Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๒)

พิมพ์ PDF

ความศรัทธา ตั้งใจ ใฝ่รู้ คือการปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งปริยัติและปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา อย่างมีปณิธานอันแน่วแน่เพื่อมวลมนุษยชาติ หรือมีปณิธานในเบื้องต้นว่าเรียนอะไรก็ได้ ทำหน้าที่อะไรก็ได้ ให้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเทศชาติ

ภิกษุพุทธสาวก ย่อมดำรงสติระลึกอยู่เสมอว่าข้าพเจ้าบวชเรียนเป็นภิกษุ ศึกษา ทำหน้าที่ อุทิศตนเพื่อมวลมนุษยชาติตามแบบอย่างพระบรมศาสดา สามารถที่จะเข้าถึงองค์ความรู้ในอรรถธรรม ได้โดยไม่ยากนัก และจะเป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ประโยชน์อันใหญ่หลวงต่อมวลมนุษยชาติอย่างกว้างขว้างต่อไป

สิ่งใดมีความแตกต่างหลากหลาย สิ่งนั้นเป็นสังขตธรรม (ธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งเช่น จิต เจตสิก รูป) สิ่งใดเป็นสังขตธรรม สิ่งนั้นต้องเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ สิ่งใดตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ สิ่งนั้นเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด เป็นมายา ไร้แก่นสาร ปราศจากอัตตาตัวตนที่แท้จริง สิ้นอุปาทานอิสระจากสังขตธรรมทั้งปวง ย่อมเข้าถึงอสังขตธรรม(ธรรมที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งได้แก่นิพพาน)

การวิปัสสนาภาวนา จะเป็นปัจจัยทำให้เรารู้แจ้งแห่งการดำรงอยู่ของกฎธรรมชาติ บนความสัมพันธ์ระหว่างอสังขตธรรม (ธรรมที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน, บรมธรรมฯลฯ) กับ สังขตธรรม (ธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่สิ่งไม่มีชีวิต, ธาตุ, แร่ธาตุต่างๆ, สิ่งมีชีวิต ได้แก่ พืชและสัตว์, รวมทั้งจิตตสังขาร ที่ปรุงแต่งเป็นกุศล หรืออกุศล)

อสังขตธรรม เป็นธรรมที่พ้นจากกฎไตรลักษณ์  ส่วน สังขตธรรม เป็นธรรมที่ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และไม่เป็นตัวตน)

อสังขตธรรม เป็นด้านเอกภาพ ส่วน สังขตธรรม เป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย

อสังขตธรรม เป็น ลักษณะทั่วไป  ส่วน สังขตธรรม เป็นลักษณะเฉพาะ

อสังขตธรรม มีลักษณะแผ่กระจายครอบงำ สังขตธรรมมีลักษณะรวมศูนย์

จากกฎธรรมชาติดังกล่าวนี้ เมื่อนำไปพิจารณาประยุกต์ใช้ในทางสังคม ได้ดังนี้

๑. สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันหลักและเป็นสถาบันองค์ประกอบของรัฐ  แน่นอนที่สุด ถูกต้องที่สุด คือสถาบันพระมหากษัตริย์ย่อมเป็นลักษณะทั่วไป ลักษณะทั่วไปเป็นปฐมแห่งอำนาจในรัฐ และมีลักษณะแผ่อำนาจกระจายความคุ้มครองด้วยคุณธรรม เป็นความรักความเมตตา กรุณา ออกไปสู่ประชาชนในแผ่นดิน

ฉะนั้น จะเห็นได้ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจเต็มสมบูรณ์ในการที่จะจัดการกับความไม่เป็นธรรมใดๆ อันเกิดจากอำนาจที่เป็น

ลักษณะเฉพาะ เช่น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ หรืออำนาจใดๆ ที่เป็นไปในทางบั่นทอน บ่อนทำลาย เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติและประชาชน

๑.๑ ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์ กับ พสกนิกร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระองค์ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

พระมหากษัตริย์เป็นลักษณะทั่วไป(โอบอุ้มส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมดในชาติ) ส่วนพสกนิกรเป็นลักษณะเฉพาะที่แตกต่างหลากหลาย

พระมหากษัตริย์ ทรงแผ่ธรรมานุภาพ เมตตา กรุณา โอบอุ้มคุ้มครองประชาชนภายในรัฐ และประชาชนภายในรัฐต่างก็ขึ้นตรง(จงรักภักดี) ต่อองค์พระมหากษัตริย์

เราจะเห็นได้ชัดเจนโดยไม่มีข้อกังขาใดๆ เลยว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงแผ่ธรรมานุภาพด้วยทรงมีพระเมตตาต่อพสกนิกร ด้วยพระราชกรณียกิจในโครงการพระราชดำริมากกว่า    ๓,๐๐๐ โครงการ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ พสกนิกรทั้งหลายต่างก็ซาบซึ้งในพระมหากรุณาขึ้นตรงต่อ(จงรักภักดี)องค์พระมหากษัตริย์และพระราชินีนาถ อย่างมิได้เสื่อมคลาย

จะเห็นความเป็นไปบนความสัมพันธ์ระหว่างแผ่กระจาย กับ รวมศูนย์ เป็นปัจจัยให้สถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ทั้งนี้องค์พระมหากษัตริย์ทรงตั้งอยู่ในธรรมนั่นเอง

๑.๒ ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์ กับ กองทัพ

ความสัมพันธ์หลัก พระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพ ทรงมีอำนาจเหนือนายทหารในกองทัพทุกหมู่เหล่า ทหารในกองทัพจึงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระมหากษัตริย์ กองทัพจึงเป็นองค์ประกอบของรัฐ นายทหารทั้งปวงจะต้องเข้าใจในหลักการนี้ด้วย

ความสัมพันธ์รอง กองทัพเป็นกลไกรัฐ ต้องปฏิบัติตามอำนาจของรัฐบาล แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นอำนาจที่ชอบธรรมและเป็นไปเพื่อความมั่นคงของชาติและประชาชนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความมั่นคงของผู้นำรัฐบาล หรือผู้นำพรรคการเมืองเพื่อจะทำให้ได้เปรียบหรือเพื่อที่จะไปทำลายฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ในเมื่อพวกเขาต่อสู้ด้วยสติปัญญาอย่างสันติปราศจากอาวุธ

๑.๓ ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์ กับ ระบอบการเมือง เรื่องนี้เป็นเรื่องยาวที่ผู้เขียนได้อธิบายไว้มากแล้ว (อ่านได้จากเวบไซต์)

ในที่นี้จะขอพูดสั้นๆ ว่า ระบอบการเมืองที่เป็นธรรมนั่น จะเป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ที่จะทำให้ประเทศมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน แต่ขณะเดียวกันระบอบการเมืองที่ไม่เป็นธรรม ก็จะเป็นปัจจัยให้การปกครองไม่เป็นธรรม คือรัฐบาลจะบริหารประเทศตามรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นธรรม ความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นครอบงำประชาชนจากอิทธิพลอำนาจมืดในรูปแบบต่างๆ บ้านเมืองเต็ม

ไปด้วยปัญหาต่างๆ ไม่ปรกติสุข จนเกิดความขัดแย้งไปทั่วในหมู่ประชาชน จนบ้านเมืองเสื่อมลงไปมากแล้ว

จุดอ่อนของการเมืองไทย คือ การสร้างระบอบการเมืองไม่ถูกต้องโดยธรรม ผิดทำนองครองธรรมมาแล้วถึง ๑๖ ครั้ง และต่อไปเป็นครั้งที่ ๑๗ จึงไม่อยากเห็นการดำเนินการที่ผิดพลาดอีกต่อไป

ในอดีตจะเห็นได้ว่า เมื่อการปกครองไม่เป็นธรรม จะเป็นปัจจัยให้เกิดวิกฤตทางการเมือง จะเป็นปัจจัยให้มีการทำรัฐประหาร ผู้เสียประโยชน์ย่อมจะรวมตัวกันโค่นคณะรัฐประหาร แล้วร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หรือไม่ก็แก้ไขรัฐธรรมนูญซ้ำรอยเดิม โดยพวกเขาเข้าใจว่าร่างรัฐธรรมนูญแล้วจะได้ระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ผิดหวังทุกครั้งไปถึง ๑๖ ครั้งแล้ว

