Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ขบวนการปฏิรูปการศึกษาของวิชาชีพสุขภาพไทยเดินหน้า

พิมพ์ PDF

วันที่ ๕ - ๖ ก.ค. ๕๖ มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ Leadership Forum on Health Professional Development ครั้งที่ ๒ ที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล   ผมไปร่วมเช้าวันที่ ๕ ได้ครึ่งวัน   ได้ฟังและให้ความเห็นต่อโครงการจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ๓ โครงการ    จากทั้งหมด ๙ โครงการที่จะมีการนำเสนอในการประชุมครั้งนี้

 

ดูรูปหมู่ของการประชุม Leadership Forum ครั้งที่ ๑ ได้ ที่นี่ การประชุมนี้จัดที่กระบี่ระหว่างวันที่ ๒๓ ๒๔ เม.ย. ๕๖ เสียดายที่ผมยุ่งๆ เริ่มเขียนบันทึกแล้วเผลอลืมไป    การประชุมครั้งนั้นได้ผลดี มีการนำเสนอโครงการวิจัยที่จะดำเนินการ ๑๑ โครงการ    และมีแนวโน้มจะเกิดโครงการพัฒนาและวิจัย เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนรู้ของวิชาชีพสุขภาพหมายวิชาชีพ   จนตกลงกันว่าจะมีการประชุม Leadership Forum ครั้งที่ ๒ โดยคณะแพทยศาสคร์ศิริราชพยาบาลเป็นเจ้าภาพ    และครั้งที่ ๓ ที่รามาฯ

 

ผมเขียนบันทึกเล่าเรื่องการปฏิรูปการศึกษาของวิชาชีพสุขภาพไทยไว้ ที่นี่ ท่านที่สนใจความเคลื่อนไหวในประเทศไทยทั้งหมด ดูได้ ที่นี่

 

ขบวนการปฏิรูปการศึกษาของวิชาชีพสุขภาพไทยเดินหน้าด้วย สองขา”   คือขาศึกษาภาพรวมของการศึกษาของวิชาชีพสุขภาพไทยในปัจจุบัน    โดยทำร่วมกัน ๕ ประเทศ คือ บังคลาเทศ  จีน  อินเดีย  เวียดนาม  และไทย    เลือกทำเฉพาะ ๓ วิชาชีพ คือ สาธารณสุข  พยาบาล  และแพทย์    แต่ไทยทำเพียง ๒ วิชาชีพ คือพยาบาล กับแพทย์   เพราะวิชาชีพสาธารณสุขของไทยมีความหลากลายซับซ้อนมาก จนคิดว่าจะทำไม่ทันตามกำหนดเวลา

 

ขาที่สองคือ Leadership Forum นี่แหละ    เป็นยุทธศาสตร์ต่อยอดกิจกรรมการดำเนินการพัฒนา วิธีการจัดการเรียนการสอน ตามแนวทาง 21st Century Health Professional Education Reform ที่มีอยู่แล้ว    ที่อาจเป็นการริเริ่มสร้างสรรค์เล็กๆ โดยอาจารย์ไม่กี่คน หรือคนเดียว   แต่เป็นโครงการที่จะนำไปสู่ การปฏิรูปใหญ่ได้    นำมา ลปรร. กัน และช่วยกันสนับสนุนให้ทำได้ อย่างมีพื้นฐานของวิธีวิทยาด้านการวิจัย หนักแน่น   ให้เป็นผลงานวิชาการด้านการเรียนการสอนได้

 

การสนับสนุนขาที่สองนี้ จะทำอย่างเป็นระบบ ครบวงจร   จะมีการดำเนินการปรับปรุงระบบการเข้าสู่ ตำแหน่งวิชาการให้ยอมรับผลงานวิชาการด้านการเรียนรู้ หรือการเรียนการสอน

 

