Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๓๑. ทุนและสินทรัพย์สำหรับทำงานเพื่อสังคม

พิมพ์ PDF

เช้าวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๗ มีการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๗   มูลนิธินี้เราเรียกชื่อย่อๆ ว่า มูลนิธิ HITAP เป็นมูลนิธิที่ตั้งขึ้นเพื่อทำงานวิชาการ    อิงอยู่กับกระทรวงสาธารณสุข    เพราะงานวิชาการที่ทำส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด เพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงนโยบายด้านสุขภาพ    แต่ต้องตั้งมูลนิธิ ขึ้นมาทำงาน เพื่อความคล่องตัว และความเป็นอิสระจากระบบ bureaucracy

หน่วยงานแบบนี้ ดำรงอยู่ได้เพราะฝีมือหรือความสามารถเป็นที่ยอมรับ    มีงานเข้า และสร้างรายได้เลี้ยงตัวจากการทำงาน วิชาการ    ซึ่งในกรณีนี้คือการประเมินเทคโนโลยี และประเมินนโยบายด้านสุขภาพ    คณะกรรมการมูลนิธีให้นโยบายไว้ว่า งานที่ทำ ต้องรับใช้สังคมไทยมากกว่าครึ่ง     ต้องตั้งเป้านี้ไว้ เพราะทีมนี้ชื่อเสียงดีมากในต่างประเทศ    โดนจีบไปทำงาน ในต่างประเทศ อยู่เสมอ    อย่างสัปดาห์นี้ ก็มีผู้บริหารระดับกลางจากเวียดนามมาเข้า workshop เรียนรู้เทคนิค การประเมินเทคโนโลยี และนโยบายด้านสุขภาพ

หัวหน้าทีม หรือผู้อำนวยการ HITAP คือ นพ. ยศ ตีระวัฒนานนท์ เมธีวิจัยอาวุโส สกว.    ซึ่งเป็นคนหนุ่มที่มีฝีมือวิชาการ ความซื่อสัตย์จริยธรรมสูง และอ่อนน้อมถ่อมตน

วาระสำคัญที่สุดในการประชุมคราวนี้คือ รับรองงบดุลการเงินประจำปี ๒๕๕๖    ซึ่งสรุปได้ว่า มีสินทรัพย์ (assets) ๓๐ ล้านบาท    มีทุน (equity) ๒๓ ล้านบาท    และปีนี้รายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่าย ๖ แสนบาท

ผมชี้ให้คณะกรรมการเห็นว่า ตัวเลขข้างบนนั้นมองเฉพาะที่ตัวเงิน    เป็นมุมมองของการทำธุรกิจ ที่หวังผลประกอบการ เป็นกำไรที่เป็นเงิน   แต่งานของ HITAP เป็นงานวิชาการ ดังนั้น assets ที่สำคัญที่สุดไม่ใช่เงิน แต่เป็น คน” และ Intellectual Assets อื่นๆ

ดังนั้น จึงควรวิเคราะห์ ROA (Return on Assetsของ HITAP    ว่าในแต่ละปี คน เงิน + เครือข่าย (social capitalของHITAP ได้สร้างผลงาน (Return) อย่างไร    เปรียบเทียบ ๓ ปี    จึงจะเป็นรายงานผลงานของ HITAP ในฐานะหน่วยงานวิชาการ

นพ. ยศ เสนอว่า Return ของ HITAP มี ๔ อย่างคือ

๑. ผลกระทบต่อนโยบาย

๒. บุคลากรที่พัฒนาขึ้น

๓. ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ  และที่เป็นรายงานอย่างอื่น

๔. เครือข่ายที่เกิดขึ้น

 

เราได้คุยกันว่า ต่อไปให้ HITAP เสนอแผนการทำงานของปีต่อไปล่วงหน้า     เพื่อจะได้รู้ว่ามีปัจจัยที่จะต้องระมัดระวัง อะไรบ้าง    หมอยศจึงบอกความกังวลใจว่า เป็นห่วงปี ๒๕๕๙ จะมีบุคลากรที่ไปเรียน PhD กลับมา ๕ คน    จะเป็นภาระเงินเดือน เพิ่มขึ้นปีละ ๓ ล้านบาท   เป็นตัวอย่างของการคิดเตรียมรับเหตุการณ์ข้างหน้า    และสะท้อนมุมมองต่อผู้จบปริญญาเอก ๕ คน ว่าจะเป็น Assets (สินทรัพย์หรือเป็น Liability (ภาระต่อองค์กร    หน้าที่ของ บอร์ด คือ แนะนำวิธีทำให้คน ๕ คนนี้ เป็นสินทรัพย์ที่มีค่า สำหรับสร้างผลงาน (Return)

นี่คือตัวอย่างของการนำเอาการกำกับดูแลสมัยใหม่ (Modern Governanceมาใช้กับมูลนิธิ    เพื่อให้มูลนิธิมีการจัดการ ที่เข้มแข็ง    เพื่อความเข้มแข็งยั่งยืนขององค์กร

 

๔ มี.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 02 เมษายน 2014 เวลา 13:21 น.
 

การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พิมพ์ PDF

การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย กมล สุดประเสริฐเป็นบทความที่น่าอ่านมาก    อย่างน้อยก็สำหรับผม ซึ่งไม่มีความรู้เรื่องราวใน วงการกระทรวงศึกษาธิการเลย

ผมติดใจคำพูดของ ศ. ดร. จอร์จ เจ. ปาปาเจียนิส ที่กล่าววิพากษ์การบริหารการศึกษาไทย ต่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น (๒๕๓๖ - ๒๕๔๐) ว่า “It’s over-managed, but under-led”    เวลาผ่านมา ๒๐ ปี สถานการณ์นั้นคงเดิม หรือเลวร้ายกว่า     โดยที่ระบบการศึกษาไทยได้ผ่านการปฏิรูปหลัง ปี ๒๕๔๒

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับท่านผู้เขียน ว่าการปฏิรูปการศึกษาไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ เป็นต้นมา ยังเป็นเพียงการปฏิรูปโครงสร้าง    ส่วนของการปฏิรูปที่แท้จริง คือการปฏิรูปการเรียนรู้ ยังไม่ได้ทำ

บทความนี้ น่าจะยังไม่จบ    ผมอยากอ่านความเห็นของท่านว่า     การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นเวลาเกือบ ๒๐ ปีที่ผ่านมา     ปฏิรูปอะไรบ้าง และก่อผลอย่างไร

ผมได้สดับตรับฟังจากวงการศึกษา     และหลักฐานการประเมินคุณภาพผู้เรียนโดย PISA มันฟ้อง     ว่าคุณภาพการศึกษาของเราเลวลง    ผมอยากฟังข้อวิเคราะห์ของผู้รู้ ว่ามีความเห็นอย่างไร

 

วิจารณ์ พานิช

๔ มี.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ch

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 02 เมษายน 2014 เวลา 13:37 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๒๙. นั่งชื่นชมการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานแผนงานพัฒนาเครือข่าย R2R

พิมพ์ PDF

การประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน แผนงานเครือข่ายงานวิจัยจากงานประจำ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ เมื่อเช้าวันที่ ๒๖ ก.๕๗ ที่ศิริราช มีกรรมการมาร่วมประชุมคับคั่ง กว่า ๒๐ คน การประชุมนี้มี รศนพเชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ เป็นประธาน    ผมเป็นที่ปรึกษา

ผมได้เห็นความคึกคัก ในการร่วมกันคิดดำเนินการเครือข่าย R2R ของประเทศไทย    ให้สนองสภาพการทำงาน ในบริบท ของผู้ทำงานระดับหน้างาน หรือผู้ทำงานประจำ (routineอย่างแท้จริง    เพื่อสร้างสรรค์บรรยากาศ ให้การทำงานประจำไม่น่าเบื่อ แต่เป็นการทำงานที่มีโอกาสสร้างสรรค์ หรือพัฒนางานของตนให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น

ในที่ประชุมวาระเรื่องการประกวดเพื่อให้รางวัลผลงาน R2R    มีการพิจารณาว่างานแบบไหนที่เข้าข่ายและไม่เข้าข่าย    โดยนำเอาเกณฑ์ที่ผมเคยเสนอไว้ ดังนี้ และผมได้เสนอในที่ประชุมว่า     ต้องไม่หลงลืมเป้าหมายหลักของการให้รางวัลผลงาน R2R ดีเด่น    ว่าเป็นกุศโลบายสร้างการจัดการความรู้ ในการทำ R2R   หรือเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการทำ R2R ที่ดี    ไม่ใช่เพื่อโอ้อวด ผลงานหรืออวดรางวัลแล้วจบ    เราเน้นให้รางวัลเพื่อปัญญา     ไม่ใช่รางวัลเพื่อโลภะ

ผมเสนอว่า ผลงานที่ได้จากการไปทำปริญญาโท (หรือเอก) ไม่น่าจะเข้าข่ายรางวัลนี้    เพราะไม่เป็นการทำงานวิจัยในสภาพ ของการทำงานประจำ     แต่ อ. หมออัครินทร์แย้งว่า น่าจะเข้าข่าย เพราะผลงานเอามาใช้ปรับปรุงงานประจำได้    แล้ว ดร. กระปุ๋ม ก็แย้งกลับ   แต่ผมไม่ได้อยู่ฟัง เพราะเลยเที่ยงแล้ว ผมต้องไปพูดที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เวลาบ่ายโมง

ผมกลับมาคิดต่อที่บ้านว่า    หากจะให้รางวัลงานวิจัยที่โจทย์มาจากงานประจำ แต่บริบทการทำวิจัยเป็นบริบทของ การทำวิทยานิพนธ์ น่าจะแยกประเภทออกมาต่างหาก    และการสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ก็จะเป็นคนละแนวทางกับ R2R ในบริบทที่แนบแน่นอยู่กับงานประจำ

