Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

กระทรวงกลาโหม

พิมพ์ PDF
๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๓๐
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รวมทหารบกและทหารเรือเข้าด้วยกัน และตราพระราชบัญญัติจัดตั้งกรมยุทธนาธิการ ภายหลังยกฐานะเป็นกระทรวงและเปลี่ยนชื่อเป็น...กระทรวงกลาโหม

กระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีหน้าที่ป้องกันประเทศ เพิ่มขีดความสามารถ และรักษาผลประโยชน์ของชาติ สร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในกลุ่มอาเซียน และมิตรประเทศ เพื่อลดความหวาดระแวงสร้างสันติภาพ ให้ความสำคัญในการตอบสนองนโยบายเร่งด่วนของคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของกระทรวงกลาโหม ตลอดจนภารกิจอื่นตามที่ได้รับมอบหมายเป็นการเฉพาะ และมีหน้าที่พิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งในฐานะที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ และทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการตามพระราชประสงค์ 
ประวัติ 
กิจการทหารของชาติ: ได้ก่อกำเนิดมาพร้อม ๆ การกำเนิดของชาติไทย ได้มี วิวัฒนาการมาตั้งแต่ อาณาจักรสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดระบบ การทหารให้ทัดเทียมกับอารยประเทศได้โปรดเกล้าฯ ให้รวมทหารบกและทหารเรือเข้าด้วยกัน โดยตราพระราชบัญญัติจัดตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้น เมื่อ 8 เมษายน พ.ศ.2430 มีสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ เป็นเสนาบดีและต่อมาได้ยกฐานะเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2433 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงกลาโหม ปกครอง บังคับบัญชาทหารบก ฝ่ายเดียวส่วนทหารเรือ แยกไปตั้งเป็นกระทรวงทหารเรือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ยุบกระทรวงทหารเรือเข้ากับกระทรวงกลาโหม เมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2474 และยกฐานะกรมทหาร อากาศเป็นกองทัพอากาศ เมื่อ 9 เมษายนพ.ศ.2480กิจการทหารไทยจึงมีทั้ง กองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศ เป็นส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมใน พ.ศ.2481 ทางราชการเห็นว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้องรับผิดชอบทั้งด้านการทหารและการเมือง จึงได้ออกพระราชบัญญัติ จัดระเบียบ ราชการ กระทรวงกลาโหม พ.ศ.2481 กำหนดให้มี กรมเสนาธิการทหารมีหน้าที่เตรียม และวางแผนการสงคราม และเป็นผู้ประสานงาน ระหว่างกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศให้สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ ใน พ.ศ.2503 ได้ตั้งกองบัญชาการทหาร สูงสุดขึ้น โดยแปรสภาพมาจากกรมเสนาธิการทหารปกครองบังคับบัญชากองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศและส่วนราชการอื่น ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา 

ศาลาว่าการกลาโหมปัจจุบัน ในอดีตคือ โรงทหารหน้า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปิด เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เพื่อให้อนุชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของโบราณสถานแห่งนี้ และร่วมกันดูแลรักษาต่อไปในอนาคต

กระทรวงกลาโหม มีการแบ่งส่วนราชการระดับกรมออกเป็น 5 หน่วยงาน ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556ดังนี้

สำนักงานรัฐมนตรี 
มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมืองของรัฐมนตรี และมีหน้าที่รับผิดชอบกำกับดูแลสำนักงานจเรทหารทั่วไป

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 
มีหน้าที่เกี่ยวกับงานนโยบายและยุทธศาสตร์ งานราชการประจำทั่วไปของกระทรวง

กรมราชองครักษ์ 
มีหน้าที่รักษาความปลอดภัย สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ

หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน บังคับบัญชา ควบคุม และกำกับดูแลการปฏิบัติงานในการถวายอารักขาและถวายพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่ทางพระราชพิธี ตามที่ได้รับมอบหมาย และรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตพระราชฐาน ตลอดจนวางแผน อำนวยการ ประสานงาน ดำเนินการ และกำกับงานในหน้าที่ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

กองทัพไทย มีหนาที่เตรียมกำลังกองทัพไทย การปองกันราชอาณาจักรและดำเนินการเกี่ยวกับการใชกำลังทหารตามอำนาจหนาที่ของกระทรวงกลาโหม ควบคุมการปฏิบัติงานของกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ
Like ·  · 
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 07 เมษายน 2014 เวลา 23:26 น.
 

