Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

คัดค้านร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556

พิมพ์ PDF

จดหมายเปิดผนึกร่วมคัดค้านร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556

โปรด Click http://thaisocialwork.files.wordpress.com/2013/04/2013-04-218_fax-022951154.pdf เพื่อ download ฉบับจริงแล้วลงนามคัดค้านร่างผังเมืองดังกล่าว ส่งกลับมาทาง Fax 02.295.1154 หรือ Email: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน ภายในวันอังคารที่ 30 เมษายน 2556 นี้นะครับ

10 ถ.นนทรี ยานนาวา กทม. 10120

25 เมษายน 2556

เรื่อง      คัดค้านร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556

เรียน     น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

นายประชา ประสพดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

พลตำรวจโท ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

พลเอก พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

นายฐานิสร์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย

นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

เนื่องด้วยขณะนี้กรุงเทพมหานครพยายามเสนอต่อกระทรวงมหาดไทยเพื่อผลักดันร่างผังเมืองฉบับใหม่ออกมาประกาศใช้ แต่ร่างดังกล่าวมีข้อบกพร่องมากมาย หากนำมาใช้จะสร้างปัญหามากกว่าจะช่วยสนับสนุนการวางแผนพัฒนาเมืองให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย  กระผมจึงขอคัดค้านร่างดังกล่าวดังนี้ และขณะนี้กำลังขอความร่วมมือกับประชาชนในการคัดค้านร่างฉบับนี้และจะส่งรายชื่อมาให้ท่านต่อไป:

1. ในพื้นที่ธุรกิจใจกลางเมืองถูกจำกัดการก่อสร้างทั้งที่ควรให้พัฒนาในแนวสูง เพื่อใช้ที่ดินอย่างคุ้มค่าและเก็บภาษีได้มาก  กรุงเทพมหานครมักอ้างว่ามีไฟไหม้อาคารขนาดใหญ่บ่อยครั้ง ซึ่งไม่จริง  ในช่วง พ.ศ.2550-5 อาคารเหล่านี้ เกิดเพลิงไหม้ลดลงจาก 9% เหลือ 1% อาคารเหล่านี้มีระบบป้องกันไฟไหม้ที่ดี กรุงเทพมหานครควรปรับปรุงประสิทธิภาพในการดับเพลิง แทนที่จะนำมาอ้างเพื่อกีดขวางการพัฒนา

2. ร่างผังเมืองนี้ทำให้เมืองขยายออกไปในแนวราบ รุกทำลายสิ่งแวดล้อมและพื้นที่เกษตรกรรม สิ้นเปลืองงบประมาณขยายสาธารณูปโภคไม่สิ้นสุด ยังทำให้ประชาชนเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก ซึ่งเป็นการผลักภาระและปัญหาไปสู่จังหวัดอื่น เช่น

2.1 ในพื้นที่ ย.3 ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัยหลายร้อยตารางกิโลเมตรและมีอะพาร์ตเมนต์ให้บริการผู้มีรายได้น้อยมากมาย กรุงเทพมหานครกลับห้ามสร้างอะพาร์ตเมนต์ขนาดเกิน 1,000 ตารางเมตรหากถนนผ่านหน้าที่ดินมีความกว้างไม่ถึง 30 เมตร  ทั้งที่รู้ว่าในความเป็นจริงไม่มีซอยใดที่จะมีความกว้างเช่นนี้

2.2 ในพื้นที่ ย.2 ห้ามสร้างทาวน์เฮาส์ ทั้งที่บริเวณเหล่านี้มีทาวน์เฮาส์สำหรับผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อยอยู่มากมาย  ดังนั้นต่อไปประชาชนโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลางต้องระเห็จออกไปอยู่นอกเมือง โดยตามรอยตะเข็บเขตสมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี กลับมีโครงการใหญ่ๆ ประเภทอาคารชุดและทาวน์เฮาส์มากมาย เพราะไม่สามารถสร้างในเขตกรุงเทพมหานครได้

3. ตามร่างผังเมืองใหม่ก็ไม่ได้กำหนดให้มีแผนการป้องกันน้ำท่วมอย่างเป็นรูปธรรมเพราะไม่ได้ทำถนนและเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ระบบเปิดปิดน้ำกันน้ำทะเลหนุน และระบบคลองระบายน้ำใหม่ๆ เป็นต้น ยิ่งกว่านั้นกรุงเทพมหานครควรดำเนินการอย่างมีบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น

4. ผังเมืองที่ออกมาไม่สอดคล้องกับความจริงในหลายประการ เช่น
4.1 ถนนบางเส้นไม่จำเป็นต้องสร้าง เช่น ถนน ง.2 หนองจอก เพราะสภาพเป็นทุ่งนา แต่บางเส้นเล็กและคดเคี้ยวกลับไม่ตัดถนน เช่นทางเข้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตบางขุนเทียน
4.2 กำหนดการใช้พื้นที่ไม่เป็นจริง เช่น พื้นที่พาณิชยกรรม พ.1-12 ถนนนวมินทร์กลับมีสภาพจริงเป็นหมู่บ้านจัดสรร หรือพื้นที่ อ.1-4 ถนนเทียนทะเลที่กำหนดให้เป็นเขตอุตสาหกรรมเฉพาะ 200 เมตรแรกที่ติดถนน (ฝั่งซ้าย) และ ตลอดแนวคลองที่ขนานกับถนน (ฝั่งขวา)  แต่ในความเป็นจริง พื้นที่โดยรอบก็มีโรงงานมากมาย  ผังเมืองจึงวางอย่างละเอียดรอบคอบกว่านี้

5. แผนก่อสร้างและปรับปรุงถนน 140 สายตามร่างผังเมืองรวมนั้น หลายสายก็วาดไว้ตั้งแต่ผังเมืองฉบับปัจจุบันที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ.2549 แต่ยังไม่ได้ก่อสร้าง  บางสายก็วาดต่างไปจากเดิม  ที่สำคัญก็คือ งบประมาณก่อสร้างถนนตามที่วาดไว้ยังไม่มีการจัดหาไว้ ซึ่งแสดงถึงความไม่แน่นอน

6. ผังเมืองกรุงเทพมหานครขาดการพัฒนาสวนสาธารณะ ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่เพียง 4.65 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับมหานครทั่วโลก  ที่สำคัญพื้นที่สวนสวนสาธารณะ 26 ตารางกิโลเมตรยังรวมสวนในหมู่บ้านเอกชน เกาะกลางถนน บึงน้ำ พื้นที่ว่างของกองทัพ ฯลฯ เข้าไปด้วย  นอกจากนี้สวนสาธารณะส่วนมากจะสร้างในเขตรอบนอกซึ่งมีความจำเป็นน้อย  ไม่มีการวางแผนสร้างสวนสาธารณะใจกลางเมือง  ดังนั้นการกล่าวอ้างว่าผังเมืองจะทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองสีเขียว (Green City) จึงไม่จริง