การทำวิทยานิพนธ์ เพื่อปริญญา เป็นแนวทางพัฒนาบุคลากรแบบเน้นวิทยะฐานะทางปริญญา    ส่วน R2R เป็นแนวทางพัฒนาบุคลากรแบบเน้นพัฒนาสมรรถนะบนฐานของงานประจำ     เป็นคนละฐาน    ฐานพัฒนาคนด้วยงาน เป็นฐานที่เปราะบางในสังคมไทย    ซึ่งเป็นสังคมบ้าปริญญา    เราควรช่วยกันหาทางยกย่องความเก่งของแท้    ระมัดระวัง ไม่ยกย่องปริญญาแบบปลอมๆ    ไม่ยกย่องคนที่มีแต่ปริญญา แต่ทำงานไม่เป็น    หรือมีแต่วิทยะฐานะ ไม่มีสมรรถนะ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ก.พ. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 01 เมษายน 2014 เวลา 16:25 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : 2128a. ใจที่เธอกลัว

พิมพ์ PDF
ยอมรับข้อผิดพลาดในชีวิตที่แอบซ่อน เดินเข้าหาสิ่งที่เธอรังเกียจ ช่วยเหลือคนที่เธอคิดว่าคงช่วยไม่ได้ ไม่ว่าสิ่งใดที่เธิยึดมั่น ... ปล่อย

ชีวิตที่พอเพียง : 2128a. ใจที่เธอกลัว

ลูกชายเอาหนังสือแปลเล่มใหม่มาให้หลายวันแล้ว   เพิ่งมีโอกาสพลิกอ่าน ใจที่เธอกลัว แค่อ่านคำนิยม ของท่านไพศาล วิสาโล ๔ หน้า ก็คุ้มแล้ว

สอนให้กล้าหาญ กล้าเผชิญ และให้อภัย    ไม่ยึดมั่น ไม่ว่าสิ่งใด    ทั้งความดีและความชั่ว

ใจโล่ง โปร่ง เบาสบาย    ทุกสิ่งคือการเรียนรู้

วิจารณ์ พานิช

๒๙ มี.ค. ๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 01 เมษายน 2014 เวลา 16:45 น.
 

ชาวต่างชาติเขามองประเทศไทยของเราอย่างไร ณ ปัจจุบัน นี้

พิมพ์ PDF
มีผู้ส่งมาให้ ทาง อีเมล์ มีชื่อผู้เขียน น่าเชื่อถือ จึงนำมาเผยแพร่ต่อ

ชาวต่างชาติเขามองประเทศไทยของเราอย่างไร ณ ปัจจุบัน นี้

นายฟรังชัวส์ ผอ.สำนักกิจการพิเศษ และความร่วมมือ ประเทศฝรั่งเศส ท่านกล่าวว่า ประเทศไทยลงต่ำที่สุดเท่าที่รู้มาในเวลานี้ เหตุเพราะผู้นำขาดจริยธรรมในการบริหารงานราชการ จึงก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้น

นายโมฮาเหม็ด ชาลี อับดุลลาห์ ศ.คณะวิทยาลัยการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยทาซาห์ ประเทศตุรกี ท่านกล่าวว่า การไม่ยอมรับอำนาจของศาลนั้น คงเป็นไม่ได้ที่ผู้บริการฝ่ายการเมืองจะเดินหน้าบริหารต่อ เพราะนั่นคือจุดสิ้นสุดของรัฐบาลลงทันที เพราะการไม่เคารพศาลนั่นเอง

นางแคทธอรีน ผู้อำนายการเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ท่านกล่าวว่า นี่คือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่โลกต้องจารึกและจดจำต่อประวัติศาสตร์ชาติไทย นี้ การมีมีฝ่ายการเมือง เข้ามาแทรกแซงกิจการอำนาจรัฐมันเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเห็นได้ชัดเจน และนี่คือเป็นบทเรียนที่ดียิ่งสำหรับนานาชาติที่ควรแก่การศึกษา

นายชาน เหว่ยเปา ผู้อำนวยการสำนักนโยบาย สถาบันเพื่อการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ ประชากร มหาวิทยาลัยฮ่องกง กล่าวว่า นี่คือเป็นเรื่องที่บอกและแสดงอย่างแจ่มแจ้งที่ประเทศไทยต้องเผชิญการความล้มเหลวของฝ่ายการเมือง ที่ทำลายความสัมคสมานสามัคคีของไทย เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองก็ว่าได้

นายโอซากิ คัง ที่ปรึกษารัฐมนตรี ของญี่ปุ่น กล่าวว่า หมดความน่าเชื่อถืออย่างสิ้นเชิง สำหรับประเทศไทย ที่มีต่อนานาชาติ เพราะผู้นำทำเสียเอง การแก้ไขปัญหาเป็นหน้าที่ของคนไทย ไม่ควรให้ชาวต่างชาติเข้ามาแทรกแซงอย่างยิ่ง ที่ผ่านมา นั้นถือว่าเป็นบทเรียนสำหรับคนไทยและคนไทยเองจะต้องร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ หากไม่มีความร่วมมือปัญหาต่างๆคงไม่สามารถแก้ไขได้

วัฒนาพล

๒๒ มีนาคม ๒๕๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 01 เมษายน 2014 เวลา 16:51 น.
 


หน้า 369 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8744839

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า