เสาชิงช้า

พิมพ์ PDF
  1. ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๗
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้พระครูสิทธิชัย (กระต่าย) สร้างเสาชิงช้า หน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร

    เสาชิงช้า เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ในพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวายของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยทั่วไปหมายถึงเสาชิงช้าที่ตั้งอยู่หน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม และลานหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ลานคนเมือง) ใกล้กับเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ในพื้นที่แขวงเสาชิงช้าและแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของกรุงเทพมหานคร แม้พิธีโล้ชิงช้าได้เลิกไปแล้วตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็ตาม

    นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีเสาชิงช้าอีกแห่งหนึ่งที่หน้าหอพระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้ามาแต่โบราณเช่นกัน แต่ได้เลิกไปก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นใหม่ในภายหลัง โดยจำลองแบบมาจากเสาชิงช้าที่กรุงเทพมหานคร

    เสาชิงช้าที่กรุงเทพมหานครแห่งนี้ มีลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง 21.15 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางฐานกลมประมาณ 10.50 เมตร ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักอย่างสวยงาม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทาสีแดงชาด ติดสายล่อฟ้าจากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน

    กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 นับตั้งแต่สร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2327 จนถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดซึ่งเสาชิงช้าคู่เดิมถูกถอดเปลี่ยนเมื่อปี พ.ศ. 2549 เสาชิงช้ามีอายุรวมประมาณ 222 ปี

    การก่อสร้าง
    จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์บันทึกไว้ว่าพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ หรือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดให้สร้างเสาชิงช้าในพระนครขึ้นตรงหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เมื่อวันพุธ เดือน 5 แรม 4 ค่ำ ปีมะโรง บริเวณลานด้านเหนือของวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ต่อมาย้ายมาสร้างใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันบริเวณหน้าวัดสุทัศน์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากข้อจำกัดด้านสถานที่

    พิธีโล้ชิงช้า
    ขณะทำพิธีโล้ชิงช้า ตึกทางซ้ายมือเป็นตึกตลาดเสาชิงช้าที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งได้รื้อหมดแล้ว กลายเป็นลานหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน 
    เสาชิงช้า เมืองนครศรีธรรมราช หน้าหอพระอิศวร
    พิธีโล้ชิงช้า เป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย เป็นการต้อนรับพระอิศวรซึ่งเป็นหนึ่งในสามเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่อกันว่าพระอิศวรจะเสด็จลงสู่โลกในวันขึ้นเจ็ดค่ำเดือนยี่ วันนั้นจะมีการแห่พระเป็นเจ้าไปถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัว

    เมื่อพระเป็นเจ้าเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์ก็ได้เชิญเทวดาองค์อื่นๆ มาเฝ้าและมาร่วมพิธีด้วย ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระคงคา และพระธรณี พราหมณ์จะแกะรูปสัญลักษณ์ของเทวดาแต่ละองค์เป็นเทวรูปลงในไม้กระดานสามแผ่นเพื่อทำการบูชาในเทวสถาน แล้วจากนั้นจะนำไปปักในหลุมหน้าโรงพิธีนั่งดูโล้ชิงช้า หันหน้ากระดานเข้าหาตำแหน่งที่มีพระยายืนชิงช้านั่ง เรียกว่ากระดานลงหลุม ในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือนยี่

    พระราชพิธีตรียัมปวายนี้จะกระทำในเทวสถานสำหรับพระนคร 3 เทวสถาน คือ เทวสถานพระอิศวร เทวสถานพระมหาวิฆเนศวร และเทวสถานพระนารายณ์ โลกบาลทั้งสี่ (พระยายืนชิงช้า และนาลิวัน) จึงต้องโล้ชิงช้าถวายและรับน้ำเทพมนตร์ด้วย

    แต่เดิมนั้นพระราชพิธีตรียัมปวายจะจัดในเดือนอ้าย (ประมาณเดือนธันวาคม) ครั้นล่วงเข้าสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้เปลี่ยนมาจัดในเดือนยี่ (ประมาณเดือนมกราคม) พิธีนี้ถือเป็นพิธีขึ้นปีใหม่ของพราหมณ์ซึ่งในหนึ่งปีพระอิศวรจะเสด็จมาเยี่ยมโลก 10 วัน พราหมณ์จะประชุมที่เทวสถานพระอิศวร แล้วผูกพรตชำระกายสระเกล้าเตรียมรับเสด็จพระอิศวร

