Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

โครงการเผยแพร่ความรู้เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) สำหรับโรงเรียนเทพศิรินทร์ 9 โครงการหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่

พิมพ์ PDF

หลักการและเหตุผล

นับตั้งแต่ประเทศในกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมตัวกันก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ASEAN (The Association of Southeast Asian Nation) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้มีเสถียรภาพทางการเมือง ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ให้เกิดศักยภาพสูงสุดในภูมิภาคและต่างได้รับประโยชน์จากความร่วมมือที่ช่วยซึ่งกันและกัน

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC (ASEAN Economic Community) เป็นการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในอาเซียน ภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ. 2015) โดยมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน รวมทั้งการเปิดเสรีให้เคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างประเทศสมาชิก สินค้า บริการ แรงงานฝีมือ และการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น เพื่อลดอุปสรรคการค้าและการลงทุนให้น้อยที่สุด เป็นการพัฒนาไปสู่มาตรฐานค่าครองชีพ ลดปัญหาความเลื่อมล้ำทางสังคมในน้อยลง

ด้วยกระแสของ AEC ในวันนี้ ทุกภาคส่วนมีการตื่นตัวที่จะปรับยุทธศาสตร์เพื่อเตรียมความพร้อม และเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทยเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนและควรจะต้องทำแบบมีแนวทาง และมียุทธศาสตร์ที่เหมาะสม

ภาคการศึกษาก็มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อเตรียมพร้อมรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงจำเป็นต้องมีความรู้ที่ดีในเรื่องนี้

ในการนี้สโมสรไลออนส์กรุงเทพ รัตนชาติและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจึงจะร่วมกันจัดโครงการเผยแพร่ความรู้เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) สำหรับโรงเรียน

วัตถุประสงค์

1.เพื่อเผยแพร่ความสำคัญของทุนมนุษย์ในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

2.เพื่อพัฒนาความรู้เข้าใจเรื่องประชาคมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และสร้างความตระหนักในความสำคัญและผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ ทั้งที่เป็นโอกาสและความเสี่ยง สามารถนำมาใช้พัฒนาตนเองและสังคม ต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

ครู 30 คน นักเรียน 30 คน ผู้นำชุมชน 15 คน

รูปแบบกิจกรรม

เป็นการอภิปรายกลุ่มนำโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประธานสโมสรไลออนส์กรุงเทพ รัตนชาติและคณะวิทยากรจากสโมสรไลออนส์กรุงเทพ รัตนชาติ

วันเวลาและสถานที่

ในวันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2556 เวลา 9.00-11.00 น. ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ 9 โครงการหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดเชียงใหม่

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/540000

 

กรอบการเปิดเสรีภาคบริการภายใต้ AEC

พิมพ์ PDF

มายาคติ

“ในปี พ.ศ. 2558 ผู้ประกอบการอาเซียนจะสามารถ

เข้ามาแข่งขันได้อย่างเสรีกับผู้ประกอบการไทย

ในทุกสาขาบริการ”

ข้อเท็จจริง

1. กรอบการเปิดเสรีภาคบริการภายใต้ AEC มิได้เป็น

ข้อผูกพันทางกฎหมายหากแต่เป็นเพียง“Roadmap”

เพื่อให้การเจรจาในการเปิดเสรีภาคบริการในอาเซียน

มีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนต่างจากการเจรจาใน

อดีต

2. การเปิดเสรีภายใต้ AEC Roadmap มิใช่การเปิดเสรีที่

สมบูรณ์แบบเหมือน EU

การเจรจาด้านการค้าบริการในอาเซียน

 

1.การเจรจาการค้าบริการในอาเซียนซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539 ภายใต้กรอบความตกลงการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services หรือ AFAS) ใช้รูปแบบ request/offer ซึ่งลอกเลียนมาจากการเจรจาเพื่อเปิดเสรีการค้าบริการในองค์การการค้าโลก (GATS)

