นสายล่อฟ้าก็ไม่ทราบ ฟังการบรรยายของท่านนายกประยุทธได้ ที่นี่

ผมชอบใจยุทธศาสตร์ที่สภาพัฒน์เสนอ และนำมาใช้ในการจัดการประชุมด้วย คือการสนับสนุนให้เกิดการริเริ่ม สร้างสรรค์ ในส่วนของพื้นที่และหน่วยปฏิบัติ แล้วนำเอาผลสำเร็จมา ลปรร. กัน เพื่อส่งเสริมการต่อยอดและขยายผล

ช่วงบ่าย ผมไปเข้าฟังการประชุมห้องย่อยที่ ๔ เรื่องการพัฒนาชุมชนเมือง ได้ฟังเรื่องราวความสำเร็จของเทศบาลเมือง พนัสนิคม จากท่านนายกเทศมนตรี นายวิจัย อัมราลิขิต ที่เป็นนายกฯ ติดต่อกันมากว่า ๓๐ ปี ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนา เทศบาลเมืองพนัสนิคมให้เป็นเมืองน่าอยู่ (Healthy City) และกำลังได้รับทุนจาก อียู ให้มาพัฒนาเป็น เมือง คาร์บอนต่ำ ฟังท่านเล่าวิธีทำงานแล้วผมรู้สึกว่าน่าชื่นชมมาก

ส่วนเทศบาลนครพิษณุโลก นพ. สุธี ฮั่นตระกูล รองนายกเทศมนตรีมาเล่าความสำเร็จเรื่องการจัดการขยะ ซึ่งอ่านได้ที่นี่ น่าเสียดายมากที่ผมไม่สามารถอยู่ฟังคุณหมอสุธีได้ เพราะต้องออกจากห้องประชุม เดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อขึ้นเครื่องบินไปเชียงใหม่

ย้อนกลับมาช่วงเช้า หลังจากท่านนายกรัฐมนตรีพูดจบ และออกไปชมนิทรรศการ มีการฉายวีดิทัศน์จากรายการทีวี ที่ท่านประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ไปออกรายการทีวี เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๗ แล้วหลังจากนั้นเป็นรายการอภิปราย “การพัฒนาคนเพื่ออนาคตประเทศไทย” ที่เมื่อท่านเลขาธิการสภาพัฒน์ นำเสนอสั้นๆ ก็ตามด้วยการอภิปรายโดย ๓ ท่าน คือ ผม คุณโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ และคุณศุภชัย เจียรวนนท์

จึงนำ narrated ppt คำอภิปรายของผม มา ลปรร. ที่นี่ โดยเมื่อกลับมา AAR การพูดของตนเองทีหลัง ผมคิดว่าหากผมพูดเรื่องการพัฒนาคนตามแนวที่เสนอในหนังสือ The Heart of Higher Education ที่ผมบันทึกไว้ ที่นี่ อาจสื่อสารการพัฒนาคนสองด้าน คือด้านการเก่งทักษะภายนอก กับเก่งทักษะภายในตน เป็นประโยชน์ต่อที่ประชุมมากกว่า

ผมได้เรียนรู้จากคุณโฆสิต เกี่ยวกับผลกระทบจากโครงสร้างอายุประชากรไทย ที่เป็นสังคมคนแก่ และครอบครัวเดี่ยว จะมีผลกระทบสูงมาก

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ก.ย. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 07 พฤศจิกายน 2014 เวลา 16:27 น.
 

ฝรั่งเรียนรู้เทคนิคการจัดการของเอเซีย

พิมพ์ PDF

ท่านพุทธทาสกล่าวว่า การปฏิบัติมาก่อนทฤษฎี คนที่ปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่งประสบความสำเร็จ จะยังไม่รู้ว่าตนใช้ทฤษฎีหรือหลักการอะไร ต้องมาไตร่ตรองตีความทำความเข้าใจภายหลัง จึงเกิดทฤษฎี และชื่อของกระบวนการนั้นๆ

เมื่อ ๒๐ - ๓๐ ปีมาแล้ว ตอนที่ญี่ปุ่นรุ่งโรจน์ ฝรั่งตีความเคล็ดลับของความสำเร็จนั้นเป็นการใหญ่ เกิดขบวนการ QCC, TQC, CQI, Kaisen, เป็นต้น ผมเองก็ได้เรียนรู้ทักษะด้านการจัดการมากับคลื่นลูกนั้น รวมที่งคลื่น KM ซึ่งเป็นคลื่นลูกหลัง