การสร้างระบอบการเมืองที่ถูกต้องโดยธรรม คือ

๑. สร้างหลักการปกครองหรือระบอบเป็นเบื้องต้น ด้วยนโยบายที่เป็นธรรม

๒. ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หรือจะปรับปรุงหมวด และมาตราต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักการปกครองหรือระบอบ การสร้างระบอบนั้นๆ ก็จะสำเร็จ

ผู้มีอำนาจ หรือใครที่อยากจะคิดแก้ปัญหาบ้านเมืองให้รอดปลอดภัย ชนในชาติอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขเป็นเอกภาพและมั่นคง จะต้องอิสระจากระบอบการเมืองปัจจุบัน แล้วสร้างวิธีคิดจากการวิปัสสนาภาวนา เพื่อให้รู้แจ้งกฎธรรมชาติ จากนั้นประยุกต์ให้เข้ากับลักษณะพิเศษของประเทศไทย ด้วยหลักธรรมาธิปไตย ๙ โดยมีหลักการที่ท้าทายต่อทุกฝ่ายและปัญญาชนทั้งหลาย ว่าโดยย่อคือ

. หลักธรรมาธิปไตย ๒. หลักพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ

. หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน ๔. หลักเสรีภาพบริบูรณ์

. หลักความเสมอภาค ๖. หลักภราดรภาพ

. หลักเอกภาพ ๘. หลักดุลยภาพ ๙. หลักนิติธรรม

หลักธรรมการปกครอง ๙ นี้จะเป็นหลักประกันบนความสัมพันธ์ของปวงชนในแผ่นดินและจะทำให้หมดเงื่อนไขในการแบ่งแยกดินแดน

และก็มีทางเดียวเท่านั้น เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ มหัศจรรย์ สันติและเพื่อความมั่นคงแห่งชาติอย่างยั่งยืน ชั่วกาลนาน คือ

๑. องค์พระมหากษัตริย์ประมุขแห่งรัฐ ทรงสถาปนาหลักการปกครองแบบธรรมาธิปไตย (หรือนอกเหนือจากหลักธรรมาธิปไตย ๙ นี้ก็ได้)

ประชาชนเพียงจำหลักการปกครอง ๙ ข้อเท่านั้น ก็จะรู้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่อประชาชน และระหว่างประชาชนกับระบอบการเมืองของรัฐ และความสัมพันธ์ต่อ

องค์กรต่างๆ ภายในรัฐเป็นอย่างไร เป็นตามหลักการปกครองหรือไม่ และประชาชนก็จะรู้ว่ารัฐบาลนั้นๆ ปฏิบัติต่อประชาชนได้ถูกต้องตามหลักการปกครองหรือไม่

ซึ่งแตกต่างจากระบอบปัจจุบันตัดสินความถูกผิดด้วยเสียงข้างมาก ใครพวกมากก็ชนะ แต่อาจจะทำผิดก็ได้ พวกมากลากไปพาไปพินาศ ประชาชนก็ไม่รู้ว่าฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้านทำถูกหรือทำผิด เพราะไม่มีหลักการปกครองให้เทียบวัดได้

๒. ดำเนินการปรับปรุงหมวดและมาตราต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักการปกครองทั้ง ๙ เพียงเท่านี้เราก็จะได้ระบอบการเมืองแบบธรรมาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญที่มีองค์ประกอบอย่างถูกต้อง

๓. ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบการต่างๆ โดยให้สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ จะเห็นว่าไม่ยากเลย

ถ้าทำได้สำเร็จจะสามารถขจัดเงื่อนไขอันเลวร้ายต่างๆ ได้อย่างมากมายในแผ่นดินนี้ ทั้งเป็นการเชิดชูส่งเสริมพระบรมเดชานุภาพแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ บนฐานแห่งอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้มั่นคงยั่งยืนสืบไป

เราในฐานะพสกนิกร ได้แต่เรียกร้อง เฝ้ารอ หวังให้องค์พระมหากษัตริย์ สถาปนาการปกครองให้เป็นธรรม หรือธรรมาธิปไตย เราทำได้เพียงเท่านี้

พระมหากษัตริย์ จะเป็นที่หยุด เป็นที่ดับความสับสนและความขัดแย้งทางการเมืองลงได้ ทุกฝ่ายต่างก็พูดว่าจงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งธงธรรมและได้ปฏิบัติให้เห็นเป็นประจักษ์ตามพระปฐมบรมราชโองการมาเป็นเวลานานร่วม ๖๐ ปี

มีความเห็นว่าข้อยุติของทุกฝ่ายต้องมาบรรจบที่พระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นธงชัยของปวงชนทั้งในหลักการ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม และวิธีการ พระองค์ทรงพระเมตตาด้วยโครงการพระราชดำริ ๓,๐๐๐ กว่าโครงการหรืออีกนัยหนึ่งพระองค์ทรงตั้งอยู่ในจุดมุ่งหมายและมรรควิธีโดยธรรม

แต่ระบอบการเมืองของประเทศกลับตรงกันข้ามกับทำนองครองธรรม และระบอบการเมืองปัจจุบัน เป็นระบอบที่แยกอำนาจนิติบัญญัติและบริหารออกจากกัน คล้ายคลึงกับระบบกึ่ง-ประธานาธิบดีแบบประเทศฝรั่งเศส ลักษณะอย่างนี้ใครขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีก็เสี่ยงที่จะถูกโจมตีว่าขัดกับสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างเป็นไปเอง

ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด เคยกล่าวไว้ในทำนองว่า ใครๆ ก็ชื่นชมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่จะมีใครบ้างปฏิบัติตามแบบอย่างพระเจ้าอยู่หัวทั้งนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงถือธรรมเป็นใหญ่ แต่ระบอบการเมืองไทยกลับตรงกันข้ามพิกลพิการผิดทำนองครองธรรมมา ๑๖ ครั้งแล้ว นั่นเอง ใครเข้าเป็นรัฐบาลก็ต้องพิกลพิการผิดทำนองครองธรรมไปด้วยแทบทุกรัฐบาล ทั้งจะเป็นปัจจัยให้ประเทศชาติล้าหลังและประชาชน

ยากจน และอ่อนกำลังลง ด้วยรัฐธรรมนูญไทย ๑๖ ฉบับไม่เคยมีหลักการปกครองเลย จะมีก็เพียงรูปแบบ และวิธีการปกครองเท่านั้น เช่น รัฐสภา ส.ส. ส.ว. การเลือกตั้ง(ซื้อเอา) ฯลฯ

เขียนให้ฉุกคิด... ดูท่าจะหลงทางกันอีกแล้ว ทั้งๆ ที่องค์พระมหากษัตริย์ทรงชูธงธรรมเป็นธงชัย ในพระปฐมบรมราชโองการ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม เป็นตัวอย่างอันงดงามมายาวนานร่วม ๖๐ ปีแล้ว

 

ธรรมาธิปไตย คือทางสายกลางอันยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม 2014 เวลา 20:43 น.
 

ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๓)

พิมพ์ PDF

ธรรมาธิปไตย อารยธรรมใหม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นเหตุวิกฤตชาติ (๓)

 

๑. เรื่องหลักการกับบุคคล สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นการปะทะกันทางความคิดใน ๒ ประเด็น ระหว่าง “รัฐธรรมนูญไม่ดี เสนอยกร่างใหม่” กับ “ของเดิมดีอยู่แล้ว ปัญหาอยู่ที่คน”

การติดยึดติดข้างใดข้างหนึ่งเป็นความเห็นสุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง แต่ขอให้พิจารณาด้วยทางสายกลาง คือพิจารณาไปตามเหตุปัจจัยตามกฎอิทัปปัจจยตา เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี หรือเมื่อสิ่งนี้เป็นเหตุ สิ่งนี้เป็นผล หรือ เมื่อระบอบมิจฉาทิฏฐิ (เพราะไม่มีหลักการปกครอง) ก็จะเป็นปัจจัยให้รัฐบาลมิจฉาทิฏฐิ จะเป็นปัจจัยให้แผ่กระจายความมิจฉาทิฏฐิ ความไม่ถูกต้องออกไปสู่ส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด ในทางตรงกันข้ามเมื่อระบอบการเมืองเป็นสัมมาทิฏฐิเพราะมีหลักธรรมการปกครอง) ก็จะเป็นปัจจัยให้รัฐบาลมีความชอบธรรม จะเป็นปัจจัยให้แผ่กระจายความถูกต้องดีงาม ออกไปสู่ส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมดในประเทศ

พระพุทธเจ้าทรงประกาศสัจธรรมอันลึกซึ้ง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติธรรมพ้นทุกข์  จะเห็นได้ว่าก่อนจะบวชเป็นภิกษุล้วนเป็นผู้มีความทุกข์และเห็นผิดมาก่อน แต่เมื่อได้รับฟังคำสั่งสอนก็เปลี่ยนมาเป็นความเห็นถูก รู้แจ้งสัจธรรม เพราะอาศัยหลักการที่ดีนั่นเอง

อุปมา เมื่อคลองคดเคี้ยว น้ำย่อมคดตาม คลองก็คือระบอบฯ น้ำก็คือรัฐบาล จะเห็นได้ว่า เมื่อรัฐบาลฯนี้ เข้าบริหารประเทศใหม่ๆ ประชาชนต่างก็ชื่นชม แม้จะมีคดีซุกหุ้น ศาลก็ตัดสินให้พ้นผิด ด้วยเกรงพลังประชาชนที่ให้การสนับสนุนจำนวนมาก แต่เมื่อบริหารประเทศผ่านไป ๕ ปี ปรากฏว่า รัฐบาลฯนี้ ได้เสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้เขียนได้เคยเตือนผู้นำรัฐบาลนี้ไว้มากแล้ว แต่รัฐบาลไม่เคยฉุกคิด ปัญหาก็คืออยู่ที่ใครเป็นผู้ยกร่างและรับรองรัฐธรรมนูญมิจฉาทิฏฐิ ผู้เขียนเองไม่มีส่วนได้เสียทางการเมือง คิดและเขียนอย่างมีภารกิจมุ่งขจัดมิจฉาทิฏฐิ เพื่อให้เกิดความมั่นคงของชาติและความผาสุกของปวงชนในชาติ

๒. เรื่องรัฐประหารกับการปฏิวัติ สองคำนี้มีจินตภาพที่แตกต่างกันมากและตรงกันข้ามกัน รัฐประหารเป็นการกระทำที่เป็นไปในทางลบ และจะเกิดขึ้นในระบอบการเมืองที่เป็นเผด็จการต่อประชาชนเท่านั้น แนวทางรัฐประหารไม่สามารถจะแก้ปัญหาประเทศชาติได้ ทั้งจะเพิ่มปัญหาให้มากขึ้น และขอให้เข้าใจอย่างถูกต้องว่าประเทศไทยไม่เคยมีการปฏิวัติทางการเมืองแม้แต่ครั้งเดียว นับตั้งแต่ พ. ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา มีแต่รัฐประหารเท่านั้น แต่หนังสือพิมพ์ และผู้สื่อข่าว บางส่วนหรือนักการเมือง มักจะพูดและเขียนว่า “ปฏิวัติรัฐประหาร” ซึ่งเป็นการพูดและเขียนไม่ถูกต้องตามหลักวิชารัฐศาสตร์ จึงควรแก้ไขจะได้ไม่อายเขา และพบว่า“รัฐประหารเกิดขึ้น จากเงื่อนไขต่ำทรามของระบอบเผด็จการรูปแบบต่างๆ” และจะไม่เกิดขึ้นในระบอบประชาธิปไตย และ ธรรมาธิปไตย อย่างเด็ดขาด

ส่วนคำว่า “ปฏิวัติ” เป็นจินตภาพที่เป็นไปในทางดี เป็นไปในทางก้าวหน้า เช่น การปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศต่างๆ การปฏิวัติทางการเมืองระบอบประชาธิปไตย เช่น ใน ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส มาเลเซีย และการปฏิวัติสังคมนิยม เช่น สหภาพโซเวียต รัสเซีย จีน เวียดนาม ลาว เป็นต้น

จะได้อธิบายกระบวนการวิวัฒนาการทั้งทางนามธรรมและรูปธรรมมี ๒ ลักษณะ คือ

๑. แบบค่อยเป็นค่อยไป (evolution)

๒. แบบก้าวกระโดด (leap or revolution)

มีข้อสังเกตว่า การจะทำให้วัตถุบริสุทธิ์ด้วยน้ำมือของมนุษย์นั้น จะต้องทำให้เดือด หรือถึงจุดหลอมเหลว หรือทำให้ขัดแย้งอย่างถึงที่สุดเสียก่อน จึงจะทำการเปลี่ยนแปลง ดัดแปลงได้ตามที่ต้องการ (มาร์กซ์ (Marx) เจ้าลัทธิคอมมิวนิสต์, เลนิน ผู้นำการปฏิวัติคอมมิวนิสต์โซเวียตรัสเซีย, เหมา เจ๋อตุง ผู้นำการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีนแดง ได้นำไปประยุกต์เป็นทฤษฏีปฏิวัติแนวทางรุนแรงด้วยกำลังอาวุธ โค่นล้มทำลายสถาบันองค์ประกอบแห่งรัฐและนายทุน แล้วสถาปนารัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ขึ้นแทน)

แต่ในทางนามธรรม หรือทางจิต จะทำให้บริสุทธิ์ได้นั้น จะต้องกลั่นจิตให้สงบ และไม่ให้ติดยึดในสังขารทั้งปวง (ข้อนี้ เป็นแนวทางการปฏิวัติสังคมแนวทางสันติ เช่น พระพุทธเจ้า, พระเจ้าอโศกมหาราชภายหลังมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว, มหาตมะคานธี ผู้นำยุคใหม่ของอินเดีย, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕  เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยุคสมัย)

ประเทศไทยยังไม่เคยผ่านการปฏิวัติเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานของชาติ สักวันหนึ่งก็จะต้องปฏิวัติอย่างแน่นอน แต่จะปฏิวัติด้วยแนวทางลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ้งได้ทำแนวร่วมกับรัฐบาลในขณะนี้ หรือจะเป็นแนวทางลัทธิประชาธิปไตยก็มีขบวนการเคลื่อนไหวอยู่ หรือ จะเป็นแนวทางธรรมาธิปไตยอันเป็นแนวทางของพระพุทธเจ้า

ทั้งนี้จะเป็นแนวทางวัตถุรุนแรง หรือจะเลือกแนวทางสันติด้วยธรรมาธิปไตยอันเป็นชัยชนะของทุกคนและเพื่อสันติภาพโลก ก็ขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของผู้นำและประชาชน

๓. เรื่องการสร้างระบอบการเมือง ขอย้ำว่าผู้ปกครองไทย ๑๖ รุ่น ได้ยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อจะสร้างระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นการจัดความสัมพันธ์ที่ไม่ถูกต้อง เอาหางมาเป็นหัว  ส่วนหัวไม่มี หัวหายไป คือยังไม่ได้มีระบอบฯ หรือหลักการปกครอง  เมื่อไม่มีหลักการปกครอง เป็นบทตั้งหรือเป็นบททั่วไปอันเป็นหลักประกันของปวงชนในแผ่นดิน ก็จะเป็นรัฐธรรมนูญที่มีแต่ด้านวิธีการปกครองเพียงด้านเดียว จึงเป็นรัฐธรรมนูญระบอบเผด็จการ และเมื่อมาใช้กับรูปการปกครองระบบรัฐสภาจึงเรียกว่า  “ระบอบเผด็จการระบบรัฐสภา” นี่คือเหตุแห่งความพินาศของแผ่นดิน

การจัดความสัมพันธ์อย่างถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร?