2.เป็นการเปิดเสรีตามความพร้อมของรัฐสมาชิกเนื่องจากการเปิดเสรีภายใต้ AFAS ไม่คืบหน้าจึงได้มีการกำหนด“Roadmap”ในการเปิดเสรีภาคบริการในอาเซียนโดยมีการกำหนด“เป้าหมาย” และ“เงื่อนเวลา” ในการเปิดเสรีใน AEC Blueprint เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในการเปิดเสรีตาม Roadmap ดังกล่าวประเทศสมาชิกจะต้องยื่นข้อผูกพันที่จะเปิดเสรีภาคบริการในการเจรจาใน AFAS 4 ครั้ง้ในปีค.ศ. 2009, 2011, 2015 และ 2016

 

เป้าหมายการเปิดเสรีภายใต้ AEC มีข้อจำกัด

1.กรอบการเปิดเสรีจำกัดเฉพาะ การเพิ่มสัดส่วนการถือหุุ้นของนักลงทุนอาเซียนในธุรกิจบริการไม่รวมกฎกติกาภายในประเทศที่อาจเป็นอุปสรรคกีดกันการแข่งขัน

2.กรอบแนวทางการเปิดเสรีให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศสมาชิกที่ไม่พร้อมที่จะดำเนินการตาม Roadmap ที่กำหนดไว้ใน AEC ทำให้การเปิดเสรีไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

 

ข้อสรุป

1.ชาติสมาชิกอาเซียนมิได้เดินตาม“Roadmap” ของ AEC ยกเว้นสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่เปิดอยู่แล้ว

2.ข้อเสนอการเปิดเสรีของไทยล่าสุดสะท้อนให้เห็นนโยบายที่ไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในการสร้างฐานการผลิตอาเซียนที่มีการค้าบริการที่เสรีระหว่างกัน

3.ความเป็นไปได้ที่อาเซียนจะเปิดเสรีภาคบริการได้ตาม Roadmap ในปีพ.ศ. 2558 จึงมีน้อยมาก

ข้อมูลเบื้องต้นได้จากการนำเสนอ ของ                                                                                                                                                         ดร.

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

และ ดร.วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี

 

 

 

ในงาน

สัมมนาวิชาการประจำปี 2555 ของ

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

 

 

 

26 พฤศจิกายน 2555 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ บี โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

18 มิถุนายน 2556

 

แนวคิดประชาสังคมในทัศนะของ อิมมานูเอล ค้านท์

พิมพ์ PDF

ค้านท์ มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ.1724-1804 เป็นนักปรัชญาเชิงวิพากษ์ชาวเยอรมัน ปรัชญาทางการเมืองของค้านท์มีรากฐานมาจากปรัชญาทางศีลธรรมที่อาศัยหลักการสังเคราะห์เหตุผลในการตัดสินใจปฎิบัติการต่างๆ ที่แสดงออกทางสังคม ค้านท์เห็นว่าสัญญาประชาคมทั้งหลายเป็นที่รวมของปัจเจกชนที่มาผูกพันกัน เพื่อเป้าหมายร่วมบางประการโดยมีการแลกเปลี่ยนทางความคิด ถือว่าเป็นหน้าที่เบื้องต้นของระบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ การรวมตัวนี้เปรียบเสมือนเป็นประชาคมทางการเมืองที่ปรากฎให้เห็นทางสังคมที่มีการสถาปนารัฐของชาวประชาขึ้น สัญญาประชาคมได้สถาปนาเป็นประชาสังคมขึ้น เป็นสังคมทางการเมืองที่มีเจตจำนงร่วมที่ปัจเจกชนมาร่วมแลกเปลี่ยนกัน  การแสดงเจตจำนงร่วมในประชาคมทำให้ภาวะความมีสิทธิของพลเมืองเกิดขึ้น และมีเสรีภาพที่จะกำหนดกฏเกณฑ์มาใช้ในหมู่ประชาสังคมด้วยตัวเอง เสรีภาพในการใช้สิทธิหมายความว่าพวกเขามีสิทธิที่จะไม่เชื่อฟังกฎหมายได้ โดยยกเว้นกฎหมายที่ประชาสังคมให้ความยินยอม หลักคิดนี้ค้านท์หมายความว่าเป็นการยินยอมของประชาสังคมที่จะสร้างธรรมนูญของพลเมืองขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นเป้าหมายร่วมอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของประชาสังคม ในทัศนะของ     ค้านท์เห็นว่ารูปแแบของรัฐที่ดีที่สุด คือรัฐบาลที่มาจากรัฐธรรมนูญแบบสาธารณรัฐ โดยมีสมมติฐานว่าพลเมืองแต่ละคนได้ให้ความยินยอมแก่องค์อธิปัตย์ที่ใช้อำนาจกฎหมายผ่านระบบตัวแทนซึ่งเป็นการใช้อำนาจทางอ้อม หรืออาจจะโดยตรงก็ย่อมได้ ดังนั้น ในนิมิตทางศีลธรรม พลเมืองต้องมองว่ากฎหมายทุกฉบับคือที่มาของเจตจำนงของพลเมือง ตามนัยนี้ประชาสังคมจะต้องมีบทบาทสำคัญในการแสดงเจตจำนงที่จะกำหนดกฎหมายให้องค์อธิปัตย์นำไปบังคับใช้