บัดนี้ จีนผงาด ฝรั่งก็ตามไปเรียนรู้อีก ดังบทความ The China Wave ในนิตยสาร The Economist ฉบับวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๗ บอกว่า ในวารสาร MIT Sloan Management Review ฉบับใหม่ มีบทความเรื่อง innovation &management ในจีนเกือบทั้งฉบับ รวมทั้งเรื่อง Accellerated Innovation : The New Challenge from China โดย Peter Williamson & Eden Yin แห่ง Judge Business School, Cambridge University และใน Harvard Business Review ก็ลงเรื่อง A Chinese Approach to Managementโดย Thomas Hout, Monterrey Institute of International Studies and David Michael, Boston Consulting Group

เขาเอ่ยถึงจุดเด่นของจีนด้านความเร็วในการเรียนรู้ ตามทัน และสร้างนวัตกรรม รวมทั้งความฉลาดในการใช้ผู้บริโภค เป็น co-creator ของเทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์

วิจารณ์ พานิช

๑๙ ก.ย. ๕๗

บนเครื่องบินการบินไทยจากกรุงเทพไปปักกิ่ง

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 07 พฤศจิกายน 2014 เวลา 16:12 น.
 

​SCImago Institutions Ranking

พิมพ์ PDF
ใน SCImago Institutions Rankings 2014 ยังมีข้อมูลอื่นๆที่น่าสนใจอยู่อีกมาก เป็นต้นว่าการจัดอันดับด้านการวิจัย นอกจาการใช้ Research Output เป็นตัวชี้วัดแล้ว ผู้ที่สนใจยังสามารถเลือกดูผลอันดับในกรณีใช้ Scientific Talent Pool, Excellence, Leadership, Excellence with Leadership, International Collaboration, Normailized Impact, Speciation หรือ Q1 เป็นตัวชี้วัดที่เป็นอิสระต่อกันได้ด้วย ในขณะที่การจัดอันดับด้านนวัตกรรม มีตัวชี้วัดให้เลือกเป็น Innovative Knowledge และ Technological Impact และการจัดอันดับด้าน Web Visibility มีตัวชี้วัดให้เลือกเป็น Website Size และ Domain’s Inbound Links

SCImago Institutions Ranking

ผมได้รับ อีเมล์ จาก รศ. ดร. มงคล รายะนาคร ดังต่อไปนี้

ในเดือนกันยายน 2557 SCImago Lab เผยแพร่รายงานที่มีชื่อว่า SCImago Institutions Rankings 2014 ซึ่งเป็นรายงานที่จัดอันดับองค์กรต่างๆที่มีผลผลิตงานวิจัยทั่วโลก โดยมีองค์กรที่ได้รับการจัดอันดับเป็นสถาบันอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัย 2,782 แห่ง และสถาบันวิจัยกับองค์กรอื่นๆที่มีผลผลิตงานวิจัยอีก 2,403 แห่ง รวมทั้งหมด 5,185 แห่ง โดยการจัดอันดับมี 3 ด้าน คือด้านการวิจัย (Research Rankings) ด้านนวัตกรรม (Innovation Rankings)และด้านการเป็นที่รู้จักทางเว็บ (Web Visibility Rankings)

ในด้านการวิจัย เฉพาะกรณีใช้ Research Output (จากฐานข้อมูล Scopus) เป็นตัวชี้วัด องค์กรวิจัยที่เป็น Top 10 ของโลก ได้แก่ 1 Centre National de la Recherche Scientifique, France 2 Chinese Academy of Sciences, China 3 Russian Academy of Sciences, Russia 4 Harvard University, USA 5 Helmholtz Gemeinschaft (Germany) 6 Max Planck Gesellschaft (Germany) 7 Consejo Superior de Investigaciones Cientificas, Spain 8 University of Tokyo, Japan 9 University of Toronto, Canada 10 Universidade de Sao Paulo, Brazil

แต่เมื่อพิจารณาอันดับมหาวิทยาลัยโลกเฉพาะกลุ่มที่เป็นมหาวิทยาลัยด้วยกัน ปรากฏว่า Top 10 ของโลก ได้แก่ 1 Harvard University 2 University of Tokyo 3 University of Toronto 4 Universidade de Sao Paulo 5 Tsinghua University 6 University of Michigan, Ann Arbor 7 Johns Hopkins University 8 Zhejiang University 9 University of California, Los Angeles 10 University of Washington

สำหรับอันดับมหาวิทยาลัยโลกของมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชีย กรณีใช้ Research Output เป็นตัวชี้วัด ปรากฏว่า Top 10 Asia ได้แก่ 8 University of Tokyo 11 Tsinghua University 15 Zhejiang University 21 Graduate University of Chinese Academy of Sciences 23 Shanghai Jiao Tong University 30 Peking University 31 Kyoto University 36 Harbin Institute of Technology 44 Seoul National University 47 Osaka University

