Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

​ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๘) ต่อจากตอนที่ ๗

พิมพ์ PDF

ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๘) ต่อจากตอนที่ ๗

 

ขอให้ก้าวหน้าสู่ ธรรมาธิปไตย ๙ คือความยุติธรรม สุขสงบ และก้าวหน้าอย่างยั่งยืนยิ่งใหญ่ของปวงชนไทยในแผ่นดิน” “ธรรม คือศูนย์กลางของสรรพสิ่ง ฉันใด, ธรรมาธิปไตย คือศูนย์กลางของปวงชนไทย ฉันนั้น”

 

๑๓. เมื่อได้มีปัญญารู้แจ้งมาเป็นลำดับ ถึงที่สุดแล้ว จะมองเห็นภาพรวมของกฎธรรมชาติบนความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะอสังขตธรรม (ธรรมที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง อยู่เหนือกาลเวลา และพ้นจากกฎไตรลักษณ์) กับ สภาวะสังขตธรรม (ธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ตกอยู่ภายใต้กาลเวลา และตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์) หรือ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะลักษณะแผ่กระจาย กับ สภาวะลักษณะรวมศูนย์ ดำรงอยู่อย่างดุลยภาพในลักษณะพระธรรมจักร  ดังรูป

 

 

๑๔. เมื่อมีปัญญารู้แจ้ง ตถตา หรือกฎธรรมชาติดังกล่าว อย่างถึงที่สุดแล้ว จะกล่าวเพิ่มเติมได้ว่า

(๑) เมื่อพิจารณาขันธ์ ๕ ก็จะพบว่า รูป หรือกาย ประกอบด้วยธาตุ ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม แสดงให้เห็นความแตกต่างหลากหลาย (สังขตธรรม)

นาม ๔ ได้แก่ เวทนา, สัญญา, สังขาร. วิญญาณ ก็มีความแตกต่างหลากหลาย (สังขตธรรม)

จิตที่ปรุงแต่งเป็นอกุศล เช่น กลัว โลภ โกรธ หลง นับตั้งแต่ทำลายตนเอง จนถึงทำลายระดับชาติ ระดับโลก ล้วนมีความแตกต่างหลากหลาย (สังขตธรรม)

จิตที่ปรุงแต่งเป็นกุศล มีความแตกต่างหลากหลาย นับตั้งแต่สร้างประโยชน์แก่ตนเอง ไปจนถึงการสร้างสรรค์ประเทศชาติ และโลก ก็มีความแตกต่างหลากหลาย (สังขตธรรม)

นิพพาน คือ สภาวะพ้นจากการปรุงแต่ง เหนือกาลเวลา รู้เท่าทันต่อสังขาร ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสังขารทั้งปวงแล้ว เมื่อจะคิด พูด ทำความดี แต่ไม่ติดยึดในความดีที่ตนทำ จึงเป็นสภาวะจิตที่อิสระ เหนือการปรุงแต่ง จึงพ้นจากกฎไตรลักษณ์

เมื่อเรามีปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริง และไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ อันมีลักษณะความแตกต่างหลากหลาย (สังขตธรรม) จะสามารถทำให้เราเข้าถึงนิพพาน อันเป็นลักษณะเอกภาพ ดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่าขันธ์ ๕ ดำรงอยู่บนความสัมพันธ์ระหว่างเอกภาพ (อสังขตธรรม) กับ ความแตกต่างหลากหลาย (สังขตธรรม) นั่นเอง

อีกนัยหนึ่ง จิตที่ปรุงแต่ง จะมีลักษณะรวมศูนย์ที่ตนเอง ทั้งอกุศล และกุศล ส่วนจิตอิสระ เป็นจิตที่มีคุณธรรมจะมีลักษณะแผ่ธรรมานุภาพหรือคุณธรรมออกไป

มีข้อสังเกตว่า จิตปุถุชน จะคิดเอาก่อน หรือคิดอยากได้ก่อน ซึ่งมีกิเลสตัณหา ครอบงำ(รวมศูนย์ที่ตน) แล้วจะให้ทีหลัง ลักษณะนี้จะเป็นทุกข์ เพราะตรงกันข้ามกับกฎธรรมชาติ

ส่วนจิตอริยชน จะเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ คือ จะคิดให้ก่อน(ตัณหาไม่เกิด) แผ่คุณธรรมออกไปก่อน แล้วรับปัจจัย ๔ ในภายหลังตามมีตามได้ ท่านจึงไม่เป็นทุกข์ทางใจ เพราะท่านได้รู้แจ้งดำรงตนเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ เช่น พระพุทธเจ้า หรือพระอรหันตสาวกทั้งหลาย จะแผ่เมตตาโปรดสัตว์ แล้วก็จะได้รับการถวายปัจจัย ๔ ในภายหลัง (แผ่เมตตาสอนธรรมก่อน แล้วรับปัจจัย ๔ ภายหลังตามแต่จะได้รับการถวาย และใช้ไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ทำแต่กุศล แต่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในกุศลที่ตนทำ)

ฉะนั้น จิตของผู้รู้แจ้งแล้วจะดำรงอยู่อย่างดุลยภาพ เป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ จึงสามารถนำกฎธรรมชาติมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์สุขแห่งมนุษยชาติได้

(๒) ญาณทัสสนวิสุทธิ ทำให้รู้แจ้งกฎธรรมชาติ อย่างเป็นไปเอง กฎธรรมชาติดำรงอยู่บนความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะอสังขตธรรม (ด้านเอกภาพ) กับ สังขตธรรม อันเป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย เช่น ธาตุต่างๆ หรือสิ่งไม่มีชีวิต ก็มีความแตกต่างหลากหลาย  สิ่งมีชีวิต ได้แก่ พืชและสัตว์ ก็มีความแตกต่างหลากหลาย

สภาวะอสังขตธรรมมีลักษณะแผ่กระจาย ส่วนสภาวะสังขตธรรม มีลักษณะรวมศูนย์  จะเห็นว่าลักษณะแผ่กระจาย กับ รวมศูนย์ เป็นปัจจัยให้กฎธรรมชาติดำรงอยู่อย่างดุลยภาพ

ดังนี้แล้วก็แสดงให้เห็นชัดว่า ความสัมพันธ์ของกฎธรรมชาติ กับ ขันธ์ ๕ อยู่ภายใต้กฎเดียวกัน หรือเป็นหนึ่งเดียวกัน

(๓) นำกฎธรรมชาติ ไปพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์ กับ ดาวเคราะห์ ก็จะพบความสัมพันธ์ ๒ ลักษณะ คือ

๑) ดวงอาทิตย์ เป็นด้านเอกภาพ ดาวเคราะห์ เป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย

๒) ดวงอาทิตย์แผ่โอบอุ้มดาวเคราะห์ ขณะเดียวกันดาวเคราะห์ทั้งหลาย ต่างก็ขึ้นต่อดวงอาทิตย์ หรือรวมศูนย์ที่ดวงอาทิตย์  จะเห็นได้ว่าลักษณะแผ่ กับ รวมศูนย์ ก่อให้เกิดระบบสุริยะจักรวาลดำรงอยู่อย่างดุลยภาพ

 

(๔) พิสูจน์ให้เห็นว่า ขันธ์ ๕ กฎธรรมชาติ และจักรวาล ดำรงอยู่ภายใต้กฎเดียวกัน เป็นสิ่งเดียวกัน คือดำรงอยู่อย่างดุลยภาพ ระหว่างด้านเอกภาพ กับ ด้านความแตกต่างหลากหลาย ซึ่งดำรงอยู่บนสัมพันธภาพในลักษณะพระธรรมจักร นั่นเอง

(๕) ในมิติหนึ่งแสดงให้เห็นว่า กฎธรรมชาติ นั่นดำรงอยู่บนความสัมพันธ์ระหว่างด้านลักษณะทั่วไป (Generality) และด้านลักษณะเฉพาะ (Individuality)

ลักษณะทั่วไป คือ ลักษณะที่แผ่กระจายครอบงำส่วนย่อยทั้งหมด หรือ ลักษณะเฉพาะอันแตกต่างหลากหลายทั้งหมด

ลักษณะเฉพาะ คือ ส่วนย่อยที่มีความแตกต่างหลากหลาย จะได้ขยายความเพิ่มเติมว่า

-  อสังขตธรรม เป็นด้านลักษณะทั่วไปของกฎธรรมชาติ ส่วน สังขตธรรมเป็นลักษณะเฉพาะของกฎธรรมชาติ หรือ อสังขตธรรม เป็นลักษณะทั่วไป ส่วน ธาตุต่างๆ สิ่งไม่มีชีวิต และสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ เป็นด้านลักษณะเฉพาะ