7. ร่างผังเมืองนี้พยายามเสนอข้อดีบางประการ ซึ่งไม่เป็นจริง เช่น

7.1 จะเพิ่มการควบคุมกิจกรรมที่ขัดต่อสุขลักษณะ 5 กิจกรรม เช่น สนามแข่งม้า สนามแข่งรถ และสนามยิงปืนนั้น ในความเป็นจริงไม่ได้มีผลในทางปฏิบัติอยู่แล้ว เพราะแทบไม่มีการขออนุญาต

7.2 การแจก "แจกโบนัส 5-20%" คือให้สร้างเพิ่มเติมกว่ากฎหมายปกติกำหนด ในรัศมี 500 เมตรรอบสถานีรถไฟฟ้านั้น ก็ใช้ได้เฉพาะสถานีที่สร้างเสร็จแล้ว ไม่ใช่ที่กำลังก่อสร้างอยู่ ดังนั้นจึงไม่มีผลอะไร

7.3 การพัฒนาศูนย์เมืองย่อย เช่น ในย่านมีนบุรีที่แนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู-สีส้มมาบรรจบกัน ย่านพระรามที่ 2 ใกล้กับถนนกาญจนาภิเษก และย่านรามอินทราใกล้จุดตัดถนนรัชดา-รามอินทรา  เป็นต้น  หากร่างผังเมืองนี้ได้ประกาศใช้ในปีนี้และหมดอายุในปี 2560 ก็ยังไม่แน่ว่ารถไฟฟ้าทั้งสองสายจะได้สร้างเสร็จ

โดยสรุปแล้ว อาจกล่าวได้ว่าร่างผังเมืองนี้ เป็นการแก้ปัญหาเมืองแบบซุกปัญหาไว้ใต้พรม เพราะแทนที่จะจัดระเบียบการใช้ที่ดินที่ดี กลับปัดปัญหาออกไปนอกเมือง  นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ประชากรของกรุงเทพมหานครลดลงในระยะหลายปีที่ผ่านมา เพราะประชาชนไม่สามารถอยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครได้ เพราะความพยายามทำเมืองให้หลวม  กรุงเทพมหานครควรคิดใหม่ ทำเมืองให้หนาแน่น (High Density) แต่ไม่แออัด (Overcrowded) แต่ปัจจุบันกลับทำในทางตรงกันข้าม

ประเด็นหนึ่งที่กรุงเทพมหานครเองไม่สามารถจะแก้ปัญหาของเมืองและวางแผนการพัฒนาเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ เพราะขณะนี้ความเป็นเมืองของกรุงเทพมหานครได้ขยายออกนอกเขตบริหารของกรุงเทพมหานครแล้ว  ยิ่งกว่านั้นกรุงเทพมหานครยังขาดการประสานแผนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้ผังเมืองกับการขยายตัวของสถานศึกษา พื้นที่ปกครอง กิจการไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ถนน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่ราคาประเมินของทางราชการ ก็ไม่ได้ยึดโยงกับผังเมือง

ดังนั้นกระทรวงมหาดไทยในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการวางผังเมืองจึงควรดำเนินการวางแผนภาคมหานคร ซึ่งรวมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  และให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมกันวางผังนี้ให้เป็นแผนแม่บทในด้านการปกครอง สาธารณูปโภคและอื่นๆ  ในระหว่างนี้ให้ประกาศใช้ผังเมืองฉบับเดิมไปก่อน และให้มีกรอบเวลาการทำผังภาคมหานครให้แล้วเสร็จใน 2 ปี  สำหรับสาระสำคัญดังนี้:

1. ในพื้นที่เขตธุรกิจชั้นในของกรุงเทพมหานคร ควรอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่และสูงพิเศษ แต่ให้เว้นพื้นที่ว่างให้มากเพื่อให้เกิดพื้นที่สีเขียวใจกลางเมือง  แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ให้สิทธิพิเศษ เพราะกรุงเทพมหานครควรจัดเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับการก่อสร้างอาคารได้สูงหรือใหญ่พิเศษ เพื่อนำเงินไปเข้ากองทุนพัฒนาระบบคมนาคม เช่น รถไฟฟ้ามวลเบา ผ่านเข้าสู่ถนนสายต่างๆ เพื่อการระบายการจราจร

2. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ประสาน

2.1 กับกิจการไฟฟ้า ประปา ทางหลวง รถไฟฟ้า ช่วยกันน่างผังเมืองนี้เป็นแผนแม่บทของหน่วยงานของตน  ส่วนในพื้นที่อนุรักษ์ชนบทจะห้ามก่อสร้างถนนหรือขยายไฟฟ้า ประปาไปบริเวณดังกล่าว

2.2 กับการเคหะแห่งชาติและหน่วยงานอื่นโดยควรใช้วิธีจัดรูปหรือเวนคืนที่ดินชานเมือง เช่น เขตหนองจอก ราว 10,000 – 20,000 ไร่ สร้างเมืองใหม่แบบปิดล้อมแต่มีระบบขนส่งมวลชนเข้าสู่ใจกลางเมืองโดยตรง แล้วจัดสรรที่ดินที่มีสาธารณูปโภคครบ (serviced land) เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ศูนย์ธุรกิจ เป็นต้น

2.3 กับกรมธนารักษ์เพื่อนำที่ดินใจกลางเมืองมาพัฒนาเป็นศูนย์ธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจมีการรวมศูนย์ สาธารณูปโภคไม่ต้องขยายตัวอย่างไร้ขอบเขต เป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจด้วยกันเองในพื้นที่

2.4 กับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดสร้างนิคมให้โรงงานได้ใช้ในราคาถูกเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม และเพื่อห้ามการก่อสร้างโรงงานตามท้องนาหรือย่านชานเมืองเช่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาและขอขอบพระคุณท่านมา ณ โอกาสนี้

ขอแสดงความนับถือ

ดร.โสภณ พรโชคชัย

โทร.0.2295.3905 หรือ อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

ผมได้รับ e-mail จาก ดร.โสภณ พรโชคชัย ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2556 แต่เนื่องจากติดภาระกิจจึงยังไม่มีเวลาศึกษา เมื่อมาอ่านดู ก็เห็นว่าเป็นเรื่องของส่วนร่วม และเป็นจดหมายเปิดผนึกถึงผู้เกี่ยวข้อง จึงนำมาเผยแพร่เพื่อให้คนที่รู้จริงและคนที่ไม่รู้อย่างผมได้รับทราบไว้เป็นความรู้ในเบื้องต้น ส่วนเหตุผลฝ่านไหนจะถูกต้อง คงต้องติดตามดูครับ

 

 

การปกป้องพระมหากษัตริย์ เป็นหน้าที่ของคนไทย

พิมพ์ PDF

บทความนี้.. นำมาให้อ่านเพ่ือการเรียนรุ้ ปลุกจิตสำนึกของ
คนไทยทุกคน...ห้้ามแสดงความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสม ....

