Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

THE Asia University Rankings 2014

พิมพ์ PDF

THE Asia University Rankings 2014

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2557 สำนักจัดอันดับมหาวิทยาลัย Times Higher Education (THE) ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของภูมิภาคเอเชียประจำปี 2557 ที่เรียกว่า THE Asia University Rankings 2014 Top 100 เฉพาะ 10 อันดับแรกพร้อมทั้งคะแนนรวม (เต็ม 100 คะแนน) เป็นดังนี้

The University of TokyoJapan 76.4 National University of Singapore (NUS)Singapore 72.4 The University of Hong KongHong Kong 65.3 Seoul National UniversityRepublic of Korea 65.2 Peking UniversityChina 65.0 Tsinghua UniversityChina 63.5 Kyoto UniversityJapan 63.2 Korea Advanced Institute of Science and Technology (KAIST)Republic of Korea 62.9 Hong Kong University of Science and TechnologyHong Kong 62.5 10 Pohang University of Science and Technology (Postech)Republic of Korea 61.7

สำหรับมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN) นอกเหนือจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติของสิงคโปร์ที่ติดอันดับ 2 ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในเอเชียโดย THE ในครั้งนี้แล้ว มีอีกเพียง 3 มหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับในครั้งนี้ โดยเป็นมหาวิทยาลัยจากประเทศสิงคโปร์ 1 แห่ง และจากประเทศไทยอีก 2 แห่ง คือ

11 Nanyang Technological UniversitySingapore 57.2

50 King Mongkut's University of Technology, ThonburiThailand 33.0

82 Mahidol UniversityThailand 26.7

สำหรับรายชื่อมหาวิทยาลัยทั้งหมด 100 สถาบัน พร้อมทั้งเกณฑ์ในการพิจารณาและตัวชี้วัด สามารถดูได้ที่เว็บลิงค์ของ THE ข้างล่างนี้

http://www.timeshighereducation.co.uk/world-university-rankings/2013-14/regional-ranking/region/asia

สำหรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในเอเชียในปีนี้ที่ได้มีการประกาศผลก่อนหน้า THE Asia University Rankings 2014 Top 100 ที่สำคัญได้แก่ QS University Rankings : Asia 2014 ประกาศผล Top 300 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2557 และ CWTS Leiden Ranking 2014 (Top 223 Asia Region) ประกาศผลเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2557

โดยกรณีของ QS University Rankings : Asia 2014 มีมหาวิทยาลัยของไทยได้รับการจัดอันดับ 10 สถาบัน ตามลำดับอันดับดังนี้

40 Mahidol University 48 Chulalongkorn University 92 Chiang Mai University 134 Thammasat University 142 Prince of Songkla University 151-160 Kasetsart University 171-180 Khon Kaen University 181-190 King Mongkut’s University of Technology Thonburi 201-250 Burapha University 251-300 Srinakharinwirot University ทั้งนี้มหาวิทยาลัยในกลุ่มอาเซียนที่ติดอันดับของ QS University Rankings : Asia 2014 มีจากประเทศมาเลเซีย 18 สถาบัน ไทย 10 สถาบัน อินโดนีเซีย 9 สถาบัน ฟิลิปปินส์ 5 สถาบัน เวียดนาม 3 สถาบัน สิงคโปร์ 2 สถาบัน และบรูไน 1 สถาบัน โดยรายละเอียดทั้งหมด ดูได้ที่เว็บลิงค์

http://www.topuniversities.com/asian-rankings

ในกรณีของ CWTS Leiden Ranking 2014 (ดำเนินการโดย The Centre for Science and Technology Studies of Leiden University ประเทศเนเธอร์แลนด์) นอกจากเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก รวมทั้งหมด 750 อันดับ มีมหาวิทยาลัยของไทยได้รับการจัดอันดับ 3 สถาบัน ตามลำดับอันดับ คือ 647 Mahidol Univ 657 Chulalongkorn Univ 686 Chiang Mai Univ เมื่อพิจารณาการจัดอันดับของภูมิภาค Asia โดยสำนักนี้ มีมหาวิทยาลัยในเอเชียที่ได้รับการจัดอันดับ 223 สถาบัน มหาวิทยาลัยของไทยได้รับการจัดอันดับในประเภท All Sciences เป็นดังนี้

