Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

e-book เทคนิคกระบวนการ

พิมพ์ PDF

รศ. ดร. สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ นำเอาสาระจากบันทึกชุด “ประเมินเพื่อมอบอำนาจ” ของผม ไปแยกเอาส่วนที่เป็นเทคนิคกระบวนการของ Active Learning นำไปทำเป็นหนังสือ ชื่อ “เทคนิคกระบวนการ : จากการประเมินสู่พัฒนาการเรียนรู้” ผมจึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๒๙ ก.ค. ๕๗

สำหรับท่านที่ไม่สามารถกด link "ที่นี" ด้านบน ได้ โปรดเข้าไปที่ link :http://www.gotoknow.org/posts/576011 เพื่อเข้าไปกด link เข้าอ่าน e-book ได้

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

16 กันยายน 2557

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 กันยายน 2014 เวลา 08:30 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๔๓. เยี่ยมชื่นชมกิจกรรม Community Engagement ของ มทร. ศรีวิชัย

พิมพ์ PDF

วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๗ ผมไปบรรยายเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่สงขลา จัดโดย มทร. ศรีวิชัย ช่วงเช้าบรรยาย ๓ ชั่วโมง ช่วงบ่ายท่านรองอธิการบดี รศ. มุกดา สุขสวัสดิ์ ชวนไปเยี่ยมชมกิจกรรม Community Engagement ของ มทร. ศรีวิชัย ที่ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

โดย รศ. มุกดา ส่งกำหนดการให้ล่วงหน้าดังนี้


๑๒.๐๐น. ออกจากโรงแรม พาวิเลี่ยน บีชฯ

๑๒.๑๐ น. Site visit @ Songkhla knowledge park.


ลักษณะการชม จอดรถชมสถานที่ก่อสร้าง

โครงการความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, เทศบาล

นครสงขลา, ปตท.สผ., กลุ่มภาคีคนรักเมืองสงขลา, และ TK Park ในการออกแบบอาคารอุทยานการ

เรียนรู้ที่มีลักษณะพิเศษคือมีฐานการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องากตัวอาคารสู่ย่านเมืองเก่าสงขลา ทำให้นักเรียนผู้ใช้อาคาร จะเกิดการเรียนรู้แบบองค์รวมของเมือง และเป็นการเรียนรู้จากพื้นที่จริง มิใช่พื้นที่เสมือนจริง

นอกจากนี้อาคาร Songkhla Knowledge Park แห่งนี้ยังถูกออกแบบผ่านการศึกษาวิจัยตามมาตรฐานสากลโดยคำนึงถึง คุณค่าทางประวัติศาสตร์สังคม ภูมิปัญญา และความงาม ของวัฒนธรรมดั้งเดิม ตลอดจนมีกระบวนการคิดด้วยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน


๑๒.๑๕ น. Songkhla Heritage Trust (ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม) และผ่านอาคารโรงสีแดง หับโห้หิ้น

กลุ่มภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม เป็นกลุ่มภาคประชาชนที่มีจิตสำนักในการรักบ้านเกิดเมืองนอน ได้รวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์บนฐานวิชาการเพื่อพัฒนาเมืองเก่าสงขลาในแนวทางอนุรักษ์ร่วมกับองค์กรภาครัฐ และประชาชนในพื้นที่ ปัจจุบันมีที่ตั้งอยู่ที่โรงสีแดงหับโห้หิ้น ซึ่งอยู่ระหว่างการ Renovate เป็นสำนักงานกลุ่มภาคีฯ


๑๒.๔๐ น. ออกเดินทางไปตำบลรำแดง

๑๓.๑๐ น. ถึงบ้านทักษิณาธาร ตำบลรำแดง อ.สิงหนคร จังหวัดสงขลา รับประทานอาหารกลางวัน


ลักษณะการชม เดินชม และรับฟังการบรรยาย พร้อมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น

เจ้าของพื้นที่ นายกอบตรำแดง คุณอุดม ทักขระ และคณะ

หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้วิถีโหนด นา ไผ่คน รำแดง เป็นการพัฒนาชุมชนแบบ Top down คือ นายกอุดม ทักขระ ได้ประสานงานมายังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เพื่อขอความอนุเคราะห์ด้านวิชาการ โดยการทำงานร่วมกันระหว่าง อบต.รำแดง ชาวบ้าน นักวิจัย และนักวิชาการนอกมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาชุมชนออกเป็นฐานการเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่บรรพบุรุษมีสู่รุ่นต่อๆไป ผ่านฐานเรียนรู้สี่ฐาน (ปัจจุบันเพิ่มเป็นเจ็ดฐาน)