แนวคิดสัญาประชาสังคมในทัศนะของค้านท์มองว่าสัญญาประชาคมคือที่รวมของเหตุผลในการสร้างกระบวนการยุติธรรม กฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณะจะต้องมองว่ากฎหมายมีไว้เพื่อคนทั้งมวลตราบใดที่ยังเห็นด้วยที่จะให้มีกฎหมายนั้นๆต่อไป แนวคิดประชาสังคมนี้เป็นหลักการสำคัญในปรัชญาทางการเมือง เป็นหลักการเน้นย้ำว่ารัฐจะต้องมีหลักประกันให้พลเมืองแต่ละคนมีเสรีภาพให้มากที่สุดเท่าที่เป็นได้ และเป็นเสรีภาพที่สอดคล้องกับพลเมืองทุกคน กล่าวคือเป็นเสรีภาพที่ไม่ไปละเมิดเสรีภาพของคนอื่นๆ ดังนั้นการมีเสรีภาพที่เท่าเทียมกันให้มากที่สุดคือเป้าหมายแบบมีเหตุผลของเจตจำนงร่วม หลักการนี้ถือว่าเป็นแก่นหลักของแนวคิดสาธารณรัฐนิยม (Republicanism)   ค้านท์เชื่อว่ารูปแบบของรัฐบาลแบบสาธารณรัฐเป็นรูปแบบรัฐที่มีศีลธรรมที่ดีและเป็นประโยชน์ที่สุด เพราะเป็นรูปแบบที่ทำให้พลเมืองมีเสรีภาพมากที่สุดเท่าที่จะมีได้ นอกจากนี้รูปแบบสาธารณรัฐยังช่วยทำให้จุดมุ่งหมายตามหลักการของสัญญาประชาคมมีความสมบูรณ์

