Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ประชุมวิชาการ "ทางเลือก.....บนทางรอด

พิมพ์ PDF

กำหนดการโครงการประชุมวิชาการ เรื่อง “สหัสวรรษใหม่แห่งการท่องเที่ยวไทย: ทางเลือก...บนทางรอด” วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 8.30 – 16.00 น. ณ โรงแรมจัสมิน เอ็กเซกคิวทีฟ สวีท จัดโดย สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

การบรรยาย หัวข้อ “โอกาสในวิกฤติ...ของการท่องเที่ยว” (การแก้ปัญหาด้วยการจัดการ ทรัพยากรมนุษย์แบบบูรณาการ และการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว) โดย ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท เลขาธิการศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์และประธาน คณะทำงานการท่องเที่ยว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย การ แลกเปลี่ยนทัศนะระหว่างผู้ร่วมงานกับวิทยากร ( ม.ล. ชาญโชติ )


 

นวัตกรรมบริการการเกษตร

พิมพ์ PDF

https://mangobar.wordpress.com/tag/services/

แผนการทำงานด้านนวัตกรรมบริการการเกษตร ของ Smart Farm Flagship เนคเทค ที่ดำเนินการควบคู่กันไปทั้งในและระหว่างประเทศ ซึ่งในประเทศนั้น SIG-AG หรือกลุ่มความร่วมมือด้านการเกษตร ภายใต้ SRI Thailand ได้ดำเนินการทำกรอบงานและโครงการนำร่องนวัตกรรมบริการปุ๋ย ซึ่งขยายผลไปสู่การทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปีร่วมกับ สวก. โดยขยายผลนวัตกรรมบริการการเกษตรไปสู่ไม้ผล 5 ชนิด ได้แก่ มะม่วง ลำไย ทุเรียน มังคุด และส้มโอ ทางด้าน Platform as a Services และ Knowledge as a Services

SIG-AG ได้เดินทางสร้างงานและความร่วมมือกับ SRII(Services Research Innovation Institute) และพร้อมเป็นเจ้าภาพในการจัด SRI Asia Summit ระหว่างวันที่ 23-25 กันยายน 2013 ที่กรุงเทพฯ โดย SIG-Ag พร้อมที่จะทำ workshop เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางสำหรับนวัตกรรมบริการการเกษตรในภูมิภาคต่อไป

วันที่ 2 พฤษภาคม 2554 ร่วมสัมมนาวิทยาการบริการและการประยุกต์ (Services Science and Its Application) ณ โรงแรมรามาการ์เด้นท์ การสัมมนาจัดขึ้นเพื่อเป็นการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมในเรื่องของการจัดทำหลักสูตรปริญญาเอกสาขาวิทยาการบริการ ระหว่างสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย(AIT), สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(SIIT) และ JAIST ประเทศญี่ปุ่น หัวข้อการสัมมนาประกอบด้วย

  • อ.วิลาศ วูวงศ์ AIT บรรยายหัวข้อ วิทยาการบริการและการประยุกต์
  • อ.อัศนีย์ ก่อตระกูล บรรยายหัวข้อ Service Research Innovation Thailand
  • ดร.เทพชัย แนะนำโครงการปริญญาเอก Dual Program in Service Science
  • การเสวนา เศรษฐกิจบริการและปัญหาของการพัฒนาระบบบริการในประเทศไทย โดย
    • อ.มนู อรดีดลเชษฐ์ ม.ศรีปทุม
    • พญ.จามรี เชื้อเพชระโสภณ รพ.บำรุงราษฏร์
    • มล.ชาญโชติ ชมพูนุท ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์
    • นายลือชัย สุดสาคร บริษัท ปตท.
    • นส.กุหลาบ กิมศรี บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด

ในส่วน SIG เกษตร ได้เตรียมการประสานกับ อ.มนู อรดีดลเชษฐ์ เพื่อเชิญร่วมทำความชัดเจนของ Services Science Innovation ในภาคเกษตร โดยร่วมทำกับ Service Informatics Platform และ Service Research Innovation Platform ของเนคเทคและ สวทช.ที่จะนำร่องงานวิจัยด้านวิทยาการบริการการเกษตรต่อไป


 