    ตำนานพระราชพิธีตรียัมปวาย
    พิธีโล้ชิงช้ามีที่มาจากคัมภีร์เฉลิมไตรภพกล่าวไว้ว่าพระอุมาเทวีทรงมีความปริวิตกว่าโลกจะถึงกาลวิบัติ พระนางจึงทรงพนันกับพระอิศวร โดยให้พญานาคขึงตนระหว่างต้นพุทราที่แม่น้ำ แล้วให้พญานาคแกว่งไกวตัวโดยพระอิศวรทรงยืนขาเดียวในลักษณะไขว่ห้าง เมื่อพญานาคไกวตัว เท้าพระอิศวรไม่ตกลงแสดงว่าโลกที่ทรงสร้างนั้นมั่นคงแข็งแรง พระอิศวรจึงทรงชนะพนัน

    ดังนั้นพิธีโล้ชิงช้าจึงเปรียบเสาชิงช้าเป็น "ต้นพุทรา" ช่วงระหว่างเสาคือ "แม่น้ำ" นาลิวันผู้โล้ชิงช้าคือ "พญานาค" โดยมีพระยายืนชิงช้านั่งไขว่ห้างอยู่บนไม้เบญจมาศ

    พิธีโล้ชิงช้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีได้ยกเลิกไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ปัจจุบันการประกอบพระราชพิธีนี้จะกระทำเป็นการภายในเทวสถานเท่านั้น
    Like ·  · 
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 07 เมษายน 2014 เวลา 23:30 น.
 

ครูที่เด็กไม่อยากได้

พิมพ์ PDF

ในเวทีเปลี่ยนการศึกษาเพื่อเด็ก วันที่ 5 มีนาคม 2557 จัดโดยสมาคมสภาการศึกษาทางเลือก ร่วมกับสถาบันเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล   ผมนั่งฟังเด็กพูดบอกความในใจตรงๆ  หลังจากแสดงละครบอกเชิงศิลปะไปก่อนหน้านั้นแล้ว

แปลกมาก สาระเดียวกัน ตอนดูละครน้ำตาไหล   ตอนฟังรู้สึกเฉยๆ    วิธีนำเสนอก่อความสะเทือนใจแตกต่างกัน

ผมจดและบันทึกเสียง สรุปประเด็นครูที่เด็กไม่อยากได้ เอามา feedback ครูตรงๆ เพื่อเป็นการเรียนรู้ ว่าเด็กคิดอย่างไรต่อครู    ฟังแล้วผมรู้สึกว่าเด็กกลุ่มนี้เจ็บปวดกับการศึกษาที่เขาได้รับจากระบบ ในฐานะผู้ถูกกระทำ    แต่มีความสุข เมื่อเขาได้เป็นผู้กระทำ    เป็นความรู้สึกที่เกิดจากอคติของผมเองหรือเปล่าก็ไม่ทราบ

ต่อไปนี้เป็นครูที่เด็กไม่อยากได้

  • ครูที่ใช้เด็กเป็นที่รองรับอารมณ์
  • ครูที่ไม่อยากเป็นครู
  • ครูที่ไม่รักเด็ก
  • ครูที่ท่องวิชามาสอน   ไม่รู้จริง
  • “ครูที่มาพ่นๆ    ไม่เอาใจใส่เด็ก”

ผมเพิ่มเติมคนที่ไม่ควรเป็นครู    หรือสังคมไม่ควรยอมรับคนเหล่านี้มาเป็นครู

  • คนโกง  ไม่ซื่อสัตย์ ในเรื่องต่างๆ
  • คนที่ไม่มีวินัยในตนเอง    ไม่มีความยับยั้งชั่งใจ    ซึ่งก็คือ ไม่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์นั่นเอง
  • คนที่มาเป็นครูเพื่อหวังเพียงผลประโยชน์ของตนเอง     ไม่สนใจการเรียนรู้ของศิษย์
  • คนที่ไม่เป็น “บุคคลเรียนรู้” (Learning Person)    ทำงานเป็นทีมไม่เป็น   และอ่อนแอด้านทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ อื่นๆ ในระดับที่ไม่ควรมาเป็นครู
  • ครูที่มีนิสัยขี้เกียจ     และหย่อนความรับผิดชอบ

 

วิจารณ์ พานิช

๒๐ มี.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 07 เมษายน 2014 เวลา 21:41 น.
 