๑. เจริญรอยตามพระพุทธเจ้า

เราชาวไทยส่วนใหญ่ (๙๔.๗๕%) นับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ที่ตราตรึงประทับอยู่ในใจของชาวไทยพุทธทั้งปวง ควรพิจารณาวิธีการขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ตรัสรู้ธรรมอันลึกซึ้ง เช่น กฎอิทัปปัจจยตา, กฎปฏิจจสมุปบาท และอริยสัจ ๔ ได้รู้แจ้งโลกและพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวง คือตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เองและทรงบัญญัติและสอนอริยสัจ ๔, มรรคมีองค์ ๘, โพธิปักขิยธรรม ๓๗ เป็นต้น

จนกระทั่งมีพระอรหันตสาวกมากถึง ๑,๒๕๐ องค์ ก็ยังไม่มีพระวินัยใดๆ เลย แสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ตรัสสอนหลักธรรมก่อนหรือหลักการก่อน (ระบอบ) ต่อมาเมื่อสาวกมากขึ้น จึงค่อยๆ บัญญัติพระวินัย (ธรรมนูญ) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามข้อเท็จจริงที่สาวกได้ปฏิบัติอันไม่สมควรแก่สมณสารูป

สมมติว่าถ้าพระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระวินัยก่อน พระพุทธศาสนาก็คงไม่ได้เกิดขึ้นมาในโลกเป็นแน่แท้ พึงใคร่ครวญพิจารณากันดูเถิด ท่านนักการเมืองและนักวิชาการทั้งหลายก็เหมือนกับที่ผู้ปกครองไทยรุ่นแล้ว รุ่นเล่า ได้คล้อยตามเอาแบบอย่างมิจฉาทิฏฐิตามๆ กันมาอย่างโง่ๆ ด้วยการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อจะสร้างระบอบประชาธิปไตย แต่กลับได้ระบอบเผด็จการทุกครั้งไป และเมื่อพวกเขาคิดจะพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงระบอบประชาธิปไตยยังไม่ได้เกิดขึ้น  จึงเป็นการกระชับระบอบเผด็จการให้มากขึ้นๆ นั่นเอง

สรุป ในเบื้องต้นควรกำหนดหลักการปกครอง หรือจุดมุ่งหมายขึ้นมาก่อน จากนั้นก็ให้จัดทำวิธีการ คือหมวดและมาตราต่างๆ ตามที่จะเป็น เมื่อหลักเป็นประชาธิปไตย จะได้ระบอบประชาธิปไตย หรือหลักการเป็นธรรมาธิปไตย ๙ ก็จะได้ระบอบธรรมาธิปไตยเกิดขึ้น อุปมาว่า เราจะต้องตั้งจุดมุ่งหมายขึ้นมาก่อน สมมติว่า จุดมุ่งหมายคือ กรุงเทพฯ ส่วนวิธีการ ที่จะไปให้ถึงกรุงเทพฯ เช่น เดิน วิ่ง ขี่จักรยาน รถมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน หรือจะไปทางน้ำ จะไปด้วยวิธีไหนๆ ไปถึงกรุงเทพฯ ได้ ตามกำลังความสามารถ จะช้าหรือเร็วเท่านั้น

ส่วนการร่างรัฐธรรมนูญ ๑๖ ฉบับ โดยไม่มีหลักการปกครอง มีแต่วิธีการปกครอง หมายความว่า จะไปด้วยวิธีการใดๆ ก็ไปอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย ส่วนผู้ปกครองอาจจะไปด้วยเครื่องบิน แล้วบินไปอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย ไม่รู้ว่าไปลงที่ไหน น้ำมันหมดถัง ก็โหม่งโลกทุกทีไป

 

๒.  แบบอย่างจากต่างประเทศ  พอจะเป็นแบบอย่างเพื่อการศึกษา

๒.๑ ประเทศสหรัฐอเมริกาสร้างระบอบประชาธิปไตย ใช้รูปการปกครองระบบประธานาธิบดี ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยใช้เวลาสร้างระบอบประมาณ ๑๔ ปี จึงได้ร่างรัฐธรรมนูญเฟสเดอรัลสเตท (Federal state) เป็นผลสำเร็จ (ค.ศ. ๑๗๗๖ – ๑๗๘๙)

๒.๒ ประเทศมาเลเซีย ผู้นำและประชาชนร่วมกันปฏิวัติประชาธิปไตยประชาชาติและได้เอกราชจากประเทศอังกฤษ ปี พ. ศ. ๒๔๙๗ สร้างระบอบประชาธิปไตยแบบมาเลเซีย ใช้เวลาถึง ๘ ปี ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ปี พ. ศ. ๒๕๐๖ ประเทศก็ราบรื่นก้าวหน้ามาตลอด กระทั่งก้าวหน้ากว่าประเทศไทย อย่างไม่น่าเป็นไปได้ ทั้งที่เป็นประเทศเกิดใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะเขาสร้างระบอบประชาธิปไตยอย่างถูกต้องและสำเร็จ นั่นเอง และมีข้อสังเกตว่า นับแต่ พ. ศ. ๒๕๐๖ เป็นต้นมา ๔๒ ปีแล้ว ประเทศมาเลเซียไม่เคยมีกบฏ หรือรัฐประหาร เกิดขึ้นเลย

๒.๓ ประเทศลาว พรรคคอมมิวนิสต์ลาวได้รับชัยชนะในสงครามปฏิวัติ ในปี  พ.ศ. ๒๕๑๘ พรรคคอมมิวนิสต์ลาวได้สร้างระบอบการเมืองสังคมนิยมคอมมิวนิสต์แบบลาวขึ้น และได้กำหนดระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมคอมมิวนิสต์แบบลาว ใช้เวลาถึง ๑๖ ปี ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ในปี พ. ศ. ๒๕๓๔ มีข้อสังเกตว่า จนถึงปัจจุบันประเทศลาวยังไม่เคยมีกบฏ หรือรัฐประหาร เกิดขึ้นเลย

ผู้ปกครองไทยรุ่นแล้วรุ่นเล่าลอกเลียนแบบตะวันตก แต่ลอกเอาเฉพาะวิธีการอันเป็นเปลือกนอก   คือ หมวดและมาตรา อันที่จริงระบอบหรือหลักการปกครองก็คือจุดมุ่งหมาย  หรือยุทธศาสตร์  วิธีการก็คือหนทาง (มรรคา)  หรือยุทธวิธี  เมื่อมีแต่ด้านวิธีการ  ก็เท่ากับว่า เรามีแต่หนทางหรือทางที่จะไป  และไปอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย  จึงเป็นรัฐธรรมนูญไร้ทิศทางผิดไปจากวิถีธรรมโดยสิ้นเชิง  เมื่อนำมาปกครอง บริหารประเทศ จึงไร้ทิศทาง  รัฐบาลไปทางหนึ่ง  ประชาชน ๖๐  ล้านคนก็ ๖๐ ล้านจุดมุ่งหมาย  ลักษณะอย่างนี้ รู้ได้ชัดว่าระบอบการเมืองที่เป็นอยู่  ใครขึ้นมาบริหารประเทศก็จะไปไม่รอดอย่างแน่นอน เพียงแต่รอเวลาเท่านั้น

“เมื่อไม่มีจุดมุ่งหมาย ก็ไม่มีหนทาง เมื่อไม่มีหนทาง ก็ไม่มีความก้าวหน้า อุปมา พายเรือในอ่างน้ำ”

รัฐบาลปัจจุบัน มาจากวิธีการประชาธิปไตย (เลือกตั้งซื้อเอา) ภายใต้ระบอบเผด็จการระบบรัฐสภา ใช้เงื่อนไขของระบอบฯนี้บริหารประเทศ และการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างมโหฬารทุกวันนี้ เกิดจากระบอบเผด็จการระบบรัฐสภา ทั้งนักการเมืองและนักวิชาการผู้สนับสนุนและผู้สร้างระบอบปัจจุบัน  ไม่ยอมรับความเป็นจริง นักวิชาการบางคนเป็นผู้ค้ำระบอบปัจจุบัน ทั้งที่ระบอบปัจจุบันนี้ เป็นระบอบเผด็จการระบบรัฐสภา คือเหตุแห่งการทำลายความมั่นคงของชาติ ให้ค่อยๆ ทรุดลงๆ ดุจปลวกกินบ้าน กว่าจะรู้ตัวก็...

ประชาชนหมดศรัทธารัฐบาล เพราะเป็นรัฐบาลภายใต้ระบอบที่อยุติธรรม  ระบอบเลวเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ผลคือรัฐบาลเลวด้วย  รัฐบาลไหนๆ ก็ตามซึ่งอยู่ภายใต้ระบอบเลว  สักวันหนึ่งก็จะถูกประชาชนขับไล่ ดังนั้นการคิดจะไล่คนเพียงด้านเดียว อุปมา ระบอบการเมืองดุจดังน้ำ ประชาชนนั้นดุจดังปลา การที่จะไล่จ่าฝูงปลาปิรันย่านี้ให้พ้นไปเพียงอย่างเดียวนั้น ฝูงใหม่ก็จะเข้ามาอีก จึงควรแก้ไขน้ำเน่า (ระบอบ) อันเป็นเหตุแห่งความเลวร้ายทั้งปวง

ของชาติ และการสมานฉันท์ภายในชาติจะเกิดขึ้นเป็นจริงได้ด้วยหลักธรรมาธิปไตย ๙ เป็นศูนย์กลางเท่านั้น

ทั้งนี้ขอให้เจริญรอยตามองค์พระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ด้วยความรู้รักสามัคคีธรรม สู่ การสถาปนาธรรมาธิปไตย คือชัยชนะของปวงชนในแผ่นดิน

 

“ธรรมาธิปไตย หลักรัฐศาสตร์ที่ยิ่งใหญของไทยและโลก”

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

27 พ.ค.2557

คัดลอกจากหนังสือธรรมาธิปไตย 9 โดย ดร.ป.เพชรอริยะ

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม 2014 เวลา 21:54 น.
 