156 Mahidol Univ 161 Chulalongkorn Univ 184 Chiang Mai Univ

เมื่อพิจารณาเฉพาะสาขา Life Sciences ผลการจัดอันดับเป็นดังนี้

46 Mahidol Univ 93 Chiang Mai Univ 131 Chulalongkorn Univ

โดยรายละเอียดทั้งหมดของ CWTS Leiden Ranking 2014 สามารถดูได้ที่เว็บลิงค์ต่อไปนี้

http://www.leidenranking.com/ranking/2014

ในส่วนที่เป็นข้อมูลผลงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์และมีการอ้างอิงนั้น THE Asia University Rankings 2014 และ CWTS Leiden Ranking 2014 Region: Asia ใช้ข้อมูลจากวารสารในฐานข้อมูล ISI Web of Science ของ Thomson Reuters ในขณะที่ QS University Rankings : Asia 2014 ใช้ข้อมูลจากวารสารในฐานข้อมูล Scopus แต่เนื่องจากสำนักจัดอันดับทั้งสาม ใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดที่แตกต่างกัน จึงยังไม่มีผู้รู้ท่านใดออกมายืนยันว่าสำนักใดจัดอันดับมหาวิทยาลัยได้ดีที่สุด สำหรับองค์กรที่จะจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทยเป็นการเฉพาะนั้น ควรจะศึกษาหลักเกณฑ์ ตัวชี้วัด และระเบียบวิธีในการวิเคราะห์ ของสำนักจัดอันดับในระดับสากลทั้งหลายแล้วมาประยุกต์กับมหาวิทยาลัยของไทยเราอย่างไร คงเป็นเรื่องที่ผู้รู้ในวงวิชาการอุดมศึกษาของไทย จะต้องระดมความคิดกันขนานใหญ่แล้วกระมัง

ผมจึงขอส่งอีเมลเรื่องนี้มายังอาจารย์ เพื่อพิจารณานำลงบล็อกสภามหาวิทยาลัยต่อไป ตามที่อาจารย์จะเห็นสมควรต่อไปด้วย จะขอบคุณมาก

มงคล รายะนาคร

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน 2014 เวลา 21:59 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๘๖. เดินออกกำลังในปักกิ่ง และเดินทางกลับกรุงเทพ

พิมพ์ PDF

ผมบันทึกเรื่องการเดินทางไปปักกิ่งเมื่อเกือบสองปีที่แล้วไว้ ที่นี่ และ ที่นี่

เช้าวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ผมออกจากโรงแรม Vision, 39 Xueyuan Rd., Haidan District, Beijing 100191 แล้วเลี้ยวไปทางซ้ายมือ วิ่งไปผ่านสนามกีฬาที่มีคนมาออกกำลังกันมากพอสมควร ถนนตรงนี้แคบ และอีกฝั่งหนึ่งเป็นร้านอาหาร ที่ทำแผงลอยขายอาหารไว้หน้าบ้าน ลักษณะเป็นบริการคนจน

โรงแรม Vision นี้ถือเป็นโรงแรมหรู และทำเลดี เพราะเดินไปมหาวิทยาลัยปักกิ่งใช้เวลาเพียง ๑๐ นาที ห้องพักดีมาก ดีกว่าโรงแรม Carriage Inn ที่ผมไปพักที่ซาน ฟรานซิสโก และโรงแรม The Churchill ที่วอชิงตัน ดีซี

อากาศตอนเช้าเย็นสบาย ๑๘ องศา แต่พอตกบ่ายก็ร้อน ขึ้นไปถึง ๒๘ องศา และที่ร้ายคือท้องฟ้า ในปักกิ่งปกคลุมไปด้วยหมอกควัน ผมจำได้ว่า ตอนมาคราวที่แล้วเดือนตุลาคม ๒๕๕๕ ตอนเช้าอากาศ หนาวมาก ผมสวมเสื้อหนาวหลายชั้นและสวมถุงมือออกไปวิ่ง

เช้าวันที่ ๑๖ พฤษภาคม วันสุดท้ายในปักกิ่ง อุณหภูมิ ๑๕ องศา กำลังสบาย เวลา ๕.๔๐ น. ซึ่งสว่างจ้า เริ่มมีแดดแล้ว ผมวิ่งออกไปทางขวา ของโรงแรม สังเกตว่ามีเสียงอีการ้อง ไม่มีเสียงนก ที่ให้ความสดชื่นแบบใน วอชิงตัน ดีซี สังเกตว่าบริเวณนี้เป็นที่เขาสร้างอาคารใหม่ทั้งหมด คงจะรื้อสลัม หรืออาคาร ๑ - ๒ ชั้น ออกแบบแผนผังและถนนใหม่หมด จึงมีถนนที่เอื้อเฟื้อต่อจักรยานเป็นอย่างยิ่ง คือมีถนนกลาง สำหรับรถยนต์ ขนาบด้วยถนนข้าง ที่เลนนอกเป็นของรถยนต์ เลนในเป็นของจักรยาน มีป้ายบอกชัดเจน แล้วจึงถึงทางเท้าที่กว้างและสะอาด ในช่วงเวลา ๔ สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเห็นประเทศที่ถนนมี เลนจักรยาน มีการส่งเสริมการใช้จักรยานถึง ๔ ประเทศ คือ นอร์เวย์ ฟินแลนด์ สหรัฐอเมริกา และจีน ที่จีนมีจักรยานไฟฟ้า และมอเตอร์ไซคล์ไฟฟ้า ใช้กันแพร่หลายมาก