จากการริเริ่มสร้างสรรค์ของคนเล็กคนน้อย จะมีกระบวนการรวมตัวกันเป็นขบวนการเปลี่ยนแปลง ระบบ   ให้ระบบการศึกษาของวิชาชีพสุขภาพไทย เป็นระบบที่ก้าวหน้า    หนุนระบบสุขภาพที่เราภาคภูมิใจ ว่าเป็นระบบที่ดีที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง   ภายใต้แนวคิด Good Health at Low Cost และมีระบบคุ้มครอง สุขภาพถ้วนหน้า (UHC – Universal Health Coverageที่เข้มแข็งและคุณภาพดี   ให้พัฒนาต่อเนื่องยิ่งๆ ขึ้นไป   ฟันฝ่าความท้าทายกระแสทุนนิยมสุดขั้วที่จะเข้ามากัดกร่อนระบบสุขภาพของเราได้    และให้ระบบการศึกษากับระบบบริการสุขภาพมีความเชื่อมโยงเอื้อต่อกัน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๖ ก.ค. ๕๖

คัดลอก http://www.gotoknow.org/posts/545392

 

 

 

บรรยากาศในห้องประชุม

 

อีกมุมหนึ่ง

 

ศ. นพ. อุดม คชิณทร คณบดีศิริราชกล่าวต้อนรับ

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2013 เวลา 06:56 น.
 

บรรยายในหัวข้อ AEC2015-Thailand as a hub for the Greater Mekong Subregion Implication to Hong Kong

พิมพ์ PDF

สวัสดีครับชาว Blog ทุกท่าน

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2556 ได้รับเกียรติจากประธานThailand-Hong Kong Business Counsil คุณวงศ์ทิพย์ ชุ่มภาณี ให้ผมบรรยายในหัวข้อ AEC2015-Thailand as a hub for the Greater Mekong Subregion Implication to Hong Kong ให้กับนักธุรกิจชาวฮ่องกง 30 คน ณ โรงแรม Grand Hyatt Erawan Bangkok ครับ

 

 

 

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/545373

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2013 เวลา 23:45 น.
 

วันแม่ของเรา

อีเมล พิมพ์ PDF

ขาแขนของเราวัยเยาว์นั้น
อ่อนแออัดอั้นต้องออดอ้อน
อ้อแอ้อ้อแอ้แม่ให้นอน
คอยปลอบคอยป้อนกล่อมนอนเปล

วันนี้แม่เราเฒ่าชรา
ร่วงโรยโหยหาเสียงกล่อมเห่
ลุกเดินเมื่อใดให้โลเล
โซเซโซเซจนล้มลง

แม่เคยอุ้มลูกไปทุกแห่ง
วันที่มีแรงคอยเสริมส่ง
วันนี้ร่างกายไม่มั่นคง
ลูกจงดูแลแม่ของเรา

เอางานบังหน้าไม่น่าถูก
แม่เคยทิ้งลูกวันไหนเล่า
อ้างนั่นอ้างนี่ที่มัวเมา
นี่แม่ของเรายังดูแล

จึงรอดปลอดภัยในวันนี้
วันที่แม่เรากลับเฒ่าแก่
หนทางห่างไกลวัยเปลี่ยนแปร
วันแม่ทุกข์ทนอยู่บนเตียง

รอแล้วรอเล่ารอเงาลูก
พันผูกลูกไว้ได้ยินเสียง
ดวงตาพร่ามัวตัวใกล้เคียง
พอเพียงพักผ่อนก่อนหลับตา

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/545050

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2013 เวลา 13:04 น.
 

GotoKnow เป็นมากกว่า Seven-Eleven

อีเมล พิมพ์ PDF
GotoKnow ...เป็นแหล่ง ที่เรียกว่า Ability ...ผู้คนได้พัฒนาความสามารถ, พัฒนาศักยภาพ, พัฒนาสมรรถภาพ, พัฒนาสมรรถนะ, พัฒนาฝีไม้ลายมือ, พัฒนาภูมิปัญญา

ขอเขียนบ้างนะคะ  "แหล่งความดีของGotoKnow” ที่มีให้สมาชิก....เกินที่จะพรรณนาออกมาได้...ไม่หมดสิ้น ... เป็นแหล่งรวม(Source) ดังนี้

