Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

JJ2013V8_5 ตามรอยเรียน รู้ Learn เพื่อพัฒนาคุณภาพอุดมปัญญา

พิมพ์ PDF
การฝึกฝนอาจารย์ใหม่ให้เกิด Team Teaching เพื่อสร้างเด็กนิสิต เกิด Team Learning จะช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้ทั้ง ครู และ นิสิต เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Life Long Learning

ตามรอยเรียน รู้ Learn

การพัฒนาด้วยการประเมินตนเอง หรือ Self Reflection ด้วยการเขียนการรายงานประเมินตนเอง หรือ SAR


หน่วยงานที่ ๕ ของปีการศึกษา ๒๕๕๕ ที่ JJ ได้ออกไปประเมิน Learn เพื่อพัฒนา คุณภาพและมาตรฐานอุดมศึกษา


เรื่องราวดีดี ที่ได้ สร้างความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพของการบริหารการศึกษา เป็นจุดเน้น มากกว่าที่จะไป ต่อรองการเรื่อง คะแนน


การทำงานร่วมกัน ระหว่างผู้ประเมิน และ ผู้รับการประเมินทำให้ เกิดความเข้าใจ ถึงเจตนารมณ์ ของการพัฒนาที่เป็นไปตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่พึงกระทำ ของ สกอ


การมองหาจุดเน้น เพื่อแสดง อัตตลักษณ์ ของสถาบัน จะถูกถ่ายทอดไปให้ นิสิต เพื่อเกิดพัฒนาการเป็น บัณฑิตที่พึงประสงค์

การฝึกฝนอาจารย์ใหม่ให้เกิด Team Teaching เพื่อสร้างเด็กนิสิต เกิด Team Learning จะช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้ทั้ง ครู และ นิสิต เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Life Long Learning

JJ2013

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/545079

 

วิธีติดต่อ ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช

อีเมล พิมพ์ PDF

เป็นการติดต่อคนที่ไม่มีสำนักงานประจำ    และไม่ใช้เลขานุการแบบพร่ำเพรื่อ

  • วิธีที่สะดวกที่สุด ทาง อี-เมล์ pvicharn(at)gmail.com ไม่ต้องใช้กระดาษ และรวดเร็ว ถึงตัวผมแน่
  • การนัดประชุมของคณะกรรมการต่างๆ ที่ผมรับใช้อยู่  ในกรณีการติดต่อกับผม อยากขอให้เลิก Fax ไปที่ สคส.    เพราะผมไม่ได้เข้าไปทำงานที่ สคส. เป็นประจำแล้ว   จะมีผลทำให้ผมได้รับเรื่องล่าช้า    ขอให้ติดต่อทาง อี-เมล์แทน    และเอกสารหรือแฟ้มประชุมก็อยากให้ส่งเป็น attached files ทางอี-เมล์    หรือจะแจ้ง URL และ password ให้ผมเข้าไป download เอกสารเอาเองก็ได้
  • เอกสารถึงผมที่ส่งเป็น Fax ไปที่ สคส.   โดยไม่ได้บอกวิธีติดต่อกลับทาง อี-เมล์    อาจไม่ได้รับการตอบเลย เพราะไม่สะดวกที่จะตอบโดยตัวผมเอง
  • หากจำเป็นต้องส่งเอกสาร หรือแฟ้มประชุมจริงๆ ขอให้ส่งทางไปรษณีย์ ไปที่บ้าน
    ๔๗/๒๑๖  หมู่บ้านสิวลี   ถ. สุขาประชาสรรค์ ๓
    ต. บางพูด   อ. ปากเกร็ด   จ. นนทบุรี  ๑๑๑๒๐ 
    หมายเหตุ


(๑) ที่บ้านผมไม่มีเครื่องรับส่ง Fax 
(๒) อย่าส่งโดยวิธี EMS หรือลงทะเบียน   เพราะเมื่อบุรุษไปรษณีย์มาส่งและไม่มีคนที่บ้านเซ็นรับ    เขาจะแจ้งให้ผมไปรับเองทีที่ทำการไปรษณีย์ ยิ่งยุ่งยากหนักเข้าไปอีก