การปกป้องพระมหากษัตริย์ เป็นหน้าที่ของคนไทย
โดย พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร

ผมขอเว้นรายงานการหนีน้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเรียนให้ท่านผู้อ่านทราบเหตุการณ์ที่ผมเห็นสำคัญอย่างยิ่ง ที่เพิ่งเกิดขึ้นและผ่านไปเมื่อบ่ายวันศุกร์ที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔ ที่แล้วนี้เอง

เหตุการณ์ที่ว่านี้คือ การชุมนุมฟังการเสวนาเรื่อง “ธรรมดีที่พ่อทำ : เราจะช่วยกันปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ได้อย่างไร ?” ที่หอประชุมพุทธคยา ของบริษัท ไดเร็คมีเดียกรู๊ป (Direct Media Group) ของ คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย ซึ่งตั้งอยู่บนชั้นที่ ๒๒ ของอาคารอมรินทร์พลาซา ที่ถนนเพลินจิต ในกรุงเทพมหานคร นอกจากผมแล้ว ท่านผู้อื่นซึ่งได้รับเชิญให้ไปร่วมเสวนาครั้งนี้ด้วยก็ได้แก่ คุณประมวล รุจนะเสรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล นักวิชาการสื่อสารมวลชนผู้เป็นที่รู้จักกันดี พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และคุณดนัยเอง

ที่ผมบอกว่าเป็นเหตุการณ์ที่ผมเห็นว่าสำคัญอย่างยิ่ง ก็เพราะว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันที่เรามหาชนคนไทยเทิดทูนเคารพและสักการะมาแต่โบราณกาล

ผมใช้คำว่า “มหาชนคนไทย” โดยเจตนาให้หมายถึงคนไทยส่วนใหญ่ และเพราะข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีคนไทยส่วนน้อยไม่ปรากฏจำนวน ที่มีพฤติการณ์แสดงชัดว่า นอกจากจะไม่เทิดทูนเคารพสักการะพระมหากษัตริย์แล้ว ยังลบหลู่ จาบจ้วง ให้ร้าย และดูหมิ่นอย่างต่ำช้า เช่น ขานพระนามด้วยผรุสวาทหรือคำหยาบคาย หรือเขียนภาพลามกทับพระบรมฉายาลักษณ์และพระฉายาลักษณ์ เป็นต้น

น่าสังเกตว่าพฤติการณ์ของคนไทยส่วนน้อยที่ว่านี้ เริ่มขึ้นหลังจากที่มีรัฐประหารในเดือนกันยายนปี ๒๕๔๙ แล้วก็ดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และน่าสังเกตด้วยว่า นอกจากการดูหมิ่น ลบหลู่ จาบจ้วง ล่วงเกินพระมหากษัตริย์ จะกระทำโดยผู้ไม่เปิดเผยนาม โดยผ่านทาง “สื่อสังคม” เช่น Facebook, YouTube และ Twitter แล้ว

ยังมีบุคคลผู้เป็นที่รู้จักในสังคมและวงการเมือง ที่แสดงพฤติการณ์ดูหมิ่นและใส่ความพระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผยด้วย

พฤติการณ์กล่าวร้าย ดูหมิ่น และลบหลู่พระมหากษัตริย์นี้ ดำเนินมาโดยไม่หยุดยั้ง และแม้ทางราชการจะพยายามระงับทั้งโดยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ และด้วยการสืบสวนจับกุมเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องร้องให้ศาลลงโทษ แต่ก็ไม่ปรากฏเป็นข่าวนัก เพราะสื่อไม่กล้ารายงานข่าว คงเป็นเพราะกลัวจะเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นไปด้วย

อาจเป็นด้วยเหตุนี้ มหาชนคนไทยจึงเงียบ ไม่มีปฏิกิริยา จะมีอยู่บ้างก็เป็นส่วนน้อยที่ตอบโต้ด้วยแสดงผรุสวาทออกมากทางสื่อสังคมเช่นเดียวกัน

และยังมีด้วยที่บางคนแสดงความเห็นเชิงสันติหรืออริยะ ว่าไม่ควรตอบโต้ แต่ควรปล่อยให้คนชั่วรับกรรมของตนเองในที่สุด

ผมเชื่อเรื่องกรรม และเชื่อว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นธรรมิกราช ทรงทั้งศีลและทั้งธรรมอย่างต่อเนื่องไม่เคยหยุดยั้ง ผมเชื่อว่าธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม และในฐานะที่เคยรับใช้พระยุคลบาทอย่างใกล้ชิดมานานในตำแหน่งนายตำรวจราชสำนักประจำ ผมจึงเชื่อด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงหวั่นไหวหรือวิตกกังวลที่ผู้ใดจะให้ร้าย หรือลบหลู่พระยุคลบาท แต่ทรงมั่นอยู่ในอุเบกขาธรรม

แต่ในฐานะที่ผมเป็นคนไทยคนหนึ่ง ที่รู้ว่าเมืองไทยอันเป็นที่เกิดและที่ตายของปู่ย่าตายายของผมหลายชั่วโคตร เป็นไทยอยู่ได้ ก็ด้วยพระบรมเดชานุภาพและพระบารมีของพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และพระองค์ต่างๆ หลายครั้งหลายหนในประวัติศาสตร์ที่เมืองไทยเกือบเสียเอกราชและตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ แต่ก็พ้นจากเงื้อมมือของต่างชาติ และดำรงอิสรภาพและเอกราชมาได้ถึงปัจจุบันด้วยพระปรีชาญาณของพระมหากษัตริย์

โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบัน คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์มาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๖๕ ปี มีแต่ทรงอุทิศพระวรกายและพระราชหฤทัยให้แก่คนไทย และเมืองไทยอย่างไม่มีเงื่อนไข

ทรงพระราชอุตสาหะบากบั่นคิดค้นหาแต่วิธีที่จะให้ประชาชนไทยอยู่ดีกินดี ทรง “ครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” จริงๆ ตามปฐมบรมราชโองการที่พระราชทานไว้ ทรงงานหนักและไม่ทรงพักผ่อน จนกระทั่งในขณะนี้พระอนามัยเสื่อมโทรมลงและทรงพระประชวร

เพราะรู้อย่างนี้ ผมจึงไม่สามารถจะวางเฉย ปล่อยให้คนชั่วคนพาลที่เนรคุณอกตัญญูต่อบ้านเมือง รังแกพระยุคลบาทได้ ผมจึงรับเชิญด้วยความเต็มใจ ไปร่วมเสวนากับคุณดนัย และท่านผู้อื่นทั้งสี่ท่านเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านไป ผมไปเพื่อร่วมชี้แจงให้ท่านผู้ฟังการเสวนาทราบ และเข้าใจปัญหา เข้าใจในอันตรายที่กำลังเกิดแก่พระมหากษัตริย์ ซึ่งหมายถึงประเทศไทย