สงสัยเรื่องการจ้าง ล็อบบี้ยิสต์

พิมพ์ PDF

สงสัยเรื่องการจ้าง ล็อบบี้ยิสต์

บทความเรื่องความขัดแย้งของการเมืองไทย โดย Thomas Fuller ในThe New York Times จำนวนมากมาย ดัง ตัวอย่างนี้ หากอ่านอย่างพิเคราะห์ หลายๆ บทความ จะเห็นว่าเขาจะไม่ค่อยเอ่ยถึง คอรัปชั่นโดยทักษิณและพวกพ้อง แต่จะเอ่ยถึงประชาธิปไตย การเลือกตั้ง เป็นหลัก

มีคนบอกผมว่า คุณทักษิณ ทุ่มเงินจ้าง ล็อบบี้ยิสต์ ให้เขียนเชียร์ตนเองและพวกพ้อง

ทำให้ผมสงสัยระบบคุณธรรมและจริยธรรมของสังคมสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในหมู่สื่อมวลชน ว่าเขาแยกระหว่าง ผู้สื่อข่าว คอลัมนิสต์ แยกออกจาก ล็อบบี้ยิสต์ อย่างไร

หาก ล็อบบี้ยิสต์ แฝงตัวอยู่ในสื่อมวลชน สังคมจะสับสนวุ่นวายหลอกลวงแค่ไหน

วิจารณ์ พานิช

๒๖ พ.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม 2014 เวลา 14:37 น.
 

จิตสำนึกล้มเหลว.. ภัยร้ายของสังคม!!

พิมพ์ PDF

เจริญ พรสาธุชนผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในห้วงสัปดาห์เฉลิมฉลองงานวิสาขบูชาโลก ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๗ อาตมาได้เดินทางฝ่าลมร้อนมากกว่า ๔๐ องศา สู่อินเดีย เพื่อร่วมงานตามอาราธนาของ มหาโพธิสมาคมของอินเดีย ที่ได้จัดงาน ธรรมสภา ขึ้น เพื่อพูดคุยกับบุคคล/ผู้นำจากศาสนาต่างๆ ในเรื่องของ ศาสนา ความสามัคคี และการนำสันติภาพสู่สังคมมนุษยชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ณ มหาโพธิสมาคม ที่กัลกัตตา/อินเดีย (วันวิสาขบูชาในประเทศไทย ตรงกับวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗ แต่ในอินเดีย ซึ่งรับอิทธิพลการนับจากพุทธศาสนาศรีลังกา นับวันตรงกับ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗)

อาตมา จึงวางแผนเดินทางเข้าสู่พุทธคยา เพื่อกราบสักการะสังเวชนียสถานที่ตรัสรู้ ณ พระศรีมหาโพธิ/ มหาโพธิ มหาวิหาร พุทธคยา/ รัฐพิหาร อินเดีย ในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ซึ่งพุทธศาสนาในประเทศเราถือว่าเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (จันทรคติ) ที่เรียกว่า "วันวิสาขบูชา"... ค่ำคืนนี้ (๑๓ พ.ค.๕๗) จึงเขียนต้นฉบับ ณ อนิมิสเจดีย์ สถานที่ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับยืนในสัปดาห์ที่ ๒ อยู่ ๗ วัน ที่เราเรียกกันว่า "เจริญภาวนา เสวยวิมุตติด้วยการยืน" ซึ่งห่างจากควงพระศรีมหาโพธิ สถานที่ประทับนั่งตรัสรู้ เสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๑ ประมาณ ๕๐-๖๐ เมตร โดยมี รัตนจงกรมเจดีย์ สถานที่เสด็จจงกรม (เจริญภาวนาด้วยการเดิน) อยู่ใน สัปดาห์ที่ ๓ คั่นอยู่ระหว่าง ซึ่งหากใครที่เคยเดินทางมากราบสักการะสังเวชนียสถานที่ตรัสรู้ ก็คงจะคุ้นตาจดจำได้ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวที่ยังปรากฏมีอยู่ นั่นจะต้องรวมถึงรัตนฆรเจดีย์ด้วย ที่ทรงประทับนั่งพิจารณาธรรมต่อเนื่องอีก ๗ วัน ใน สัปดาห์ที่ ๔ ก่อนจะเสด็จข้ามฟากแม่น้ำเนรัญชราเพื่อประทับนั่งพิจารณาธรรมที่ทรงตรัสรู้ ใน สัปดาห์ที่ ๕ และเสด็จข้ามฟากแม่น้ำกลับมาสู่สระมุจลินท์ใน สัปดาห์ที่ ๖ ต่อด้วยเสด็จไปสู่โคนต้น ไม้ราชายตนะ ในสัปดาห์ที่ ๗ เพื่อเสวยธรรมสมบัติที่ทรงค้นพบด้วยพระองค์เองจนครบสมบูรณ์ ๗ สถาน ใน ๗ สัปดาห์ จำนวน ๔๙ วัน อันเป็นไปตามพุทธวิสัย

วิสาขบูชาปีนี้จึงได้กลับมาเฉลิมฉลองด้วยการอยู่ปฏิบัติภาวนาภายใน มหาโพธิ มหาวิหาร ตลอดคืน ยันฟ้าสว่างรับวันใหม่ ก็จะต้องเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ ๘ ชั่วโมง สู่ เมืองกัลกัตตา เพื่อร่วมประชุม ธรรมสภา เสร็จสิ้นการประชุมจะได้นั่งเครื่องบินจากสนามบินกัลกัตตาสู่ประเทศไทย เพื่อเตรียมตัวแสดงธรรม นำประชาชนอบรมจิตภาวนา และร่วมสวดพระปริตร อธิษฐานจิต เพื่อแผ่นดินไทย ในวันศุกร์ที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เนื่องในงานสัปดาห์ฯ วิสาขบูชาโลก

ท่าม กลางอากาศที่ร้อนระอุในอินเดีย แต่ยังมีศรัทธาสาธุชนหลายคณะจากประเทศพุทธศาสนา เดินทางมาร่วมงาน โดยเฉพาะจาก เวียดนาม และชาวพุทธในอินเดียจากรัฐมหาราษฏระ มีการจัดธรรมยาตรา กันท่ามกลางความร้อนที่ไม่ค่อยจะลดลงเลย จึงเป็นธรรมดาที่ไม่ค่อยเห็นพุทธศาสนิกชนชาวไทย ซึ่งปกติจะมีมากันจำนวนมากๆ อาตมาได้ตั้งใจมาเจริญภาวนา จึงประกอบศาสนกิจอย่างเต็มกำลังเพียงรูปเดียวในภาคกลางวัน ต่อเนื่องในภาคกลางคืน

เมื่อก่อนจะออกมาจากที่พักวัดศรีลังกา ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้า มหาโพธิ มหาวิหาร (Main Temple) อาตมาได้เข้าไปทำ พิธีบอกอุโบสถ และบอกบริสุทธิ์ ตามพุทธานุญาตที่ให้พระภิกษุที่อยู่ในเขตอาวาส/ที่พักกระทำได้ ซึ่ง หากละเลยปล่อยผ่านไปไม่กระทำ แม้อยู่รูปเดียวในวันอุโบสถ (๑๕ วัน ครั้งหนึ่ง) จะต้องถูกปรับเป็น อาบัติ (เป็นโทษ... เป็นบาป กับภิกษุผู้ต้องความผิด อันเป็นไปตามสิกขาบทที่พุทธบัญญัติไว้ดีแล้วในปาติโมกข์ศีล ๒๒๗ สิกขาบท)

เรื่อง วินัยของพระ ศีลของคน เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ที่สุดที่พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก

ดังปรากฏในไตรสิกขาที่ เบื้องต้น คือ ศีล หรือในพระไตรปิฎกที่ เบื้องแรก คือ พระวินัย ซึ่งถือเสมือนเป็น รากแก้ว ของพระพุทธศาสนา หมายความว่า

ศาสนาจะอยู่ได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับรากแก้วคือวินัยนี่แหละ... ปัญหาทั้งปวง... ประโยชน์ทั้งหลาย จึงอยู่ที่การไม่ถือปฏิบัติหรือการถือปฏิบัติตามพระวินัยหรือศีลเป็นสำคัญ ที่สุด...