ประชุมสัมมนา AEC จังหวัดมหาสารคาม

พิมพ์ PDF

http://www.mahasarakham.go.th/mkweb/610/195

 

นายวีระวัฒน์  ชื่นวาริน ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ สังกัดราชการบริหาร , ส่วนภูมิภาค , ส่วนกลาง , นายอำเภอทั้ง ๑๓ อำเภอ , ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกำนันทุกตำบลในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน ๓๗๐ คน

         

                                    นายวีระวัฒน์  ชื่นวาริน ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่าประชาคมอาเซียนเป็นการรวมตัวของประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน รวม ๑๐ ประเทศ เพื่อสนับสนุนความร่วมมือกันอย่างรอบด้าน โดยในด้านการเมืองให้มีการจัดตั้งประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียนและโดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจให้มีการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ขึ้น ในปี ๒๕๕๘ เพื่อบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ใน ๔ ด้าน คือ การเป็นตลาดและ ฐานการผลิตรวม , การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน , การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค และการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับการเปลี่ยนแปลงของอาเซียนในปี ๒๕๕๘ จังหวัดมหาสารคามจึงได้จัดทำโครงการสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้แก่บุคลากรภาครัฐของจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บุคลากรภาครัฐของจังหวัดมหาสารคาม มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เพื่อให้บุคลากรภาครัฐของจังหวัดมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือของบุคลากรภาครัฐ ทั้งราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นในการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี ๒๕๕๘

        

                              สำหรับการจัดสัมมนาครั้งนี้ใช้ระยะเวลาในการประชุมสัมมนา ๑ วัน โดยได้รับความร่วมมือด้านวิทยากรจาก ดร.สุวรรณี  คำมั่น  รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , ม.ล.ชาญโชติ  ชมพูนุท  เลขาธิการศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์หอการค้าไทย , ดร.สมเจตน์  ภูศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม , นายณัฐวัชร์  จันทร์วิเมลือง นักวิชาการสำนักยุทธศาสตร์และบูรณาสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และผู้แทนกระทรวงมหาดไทย มาเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา


 

งานวิจัย คุณสมบัติของผู้ประกอบการ SME ที่ประสบความสำเร็จ ตามแนวคิดของของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ที่สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของ ไรอัน

พิมพ์ PDF

วารสาร สาร สื่อ ศิลป์ | ปีที่ 1 | ฉบับที่ 1 | ประจ าปี 2561 | ตารางที่ 2 ตารางแสดงค่าระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ประกอบการSMEs ที่ประสบความสำเร็จ ในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

อภิปรายผล

 1. ความคิดเห็นของผู้ประกอบการเกี่ยวกับ ด้านความมุ่งมั่นที่จะทำให้ธุรกิจประสบความส าเร็จ ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฏีของ ไรอัน และคณะที่ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ได้รวบรวมและสรุปไว้ ที่กล่าวว่าการเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องทั้งลงทุนและลงแรง ต้องทำงานหนักแทบจะ ไม่มีวันหยุด เพราะต้องวางแผน ตัดสินใจ ดำเนินการ แก้ไขปัญหาอยู่เกือบตลอดเวลา ทั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่า ผู้ประกอบการที่จะประสบความสำ เร็จได้นั้น จะต้องรู้จักการวางแผน และกลยุทธ์ที่ดี วิเคราะห์อุปสรรคและหาวิธีป้องกันหรือแก้ไข ในขณะเดียวกันก็จะต้องมุ่งมั่นต่อเป้าหมายความสำเร็จของกิจการด้วย

2. ความคิดเห็นของผู้ประกอบการเกี่ยวกับ ด้านความมั่นใจในตนเอง ทั้งการคิด และการตัดสินใจ ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฏีของ ไรอัน และคณะ ที่ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ได้รวบรวมและสรุปไว้ว่า ที่กล่าวว่าคนที่เชื่อมั่นในตนเองจะเป็นคนที่มีกำลังใจให้ตนเองสูง ไม่กลัวที่จะต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรค จึงมี โอกาสสูงที่จะบรรลุกับความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ คุณสมบัตินี้จะทำให้คนที่ทำงานด้วยหรือคนอื่น ที่เกี่ยวข้องมีความเชื่อมั่นตามไปด้วย ทั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่า ผู้ประกอบการที่มีความมั่นใจตั้งใจเด็ดเดี่ยว เข้มแข็งมีลักษณะเป็นผู้นำและมีความ เชื่อมั่นที่จะพิชิตเอาชนะสิ่งแวดล้อมที่น่ากลัวได้ ก็จะทำให้กิจการก้าวสู่ความสำเร็จได้