และเพื่อเชิญชวนให้ท่านผู้ฟังร่วมแรงร่วมใจกันปกป้องพระมหากษัตริย์จากการถูกทำลาย

วิธีป้องกันที่ผมเห็นว่าสมควรทำนั้น คือต่อสู้ความเท็จด้วยความจริง ด้วยการเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ต่อเนื่องและกว้างขวางออกไปโดยไม่หยุดยั้ง บางท่านอาจจะคิดว่าตนมีความสามารถจำกัด เพราะพ้นราชการมาแล้ว หรือเพราะประกอบอาชีพในองค์กรหรือธุรกิจขนาดเล็ก ไม่มีเพื่อนร่วมงานมาก

หากนึกเช่นนี้ผมก็เห็นว่าท่านเข้าใจผิด เพราะทุกคนมีเวทีของตนเอง มีอิทธิพลมีอำนาจในแวดวงของตนเอง เป็นต้นว่าญาติพี่น้อง มิตรสหาย และครอบครัว และแม้แต่คนรับใช้ในบ้าน คนเหล่านั้นควรจะได้รับรู้ด้วยกันทั้งนั้น ในพระราชภารกิจอันหนักหนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงทำเพื่อคนไทยมาตลอดพระชนม์ชีพ

ในขณะเดียวกัน ผมก็เห็นว่าถึงเวลาแล้ว ที่เราจะต้องรวมแรงกายแรงใจยับยั้งหรือสกัดกั้นในทุกวิถีทาง มิให้คนพาลคนชั่วคนเนรคุณอกตัญญู แพร่ขยายพฤติการณ์โสมมของมันให้กว้างขวางออกไปได้ ด้วยการปฏิเสธไม่ยอมส่งต่อข้อความข่าวสารอันเป็นเท็จของมันต่อไปอีก แม้จะกระทำเพื่อประณามหรือตอบโต้ก็ตาม

หากพบเว็บไซต์ใดที่เผยแพร่ข้อความลบหลู่ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ก็ควรจะรายงานเจ้าหน้าที่ทราบ โดยโทรศัพท์ไปที่ ๐-๒๖๔๒-๗๐๓๓ ซึ่งเป็นหมายเลขของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และมูลนิธิอินเตอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย

หรือถ้ารู้ตัวผู้กระทำผิด ก็ควรจะแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบเพื่อจับกุมทันที

ขอเรียนว่า พฤติการณ์ของคนพาลคนชั่วเนรคุณ อกตัญญูพวกนี้ อุปมาเหมือนบาดแผลที่อาจจะแลดูเล็กน้อย แต่แท้จริงเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งที่ไม่อาจบำบัดได้เพียงแต่ด้วยการล้างหรือชำระแผลแล้วใส่ยาฆ่าเชื้อ แต่จะต้องรักษาให้ถูกวิธี แม้จะต้องทำด้วยการผ่าตัดเอาเนื้อร้ายนั้นออก หรือสกัดไว้มิให้ลุกลามออกไป

ช่วยกันป้องกันเมืองไทยเถอะครับ อย่าให้เชื้อโรคเนรคุณอกตัญญูมันลุกลามออกไปมากกว่านี้

 

วิ่งออกกำลังกาย

พิมพ์ PDF

คืนวันที่ ๒๔ มี.ค. ๕๖ ผมนอนค้างคืนที่ห้องพักรับรอง บี ๒๐๑  อาคารประสานใจ ๑  ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  โดยการร้องขอ  ไม่ไปนอนโรงแรมตามที่ท่านรองอธิการบดี รศ. ดร. จุฑามาศ ศตสุข เตรียมจัดให้  เพราะต้องการไปวิ่งออกกำลังกายตอนเช้าเพื่อรำลึกถึงบรรยากาศเก่าๆ สมัยทำงานที่ มอ. หาดใหญ่  ที่ผมเริ่มวิ่งออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกเช้ามืด ตั้งแต่อายุ ๔๐ ปี

เช้าวันที่ ๒๕ ผมตื่นโดยเสียงปลุกของนกกางเขนบ้าน  มาร้องเจื้อยแจ้วอยู่ข้างห้องนอน  เป็นบรรยากาศที่สดชื่นด้วยธรรมชาติที่ผมชอบ  ไปนอนโรงแรมในเมืองไม่มีธรรมชาติน่าชื่นชมเช่นนี้

ระหว่างนั่งพิมพ์บันทึกนี้ ก็ได้ยินเสียงนกปรอดหน้าขาวร้องโต้ตอบกัน สลับกับเสียงนกกางเขนบ้าน  และนกเขาเล็ก   ให้ความสดชื่นยิ่งนัก

เวลา ๖.๐๐ น. ฟ้าสาง ผมออกไปวิ่ง ไปทางถนนรอบอ่างน้ำ  และเข้าไปในหมู่บ้านเก่า ไปดูบ้าน ๓/๓ และ ๓/๔ ที่ผมเคยอยู่  พบว่าบ้านพักรุ่นแรกที่เป็นบ้านพักชั้นเดียวทรุดโทรมมาก  บางหลังถูกทิ้งร้าง บางหลังกำลังซ่อมแซมใหญ่

บ้านพักกลุ่ม ๓/ ถือเป็นบ้านที่ดีที่สุด มีอยู่ ๑๐ หลัง  สมัยที่ผมไปอยู่ใหม่ๆ ปี ๒๕๑๗ เขาหวงมาก  เรียกว่าบ้านพักศาสตราจารย์  แต่เขาก็จัดสรรให้ผมซึ่งตอนนั้นเป็นแค่ ผศ. และอายุแค่ ๓๒ เข้าพักที่บ้าน ๓/๓ ซึ่งทำเลที่ที่สุดหลังหนึ่ง  เพราะด้านหนึ่งติดป่า อีกด้านหนึ่งติดกับบ้าน ๓/๔ ซึ่งสมัยนั้น ศ. ดร. ประดิษฐ์ เชยจิตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พักอยู่  และต่อมา ผศ. นพ. ไสว ลิมปิเสฐียร กับพี่พิมล มาพักอยู่นานหลายปี แล้วย้ายออกไป  เพราะท่านย้ายกลับไปอยู่กระทรวงสาธารณสุข และได้ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่ไหนจำไม่ได้  จำได้ว่า ตำแหน่งสุดท้ายคือ ผอ. รพศ. ราชบุรี  เมื่อท่านย้ายออกไป เขาก็ปรับปรุงบ้าน ๓/๔ แล้วให้ผมย้ายไปอยู่ เพื่อปรับปรุงบ้าน ๓/๓ ซึ่งโดนปลวกกินอย่างรุนแรง  ในช่วงเวลา ๒๐ ปี ที่ครอบครัวผมทำงานที่ มอ. หาดใหญ่ เราจึงพักอยู่ที่บ้าน ๒ หลังนี้