ตามทัศนะของค้านท์ สัญญาประชาคมและแนวคิดเกี่ยวกับการถือครองทรัพย์สินคือพื้นฐานแห่งความเป็นธรรมและศีลธรรมของประชาสังคม ซึ่งค้านท์มองว่าประชาสังคมมีความจำเป็นในฐานะเป็นสังคมทางการเมือง ที่มีความจำเป็นเพราะความยุติธรรมจะเกิดขึ้นมาได้ ก็โดยสร้างระบบกฎหมายมหาชนขึ้นมา มนุษย์ทุกคนจะต้องเข้าสูงประชาสังคม จุดมุ่งหมายของประชาสังคมคือบังคับให้มนุษย์ต้องเคารพสิทธฺิของคนอื่น แต่การเพิ่มเสรีภาพให้พลเมืองยังไม่เพียงพอต้องเพิ่มเสรีภาพทางการเมืองด้วย รวมทั้งต้องมีรูปแบบรัฐบาลแบบสาธารณรัฐ แนวคิดอำนาจหน้าที่ทางการเมืองของรัฐที่ต้องคอยปกป้องเสรีภาพของปัจเจกชนถือว่าเป็นประเด็นสำคัญ อำนาจรัฐที่ใช้บังคับโดยรัฐนั้นเป็นไปเพื่อปกป้องเสรีภาพของปัจเจกชนเท่านั้น  ส่วนสิทธิสาธารณะ (public right) เป็นสิ่งที่กำหนดขึ้นโดยการจำกัดขอบเขตเสรีภาพของปัจเจกชนเพื่อให้มีความกลมกลืนและบูรณาการแบบเท่าเทียมกับเสรีภาพของทุกๆคนเพื่อให้มีเสรีภาพโดยเท่าเทียมกัน ค้านท์ให้เหตุผลว่ารัฐธรรมนูญของพลเมืองเป็นการสร้างระบบความสัมพันธ์ของเหล่าเสรีชนกับการยอมรับการบังคับใช้กฎหมายของรัฐ ขณะที่ยังคงรักษาเสรีของตนเองไว้ภายในสมาคมทางการเมืองที่รวมกลุ่มกันอยู่เป็นประชาสังคม แต่การธำรงไว้ซึ่งเสรีภาพนั้นปัจเจกชนต้องมีเหตุผลอันบริสุทธิ์ การยอมรับอำนาจทางการเมืองเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุความยุติธรรมและสิทธิอันพึงมี เสรีภาพที่มีขึ้นภายในประชาสังคมจะต้องถูกจำกัดขอบเขตภายใต้การใช้คำที่เรียกว่าการปกป้องเสรีภาพที่มีอยู่ กล่าวคือ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้เสรีภาพเกินขอบเขตจำเป็นจึงต้องจำกัดขอบเขตของเสรีภาพของปัจเจกชน

ค้านท์มีทัศนะว่าประชาสังคมไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้โดยปราศจากรัฐ ซึ่งบ่อยครั้งค้านท์ใช้คำว่ารัฐในความหมายว่า เป็นสังคมทางการเมืองที่มีสถาบันต่างๆ เช่นกฎหมายมหาชน อำนาจของผู้แทน เป็นต้น  ค้านท์ไม่ได้แยกให้เห็นความแตกต่างชัดเจนระหว่างคำว่า "ประชาสังคม" และ"รัฐ" บางครั้งก็ใช้สองคำนี้ในความหมายเดียวกัน บ่อยครั้งที่    ค้านท์ใช้คำว่า "ประชาสังคม" ในความหมายว่าคือรัฐที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาสภาพความเป็นสังคมของพลเมือง และเพื่อเป็นหลักประกันเสรีภาพและศีลธรรมของปัจเจกบุคคล

ทฤษฎีประชาสังคมของค้านท์มีประเด็นที่แปลกต่างไปจาก ล็อก สมิธ และ เฟอร์กูสัน คือเขากล่าวว่า ประชาสังคมไม่ได้อยู่ในระดับท้องถิ่นหรือในระดับรัฐเท่านั้น แต่ยังมีประชาสังคมขึ้นท่านกลางรัฐต่างๆ เป็นชุมชนการเมืองระหว่างประเทศอีกด้วย อีกประเด็นหนึ่งที่มีเป็นทัศนะแปลกใหม่ในปรัชญาการเมืองของค้านท์คือ ได้เสนอเรื่อง กฎหมายสากลหรือกฎหมายครอบอาณาจักรวาล (cosmopolitan Law)  และเรื่องสันติภาพนิรันดรในหมู่ประชาคมนานาชาติ ค้านท์ให้เหตุผลว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองในรัฐทั้งหลายควรจะใช้กับรัฐอื่นๆ หรือกับชุมชนไร้รัฐ ประชาชนบนโลกนี้ได้เข้าสู่ชุมชนสากล (Universal community) ในระดับต่างๆ และพัฒนาไปสู่จุดที่ว่าหากมีการฝ่าฝืนในส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกก็จะมีความรู้สึกร่วมกันของทั้งชุมชนสากลที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่นั้น เงื่อนไขเบื้องต้นของสันติภาพนิรันดรคือการยอมรับความเท่าเทียมของรัฐต่างๆ (เช่นเดียวกับความเท่าเทียมของปัจเจกชน) ในฐานะชุมชนระหว่างประเทศพร้อมกับยอมรับในหลักการไม่แทรแซงซึ่งกันและกัน ค้านท์เสนอว่ารัฐอยู่ในฐานะผู้แสดงบทบาทกลางในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ถึงแม้ว่าโลกประกอบด้วยรัฐต่างๆมากมายที่มีรัฐธรรมนูญแตกต่างกัน แต่ค้านท์มีสมมติฐานว่ามนุษย์มีเหตุผลสากลเพียงหนึ่งเดียว ดังนั้นการมีธรรมนูญทางการเมืองที่ยอมรับได้เพียงหนึ่งเดียวสำหรับรัฐก็ทำให้รัฐต่างๆที่ยอมรับในหลักการนี้เป็นสาธารณรัฐอันเดียวกัน