ปราชญ์?

พิมพ์ PDF

ปราชญ์?


อยากเขียนกลอนให้เก่งเป็นเพลงว่า
แล้วทำท่าเทียบกลอนสุนทรภู่
ผิดหรือชอบตอบไม่ได้ไม่ย้อนดู
ยังหลบอยู่ใต้ฝากะลาเดียว..

ถ้าปราชญ์แท้แต่ละคำต้องลำลึก
แทนรู้สึกสำนึกดีที่เด็ดเดี่ยว
อยู่กับโกงเกลือกกลั้วตัวเป็นเกลียว
เป็นปราชญ์เทียวปราชญ์แท้แค่ "ปาด"ไป

เป็นปราชญ์จริงยิ่งรู้เป็นครูเขา

ต้องรู้เท่าเข้าฝันนั้นมิได้

เพื่อตรวจชอบธรรมประจำใจ

จึงเชื่อได้ว่าปราชญ์ฉลาดแท้

เมื่อปราชญ์จริงอิงหลักอันหนักแน่น

เข้าถึงแก่นเกียรติก้องไม่ต้องแก้

เพื่อส่วนรวมร่วมรักจักดูแล

มิใช่แค่ครอบครัวตัวบุคคล

จะกล่าวหาว่าใครให้ตรวจสอบ

เขาประกอบกรรมดีมีเหตุผล

มอบชีวิตชิดช่วงเพื่อปวงชน

หากคิดกลก่นเขาไม่เข้าการณ์

ยังกล่นเกลื่อนเพื่อนโกงหลงว่าปราชญ์

จะช่วยชาติช่วยชนให้คนขาน

หรือเมามัวมั่วมาช่วยสามานย์

เหมือนเพลิงเผาเข้าผลาญทั้งบ้านเมือง

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 07 เมษายน 2014 เวลา 22:46 น.
 

ร่วมถวายสักการะเนื่องในวโรกาส "วันจักรี"

พิมพ์ PDF

นที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๗ ได้เข้าร่วมวางพานพุ่มถวายสักการะ พระบรมราชานุสาวรีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เนื่องในวโรกาส "วันจักรี" ในนามของประธานคณะกรรมการฝ่ายกิจกรรมวันจักรี ภาค ๓๑๐ ซี หลังจากนั้นได้ไปถวายบังคม สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ที่ปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

ประวัติวันจักรี (Chakri day)

เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.๑) เสด็จปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เป็น กษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงของไทย มาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปของพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๔ พระองค์ (ร.๑ – ร.๔) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อๆ มา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมสักการะ โดยเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และ พระที่นั่งศิวาลัยปราสาท เป็นต้น

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นั้น โปรดให้ย้ายพระบรมรูปทั้ง ๔ ( ร.๑ – ร.๔ ) มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ ๕ พระชนกนาถ พระที่นั่งองค์นี้ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้ซ่อมจากพุทธปรางค์ปราสาทเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานนามดังกล่าว การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง ๕ รัชกาล สำเร็จลุล่วงในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ จึงได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ ๖ เมษายนปีนั้น และต่อมา โปรดฯ ให้เรียกวันที่ ๖ เมษายนว่าเป็น “วันจักรี

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีทรงหล่อพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ โรงหล่อกรมศิลปากร ครั้นตกแต่งพระบรมรูปเรียบร้อยแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดการพระราชพิธีประดิษฐาน พระบรมรูปที่ปราสาทพระเทพบิดร โดยเสด็จพระราชดำเนิน มาทรงบรรจุพระบรมทนต์ พระสุพรรณบัฎจารึก พระปรมาภิไธย และดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงบรมราชาภิเษก พระดวงสวรรคต ในพระกรัณฑ์ทองคำลงยา แล้วทรงบรรจุที่เบื้องสูงของพระเศียรพระบรมรูป เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๐