ทั้งบ้าน ๓/๓ และ ๓/๔ ยังอยู่ดี  แต่บ้าน ๓/๖ กำลังซ่อมใหญ่  บ้านหลังนี้สมัยโน้น ศ. นพ. อาทร์ อาทรธุระสุข พักอยู่  ท่านเป็นหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โทปิดิกส์  ท่านเป็นโสด และจบแพทย์ศิริราชก่อนผม ๑๒ รุ่น   ท่านเป็นคนหนึ่งที่วิ่งออกกำลังกายเป็นประจำ  บางวันออกวิ่งดึกๆ ก็มี  สมัยนั้นผมเห็นเป็นของแปลก  แต่มารู้ตอนนี้ว่าท่านทันสมัยมาก ท่านรู้ว่าการวิ่งออกกำลังแบบ แอโรบิก ทำให้ร่างกายแข็งแรง  ท่านเพิ่งเสียชีวิตเมื่อไม่กี่เดือนมานี้

บ้าน ๓/๕ สมัยโน้นผู้พักอาศัยคือ รศ. นพ. จงดี - ศ. พญ. วิมล สุขถมยา และลูกสาว ๒ คน  อ. หมอจงดีเป็นหัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา และเคยเป็นรองคณบดี  ท่านจบแพทย์จากศิริราชก่อนผม ๖ รุ่น  ในปลายปี ๒๕๒๔ เมื่อตำแหน่งคณบดีคณะแพทยศาสตร์ว่าง ท่านไม่ยอมเป็นคณบดี  ผมจึงได้รับตำแหน่ง  สมัยโน้นคณะเพิ่งตั้งใหม่ๆ และคณบดีไม่ได้มาอยู่ประจำอย่างสมัยนี้  คนที่มาอยู่ประจำเป็นมือรองๆ จึงมีเรื่องระหองระแหงกันมาก  ผมเป็นคนรุ่นอายุน้อย แต่รับผิดชอบเท่าคนอื่น  คงจะมีคนหมั่นไส้ไม่น้อย  ต่อมา อ. หมอจงดี และวิมลย้ายกับไปอยู่เชียงใหม่อย่างเดิม  ท่านวางแผนซื้อไม้อย่างดีไว้สร้างบ้านที่เชียงใหม่

บ้าน ๓/๗ ผศ. นพ. ดิลก - ผศ. พญ. นพรัตน์ (ตู้จินดา) เปรมัษเฐียร กับลูกสาว (ผศ. พญ. นลินี เปรมัษเฐียร เป็นอาจารย์ที่ศิริราช) และลูกชาย นล เปรมัษเฐียร พักอยู่   ทั้ง ๒ ท่านย้ายมาจากคณะแพทยศาสตร์ มช.  พี่ดิลกเป็นอีกคนหนึ่งที่วิ่งออกกำลังกายเป็นประจำ   และชอบขี่รถมอเตอร์ไซคล์  ท่านเป็นหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์  และต่อมาย้ายไปทำงาน รพ. เอกชนที่กรุงเทพ

ผมระลึกชาติกลับไปเกือบ ๔๐ ปี  หวนกลับมาตอนนี้ สภาพลำธารที่หน้าฝนมีน้ำไหลมาจากเขาคอหงษ์ มาลงอ่างเก็บน้ำ ยังอยู่ในสภาพเดิม  เวลานี้เป็นหน้าแล้งอ่างเก็บน้ำ และลำธารแห้งขอดเหมือนสมัยก่อน  ผมวิ่งวนหมู่บ้านเก่า ๑ รอบ  พบคนรู้จัก ๒ คน  แล้ววนมาที่ถนนรอบอ่างน้ำทางทิศตะวันออก  ไปพบบริเวณอนุรักษ์ป่าอยู่บริเวณทิศตะวันออกของอ่างน้ำ  ผมชอบมากที่มีการอนุรักษ์พื้นที่ตรงนั้นไว้  วิ่งไปหน้าหมู่บ้านพักแพทย์ ซึ่งถือว่าเพิ่งสร้างใหม่ ประมาณปี ๒๕๒๓  แต่ไม่ได้วิ่งเข้าไปในหมู่บ้าน  วิ่งออกลู่วิ่งรอบอ่างน้ำด้านทิศใต้  มีคนจากหาดใหญ่มาทัก ว่าผมแก่ขนาดนี้แล้วยังวิ่งได้  และถามว่าทำไมไม่เห็นนานแล้ว

ผมวิ่งไปหยุดถ่ายรูปไป  รวมแล้วใช้เวลา ๑ ชั่วโมง เหงื่อโชกทีเดียว  ไม่ได้วิ่งจนเหงื่อโชกเช่นนี้นานแล้ว  ทำให้คิดถึงสมัยอยู่หาดใหญ่ ผมวิ่ง ๔๐ นาที ด้วยความเร็วมากกว่าที่วิ่งสมัยนี้  วิ่งเสร็จเหงื่อโทรมตัว และรู้สึกตัวตึงๆ ตลอดวัน

ตอนวิ่งผ่านด้านหลังคณะวิทยาศาสตร์  และตอนไปวิ่งในหมู่บ้านเก่า ผมได้กลิ่นดอกไม้หอม  สดชื่นยิ่งนัก  ตอนเช้ามืดที่ มอ. หาดใหญ่มีคนมาเดิน/วิ่ง มากกว่าสมัยผมอยู่หลายเท่าตัว  ทั้งคนแก่และหนุ่มสาว  สมัยผมอยู่ที่นี่คนวิ่ง/เดิน ตอนเช้ามีน้อย  แต่ตอนเย็นก็มีความมากพอๆ กับตอนเช้าที่ผมเห็นวันนี้  สมัยโน้นลู่วิ่งไม่ดีอย่างสมัยนี้  ตอนนี้มีลู่วิ่งอย่างดีรอบอ่าง  แยกจากถนนสำหรับรถ   สภาพทั้งหมดนี้ บอกผมว่า สังคมที่นี่ผู้คนสนใจออกกำลังกายมากกว่าสมัยก่อน  น่าดีใจ  เพราะเป็นวิธีสร้างเสริมสุขภาพที่ง่ายและได้ผลดีที่สุด  หากทำจนเป็นนิสัย ก็จะมีคุณต่อชีวิตเป็นอย่างยิ่ง


วิจารณ์ พานิช

๒๕ มี.ค. ๕๖

ห้องพักรับรอง บี ๒๐๑  อาคารประสานใจ  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์





บริเวณอ่างน้ำ

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/536863

 