3. ความคิดเห็นของผู้ประกอบการเกี่ยวกับ ด้านแนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจของตนเองชัดเจน ซึ่งสอดคล้อง กับแนวคิดทฤษฏีของ ไรอัน และคณะ ที่ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ได้รวบรวมและสรุปไว้ ที่กล่าวว่าผู้ประกอบการ จะต้องรู้ว่าตนเองกำลังอยู่ในธุรกิจอะไร ผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนคืออะไร ธุรกิจของตนเมื่อเทียบกับคู่แข่ง มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไรบ้าง นอกจากนี้ยังต้องรู้ยุทธวิธีว่าทำอย่างไร ธุรกิจของตนจึงจะประสบความสำเร็จได้ ทั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่าผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจของตนเอง และมีความรู้เกี่ยวกับการ ดำเนินธุรกิจ เช่น ประเภทของกิจการของตนเอง แหล่งตลาดหรือกลุ่มลูกค้า กลยุทธ์ต่างๆที่จะนำไปสู้กับคู่แข่ง เป็นต้น จึงจะทำให้กิจการประสบความสำ เร็จได้

4. ความคิดเห็นของผู้ประกอบการเกี่ยวกับ ด้านความรู้ ความสามารถในการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฏีของ ไรอัน และคณะ ที่ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ได้รวบรวมและสรุปไว้กล่าวไว้ว่า การมีเฉพาะแนวคิดทางธุรกิจที่ดีไม่ได้ยืนยันว่าผู้ประกอบการจะประสบความสำเร็จ แต่ควรจะมีแผนงานที่เป็น ระบบด้วยการมีแผนธุรกิจที่ชัดเจน จะช่วยให้เราวิเคราะห์สถานการณ์ที่เป็นอยู่และที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เหมือนมีแผนที่อยู่ในมือทำให้ไม่หลงทาง นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับวิจัยเรื่องปัจจัยในการดำเนินธุรกิจของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาด กลางและขนาดย่อม (SMEs) จังหวัดนนทบุรีนายณัฐวุฒิ วิเศษ (2555) ซึ่งผลการวิจัยพบว่าผู้ประกอบการ ต้องบริหารด้วยตัวเองให้มากที่สุด โดยมีนโยบายการจัดการที่ดีชัดเจน มีระบบที่มีมาตรฐานตรวจสอบได้ ทุกขั้นตอน และต้องมีการวางแผนระยะยาว ทั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่า การวางแผนในการดำเนินงานเป็นขั้นตอนที่ ชัดเจนในทุกกระบวนการส่งผลให้ การดำเนินกิจกรรมของกิจการเป็นไปตามขั้นตอนที่สามารถควบคุมได้และเกิดปัญหาน้อยที่สุดทำให้ การประกอบกิจการเป็นไปอย่างราบรื่น

5. ความคิดเห็นของผู้ประกอบการเกี่ยวกับ ด้านความสามารถในการจัดหาเงินทุน เงินหมุนเวียน สำรอง และสามารถบริหารการเงินได้เป็นระบบอย่างดี ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฏีของ ไรอัน และคณะ ที่ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ได้รวบรวมและสรุปไว้ กล่าวไว้ว่าผู้ประกอบการควรทราบว่าขนาดที่แท้จริงของ กิจการเป็นอย่างไร เช่น มีสินทรัพย์ รายได้ ต้นทุน ค่าใช้จ่าย กำไร เป็นอย่างไร ควรรู้วิธีการตรวจสอบฐานะ ทางการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการ จะได้รู้ปัญหาและหนทางแก้ไขปัญหาก่อนได้ นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับ วิจัยเรื่องปัจจัยในการดำเนินธุรกิจของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาด กลางและ ขนาดย่อม (SMEs) จังหวัดนนทบุรีนายณัฐวุฒิ วิเศษ (2555) ซึ่งผลการวิจัยพบว่าผู้ประกอบการ ต้องดูแลสภาพทางการเงินให้มั่นคงและน่าเชื่อถือและ ต้องมีการวางแผนเตรียมพร้อมสำหรับการขยายกิจการ และต้องควบคุมและตรวจบัญชีทุกวัน ทั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่า การดำเนินกิจการจำเป็นจะต้องมีเงินทุน และเงินสำรองไว้เผื่อในยามฉุกเฉิน ดังนั้น ผู้ประกอบการ จะต้องมีความสามารถในการวางแผนการจัดการทางด้านการเงินและการหาเงินทุนสำรอง เพื่อให้กิจการก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง

6. ความคิดเห็นของผู้ประกอบการเกี่ยวกับ ด้านความรู้ทางด้านการตลาด และมีความสามารถ ทางการตลาด ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฏีของ ไรอัน และคณะ ที่ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ได้รวบรวมและ สรุปไว้ เพราะความสามารถทางการตลาดเป็นทักษะที่สำคัญที่จะทำให้กิจการอยู่รอดได้ ผู้ประกอบการจะต้อง แสดงฝีมือด้านนี้ให้เห็นชัดเจนว่า ตนเองรู้วิธีการที่จะนำสินค้าหรือบริการเข้าสู่ตลาดให้ประสบผลสำเร็จได้ ทั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่า ผู้ประกอบการที่ดี ควรมีความรู้ความสามารถทางการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการรู้จัก แหล่งกระจายสินค้า รู้จักกลุ่มลูกค้าในระดับต่างๆ รู้ความต้องการของกลุ่มลูกค้า รวมไปถึงกลยุทธ์ทางการตลาด ซึ่งจะทำให้สถานประกอบการสามารถเอาชนะคู่แข่งและสร้างผลกำไรได้สูงขึ้น

7. ความคิดเห็นของผู้ประกอบการเกี่ยวกับ ด้านความสามารถที่จะสามารถคาดการณ์ การแข่งขันทาง การตลาดในอนาคต มีความสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฏีของ ไรอัน และคณะ ที่ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ได้รวบรวม  และสรุปไว้ เพราะผู้ประกอบการที่ดีจะต้องคาดการณ์ได้แม่นยำว่าสภาพตลาดและการแข่งขันจะเปลี่ยนแปลง ไปอย่างไร และทำการวางแผนวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไว้ล่วงหน้า ซึ่งถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อม ไม่ได้รอคอยโอกาสทางธุรกิจเข้ามาเฉย ๆ ทั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่าหากผู้ประกอบการมีความสามารถในการคาดการณ์ทิศทางการแข่งขันทางการตลาด จะทำให้สามารวางแผนการดำเนินงานหรือหาวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาล่วงหน้าได้ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบ ทางการแข่งขัน

8. ความคิดเห็นของผู้ประกอบการเกี่ยวกับ ด้านเครือญาติหรือกลุ่มเพื่อนสนับสนุนที่ดีต่อตนเองและ องค์กร มีความสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฏีของ ไรอัน และคณะ ที่ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ได้รวบรวมและสรุปไว้ เพราะผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จนั้นมักจะเป็นบุคคลที่รู้จักเครือข่าย แหล่งสนับสนุนต่างๆ ที่มีผล ต่อธุรกิจของตน เช่น ผู้ประกอบการอาวุโสที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันที่สามารถสนับสนุนแนวคิด และวิธีการแก้ไข ปัญหาในลักษณะที่คล้ายกัน สถาบันการเงินที่สามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเงินทุนและการขยายกิจการ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่า แรงสนับสนุนจากครอบครัวและกลุ่มเพื่อนมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการมีแรงผลักดัน ในการเดินหน้ากิจการ หรือเมื่อประสบปัญหาสามารถขอคำปรึกษาจากผู้อาวุโสที่มีความรู้ความสามารถใน ด้านนั้นๆได้