หากเมื่อใดที่คณะสงฆ์ละเลยพระวินัย ศรัทธาสาธุชนทำศีลบกพร่อง รับประกันได้เลยว่า หายนะ เสื่อมสลาย เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ให้มีผู้รู้ทางปริยัติมากมาย มีดอกเตอร์เกิดขึ้นทั่วหัวระแหงแห่งแผ่นดิน แต่หากท่านเหล่านี้เสื่อมวินัย บกพร่องศีล

ความรู้ที่ท่องบ่นจดจำมาก็ไร้คุณประโยชน์ แถมจะกลับคืนเป็นโทษ ด้วยการใช้ความรู้ไปในทางที่ผิดเพี้ยนไปจากศีลธรรม

แม้ จะมุ่งมั่นเจริญสมาธิ อบรมวิปัสสนากันเป็นดอกเห็ด แต่หากมีอาจารย์ตุ๊ด เณรแต๋ว เป็นเจ้าสำนัก รับประทานได้ว่าฉิบหายแน่นอน

นี่ยังไม่นับบรรดาท่านทุศีล ที่แอบซุกซ่อนอยู่ในชายคาศาสนา รับเงิน รับทอง เสกบุญ แจกซองเรี่ยไรกันเป็นบ้าเป็นหลัง ยังไม่นับบรรดาพุทธพาณิชย์ เสกหลวงพ่อ ขายหลวงตา จนข้ามไปคบค้ากับพราหมณ์ ขายเทวดา พรหมปางต่างๆ ซึ่งมีให้เห็นเต็มหูเต็มตา และไม่เห็นมีใครหน้าไหน องค์กรใด กล้าหาญจัดการเพื่อขจัดเสี้ยนหนามศาสนาให้หมดไปสังคมประเทศชาติ

จึงหมุนอยู่ ในวังวนของอ่างน้ำเน่า พานพบแต่เรื่องเลวร้ายรายวัน เดี๋ยวยิงที่นั่น... เดี๋ยวข่มขืนที่นี่ เดี๋ยวค้า-เสพยาเสพติดกันที่โน่น และยิ่งการยิงระเบิดใส่กันกลางเมืองหลวง

ยิ่งน่าเกลียดต่อความเป็นประเทศพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะไม่มีข่าวคราวว่าจะจับใครมาลงโทษได้เลย

เรื่องของเรื่องจึงไม่จบ เสียงปืน... เสียงระเบิด

เพราะอำนาจกฎหมาย ขื่อแปบ้านเมืองไม่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ขลังพอที่จะทำให้ผีเปรตบางพวกบางกลุ่มเกรงกลัวได้เลย...

สังคม แบบนี้จึงยากต่อการดำรงอยู่ของคนดี แต่สะดวกสบายต่อการดำเนินชีวิตของคนชั่ว ตรงนี้จึงเป็นจุดอันตรายของประเทศชาติ ยิ่งขบวนการกัดกร่อนสถาบันหลัก ยิ่งน่าคิดว่าฝ่ายความมั่นคงกองทัพทั้งหลายอยู่กันอย่างไร หรือทำอะไรกันอยู่ ทำไมปล่อยให้การกระทำดังกล่าวยังดำเนินกันต่อไปอย่างไม่มีทีท่าว่าจะยุติ

นับวันยิ่งเปิดเผยตัวกันอย่างเต็มที่ เหมือนสังคมในศาสนา ที่นับวันนักบวชทุศีลมีพวกมาก ชักชวนกันย่ำยีพระธรรมวินัยด้วยการถือปฏิบัติที่ผิดเพี้ยนอย่างเปิดเผย เช่น การรับเงินทอง ขบฉันของอันไม่ควรตามกาลเวลา การเดินทางไปในสถานที่ไม่เหมาะสม การแต่งเนื้อแต่งตัวไม่เหมาะต่อความเป็นสมณะหรือนักบวชในพระศาสนา

เมื่อวันก่อนพบเห็นเต็มตา คณะหัวโล้นกลุ่มหนึ่งที่สนามบินเชียงใหม่ ซึ่งมีท่าทีบุคลิกแปลกๆ โดยเฉพาะการแต่งเนื้อแต่งตัว เล่นเอาชาวบ้านที่ศรัทธาศาสนาต้องหันไปมองกันคนละหลายครั้ง... มีข้าราชการท่านหนึ่งพูดให้อาตมาฟังว่า "หลวงพ่อครับ เดี๋ยวนี้ แบบนี้มีแยะจนเป็นแฟชั่นกันแล้วครับ!!"

เอา ล่ะ จะเป็นแฟชั่นนรกหรือแฟชั่นสวรรค์ เดี๋ยวไม่นานคงรู้กันไปตาม วิถีกรรม... แต่สิ่งที่ออกจะเป็นห่วงคือ ศรัทธาปสาทะ ของญาติโยม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ใน สังคมวัตถุนิยม ที่กำลังเข้ามาแทนที่ วัตถุนิยมในสังคม ซึ่งนับวันยิ่งถอยห่างออกจากศาสนา จนเป็นสัญญาณอันตรายที่น่ากลัวมากกว่าเรื่องใดๆ... เพราะหากคนเราปฏิเสธศาสนา (ไม่ว่าศาสนาใด) อยู่อย่างไม่มีศาสนา ดุจดังคนรุ่นใหม่ในหลายประเทศที่รุ่งเรืองทางด้านวัตถุเทคโนโลยี สังคมประเทศชาติที่เคยดูดี สวยงาม น่าอยู่อาศัย จะพังทลายเหมือนเจดีย์ทรายโดนน้ำซัดทันที...

...ไหนๆ ก็ไหนๆ หากจะมีการปฏิรูปบ้านเมืองกันยกใหญ่ดังที่เรียกร้องกันอยู่ ถ้าเป็นไปได้จริง สิ่งสำคัญที่ใคร่ขอฝากไว้คือ

การปฏิรูปจิตสำนึก ให้คืนกลับมาเป็นชาวไทยที่สวยงาม บริสุทธิ์ อีกครั้งหนึ่งเถิด...

โดยการหันกลับมาช่วยกันดูแลรักษา สถาบันพระพุทธศาสนา ให้เข้มแข็ง มั่นคง มีประสิทธิภาพในการฝึกฝนพัฒนาจิตของสัตว์สังคม เพื่อให้มีศีลธรรมค้ำชูชีวิตสืบไป

ซึ่งหากสถาบันการพัฒนาจิตวิญญาณ คือ ศาสนา มีประสิทธิภาพ

เรื่องราวใดๆ ในสังคมไม่ใช่ปัญหาที่แก้ไขไม่ได้... แต่ที่ยังแก้ไขกันไม่ได้ในทุกปัญหาของสังคม

โดยเฉพาะความแตกแยกของหมู่ชน นั่นเพราะการพัฒนาจิตสำนึกสู่มนุษยธรรมมันล้มเหลว

และเป็น ความล้มเหลวที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้ตรงจุดเหตุ

นี่คือภัยที่น่ากลัวที่สุดของสัตว์สังคม!!.

เจริญพร

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ --
ศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม 2557

โดย..พระ อ.อารยวังโส

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม 2014 เวลา 12:41 น.
 

การสร้างความรัก สามัคคี คืนสู่สังคมเป็นหน้าที่...ของคนดี!