การเรียนรู้บูรณาการพลังสาม

พิมพ์ PDF

การเรียนรู้บูรณาการพลังสาม : หัวใจอุดมศึกษา : 6 ประสบการณ์ การใคร่ครวญ และการเปลี่ยนแปลงจากภายใน

 

บันทึก ๒๐ ตอนนี้ ได้จากการตีความหนังสือ  The Heart of Higher Education : A Call to Renewalเขียนโดยผู้มีชื่อเสียง ๒ ท่านคือ Parker J. Palmerและ Arthur Zajonc ซึ่งเมื่อผมอ่านคร่าวๆ แล้ว ก็บอกตัวเองว่า  นี่คือข้อเสนอสู่การเรียนรู้เพื่อเป็นคนเต็มคน ที่มี “พลังสาม” เข้มแข็ง คือ สมอง ใจ และวิญญาณ (head, heart, spirit)  หรือพูดด้วยคำที่ฮิตในปัจจุบันคือ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากภายในตน (Transformative Learning)

แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเน้นเสนอการเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมศึกษา  แต่ผมมีความเชื่อว่าต้องใช้กับการศึกษาทุกระดับ  รวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต  และตัวผมเองก็ต้องการนำมาใช้ฝึกปฏิบัติเองด้วย

ผมตั้งเป้าหมายในการอ่านและตีความหนังสือเล่มนี้  ออกบันทึกลง บล็อก ชุด เรียนรู้บูรณาการพลังสาม ว่า ต้องการเจาะหาแนวทางทำให้จิตตปัญญาศึกษาเข้าสู่การศึกษากระแสหลัก  เพื่อให้คนไทยมีทักษะจิตตภาวนาบูรณาการอยู่ในทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑  เป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต

การเรียนรู้บูรณาการ (สมอง ใจ และวิญญาณ) พัฒนา ๓ ด้านไปพร้อมๆ กัน  และส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Integrative Learning  ในบางที่เรียกว่า Transformative Learning ซึ่งแปลเป็นไทยได้ ๒ แบบ ว่า (๑) การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน  คือเปลี่ยนจากติดสัญชาตญาณสัตว์ เป็นมีจิตใจสูง ซึ่งมนุษย์ทุกคนบรรลุได้   บรรลุได้ในฐานะบุคคลทางโลก ไม่ต้องเข้าวัด หรือไม่ต้องบวช  (๒) เป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง หรืองอกงาม ภายในตน  ตรงกันข้ามกับการเรียนรู้แบบรับถ่ายทอดความรู้มาจากภายนอก

ในบทที่ ๕ ของหนังสือชื่อบทคือ Experience, Contemplation, and Transformation  ผู้เขียนคือ Arthur Zajonc  เป็นเรื่องการเข้าสู่คุณค่าที่แท้จริงของการศึกษา

รูปแบบของการศึกษาที่ใช้กันในปัจจุบัน ไม่ทำให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์เต็มที่  ไม่ทำให้เข้าถึงคุณค่าที่แท้จริงของการศึกษา คือการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน และการเปลี่ยนแปลงแบบงอกงามขึ้นภายในตน

การศึกษาในปัจจุบัน ละเลยมิติด้าน จิตวิทยาพัฒนาการ (developmental psychology), ความยืดหยุ่นของสมอง หรือระบบประสาท (neuroplasticity), และจิตสำนึกที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์สองทาง (intersubjective formation of consciousness)  เราไม่ได้มองนักเรียนนักศึกษาเป็นมนุษย์ที่กำลังเจริญงอกงาม  แต่หลงมองเป็นภาชนะสำหรับรับถ่ายทอดความรู้

การเรียนรู้แบบที่ใช้กันในปัจจุบัน เรียกว่าแบบรับถ่ายทอดความรู้ (informative learning)  แต่แบบที่เป็นเป้าหมายของหนังสือเล่มนี้คือ แบบเปลี่ยนแปลงภายในตนเอง (transformative learning)

ศ. ซาย้องค์ อ้างถึงพัฒนาการทางจิตวิทยาการเรียนรู้ ๖ ขั้นตอน ที่เสนอโดย Robert Kegan ได้แก่ the incorporative stage (ขั้นตอนที่ ๐), the impulsive stage (ขั้นตอนที่ ๑), the imperial stage (ขั้นตอนที่ ๒), the interpersonal stage (ขั้นตอนที่ ๓), the institutional stage (ขั้นตอนที่ ๔) และ the inter-individual stage (ขั้นตอนที่ ๕)  โดยที่ ๓ ขั้นตอนหลังเป็นการเรียนรู้ของผู้ใหญ่

นศ. เข้าเรียนมหาวิทยาลัย โดยมีพัฒนาการถึงขั้นที่ ๓  ซึ่งอาจเรียกว่า มีพัฒนาการถึง Social Mind (interpersonal stage)  ซึ่งหมายความว่า นศ. ได้สร้างความรู้ความเข้าใจภายในตนด้าน โครงสร้างการเรียนรู้ (cognitive structures), สุนทรียะ, ประเพณี, ข้อกำหนดความประพฤติ, และความคาดหวังของผู้คนต่อตน  ทำให้ความคิดและความประพฤติของ นศ. แต่ละคนสะท้อนกระบวนการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงภายใน และระบบศีลธรรม ที่นำไปสู่การแสวงหาความหมายต่อโลก และต่อชีวิต

นศ. ที่พัฒนาการทางจิตวิทยา ก้าวหน้าถึงขั้นที่ ๓ จะอยู่ร่วมกับผู้คนได้อย่างไม่ยากลำบาก  แต่พัฒนาการของ นศ. ยังไม่ถึงที่สุด  ยังต้องพัฒนาไปให้ถึงขั้นตอนที่ ๔ คือ Self-Authoring Mind   คือมีความสามารถคัดเลือกปรับแต่งความคิดและความรู้ที่หลากหลาย นำมาสร้างเป็นความรู้ของตน  ระหว่างครึ่งถึงสองในสามของคน พัฒนาไม่ถึงขั้นตอนที่ ๔ นี้  โดยที่จริงๆ แล้วอุดมศึกษาควรมีความรับผิดชอบ เอื้อให้บัณฑิตทุกคนบรรลุการพัฒนาตนถึงระดับนี้  ซึ่งก็คือ ระดับที่กำกับดูแลกระบวนการเรียนรู้ของตนเองได้

และในที่สุดเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย คือขั้นตอนที่ ๕ คือ Self-Transforming Mind  ซึ่งก็คือสภาพที่ บุคคลนั้นมีข้อคิดเห็นของตนเอง ต่อเรื่องต่างๆ  และข้อคิดเห็นนั้นมีได้หลายแง่มุม รวมทั้งอาจมีแง่มุมที่ขัดกันเอง  และที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาละเทศะ

คือในขั้นตอนที่ ๕ คนเราจะเสมือนมีหลายตัวตนในคนๆ เดียว  มองความขัดแย้งเป็นความยึดติดกับแนวคิดแบบเดียว  อยู่กับกระบวนการเปลี่ยนแปลงตนเอง (transformative process)  มากกว่าอยู่กับผลของการพัฒนาตัวตน (formative product)  Kegan บอกว่า มีคนจำนวนน้อยมาก ที่พัฒนาได้ถึงขั้นนี้

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม  การเรียนรู้ผ่านปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จึงเป็นวิธีเรียนรู้ที่ทรงพลังที่สุด  นี่คือที่มาของ การเรียนเป็นทีม  ทั้งใน PBL ของ นศ./นร. และใน PLC ของครู


กระบวนการเรียนรู้แห่งการเปลี่ยนแปลงภายในตน

กระบวนการเรียนรู้ที่ใช้กันในปัจจุบันอ่อนแอ และแยกส่วนเกินไป ที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ในระดับที่บูรณาการและลึกซึ้งไปถึงมิติด้านจิตใจ  เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายในตน อย่างที่เสนอโดย Kegan, Mezirow, Kohlberg, และนักวิชาการท่านอื่นๆ

การศึกษาต้องเปลี่ยนแปลงในระดับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ จากเรียนวิชาแยกส่วน เป็นเรียนโลกที่ซับซ้อน  คือเปลี่ยนจากกระบวนทัศน์ simple fragments  สู่กระบวนทัศน์ complex systems  นศ. ต้องได้เรียนรู้ภายใต้หลักการของความเป็นจริงที่ซับซ้อน  ไม่ใช่เพียงภายใต้สาระวิชาแยกส่วน อย่างที่ใช้กันในศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐

การเปลี่ยนแปลงภายในตนที่เป็นเป้าหมายของการศึกษา มองในมุมหนึ่ง ก็คือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของผู้เรียน นั่นเอง  โดยที่การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดอย่างช้าๆ  ไม่สามารถเกิดได้จากการเรียนคาบเดียวหรือครั้งเดียว  แต่เรียนได้โดยวิธี “ใส่ใจ”  นำเอาข้อสงสัย ประสบการณ์  เข้ามาใส่ไว้ในใจ  นำไปทดลองใช้ในการฝึกฝนตนเองจากการลงมือปฏิบัติ เพื่อทำโครงงาน  และในการคิดไต่ตรอง (AAR)  ในที่สุด “คำตอบ” หรือการบรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้ ก็จะมาเอง

การเรียนรู้เพื่อบรรลุขั้นตอนที่ ๕ ของ Kegan คนเราต้องฝึก “เอาใจเขามาใส่ใจเรา”  หรือเห็นอกเห็นใจคนอื่น ที่อยู่ในฐานะ หรือสถานการณ์ แตกต่างจากตน (empathy)  นั่นคือต้องฝึกจินตนาการและฝึกเห็นอกเห็นใจคนอื่นไปพร้อมๆ กัน

คนที่บรรลุ Self-Transforming Mind เข้าถึงสภาพที่มีหลายมิติ และมีความสามารถเปลี่ยนแปลงปรับตัวได้ ของมนุษย์


การเรียนรู้(จาก)ประสบการณ์

การเรียนรู้(จาก)ประสบการณ์ (Experiential Learning) ในที่นี้ มีความหมายที่ลึกมาก   ไม่ใช่การเรียนรู้จากประสบการณ์แบบที่เราแยกตัวออกจากประสบการณ์  แต่เป็นการเรียนรู้ในสภาพที่ตัวเรากับประสบการณ์หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว  และเรา “สัมผัส” ปรากฏการณ์นั้นจากภายใน สมอง ใจ และวิญญาณ ของเรา  และจากประสบการณ์เช่นนั้น เราเกิดการเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายในตน

ตามปกติการเรียนรู้(จาก)ประสบการณ์ มักเกิดขึ้นในโอกาสพิเศษ นอกมหาวิทยาลัย  ในการเรียนแบบทำโครงงาน หรือเรียนแบบให้บริการ (in-service learning)  เมื่อผ่านประสบการณ์แล้ว นศ. รวมกลุ่มกันทำกระบวนการทบทวนสะท้อนความคิด (reflection) หรือ AAR  การมีศูนย์บริการในชุมชน ให้ นศ. หมุนเวียนไปเรียนรู้(จาก)ประสบการณ์  จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายในตนได้ง่ายขึ้น

และผมเชื่อว่า เทคนิคของการเรียนรู้แบบนี้ ที่มีให้เรียนที่ศูนย์จิตตปัญญาศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล  และที่อื่นๆ เช่น เทคนิคสุนทรียสนทนา  เทคนิคเรื่องเล่าเร้าพลัง  เทคนิคถามอย่างชื่นชม (Appreciative Inquiry)  เป็นเทคนิคที่ช่วยให้บรรลุการเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายในตน


การเรียนรู้โดยการใคร่ครวญ

การเรียนรู้(จาก)ประสบการณ์ สามารถนำมาใช้ในชั้นเรียนตามปกติได้  โดยชลอความเร็วในการเรียนลง  และให้ นศ. มีเวลาทำกระบวนการทบทวนสะท้อนความคิดร่วมกัน  โดยทำได้ในทุกวิชา ทุกสาขาอาชีพ  ให้ นศ. ทำสุนทรียสนทนา แลกเปลี่ยนความรู้สึกในคุณค่าของประสบการณ์การเรียนรู้  แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ด้านในที่เกิดขึ้นจากการได้สัมผัสกับกระบวนการณ์การเรียนรู้นั้นๆ

ผมเชื่อว่า การเรียนรู้แบบ PBL  ตามด้วย reflection หรือ AAR  โดยครูมีเทคนิคในการทำหน้าที่ “คุณอำนวย” ที่ดี  เป็นคำถามที่มีชีวิต เชื่อมโยงกับชีวิตจริง  เชื่อมโยงกับคุณค่าในชีวิตอนาคต   จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายในตนได้อย่างมีพลัง  รวมทั้งสามารถสร้างแรงบันดาลใจ สร้างพลังในชีวิต และการเรียน


มิติด้านจิตวิญญาณในนักศึกษาอุดมศึกษา

สถาบัน HERI (Higher Education Research Institute) แห่ง UCLA ได้ทำวิจัยเรื่องการเรียนรู้ในมิติด้านจิตวิญญาณในอุดมศึกษา  ด้วยความเป็นห่วงว่า ในปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาเอาใจใส่แต่การเรียนด้านนอก  ไม่สนใจการเรียนรู้ด้านใน  อันได้แก่เรื่องคุณค่า ความเชื่อ วุฒิภาวะทางอารมณ์ ความเข้าใจตนเอง และด้านจิตวิญญาณ