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชปรารภว่า ในปี ๒๔๗๕ อายุพระนครจะบรรจบครบ ๑๕๐ ปี สมควรมีการสมโภชและสร้างสิ่งสำคัญ เป็นอนุสรณ์ขึ้นไว้ให้ปรากฏแก่อารยะชนในนานาประเทศ ว่าชาวไทยมีความกตัญญูรู้คุณบรรพบุรุษ ที่ได้สร้างกรุงเทพฯเป็นราชธานีแล้วบำรุงรักษาประเทศ ให้เป็นอิสระสืบมาทรงปรึกษาพระราชปรารภ แก่อภิรัฐมนตรีและเสนาบดี ซึ่งเห็นชอบด้วยพระราชดำริว่า ควรสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์มี ๒ สิ่งประกอบกัน คือ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ปฐมกษัตริย์ และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมพระนครธนบุรี พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบ ให้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ปั้นหุ่นหล่อ ส่วนสะพานทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยากำแพงเพชรอัครโยธิน อำนวยการสร้าง และพระราชทานนามว่า สะพานพระพุทธยอดฟ้า เงินที่ใช้ในการก่อสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์นี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ส่วน ๑ รัฐบาลจ่ายเงินแผ่นดินส่วน ๑ อีกส่วน ๑ ทรงพระราชดำริให้บอกบุญเรี่ยไรชาวไทยทุกคน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดปฐมบรมราชานุสรณ์ โดยกระบวนพยุยาตรา เมื่อ วันที่ ๖ เมษายน ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นวันครบ ๑๕๐ ปี และมีการพระราชพิธี เฉลิมฉลองกรุงเทพมหานคร

ครั้นถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ โรงหล่อกรมศิลปากร และได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่ที่ปราสาทพระเทพบิดร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลสวรรคต และได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพตามขัตติยราชประเพณีแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีหล่อพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ที่โรงหล่อกรมศิลปากร ครั้นตกแต่งพระบรมรูปเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดการพระราชพิธีเชิญพระบรมรูปไปประดิษฐาน ณ ปราสาทพระเทพบิดร เมื่อวันที่ ๓ เมษายนพ.ศ. ๒๕๐๒

การถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ที่ปราสาทพระเทพบิดรเป็นราชประเพณีประจำปี ตั้งแต่วันที่ ๖ เมษายน ๒๔๖๑ เป็นต้นมา ครั้นได้สร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประดิษฐาน ณ ปฐมบรมราชานุสรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ เนื่องในการเฉลิมพระนครบรรจบครบ ๑๕๐ ปีแล้ว ในปีต่อมาทางราชการได้ประกาศให้ถือวันที่ ๖ เมษายน เป็นวันที่ระลึกมหาจักรีและเป็นวันสำคัญของชาติวันหนึ่ง กำหนดให้หยุดราชการและให้ ชักธงชาติ และได้กำหนดให้มี การถวายบังคมพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกที่ปฐมราชานุสรณ์ สำนักพระราชวัง ได้ออกหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนิน ไปถวายสักการะพระบรมรูปที่ปฐมบรมราชานุสรณ์ และถวายบังคมสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ที่ปราสาทพระเทพบิดร

การถวายราชสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่ปฐมบรมราชานุสรณ์นั้น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา เป็นการเสด็จของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อมาในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๖ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ได้เสด็จพระราชดำเนินถวาย พวงมาลาเป็นราชสักการะ ภายหลังจากนั้นทรงมีพระราชปรารถพระราชทาน พลตรีหม่อมทวีวงศ์ถวัลศักดิ์ (ม.ร.ว.เฉลิมลาภ ทวีวงศ์)เลขาธิการพระราชวัง ว่าการวางพวงมาลาตามคตินิยมของชาวไทย ใช้สำหรับการไว้อาลัยแก่ชีวิตของผู้ที่จากไป แต่วันที่ระลึกมหาจักรี ๖ เมษายนนั้น เป็นมงคลดิถีคล้ายวันที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ สถาปนาพระบรมราชวงศ์จักรี การถวายพวงมาลาจึงไม่เป็นการงดงามเหมาะสม ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ สำนักพระราชวังได้เปลี่ยนเป็น จัดพานพุ่มดอกไม้สดทูลเกล้าฯ ถวายเป็นเครื่องราชสักการะอนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้สาธุชนเข้าถวายบังคมสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ที่ปราสาทพระเทพบิดร ตั้งแต่เวลา ๘ นาฬิกา จนถึงเวลา ๑๘ นาฬิกา

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๖ เมษายน ๒๕๕๗

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 06 เมษายน 2014 เวลา 15:20 น.
 


หน้า 367 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8744839

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า