๑๔.๐๐ นชมบ้านสบายเพื่อตายาย ที่สร้างจากแ่นผนังใบตาลจากผลงาน ฝีมือของชุมชนรำแดง


๑๔.๓๐ นชมฐานการเรียนรู้ บ้านใบตาล และฐานการเรียนรู้การเคี่ยวตาลบ้านตาเพียร


๑๕.๓๐ น. ออกเดินทางจากตำบลรำแดงไปสนามบินหาดใหญ่

ผมได้ไปเห็นการทำงานรับใช้สังคมของ มทร. ศรีวิชัยใน ๒ แบบ คือการทำงานกับเมืองเก่า คือเมืองสงขลา กับการทำงานกับชุมชนชนบท คือตำบลรำแดง ลักษณะการทำงานมีทั้งเหมือนกันและต่างกัน

ที่เหมือนกันคือ ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมเชิงอนุรักษ์ ความรู้ด้านการวิจัยประวัติศาสตร์ และทักษะใน การทำกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชน มีคุณค่าอย่างยิ่ง ส่วนที่ต่างกันคือ สภาพแวดล้อม ที่เรียกว่า บริบท และชีวิตผู้คน แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

หัวเรี่ยวหัวแรงทางวิชาการคือ ดร. จเร สุวรรณชาติ ที่เป็นสถาปนิก ที่มีบุคลิกอ่อนน้อมถ่อมตน และมีจิตสาธารณะ และที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งคือ มีฐานวิชาการที่หนักแน่นแม่นยำ

ทั้งที่ตัวเขตเทศบาลนครสงขลา และที่รำแดงผมได้ไปเห็นการทำงานพลิกฟื้นความเข้มแข็งของชุมชน ผ่านเครือข่ายความร่วมมือ ทั้งจากภาคการเมืองท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจเอกชน (ปตท. สผ.) และภาควิชาการ เข้ามาร่วมกันดำเนินการเพื่อชุมชนของตน เชื่อมโยงเข้าสู่เยาวชน

ที่ตัวเมืองสงขลา ผมได้เข้าไปชมโรงสีแดง หับโห้หิ้น และได้พบคุณรังษี รัตนปราการ (บุตรของคุณสุชาติ รัตนปราการ) ซึ่งเวลานี้ทำหน้าที่ นายกภาคีคนรักสงขลาสมาคม อย่างเข้มแข็ง

เที่ยงวันที่ ๘ สิงหาคม ผมเล่าเรื่องรำแดง และคลองแดน ให้ ศ. นพ. ประเวศ วะสี ฟัง ในโต๊ะอาหาร คุณหมอชูชัย ศุภวงศ์ นั่งอยู่ด้วย จึงทราบว่าท่านกำลังจะไปเป็นประธานเปิดงานที่คลองแดนในสัปดาห์ถัดไป เราเห็นพ้องกันว่า ต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ ในการสื่อสารเรื่องราวดีๆ ในบ้านเมือง ให้สาธารณชน ได้รับรู้อย่างกว้างขวาง ให้เห็นคุณค่าของการพัฒนาจากฐานล่าง หรือจากชุมชน

ผมได้เล่าเรื่องการสนทนากับท่านพระครู เจ้าอาวาสวัดคลองแดน ให้วงอาหารเที่ยงฟัง ว่าผมกราบ เรียนถามท่านว่า ผลงานการฟื้นฟูชุมชนที่คลองแดน ที่ปรากฎนี้ บรรลุความมุ่งหมายของท่านครบร้อยเปอร์เซ็นต์ ไหม ท่านตอบว่า ได้ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ผมถามต่อว่า ส่วนที่ไม่สำเร็จคือเรื่องอะไร ท่านตอบว่าคือเรื่องคน คือเมื่อความเป็นอยู่ดีขึ้น การทำมาหากินดีขึ้น เรื่องทางวัตถุดีขึ้น แต่จิตใจคนไม่ดีขึ้น ผมตีความว่าโลภ มากขึ้น จึงกราบเรียนท่านว่า เพราะเหตุนี้แหละ จึงต้องมีพระ