หรืออาจให้ messenger เอาไปส่งที่บ้านก็ได้   แต่ที่บ้านอาจไม่มีคนอยู่     ในกรณีเช่นนี้ ให้ฝากไว้ที่ป้อมยามของหมู่บ้าน    หรืออาจโทรศัพท์สอบถามก่อน ที่ ๐๒ ๙๖๓ ๒๑๖๓ ว่ามีคนอยู่บ้านหรือไม่   โปรดอย่าใช้โทรศัพท์นี้หลัง ๒๑.๐๐ น. เพราะจะไม่มีคนรับ (หลับแล้ว) 
หากเป็นเอกสารที่ไม่ด่วน   อาจส่งไปที่ 
สำนักงานนายกสภามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา   จ. นครปฐม  ๗๓๑๗๐ 
โทรศัพท์ ๐๒ ๘๔๙ ๖๓๓๓
โทรสาร  ๐๒ ๘๔๙ ๖๓๑๔
เลขานุการชื่อ คุณโสภาพรรณ (ลูกหว้า)


• ผมเป็นคนไม่ชอบพูดโทรศัพท์   โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างประชุม   จึงไม่นิยมให้เบอร์โทรศัพท์มือถือแก่ใครๆ และโทรศัพท์มือถือก็มักจะปิดหรือเปิดแบบสั่น ซึ่งบางครั้งก็ไม่รู้สึก    จึงต้องขออภัยที่หลายครั้งผมไม่ได้รับโทรศัพท์ที่โทรเข้ามือถือ

 

วิจารณ์ พานิช
๑๐ เม.ย. ๕๑

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2013 เวลา 14:08 น.
 

KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 603. การสนทนาเพื่อปลดปล่อยความรู้ฝังลึก

พิมพ์ PDF
การพูดคุยแบบรังสรรค์ (generative conversation) จะช่วยให้ความรู้ที่ซ่อนอยู่ เผยตัวออกมา การพูดคุยแบบนี้เน้นการตั้งคำถาม ในบรรยากาศเท่าเทียมกัน และร่วมมือกัน คุยกันด้วยท่าทีเปิดกว้าง มีการตั้งคำถาม เพื่อเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายหนึ่งออกความเห็นออกมาจากใจ ไม่เน้นถูก-ผิด

 

KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ  : 603. การสนทนาเพื่อปลดปล่อยความรู้ฝังลึก

หนังสือ The Inquiring Organization : Tacit Knowledge, Conversation, and Knowledge Creation Skills For 21st Century Organization ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2004   บทที่ ๘ เรื่อง Tacit Knowledge and Conversation  แนะนำวิธีสนทนาเพื่อให้ความรู้ฝังลึกออกมาทำงาน

การพูดคุยแบบใช้อำนาจเหนือ จะปิดกั้นความรู้ฝังลึก ปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์  การพูดคุยแบบรังสรรค์ (generative conversation) จะช่วยให้ความรู้ที่ซ่อนอยู่ เผยตัวออกมา  การพูดคุยแบบนี้เน้นการตั้งคำถาม  ในบรรยากาศเท่าเทียมกัน และร่วมมือกัน  คุยกันด้วยท่าทีเปิดกว้าง  มีการตั้งคำถาม เพื่อเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายหนึ่งออกความเห็นออกมาจากใจ ไม่เน้นถูก-ผิด

ท่าที ๓ อย่าง มีความสำคัญต่อการปลดปล่อยความรู้ฝังลึก  และช่วยให้เกิดการสร้างความรู้

1.  เป็น “ผู้ไม่รู้ ท่าทีเช่นนี้ จะเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายหนึ่ง หรือคนอื่นๆ แสดงความคิดเห็นออกมา  รวมทั้งช่วยสร้างบรรยากาศของความเท่าเทียมกัน  ไม่เน้นอันดับการบังคับบัญชา  ท่าที “ผู้ไม่รู้” ของฝ่ายผู้ฟัง จะช่วยให้ฝ่ายผู้ฟังเอาใจใส่ “การสนทนาออกมาภายนอก” (outer conversation) ของผู้อื่น  และในขณะเดียวกัน เอาใจใส่ “การสนทนาภายใน” (inner conversation) ของตนเอง

2.  สนใจอยากรู้ การแสดงความคิดเห็นของคนที่อยู่ในสภาพนี้ จะอยู่ในท่าทีไม่สรุป ไม่มั่นใจ  และอยากฟังข้อคิดเห็นแบบอื่น  จะช่วยกระตุ้นผู้อื่นให้แสดงข้อคิดเห็นที่หลากหลายออกมา