พิมพ์ PDF

เจริญพรสาธุชนผู้มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา ...อาตมาเดินทางมาเจริญภาวนาที่ภูเขาหลวง/ต้นน้ำคีรีวง ซึ่งศิษย์ศรัทธาได้ซื้อที่ดินสร้างวัดถวาย เพื่อพระภิกษุจะได้มาปลีกวิเวก เจริญภาวนา... ที่นี่อากาศดีมาก เรียกว่า อุตุสัปปายะ ชาวบ้านยังดำเนินชีวิตเคียงคู่กับธรรมชาติ ตามแบบฉบับพื้นบ้านในต่างจังหวัดจะเรียก บุคคลสัปปายะ ก็พอจะอนุโลมได้ ด้วยยังมีจำนวนมากที่เชื่อมั่นในบาปบุญคุณโทษ จึงเกื้อต่อ อาหารสัปปายะ ซึ่งเรื่องดังกล่าวย่อมพูดได้เต็มปาก... สำหรับธรรมสัปปายะนี้คงเป็นเฉพาะ ซึ่งหากคำสั่งสอนตามพระธรรมวินัย ที่นี่มี พระไตรปิฎก ให้ค้นคว้า ดับกระหาย แก้โรคโง่ได้ตลอดเวลา อีกทั้งพระภิกษุที่มาอยู่ในอาวาส ก็มีความรู้พอที่จะเป็นที่พึ่งของกันและกันได้...

การเป็นที่พึ่งของกันและกันในหมู่คนดี...พระดี นี่เป็นเรื่องสำคัญมากๆ ในทุกสถานการณ์..ในทุกกาลสมัย ต่างฝ่ายต่างเป็นกำลังใจ สนับสนุนเกื้อกูลกันและกัน ซึ่งจะต้องดำรงมั่นคงแน่วแน่อยู่ใน หลักธรรมของคนดี หมายถึง ทำให้คนเรามีความเห็นถูกต้องชอบโดยธรรม... ไม่ใช่ความเห็นถูกใจ อย่างที่คนพาล... คนชั่วมีความนิยม ...ธรรมของคนดี ภาษาพระเรียกว่า สัปปุริสธรรม ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ ธรรมของคนชั่ว ที่เรียกว่า อสัปปุริสธรรมหากจะกล่าวถึง ธรรมของคนดี พอเป็นตัวอย่าง เพื่อสาธุชนจะได้เห็นรูปร่างหน้าตาอย่างชัดเจนว่า คนดีกับคนชั่ว มีหน้าตาต่างกันอย่างไร โดยธรรมตัดสิน มิใช่เราตัดสิน ซึ่งอาจจะผิดพลาดได้ จะขอสรุปหลักเกณฑ์ดังนี้

ในเบื้องต้น ...คนดีนั้นต้องมี ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อมั่นในสัจธรรมเบื้องต้น คือ กฎแห่งกรรม ...ที่สุดคืออริยสัจ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และแสดงไว้ดีแล้ว ที่เรียกศรัทธาตัวนี้ว่า ตถาคตโพธิสัทธา แสดงว่า ศรัทธา หรือความเชื่อ จะต้องเกิดจากการรองรับเกื้อหนุนด้วยความรู้-ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตรงธรรม ที่เรียกว่า ปัญญา ซึ่งก่อให้เกิด พลังความรู้ ในจิตใจ จึงเรียกว่า ปัญญาพละ แปลตามตัวอักษรอีกครั้งว่า ปัญญาที่จัดเป็นกำลัง... เป็นปัญญาชอบ คือ รู้ดี รู้ชอบ รู้ถูกต้อง มีความเข้าใจถ่องแท้ในความเป็นเหตุเป็นผล... เมื่อมีความรู้ถูกต้องย่อมยอมรับความจริงตามกำหนดกฎเกณฑ์ที่เป็นสัจธรรม อันปรากฏมีอยู่จริงในธรรมชาติที่แสดงออกมาในรูป กฎแห่งกรรม จึงศรัทธาในกรรม วิบาก และ กัมมัสสกา จึงมีความเกรงกลัวต่อบาปกรรมที่เกิดจากการทำความชั่ว

คนที่มีศรัทธาพละ จึงเป็นคนดี... เมื่อเป็นคนดี จะไปเป็นฐานะอะไรๆ ก็ดี แต่ความดีนั้นมิได้เกิดผุดขึ้นเอง แต่ต้องมาจากการกระทำ ที่เรียกว่าความเพียร (วิริยะ) ที่จะพัฒนาเป็น กำลังความเพียร (วิริยพละ) หมายถึง การมุ่งมั่นกระทำอย่างไม่ท้อถอย แม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคนานาประการ โดยจะทำงานอย่างต่อเนื่อง ไม่ลดละ ยอมรับความจริงว่า งานบางอย่างมิได้สำเร็จด้วยการทุ่มกำลังเข้าทำในวันเดียว... และต้องรู้จักแปรปัญหาอุปสรรคให้เป็นกำลังใจ โดยเข้าใจในความจริงว่า ปัญหาอุปสรรคไม่มี บารมีไม่เกิด ...ปัญหาอุปสรรคมีไว้ทดลองปัญญา อันเป็นคุณสมบัติของคนดีที่เป็นสัตบุรุษ... วิริยพละ จึงเป็นความเพียรที่ต้องกำกับด้วย สติปัญญา มีความศรัทธา รักษาจิตอย่างมั่นคง เข้มแข็ง รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาในบางโอกาส และรู้จักบุกอย่างเต็มกำลังในบางเวลา โดยคำนึงถึงความพร้อมในทุกด้าน และประโยชน์อันเป็นที่หมายเป็นสำคัญ...

นอกเหนือจากความเพียรที่เป็น วิริยพละ อันแสดงออกถึงการทำงานที่ต่อเนื่อง ไม่ท้อ ถอย... คุณลักษณะอีกประการหนึ่งของ วิริยพละ คือ ต้องตรงต่อเวลา ไม่มีความเบื่อหน่าย และไม่ท้อถอยต่ออุปสรรค ซึ่งผู้มีความเพียรจะต้องมุ่งมั่น เอาชนะอุปสรรคให้ได้ด้วย พลังแห่งความมั่นคง

พลังแห่งความมั่นคงนั้น จะเกิดมีขึ้นได้ ก็ต้องด้วยการหลอมรวมความคิดลงในดวงจิต จนผลิเป็น อุดมคติธรรมขึ้น ที่เรียกว่า อุดม การณ์ของบุคคล... ตรงนี้สำคัญมาก โดยเฉพาะนักบริหาร นักปกครอง นักการเมือง ที่สุดคือ นักการศาสนา ดังพระพุทธเจ้าของเรา ชาวพุทธที่เป็นแบบฉบับของการดำเนินชีวิตที่มีอุดมการณ์ ซึ่งได้ประกาศ พระมโนปณิธาน มาโดยตลอด มากอสงไขย..มากกัลป์ แม้ในที่สุดก่อนตรัสรู้ใต้ควงพระศรีมหาโพธิ จึงได้ประกาศถวายชีวิตบูชาพระบรมโพธิญาณ จนนำไปสู่ความสำเร็จตาม พระพุทธประสงค์ ซึ่งก็ด้วยอำนาจ พลังความมั่นคง ในจิตใจ ที่หลอมรวมเป็น อุดมการณ์ธรรม...

ดังนั้น ศรัทธาสาธุชนทั้งหลายที่มุ่งมั่นทำกิจประโยชน์อันใดที่เป็นไป ต่อตนเองและผู้อื่น โดยเฉพาะการต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคต่อการทำงาน เพื่อ ประโยชน์สุขแห่งสังคม ประเทศชาตินั้น จะต้องหลอมรวมความมั่นคงในจิตใจให้เป็นพลังจิตที่เข้มแข็ง จนเกิด อุดมคติธรรม ผุดปรากฏ ดัง พระมหาโพธิสัตว์ ที่ประกาศแสดงธาตุแท้แห่งจิตสำนึกไว้ว่า... ไม่ว่าจะต้องลุยผ่านทะเลเพลิง คมหอก คมดาบ ความตาย ก็จะต้องไปให้ถึงที่หมาย...

การกลั่นความรู้สึกออกมาจากจิตใจ จนเกิดเป็นอุดมคติที่แข็งแกร่ง มั่นคง ย่อมนำไปสู่ความมั่นคงในการกระทำ และจะกระทำอย่างมีทิศ ทาง แบบแผน มีสติปัญญาในการคิด อ่าน ทำ ในกิจการนั้น สัตบุรุษจึงทำการงานอย่างรู้จักพิจารณา เห็นคุณ... รู้โทษภัย จึงทำงานอย่างไม่มีโทษ เรียกว่า อนวัชชะ ที่หลอมรวมด้วยความรู้ที่เกิดจาก พลังศรัทธา จึงเป็น อนวัชชพละ หมายถึง การกระทำที่ไม่มีโทษเป็นกำลังการกระทำที่ไม่มีโทษเป็นกำลัง นี้ เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง อันแสดงออกถึงความเป็นบัณฑิต... ความเป็นสัตบุรุษ และความเป็น สัปปุริสธรรม (ธรรมของคนดี)...