วิจารณ์ พานิช

๘ ส.ค. ๕๗

รับชมภาพประกอบได้ที่ link : http://www.gotoknow.org/posts/576051

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 กันยายน 2014 เวลา 08:59 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : 2244. เรียนรู้เรื่องสมบัติพัสถานแห่งศตวรรษที่ ๒๑

พิมพ์ PDF

ค่ำวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๗ ผมไปร่วมฟังเรื่องราวของ Inspiring Scotland โดยคุณ Andrew Muirhead ซีอีโอ และผู้ก่อตั้ง Inspiring Scotlandการพบปะพูดคุยกันนี้จัดโดย มูลนิธิเพื่อคนไทยคุยกันในวงผู้ได้รับเชิญ ไม่ถึง ๒๐ คน ประชุมกันแบบ working dinnerซึ่งตามปกติผมเลี่ยงเพราะตอนค่ำผมแบตหมดเนื่องจากตื่นขึ้นทำงานตั้งแต่เช้ามืดทำอย่างนี้มากว่า ๒๐ ปี จนเป็นนิสัย

นี่คือเทวดาดลใจให้ผมได้เปิดกระโหลกตนเองเพราะฟังแล้ว ความเข้าใจเรื่องเงิน และ “สมบัติ” ของผมเปลี่ยนไป

เงินและสมบัติ (assets) เป็นมากกว่าที่คิดมากกว่าทั้งสิ่งที่เป็น “สมบัติ”วิธีนำเอาสมบัติไปใช้และเป้าหมายของการใช้สมบัติ

ความริเริ่มสร้างสรรค์ในเรื่องนี้มีได้ไม่จำกัดโดยต้องการความกล้าแหวกแนวความสามารถ ในการจัดการความสามารถในการสื่อสารคุณค่าหรือความหมายของการประกอบการแบบใหม่และความสามารถในการทำงานแบบเครือข่าย (networking)

เป็นการนำเอาการเป็นผู้ประกอบการกับการทำเพื่อประโยชน์ของสังคมเข้ามา “แต่งงาน” กันอาจมองว่า เป็นการนำเอาสิ่งที่เป็นขั้วตรงกันข้ามมาทำงานด้วยกันมีเป้าหมายทั้ง “กำไร” ที่เป็นเงินและกำไรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

เป็นการนำเอาวิธีวิทยา (methodology) ของ venture capital หรือกลไกทางการเงินมาใช้ในการทำ ธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของสังคมโดยต้องคิดเอาเอง ว่าประโยชน์ต่อสังคมในเรื่องนั้น เป็นอย่างไรบ้างจะทำความชัดเจน และสื่อสารคุณค่านั้นต่อสังคมอย่างไร และจะวัดผลกระทบต่อสังคมตามเป้าหมายอย่างไร ผมเข้าใจว่าคุณแอนดรูเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิธีวิทยา ในการสร้างสรรค์วิธีการทางการเงิน เพื่อประโยชน์ด้านที่ ไม่ใช่เงินของสังคมเพราะเวลานี้เขามาทำหน้าที่ ผู้บริหารของ AVPN มีสำนักงานอยู่ที่สิงคโปร์

ผมตีความว่า เวลานี้โลกมีเงินเหลือใช้มากและระบบการเงินโลกในปัจจุบันเงินมันไหลเร็วมีกลไกให้มันไหลไปทำกำไรที่เป็นเงินตรงไหนกำไรสูงสุดมันไปที่นั่นโดยไม่รับรู้ว่ากิจการที่มันไปหล่อเลี้ยง ก่อความเสียหายต่อสังคมอย่างไร เพราะเงินมันไม่มีความรู้สึกด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณค่าต่อสังคม

กิจการของ Inspiring Scotland, AVPN และอื่นๆ อีกหลายกิจการ เป็นสิ่งที่เรียกว่า Venture Philantropy หรือ Social Ventureหรือ Social Enterprise หรือในความเข้าใจของผม หมายถึงการประกอบการ หรือการทำ ธุรกิจ ที่มีเป้าหมายกำไรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วยกิจการเหล่านี้จึงเท่ากับเป็นขบวนการ (movement) เพื่อเยียวยาโลกจากพิษร้ายของลัทธิทุนนิยมสุดโต่ง ที่ครองโลกอยู่ในเวลานี้