สำหรับประเทศไทย เมื่อพิจารณาใช้ Research Output เป็นตัวชี้วัด ได้มหาวิทยาลัย Top 10 ของไทย มีอันดับมหาวิทยาลัยโลกเป็นดังนี้ 479 Chulalongkorn University (CU) 519 Mahidol University (MU) 878 Chiang Mai University (CMU) 1044 Kasetsart University (KU) 1164 Prince of Songkla University (PSU) 1180 Khon Kaen University (KKU) 1281 King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang (KMITL) 1282 King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT) 1575 Thammasat University (TU) 1829 Asian Institute of Technology (AIT)

แต่เมื่อพิจารณาการจัดอันดับด้านนวัตกรรม โดยใช้ Innovative Knowledge (จากผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงในสิทธิบัตร) เป็นตัวชี้วัด ปรากฏว่าอันดับมหาวิทยาลัยโลกของมหาวิทยาลัย Top 10 ของไทย ได้แก่ 240 MU 242 CU 265 KU 267 CMU 267 PSU 270 KMUTT 275 TU 278 Silpakorn University 278 Suranaree University of Technology 279 Srinakharinwirot University

ใน SCImago Institutions Rankings 2014 ยังมีข้อมูลอื่นๆที่น่าสนใจอยู่อีกมาก เป็นต้นว่าการจัดอันดับด้านการวิจัย นอกจาการใช้ Research Output เป็นตัวชี้วัดแล้ว ผู้ที่สนใจยังสามารถเลือกดูผลอันดับในกรณีใช้ Scientific Talent Pool, Excellence, Leadership, Excellence with Leadership, International Collaboration, Normailized Impact, Speciation หรือ Q1 เป็นตัวชี้วัดที่เป็นอิสระต่อกันได้ด้วย ในขณะที่การจัดอันดับด้านนวัตกรรม มีตัวชี้วัดให้เลือกเป็น Innovative Knowledge และ Technological Impact และการจัดอันดับด้าน Web Visibility มีตัวชี้วัดให้เลือกเป็น Website Size และ Domain’s Inbound Links

สำหรับรายละเอียดทั้งหมดของการจัดอันดับโดย SCImago Lab ในปี ค.ศ. 2014 สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ข้างล่างนี้

http://www.scimagoir.com/

ผมขอส่งอีเมลเรื่องนี้มายังอาจารย์ เพื่อกรุณาพิจารณานำลงบล็อกสภามหาวิทยาลัย ตามที่อาจารย์จะเห็นสมควรต่อไปด้วย จักขอบคุณยิ่ง

มงคล รายะนาคร

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 09 ตุลาคม 2014 เวลา 00:21 น.
 

​ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๕๗. การพัฒนาคุณธรรมในศตวรรษที่ ๒๑

พิมพ์ PDF

เช้าวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๗ ทีมงานจากบริษัทจินตนาการมาขอสัมภาษณ์ ถ่ายทำวีดิทัศน์ เรื่อง การพัฒนาคุณธรรมในศตวรรษที่ ๒๑ สำหรับเอาไปประกอบพิธีเปิดการประชุมของศูนย์คุณธรรม ผมเตรียม ppt อธิบายการตีความของผม ดังแนบ

น่าเสียดายที่ผมลืมบันทึกเสียงไว้ เพราะว่าให้พูดใหม่ หรือเขียน ก็จะไม่ได้พลังเหมือนเดิม จึงขอสรุปคร่าวๆ ว่า ผมมองเรื่องการพัฒนาคุณธรรม ว่าต้องพัฒนาทุกคน ทุกอายุ ทุกที่ ทุกเวลา ในทุกเรื่อง มองว่าคุณธรรมเป็น “ยาดำ” แทรกอยู่ในทุกกิจกรรมของชีวิต

ผมมองว่า “แรงถ่วง” การพัฒนาคุณธรรมในสังคมไทย มี ๒ ประการ คือ (๑) ความเหลื่อมล้ำในสังคม ที่ทำให้มีเด็กไทยประมาณหนึ่งในสาม ที่เกิดมามีความอ่อนแอของระบบพัฒนาคุณธรรม ติดตัวมาตั้งแต่เล็ก และ (๒) ระบบการศึกษาที่เป็นมิจฉาทิฐิ มุ่งสอนเพื่อสอบ เป็นต้นเหตุของความเสื่อมเสียศีลธรรม ในสังคม