 

1. เป็นแหล่ง "รวมของผลงานทางปัญญา" ผลงานของ  "คนที่มีภูมิปัญญา" ... ที่เขามาคุยกัน... ฉันท์ "พี่- น้อง"

 

2. เป็นแหล่ง "รวมผู้คน" ทำให้ได้มา พบปะสังสรรค์ + พูดคุยด้วยกัน ... ผ่านระบบ IT ของ GotoKnow

 

3. เป็นแหล่ง  "รวมของคนทำความดี" ...แล้วนำความดีนั้นๆ มา  Learn & Share & Care ซึ่งกันและกัน


4. เป็นแหล่ง  "ที่ลดความเหงา" ( Reduce Loneliness)

 

5. เป็นแหล่ง  "สร้างความสุข" (Happiness) ที่ยากจะบรรยาย....ออกมาได้หมดสิ้น

 

6.  เป็นแหล่ง    "สร้าง..มิตร..ไมตรีที่ดีต่อกัน"(Friendship) จาก...ความเป็น..เพื่อนพ้อง น้อง พี่  ที่...มาจาก แดนไกล

 

7.  เป็นแหล่งของ... “ห้องสมุดใหญ่” ที่ "ได้ใจ"และไม่ต้อง...เดินทาง ไป-มา... "แต่หาหนังสือ อ่านได้มากมาย"  ได้มากมายเลยหละค่ะ และ หนังสือที่ Update ทุกๆวัน

 

8. เป็นแหล่งรวม ที่ทำให้ ..."มีรอยยิ้ม ....ความยินดี+ดีใจ" ....แหล่งที่ "เติมเต็ม" ให้กันและกัน  "เสริมกำลังใจ" ให้กันและกัน (Fulfillment & Empowerments & Satisfaction & Attainment)

 

9. เป็นแหล่ง  "สร้างนักต่างๆ" ...นักคิด...นักเขียน ... นักเรียน (ไม่รู้จักจบสิ้น) ... นักจิตนาการ ผ่านความฝันใฝ่ ...เป็นที่ที่...ผู้คนได้ "ฝากฝีไม้ลายมือ" ...ไว้ "ใน GotoKnow"


10. เป็นแหล่ง  ที่เรียกว่า Ability...สร้างสิ่งดีดี..สู่สังคม ... ทำให้คนได้....พัฒนาความสามารถ, พัฒนาศักยภาพ, พัฒนาสมรรถภาพ, พัฒนาสมรรถนะ, พัฒนาฝีไม้ลายมือ, พัฒนาภูมิปัญญา


11. เป็นแหล่ง... "ชุมชน" (Community) ของคนดีดี  .... “ที่ชอบเหมือนๆ กัน ... แล้วมาพบกัน ...“คนGotoKnow”


12. เป็นแหล่ง ...  "โลกไร้พรมแดน...ของ คน GotoKnow”


13. เป็นแหล่ง ... “Counter Barที่จะหาความรู้" …ของ... "ผู้อยากรู้...อยากอ่าน”

 

15. เป็นแหล่ง  ... "การจัดการความรู้: KM"....สำหรับ...กลุ่มคนทำงานและชุมชนนักปฏิบัติ (Community of practice CoP) "ของประเทศไทยเรา"


16. GotoKnow  ป้องกันการเกิดโรค... อัลไซเมอร์ (Alzheimer) ... แต่กลับเพิ่ม "ทักษะ การคิด - การเขียน - การเรียนรู้" นะคะ


17. เป็นแหล่ง "ภาคีเครือข่าย" (Network)ของ...บุคคล(Person) ...ของ...องค์กร(Organization) ...ของ...กลุ่มวิชาชีพ (Career)


18. เป็น "ระบบ" (System) ที่มีทั้ง ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) ที่สำคัญ คือ ผลกระทบ (Impact) ผลกระทบทางบวกที่ดีที่สุด คือ...ความรัก...ความเอื้ออาทร ... ความเป็นกัลยาณมิตรไมตรี...ที่หาสิ่งดีดี...เข้ามาในระบบ....โอ้...พรรณาไม่หมดแล้วค่ะ