ข้อสังเกตในเรื่องการออกแบบภูมิสถาปัตย์ของเมือง คือ เนื่องจากอาคารเป็นอาคารสูงทั้งสิ้น จึงมีพื้นที่ว่างระหว่างตัวอาคาร กับถนน สำหรับจัดสวน เป็นพื้นที่กว้างประมาณ ๑๐ เมตร คล้ายๆ ที่สิงคโปร์ และริมถนนก็ปลูกต้นไม้ใหญ่ ให้ความร่มรื่น แต่ไม่สวยงามเท่าที่สิงคโปร์

ชีวิตยามเช้ามืด เป็นชีวิตของคนจน ผมมีโอกาสได้เห็นรถสามล้อเครื่องบรรทุกของแบบพ่วงท้าย เป็นรถไฟฟ้า เห็นคนขายอาหารมาเตรียมจัดร้าน ที่อยู่ปากซอย

เช้าวันนี้ วิ่งเหยาะได้ ๓๐ นาที ได้เหงื่อทำให้สดชื่น ช่วงนี้ในปักกิ่งเต็มไปด้วยกุหลาบหลากสี และดอกโตมาก

การประชุม 3rd Asia Link Annual Conference ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง จบเวลา ๑๕.๑๕ น. ของวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ทางทีม HITAP ได้รับคำแนะนำจากคนไทยที่ไปทำบริษัททัวร์ อยู่ที่ปักกิ่ง ๑๕ ปีว่า บ่ายวันศุกร์ รถจะติด ให้รีบจับรถ แท็กซี่ไปสนามบินตั้งแต่ ๑๕ น. เราจึงทำตาม และก็เป็นจริงดังคาด รถแท็กซี่หายาก ทีม HITAP เองไม่ใช่คนท้องถิ่นไม่รู้ลู่ทาง เมื่อขอความช่วยเหลือ เขาก็พาไปหารถที่อีกประตูหนึ่ง และหาได้ทันที แต่รถก็ติด ผมนั่งหลับๆ ตื่นๆ ด้วยความเพลีย ใช้เวลาชั่วโมงเศษ ก็ถึงสนามบิน ต้องวิ่งหาที่ เช็คอินกันสองขยัก จึงเรียบร้อย และผ่านเข้าไปด้านใน หาซื้อเครื่องสำอางตามสั่งของสาวน้อย ได้ ๑ อย่าง ไม่ได้ ๑ อย่าง

จากนั้น อ. บุ๋มและผมไปที่ห้องรับรองของ Air China ไปอาบน้ำเพื่อความสบายตัว แต่พบว่าพอกลับ มานั่งในห้องรับรองก็เหงื่อแตกอีก เพราะอุณหภูมิ ๒๘ องศา เซลเซียส เขาไม่เปิดแอร์

สนามบินปักกิ่งกว้างขวางสวยงาม และไม่จอแจมาก แต่ป้ายบอกทางไปประตูทางออกมันยอกย้อน ชอบกล ทำให้เราไปถึงทางออกขึ้นเครื่องเป็นคนท้ายๆ มีคนมาทีหลังเรา ๓ คน เราต้องนั่งรถไปขึ้นเครื่องบิน ซึ่งจอดอยู่ไกล

เที่ยวบิน CA 979 เป็นเครื่อง B 737-800 เหมือนตอนมาจากนาริตะ มีชั้นธุรกิจเพียง ๘ ที่นั่ง และมีผู้โดยสาร ๓ คน ที่นั่งแบบธรรมดา ไม่ใช่ที่นอน ใช้เวลาบินเกือบ ๕ ชั่วโมง บริการอาหารธรรมดาๆ ด้อยกว่าช่วงที่บินมาจากนาริตะ

วิจารณ์ พานิช

๑๖ พ.ค. ๕๗

ต้องการชมภาพประกอบกด link :http://www.gotoknow.org/posts/570944

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน 2014 เวลา 22:14 น.
 

