Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

๖ นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา ๘. ครูและภาคีพันธมิตร

พิมพ์ PDF

บันทึกชุดนี้มี ๑๐ ตอน   ที่ตีความจากการอ่านหนังสือ Education Nation : Six Leading Edges of Innovation in Our Schools เขียนโดย Milton Chen

บันทึกตอนที่ ๘ นี้ ตีความจาก Edge 5. The Co-Teaching Edge : Teachers, Experts, and Parents as Coeducators

ในยุคนี้ ครูต้องไม่ทำงานแบบโดดเดี่ยวคนเดียว    ต้องเป็นครูทีม ทั้งเป็นทีมกับเพื่อนครู  เป็นทีมกับพ่อแม่ของศิษย์  และเป็นทีมกับผู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้าน ที่มีอยู่โดยรอบโรงเรียน

ในภาษาของการศึกษาไทย ครูต้องรู้จักใช้ทรัพยากรทางการศึกษา ให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการ เรียนรู้ของศิษย์   คำว่าทรัพยากรในที่นี้ หมายถึงทรัพยากรมนุษย์    ครูต้องรู้จักวิธีเชื้อเชิญดึงดูดผู้เชี่ยวชาญ หลากหลายด้านเหล่านั้น มาแนะนำนักเรียน ในการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ส่วนใหญ่นักเรียนเรียนจาก การทำโครงงาน

ผู้เชี่ยวชาญที่มักถูกละเลย คือศิลปิน หลากหลายแขนงที่มีอยู่ทั่วไป    ที่จะมาช่วยทำให้การเรียนรู้แนว สมองซีกขวา ช่วยส่งเสริมการเรียนวิชาซึ่งมักเป็นการเรียนที่สมองซีกซ้ายเด่น    คือมาช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้ แบบที่สมองสองด้านเสริมส่งซึ่งกันและกัน    ซึ่งจะทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้ผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น    มีผลงานวิจัยยืนยัน ระบุไว้ในหนังสือเกี่ยวกับโครงการ OMA (Opening Minds through the Arts)

เขายกตัวอย่าง ศิลปินด้านการร้องเพลงโอเปร่า และนักดนตรี มาทำงานร่วมกับครู เพื่อสอนภาษาแก่นักเรียน ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึง ม. ๒   และทำให้ผลการเรียนดีขึ้น    สำหรับประเทศไทยเรามีลิเก เพลงบอก  เพลงอีแซว  โนรา  หนังตะลุง  นักร้องเพลงไทยเดิม  เพลงไทยสากล   นักดนตรีไทย  นักดนตรีสากล  และอื่นๆ มากมายในด้านศิลปะการแสดง    และมีนักถ่ายภาพ  นักวาดรูป   นักแกะสลัก  นักปั้น (รวมทั้งปูนปั้น)  เป็นต้น   มีตัวอย่างโรงเรียนที่เพชรบุรีเชิญศิลปินมาร่วมสอนนักเรียน  อ่านได้ ที่นี่

พันธมิตรที่ขาดไม่ได้ คือพ่อแม่หรือผู้ปกครองนักเรียน    ต้องเข้ามารับรู้และช่วยชื่นชมความมานะ พยายาม และความสำเร็จอย่างเป็นขั้นตอนของนักเรียน   โดยมีเครื่องช่วยให้ผู้ปกครองติดตามรับรู้ กระบวนการเรียนรู้ ของเด็กได้ทุกวัน   โดยอาจมีintranet ให้พ่อแม่/ผู้ปกครองเข้าไปดูผลการเรียน ของลูกของตนได้    ผมขอย้ำว่า ทั้งพ่อแม่และครูต้องท่องอยู่ตลอดเวลาว่า ให้ชมความานะพยายาม และความสำเร็จที่เกิดจากความานะพยายาม มากกว่าความสำเร็จที่ได้มาโดยง่าย

เขาแนะนำเคล็ดลับในการทำให้เด็กพอใจที่จะให้ครูพูดกับพ่อแม่ (เด็กโตจะไม่ชอบให้ครูพูดกับพ่อแม่ ระแวงว่าครูจะฟ้องความประพฤติที่ไม่เหมาะสมของตน)    โดยเมื่อพบว่าเด็กคนไหนทำดี หรือมีความพยายาม หรือผลการเรียนบางอย่างดีเด่น    ให้ยกโทรศัพท์ชมกับพ่อแม่ให้เพื่อนๆ ในชั้นได้ยินด้วย   เด็กๆ จะรอคอยว่าเมื่อไรครูจะโทรศัพท์ไปคุยกับพ่อแม่ของตน    และทำให้เด็กไม่หวาดระแวงอีกต่อไป

