Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ยุบ สมศ.

พิมพ์ PDF
ระบบการประเมิน ทั้งการประเมินภายใน และการประเมินภายนอก ของการศึกษา น่าจะเดินผิดทาง ถ้าดู learning outcome ว่าต้องทำให้เกิดพัฒนาการรอบด้าน ไม่ใช่เฉพาะด้านวิชาความรู้อย่างที่วัดกันอยู่ในการทดสอบระดับชาติที่ทำกัน ซึ่งวงการศึกษารู้กันทั่ว และในพระราชบัญญัติการศึกษาก็ระบุชัดเจนทุกฉบับ ว่าการศึกษาต้องให้เกิดพัฒนาการรอบด้าน ครบทุกด้าน ทั้งด้านสติปัญญา หรือวิชาความรู้ (intellectual), ด้านอารมณ์ (emotional), ด้านสังคม (social), ด้านจิตวิญญาณ (spiritual), และด้านกายภาพ (physical)

ยุบ สมศ.

ข่าวข้อเสนอให้ยุบ สมศ. กำลังแรง ผมจึงนำบันทึก ที่เคยเสนอความเห็นเรื่องนี้ เมื่อ ๙ เดือนก่อน มาเผยแพร่ซ้ำ อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๑๖ ก.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฏาคม 2014 เวลา 08:02 น.
 

วิธีพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

พิมพ์ PDF

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการฝึกอบรมบทบาทการเป็นอาจารย์ และพัฒนาการสอน ในหัวข้อ "วิธีการในการพัฒนาการคิดและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) ผ่านกิจกรรมการเรียนรการสอน รวมทั้งการวัดผล (ออกข้อสอบเชิงสังเคราะห์)" และเชิญผมไปบรรยาย ในหัวข้อดังกล่าว ในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗

ผมต่อรอง ขอให้จัดเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเรียนรู้เรื่องการคิดอย่างมีวิจารณญาณ(Critical Thinking) ผ่านประสบการณ์ตรง และทางคณะตกลง จึงเกิดวิธีเรียนรู้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผ่านการลงมือทำ โดยใช้เครื่องมือการคิดแบบหมวกหกใบ เหมือนกับที่ผมไปจัดการประชุมปฏิบัติการ ที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ห่างกันเพียง ๗ วัน

ผลออกมาคล้ายกัน คือประสบความสำเร็จ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพอใจ ว่าทำให้เกิดการเรียนรู้ ดีกว่าการฟังบรรยาย

น่าเสียดาายที่ผมทำไฟล์ narrated ppt ของการประชุมหาย จึงนำเสียงของการประชุมมา ลปรรฟัง ,



วิจารณ์ พานิช

๒๖ พ.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฏาคม 2014 เวลา 23:10 น.
 

ครูไทยขาดทักษะในห้องเรียน

พิมพ์ PDF

เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ มีการประชุม Steering Committee Meeting ของโครงการจัดตั้ง สถาบันวิจัยระบบการเรียนรู้ ที่ TDRI โดยมีการนำเสนอผลงานวิจัยเบื้องต้นของระบบบุคลากรครู โดยคุณศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์

ประเด็นสำคัญที่ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ คือ ใน ๑๐ ปีข้างหน้าจะมีครูเกษียณ ๑.๘ แสนคน และต้องการครูใหม่ ๑.๒ แสนคน เท่ากับในปี ๒๕๖๖ จะมีครูรุ่นใหม่ถึงร้อยละ ๔๐ ของครูทั้งหมด หากครูรุ่นใหม่ผ่านการผลิตแบบใหม่ มีทักษะการเป็นครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ คุณภาพการศึกษาไทย มีโอกาสกระเตื้องขึ้น

ผมได้ชี้ต่อที่ประชุมว่า หากคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ยังผลิตครูตามแนวทางที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เราก็จะได้ครูแบบเดิมนั่นเอง เป็นครูที่มีแต่ความรู้เชิงทฤษฎี แต่ไม่มีทักษะในห้องเรียน (classroom skills)

เพราะคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในปัจจุบัน ยังใช้หลักสูตรผลิตครูที่ล้าสมัย เน้นที่ความรู้ ยังไปไม่ถึงการฝึกทักษะ และยึดถือแนวคิดหรือกระบวนทัศน์ทางการศึกษาที่โบราณตกยุค คือเน้นการ ถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูป หรือความรู้มือสอง ไม่เปลี่ยนไปสู่การเอื้อให้ศิษย์สร้างความรู้ขึ้นเองภายในตน และทดลองทดสอบความรู้เหล่านั้นด้วยประสบการณ์ที่ครูเอื้อให้ศิษย์ได้ผ่าน จนในที่สุดมีความคล่องแคล่ว ในทักษะชุดหนึ่ง ที่เรียกว่า “ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑”

ทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งของครู (และรวมอยู่ในทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ แล้ว) คือทักษะในการเรียนรู้ จากการทำงานหรือประสบการณ์ ครูต้องมีทักษะในการเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครู ซึ่งก็คือเรียนรู้ จากศิษย์นั่นเอง ครูไทยไม่มีทักษะนี้ เพราะคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เน้นสอนความรู้สำเร็จรูป ไม่เน้นฝึกการเรียนรู้จากการปฏิบัติ

classroom skills มี ๒ อย่าง คือทักษะเอื้อให้ศิษย์เรียนรู้จากการได้สร้างความรู้ขึ้นทดลองใช้ และทักษะในการเรียนรู้ของตัวครูเอง จากการทำหน้าที่เอื้ออำนวยการเรียนรู้ของศิษย์

วิจารณ์ พานิช

๑๐ มิ.ย. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฏาคม 2014 เวลา 23:12 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๐๒. ต่างก็ทำงานเพื่อตนเอง

พิมพ์ PDF

วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๗ ช่วงเช้า ผมไปทำหน้าที่ประธานการประชุมมูลนิธิเพื่อการพัฒนา นโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ได้รับทราบการทำงานหลากหลายด้านของหน่วยงานวิชาการที่ได้รับการยกย่อง ไปทั่วโลกแห่งนี้

หนึ่งในงานวิชาการนั้น คือเรื่อง การวิจัยและพัฒนานโยบายกำลังคนด้านสุขภาพ ซึ่งการดำเนินการ ระดับโลกร่วงโรยลงไปเรื่อยๆ ในอดีตมีการตั้งหน่วยงานขึ้นมาทำงานในระดับโลก นพ. วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร เล่าว่า บุคคลที่เกี่ยวข้อง “ต่างก็ทำงานเพื่อตนเอง” ไม่ได้คิดทำงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม หรือของโลก ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

เมื่อเป็นเช่นนั้น หน่วยงานนั้นก็ไม่ได้ทำประโยชน์สมตามวัตถุประสงค์ และถูกยุบไป

ทำให้ผมหวนกลับมาคิดถึงเมืองไทย ผมพบว่าหน่วยราชการส่วนใหญ่ทำงานแบบไม่คิดร่วมมือ หรือทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ไม่ได้มองเป้าหมายภาพใหญ่ของประเทศ มองแต่หน้าที่แคบๆ ของหน่วยงาน คือ “ต่างก็ทำงานเพื่อตนเอง”

ในระดับบุคคล ผมเห็นข้าราชการผู้ใหญ่จำนวนมาก ทำงานเพียงเพื่อรักษาเก้าอี้ของตน ไม่ได้สนใจผลประโยชน์ของส่วนรวม คนเหล่านี้ “ต่างก็ทำงานเพื่อตนเอง”

ยิ่งในหมู่นักการเมือง และพรรคการเมือง ผมได้เห็นสภาพที่ “ต่างก็ทำงานเพื่อตนเอง” ดังที่โครงการดีๆ ที่ริเริ่มโดยรัฐบาลหนึ่ง เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลโดยต่างพรรคเข้ามาเป็นรัฐบาลแทน แม้โครงการนั้นจะดี ก็จะถูกทอดทิ้งหรือยกเลิก ผมได้เห็นการพัฒนาที่ต้องการความต่อเนื่องถูกทำลาย โดยความเห็นแก่ตัวของนักการเมืองและพรรคการเมือง ในทำนองนี้ ที่ผมเห็นชัดที่สุดคือระบบการศึกษา

ในสายตาของผม นี่คือ “ความชั่ว” อย่างหนึ่ง ระบอบทักษิณนอกจากโกงอย่างซึ่งหน้าแล้ว ยังทำทุกอย่างเพื่อตนเอง และสร้างมาตรฐานสังคม ให้ยอมรับว่า ใครเข้ามามีอำนาจก็ย่อมทำเพื่อตัวเอง และพวกพ้อง ซึ่งเป็นมาตรฐานสังคมที่นำไปสู่ความเสื่อมทราม