ความอ่อนแอของต้นทุนในการพัฒนาคุณธรรมในเด็กไทย มาจากความอ่อนแอของ HPA Axis อันเป็นผลจากความเครียดเรื้อรังในทารกในครรภ์ และในวัยเด็กเล็ก ทำให้ร่างกายปิดสวิตช์ HPA Axis มีผลให้การเรียนรู้และพัฒนา EF เกิดยาก รวมทั้งทำให้การฝึกฝน Limbic System โดย Neocortex ของสมอง เกิดยากด้วย สมองสัตว์เลื้อยคลานในคนแบบนี้จึงเชื่องยาก ฝึกให้ทำงานด้วยคุณธรรมสูงได้ยากขึ้น

จะให้สังคมไทยมีพลเมืองรุ่นใหม่ที่มีคุณธรรมสูง ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของระบบการศึกษา จากมิจฉาทิฐิ สู่สัมมาทิฐิ คือเปลี่ยนจากเน้นสอนแบบถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูป เป็นเน้นสอนแบบกระตุ้น ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ขึ้นภายในตน โดยการลงมือทำและคิดไตร่ตรองทบทวน (reflection/ AAR) โดยครูต้องมีทักษะในห้องเรียนแบบใหม่

ทักษะในห้องเรียนแบบใหม่ของครู คือทักษะในการตั้งเป้าหมายการเรียนที่ผลลัพธ์การเรียนรู้ แล้วคิด ถอยหลังมาสู่การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ การประเมินผลลัพธ์ (Formative Assessment) และการให้ Constructive Feedback ให้นักเรียนเกิดความมุมานะ หรือความสนุกสนาน ในการเรียน

การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ และการออกแบบและดำเนินการอำนวยความสะดวกการเรียนรู้ ต้องเริ่มจากผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับที่ง่ายไปสู่ยาก ที่เรียกว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับสูง (Higher order learning outcome) ตามลำดับความยกง่ายคือ รู้ เข้าใจ ปฏิบัติได้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน พัฒนาทักษะการเรียนรู้ และเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ประเด็นสำคัญคือ ต้องบรรลุเป้าหมายระดับสูงด้วย

ในหนังสือ ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน ศ. นพ. ประเวศ วะสี เสนอไตรยางค์แห่งการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย รู้ทำ (เรียนรู้ในฐานวัฒนธรรม) รู้คิด (เรียนรู้ในฐานวิทยาศาสตร์) และ รู้แจ้ง (เรียนรู้ในฐานจิตใจ) ซึ่งผมตีความว่า ตอนเรียน เป็นการเรียนแบบบูรณาการไปด้วยกัน การพัฒนาคุณธรรมจึงบูรณาการอยู่ในการเรียนทั้ง ๓ ฐาน

จะเกิดการพัฒนาคุณธรรมได้ การเรียนรู้ต้องเปลี่ยนรูปแบบ จากเรียนแบบเน้นแข่งขัน เป็นเรียนแบบร่วมมือกับเพื่อน จากเรียนคนเดียว เป็นเรียนเป็นทีม และอื่นๆ ตามในสไลด์

ในบันทึกชุด สอนเด็กให้เป็นคนดี (www.gotoknow.org/posts/tags/สอนเด็กให้เป็นคนดี) มีปัจจัยสำคัญ ๘ ประการตามในสไลด์ และมีรายละเอียดอ่านได้จากบันทึกทั้ง ๑๙ ตอน ซึ่งในหนังสือ โรงเรียนคุณธรรม ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง ท่านองคมนตรี ศ. นพ. เกษม วัฒนชัย ใช้เพียง ๓ ปัจจัย คือ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และจิตอาสา

หนังสือดังกล่าว อัญเชิญพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ดังในสไลด์ ซึ่งสรุปได้ชัดเจนว่า เด็กต้องเรียนความรู้ หัดทำงาน และฝึกทำความดี ตรงกับแนวความคิดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่จะพัฒนาคุณธรรมขึ้นได้ในจิตใจ

สรุปได้ว่า การพัฒนาคุณธรรมในเด็กให้ได้ผล ต่อฝึกทักษะให้แก่ครู และพ่อแม่ ให้เป็น “โค้ชคุณธรรม” และ “โค้ชครบด้าน” ให้เด็กได้ฝึกแทรกอยู่ในทุกกิจกรรม ได้ฝึกคุณธรรมโดยไม่รู้ตัว ครูต้องฝึกทักษะการเป็น โค้ช จาก workshop และจากการนำ Best Prcatice มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ส.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 09 ตุลาคม 2014 เวลา 00:22 น.
 


หน้า 320 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8747230

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า