9. ความคิดเห็นของผู้ประกอบการเกี่ยวกับ ด้านทักษะในการประสานงานกับบุคคลหรือหน่วยงาน มีความสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฏีของ ไรอัน และคณะ ที่ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ได้รวบรวมและสรุปไว้ เพราะการมีทักษะการประสานงานทั้งภายในกิจการ (กับพนักงานตนเอง) และกับภายนอกกิจการจะช่วยให้ การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น ทักษะในการประสานงานนี้รวมถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี การมีทักษะ ในการสื่อสาร การสั่งการ การมีสภาวะการเป็นผู้นำ การถ่ายทอดงาน ทั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่าผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการบริการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดี ผู้ประกอบการ มีความสามารถในการประสานงานกับพนักงานของตนเองได้ดี และสามารถติดต่อประสานงานกับกลุ่มธุรกิจ อื่นเพื่อการเจรจาเกื้อหนุนผลประโยชน์กันได้ จะส่งผลให้กิจการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการ พัฒนาของกิจการไปสู่ระดับที่ดีขึ้นได้

10. ความคิดเห็นของผู้ประกอบการเกี่ยวกับ ด้านความสามารถในการจัดการองค์กรที่เหมาะสมต่อ การดำเนินกิจการ มีความสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฏีของ ไรอันและคณะ ที่ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ได้รวบรวม และสรุปไว้ เพราะการจัดองค์กรที่เหมาะสมไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีโครงสร้างองค์กรเหมือนบริษัทใหญ่ โดยทันที แต่หมายถึงการมีสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน ไม่ซับซ้อน เหมาะกับขนาดของกิจการ และสามารถ ปรับเปลี่ยนได้เป็นระยะ ๆ ตามขนาดขององค์กรที่เติบโตขึ้น ทั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่า การจัดผังองค์กร และการจัดคนเข้าทำงานในแต่ละฝ่ายอย่างเหมาะสม ช่วยให้การ ดำเนินงานของกิจการเป็นไปอย่างมีระเบียบและเป็นขั้นตอน การจัดคนเข้าทำงานตามตำแหน่งให้ตรงกับ ความถนัดของพนักงาน จะท าให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพ และเกิดปัญหาแก่สถานประกอบการน้อยที่สุด

 

คัดลอกจาก วารสาร สาร สื่อ ศิลป์ | ปีที่ 1 | ฉบับที่ 1 | ประจ าปี 2561

 


 

Thailand's Economic Outlook 2017 จากบทความของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท 23 ตุลาคม 2559

พิมพ์ PDF

Thailand’s Economic Outlook 2017

                วันที่ 14 ตุลาคม 2559 ได้รับ e-mail จากฝ่ายอบรม หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ เชิญเข้าร่วมงาน       Thailand’s Economic Outlook 2017   Toward Sustainability ในวันที่ 21 ตุลาคม 2559  ณ ห้องบอลรูม    โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ  ผมได้ทำการลงทะเบียน online  โดยทันที่หลังจากอ่านข้อมูลทั้งหมดที่ส่งมาให้และได้รับการตอบกลับทาง e-mail เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ยืนยันสำรองที่นั่งพร้อมรหัสการลงทะเบียน และกำหนดการ รวมถึงข้อความแจ้งให้นำรหัสการลงทะเบียนพร้อมบัตรประชาชนมาแสดงตอนลงทะเบียนเข้าร่วมงาน

                วันที่ 21 ตุลาคม 2559 ผมออกจากบ้านตั้งแต่ 7.00 น เพื่อไปลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ปรากฏว่าไปถึงโรงแรมที่จัดงานเวลา 8.00 น เห็นเจ้าหน้าที่ของผู้จัดงานนั่งประจำที่โต๊ะลงทะเบียนแล้ว ทั้งๆที่โปรแกรมแจ้งว่าเริ่มลงทะเบียน 8.30-9.30 น จึงเข้าไปสอบถามว่าสามารถลงทะเบียนได้หรือยัง เจ้าหน้าที่แจ้งว่าเปิดลงทะเบียนเวลา 8.30 น ผมจึงเดินไปหาที่นั่งเพื่อฆ่าเวลาจนใกล้เวลาเปิดลงทะเบียน จึงเดินกลับมาที่โต๊ะลงทะเบียนอีกครั้ง ต้องไปยืนต่อคิวเพื่อลงทะเบียน หลังลงทะเบียน มีบริการอาหารเช้าแบบช่วยตัวเองบริเวณหน้าห้องสัมมนา อาหารดี การเตรียมการและการบริการของเจ้าหน้าที่โรงแรมดีเยี่ยม แต่เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนของฝ่ายจัดงานไม่ค่อยเป็นกันเองกับผู้มาลงทะเบียนเท่าไหร่ แถมช้า