-  บรมธรรม, นิพพาน, ธรรมาธิปไตย เป็นลักษณะทั่วไป ส่วนขันธ์ ๕ เป็นลักษณะเฉพาะ และอีกความสัมพันธ์หนึ่ง นิพพาน เป็นลักษณะทั่วไป ส่วนการปรุงแต่งจิต เป็นกุศล และอกุศล เป็นลักษณะเฉพาะ

-  ดวงอาทิตย์ เป็นลักษณะทั่วไป ส่วน ดาวเคราะห์ เป็นลักษณะเฉพาะ

ในอีกมิติหนึ่ง ถ้าลักษณะทั่วไปเป็นธรรม, ลักษณะเฉพาะ ก็จะพลอยเป็นธรรมไปด้วย อย่างเช่น เมื่อใจบริสุทธิ์ การคิด, การพูด, การกระทำ ก็จะดีไปด้วย หรือ ถ้าดวงอาทิตย์ดำรงอยู่ได้ ดาวเคราะห์ก็ยังดำรงอยู่ได้

แต่ถ้าลักษณะทั่วไปเลวร้าย จะทำให้ลักษณะเฉพาะ หรือส่วนย่อยที่ประกอบกันขึ้นก็จะเลวร้ายไปด้วย เช่น ถ้ากิเลสครอบงำจิต การคิด, การพูด, การกระทำ ก็จะเป็นไปตามอำนาจกิเลส

ดวงอาทิตย์แตกสลาย ดาวเคราะห์ทั้งหลายก็จะพินาศไปด้วย

เมื่อโลกแตกสลาย สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ก็จะต้องพินาศไปด้วย

เมื่อระบอบการเมืองเลว จะเป็นปัจจัยให้รัฐบาล, กระทรวง, กรม, จังหวัด, อำเภอ, ตำบล, หมู่บ้าน, ครอบครัว, บุคคล, ประชาชน จะเลวร้ายย่ำแย่ไปด้วย และในปัจจุบันพระพุทธศาสนาตกอยู่ภายใต้ระบอบการเมืองเลว ศาสนาก็จะทรุดลงไปด้วย เป็นต้น จากนั้นก็จะนำกฎธรรมชาติไปประยุกต์ทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ

(๖) ทั้งหมดที่อธิบายมานั้นเป็นความรู้ที่ค่อนข้างจะยาก ทั้งเป็นองค์ความรู้ใหม่ของโลกในยุคปัจจุบัน แต่ก็สามารถที่จะทำให้เข้าใจได้ รู้แจ้งได้ด้วยความศรัทธา (Faith) ความตั้งใจ (Volition) ความใฝ่รู้ (curiously) คือการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งปริยัติ

และปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา (Insight development) อย่างมีปณิธานอันแน่วแน่เพื่อมวลมนุษยชาติ หรือมีปณิธานในเบื้องต้นว่า “เรียนอะไรก็ได้ ทำหน้าที่อะไรก็ได้ ให้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเทศชาติ” สักวันหนึ่งท่านก็จะเป็นนักการเมืองผู้มีคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ของชาติ และของโลก

แต่ถ้าเป็นพระภิกษุพุทธสาวก  ให้ดำรงสติระลึกอยู่เสมอว่า “ข้าพเจ้าบวชเรียนเป็นภิกษุ ศึกษา ทำหน้าที่ อุทิศตนเพื่อมวลมนุษยชาติตามแบบอย่างพระบรมศาสดา” “คุณธรรมอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ เกิดมาเพื่อรับใช้มวลมนุษยชาติ” เป็นต้น ก็สามารถที่จะเข้าถึงองค์ความรู้ดังกล่าวนี้ได้โดยไม่ยากนัก และจะเป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อมนุษยชาติอย่างกว้างขว้างต่อไป ตามแบบอย่างพระบรมศาสดา

องค์ความรู้อันยิ่งดังกล่าวนี้ คือความเป็นมาของธรรมาธิปไตย เป็นสัจธรรมและปัญญาอันยิ่งใหญ่ของแผ่นดิน ทั้งการประยุกต์ตามลักษณะพิเศษของประเทศไทย สรุปเป็นหลักการปกครอง ได้ดังนี้

๑. หลักธรรมาธิปไตย ๒. หลักพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ ๓. หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ๔. หลักเสรีภาพบริบูรณ์ทางการเมือง ๕. หลักความเสมอภาคทางโอกาส  ๖. หลักภราดรภาพ ๗. หลักเอกภาพ ๘. หลักดุลยภาพ  ๙. หลักนิติธรรม (หลักการปกครองธรรมาธิปไตย ๙ จะขยายความในตอนต่อไป)

ปัญหาของประเทศไม่ใช่อยู่ที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก่อนอื่นจะต้องจัดความสัมพันธ์รัฐธรรมนูญให้มีหลักการปกครองธรรมาธิปไตย ๙ เสียก่อน จากนั้นปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักการปกครอง จึงจะเป็นความถูกต้องและเป็นชัยชนะของประเทศชาติและปวงชนในแผ่นดิน

 

“ถ้ารู้แจ้งลึกซึ้งในอรรถธรรม

ย่อมมีภารกิจสร้างธรรมาธิปไตยเป็นระบอบการเมือง

สรรพสัตว์ทั้งหลายดำรงอยู่ได้ ด้วยธรรมาธิปไตย”

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๑ มิถุนายน ๒๕๕๗

คัดลอกจากหนังสือธรรมาธิปไตย

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 01 มิถุนายน 2014 เวลา 15:56 น.
 

อ่านแล้วเห็นว่าควรเผยแ พร่

พิมพ์ PDF

ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี
คนกตัญญูไม่มีวันตกต่ำ
ดังนั้น อ่านซะดีๆ

.......................................................................................

ลูกจ๋า อย่าส่งแม่ไปบ้านพักคนชราเลย! (อ่านให้ได้นะ)

ลูกสะใภ้พูดว่า “ทำจืด แม่ก็ว่าไม่มีรสชาติ ตอนนี้ทำเค็มนิดหนึ่ง แม่ก็ว่า กินไม่ได้ แล้วจะเอายังไง!”

เมื่อแม่เห็นลูกชายกลับมา ไม่กล้าพูดอะไร ได้แต่กลืนข้าวเข้าปาก ลูกสะใภ้มองตามด้วยความโกรธ

เมื่อลูกชายลองชิมอาหารที่แม่กำลังกิน ก็พูดกับภรรยาว่า
“ผมบอกคุณแล้วไม่ใช่เหรอ ว่าโรคของแม่กินเค็มมากไม่ได้?”

“เอาละ! ในเมื่อเป็นแม่ของคุณ วันหลังคุณก็ทำเองก็แล้วกัน” ลูกสะใภ้กล่าวด้วยความโมโห แล้วก็สะบัดหน้าเดินเข้าห้องไป

ลูกชายเรียกตามด้วยความจนใจ จากนั้นก็หันมาพูดกับแม่ว่า
“แม่ครับ ไม่ต้องกินหรอก เดี๋ยวผมต้มบะหมี่ให้แม่กินนะครับ”

“ลูกมีอะไรจะพูดกับแม่ไหม? ถ้ามีก็บอกแม่เถอะ อย่าเก็บไว้เลย”แม่เห็นอาการกังวลของลูกชาย

“แม่ครับ เดือนหน้าผมได้เลื่อนตำแหน่ง เกรงว่าจะต้องมีงานที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น เมียผมก็อยากออกไปทำงาน คือว่า....”
แม่รู้ทันทีว่าลูกชายจะพูดอะไรต่อ....

“อย่าส่งแม่ไปอยู่บ้านพักคนชรานะลูก....” แม่พูดออกมาอย่างอ้อนวอน

ลูกชายนิ่งคิดไปนาน แต่ก็พยายามหาทางออกที่ดีกว่านี้

“แม่ครับ อยู่บ้านพักคนชราก็ดีนะแม่จะได้ไม่เหงา ที่นั่นมีคนดูแล ดีกว่าอยู่ที่บ้านนะครับ หากเมียผมไปทำงาน เธอจะไม่มีเวลาดูแลแม่เลยนะครับ”

หลังจากที่เขาอาบน้ำเสร็จ ก็ออกมาทานบะหมี่ จากนั้นก็เข้าไปที่ห้องหนังสือ เขายืนนิ่งอยู่ที่หน้าต่าง ในใจเกิดความสับสนขัดแย้ง ไม่รู้จะตัดสินใจอย่างไรดี!

แม่ของเขาเป็นหม้ายตั้งแต่ยังสาว กล้ำกลืนทนทุกข์เลี้ยงเขามาจนเติบใหญ่ อีกทั้งส่งเสียให้เรียนยังต่างประเทศ แต่แม่ไม่ได้อ้างสิ่งที่ทำไปเป็นเบี้ยต่อรองให้เขาต้องเลี้ยงดู
กลับกันภรรยาผู้มาทีหลังกลับเรียกร้องให้เขาต้องรับผิดชอบ นี่เขาต้องส่งแม่ไปอยู่บ้านพักคนชราจริงหรือ?