ไปสหรัฐอเมริกา : ๑๑. ร่วมประชุม CUGH 5 วันที่ ๓ วันสุดท้าย

พิมพ์ PDF

วันจันทร์ที่ ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๗ เป็นวันที่สาม ของการประชุม Fifth Annual Global Health Conference ที่เราได้ฟังมุมมองต่อ GH ของยักษ์ใหญ่ด้านการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพอีกท่านหนึ่ง คือ Harvey Feinberg อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และปัจจุบันเป็นประธานของ IOM (Institute of Medicine) ที่มารับรางวัล CUGH Global Distinguished Leadership Award และปาฐกถาพิเศษเรื่อง Challenges and Opportunities in Global Health : The Road Ahead

ผมชอบฟังคนเก่งๆ เช่นนี้ เพราะท่านจะมีมุมมองที่เรานึกไม่ถึง โดยท่านขึ้นต้นว่า สุขภาวะเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยรอบตัว (local) ที่หลากหลาย ได้แก่ ได้แก่ปัจจัยด้านประชากร ๑๔ ประการ (อายุ เชื้อชาติ ภาษา การศึกษา เสรีภาพ การเกิด/การตาย ความกลัว น้ำ เงิน อาหาร คอมพิวเตอร์ ศาสนา เชื้อเอ็ชไอวี), เศรษฐกิจ, ภูมิอากาศ, ระบบการเมืองและสังคม, ภาระโรค (burden of disease)

และขึ้นกับปัจจัยระดับโลก (global) ที่ต้องเผชิญร่วมกัน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของการกระจายกลุ่ม อายุของประชากร (ที่เข้ามาคล้ายกันมากขึ้น เรื่อยๆ คือมีคนกลุ่มอายุต่างๆ พอๆ กัน เขาใช้คำว่า squaring of age distribution of world population), ระบาดวิทยาของโรคก็คล้ายกันมากขึ้นๆ คือโรคไม่ติดต่อกลายเป็นปัญหาหลัก, โลกาภิวัตน์, การสร้างภาระด้านสิ่งแวดล้อมแก่โลก, โลกาภิวัตน์ของวิทยาศาสตร์และการวิจัย, โลกาภิวัตน์ของ กำลังคนด้านสุขภาพ, ความไม่เท่าเทียมกันภายในประเทศเพิ่มขึ้น, ปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และการเข้าถึง บริการสุขภาพ, กติกาด้านอาหารและยา, การต้องเผชิญกับโรคระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อทั่วโลก

หัวใจคือ สุขภาวะ ไม่ใช่ผลบวกของปัจจัยเหล่านี้ แต่เป็นผลของปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อนและปรับตัว อยู่ตลอดเวลา

มหาวิทยาลัยมีภารกิจต่อ GH 5 ประการ ได้แก่ (1) Research and discovery (2) Education for leadership and engagement (3) Partnership in many directiona and levels (4) Civic leadership (5) Preserve and instill values for health

ต่อด้วยพิธีมอบรางวัล Gairdner Global Health Award ซึ่งเริ่มปี 2009 และมีเกณฑ์ในการให้รางวัลคล้าย รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาสาธารณสุข ดังนั้น จึงมีผู้ได้รับรางวัลซ้อนกันมาก คือ Nick White และ Robert Black และผู้ได้รับรางวัลปีนี้คือ Satoshi Omura ก็เคยได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี ๒๕๔๐ จากผลงานการค้นพบยา Ivermectin เช่นเดียวกัน รางวัลนี้มูลค่า ๑๐๐,๐๐๐ เหรียญแคนาดา

ศาสตราจารย์ โอมูระ เล่าว่ายานี้สะกัดจากเชื้อราที่แยกมาจากดินที่สนามกอล์ฟแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น เมื่อแยกสารออกฤทธิ์ได้ในห้องปฏิบัติการที่ญี่ปุ่น ก็ได้ร่วมมือกับบริษัท Merck พัฒนาเป็นยา เดิมมีเป้าให้เป็นยา ฆ่าพยาธิในสุนัข แต่ต่อมาพบว่าฆ่าพยาธิที่ทำให้เกิดโรค River blindness ในคนได้ บริษัท เมิร์ค จึงบริจาคยาให้ รัฐบาลอเมริกันนำไปใช้กวาดล้างโรคนี้ในอัฟริกา และตอนนี้มีผู้ค้นพบว่า ยานี้ฆ่าเชื้อวัณโรค มาลาเรีย และฆ่า เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ได้

ต่อจากนั้น ศาสตราจารย์ William Foege (อ่านว่า เฟกี้) บรรยายเสริมเรื่อง Pharmaco – Philantropy เล่าประวัติศาสตร์ของการที่บริษัทยาบำเพ็ญกุศลเป็นสาธารณประโยชน์ ทำให้มีผู้ฟังลุกขึ้นมาแสดงความเห็นว่า เดิมเขามองบริษัทยาเป็นผู้ร้าย มาฟังวันนี้แล้วจึงรู้ว่า บริษัทยาบางแห่งก็มีจิตกุศลบ้างเหมือนกัน ในบางเรื่องและ บางเวลา