                เปิดให้เข้าห้องสัมมนาประมาณ 9.00 น เวลาประมาณ 9.20 น พิธีกรออกมาทักทายผู้เข้าร่วมสัมมนาและแจ้งว่าอีก 10 นาทีจะเริ่มการสัมมนา เวลา 9.30 น พิธีกรกล่าวเชิญผู้เข้าร่วมงานเข้าห้องสัมมนา เปิดวีดีทัศน์แนะนำการจัดงาน หลังจากนั้นกล่าวเชิญผู้บริหารของ หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ออกมากล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนาและขอเชิญทุกท่านยืนสงบไว้อาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์รมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นเวลา 9 นาที

                ปาฐกถาพิเศษ Thailand’s Economic Outlook 2017 : Toward Sustainability โดย ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เนื้อหาในการปาฐกถานำมาจากพระราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระราชทานในพิธีต่างๆ

หลังจากนั้นเป็นการปาฐกถาพิเศษ Thailand 4.0 : From Vision to Action โดย ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เนื้อหาของปาฐกถาเป็นการนำพิมพ์เขียว ของ Thailand 4.0 โมเดล ขับเคลื่อนสู่ ความมั่นคง     มั่นคั่ง และยั่งยืน ซึ่งเป็นเอกสารใหม่ล่าสุด ที่นำมาเผยแพร่เป็นครั้งแรก  ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ได้นำเสนอเพียงบางส่วนเนื่องจากผู้จัดกำหนดให้เวลาท่านนำเสนอแค่ 30 นาที อย่างไรก็ตามท่านได้นำเสนอถึง 90 นาที ทำให้เวลาล่าช้าออกไป เป็นเหตุให้ทางผู้จัดไม่เปิดเวลาให้กับผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความคิดเห็นใดๆทั้งสิ้น จากที่ผมได้พิจารราจากการนำเสนอมีความเห็นว่าเอกสารชุดนี้มีความสำคัญมาก ควรที่จะมีการนำไปเผยแพร่และทำการศึกษาเพื่อให้เกิดกระบวนการที่จะนำไปปฏิบัติในแต่ละภาคส่วนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้     สำหรับท่านที่ต้องการได้เอกสารครบชุดขอให้ติดต่อสอบถามจากเลขาท่านรัฐมนตรีช่วย       ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์  ครับ ไม่ทราบว่าท่านจะจัดให้ได้หรือไม่

สรุปประเด็นในการนำเสนอ Thailand 4.0 : From Vision to Action โดย ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์

ประเทศไทยติดอยู่ในกับดัก 3.0 มาหลายศตวรรษ ได้แก่ รายได้ปานกลาง ความเหลื่อมล้ำ และความไม่สมดุล

UNESCO ประกาศให้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเป้าหมายในการขับเคลื่อนการอยู่ดีมีสุขของสังคมโลก  

Thailand 4.0 ยึดเอาแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงสอดรับอย่างลงตัวกับการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน

รัฐนำมาใช้เป็นยุทธศาสตร์ชาติ 4.0

ฐานของเศรษฐกิจพอเพียงมาจาก พึ่งพาตัวเอง พึ่งพากันเอง รวมเป็นกลุ่มอย่างมีพลัง

คลาสเตอร์ 18 กลุ่มของแผนยุทธศาสตร์จังหวัดมีพลังในตัวเองเพื่อนำไปเชื่อมต่อโลกภายนอก

การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มจากวัฒนธรรม

  หลังจบการนำเสนอ Thailand 4.0 : From Vision to Action ต่อด้วยรายการเสวนา Transforming Thailand into a Sustainable Economic โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย

ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

ไม่เชื่อว่า Thailand 4.0 จะนำไปปฏิบัติได้ตามแผนที่ได้นำเสนอ ใครจะเป็นผู้นำไปปฏิบัติ ภาครัฐพร้อมและมีความสามารถในการทำได้หรือไม่ รัฐมนตรี ท่านอื่นๆเห็นด้วยหรือไม่