“คนที่จะอยู่กับแกในช่วงบั้นปลายชีวิตคือเมียนะโว้ย ไม่ใช่แม่!” เพื่อนๆมักจะเตือนเขาอย่างนี้

“แม่ของเธอแก่แล้วนะ หากโชคดีก็อยู่กับแกได้อีกหลายปี ทำไมไม่อาศัยเวลาที่เหลือของแม่แล้วก็กตัญญูปรนนิบัติท่านละ อย่ารอให้แกอยากกตัญญูแต่แม่ไม่อยู่แล้ว แล้วแกจะเสียใจ!” ญาติๆมักจะเตือนเขาว่าอย่างนี้

เขาไม่กล้าคิดอะไรต่อ กลัวว่าตนเองจะเปลี่ยนแปลงความตั้งใจ

เย็นแล้ว พระอาทิตย์กำลังจะลับขอบฟ้า เขานั่งเงียบๆคนเดียวด้วยจิตใจที่หดหู่

ณ บ้านพักคนชราที่แสนจะหรูหรานอกชานเมือง เขาใช้เงินจำนวนมากเพื่อทดแทนความรู้สึกผิดต่อแม่ของเขา อย่างน้อยที่นี่ก็สะดวกสบาย

เมื่อเขาพยุงแม่เข้าสู่ตัวอาคาร ทีวีจอยักษ์กำลังฉายภาพยนตร์ตลกอยู่ แต่ไม่มีเสียงหัวเราะจากผู้ชมแม้แต่คนเดียว คนชราจำนวนหนึ่งที่สวมใส่เสื้อผ้าเหมือนกัน นั่งอยู่บนโซฟานั่งมองประตูทางเข้าด้วยสายตาอันเหม่อลอย หญิงชราคนหนึ่ง กำลังก้มตัวลงไปเก็บขนมที่ตกอยู่ที่พื้นขึ้นมาใส่ปาก

เขารู้ว่าแม่ชอบห้องที่สว่างโล่ง จึงเลือกห้องที่แสงพระอาทิตย์สามารถสาดส่องเข้ามาได้ เมื่อมองออกไปนอกหน้าต่าง ใบไม้กำลังร่วงลงสู่พื้นหญ้าเป็นจำนวนมาก นางพยาบาลหลายคนกำลังเข็นรถเข็นที่มีคนชรานั่งอยู่ออกไปชมพระอาทิตย์ตกดิน รอบตัวเงียบสงัด ทำให้เขาสะท้านวาบในจิตใจ

แม้แสงพระอาทิตย์ยามลับขอบฟ้าจะงดงามสักเพียงใด นั่นก็หมายความว่าความมืดยามค่ำคืนกำลังจะย่างกรายเข้ามาแทนที่ เขาถอนหายใจเบาๆ

“แม่ครับ ผม....ต้องไปแล้วนะ” ผู้เป็นแม่ทำได้เพียงแค่พยักหน้า

ตอนที่เขาเดินจากมา แม่ยังคงโบกมือลาด้วยสีหน้าอันเศร้าสร้อย อ้าปากพูดโดยไม่มีเสียงอยู่ตลอดเวลา เมื่อเขาหันมามอง จึงเห็นผมสีดอกเลาของแม่ เขานึกในใจ “แม่แก่แล้วจริงๆ”

อยู่ๆ ภาพในครั้งอดีตก็ผุดขึ้นในห้วงแห่งความคิด ปีนั้นเขาอายุได้เพียงแค่6ขวบ แม่มีธุระต้องไปต่างจังหวัด จึงต้องพาเขาไปฝากไว้ที่บ้านคุณลุง ตอนที่แม่จะออกจากบ้านไป เขารู้สึกกลัวมาก เอาแต่กอดขาแม่ไม่ยอมให้แม่ไป
“แม่จ๋าอย่าทิ้งหนูไป แม่จ๋าอย่าทิ้งหนูนะ!” สุดท้าย แม่ก็ไม่กล้าทิ้งเขาไปต่างจังหวัด
เขารีบก้าวเท้าเดินออกจากที่นี่ให้เร็วที่สุด เมื่อปิดประตูแล้วก็ไม่กล้าหันไปมองแม่อีก

เมื่อกลับถึงบ้าน เขาเห็นภรรยาและแม่ยาย กำลังเก็บเอาข้าวของของแม่โยนออกมานอกห้อง
ถ้วยรางวัลรูปคนยืนสูงประมาณ3ฟุตที่เขาชนะเลิศประกวดเรียงความ “แม่ของฉัน”
พจนานุกรมอังกฤษจีนที่แม่ซื้อให้เขาในวันเกิด ซึ่งเป็นของขวัญชิ้นแรกที่เขาได้รับจากแม่
ยังมียาหม่องน้ำที่แม่ต้องทาขาก่อนนอนทุกวันฯ

“หยุดเดี๋ยวนี้นะ! พวกคุณโยนของๆแม่ผมออกมาทำไม?” เขาถามออกไปด้วยความโมโหสุดขีด

“ขยะทั้งนั้น ถ้าไม่ทิ้ง แล้วฉันจะเอาของๆฉันวางไว้ตรงไหน?” แม่ยายพูดอย่างไม่สบอารมณ์

“ใช่แล้ว คุณรีบเอาเตียงเน่าๆของแม่คุณไปทิ้งได้แล้ว พรุ่งนี้ฉันจะซื้อเตียงใหม่ให้แม่ฉัน!”

รูปเก่าๆสมัยเขายังเด็กกองอยู่กับพื้น มันเป็นรูปที่แม่พาเขาไปเที่ยวสวนสัตว์และสวนสนุก

“นั่นมันเป็นสมบัติของแม่ผม ใครก็เอาไปทิ้งไม่ได้!”

“มันจะมากเกินไปแล้วนะ มาทำเสียงดังกับแม่ฉันได้ยังไง ขอโทษแม่ฉันเดี๋ยวนี้!”

“ผมเลือกคุณก็ต้องรักแม่คุณด้วย แต่คุณแต่งงานเข้ามาอยู่บ้านผม ทำไมคุณรักแม่ผมไม่ได้?”

ท้องฟ้าอันมืดมิดหลังฝนตก หนาวสะท้านเข้าไปถึงหัวใจ ท้องถนนที่ว่างเปล่าไร้รถรา บีเอ็มดับบลิวคันหนึ่งพุ่งไปข้างหน้าราวกับอยู่ในสนามแข่ง พร้อมกับเสียงสะอื้นไห้ของชายคนหนึ่งซึ่งมุ่งไปทางบ้านพักคนชรานอกเมือง

จอดรถเสร็จ เขารีบวิ่งขึ้นไปที่ห้องพักของแม่ เมื่อเปิดประตูเข้าไป เขายืนมองแม่ด้วยความรู้สึกที่ไม่น่าให้อภัยตัวเอง แม่ของเขาก้มหน้าใช้มือนวดที่ขาของตัวเอง
เมื่อแม่ของเขาเงยหน้าขึ้นมองไปที่ประตู ก็เห็นลูกชายของตัวเองยืนอยู่ และในมือถือยาหม่องน้ำอยู่ และก็พูดออกมาด้วยเสียงอ่อนโยนว่า
“แม่ลืมเอามาด้วย ดีนะที่ลูกเอามาให้...”

เขาเดินไปหาแม่และคุกเข่าลงไป

“ดึกแล้วลูก แม่ทาเองได้ พรุ่งนี้ลูกต้องไปทำงานแต่เช้า กลับไปเถอะ!”

เขานิ่งไปครู่หนึ่ง สุดท้ายก็กลั้นน้ำตาไว้ไม่ได้
“แม่ครับ ผมขอโทษ แม่ยกโทษให้ผมนะ กลับบ้านเราเถอะ!”

#########################

ลูกรัก ตอนที่เจ้ายังเด็ก แม่ใช้เวลาทั้งหมด ค่อยๆสอนให้เจ้าใช้ช้อนใช้ตะเกียบคีบอาหาร สอนเจ้าใส่รองเท้า สอนเข้ากลัดกระดุม สอนเจ้าใส่เสื้อผ้า อาบน้ำให้เจ้า เช็ดอุจาระปัสาวะให้เจ้า

สิ่งเหล่านี้แม่ไม่เคยลืม
หากวันหนึ่ง แม่จำไม่ได้ หรือเริ่มพูดช้าลง ขอเวลาให้แม่สักหน่อย รอแม่ได้ไหม ให้แม่ได้คิด...บางครั้ง สิ่งที่แม่อยากจะพูดกับเจ้า แม่อาจจะพูดกับเจ้าไม่ได้อีกแล้ว

ลูกรัก ลูกจำได้ไหม แม่ต้องสอนเจ้ากี่ร้อยครั้งให้เจ้าพูดว่าคำว่าแม่ได้!
แม่ดีใจมากแค่ไหนที่เจ้าเริ่มพูดเป็นประโยคได้?
แม่ต้องตอบคำถามของเจ้ากี่ร้อยครั้ง กว่าเจ้าจะเข้าใจในสิ่งที่เจ้าสงสัย!