ตอน ๑๑.๐๐ - ๑๒.๓๐ น. ผมไปฟังเรื่อง New Directions for Global Health Research : A Conversation with NIH Leaders ดำเนินการอภิปรายโดย Roger Glass ผอ. FIC มีผู้อภิปราย ๔ คนคือ ผอ. NIAID (ใหญ่เป็นที่ สองใน NIH), NIEHS, NCI (ใหญ่ที่สุดใน NIH), และ NINDS พอจะจับความได้ว่า เขายุให้นักวิจัยจับทำงานที่ไม่ ซับซ้อน น่าจะสำเร็จไม่ยาก แต่ยังไม่มีคนคิดทำ ที่เขาเรียกว่า low-hanging fruits และมีความรู้ที่รู้ๆ กัน แต่ไม่ มีคนเอาไปใช้แก้ปัญหา ณ จุดที่มีปัญหา เขาจึงสนับสนุน implementation science ผมเองมองว่า มหาวิทยาลัย ไทยน่าจะส่งเสริม implementation science มากกว่า discovery science

ผมได้เข้าใจว่าปัญหาโรคทางสมองอย่างหนึ่งคือการเสพติด

วิจารณ์ พานิช

๑๒ พ.ค. ๕๗

โรงแรม The Churchill Hotel, วอชิงตัน ดีซี

ต้องการดูภาพประกอบกด Link :http://www.gotoknow.org/posts/570945

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน 2014 เวลา 22:18 น.
 

ไปสหรัฐอเมริกา : ๑๐. ร่วมประชุม CUGH 5 วันที่ ๒

พิมพ์ PDF

วันอาทิตย์ที่ ๑๑ พ.ค. ๒๕๕๗ เป็นวันที่สอง ของการประชุม Fifth Annual Global Health Conference ที่แค่ฟัง Keynote เรื่อง New Challenges for Global Health in the Post-MDG Eraโดย Peter Piot, Director, London School of Hygiene and Tropical Medicine และเป็นผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปี ๒๕๕๖ จากผลงานด้านการทำให้ยารักษาโรคเอดส์เข้าถึงคนทั่วโลก แค่ได้ฟังท่านพูด ๑ ชั่วโมง ก็ถือว่าคุ้มกับการเดินทาง มาเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ คือทำให้ผมเข้าใจมิติด้าน GH ที่กว้างขวางหลากหลายมาก

ท่านชี้ให้เห็นว่าขบวนการ MDG ได้ก่อความสำเร็จหลายด้าน ได้แก่ ความยากจนลดลง, การตายของ ทารกและเด็กลดลง, การตายจากโรคมาลาเรียลดลง, เงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาเพิ่มขึ้น, มีความหวังว่าจะ พัฒนายาตัวใหม่สำหรับบำบัดวัณโรคได้สำเร็จ, มีความหวังว่าจะกวาดล้างโรคโปลิโอ lymphatic filariasis, และ Guinea Worm ได้สำเร็จ, มีความหวังว่าจะเกิด Grand Convergence ในปี 2035 ซึ่งหมายความว่า อัตราการตาย ของเด็กตั้งแต่เกิดจนอายุ ๕ ปี ในประเทศรายได้ต่ำ จะลดลงมาเท่าอัตราในประเทศรายได้ปานกลางที่ดีที่สุด, อายุขัยเฉลี่ยของประเทศกำลังพัฒนากำลังเพิ่มขึ้นใกล้จะไล่ตามทันประเทศอุตสาหกรรม

แต่ GH ก็เข้าสู่สภาพเปลี่ยนแปลง ที่ยังมีประเด็นท้าทาย ๕ ด้าน คือ (๑) ยังมีประเด็นของ MDG ที่ยังทรงๆ ไม่มีท่าทีว่าจะก้าวหน้าและบรรลุ เช่น ในบางประเทศผู้ติดเชื้อ เอ็ชไอวี รายใหม่ ไม่ลดลง ผู้ป่วย มาลาเรียกลับเพิ่มขึ้นในบางประเทศ ประชากรในประเทศ Sub-Saharan Africa เพิ่มขึ้นมาก (๒) มีปัญหาใหม่ ด้านสุขภาพ และความเสี่ยงลุกลามทั่วโลก เช่นเมื่อดูจาก Global Burden of Disease ภาระโรค เอ็ชไอวี เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็งปอด ฯลฯ เพิ่มขึ้น และมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคตามรูปที่ ๒ (๓) ภาวะคุกคามใหม่ๆ ต่อโลก ได้แก่การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ มลภาวะในอากาศ ปัญหาเรื่องน้ำ การเคลื่อนย้ายประชากรสู่เมือง (๔) โลกาภิวัตน์ของสุขภาพโลก (๕) ระบบทุนสนับสนุนที่เปลี่ยนแปลงไป มีแหล่งทุนใหม่เกิดขึ้น ที่เพิ่มขึ้น ในเชิงเปรียบเทียบ ได้แก่ ของรัฐบาลสหรัฐ ของเอ็นจีโอสหรัฐ ที่เกิดใหม่คือ Global Fund, GAVI ที่ลดลง ในเชิงเปรียบเทียบคือขององค์การอนามัยโลก และของหน่วยงานลูกขององค์การสหประชาชาติ นอกจากนั้น เมื่อวิเคราะห์ลงรายละเอียด การลงทุนของโลกไม่สอดคล้องกับภาระโรคในหลายโรค เช่น เอ็ชไอวีได้รับทุน สนับสนุนมาก แต่วัณโรคได้รับทุนสนับสนุนน้อย สภาพของทุนสนับสนุนการวิจัยก็เปลี่ยนแปลงไป ตามรูปที่ ๓