3. ร่วมมือช่วยเหลือกัน เพื่อให้ความรู้ฝังลึกที่ร่วมกันปลดปล่อยออกมา รวมตัวและสังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่ ที่นำไปสู่การสร้างสรรค์ หรือการแก้ปัญหา

ท่าทีทั้งสาม ทำให้เกิดบรรยากาศของการตั้งคำถาม หรือสนใจใคร่รู้ร่วมกัน  ทำให้เกิดความร่วมมือกันมองหา หรือสร้าง มุมมอง โอกาส แนวคิด หรือแนวทางใหม่ๆ ร่วมกัน

ท่าทีทั้งสามจึงเป็นบ่อเกิดของความสร้างสรรค์ (creativity)  แบบที่เป็นความสร้างสรรค์ร่วม (collective creativity)

วิจารณ์ พานิช

๗ ส.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/545269

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2013 เวลา 14:13 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๖๘. เข็มทิศสังคม

พิมพ์ PDF

อ. ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และ อ. สุภรต์ จรัสสิทธิ์ แห่งสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม. มหิดล นัดมาสัมภาษณ์ เช้าวันที่ ๒ ก.ค. ๕๖ เพื่อประเมินแผนงาน NPI ของ สสส.  ที่ผมเป็นประธานคณะกรรมการชี้ทิศทาง  และเคยเล่าเรื่องราวไว้ ที่นี่ และมีเว็บไซต์ของโครงการ ที่นี่ โครงการนี้ดำเนินการโดยมูลนิธินโยบายสุขภาวะ

ผมมองโครงการ NPI เป็น “เข็มทิศสังคม”  เราต้องการเข็มทิศใหม่  เพราะเข็มทิศเดิมที่ใช้อยู่มันชักนำโลก ไปในทางที่บิดเบี้ยว หรือสุดโต่ง ไร้สมดุลหรือความพอดี

เข็มทิศที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ GDP  ชี้แต่ผลสำเร็จทางเศรษฐกิจ  ยิ่งนับวันก็จะเห็นว่า มันชักนำผู้คนและสังคม ไปในทางแห่งความโลภ เห็นแต่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นหลัก

มีความพยายามที่จะหาเข็มทิศใหม่มาใช้นำทางสังคม  NPI เป็นหนึ่งในนั้น

แผนงาน NPI ระยะแรกดำเนินการมาเกือบ ๓ ปี  และได้ข่าวว่า สสส. จะให้ทุนสนับสนุนต่อในระยะที่ ๒  เพื่อสนับสนุนการนำไปใช้ประโยชน์ในระดับตำบล  อำเภอ  และจังหวัด

GDP มีจุดแข็งตรงที่มันเป็นตัวเลขตัวเดียว ดูง่าย เข้าใจง่าย ใช้เปรียบเทียบได้ง่าย  และจุดอ่อนของมันก็คือสิ่งเดียวกันกับจุดแข็ง  คือมันง่ายจนมันไม่ได้บอก “สุขภาวะ” ที่แท้จริงของสังคม  และผู้คนมักโมเมว่าตัวเลข GDP บอกความเจริญก้าวหน้าของสังคม  ซึ่งจริงเพียงไม่ถึงครึ่ง  ยังมีส่วนอื่นที่ GDP ไม่ได้บอกหรือบอกไม่ได้  แต่มีความสำคัญต่อชีวิตของผู้คนมากเท่าหรือมากกว่า คือด้าน

วิจารณ์ พานิช

๒ ก.ค. ๕๖

คัดลอกจาก

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2013 เวลา 14:30 น.
 

บัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอก

พิมพ์ PDF

บัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอก

ข่าวนี้ บอกเราว่า มีผู้เรียนในสาขาวิทยาศาสตร์น้อยเกินไป  แต่เมื่ออ่านรายละเอียดแล้ว พบว่าเป็นข่าวที่ไม่แม่นยำอย่างยิ่ง  และในความเห็นของผม เป็นการให้ความเห็นผิดๆ ต่อสาธารณชน  แต่ข่าวนี้มีส่วนน่าสนใจตรงนำเราไปสู่บทความในวารสาร Nature เรื่องEducation : The PhD Factory ที่น่าอ่านมาก

บทความใน Nature นี้ เป็นการนำเสนอสถานภาพของบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอกของทั่วโลก  เปรียบเทียบระหว่างประเทศ