ผมไปเรียนรู้วิธีทำงานเพื่อเปลี่ยนสังคม จากทุนนิยมสุดโต่งเป็นทุนนิยมและการประกอบการ เพื่อประโยชน์ของสังคมอย่างพอดีหรือสมดุล

คุณแอนดรูว์ เล่าว่าตอนที่ตนริเริ่ม Inspiring Scotland (IS) นั้น เป้าหมายทางสังคมในการทำงาน คือเยาวชนอายุ ๑๔ - ๑๙ ปี ใน สก็อตแลนด์ ที่มีสถิติการเสียคนร้อยละ ๑๕และอยู่ในสภาพกำลังเดินไปสู่ การเสียคน ร้อยละ ๒๐เยาวชนส่วนร้อยละ ๒๐ นี่แหละคือเป้าหมาย

ผมเข้าใจว่าคนที่เอาเงินมามอบให้ IS ลงทุนนั้นต้องการผลตอบแทนเป็นเงินในระดับที่ไม่ด้อยกว่าการ ฝากธนาคารแต่ที่เลือกเอาเงินมาลงที่นี่เพราะศรัทธาในเป้าหมายเพื่อสังคมเงินนั้น IS เอาไปสนับสนุนโครงการ ธุรกิจที่เยาวชนกลุ่มเป้าหมายเสนอเข้ามาขอ “กู้” เงินตรงนี้ผมฟังไม่เข้าใจว่าผู้กู้จะต้องจ่ายเงินคืนอย่างไร เข้าใจ ว่ามีความซับซ้อนมากและเข้าใจว่ากฎหมายยกเว้นภาษีที่รัฐบาลอังกฤษออกมาสนับสนุน จะมีส่วนเกื้อกูลด้วย

แต่เงินเป็นเพียงส่วนย่อยพลังส่วนใหญ่เป็นพลังทางปัญญา ที่ “อาสาสมัคร” เข้ามาให้คำแนะนำ ปรึกษาทางธุรกิจ แก่เยาวชนที่สมัครเข้ามาเป็นผู้ประกอบการจึงเห็นได้ว่า IS เป็น venture capital ที่ “capital” ส่วนใหญ่เป็น intellectual capital หรือ business know-how capital ไม่ใช่เงินเงินเป็นเพียงส่วนย่อย

สมบัติพัสถานที่แท้จริง มีมากกว่าเงินและวัตถุสิ่งของ

วิจารณ์ พานิช

๙ ส.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 กันยายน 2014 เวลา 09:02 น.
 

คำนิยม หนังสือ “เลี้ยงให้รุ่ง”

พิมพ์ PDF

คำนิยม

หนังสือ เลี้ยงให้รุ่ง - ความมุมานะ ความใฝ่รู้ และพลังแฝงของลักษณะนิสัย

วิจารณ์ พานิช

...............

นี่คือหนังสือชี้แนวทางเลี้ยงลูก และแนวทางจัดการศึกษาแก่เด็กเพื่อให้เด็กเติบโตเต็มศักยภาพภายใต้ผลการวิจัยที่ชี้ว่าทั้งความฉลาด (ไอคิว) หรือคุณสมบัติด้านปัญญา (Cognitive Capacity)และลักษณะนิสัย (Non-Cognitive Capacity) เป็นสิ่งที่ฝึกได้ และความสำเร็จในชีวิตคนเรา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความฉลาดเท่านั้นแต่ยังขึ้นกับลักษณะนิสัยด้วยโดยที่มีหลายผลงานวิจัยชี้ว่า “โลกทัศน์พรแสวง” (Development Paradigm) ช่วยจุดไฟความมุมานะ ความใฝ่รู้ และการฝึกฝนตนเองด้านลักษณะนิสัยและด้านสติปัญญาในขณะที่ “โลกทัศน์พรสวรรค์” (Fixed Paradigm) ก่อผลไปในทางตรงกันข้าม