 

19. ที่สำคัญที่สุด GotoKnow เป็นมากกว่า Seven-Eleven (เปิด 24 ชม. เชิญข้างในค่ะ ให้ผู้คน ... "ไม่หลับ..ไม่นอน...ยิ่งกว่าดูบอลโลก" อีกนะคะ แต่ ... "มีความสุขมากๆๆ ค่ะ"

 

ขอกราบขอบคุณ...ผู้ที่มีพระคุณ

- มูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)

- สถาบันกองทุนวิจัยแห่งชาติ (สกว.)

- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

- ผู้บริหารทุกๆ ท่านนะคะ…ที่มีพื้นที่สร้างสรรค์ทางปัญญาดีดีนี้นะคะ

คณะทำงานทุกๆ ท่าน "เกินที่จะกล่าวได้หมด"นะคะ

ขอบคุณมากที่ให้เกียรติอ่านบทความนะคะ


 

 

 


ขอบคุณGotoKnow....ที่มีพื้นที่สร้างสรรค์ดีดีให้นะคะ

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2013 เวลา 13:47 น.
 

ลุมลึก และ เนียน ใน Mixed-Methods Research

พิมพ์ PDF
การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-method research) เป็นแบบของการวิจัยประเภทหนึ่งที่ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการวิจัยเรื่องเดียวกัน

เรียนเพื่อนๆชาวBlog วันนี้คุยเรื่อง รูปแบบการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed-Methods Research) เราจะทำการ Mixed อย่างไร? ....ให้งานวิจัยของเราให้ เนียนและไร้รอยต่อ....ระหว่างงานวิจัยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และ....การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) โดยการวิจัยในงาน ป.เอก ของP’Ple ...ทำรูปแบบที่สอง...วิธีแรก ค่ะ...โดยที่ท่าน ศ. ดร. สุวิมล ว่องวาณิช และCresswell & Clark (2007) ได้อธิบายไว้ว่า.....มี 2 วิธี คือ

 

@ รูปแบบแรก.... เป็นการวิจัยแบบทำการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพไปพร้อมกัน (concurrent design) โดยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพพร้อมกัน แล้วค่อยนำผลการวิจัยจากทั้งสองวิธีมาวิเคราะห์ (Analysis) หรือสังเคราะห์ (Synthesis) ภายหลัง รูปแบบนี้ทำให้ได้ข้อมูลจากวิธีวิจัยทั้งสองประเภทมาเสริมกัน เพื่อให้ผลการวิจัยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยทั้งสองแบบอาจนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมือนหรือความต่างก็ได้ ซึ่งหากไม่สอดคล้องกัน ก็ต้องมีการวิเคราะห์หาเหตุผลในการอภิปราย

 

@รูปแบบที่สอง... เป็นการวิจัยแบบทำตามลำดับก่อนหลัง (Sequential design) เป็นการออกแบบการวิจัยที่สามารถดำเนินการได้ 2 วิธี

 

วิธีแรก ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณก่อน แล้วใช้ประโยชน์จากผลการวิจัยเชิงปริมาณมาออกแบบการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพตามหลัง เพื่อขยายความหรืออธิบายข้อค้นพบให้ลุ่มลึกเพิ่มเติมจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ

 