ราชการวางแผนมากแต่ไม่ทำ แผนแม่บทไม่สำคัญ ที่สำคัญคือต้องทำเลย ทำจริงๆ

ไม่เชื่อว่าคนไทยจะไปถึง  4.0 ได้ เนื่องจากมีแต่แผนแต่ไม่มีคนทำ อาจมีคนกลุ่มหนึ่งที่ไปถึง มีจำนวนประมาณ 20% แต่กลุ่มคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปและมีการศึกษาต่ำจะไปไม่ถึงต้องพึ่งพาลูกหลาน มีจำนวน 40-50%

คุณยอดพจน์ วงศ์รักมิตร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารและเทคโนโลยีสารสนเทศ บมจ บางจากปิโตเลียม

นำเสนอในเรื่องการดำเนินงานของบางจาก ซึ่งประสบผลสำเร็จด้วยดี  บางจากเข้าสู่ Thailand 4.0 ได้แน่นอน

เห็นด้วยกับ ดร.สมชัย จิตสุชน ว่าต้องทำเลยไม่ใช่มีแต่แผน  ขอให้น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัวมาทำจริงๆ

ผู้บริหารต้องลงไปทำ ไม่ใช่ได้แต่สั่งและปล่อยให้คนอื่นทำ

คุณสัญชัย อภิศักดิ์ศิริกุล กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ การเงินและสนับสนุนธุรกิจ ธนาคาร ยูโอบี (ไทย)

เห็นว่าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ต้องเน้นคนที่ ความรู้ ได้แก่รู้จริง รู้ชอบ และรู้ลึก + คุณธรรม ได้แก่การปลูกฝัง คุณธรรม สิ่งที่ถูกต้อง ซื่อสัตย์ เหมาะสม ทุกคนต้องเริ่มจากตัวเราเอง ไม่ต้องรอคนอื่น เน้นเรื่องวัฒนธรรมองค์กร

ยึดแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  ช่วงบ่าย เสวนา Thailand’s Economic Outlook 2017 อนาคตเศรษฐกิจไทย 2560 โดย

ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่านนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

ส่งออกยังไม่ดี   ความต้องการน้อย ทำให้การลงทุนไม่โต ภาครัฐลงทุนไปแล้วแต่เป็นโครงการเล็กๆทำให้ภาคเอกชนยังไม่กล้าลงทุน เรากำลังก้าวสู่ภาคบริการมากขึ้น อุตสาหกรรมขยับตัวช้ากว่าภาคบริการ ภาคบริการเม็ดเงินลงทุนน้อยกว่าภาคอุตสาหกรรม เข่นลงทุนสร้างโรงแรม กับลงทุนสร้างโรงกลั่น การลงทุนแตกต่างกันมาก การลงทุนกระจุกในบางสาขา ภาคอุตสาหกรรมลงทุนน้อยลง ภาครัฐทำได้ดีในการประคอง เยียวยา แต่ถ้าหวังให้รัฐเป็นตัวกระตุ้นการลงทุนคงไม่ใช่ต้องอยู่ที่ภาคเอกชน

ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ประจำประเทศไทย กลุ่มธนาคารโลก

ไตรมาส 3-4 ธุรกิจชะลอตัวลงแบบค่อยเป็นค่อยไป การบริหารการลงทุนของภาครัฐยังต่ำ ถึงแม้นจะเทียบกับรัฐบาลก่อนๆ อาจจะดีขึ้น แต่ถ้าเทียบกับประเทศอื่นถือว่าต่ำลง การส่งออกการบริการยกเว้นท่องเที่ยวยังไม่ดี เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมือง เอกชนขาดแรงงานที่มีทักษะ ซึ่งมีอยู่ในไทยนานแล้ว

คุณสังวรณ์ ลิปตพัลลภ นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย

ช่วงนี้เป็นช่วงเตรียมตัว สร้างจริงจะเริ่มต้นปี เริ่มมีการซื้อขายอุปกรณ์ก่อสร้าง แต่จะเห็นชัดๆจะเป็นกลางปี

คุณฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ค้าปลีกไทย

ธุรกิจค้าปลีกจะโตตามธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โต ค้าปลีกจะขายได้ นักท่องเที่ยวไม่ว่าจะเข้ามามากน้อยแค่ไหน ค้าปลีกและอาหารไม่ได้อานิสง คนระดับกลางลงล่างการซื้อต่ำ แต่ระดับกลางขึ้นบนยังมีกำลังซื้ออยู่ยังเติบโต       พูดถึง Thailand 4.0 เห็นว่าบางอุตสาหกรรมไม่จำเป็นต้องไปถึง 4.0 แค่ 1.0 ก็พอ ยุทธศาสตร์ดีหรู แต่คนและกระบวนการเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของประเทศไทย                                                                                การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญกับ Thailand 4.0 แต่การศึกษาเราเป็นแค่ 0.4 จึงคิดว่า Thailand 4.0 เป็นไปได้ยาก