เขาแนะนำให้ครูและพ่อแม่ร่วมกันใช้ “พลังแห่งคำชม” เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้แก่เด็ก

พ่อแม่ผู้ปกครองบางคน เป็นผู้มีความรู้เฉพาะด้าน เช่นเป็นวิศวกร เป็นเภสัชกร เป็นนักเต้นบัลเล่ต์ ฯลฯ    คนเหล่านี้สามารถเป็น “ทรัพยากรมนุษย์” ให้แก่การเรียนแบบโครงงานของนักเรียนได้ทั้งสิ้น   โดยการอาสาเวลา ให้นักเรียนไปสัมภาษณ์ถามคำถาม หรือโทรศัพท์ไปถาม   สำหรับเป็นช่องทางค้นคว้าต่อ หรือสำหรับเป็นแหล่งข้อมูลในการทำโครงงาน

ในพื้นที่โดยรอบโรงเรียน จะมีคนที่มีความรู้เฉพาะด้านมากมายหลากหลาย   ให้โรงเรียน ครู และนักเรียนขอความช่วยเหลือ ให้ช่วยทำหน้าที่เป็น “ที่ปรึกษา” การเรียนรู้ของเด็ก    ในทำนองเดียวกับผู้ปกครองนักเรียนดังกล่าวแล้ว    โดยที่ในสังคมไทยมักนึกถึงแต่ผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น    แต่จริงๆ แล้ว ควรใช้ประโยชน์ผู้ทรงภูมิปัญญาทุกแบบ    รวมทั้งผู้มีความรู้สมัยใหม่

เขาเสนอเรื่องราวของโครงการเยี่ยมบ้านของโรงเรียนในเขตคนยากจน    โดยครูไปเยี่ยมบ้านของนักเรียนปีละ ๒ ครั้ง    หลายบ้านพ่อแม่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ก็มีล่ามไปช่วย   เขาบอกว่า เกิดผลดีอย่างมาก    ทำให้พ่อแม่มาร่วมกิจกรรมกับโรงเรียนมากขึ้นกว่าเท่าตัว    และผลการเรียนของนักเรียนก็ดีขึ้น    จุดที่สำคัญคือ การทำให้ทั้งครูและพ่อแม่ ต่างก็ตระหนักว่า   ผลการเรียนรู้และพัฒนาการของนักเรียนเป็นเรื่องที่ พ่อแม่และครู รับผิดชอบร่วมกัน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๙ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2014 เวลา 16:23 น.
 

ปฏิรูปการบริหารหลักสูตรในมหาวิทยาลัย

พิมพ์ PDF

กติกาเพื่อกำกับคุณภาพของหลักสูตรของ สกอ. ชี้ช่อง หรือชักจูงให้การบริหารหลักสูตรล้าหลัง     เพราะกำหนดให้ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต้องอยู่ภายในมหาวิทยาลัยนั้นๆ เท่านั้น    เพื่อป้องกันมหาวิทยาลัย ที่ไม่รับผิดชอบ เปิดหลักสูตรแบบไม่พร้อม

แต่มหาวิทยาลัยไทยที่ก้าวหน้าและมีคุณภาพสูงอยู่แล้วจะต้องก้าวข้ามกติกาเหล่านั้น    ออกไปจัดหลักสูตรผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้นไปอีก    ในลักษณะประเพณีนิยมของ “มหาวิทยาลัยวิจัย” ที่แท้จริง

ดังกรณีตัวอย่าง ที่ ศ. ดร. สนิท อักษรแก้ว เล่าเรื่องตอนที่ตัวท่านเองไปทำปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัย มิชิแกน สเตท ซึ่งไม่มีป่าชายเลน    แต่ท่านต้องการเรียนเพื่อกลับมาเป็นนักวิชาการด้านป่าชายเลน    ศาสตราจารย์ที่ปรึกษาของท่านส่งท่านไปเรียนและร่วมทำวิจัยในปีแรกที่ เปอร์โตริโก  ปีที่ ๒ ที่รัฐฟลอริดา   ปีที่ ๓ ที่ฮาวาย    ซึ่งจะเห็นว่า เขาไม่หวงลูกศิษย์ให้เรียนอยู่กับอาจารย์ ภายในมหาวิทยาลัยของตน    แต่หาทางส่งเสริม ให้ศิษย์ได้เรียนรู้วางรากฐานความรู้ที่ดีที่สุด คือไปเรียนในที่ที่เขาปฏิบัติเรื่องนั้นจริงๆ    ผ่านความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย

กลับมาที่มหาวิทยาลัยไทย    ควรมีการบริหารวิชาการ (หลักสูตร) ภายในมหาวิทยาลัย ให้มีความร่วมมือ ข้ามคณะ ข้ามภาควิชา    ให้ศิษย์ได้มีโอกาสเรียนกับอาจารย์ที่ทำงานวิชาการด้านนั้นๆ จริง    หาทางบริหารเพื่อปิดยุค “เปิดตำราสอน”    เข้าสู่ยุค “เรียนจากการปฏิบัติงานจริงและไตร่ตรอง” (reflection) เพื่อทำความเข้าใจทฤษฎี ผ่านสัมผัสตรงของตนเอง

นั่นหมายความว่า อาจารย์แต่ละคนต้องทำงานจริง ร่วมกับหน่วยงานที่เป็นภาคปฏิบัติ (real sector)    เพื่อเป็น “สมบัติติดตัว” หรือ “ความพร้อม” ในการทำหน้าที่อาจารย์

และหมายความอีกว่า การบริหารในมหาวิทยาลัย ต้องเพื่อสร้าง / เรียกร้อง / ส่งเสริม ความพร้อมดังกล่าว

บริหารหลักสูตรโดยยึดความต้องการของ นศ. เป็นหลัก    ว่าผู้เรียนต้องการเรียนไปเป็นอะไร / ทำอะไร    ก็หาทางจัดหลักสูตร โดย “ตัดเฉพาะตัว” (tailor-made) ตามความต้องการของศิษย์    ไม่ใช่ “ตัดเสื้อโหล” ตามความสะดวกของอาจารย์ หรือของมหาวิทยาลัย

หากมหาวิทยาลัยใด ต้องการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับโลก    ต้องหนีจากแนวคิด / วิถี บริหารหลักสูตรแบบ “ตัดเสื้อโหล”

บริหารการสร้างบัณฑิตคุณภาพสูง    ไม่ใช่บริหารหลักสูตร

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๘ มี.ค. ๕๗

โรงแรมวีวัน  นครราชสีมา

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2014 เวลา 17:02 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๔๐. สู่ชุมชนบริหารจัดการตนเอง

พิมพ์ PDF

เหตุการณ์วิกฤติประเทศไทยครั้งนี้ บอกเราว่าประเทศไทยจะอยู่อย่างเดิมไม่ได้แล้ว    เราต้องมีการเปลี่ยนแปลงใหญ่    ที่เป็นการเปลี่ยนแปลง ประชาธิปไตย สู่สภาพที่ประชาชนดูแลอธิปไตยของตนอย่างแท้จริง    ซึ่งก็คือ ต้องมีจังหวัดจัดการตนเอง พื้นที่จัดการตนเอง และชุมชนจัดการตนเอง     ไม่ใช่ประชาธิปไตยรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพ    โดยที่ในยุครัฐบาลทักษิณ ที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิด อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่คนคนเดียว สั่งการมาจากต่างประเทศ

เมื่อไรก็ตามอำนาจรวมศูนย์อยู่ที่คนคนเดียว หรือกลุ่มเดียว ความเสื่อมโทรมทางศีลธรรมและความชั่วร้ายอื่นๆ จะตามมามากมาย    ดังเราได้รับรู้กันทั่วหน้าแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคอรัปชั่นโกงกิน

ดังเล่าในบันทึกเมื่อวานนี้    ว่าผมร่วมกับคณะของมูลนิธิสยามกัมมาจล และมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น    ไปเยี่ยมชื่นชมกิจกรรมชุมชนเพื่อพัฒนาไปเป็นชุมชนบริหารจัดการตนเอง ที่จังหวัดระนอง    ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๗   บันทึกนี้เป็นเสมือน reflection หรือ AAR ของการไปสัมผัสชุมชน ๓ ชุมชนที่เอ่ยชื่อแล้วในบันทึกก่อน

ผมคิดว่าเส้นทางสู่ชุมชนบริหารจัดการตนเองเป็นเส้นทางที่ไกลและคดเคี้ยว    แบบเดียวกับถนนในจังหวัดระนอง ที่ผมไปพบ    ถนนจริงๆ จากตัวเมืองระนองลงใต้ไปอำเภอสุขสำราญ บางช่วงมีต้นไม้สองข้างทางร่มรื่นมาก    ผมได้ผ่านไปกลับ สองวัน รวมสี่ครั้ง ให้ความสุขสดชื่นจริงๆ

สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชนบทชายทะเลที่ระนองก็คล้ายกัน    มีความอุดมสมบูรณ์สุขสบาย จนผมคิดว่า เขามีความสุขมากกว่าคนชนบทที่เข้ามาทำมาหากินในกรุงเทพมาก    อย่างน้อยก็ดีกว่าคนขับแท็กซี่ ที่ผมสัมผัสด้วยบ่อยๆ