ในเรื่อง “โลกทัศน์พรแสวง” นั้น ผู้แปลเรียกว่า “กลุ่มความคิดเติบโต”โดยอ้างถึงงานวิจัยของ แครอล ดเว็กซึ่งหมายความว่า สติปัญญา (ความฉลาด)ลักษณะนิสัยและชะตาชีวิตเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เปลี่ยนแปลงได้โดยการฝึกฝนเรียนรู้ของตนเอง ส่วน “โลกทัศน์พรสวรรค์” ผู้แปลเรียกว่า “กลุ่มความคิดยึดติด” เป็นกลุ่มความคิดหรือโลกทัศน์ที่นำไปสู่ความท้อถอยขาดความมุมานะ ผมเขียนบันทึกเรื่อง โลกทัศน์พรสวรรค์ และ โลกทัศน์พรแสวงไว้โดยละเอียดที่ http://www.gotoknow.org/posts/549463

ผู้เขียน คือ พอล ทัฟ เขียนหนังสือเล่มนี้แบบ “ไตรสิกขา” คือค้นคว้าเรียนรู้จาก ๓ แหล่งได้แก่(๑) ไตร่ตรองทบทวนจากประสบการณ์ตรงของตนเอง(๒) ผลงานวิจัย และประวัติของบุคคลที่เกี่ยวข้องและ (๓) เข้าไปสังเกตการณ์ตามโรงเรียน แล้วนำมาเขียนแบบเรื่องเล่า หรือนวนิยายเรื่องจริงที่มีตัวละครเอกเป็นตอนๆเป็นหนังสือที่มีชีวิตชีวาเดินเรื่องด้วย “เรื่องราว”ไม่ใช่ด้วยหลักทฤษฎีเป็นวิธีการเขียนแบบเปิดโอกาส ให้ผู้อ่านตีความจับหลักการเอง

พอล ทัฟ นำเรื่องราวความผิดพลาดของตนเองมาทำกระบวนการทบทวนไตร่ตรอง (reflection)เพื่อทำความเข้าใจวิถีชีวิตของเด็กหนุ่มอายุ ๑๘ ปีที่พื้นฐานสติปัญญาดีแต่หย่อนด้านลักษณะนิสัย ๕ ด้าน ที่ระบุในหนังสือ ได้แก่ สำนึกผิดชอบชั่วดีความมุมานะความหยุ่นตัวความไม่ย่อท้อและการมองโลกในแง่ดีเป็นตัวอย่างของ การเรียนรู้จากความผิดพลาดในชีวิตของตนเองและนำมาแบ่งปันแก่ผู้อ่านให้เห็นความผิดพลาดที่เกิดจากนิสัยไม่ดี ได้แก่ความเหลาะแหละความย่อท้อการวางแผนไม่ดี

ผมขอเพิ่มลักษณะนิสัยด้านที่ ๖ คือทักษะด้านการควบคุมตนเองให้สามารถรอคอย “อดเปรี้ยวไว้กินหวาน” ได้ซึ่งที่จริงเรื่องราวของเควอนา เลอร์มาเด็กสาวผู้มีบาดแผล (ทางใจ) ฉกรรจ์ ในวัยเด็กแต่กลับพลิกเปลี่ยนชะตาจากหน้ามือเป็นหลังมือที่เล่าไว้ในหนังสือเล่มนี้ชัดเจนมากในการพัฒนา ความสามารถบังคับใจตนเองให้อดทนรอคอยสิ่งที่ดีกว่าในชีวิตได้ ทฤษฎีเกี่ยวกับการรอคอยมาจากผลงาน วิจัยก้องโลก ที่เรียกกันว่า “การทดลองมาร์ชแมลโลว์” ของ วอลเตอร์ มิชเชล ซึ่งเป็นเรื่องของ “กระบวนการรู้คิด” หรือความยับยั้งชั่งใจหรือทักษะควบคุมบังคับใจตนเอง (Executive Function) ที่ผมเคยเขียนบันทึกออกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่http://www.gotoknow.org/posts/463212 และที่ http://www.gotoknow.org/posts?tag=ef