ดังนั้น หากวันหนึ่ง แม่ถามเจ้าซ้ำแล้วซ้ำอีกกับเรื่องเดิมๆ ขอให้เจ้าอย่ารำคาญจะได้ไหม?
ตอนนี้แม่อาจกลัดกระดุมเสื้อไม่ได้ ยามกินข้าวอาจหกเลอะเสื้อผ้า เจ้าอย่าเอ็ดแม่ได้ไหม? ขอให้เจ้าอดทนและอ่อนโยนกับแม่ ขอเพียงเจ้าอยู่ข้างๆแม่ แม่ก็รู้สึกอุ่นใจ

ลูกรัก วันนี้ขาของแม่เริ่มอ่อนแรง ยืนได้ไม่ค่อยนาน เดินเหินลำบาก ขอให้ลูกจับมือและพยุงแม่ไว้ เดินเป็นเพื่อนแม่จนวันที่แม่สิ้นใจ เหมือนวันที่เจ้าคลอดมา แม่ก็พยุงเจ้าเดินอย่างนี้เหมือนกัน !
คัดมาจาก: https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=860177240662744&id=100000114280007

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 28 พฤษภาคม 2014 เวลา 10:14 น.
 

ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๔)

พิมพ์ PDF
ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๔)

ได้อัญเชิญ พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ ้าอยู่หัว พระผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ทรงพระราชทานแก่นายทหารผู้ใหญ่ท ี่เข้าเฝ้า และทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๘ ความตอนหนึ่งว่า 
“...เป็นที่ทราบกันดีว่าทหารมีห น้าที่ป้องกันประเทศและปกป้องคุ ้มครองประชาชนให้มีชีวิตอยู่ด้ว ยความร่มเย็นเป็นปกติสุข หน้าที่นี้ถือว่าสำคัญมาก โดยเฉพาะในระยะปัจจุบันสถานการณ์ในบ้านเมือ งเรา อาจจะกล่าวได้ว่าไม่น่าไว้วางใจ นัก เหตุเพราะภัยอันตรายและความไม่ป กตินานาประการ ทหารจึงต้องสำนึกตระหนักถึงความ รับผิดชอบนี้ให้ดี และทำหน้าที่ของตนให้เข้มแข็งหน ักแน่นยิ่งขึ้น ซึ้งถ้าสามารถทำได้ครบถ้วน แท้จริง ก็จะเป็นความสำเร็จ เป็นความดี เป็นเกียรติ เป็นศักดิ์ศรีของทหารไทย ประชาชนก็จะอยู่เป็นสุข บ้านเมืองก็จะอยู่รอดปลอดภัย และดำรงอยู่ได้ในความมั่นคงสวัส ดี ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์กับทั้งอำนาจแห่งความภักดีที่มีต่อชาติบ้านเมือง จงบันดาลให้ทหารทุกคนประสบความสุขความเจริญ ความมีชัย ความสำเร็จ ในสิ่งที่พึงปรารถนาจงทั่วกัน” 
เพียรพิจารณาธรรมเข้าประกอบในการคิดแก้ปัญหาเหตุวิกฤตชาติ
๑. กฎธรรมชาติ อสังขตธรรมเป็นลักษณะทั่วไป อันเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง และสังขตธรรมเป็นลักษณะเฉพาะ อันมีความแตกต่างหลากหลาย
๒. ทุกข์ของมนุษยชาติ การวิปัสสนาภาวนา ทำให้รู้ว่ามนุษย์มีทุกข์ลักษณะเฉพาะ อันแตกต่างหลากหลาย เช่น ความเกิด ความแก่ชรา ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพราก ฯลฯ ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ และมีทุกข์อันเป็นลักษณะทั่วไป หรือเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง คือ อวิชชา คือความไม่รู้ในอริยสัจ ๔, ตัณหา ความอยากได้ทั้งปวง, อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นเหตุใหญ่ แต่เมื่อกล่าวถึงที่สุดแล้ว เหตุแห่งทุกข์ มีเพียงประการเดียว คือ อวิชชา อันเป็นทุกข์ลักษณะทั่วไป ถ้าไม่แก้ไขตรงที่อวิชชา ด้วยการวิปัสสนาภาวนา ให้รู้แจ้งสังขารทั้งปวง จนเกิดวิชชาแล้ว ก็ไม่สามารถดับทุกข์ หรือพ้นทุกข์ เข้าถึงนิพพาน, บรมธรรมได้ 
ปัญหาของประเทศชาติ เมื่อคิดอย่างแยบคายในที่สุดย่อมเห็นปัญหามีอยู่ ๒ ลักษณะด้วยกัน คือ
(๑) ปัญหาที่เป็นลักษณะเฉพาะ (Individuality) หรือเป็นปัญหาอัตตวิสัย อันเป็นปัญหาเฉพาะที่, เฉพาะราย, เฉพาะบุคคล, หรือปัญหาส่วนตัว 
(๒) ปัญหาที่เป็นลักษณะทั่วไป (Generality) หรือเป็นปัญหาภาวะวิสัย อันเป็นปัญหาส่วนรวม อันเป็นปมเงื่อน หรือเหตุแห่งปัญหาทั้งปวง หรือศูนย์กลางแห่งปัญหาทั้งปวง คือ ระบอบการเมืองปัจจุบัน นั่นเอง 
ปัญหาลักษณะเฉพาะ อันเป็นทุกข์ด้านลักษณะเฉพาะ (Individual) อันแตกต่างหลากหลายของประเทศไทย ซึ่งเกิดจากระบอบเผด็จการระบบรัฐสภา ได้แก่ 
๑. นักการเมืองด้อยคุณภาพ ขี้โกง ซื้อเสียง ซื้อตำแหน่ง ซื้ออำนาจ 
๒. ปัญหาคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ ในทุกระดับของประเทศ 
๓. พรรคการเมืองซื้อเสียง 
๔. ปัญหา ๓ จังหวัดภาคใต้ 
๕. หนี้สาธารณะเพิ่มมากขึ้นๆ ทุกปี 
๖. การกระชับการรวมศูนย์อำนาจ และการกระชับรวมศูนย์ทุน 
๗. นักธุรกิจการเมืองร่ำรวยอย่างมหาศาล ขนาดจะยึดประเทศเป็นของตนได้ 
๘. ประชาชนได้รับการกดขี่ ขูดรีด และ ได้รับความไม่เป็นธรรมเพิ่มขึ้น 
๙. ประชาชนถูกจับ ขังคุก จนไม่มีคุกที่จะขังแล้ว เพิ่มขึ้น 
๑๐. เด็กจรจัด เพิ่มขึ้น
๑๑. เยาวชนหญิง อายุไม่ถึง ๒๐ ปี ตกเป็นทาสกามารมณ์ และโสเภณีเด็ก, หญิงไทย เป็นโสเภณี กระฉ่อนโลก เพิ่มขึ้น 
๑๒. อิทธิพลอำนาจมืดครอบงำ มอมเมาจาก บ่อนพนัน ซ่อง หวยรัฐ หวยเถื่อน ยาบ้า ยาเสพติดทุกชนิดทั่วแผ่นดินมากขึ้นๆ 
๑๓. การปล้น จี้ ฆ่า ข่มขืน โรคเอดส์ กำลังเพิ่มขึ้นๆ 
๑๔. ประชาชนอ่อนแอ ไร้สมรรถภาพ สิ้นหวัง หมดกำลังใจเพิ่มขึ้น ชนในชาติป่วยทั้งทางจิตและกายเพิ่มขึ้นๆ 
๑๕. คุณธรรมของแพทย์ หดหายถอยลงไป เพิ่มขึ้น 
๑๖. ชาวนา เกษตรกร สิ้นที่ดินทำกินและเป็นหนี้ล้นพ้นตัว จนโงหัวไม่ขึ้นเพิ่มขึ้นๆ 
๑๗. ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม ของชาติถูกทำลายย่อยยับเพิ่มขึ้นๆ 
๑๘. กรรมกร ลูกจ้าง ถูกเอารัดเอาเปรียบดุจทาส และว่างงานเพิ่มมากขึ้นๆ 
๑๙. ตำรวจที่ดี กลายเป็นผู้พิทักษ์ความเลวร้ายทั้งรีดและไถเพิ่มขึ้นๆ 
๒๐. รัฐบาลมัวแต่แก้ปัญหาปลายเหตุ ต้องจ้างเจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ ราชทัณฑ์ ผู้พิพากษา เพิ่มจำนวนมากขึ้นๆ แต่ก็แก้ปัญญาอาชญากรรมให้ลดลงไม่ได้เลย 
๒๑. ข้าราชการดีๆ กลายเป็นผู้กดขี่ ขี้โกง คอร์รัปชั่นเพิ่มขึ้นๆ 