เมื่อชีวิตประจำวันดีถึงขนาดนี้ จึงมีแนวโน้มที่คนจะไม่ได้รับการฝึกให้คิดใหญ่ คิดเป็นระบบ     ยิ่งการศึกษาไทย อ่อนแอและแยกตัวออกจากชีวิตผู้คน    การเมืองไทยหาเสียงด้วยการให้ความช่วยเหลือเรื่องจุกจิก ไม่ใช่ด้วยนโยบายใหญ่ๆ ที่จะก่อการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ    และระบบสังคมเป็นความสัมพันธ์แนวดิ่ง    การเรียนรู้และประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ของผู้คน จึงไม่เป็นเส้นทางสู่การบริหารจัดการตนเอง    แต่เป็นเส้นทางสู่ระบบอุปถัมภ์ ที่สร้างความอ่อนแอให้แก่ชุมชน

ผมได้สัมผัสกับคนชนบทที่เป็นคนฉลาด สมองดี และเป็นคนดี มีจิตใจเห็นแก่ส่วนรวม เห็นแก่ชุมชน จำนวนมากมาย    และคิดเล่นๆ ว่า หากเมื่อปี พ.ศ.​๒๕๐๐ ผมเลือกอยู่บ้านช่วยงานของพ่อแม่    ไม่เข้ามาเรียนหนังสือต่อที่กรุงเทพ ชีวิตของผมก็คงจะคล้ายๆ กับคนเหล่านี้    ต่างกันที่ผมเป็นพุทธ ไม่ใช่มุสลิม   และเป็นคนบก ไม่ใช่คนทะเล

และผมก็คงจะคิดภาพใหญ่ คิดเชิงระบบ ไม่เป็น เหมือนชาวบ้านเหล่านี้

ผมถามตัวเองว่า ในฉากทัศน์ (scenarioสมมติ ที่ผมอยู่ทำงานที่บ้านเรื่อยมาตั้งแต่ปี ๒๕๐๑ ที่เรียนจบ ม. ๖   ผมจะทำงานร่วมกับภาครัฐ แบบรับความช่วยเหลือจากภาครัฐหรือไม่   คำตอบคือ (เดาว่า) ไม่   เพราะพ่อแม่และครอบครัว ฝ่ายพ่อของผม มีนิสัยเป็น ม้าพยศ” ต่อทางการ    ไม่หวังพึ่งทางราชการในทางใดๆ เลย    มีความรู้สึกทางลบ ว่าราชการมัก กดขี่ชาวบ้านด้วยซ้ำ    รวมทั้งมีอคติว่าคนเป็นข้าราชการมักเป็นคนเหลาะแหละ ไม่เอางานเอาการ   ชอบเอาสบาย

อยู่ที่ระนองอยู่ดีๆ เผลอขี่ Time Machine ย้อนเวลากลับไปชุมพรเสียแล้ว     ขอกลับมาที่ระนองใหม่    ผมคิดว่า สิ่งที่ไปเห็นนั้น น่าชื่นชมอย่างยิ่ง หากมองจากมุมหรือกระบวนทัศน์เชิงจุลภาค (micro แต่กระบวนทัศน์การพัฒนาแบบนี้ จะไม่นำไปสู่ท้องถิ่นจัดการตนเอง ชุมชนจัดการตนเอง

จะพัฒนาไปสู่ท้องถิ่น/ชุมชน จัดการตนเองได้ ต้องใช้กระบวนทัศน์ภาพใหญ่ หรือมหภาค (macro)    มียุทธศาสตร์ เชิงระบบ ยึดกุมภาพใหญ่ แต่ทำหรือดำเนินการในภาพเล็กก็ได้    แต่ต้องเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายภาพใหญ่ไปพร้อมๆ กันในตัว

ภาพใหญ่ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงภาพเชิงพื้นที่    แต่เป็นภาพเชิงความคิดระบบสังคม    ดังนั้น ชุมชนบ้านหนองกลางดง ตำบลศิลาลอย  อำเภอสามร้อยยอด  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นชุมชนหมู่บ้านเดียว จึงเป็น ชุมชนจัดการตนเอง” ในความหมายของผม คือเป็นชุมชนที่จัดการภาพใหญ่ของชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบสัมมาชีพของตนได้ ไม่ใช่จัดการเพียงประเด็น ปลีกย่อย และในบางกรณียังโยงประเด็นเข้าหาภาพใหญ่ได้ไม่ชัดเจน