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการเศรษฐกิจมหภาค Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์

ตัวเลขสินเชื่อไม่โตเลย การขยายกิจการหรือเปิดกิจการของนักลงทุนน้อยลง ชะลอตัว ท่องเที่ยวกับคมนาคมที่ใช้สินเชื่อของธนาคาร ที่เหลือแทบไม่ใช้เลย การลงทุนของภาครัฐเป็นการลงทุนในโครงการขนาดเล็ก ทำให้เอกชนไม่สนใจที่จะลงทุนมากขึ้น

คุณศรีวรรณ เอี่ยมรุ่งโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ บมจ ปตท

น้ำมันผันผวนมาก คนใช้น้ำมันมากขึ้น ราคาผันผวนทำให้นักลงทุนไม่กล้าลงทุนเพราะไม่แน่ใจต้นทุนด้านน้ำมัน ปตท กระทบกับความผัวผวนของน้ำมันแต่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภค

สรุปความเห็นส่วนตัว คิดว่า แผน Thailand 4.0 ที่ ดร.สุวิทย์ เมษิณทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นแผนที่ดี โดยเฉพาะมีความเข้าใจว่าเรื่องคนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด และมีแผนเรื่องการสร้างคนและพัฒนาคนอย่างชัดเจนรวมอยู่ด้วย ผิดกับแผนอื่นๆที่รัฐบาลทำออกมาที่ไม่ได้เน้นที่การสร้างและพัฒนาคนเช่นแผนที่นำเสนอนี้ ฟังจากวิทยากรผู้เข้าร่วมเสวนาแล้วมีความรู้สึกว่า ส่วนมากไม่เชื่อแผนที่นำเสนอเนื่องจากภาพพจน์เก่าๆที่ผ่านมา และไปคาดว่าแผนจะสำเร็จเป็นไปได้จะต้องมาจากภาครัฐ โดยเฉพาะแผนการสร้างคนและพัฒนาคน ซึ่งเป็นเรื่องของภาคส่วน ไม่ใช่ไปโยนให้ภาครัฐเท่านั้น ผมเข้าใจว่าคนส่วนมากยังไม่เข้าใจเรื่องการสร้างคนและการพัฒนาคนอย่างแท้จริง คิดว่าคนไทยด้อยการศึกษาและไม่มีคุณภาพ ซึ่งความจริงคนไทยไม่ได้แพ้ชนชาติใด เพียงแต่ผู้ประกอบการและภาคเอกชนไม่เคยคิดที่จะสร้างคน คิดแต่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากคน ไม่มีใครยอมลงทุนเรื่องคน ไม่ปลูก และบำรุง คิดแต่จะเก็บเกี่ยวเอาแต่ผลประโยชน์เท่านั้น ผมมีความเชื่อมั่นว่าแผน Thailand 4.0 นี้เป็นไปได้ ถ้าทุกภาคส่วนให้ความสนใจและศึกษาให้รู้จริง และนำไปปฏิบัติในแต่ละภาคส่วน ให้ลงมือทำ เริ่มจากตัวเอง  ครอบครัว องค์กรที่รับผิดชอบ ประชาชนในสังคม  และประชาชนทุกคน อย่ามัวแต่เกี่ยงกัน ลงมือทำอย่างจริงจัง โดยทำตามรูปแบบและแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับแผนที่นำเสนอคิดว่าจะต้องไปปรับแต่งการนำเสนอให้เป็นส่วนๆ แยกส่วนภาพกว้าง และส่วนภาพลึกของแต่ละส่วนออกจากกัน เพราะถ้าใช้เอกสารที่ท่าน ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ นำเสนอครั้งเดียวทั้งหมด จะมากไป ทำให้คนขาดความอดทนที่จะให้ความสนใจ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท


23 ตุลาคม 2559

 


หน้า 42 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8740712

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า