๒๒. นักวิชาการดีๆ กลายเป็นอาชญากรทางปัญญาเพิ่มขึ้นๆ 
๒๓. นักบริหารดีๆ กลายเป็นนักบริหารที่ล้มเหลวเพิ่มขึ้นๆ 
๒๔. อุตสาหกรรม ขนาดเล็ก ขนาดกลางและทุนชาติ ต้องเลิกกิจการเพิ่มขึ้นๆ 
๒๕. รัฐวิสาหกิจ ถูกแปรรูป ขายให้นายทุนต่างชาติ เพิ่มค่าบริการขูดรีดเพิ่มขึ้นๆ 
๒๖. ธนาคารไทย ถูกต่างชาติบีบให้ขายหุ้นมากกว่า ๕๐% มากขึ้นๆ 
๒๗. กองทัพที่ดี กลายเป็นกองทัพที่ไร้สมรรถภาพ เพิ่มขึ้นๆ 
๒๘. พระภิกษุอ่อนแอเพิ่มขึ้นๆ มิได้นำปัญญาคิดแก้ปัญหาเหตุวิกฤตชาติ เพิกเฉยต่อมิจฉาทิฏฐิและความเลวร้ายท่วมแผ่นดินอีกนานเท่าใด 
ประเทศไทย อันอุดมสมบูรณ์ที่สุด แต่ประชาชนยากจน ล้าหลังเพิ่มขึ้นๆ ผู้ปกครอง นักวิชาการ สื่อมวลชนบางส่วน จะพิทักษ์รักษาระบอบการปกครองของชนส่วนน้อย ระบอบเผด็จการระบบรัฐสภา อันเป็นต้นเหตุแห่งความเลวร้ายทั้งปวงภายในชาติไว้อีกนานเท่าใด 
ผู้ปกครอง มีมิจฉาทิฏฐิ ต่อระบอบการปกครองอีกยาวนานเท่าใด 
จิต, วิญญาณ ของปวงชนไทยได้ตกต่ำลงๆ สวนทางกับกฎเกณฑ์ “วิวัฒนาการของธรรมชาติ” ยาวนานอีกเท่าใด (เมื่อจิต, วิญญาณหรือภูมิธรรมของพ่อ แม่ ตกต่ำ ลูก ย่อมตกต่ำด้วย เหตุเพราะการทำมาหากินฝืดเคืองและสิ่งแวดล้อมเลวร้าย) 
ความฉลาดของคนในชาติได้ลดน้อยถอยลง พลังคุณธรรม ปัญญาความฉลาดและพลังสร้างสรรค์ต่างๆ ได้หดหายไปคืออันตรายอย่างร้ายแรงอย่างยิ่งของประเทศชาติและประชาชน ทั้งหมดนี้เป็นผลของระบอบเผด็จการระบบรัฐสภา ทั้งสิ้น
สมุทัย คือเหตุแห่งความเลวร้ายทั้งปวงในแผ่นดิน อันเป็นปัญหาลักษณะทั่วไป คือระบอบการปกครองปัจจุบันเป็นมิจฉาทิฏฐิสวนทางกระแสธรรม ได้ทำลายจิตสำนึกในความเป็นไทย ทำลายคุณค่าและคุณธรรมทั้งปวง ทั้งบุคคลและสถาบันต่างๆ ภายในชาติให้ตกต่ำ และทำให้ประเทศชาติต้องล้มเหลวอย่างย่อยยับในหลายๆ ด้าน ”เพราะได้ละเลยต่อหลักธรรมการปกครองและการจัดความสัมพันธ์ในองค์รวมทั้งหมดไม่ถูกต้อง ไร้กฎเกณฑ์แห่งธรรม อย่างสิ้นเชิง” 
จากลักษณะดังกล่าวคุณธรรมของบุคคล และสถาบันหลักของชาติ แม้จะสูงส่งเพียงใด ก็มิอาจจะต้านทานระบอบการเมืองที่เลวร้ายนี้ได้ 
นิโรธ คือความดับทุกข์ การจะดับทุกข์ของแผ่นดินได้ก็ด้วยประเทศไทยมีการปกครองระบอบที่เป็นธรรม หรือธรรมาธิปไตย คือหลักการปกครองทั้ง ๙ ที่ได้ประยุกต์มาจากสภาวธรรมอันเป็นกฎธรรมชาติเข้ากับลักษณะพิเศษของประเทศไทย เสนอโดยสถาบันพระศาสนา มนุษยชาติต่างก็มีศาสนา ต้องถือสิ่งสูงสุดในศาสนาของตนๆ นำมาเป็นหลักการเรียกว่า “ธรรมาธิปไตย” สภาวะธรรมาธิปไตยมีอยู่ในทุกศาสนา และเป็นความบริสุทธิ์ที่มีอยู่ในใจของมนุษยชาติทุกคน อาจจะต่างกันที่สมมติบัญญัติ ตามแต่ภาษาของตนๆ 
เท่านั้น สมดัง อุทานธรรมที่ว่า “ภูเขายังตั้ง ตะวันยังฉาย ธรรมาธิปไตยไม่สลายจากใจมนุษยชาติ” อันนี้พิสูจน์ได้เลย จะเห็นว่า ความกลัว โลภ โกรธ หลง ดีใจ เสียใจ เกิดแล้วสลาย
ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งชาติ มาแต่โบราณกาล ก็ควรจะมีหลักพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งชาติ เป็นหลักการปกครอง 
เรามีประชาชน เราก็ต้องมีหลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน เป็นหลักการปกครอง และเป็นความสัมพันธ์ของปวงชนทางการเมือง นอกจากหลักธรรมาธิปไตย, หลักพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งชาติ, หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชนแล้ว ยังจะต้องมีหลักการพื้นฐานได้แก่ หลักเสรีภาพบริบูรณ์ หลักความเสมอภาคทางโอกาส หลักภราดรภาพ หลักเอกภาพ หลักดุลยภาพ หลักนิติธรรม รวมแล้ว ๙ หลัก นี้คือยุทธศาสตร์ทั่วไปของชาติ ที่เป็นทั้งจุดหมายหรือศูนย์กลางทางการเมืองและมรรควิธีในทางการเมืองการปกครองอย่างแท้จริง
มรรค คือหนทางปฏิบัติเพื่อให้บรรลุระบอบการเมืองธรรมาธิปไตย ๙ ได้ให้ความเป็นธรรมต่อปวงชนอย่างตรงไปตรงมา ด้วยการกลับมาสู่ความถูกต้องดังเดิม อันสถาบันพระศาสนา ร่วมมือกับสถาบันพระมหากษัตริย์ (กองทัพ) ทั้งผู้นำประชาชนโดยธรรม ร่วมกันแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ 
ขอให้ประชาชนผู้เชิดชูธรรม ถือธรรมเป็นธงชัยทั่วแผ่นดิน แสดงความจงรักภักดีและด้วยความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ ควรออกมาแสดงประชามติ ขอพระราชทานระบอบการปกครองแบบธรรมาธิปไตย อันเป็นทางเอกทางเดียวอันศักดิ์สิทธิ์ ด้วยพระเกียรติยศ และเกียรติศักดิ์อันสูงสุด ที่จะแก้เหตุวิกฤตชาติให้ผ่านพ้นไปได้ คือองค์พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม ตามพระราชปณิธานในพระปฐมบรมราชโองการของพระองค์ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” 
ผู้รู้ ผู้มีดวงตาเห็นธรรมทั้งหลายต่างยอมรับว่า ธรรมย่อมไม่ทำร้ายใคร มีแต่จะโอบอุ้มชุบชีวิตให้มีความก้าวหน้าร่วมกันอย่างเป็นสุข ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดๆ ก็ตาม ทั้งจะทำให้เกิดความรู้รักสามัคคีในแผ่นดิน ด้วยหลักธรรมาธิปไตยเท่านั้น ดังกล่าวนี้ สื่อมวลชนทั้งหลายจะได้เจริญรอยตามพระยุคลบาท รวมมือถ่ายทอดแนวทางธรรม อันเป็นประโยชน์อันยิ่งต่อประเทศชาติและปวงชนอย่างสูงสุด อย่าให้เนิ่นช้าอยู่เลย อาจจะสายเกินแก้ 
ทั้งนี้เมื่อทรงสถาปนาระบอบธรรมาธิปไตยแล้ว จะเป็นปัจจัยได้ประชาธิปไตยอย่างเป็นไปเองและสมบูรณ์ที่สุดด้วย
“ธรรมาธิปไตย
จะเป็นปัจจัยให้ชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ สูงส่งมั่นคงยั่งยืนสืบไป"
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
28 พ.ค.2557
คัดลอกจากบทความของ ดร.ป.เพชรอริยะ จากหนังสือธรรมาธิปไตย 9
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 28 พฤษภาคม 2014 เวลา 11:13 น.
 

ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๕)

พิมพ์ PDF

ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๕)

 

มนุษยชาติ มีความไม่ลงรอยกันก็เพราะความเชื่อ ความยึดมั่นถือมั่นอันสุดโต่งไปทางใด ทางหนึ่งระหว่างลัทธิจิตนิยม (Idealism) กับ ลัทธิวัตถุนิยม (Materialism) หรือระหว่างจิตนิยมต่อจิตนิยมด้วยกันเอง หรือระหว่างวัตถุนิยมต่อวัตถุนิยมด้วยกันเอง ด้วยลัทธิดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์และไม่ใช่ทางสายกลาง ใครที่ยึดมั่นถือมั่นในลัทธิดังกล่าว จะเป็นเหตุให้สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง และไม่อาจจะรู้แจ้งธรรมทั้งองค์รวมได้

๑. ลัทธิจิตนิยม (Idealism) มีแนวคิดพื้นฐานว่าจิตเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง และมีความเชื่อว่าวัตถุเป็นผลผลิตของจิต จิตเท่านั้นเป็นความจริงแท้ ส่วนวัตถุเป็นเพียงปรากฏการณ์ คนที่อยู่ในแนวคิดนี้ก็จะถือตนเป็นใหญ่ ถือตัวกูเป็นใหญ่ ถือประโยชน์ตนและพวกพ้องเป็นใหญ่ โดยภาพรวมก็คือการถืออัตตาตัวตนเป็นใหญ่ จะเห็นพฤติกรรมได้จาก

๑.๑ รัฐธรรมนูญปัจจุบัน, บังคับให้ ส. ส. ต้องสังกัดพรรค โดยเจ้าของพรรค หรือนายทุนพรรคซื้อมาแล้วจะได้ควบคุม ส. ส. ของพรรคไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง ใครออกนอกลู่นอกทางจะต้องถูกไล่ออก จากความคิดดังกล่าวจะเห็นได้ว่าพรรคแบบนี้ อุปมาได้ว่า

(๑) เจ้าของพรรค หรือนายทาส

(๒) หัวหน้าทาส ได้แก่ผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อ หรือพวกรัฐมนตรี

(๓) ทาสทางการเมือง ได้แก่พวก ส. ส. ที่ยอมขายตัว ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องทำตามเจ้าของพรรค พวกเขาจึงเป็นเพียงผู้แทนของนายทุนพรรค ไม่ใช่ผู้แทนของประชาชน

(๔) ประชาชนผู้ไม่รู้เท่าทันการเมือง หรือด้วยอามิสสินจ้าง หรือด้วยเพราะสัญญาว่าจะให้ประโยชน์ ฯลฯ

๑.๒ ในทางเศรษฐกิจ จะมองทุกอย่างเป็นกรรมสิทธ์ของเอกชน เช่น แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ให้เป็นของเอกชน และมีความรู้สึกนึกคิดว่าตนเป็นผู้ฉลาด มีความมั่นใจในตนเองสูง มีความสามารถเหนือคนอื่น จะทำอะไรๆ มือใครยาวสาวได้สาวเอา เมื่อตนเองมั่งคั่งร่ำรวย ก็จะดูหมิ่นคนยากคนจนว่าโง่เขลา เกียจคร้าน ขี้อิจฉา ฯลฯ

การแสดงออกจากความคิดดังกล่าวนี้ ในเรื่องรัฐธรรมนูญ พวกเขาก็จะยกร่างรัฐธรรมนูญ ตามความนึกคิดเพราะจิตมีแต่ความแตกต่างหลากหลาย เช่น บางครั้งเป็นกุศล บางครั้งเป็นอกุศล ทั้งกุศลและอกุศลล้วนมีความแตกต่างหลากหลาย เมื่อได้ยกร่างรัฐธรรมนูญ

ก็จะมีแต่ด้านวิธีการปกครอง ได้แก่ หมวดและมาตราต่างๆ อันแตกต่างหลากหลาย โดยไม่มีหลักการปกครอง (ระบอบ) อันเป็นด้านหลักการ หรือด้านเอกภาพ

พูดง่ายๆ ว่า มีแต่ด้านมรรควิธี  คือมีทางที่จะไป หรือวิธีการที่จะดำเนินการ แต่การดำเนินการนั้นไม่มีหลักหรือไม่มีจุดมุ่งหมาย เมื่อจะตัดสินความถูกผิด ก็วัดกันด้วยจำนวนเสียง

ว่าฝ่ายไหนเสียงมากกว่า จึงเป็นเหตุเข้าทำนองว่า “พวกมากลากไปพาไปพินาศ” ประชาชนก็ไม่รู้ว่าฝ่ายไหนถูกเป็นธรรม หรือฝ่ายไหนไม่ถูกไม่เป็นธรรม ก็เพราะไม่มีหลักการปกครองเป็นตัวเปรียบเทียบ เป็นตัววัดให้พิจารณาได้ว่าการกระทำนั้นๆ ของรัฐบาลจะถูกหรือผิด นั่นเอง การจัดความสัมพันธ์ของรัฐธรรมนูญไทยทำมาแล้ว ๑๖ ฉบับ ได้จัดความสัมพันธ์โดยไม่มีหลักการปกครอง คือไร้จุดมุ่งหมาย เกิดความสับสนอย่างไม่รู้จบ

 

รัฐธรรมนูญที่ไม่มีหลักการปกครอง กล่าวได้ว่า “เมื่อไม่มีจุดมุ่งหมาย ก็ไม่มีหนทาง เมื่อไม่มีหนทาง ก็ไม่มีความก้าวหน้า อุปมา พายเรือในอ่างน้ำ” การเมืองการปกครองของไทยจึงล้าหลังย่ำอยู่กับที่ น่าเสียดายผู้ปกครองงมงายคิดไม่เป็น

๒. ลัทธิวัตถุนิยม (Materialism) มีความเชื่อพื้นฐานว่า วัตถุเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง และเชื่อว่าวัตถุเป็นความจริงแท้ ส่วนจิตเป็นผลผลิตขั้นสูงสุดในสมอง หรือจิตเป็นภาพสะท้อนของวัตถุ หรือจิตเป็นเพียงปรากฏการณ์ของวัตถุเท่านั้น คนที่อยู่ในแนวคิดนี้จะถือภาวะวิสัยเป็นใหญ่ ถือประเทศชาติ สังคมเป็นใหญ่ ถือสาธารณะเป็นใหญ่ ชิงชังการกดขี่และขูดรีด แต่แนวคิดนี้มีน้อย นอกจากได้อบรมจากลัทธิวัตถุนิยม ชนพวกนี้จะมองว่าปัจจัยการผลิตจะต้องเป็นของรัฐ ปฏิเสธกรรมสิทธิ์ของเอกชน ชนภายในชาติจะต้องอุทิศตนเพื่อสังคม เมื่อมองเผินๆ แล้วดูน่าเชื่อถือ การโฆษณาชวนเชื่อจะเป็นที่ชอบใจของชนที่เสียเปรียบในสังคม และจะลุกขึ้นมาโค่นชนชั้นปกครองผู้กดขี่ ขูดรีดเอาเปรียบประชาชน เช่น ในประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ทั้งหลาย

คำสอนพระพุทธศาสนา คือความจริงตามกฎธรรมชาติ ทั้งจิตตสังขาร และวัตถุ หรือรูปสังขาร เป็น สังขตธรรม เป็นสิ่งปรุงแต่ง เป็นของผสม เป็นสัจธรรมสัมพัทธ์ (Relative truth) เมื่อเกิดขึ้นในเบื้องต้น ต้องแปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด เกิดขึ้นเท่าไรก็ดับไปเท่านั้น ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ ทั้งจิตสังขารและวัตถุ เป็นเพียงมายาไร้แก่นสารที่แท้จริง และตัวมันเองไม่อาจจะทำให้บริสุทธิ์ได้เพราะเป็นสิ่งปรุงแต่งหรือเป็นของผสม และดำรงอยู่อย่างอิสระไม่ได้ ทั้งจิตตสังขารและวัตถุ จึงไม่สามารถจะเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่งได้ ตัวมันเองเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เมื่อไปยึดติดเพราะความหลงเข้าใจผิด ไม่ถูกตรงตามที่มันเป็น ทำให้ผู้ยึดมั่นถือมั่นสุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง

ทั้งลัทธิจิตนิยม และ ลัทธิวัตถุนิยม ความเชื่อทั้งสองไม่อาจเข้าถึงทางสายกลางได้ เมื่อพัฒนาถึงที่สุดแล้ว จะเป็นความไร้แก่นสาร ก็เพราะว่ามันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ตามกฎไตรลักษณ์นั่นเอง ดุจน้ำตกที่ไหลลงจากหน้าผา แล้วจะไปยึดมั่นถือมั่นได้อย่างไร ใครยึดมั่นถือมั่นเพราะความหลงผิด(อวิชชา) ดังนั้น ควรเข้าใจอย่างถูกต้องว่าลัทธิทั้ง ๒ นี้ ไม่อาจเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่งได้

แต่ถ้าเราต้องการรู้แจ้งสัจธรรมก็ด้วยการวิปัสสนาภาวนา จะเกิดมีปัญญาตามความเป็นจริงว่าทั้งจิตตสังขารและรูปสังขารนั้นไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นได้เลย และเห็นภัยจากการยึดมั่นถือมั่นนั้น ทำให้เบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง เป็นกลางต่อสังขาร และคิดหาทางออกอิสระเสียจากสังขารทั้งปวง และเมื่อมีปัญญาอิสระพ้นจากสังขารทั้งปวงแล้ว จะเป็นปัจจัยให้พบสภาวะใหม่ สภาวะนั้นก็คือ นิพพาน, หรือบรมธรรม, หรือธรรมาธิปไตย เป็นภาวะบริสุทธิ์ เป็น อรรถธรรม เป็นแก่นสารที่แท้จริง จึงจะดำรงอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง เพราะมันเป็นสภาวะบริสุทธิ์ และพ้นจากกฎไตรลักษณ์ จึงเป็นสภาวะที่ดำรงอย่างไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่เปลี่ยนแปลง ดำรงอยู่อย่างอมตธรรม

จะเห็นได้ว่าสภาวะดังกล่าวนี้ ดำรงอยู่ในฐานะศูนย์กลางของสรรพสิ่ง ผู้รู้แจ้งย่อมกล่าวว่า “ธรรม ย่อมเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง” หรือ บรมธรรม, นิพพาน, ธรรมาธิปไตย เป็นศูนย์กลางของสังขตธรรม ทั้งรูปและนามอันแตกต่างหลากหลายทั้งปวง นั่นเอง

ในทางพระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธการดำรงอยู่ทั้งจิต และวัตถุ แต่ยอมรับว่าทั้งวัตถุและจิตดำรงอยู่อย่างอิงอาศัยกันในลักษณะสังขตธรรม แปรปรวนดับไปตามกฎไตรลักษณ์

สมดัง อุทานธรรมว่า “ภูเขายังตั้ง ตะวันยังฉาย ธรรมาธิปไตยไม่สลายจากใจคน” ก็จะเห็นได้ว่า จิตตสังสารทั้งที่ปรุงแต่งเป็นกุศลบ้าง และอกุศลบ้าง และเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็แปรปรวนในท่ามกลางและก็ดับไปในที่สุด พูดง่ายๆ ว่า เมื่อเกิดความกลัว โลภ โกรธ หลง เสียใจ เศร้าใจ ดีใจ ฯลฯ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องสลายไป ดำรงอยู่ไม่ได้ แสดงให้เห็นว่าจิตตสังขารทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล เป็นเพียงปรากฏการณ์ เป็นมายาเท่านั้น ไร้แก่สาร ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนอย่างสิ้นเชิง

จะเห็นชัดว่าธรรมประกอบกันขึ้นระหว่างอสังขตธรรม(ธรรมที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งและพ้นจากกฎไตรลักษณ์ ได้แก่ นิพพาน, บรมธรรม, ธรรมาธิปไตย) กับสังขตธรรม (ธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์) หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ไม่สลาย กับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วต้องสลาย หรือเป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง กับสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง หรือเป็นความสัมพันธ์ระหว่างธาตุแท้ กับปรากฏการณ์ หรือเป็นความสัมพันธ์ระหว่างจุดมุ่งหมาย กับมรรควิธี หรือวิธีการ หรือเป็นความสัมพันธ์ระหว่างด้านเอกภาพ กับ ด้านความแตกต่างหลากหลาย

เมื่อได้นำสภาวธรรมมาประยุกต์ใช้ ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ จัดทำรัฐธรรมนูญให้ถูกต้องโดยธรรม ตามองค์ประกอบของกฎธรรมชาติ ดังลักษณะตามรูปดังนี้  วงกลมตรงกลาง คือ หลักการปกครองธรรมาธิปไตยทั้ง ๙  มีลักษณะแผ่กระจายความเป็นธรรม ๙

ลักษณะสู่ปวงชนในชาติ อันเป็นหลักการที่ไม่เปลี่ยนแปลงมั่นคงยั่งยืนของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  ส่วนลูกศร คือ วิธีการปกครองได้แก่ หมวดและมาตราต่างๆ ที่จะต้องขึ้นต่อหลักการปกครองเสมอไป วิธีการเป็นสิ่งที่ปรับปรุงแก้ไขได้ หรือเปลี่ยนแปลงได้ตามความจำเป็น ตามยุคตามสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป

 

การสร้างการปกครองแบบธรรมาธิปไตย คือการนำกฎธรรมชาติ ดำรงอยู่ในลักษณะพระธรรมจักร  บนความสัมพันธ์ในหลายๆ มิติ เช่น

(๑) สัมพันธภาพระหว่างด้านเอกภาพ กับ ด้านความแตกต่างหลากหลาย

(๒) สัมพันธภาพระหว่างแผ่กระจาย กับ รวมศูนย์ เป็นปัจจัยให้เกิดดุลยภาพ

(๓) สัมพันธภาพระหว่างจุดมุ่งหมาย และมรรควิธี

(๔) สัมพันธภาพระหว่างหลักการ และวิธีการ เป็นต้น

เมื่อนำไปพิจารณาระบอบการเมือง ระบอบต้องมีธรรมและแผ่กระจายสู่ปวงชน ส่วนการปกครองต้องรวมศูนย์ และระบอบการเมืองต้องแผ่ ส่วนเศรษฐกิจต้องรวมศูนย์ หรือ รัฐวิสาหกิจ กับวิสาหกิจเอกชน ฯลฯ ดังกล่าวนี้ต้องทำให้เกิดความสมดุล หรือดุลยภาพกัน ไม่ใช่พยายามทำให้สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง “มนุษยชาติเกิดจากธรรม การถือธรรมเป็นใหญ่ สู่ธรรมาธิปไตย เป็นความถูกต้องโดยธรรม และเป็นความภาคภูมิใจของปวงชนในชาติตลอดไป”

 

 

 

“ธรรมาธิปไตย คือสภาวะสากลอันยิ่งใหญ่จากใจมนุษยชาติ”

 

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

28 พ.ค.2557

คัดลอกจากบทความของ ดร.ป.เพชรอริยะ จากหนังสือ ธรรมาธิปไตย 9

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 28 พฤษภาคม 2014 เวลา 11:21 น.
 

ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๖)

พิมพ์ PDF

ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๖)

 

ขอนอบน้อมต่อพระพุทธองค์ จะได้ยกอธิปไตย ๓ ในอธิปไตยสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก - ทุก - ติกนิบาต ข้อ ๔๗๙ โดยย่อดังนี้

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน

คือ อัตตาธิปไตย ๑ โลกาธิปไตย ๑ ธรรมาธิปไตย ๑  ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ อัตตาธิปไตย เป็นไฉน... จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ดังนี้ เธอทำตนเองแลให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอัตตาธิปไตย ฯ”

“ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ โลกาธิปไตย เป็นไฉน... เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมี และความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่าเราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ... จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำโลกให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโลกาธิปไตย”

“ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ธรรมาธิปไตย เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ... เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมีและความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่าเราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ท่วมทับแล้ว

ไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคล พึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ก็เพื่อนสพรหมจารีผู้ที่รู้อยู่ เห็นอยู่ มีอยู่แล เธอย่อมศึกษาว่า ก็ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน  สติที่เข้าไปตั้งมั่น แล้วจักไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมี อารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำธรรมนั่นแหละให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เรียกว่าธรรมาธิปไตย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย ๓ อย่างนี้แล ฯ”

แสดงให้เห็นว่าทั้งอัตตาธิปไตยและโลกาธิปไตย ก็ต้องขึ้นต่อธรรมาธิปไตย ทีนี้มาดูความเห็นแบบขยายความเพื่อแก้ปัญหาร่วมยุคสมัย ในความมุ่งหมายแห่ง ธรรมาธิปไตย การถือธรรมเป็นใหญ่ คือ ธรรมาธิปไตยแห่งตน และธรรมาธิปไตยสังคม อันเป็นสภาวะที่ประยุกต์มาจากสภาวธรรมอันบริสุทธิ์ ที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ดับ อันเป็นบรมธรรม ใหญ่สุด กว้างสุด สูงสุด คือ