ค้านท์เสนอว่า การที่จะทำให้สันติภาพนิรันดรเกิดขึ้นบนโลกนี้จะต้องยึดหลักสามประการคือ ประการที่หนึ่งทุกๆรัฐควรมีธรรมนูญแบบสาธารณรัฐ ประการที่สองสิทธิของชาติต่างๆควรตั้งอยู่บนฐานของการรวมเข้าเป็นสมาพันธรัฐ (federation) และประการที่สาม สิทธิสากลควรจำกัดเพื่อให้มีสภาพที่เป็นอยู่ร่วมกันอย่างสากล ส่วนเรื่ององค์แห่งกฎหมายค้านท์เห็นว่าไม่ควรอยู่บนพื้นฐานของการบังคับ แต่ควรอยู่บนพื้นฐานของอำนาจที่มีศีลธรรม ค้านท์มีทัศนะว่า ประชาสังคมนานาชาติ หรือประชาคมสากลเป็นประเด็นอันยิ่งใหญ่ท้าทายความเป็นสังคมสากลของมนุษย์ ค้านท์เน้นว่า "ปัญหาอันยิ่งใหญ่สำหรับชาติพันธ์มนุษย์ก็คือ การหาทางออกที่ธรรมชาติบังคับให้มนุษย์ต้องแสวงหาทางบรรลุเป้าหมายของประชาคมสังคมที่สามารถบริหารความยุคิธรรมได้อย่างเป็นสากล

ปรากฏการณ์ความเป็นสังคมสากลในช่วงที่คานท์มีชีวิตอยู่ยังไม่เกิดขึ้น  แต่หลังจากนั้นมาหลายประเทศได้มีระบบการเมืองการปกครองแบบสมาพันธรัฐ แนวคิดประชาสังคมสากลในปัจจุบันนี้อาจจะพอเห็นเค้าลางๆขึ้นบ้าง มีหลายประเทศที่มีธรรมนูญหรือสัญาประชาคมร่วมกัน เช่นสหภาพยุโรป  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นต้น ในส่วนการเคลื่อนไหวของประชาสังคมที่ดำเนินกิจการของภาคพลเมืองก็ได้มีการสถาปนาประชาสังคมโลกขึ้นมา เคลื่อนไหวในเรื่องต่างๆ เช่น การรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนต่างๆ ต่อต้านการค้ามนุษย์ การป้องกันสิ่งแวดล้อมโลก รวมไปถึงการจัดสมัชชาประชาสังคมโลกของสหประชาชาติในต้นศตวรรษ 2000 เป็นต้น

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

13 มิถุนายน 2556

ข้อมูลจากหนังสือ พัฒนาการและการพัฒนาประชาสังคม โดย ผศ.ทศพล สมพงษ์

 

ขอฝากจากกระบี่

พิมพ์ PDF

ค่ำวันที่ ๒๒ เม.ย. ๕๖ คณะสัมมนา Leadership Forum for Health Professional Education Development ก็ลงเครื่องบินการบินไทยที่สนามบินนานาชาติกระบี่

เป็นครั้งแรกที่ผมไปกระบี่ทางเครื่องบิน  และเป็นครั้งแรกที่ผมได้สัมผัสสนามบินแห่งนี้ ซึ่งกว้างขวางใหญ่โต  และเมื่อนั่งรถตู้ไปร้านอาหาร “เรือนไม้” และจากร้านอาหารไปหาดนพรัตน์ธารา  ผมก็บอกตัวเองว่า จังหวัดกระบี่เปลี่ยนแปลงไปมาก  หลังจากผมไปครั้งสุดท้ายเมื่อกว่า ๒๐ ปีมาแล้ว  สมัยผมยังทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