มองไปในอนาคต ท่านมองขนาดของปัญหา GH ตามรูปที่ ๔ จะเห็นว่าตัวที่ก่อความทุกข์ยากที่สุดคือ การระบาดใหญ่ของการสูบบุหรี่ และการที่ควบคุมโรคเบาหวานให้ลดลงไม่ได้

รูปที่ ๕ - ๑๒ บอกประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ GH ที่ดีมาก อ่านเอาเองนะครับ ผมใช้กล้องถ่ายรูปถ่าย ppt จากจอ เอามาทบทวนทีหลังแทนการจด

หลังจากนั้น เป็นการโต้วาที ในหัวข้อ “เงินช่วยเหลือดอลล่าร์ต่อไปควรให้แก่ฝ่าย demand ไม่ใช่ให้แก่ ฝ่าย supply” โดยฝ่ายเสนอมาจาก Center for Global Development ของ สรอ. ฝ่ายค้านมาจากธนาคารโลก ซึ่งประเด็นจริงๆ คือ ทำอย่างไรเงินช่วยเหลือจะเกิดผลที่สุดต่อสุขภาพของผู้คน

ประเด็นประทับใจของผมคือ ต้องคิดในภาพใหญ่ อย่ามัวหลงอยู่กับจุดเล็กๆ ของการพัฒนา และต้อง หาทางทำให้รัฐบาลของประเทศด้อยพัฒนารับผิดชอบต่อหน้าที่ด้านการพัฒนาสุขภาวะของผู้คน สิ่งที่สองฝ่าย ไม่ได้กล่าวชัดคือ supply side ของสุขภาพ ไม่ได้มีแต่ฝ่ายรัฐบาล ยังมี NGO และภาคธุรกิจเอกชนด้วย

ช่วง ๑๑.๐๐ - ๑๒.๓๐ น. เป็น Concurrent Symposium 8 ห้องพร้อมกัน ผมไปเข้าห้อง Global Health Innovators Taking Their Ideas to Market เป็นเรื่องของหน่วยงาน NCIIA นำเรื่องราวความสำเร็จในการ ส่งเสริมอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัย ให้ทำงานสร้างนวัตกรรมสู่ตลาด มานำเสนอ โดยเป็นเรื่องของ มหาวิทยาลัย Johns Hopkins กับของมหาวิทยาลัย บอสตัน ผมเดาว่าหน่วยงานนี้คงจะมีเรื่องราวความสำเร็จ ด้านอื่นๆ อีกมากมาย ที่เลือกนำมาเสนอเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น โดยของ Johns Hopkins มาจากหน่วยงาน Bioengineering Innovation and Design เป็นผลงานของ นศ. ระดับปริญญาตรี แต่งานที่จะออกสู่ตลาด ต้องทำต่ออีกหลายปี เขาจึงจ้างบัณฑิตผู้คิดค้นนวัตกรรมให้ทำงานต่อ ในหน่วยงานชื่อJHPiego ที่เป็นองค์กรไม่ค้ากำไร ทำงานเพื่อสังคม เรื่องเล่านี้ บอกเราว่า ต้องไม่ใช่แค่ ทำงานพัฒนาเทคโนโลยี ต้องเตรียมการด้านอื่นๆ อีกหลายด้านไปพร้อมๆ กัน

ส่วนของ Boston University เป็นผลงานของ นศ. ปริญญาเอก ผลงานของทั้งสองกลุ่มเน้นเอาไปใช้ ในประเทศรายได้ต่ำ และมีการทดลองนำไปใช้ในสภาพจริง โดยร่วมมือกับทางประเทศปลายทาง คือดำเนินการแบบร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี ไม่ใช่พัฒนาเทคโนโลยีสำเร็จรูป แล้วถ่ายทอดเทคโนโลยี

ผมสังเกตว่า อาจารย์ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมโครงการนี้ของทั้งสองมหาวิทยาลัย เป็นอาจารย์ที่มีพื้นฐานจาก ต่างประเทศ ซึ่งน่าจะเป็นข้อได้เปรียบในการร่วมมือกับประเทศรายได้ต่ำ ผมเดาว่าทางมหาวิทยาลัยน่าจะ จงใจหาอาจารย์ ที่มีพื้นเพจากประเทศด้อยพัฒนามารับผิดชอบโครงการนี้