ที่จริงหนังสือเล่มนี้เอ่ยถึงชุดลักษณะนิสัยที่ดีหลายชุด ที่ใช้ในสถานการณ์ต่างกันได้แก่ชุด “หลักความเป็นผู้นำ” ๕ ข้อได้แก่ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ความหยุ่นตัว ความทะเยอทะยาน ความเป็นมืออาชีพ และความซื่อสัตย์ชุด “ทักษะวิชาการทางพฤติกรรม”ได้แก่ ทักษะในการเรียนนิสัยการทำงานการบริหารเวลาพฤติกรรมขอความช่วยเหลือ และทักษะการแก้ปัญหาทางสังคมและวิชาการชุด “นิสัยที่ดีสำหรับวัยรุ่น”ได้แก่ ขยันกระตือรือร้นควบคุมตนเองได้มีแรงจูงใจไปสู่ความสำเร็จมีแรงผลักดันสู่เป้าหมาย ชุด “คุณสมบัติเด่นเจ็ดข้อที่จะนำไปสู่ความพึงพอใจและความสำเร็จ ในชีวิต”ได้แก่ความมุมานะการควบคุมตนเองความกระตือรือร้นการเข้าสังคมความกตัญญูการมองโลกในแง่ดีความสงสัยใคร่รู้ชุด“ความแข็งแกร่งของลักษณะนิสัย”ได้แก่สำนึกผิดชอบชั่วดีความรับผิดชอบความมีระเบียบการไม่เพ้อฝันความมุ่งมั่นและ ความขยันหมั่นเพียร ชุด “บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ”ได้แก่ความสุภาพอ่อนโยนการเข้ากับคนง่ายความมั่นคงทางอารมณ์การเปิดรับประสบการณ์และ สำนึกผิดชอบชั่วดีชุด “เครื่องมือสู่ความสำเร็จ”ได้แก่ แรงจูงใจ และ ความมุ่งมั่นชุด “ความแข็งแกร่งของลักษณะนิสัย” ๒๔ ข้อ ของ เซลิกแมน และ ปีเตอร์สันเช่น ความกล้าหาญความเป็นพลเมืองดีความยุติธรรมความเฉลียวฉลาดความซื่อสัตย์ความรักอารมณ์ขันความกระตือรือร้นสุนทรียภาพความสามารถในการเข้าสังคมความเมตตาความกตัญญู เป็นต้น

ผู้นำในการคัดค้าน สมมติฐานทางปัญญา (Cognitive Hypothesis) ต่อความสำเร็จในชีวิตระยะยาว ของบุคคลและชักจูงให้หันมาเน้นการปูพื้นฐานพัฒนาลักษณะนิสัย (Character) ให้แก่เด็ก ได้แก่ เจมส์ เฮ็คแมน (James Heckman) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ผู้หันมาทำงานวิจัยทางการศึกษาและพิสูจน์ให้เห็นว่า ความสำเร็จในการเรียนวิชาความรู้ตอนเรียนหนังสือ ไม่เพียงพอต่อความสำเร็จในชีวิตระยะยาว

หนังสือเล่มนี้ สื่อความสำคัญของปัจจัยพื้นฐาน ๒ ประการด้านลักษณะนิสัย ต่อความสุข ความสำเร็จในชีวิตระยะยาว ของบุคคล ปัจจัยที่กล่าวมาแล้วคือการปูพื้นฐานทักษะด้านลักษณะนิสัยและ ปัจจัยประการที่สอง คือการสร้างความเข้มแข็งของระบบสารเคมีในสมอง ที่เรียกว่าแกน HPA (Hypothalamus – Pituitary – Adrenal) ไม่ให้หลั่งสารความเครียดออกมามากเกิน และทำลายพัฒนาการของลักษณะนิสัยการสร้างความเข้มแข็งของแกน HPA นี้ทำโดยแม่ (และคนในครอบครัว) ให้ความรักความอบอุ่น ในยามที่เด็ก ในวัยทารกและวัยเด็กเล็กเผชิญความเครียดตามแนว “การเลียและจัดแต่งขนของแม่หนู” ซึ่งมนุษย์ทำโดย การกอดรัดและปลอบโยนซึ่งจะช่วยพัฒนา “ความรู้สึกมั่นคงในสัมพันธภาพ” ทำให้เด็กเล็กมี “ความผูกพัน” (Attachment) ที่แข็งแรงและแกน HPA เข้มแข็ง