จุดเด่นของร้านอาหารเรือนไม้ คือเรือนไม้ไผ่ ที่หลังคาทรงสูงมุงด้วยไม้ไผ่สองชั้น  คล้ายหลังคาไม้สักของภาคเหนือ  ไต่ถามได้ความรู้ว่าฝนตกน้ำไม่รั่ว  และเขารับประกันอยู่ได้ ๑๐ ปี  ไม้ไผ่มาจากกำแพงเพชร หลังคาแบบนี้ให้ความเย็นดีมาก เพราะปล่อยให้อากาศร้อนออกไปทางหลังคาได้  และทรงของหลังคาต้องสูงและมีความชันสูง มิฉนั้นน้ำฝนจะรั่ว

ไม่ใช่เด่นเฉพาะเรือนไม้ไผ่  อาหารของร้านนี้ก็อร่อยด้วย  เป็นครั้งแรกที่ผมได้กิน “หอยชักตีน” เผา ของชาวปักษ์ใต้ หรือหอยหวานของชาวกรุงเทพ

เราไปขึ้นเรือที่หาดนพรัตน์ธารานั่งไป ๑๐ นาทีก็ถึงท่าของโรงแรม  ที่สะพานขึ้นเรือทำด้วยทุ่นลอยผูกติดกันอย่างดี  แต่มันก็มีคลื่นเล็กน้อยต้องเดินทรงตัวให้ดี  และตอนขากลับ บ่ายสี่โมงวันที่ ๒๔ เม.ย. น้ำลงและคลื่นแรง  เดินยาก เจ้าหน้าที่ของเรือต้องมาช่วยพยุง

ผมนอนฟังความไพเราะของเสียงคลื่นตอนเช้ามืดของวันที่ ๒๓ และ ๒๔  ที่ระเบียงห้อง๑๒๖๔  ได้ฟังเสียงคลื่นและเสียงนกกางเขนร้องไพเราะจับใจ  น่าจะเป็นครั้งแรกในชีวิต ที่ผมได้ฟังเสียงคลื่นประสานเสียงนกกางเขน

เช้าวันที่ ๒๓ ผมเดินออกกำลังที่ชายหาด  ได้สูดอากาศบริสุทธิ์เข้าปอดลึกๆ  และเดินข้ามเขาไปที่ฝั่งอ่าวนาง  โดยที่ทางโรงแรมจัดทำบันไดและราวจับให้อย่างดี  ปีนขึ้นและปีนลง ๑๐ นาที ก็ไปถึงฝั่งอ่าวนาง  แต่ผมไม่ได้ไปเดินที่หาด  ได้แต่ถ่ายรูปจากไกลๆ

ที่ฝั่งอ่าวนางผมไปเห็นแอ่งน้ำเสียที่ดำเป็นน้ำครำ และไหลออกทะเล  ถามชาวบ้านว่าน้ำเสียมาจากไหนก็ไม่มีใครรู้  ผมนึกตำหนิทางผู้บริหารโรงแรมเซนทารา ว่าละเลยไม่รู้จักเอาใจใส่การรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจโรงแรมของตน  แบบเดียวกับที่ผมไปพบที่ชุมพร ตาม บันทึกนี้

ชายหาดส่วนที่เป็นของโรงแรมเซนทารา เป็นเสมือนหาดส่วนตัว  เพราะมาถึงได้ทางเรือ หรือเดินข้ามเขามาเท่านั้น  และเขามียามคอยห้ามคนที่ไม่ใช่แขกพักที่โรงแรมเข้ามา  เสน่ห์ของชายหาดนี้คือเกาะรูปร่างแปลกๆ

เช้าวันที่ ๒๔ ผมเดินออกกำลังกายภายในบริเวณโรงแรม  ได้ชื่นชมต้นไม้ และบรรยากาศ และได้ถ่ายภาพสวยงามให้ความสดชื่นอย่างยิ่ง

 

วิจารณ์ พานิช

๒๔ เม.ย. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/538890

 