ช่วงบ่ายผมไปเป็นกองเชียร์ใน Poster Session ที่มีโปสเตอร์ จากไทย ๒ เรื่อง คือเรื่อง Food Security in Older Thai Women โดย รศ. ดร. นพวรรณ อาจารย์พยาบาลแห่งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และเรื่อง Capacity Building on Global Health Diplomacy : Experience from South East Asia Region โดย รศ. ดร. ชื่นฤทัย กาญจนจิตรา

หลังจากนั้น ผมเลือกไปเข้า Workshop เรื่อง International Experiences : Advancing Global Mobility and Student-Driven Activities ซึ่งเป็นการนำตัวอย่างผลงานของ GHLO ซึ่งสนับสนุนโดยสมาคมโรงเรียนแพทย์ ในสหรัฐอเมริกา มาเสนอ เป็นตัวอย่างวิธีการจัดการเพื่อส่งเสริม student mobility ของนักศึกษาแพทย์ อีกหน่วยงานหนึ่งที่ทำงานคล้ายกันคือ GlobeMed ที่เป็น NGO รับทุนสนับสนุนการทำหน้าที่จัดการเชื่อมโยง เครือข่าย นักศึกษา, มหาวิทยาลัย, และองค์กรประชาสังคมในพื้นที่ เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ทำงาน เพื่อสังคมในต่างประเทศ

ช่วง ๑๔.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. เป็นการประชุมรวมในห้องใหญ่ (Plenary) เรื่อง The Sustainability Challenge in the Post-MDG Era เขาเชิญยักษ์ใหญ่ในวงการสุขภาพ ๓ คนมาตอบคำถามของผู้ดำเนินการ อภิปราย คือ คนหนึ่งเป็น รมต. ช่วยสาธารณสุข อีกคนเป็นบรรณาธิการวารสาร The Lancet อีกคนหนึ่งเป็นผู้อำนวยการ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ระหว่างฟังผมนึกในใจว่าเป็นมุมมองของประเทศ พัฒนาแล้วมากไปหน่อย แล้วก็มีผู้หญิงอินเดียลุกขึ้นมาสับ ว่าคณะผู้อภิปรายเอียง มีแต่จากประเทศรวย และไม่มีผู้หญิง คนปรบมือ กันกราว อย่างไรก็ตาม Richard Horton บรรณาธิการวารสาร The Lancet จากอังกฤษ พูดได้มีสีสันมากเช่นเคย ประเด็นที่ผมเห็นด้วยกับเขาคือ ผู้เล่นหรือแสดงบทบาทด้านสุขภาพ ไม่ได้มีเฉพาะรัฐบาล หรือต้องอย่าหวังพึ่ง รัฐบาล ต้องช่วยกันสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคประชาสังคม (civil society) ให้ลุกขึ้นมาแสดงบทบาท

ช่วง ๑๖.๓๐ - ๑๘.๓๐ น. ผมเลือกไปฟัง Symposium : Fogarty Global Health Fellows : Examing Global Health Through Multiple Lenses ได้เข้าใจว่า ทุนส่งเสริมให้นักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพอเมริกัน ไปทำงานวิจัยในต่างประเทศ (ประเทศรายได้ต่ำ) ๑๑ เดือน มีผลส่งเสริมความเข้มแข็งของ GH ของสหรัฐ อเมริกาอย่างไร ในที่สุดคนเหล่านี้ จะมีความผูกพันกับประเทศที่เคยไปทำงานวิจัยไปตลอดชีวิต ระหว่างฟัง ผมนึกถึง ทุนเยาวชน ของมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล แต่กลับทางกัน

เวลา ๑๘.๑๕ น. ท่านอธิการบดีรัชตะ, อ. บุ๋ม และผม มีนัดกับทีมบริหารของ CUGH เพื่อคุยความ ร่วมมือกัน คนที่มาคุยกับเรา คนหนึ่งรู้จักกันอยู่แล้ว คืออดีตประธาน CUGH ชื่อ Judith N. Wasserheit, Professor of Global Health and Medicine, Department of Global Health, University of Washington อีกคนหนึ่งจะเข้ามาเป็น ประธาน CUGH ปีนี้ คือ Timothy F. Brewer, Vice Provost, UCLA Interdisciplinary & Cross Campus Affairs ซึ่งยิ่งคุยกันเขาก็ยิ่งเห็นจุดแข็งของเรา ว่าจะร่วมมือกันได้มาก ผ่าน AAGH (Asia Alliance on Global Health) ที่ MUGH เป็นแม่ข่ายในขณะนี้ และผ่าน PMAC เมื่อเราเล่าเรื่อง PMAC 2015 : Global Health Post 2015 – Accellerating Equity เขาตาลุกทีเดียว

ทาง CUGH เขาเชิญไปรับประทานอาหารค่ำ ท่านอธิการบดีกับ อ. บุ๋มไป ผมขอตัวเพราะหมดแรงจาก การนอนไม่หลับ เนื่องจากการกินสเต๊กที่ Chima Brazilian Steakhouse เมื่อคืนก่อนมากไปหน่อย

วิจารณ์ พานิช

๑๓ พ.ค. ๕๗

โรงแรม The Churchill Hotel, วอชิงตัน ดีซี

ต้องการดูภาพประกอบโปรดกด Link :http://www.gotoknow.org/posts/570878

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน 2014 เวลา 22:24 น.
 