สังคมใด หน่วยงานใด วงการใด ตกอยู่ในสภาพ “ต่างก็ทำงานเพื่อตนเอง” ย่อมล่มจมในที่สุด ความเห็นแก่ตัว ไม่เป็นคุณเลย ในระยะยาว

วิจารณ์ พานิช

๑๓ มิ.ย. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฏาคม 2014 เวลา 23:17 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๐๑. ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากร ด้านสุขภาพในศตวรรษที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๕๗ - ๒๕๖๑)

พิมพ์ PDF

วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๗ ช่วงบ่าย มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์พัฒนา การศึกษาสำหรับบุคลากร ด้านสุขภาพในศตวรรษที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๕๗ - ๒๕๖๑) เป็นครั้งแรก คณะกรรมการชุดนี้ ตั้งโดย “คสช.” (คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ) ผมโดนใช้ให้ทำหน้าที่ประธาน

ที่จริงประเทศไทยเราเคลื่อนไหวเรื่องนี้มา ๔ ปีแล้ว ดังที่ผมได้นำมาเล่าในบันทึกใน Gotoknow เป็นระยะๆ ที่นี่ กิจกรรมเหล่านั้น นำมาสู่การทำงานขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ ภายใต้ร่มของคณะ กรรมการสุขภาพแห่งชาติ

การทำงานขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการศึกษาของบุคลากรด้านสุขภาพ และงานภาพใหญ่อื่นๆ ทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า สังคมไทยเราขาดกลไกทำงานภาพใหญ่ ที่เชื่อมโยงหลายหน่วยงานหลายฝ่ายเข้าด้วยกัน มักมีการทำงานง่วนอยู่กับภาพเล็ก เฉพาะเรื่องของตน ที่เรียกว่าทำงานแบบ ไซโล

และใครอาสาไปทำงานภาพใหญ่ให้แก่สังคม ก็ต้องทำใจยอมรับการเจ็บตัวปวดใจ หรืออดทน จากการถูกต่อว่า ว่าทำไมทำกันอยู่ในวงแคบ ตนไม่รู้เรื่อง หรือไม่เปิดโอกาสให้คนวงอื่นเข้ามาร่วม ทั้งๆ ที่การประชุมนั้นบอก อยู่โทนโท่ ว่าเป็นกลไกเพื่อหาทางช่วยกันทำงานในวงกว้าง

ผมได้เรียนรู้จากการประชุมนี้ว่า การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนั้น ต้องเน้นขับเคลื่อนด้วยรูปธรรม อย่าหลงขับเคลื่อนหลักการหรือนามธรรม เพราะจะเข้าใจยาก และที่สำคัญ ไม่กินใจหรือไม่จับใจคน

ต้องขับเคลื่อนด้วยตัวอย่างดีๆ ที่คนเห็นคุณค่า หรือจะใช้ยุทธศาสตร์สร้างความตระหนก เอาตัวอย่างร้ายๆ ที่ผลร้ายใกล้ตัว เอามาขับเคลื่อนความตระหนักก็ได้

ในการประชุมนี้ ศ. นพ. ประเวศ วะสี ได้กรุณามาแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง กระบวนทรรศน์ใหม่และยุทธศาสตร์การวางแผนและผลิตบุคลากรด้านสุขภาพในศตวรรษที่ ๒๑ ท่านที่สนใจติดตามได้ที่ เว็บไซต์http://www.healthprofessionals21thailand.org/

ในวันที่ ๑๗ - ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ จะมีการประชุมระดับชาติและนานาชาติ เรื่อง การพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ ครั้งที่ ๑ เป็นงานใหญ่ ที่มีคนเข้าร่วมหลายร้อยคน

รวมทั้งจะมีการตั้งมูลนิธิการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ ขึ้นมาทำงานนี้ในระยะยาวด้วย

ผมได้เรียนรู้ว่า ปัจจัยสำคัญที่สุด ในการทำงานที่ยากและซับซ้อนนี้ คือการมีองค์กร ให้ทำงานต่อเนื่องระยะยาว และการมีคนเก่ง มีความสามารถ ทำงานเต็มเวลา เข้ามาทำงาน ขับเคลื่อนเชื่อมโยงกับฝ่ายต่างๆ

วิจารณ์ พานิช

๑๒ มิ.ย. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 16 กรกฏาคม 2014 เวลา 19:19 น.
 


หน้า 338 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8746800

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า