วิธีที่สอง วิธีวิจัยเชิงคุณภาพก่อน แล้วนำผลมาช่วยในการสร้างเครื่องมือวิจัย เพื่อใช้ในการวิจัยด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณตามหลัง เพื่อให้คำตอบที่เป็นสะท้อนภาพรวมของประชากรที่ใหญ่ขึ้น ทั้งนี้การเลือกรูปแบบของการวิจัยขึ้นอยู่กับนักวิจัยว่าจะต้องการคำตอบจากการวิจัยแบบใด โดยงานวิจัยเชิงปริมาณของ P’Pleเก็บข้อมูลจำนวน 420 คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์สมการโครงสร้างเชิงเส้น (Structural Equation Model: SEM) ด้วยโปรแกรม LISREL  Version 8.72 วิจัยเชิงคุณภาพเก็บตัวแปรละ 5 คน มีทั้งหมด 5 ตัวแปร เก็บข้อมูลเชิงลึกจาก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) รวมจำนวน 25 คน วิเคราะห์โดยการตีความ การวิจัยเชิงคุณภาพทำให้ได้ข้อค้นพบที่เป็นคำอธิบายที่ลุ่มลึก และไม่ได้เน้นที่การอ้างอิงผลการวิจัยไปยังประชากรอื่น เรียกการวิจัย นี้ว่าใช้วิธีวิจัยแบบผสมระหว่างวิธีวิจัยทั้งสอง นี้ว่า การวิจัยแบบผสมวิธี หรือ การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-method research) เป็นแบบของการวิจัยประเภทหนึ่งที่ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการวิจัยเรื่องเดียวกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในผลการวิจัยที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในปัญหาวิจัยหนึ่ง ซึ่งอาจให้คำตอบที่เหมาะสมกว่าการใช้เพียงวิธีใดวิธีหนึ่ง

 

ข้อดีและข้อจำกัดของการวิจัยแบบผสมวิธี

การวิจัยแบบผสมวิธีช่วยสร้างความกระจ่างในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยเฉพาะการให้คำตอบในเรื่อง“ทำไม” จึงมีความสัมพันธ์เช่นนั้น ช่วยสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงลึก โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากตัวแปรเชิงคุณภาพ มาศึกษาต่อด้วยวิธีการเชิงปริมาณ ช่วยยืนยันหรือตรวจสอบความตรงของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

 

แต่.....การวิจัยแบบผสมวิธีก็มีข้อจำกัดเช่นกัน คือ ใช้เวลานานในการศึกษาวิจัย (โดยเฉพาะการลงพื้นที่) และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย (ม๊ากๆๆ) และเนื่องจากนักวิจัยส่วนใหญ่จะมีความชำนาญในวิธีวิจัยแบบใดแบบหนึ่งเพียงวิธีเดียว การใช้การวิจัยแบบผสมวิธี ที่สำคัญต้องมีความชำนาญ....ทั้งวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ งานวิจัยนี้สำเร็จได้ด้วยคะแนนที่ Excellent (94.68 คะแนน) ขอขอบคุณ คณาจารย์ที่สอนงานวิจัยเชิงคุณภาพ ศ.ดร. สนิท สมัครการ และ รศ.ดร.สุพรรณี ไชยอำพร สมัยที่เรียน ป.โท ที่ NIDA ขอบคุณ คณาจาย์ที่ได้สอนในป.โท ด้าน MBA ซึ่งทำให้ สามารถ ออกแบบงานวิจัยระดับ ป.เอก ที่สามารถออกแบบงานวิจัยที่ดี (Research Desing) และงานวิจัยเกิดImmpact ในสังคม งานวิจัยเกิดคุณค่าทางสังคม ต้องขอบคุณ คณาจารย์ทุกๆท่าน โดยเฉพาะ รศ. นพ.สิงห์เพชร สุขสมปอง ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจากคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราช ที่กรุณาสละเวลาในการสอน นศพ. และการตรวจคนไข้ เพื่อมาสอบงานดุษฎีนิพนธ์ครั้งนี้ งานวิจัยครั้งนี้ต้องกราบขอบคุณท่านดร. วรรโณ ฟองสุวรรณ ผศ. ดร.บัณฑิต ผังนิรันดร์ ท่านทั้งสองเป็น อาจารย์ที่ปรึกษาหลักและที่ปรึกษาทางสถิติขั้นสูง ที่กรุณารับเป็นศิษย์นะค่ะ

 

ขอบคุณ  ผู้อ่านบทความด้วยค่ะ


 

 

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2013 เวลา 13:55 น.
 


หน้า 458 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8742707

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า