ความรู้เรื่องแกน HPA และความผูกพัน ได้จากการวิจัยในหนูและในคนการวิจัยในหนูทำให้ทราบว่าในลูกหนูที่แม่เลียน้อย (ความผูกพันต่ำ)กับลูกหนูที่แม่เลียบ่อย (ความผูกพันสูง)มีการปิดเปิดสวิตช์ของยีนใน Hypothalamus แตกต่างกันและสภาพเช่นนี้จะจารึกไปตลอดชีวิต เท่ากับว่าหนูที่ความผูกพันต่ำแกน HPA จะอ่อนแอไป ตลอดชีวิตนักวิทยาศาสตร์ทางสมองมีหลักฐานว่าสมองหนูกับสมองคนมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องแกน HPA และความผูกพัน รวมทั้งผลการวิจัยผ่าตัดสมองคนที่ฆ่าตัวตายโดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่มีเหตุสะเทือนใจในวัยเด็ก กับกลุ่มที่ไม่มีนำเนื้อสมองมาตรวจหาการเปิดปิด สวิตช์ยีนใน ไฮโปธาลามัสและพบว่ากลุ่มที่เผชิญเหตุสะเทือนใจในวัยเด็ก สวิตช์ของยีนควบคุม HPA ถูกปิดทำให้แกน HPA อ่อนแอ

ความแข็งแรงของแกน HPA ทำให้คนเราอดทนต่อความเครียดโดยเฉพาะการกระตุ้นให้เกิดความ ประพฤติชั่วแล่น (Impulsive Behavior)ซึ่งจะรุนแรงในชีวิต ๒ ช่วง คือวัยเด็กเล็กกับวัยรุ่นช่วงที่จะก่อ บาดแผลรุนแรงแก่ชีวิตคือช่วงวัยรุ่น

ผลงานวิจัยบอกว่าเวลานี้ในประเทศไทย เด็กที่ไม่ได้เลี้ยงโดยพ่อแม่มีถึงกว่าหนึ่งในสามและมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นเป็นสภาพที่เด็กจะได้รับการเลี้ยงดูแบบขาด “ความผูกพัน” แสดงออกที่ปัญหาความประพฤติ ของวัยรุ่นที่ติดยา ติดเกม ตั้งครรภ์ และอื่นๆความรู้ที่นำเสนอในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเดินเรื่องด้วยตัวละคร สถานที่ และเรื่องราวในสหรัฐอเมริกาทั้งหมดสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ไทยได้อย่างแน่นอน

เลี้ยงให้รุ่ง ต้องเลี้ยงให้ได้รับความรักความผูกพัน เพื่อวางรากฐานความเข้มแข็งของสมองส่วนกำกับ ลักษณะนิสัยซึ่งส่วนหนึ่งคือแกน HPA และการเลี้ยงดูและการศึกษาต้องปลูกฝังฝึกฝนลักษณะนิสัยควบคู่ไปกับการเรียนวิชาโดยยึดถือแนวทางหรือความเชื่อว่าทั้งสติปัญญา ลักษณะนิสัย และชะตาชีวิต เป็นสิ่งที่พัฒนาได้ผ่านการฝึกฝนเคี่ยวกรำตนเองอดทนต่อความยากลำบากในปัจจุบันเพื่อชีวิตที่ดีในภายหน้า

ผมขอขอบคุณสำนักพิมพ์ openworlds ที่จัดแปลและพิมพ์หนังสือ เลี้ยงให้รุ่ง - ความมุมานะ ความใฝ่รู้ และพลังแฝงของลักษณะนิสัย อันทรงคุณค่าเล่มนี้ออกเผยแพร่แก่สังคมไทย

วิจารณ์ พานิช

ประธานคณะกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล

๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 กันยายน 2014 เวลา 09:09 น.
 

การศึกษาแนวสวนกระแส

พิมพ์ PDF

ในการประชุมสภาสถาบันอาศรมศิลป์ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ มีวาระเรื่อง “มาตรฐานการจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผล ของหลักสูฏตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาผู้ประกอบการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต”

หลักสูตรนี้มีลักษณะพิเศษตรงที่เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติเป็นหลักแล้วเขียน “ปัญญานิพนธ์” เพื่อยืนยันการเรียนรู้ของตน

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร บอกว่า เนื่องจากเป็นหลักสูตร “ผู้ประกอบการสังคม”จึงต้องมีหลักฐานการ เป็นผู้ประกอบการ คือทำธุรกิจได้สำเร็จมีการนำหมี่โคราชตราหมูน้อยอารมณ์ดี มาให้ดูและแจกกรรมการสภาคนละ ๑ ซองด้วย และต้องมีหลักฐานการทำประโยชน์แก่สังคมด้วยโดยที่นักศึกษาต้องเสนอ “บันทึกความดี” ประกอบการสมัครเป็นนักศึกษา