เริ่มด้วยประเทศญี่ปุ่น ที่มีปัญหามาก  รัฐบาลมีนโยบายและแผนเพิ่มจำนวนผู้จบปริญญาเอก และ postdoc  แต่เมื่อจบแล้วคนเหล่านี้ไม่มีงานทำ  รัฐบาลถึงกับต้องจ่ายเงินให้บริษัทจ้างคนเหล่านี้ไปทำงาน  แต่บริษัทก็บอกว่า ไม่รู้จะจ้างไปทำไม เพราะความรู้ความสามารถไม่ตรงความต้องการ  ผมไม่นึกเลยว่าจะได้ยินเรื่องแบบนี้จากประเทศญี่ปุ่น ที่ผมนับถือว่ามีความรอบคอบสูง

ถัดมาคือจีน ที่เวลานี้ผลิตบัณฑิต ป. เอกสูงที่สุดในโลก คือปีละ ๕ หมื่นคน  แต่มีปัญหาคุณภาพ  และเขามีวิธีแก้ปัญหาหลายอย่าง

สหรัฐอเมริกา ผลิต ป. เอกได้มากเป็นที่ ๒ รองจากจีน  มีความท้าทายเรื่อง การผลิตให้ตรงความต้องการ  ข้อมูลในบทความเกี่ยวกับเงินเดือน น้อยกว่าที่ผมคิดมาก  และบัณฑิตในสาขาวิทยาศาสตร์ตกงานมากอย่างน่าตกใจ  ในขณะที่คนจบ ป. เอกสาขาสังคมศาสตร์หางานง่ายกว่ามาก  เป็นความจริงที่ผมแปลกใจ

เยอรมนี ดูจะเป็นประเทศที่มีความสำเร็จสูงที่สุด  โดยที่ในอดีตมีปัญหาผลิตมากเกินไป  การเรียน ป. เอกในเยอรมันมีลกษณะพิเศษ ๒ อย่าง  (๑) ไม่ถือเป็น นศ.  แต่ถือเป็นทีมวิจัย  (๒) ไม่เน้นผลิตไปทำงานวิชาการเท่านั้น  แต่เน้นผลิตไปทำงานในภาคการผลิตด้วย  เขาบอกว่า เพียงร้อยละ ๖ ของคนจบ ป. เอกสายวิทย์ ไปทำงานในภาควิชาการ  คำอธิบายคือ เงินเดือนต่ำ และก้าวหน้าช้า

อีก ๓ ประเทศที่เขาเอ่ยถึงคือ โปแลนด์  อียิปต์ และอินเดีย

สรุปได้ว่า ประเด็นสำคัญของการศึกษาระดับปริญญาเอกก็คือ ทำอย่างไรให้มันเป็นส่วนหนึ่งของระบบ การพัฒนาประเทศ  ให้มันสอดคล้องกับงาน และความต้องการคนของภาคส่วนต่างๆ ของประเทศ   ในประเด็นนี้ ตรงกับข่าวในเดอะเนชั่น  ที่รองเลขาธิการ กกอ. บอกว่า  สกอ. ไม่มีตัวเลขทำนายความต้องการ ของประเทศ  แต่ผมคิดว่า สกอ. น่าจะมีตัวเลขจำนวนการผลิตในสาขาต่างๆ มาบอกสังคม  และตามข่าว ที่บอกว่า ประเทศไทยขาดแคลนคนจบ ป. เอกด้านการศึกษานั้น ผมคิดว่าไม่จริง  ผมคิดว่าเราผลิต ป. เอกด้านการศึกษาแบบเฟ้อจำนวน แต่หย่อนคุณภาพอย่างน่าตกใจ

ผมคิดว่า ประเทศไทยต้องดำเนินการวางแผนการผลิต ป. เอกของตนเอง  เชื่อมโยงกับแผนการส่งคน ไปเรียนต่อต่างประเทศ  เราไม่ควรมองว่า หากจะให้ได้บัณฑิต ป. เอกที่มีคุณภาพ ต้องส่งไปเรียนต่างประเทศ เท่านั้น

และในขณะเดียวกัน ต้องหาทางป้องกัน การผลิต ป. เอก แบบคุณภาพต่ำ

วิจารณ์ พานิช

๓๐ ก.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/544529

 


หน้า 460 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8742552

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า