ตรงนี้คือตัวชี้วัดเส้นทางของสังคมและประเทศชาติ โดยเฉพาะสังคมไทย ว่าจะเป็นไปอย่างไรในเบื้องหน้า ด้วย การกระทำที่ไม่มีโทษนี้ ผู้กระทำต้องมี พลังแห่งความมั่นคงทางจิตวิญญาณสูงมากในอุดมคติธรรม ซึ่งจะต้องหลอมรวมหัวจิตหัวใจไว้ด้วย อำนาจพรหมวิหารธรรม เพื่อละเว้น อคติธรรม ในทุกขณะจิต โดยมุ่งประโยชน์เพื่อส่วนรวม หมายถึง ประเทศชาติ อย่างแท้จริง จึงจะเข้าถึงหลักการทำงานที่ไม่มีโทษเป็นกำลัง (อนวัชชพละ) ได้ ด้วยความรู้-ความเข้าใจที่ถูกต้องชอบธรรม ซึ่ง หลักการกระทำที่ไม่มีโทษ นั้น อาตมาเคยนำมากล่าวหลายครั้งแล้ว แต่จะขออนุญาตนำมากล่าวบูชาอีกครั้ง เพื่อ ท่านผู้มีหน้าที่ต่อการดูแลรักษาพัฒนาประเทศชาติ ไม่ว่า นักการเมือง ข้าราชการประจำ จะได้นำไปพินิจหลักการในการดำเนินตามหน้าที่ เพื่อแก้ไขปัญหา ขจัดอุปสรรคของบ้านเมือง และเพื่อการพัฒนาประเทศชาติไปสู่ทิศแห่งความเจริญมั่นคง โดยขอให้จดจำไว้ว่า การกระทำที่ไม่มีโทษนั้นมีข้อพิจารณาดังนี้

๑.การ กระทำบางอย่างผิดกฎหมาย (กฎหมาย) ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญที่คนเราในสังคมสร้างขึ้นมาเอง

เพื่อเป็นบรรทัดฐานของสมาชิกในสังคม ประเทศชาติ ในการถือปฏิบัติตนอยู่ร่วมกัน โดยมีเจตนามุ่งมั่นสู่ความสงบสุข โดยไม่ผิดจารีตประเพณี ไม่ผิดศีล...ไม่ผิดธรรม

๒.การกระทำบางอย่างไม่ผิดกฎหมาย แต่ผิดจารีตประเพณี (กฎสังคม)

ซึ่งสมาชิกในสังคมยึดถือประพฤติปฏิบัติกันมา จนเป็นประเพณีปฏิบัติของสังคม ที่เรียกว่า วัฒนธรรมของสังคม อันแสดงออกถึงภาวะจิตสำนึกและคุณลักษณะทางจิตใจของสังคม ที่สมาชิกในสังคมมีมติเห็นชอบ ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาโดยมิต้องบังคับ...

๓.การ กระทำบางอย่างไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดกฎสังคม (จารีตประเพณี) แต่ผิดศีล...

เรื่องศีลเป็นหลักคุรุธรรมของชาวโลก เหนือกฎเกณฑ์ของสังคม และอยู่เหนือกฎหมายของหมู่ชนที่ร่างสร้างขึ้น อาจจะพูดได้ว่า การร่างกฎใดๆ หรือการยึดถือปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนใดๆ ของสังคม จะต้องอยู่ภายใต้ กฎศีล ซึ่งแสดงออกมาให้เห็นลักษณะการกระทำที่เป็นไปตามความจริงที่มีอยู่ใน ธรรมชาติ โดย ศีล นั้นจะรองรับด้วย กรรมนิยาม ซึ่งศรัทธาสาธุชนต้องเชื่อมั่นด้วยการยอมรับใน กฎเกณฑ์กรรม ดังกล่าว จึงนำมาสู่การยอมรับใน ศีล ที่กำหนดบ่งบอกความจริงในเชิงพฤติกรรมว่า อะไรควรทำ..อะไรไม่ควรทำ หากกระทำหรือไม่กระทำแล้ว จะมีคุณ..โทษ เป็นอย่างไร... ซึ่งนั่นหมายถึงการแสดงความประจักษ์จริงของกฎเกณฑ์ความจริงในรูปของ กรรมนิยาม นั่นเอง ที่ไม่มีใครๆ จะไปเปลี่ยนแปลง แก้ไข คัดง้างได้เลย...

๔.การ กระทำบางอย่างไม่ผิดกฎหมาย... ไม่ผิดรัฐธรรมนูญ... ไม่ผิดจารีตประเพณี (กฎสังคม)... ไม่ผิดกฎศีล... แต่ผิดกฎธรรม ก็ย่อมต้องหักล้างทิ้งไปด้วย

กฎเกณฑ์ใดๆ แม้กฎศีล ย่อมต้องอนุวัตไปตาม กฎธรรม หรือ ธรรมนิยาม ที่ควบคุมดูแลสรรพธรรมทั้งหลายให้เป็นไป อยู่ใต้ อาณัติ ห้ามโต้แย้ง ขัดแย้ง คัดง้าง กฎแห่งธรรม ที่แสดง สัจธรรมดังนั้นในเรื่องการทำงานที่ไม่เป็นโทษนั้น จึงต้องยึด กฎแห่งธรรม (ธรรมนิยาม) เป็นธงชัยแห่งการคิดพิจารณา เพื่อจะกระทำอะไรๆ สักอย่างหนึ่ง หากมีข้อขัดแย้งใดๆ ในระดับกฎหมาย กฎสังคม กฎศีล ก็ขอให้ใช้ กฎแห่งธรรม เป็นใหญ่ แต่ในหลักอนวัชชะ (การทำงานที่ไม่เป็นโทษ) นั้น จะต้องเป็นการกระทำที่ไม่ผิดทั้ง ๔ ประการ เป็นสำคัญที่สุด

โดยมีกฎธรรมเป็นธงชัยของการกระทำ ซึ่งตรงนี้เป็นหลักการในระบบ ธรรมาธิปไตย ที่ถือ ธรรมเป็นอธิปไตย ยึดถือความถูกต้องชอบธรรมเป็นที่ตั้ง ไม่มีการนำเรื่องส่วนตัว หรือผลประโยชน์ของตนและหมู่คณะ พรรคพวก เข้ามาเกี่ยวข้อง หากทำได้ตามที่กล่าวมา การงานนั้นก็จะไม่มีโทษ... และการงานที่ไม่มีโทษก็คือการประพฤติถูกต้องตามธรรม และผู้ประพฤติถูกต้องตามธรรมย่อมได้รับความคุ้มครองด้วยอำนาจแห่งธรรมอย่าง แท้จริง

ทั้งนี้ ย่อมหมายรวมถึงการรู้จักการสงเคราะห์ต่อส่วนรวม ประเทศชาติอย่างแท้จริง เรียกว่า สังคหพละ ซึ่งเป็นกำลังแห่งการสงเคราะห์ที่แท้จริงนั้น ต้องมุ่งไปสู่การผูกมิตรไมตรี ให้สมาชิกในสังคมมีความรู้รักสามัคคีกัน จนเกิดเป็นกำลังแห่งน้ำใจ ที่เกื้อกูลประโยชน์ต่อกันของคนในสังคม ด้วยการบริหารจัดการโดยหลักธรรมดังกล่าว ซึ่งมีอานิสงส์มาก... มีผลมากต่อผู้กระทำ สมดังพระพุทธภาษิตที่แปลความว่า "เมื่อใด ผู้คนเหล่าอื่นขัดแย้งกันอยู่ ตนเองเป็นผู้ประสานให้ พวกเขาคืนดีกัน ผู้นั้นเป็นคนรับภาระและจัดการธุระที่ยอดเยี่ยม"... เอวัง.

เจริญพร

การสร้างความรัก สามัคคี คืนสู่สังคมเป็นหน้าที่...ของคนดี!

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- 
ศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม 2557
โดย...พระ อ.อารยวังโส

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม 2014 เวลา 12:48 น.
 


หน้า 352 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8745990

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า