สังคมไทยอ่อนแอทางปัญญา

พิมพ์ PDF

สังคมไทยอ่อนแอทางปัญญา โดย ดร.เสรี พงศ์พิศ

จากบทความเรื่อง: ปรัชญาชีวิต (๒๖) สังคมไทยอ่อนแอทางปัญญา

 

“สังคมไทยอ่อนแอทางปัญญา มีความรู้น้อย ใช้ระบบอำนาจเป็นใหญ่เนื่องจากขาดความรู้ เช่น ระบบราชการ คือ ตัวแทนขององค์กรเชิงอำนาจ มีแต่เน้นกฎหมาย ระเบียบ การสั่งการและการควบคุม ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด เพราะสังคมไทยปัจจุบันมีปัญหาที่ซับซ้อน และยากต่อการแก้ไขมากขึ้น”

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี วิเคราะห์สังคมไทยมานานหลายปีว่า ปัญหาสำคัญคือความอ่อนแอทางปัญญา เพราะขาดการเรียนรู้ จึงมักใช้แต่อำนาจและเงิน ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เนื่องจากสังคมวันนี้มีความซับซ้อน ถ้าไม่ใช่ข้อมูล ความรู้และปัญญาก็แก้ไม่ได้

การปฏิรูปการศึกษาก็มีปัญหา เพราะเอาเข้าจริงก็ไม่ได้ปฏิรูปการศึกษา แต่ปฏิรูปกระทรวงหรือโครงสร้างมากกว่าปฏิรูปความคิด หรือกระบวนทัศน์ ซึ่งต้องปรับวิธีคิด การจัดการ กระบวนการเรียนรู้ เนื้อหาและวิธีการ

การปฏิรูปโดยการยกให้เป็นงานของคณะกรรมการปฏิรูป โดยประชาชนทั้งประเทศไม่มีส่วนร่วมไม่อาจก่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาได้ เพราะงานนี้ต้องการพลังใจพลังความคิดและความร่วมมือของคนไทยทั้งชาติจึงจะสำเร็จ

ท่านเคยแนะนำว่า ควรเริ่มการปฏิรูปด้วยการผนึกพลังของคนไทยทั้งชาติ ตั้งเป้าประสงค์ร่วมกันชัดเจนว่า “เราจะช่วยกันปฏิรูปการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ของคนไทย” ก็จะเกิดพลังทางสังคมและพลังทางปัญญาอย่างมหาศาล การปฏิรูปจึงจะสำเร็จได้

ท่านวิจารณ์การศึกษาว่า มีแต่โรงสอน ไม่มีโรงเรียน หรือสอนมากแต่เรียนน้อย อาจารย์ก็มักสอนอะไรแบบ “ลอยอยู่ในอวกาศ” หรือบอกว่า “ที่ผ่านมา วิชาการได้ทอดทิ้งชุมชน การศึกษาที่ผ่านมามิได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับสังคม ดังนี้วิชาการจึงอ่อนแอทางปัญญา เพราะไม่รู้จริงกับปัญหา”

นักวิชาการส่วนใหญ่ไม่ติดดิน ไม่ติดกับปัญหาและสถานการณ์ที่เป็นจริง ไม่เข้าใจชีวิต ปัญหา ความคิด ความฝัน ความใฝ่ฝันและความต้องการของผู้คน ของชุมชน ของสังคม ยังสอนตามตำรา และไม่สามารถหาคำตอบใหม่ๆ ที่ใกล้ความเป็นจริงได้ เพราะยังคิดอยู่แต่ในกรอบ หลายครั้งก่อให้เกิดปัญหาใหม่ด้วยซ้ำ งานวิจัยก็กลายเป็นขยะที่ทำเสร็จก็เก็บเข้าตู้ ตั้งไว้บนหิ้ง

ความทุกข์ความสุขเป็นอะไรที่ไม่สามารถรู้ได้ด้วยเหตุผล แต่รู้ได้ด้วยใจ ด้วยประสบการณ์

ขอบคุณข้อมูลจาก โฮมเพจ ดร.เสรี พงศ์พิศ Sunday, 27 November 2005

http://www.phongphit.com/content/view/251/54/

 


หน้า 477 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5643
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8741857

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า