ร่วมประชุม 3rd HIAsiaLink Annual Conference ที่ปักกิ่ง

พิมพ์ PDF

การประชุม HIAsiaLink Annual Conference นี้ ริเริ่มโดย นพ. ยศ. ตีระวัฒนานนท์ ผอ. HITAP ประชุมครั้งแรกที่กรุงเทพ ครั้งที่สองที่ปีนัง มาเลเซีย ครั้งนี้ครั้งที่สามที่ปักกิ่ง วันที่ ๑๕ - ๑๖ พ.ค. ๕๗ คุณหมอยศขนคนของ HITAP ไปกว่า ๒๐ คน เพื่อไปฝึกขึ้นเวทีนำเสนอผลงาน รวมทั้งไปเปิดหูเปิดตา

เขาเชิญคณะกรรมการ HITAP ไปด้วย คนที่ไปคือ คุณหมอโหงว (ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา) ประธานมูลนิธิ คุณหมอพีระพล รองเลขาธิการ สป.สช. อ. บุ๋ม (รศ. ดร. ชื่นฤทัย กาญจนจิตรา) และผม โดย อ. บุ๋มกับผมเดินทางกลับจากอเมริกา ก็ไปต่อที่ปักกิ่งเลย เป็นการเดินทางที่ยาวถึง ๑๒ วัน สะบักสะบอมเอาการ แต่ก็ทนได้ ดีใจที่ร่างกายยังพอสู้ไหว

ผมได้เรียนรู้มากจากการประชุม โดยเฉพาะจากการบรรยาย keynote ของพวกศาสตราจารย์ และผู้ทำงานเรื่องการประเมินเทคโนโลยีโดยตรง เห็นได้ชัดเจนว่า การประเมินเทคโนโลยี (HTA – Health Technology Assessment) เป็นเครื่องมือสำคัญของการบรรลุ UHC (Universal Health Coverage) หรือการคุ้มครอง สุขภาพถ้วนหน้า ภายใต้เงินและทรัพยากรที่มีจำกัด เป็นเครื่องมือให้รู้จักใช้เทคโนโลยี อย่างฉลาด และคุ้มค่า ไม่ตกเป็นเหยื่อของแรงกดดันของธุรกิจที่เสนอเทคโนโลยีใหม่ราคาแพง และไม่คุ้มค่า

ผมสังเกตว่า หน่วยงานที่ทำหน้าที่ HTA ในประเทศสมาชิกของ HTAsiaLink แตกต่างกัน พอจะแยก ได้เป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือ เป็นหน่วยงานอยู่ในกระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยนโยบายสุขภาพของประเทศ กลุ่มที่สอง หน่วยงาน HTA มีทั้งที่อยู่ในฝ่ายกำกับหรือนโยบาย และที่อยู่แยกออกมามีอิสระ ไทยและเกาหลี และอังกฤษ อยู่ในกลุ่มนี้

แบบแรกมีข้อดีคือ ผลงานเข้าสู่ฝ่ายนโยบายหรือกำกับโดยตรง แต่มีจุดอ่อนคือ อาจใกล้ชิดเกินไป จนความเป็นอิสระถูกบั่นทอน แบบที่สอง ที่มีหน่วยงาน HTA อิสระไม่ขึ้นกับหน่วยนโยบายหรือกำกับ มีข้อดีตรงที่มีความเป็นอิสระทางวิชาการสูง แต่ก็มีจุดอ่อนตรงที่หัวหน้าทีมต้องเก่งมาก และมีเครือข่าย นานาชาติหนุนหลัง ประเทศไทยเราโชคดี ที่เรามีคุณหมอยศ

ท่าทีของฝรั่งผู้เชี่ยวชาญที่มาร่วมงาน ที่แสดงความนับถือยกย่องคุณหมอยศ ชัดเจนมาก เป็นการยกย่องจากความสามารถ และการมีภาวะผู้นำ ในการก่อตั้งและขับเคลื่อนเครือข่าย HTAsiaLink เป็นที่น่าภาคภูมิใจของประเทศไทย

วิจารณ์ พานิช

๑๗ พ.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน 2014 เวลา 21:56 น.
 


หน้า 345 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8746512

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า