กรรมการสภาฯ ซักถาม และออกความเห็นกันมากว่าจะวัดคุณภาพการศึกษาแบบนี้อย่างไร

ผมจึงเสนอว่า การศึกษาตามหลักสูตรนี้เป็นการศึกษาแนวทวนกระแสโดยที่การศึกษาตามปกติ จะเรียนทฤษฎีก่อนเมื่อมีความรู้ทฤษฎีดีพอแล้ว จึงนำความรู้นั้นไปฝึกปฏิบัติแต่หลักสูตรผู้ประกอบการสังคม ตรงกันข้ามเน้นที่การเรียนภาคปฏิบัติเลย โดยไม่ต้องเรียนทฤษฎีก่อนและทดสอบหรือวัดความรู้ปฏิบัติ จากผลงานที่เกิดขึ้นจึงมีคำถามว่า การเรียนจากการปฏิบัติ และวัดที่ผลงานพอไหม สำหรับให้ปริญญาตรี

คำตอบของผม (ซึ่งไม่ทราบว่าถูกหรือผิด) คือไม่พอเพราะเรียนแค่ปฏิบัติได้และเขียนรายงานเพื่อ อธิบาย What และ How ได้ ไม่เพียงพอต่อการที่จะเไปเรียนรู้ต่อเนื่องในภายหน้าจะให้พอ นักศึกษาต้องอธิบาย Why ได้ด้วยซึ่งหมายความว่า ตอนเรียนรู้จากการปฏิบัติต้องมีการทำ Reflection / AAR เป็นระยะๆเพื่อทำความเข้าใจว่า ทำไม (Why) การปฏิบัติเช่นนั้นจึงก่อผลอย่างที่เห็นอธิบายได้ด้วยทฤษฎีอะไรบ้างอธิบายได้ครบถ้วนไหมเชื่อมโยงกับทฤษฎีอื่นอย่างไรจากการปฏิบัติ จะอธิบายทฤษฎี X ในภาษาภาคปฏิบัติ ตามประสบการณ์ตรงของเราอย่างไร

นั่นหมายความว่า ศิลปาจารย์ (อาจารย์ในหลักสูตรนี้เป็นอาสาสมัคร เรียกชื่อว่า ศิลปาจารย์) จะต้องมีทักษะในการชวนนักศึกษาตั้งเป้าการเรียนรู้ว่าในกิจกรรมภาคปฏิบัตินั้นๆเป้าหมายมี ๒ เป้าคือหาทางบรรลุผลงานกับเรียนรู้ทฤษฎี ก, ข, ค, ...แล้วหลังจากนักศึกษาเรียนรู้จากการปฏิบัติ คอยทำหน้าที่“คุณอำนวย” (facilitator) ชวนนักศึกษา ทำ AAR การเรียนรู้ทฤษฎีเป็นระยะๆ

การฝึกฝนศิลปาจารย์ให้เข้าใจ ทฤษฎี และให้มีทักษะในการทำหน้าที่ “คุณอำนวย”เพื่อช่วยให้นักศึกษาเรียนรู้จากการปฏิบัติได้ลึกนำประสบการณ์จากการปฏิบัติไปอธิบายความรู้ เชิงทฤษฎีได้ด้วยภาษาของตนเอง จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

หากปฏิบัติได้เช่นนี้ ก็จะมั่นใจได้ว่าการศึกษาแนวสวนกระแสสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพจริง

การเรียนรู้ที่ลึกต้องตั้งคำถาม Whyและหาความรู้เดิม มาตอบคำถามนั้นได้ส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดหากค้นหาความรู้เดิมจนทั่วแล้ว ก็ยังตอบคำถามไม่ได้ทั้งหมดก็เท่ากับมีการค้นพบความรู้ใหม่จากการปฏิบัติซึ่งก็จะยิ่งทำให้การเรียนรู้ยิ่งลึกขึ้น

วิจารณ์ พานิช

๑ ส.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 กันยายน 2014 เวลา 09:25 น.
 


หน้า 325 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8747185

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า