หลักสากล (Universal law) อันเป็นหลักทั่วไป (General Law) มีลักษณะคุมเหตุปัจจัยอื่นทั้งหมด อันเป็นความจริงแท้สูงสุด (Ultimate Reality) ได้แก่สภาวะอสังขตธรรม อันเป็นธรรมธาตุแท้ เป็นแก่นแท้คำสอนแห่งพระพุทธองค์

การประยุกต์สภาวะอันจริงแท้ทั้งสองด้าน หรือสัจธรรมทั้งสองด้าน คือ ธรรมาธิปไตยธรรมชาติ, และธรรมาธิปไตยบุคคล เมื่อญาณทัศนะรู้แจ้งชัดว่าเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นสิ่งเดียวกัน จึงก่อเกิดการสร้างสรรค์ สู่ ธรรมาธิปไตยสังคม สู่ ธรรมาธิปไตยโลก เป็นที่สุด

อัตตาธิปไตย เป็นวิธีการของบุคคล คือเมื่ออยู่คนเดียว คิดคนเดียว คิดแต่เรื่องประโยชน์ประเทศชาติ เช่น การออกพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องถือหลักธรรมาธิปไตย อย่างมั่นคงแล้วจะไม่นำความเสียหายมาสู่ส่วนรวมประเทศชาติและปวงชน

ซึ่งตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับนักการเมืองในระบอบปัจจุบันที่เห็นแก่ประโยชน์ตนและพวกพ้องอย่างน่าเกลียดที่สุด โดยไม่คำนึงถึงอนาคตของประเทศชาติและประชาชน ทั้งนี้เพราะเงื่อนไขของระบอบเผด็จการระบบรัฐสภาหรือระบอบเผด็จการโดยรัฐธรรมนูญ นั่นเอง

โลกาธิปไตย เป็นวิธีการ ของหมู่คณะตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป หรือเป็นวิธีการของสมาชิกในองค์การ, องค์กรต่างๆ หรือในที่ประชุมสภารัฐสภา เป็นต้น ได้ใช้เสียงข้างมากเป็นมติ เช่น พระราชบัญญัติ และการเลือกตั้งในทุกระดับ ทั้งนี้ต้องถือหลักธรรมาธิปไตยอย่างมั่นคง ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและปวงชนอย่างแท้จริง ซึ่งตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับการกระทำของนักการเมืองในปัจจุบันที่ตัดสินความถูกผิดด้วยเสียงข้างมาก

ธรรมาธิปไตย เป็นหลักธรรม หรือ หลักการ ที่ถือธรรมเป็นใหญ่ตามหลักพุทธธรรม สภาวะเหนือการปรุงแต่ง เป็นสิ่งที่พ้นจากกฎไตรลักษณ์ เป็นสภาวะที่อยู่เหนือกาลเวลา เป็นหลักที่มั่นคงถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง จึงได้นำมาประยุกต์เป็นหลักการปกครอง และ หลักในการจัดความสัมพันธ์ในองค์รวมอย่างถูกต้องโดยธรรม เป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ

ทั้งได้นำมาเป็นหลักในการแก้ปัญหาพื้นฐานของชาติ อันเป็นเหตุแห่งวิกฤตชาติ หรือเหตุแห่งความเลวร้ายทั้งปวงของประเทศไทย คือระบอบเผด็จการระบบรัฐสภาที่สืบเนื่องยาวนานกว่า ๗๐ กว่าปี นั่นเอง

การนำอธิปไตย ๓ มาใช้ให้เป็นประโยชน์สูงสุด จะต้องนำมาใช้อย่างเป็นเอกภาพกันทั้ง ๓ ด้าน จึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังรูป

 

หลักธรรมาธิปไตย

 

อัตตาธิปไตย            โลกาธิปไตย (ประชาธิปไตย)

“เป็นระยะเวลากว่า ๗๔ ปีมาแล้ว ที่ผู้ปกครองไทยยึดถือเอาเพียง รูปแบบและวิธีการจากยุโรปอันเป็นเพียงเปลือกนอก และได้นำวิธีการมาเป็นหลักการปกครองของประเทศไทย วิธีการย่อมเปลี่ยนแปลงได้เสมอ แล้วจะนำมาเป็นหลักการหรือจุดมุ่งหมายได้อย่างไรกัน วิธีการก็ยังคงเป็นวิธีการอยู่เช่นนั้นเอง แต่เพราะความอ่อนด้อยปัญญาของผู้ปกครอง ต่างก็ยึดมั่นถือมั่นในลัทธิรัฐธรรมนูญ (Constitutionalism) จึงเป็นปัจจัยให้เกิดผลร้ายสร้างความทรุดโทรมให้กับประเทศชาติและประชาชนอย่างแสนสาหัส เข้าลักษณะ “เหยียบคบไฟส่องทาง” “ปรัชญาตะวันตกครอบงำ” เราชี้ทางสว่างให้แล้ว แต่ผู้ปกครองทั้งหลาย รุ่นแล้ว รุ่นเล่าโง่เขลาเบาปัญญา ยังหลับใหล พวกเขาล้วนถือตนเป็นใหญ่ ถืออัตตาธิปไตย ตบตาล่อลวงด้วยโลกาธิปไตย จนสร้างความร่ำรวยให้กับคณะนักการเมืองเลวรุ่นแล้วรุ่นเล่า ต่างก็เข้ามากอบโกย สวาปาม(กินอย่างตะกละ) สมบัติของชาติอย่างแยบคายไปเป็นของตนและพวกพ้อง

ฉะนั้น ผู้มีคุณธรรมทั้งหลาย ได้กรุณาติดตามพิจารณาศึกษาธรรมาธิปไตยอย่างใกล้ชิดเถิด จะได้ทำความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิและทิฏฐิสามัญญตา(ความเห็นตรงกัน) จะได้ร่วมมือหาทางแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ ตามรอยพระยุคลบาทอย่างรู้รักสามัคคีธรรม

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในหมู่เหล่าพสกนิกรว่า พระมหากษัตริย์ไทยนั้นยิ่งใหญ่ด้วยพระบรมเดชานุภาพ พระบารมีเหนือสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศทั้งปวง สาระสำคัญแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย คือ ทศพิธราชธรรม ซึ่งสืบทอดมาแต่ครั้งพุทธกาล นั่นเอง

เมื่อพิจารณาอย่างรอบด้าน ทศพิธราชธรรมแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศไทย  สรุปลงในพระบรมราโชวาท  เมื่อเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  ๙  ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งได้พิสูจน์ประจักษ์เป็นจริง โดยพระราชจริยวัตร และพระราชกรณียกิจตลอดเวลาร่วม ๖๐ ปี ประจักษ์เป็นจริงอย่างชัดแจ้ง ในเหตุการณ์เฉพาะหน้าถึงพระบรมเดชานุภาพและพระมหาบารมีที่สยบ “พฤษภาทมิฬ” ที่ทรงป้องกันมิให้คนไทยด้วยกันขัดแย้งกันและทำสงครามกลางเมืองกัน เป็นข้อเท็จจริงที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งสามารถขจัดความเคลือบแคลงสงสัย ที่อาจจะหลงเหลืออยู่บ้างในบุคคลบางกลุ่มบางจำพวก บางอุดมการณ์ แม้จะมีจำนวนน้อยที่สุดก็ตามที

เมื่อสถาบันพระมหากษัตริย์มีทศพิธราชธรรมเป็นหลักการ เป็นธงชัยอยู่แล้ว  พร้อมทั้งองค์พระมหากษัตริย์ทรงมีลักษณะธรรมาธิปไตยอย่างสูงสุด เป็นสถาบันแห่งธรรมาธิปไตย ย่อมสอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเสมอไป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงคุณอันประเสริฐ พระองค์ทรงมีอำนาจโดยสมบูรณ์ ดุจดวงสุริยามีอำนาจเหนือดาวเคราะห์ทั้งปวง ฉันใด

พระองค์ในฐานะประมุขแห่งชาติ ก็ทรงมีพระราชอำนาจโดยสมบูรณ์ ชอบธรรมที่จะทรงสถาปนาหลักการปกครองให้เป็นธรรมต่อปวงชนในประเทศนี้ ฉันนั้น

ทั้งเป็นการเทิดพระเกียรติพระบรมเดชานุภาพโดยธรรมและมั่นคงดังนี้แล้ว ดาวเคราะห์ทั้งหลาย จะคืนอำนาจแก่ดวงสุริยันได้อย่างไรกันเล่า

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

28 พ.ค.2557

คัดลอกจากหนังสือธรรมาธิปไตย 9 โดย ดร.ป.เพชรอริยะ

 

,

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 28 พฤษภาคม 2014 เวลา 17:21 น.
 


หน้า 350 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8746460

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า