ผมจึงเสนอต่อมูลนิธิทั้งสองว่า น่าจะจัดพาคณะในพื้นที่ และคณะกรรมการชี้ทิศทางของโครงการไปดูงาน ที่บ้านหนองกลางดงสัก ๑ วัน    เพื่อจะได้เรียนรู้ ทำความรู้จัก ชุมชนบริหารจัดการตนเอง ที่ไม่ได้เริ่มจากการทำงานเชิงประเด็น    แต่เริ่มจากการเก็บข้อมูลทำความรู้จักชุมชน    และการมีสภาผู้นำชุมชน ที่มีตัวแทนมาจากทุกภาคส่วน    ประชุมกันสม่ำเสมอ เดือนละครั้ง นำเอาข้อมูลมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อมีมติดำเนินการเรื่องสำคัญๆ ของชุมชน    ที่แก้ปัญหาได้จริง และมีการริเริ่ม กิจกรรม ที่สร้างความสุขให้แก่ชุมชนได้จริง    เป็นชุมชนจัดการตนเองได้หลายเรื่องอย่างบูรณาการ

ผมปรารภกับคุณเปา ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจลว่า    ผมได้กลิ่นความสัมพันธ์แบบผู้รับทุนอุดหนุน กับผู้ให้ทุน    ที่ทำให้ชาวบ้านทำกิจกรรมเพราะได้เงินอุดหนุน    ไม่ใช่เพราะเป็นเรื่องสำคัญจริงๆ ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของตน    คุณเปาก็ว่า ได้กลิ่นอยู่เหมือนกัน ซึ่งหมายความว่า ทุนสนับสนุน เป็นตัวสร้างความต้องการเทียมของชาวบ้าน     ทำให้ชาวบ้านคิดและ ทำโครงการสนองฝ่ายผู้ให้ทุน    โดยที่โครงการนั้นไม่ใช่สิ่งที่ชาวบ้านต้องการอย่างแท้จริง

ยังดี ที่กลิ่นนี้ไม่รุนแรง     และได้กลิ่นในบางพื้นที่เท่านั้น     รวมทั้งกลิ่นอาจเป็นมายาที่ตัวผมเองก็ได้     สิ่งที่ต้องเตือนกันไว้คือ     กลิ่นนี้คือตัวไล่ความเป็นชุมชนบริหารจัดการตนเอง

เราไปพบว่า ชุมชนที่ทำโครงการได้เข้มแข็ง มักมีฐานทำงานวิจัยท้องถิ่นกับ สกวมาก่อนแล้ว    อย่างบังดล (นายดลก้อเส็ม ผดุงชาติแห่งบ้านบางกล้วยนอก ทำโครงการแบบนี้เป็นโครงการที่ ๕ และเวลานี้ก็ทำกับ สกวเรื่องความมั่นคงทางอาหารด้วย ทำสองโครงการคู่กันไป ผมมีความสุขมาก ที่งานวิจัยท้องถิ่นของ สกวได้วางพื้นฐานการเรียนรู้ของชาวบ้าน    ที่จะช่วยให้ ชาวบ้านรวมกลุ่มดำเนินการพัฒนาตนเอง สู่ชุมชนบริหารจัดการตนเองได้

 

๑๖ มี.ค. ๕๗

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2014 เวลา 17:09 น.
 

แถลงการณ์ ศอ.รส. เพื่อใคร

พิมพ์ PDF
ศอ.รส. โดยมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2557 ซึ่งมี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการ ศอ.รส. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุลรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ.......

แถลงการณ์ ศอ.รส. เพื่อใคร

อ่าน ที่นี่ ผมสงสัยว่า แถลงการณ์เพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง หรือเพื่ออำนาจของคนบางคน    และเป็นการละเมิดความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

วิจารณ์ พานิช

๑๙ เม.ย. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2014 เวลา 17:21 น.
 

ศาลรัฐธรรมนูญตอบ ศอ.รส.

พิมพ์ PDF
การที่ ศอ.รส. ได้ออกแถลงการณ์ดังกล่าว นับว่าเป็นการหมิ่นเหม่ต่อการที่อาจทําให้สาธารณชนเห็นได้ว่า มีการแทรกแซงการทํางานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จากฝ่ายบริหาร อันไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม และกดดันให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. วินิจฉัย หรือใช้ดุลพินิจไปในทางที่ฝ่ายบริหารต้องการ ซึ่งย่อมไม่เป็นผลดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญตอบ ศอ.รส.

อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๑๙ เม.ย. ๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2014 เวลา 17:28 น.
 


หน้า 363 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8744822

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า