แต่ผลการวิจัยใน นศ. กว่า ๑ แสนคน  อาจารย์กว่า ๔ หมื่นคน  จากมหาวิทยาลัย ๔๐๐ แห่ง  ใช้เวลา ๕ ปี  ให้ผลตรงกันข้าม  คือมีการให้ความสำคัญแก่มิติการเรียนรู้ด้านในมากกว่าที่คิดมาก  คือ ร้อยละ ๘๐ ของ นศ. ปี ๑ กว่า ๑ แสนคน บอกว่าตนสนใจเรื่องจิตวิญญาณ  และร้อยละ ๔๒ ตอบแบบสอบถามว่า ตนใช้ชิวิตโดยมีการปฏิบัติทางจิตวิญญาณ  และเมื่อ นศ. เหล่านี้เลื่อนขึ้นไปเรียนชั้นปีที่ ๓  ตัวเลขเพิ่มเป็นร้อยละ ๕๐

มากกว่า สองในสามของ นศ. บอกว่า ตนต้องการให้มหาวิทยาลัยอำนวยความสะดวก หรือจัดการเรียนรู้ด้านจิตวิญญาณ


มิติด้านจิตวิญญาณในอาจารย์มหาวิทยาลัย

ผลการวิจัยของ HERI ที่กล่าวข้างต้น ในกลุ่มอาจารย์  ได้ผลไปในทางเดียวกับใน นศ.  แต่มีความแปรปรวนสูงกว่า  โดยอาจารย์บอกว่าการเรียนให้ได้ คุณค่า ความหมาย และปณิธานชีวิต มีความสำคัญ  และตนได้ส่งเสริมอยู่แล้ว  แต่วิธีดำเนินการไม่ชัดเจน

สรุปได้ว่า ในสหรัฐอเมริกา นศ. มีความต้องการการเรียนรู้ในมิติด้านจิตวิญญาณมาก  แต่สถาบันอุดมศึกษาไม่มีการตอบสนองอย่างเป็นระบบ และจริงจัง

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะระบบอุดมศึกษามีวิธีจัดผังวิชาการที่ผิด  คือเอาเรื่องวิทยาศาสตร์ และเรื่องศาสนา จิตใจ ไว้ฝั่งตรงกันข้ามกัน  จารีตในการศึกษาค้นหาความจริง  อยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับความเชื่อ  ดังนั้น มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันเพื่อการค้นหาความจริง จึงไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับศาสนา

ศ. ซาย้องค์ ผู้เขียนบทนี้ บอกว่าตนทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย  ในเรื่องความเชื่อเป็นเรื่องส่วนตัว นั้น ท่านเห็นด้วย  มหาวิทยาลัยที่ไม่ใช่ขององค์การศาสนา ไม่ควรเข้าไปยุ่งกับความเชื่อทางศาสนา  แต่ศาสนากับมิติทางจิตวิญญาณไม่ใช่สิ่งเดียวกัน  มิติทางจิตวิญญาณเป็นคุณสมบัติของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด

วิทยาศาสตร์กับจิตวิญญาณมีส่วนเชื่อมต่อกัน คือ cognitive spirituality  การปฏิบัติฝึกภาวนา มองเห็นได้ว่าทำให้มีการเปลี่ยนแปลงภายในตัวบุคคล  นอกจากนั้น การศึกษาด้านประสาทวิทยาศาสตร์ ยืนยันว่า ในขณะปฏิบัติภาวนา มีการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าในสมอง


มิติด้านจิตวิญญาณในอุดมศึกษาในปัจจุบัน

การเรียนรู้ระดับปริญญาตรี เป็นการวางรากฐานชีวิตการเป็นผู้ใหญ่  มิติด้านจิตวิญญาณเป็นส่วนหนึ่งของรากฐานนั้น  มิตินี้รวมถึง การภาวนา สุนทรียะ ความรู้เชิงศีลธรรม  เพื่อวางรากฐานชีวิตที่มีความหมาย และมีปณิธานความมุ่งมั่น

 

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ม.ค. ๕๖

คัดลอกจากhttp://www.gotoknow.org/posts/536719

 

 

วันโกน วันพระ มีความสำคัญต่อจิตวิญญาณมาก

พิมพ์ PDF

เคยรู้ไหม วันโกน วันพระ 
มีความสำคัญต่อจิตวิญญาณมาก
พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ชัดเจน

...ชาววัดป่าธรรมคีรี...
ไม่ควรตกข่าวอย่างยิ่ง!!!

ในวันพระตลอดเวลา 1 เดือน ตั้งแต่ข้างแรมจนถึงข้างขึ้น 15 ค่ำ 1 เดือน นี้มีอะไรเกิดขึ้น ในวันนี้ถ้ามนุษย์ทำความดีก็จะถูกเจ้าหน้าที่เขตบันทึกไว้ในแผ่นลานทอง แล้วเจ้าหน้าที่ในแต่ละเขตก็จะรวบรวมแผ่นทอง ไปให้อากาศเทวาเพื่อรวมบัญชีไปให้หัวหน้าอากาศเทวา แล้วรวบรวมไปให้ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 แล้วนำไปถวายท้าวสักกเทวราช หรือพระอินทร์เพื่อรายงาน ท้าวสักกเทวราชก็ทำการประชุมคณะกรรมการเพื่อรายงานในวันโกนหรือก่อนวันพระ 1 วัน วาระการประชุมมี 2 วาระ คือ 1. เรื่องราวของดาวดึงส์ 2. เรื่องราวของท้าวจตุโลกบาลที่เอาบัญชีมารายงาน

เทวดาบางเหล่าดำรงชีวิตด้วยความประมาท เมื่อสิ้นบุญผลแห่งความประมาท วิบากกรรมเก่าจึงส่งผลให้ไปเกิดเป็นเปรตและอสูรกายก็มี ตามกำลังบาป บ้างก็ไม่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็มี เพราะฉะนั้นท้าวสักกเทวราชท่านจึงสอนเอาไว้ว่าอย่าดำเนินชีวิตด้วยความประมาทให้ฉลาดในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง แล้วก็สั่งสมบุญด้วยการเจริญพุทธานุสติ แล้วก็ไปที่จุฬามณี เทวดาบางเหล่าด้วยดำรงชีวิตด้วยความประมาท เมื่อเธอสิ้นบุญ ด้วยผลอันเหลือจากกุศลกรรมในอดีตทำให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ เทวดาบางเหล่าไม่ประมาท มีทิพยสมบัติมาก มีกามอันเป็นทิพย์ที่ประณีต แต่ไม่มัวเมา หมั่นเพิ่มเติมกุศลกรรมด้วยการไปนมัสการพระจุฬามณีหลังจากที่ฟังธรรมในสุธรรมสภาเสร็จแล้ว เมื่อเธอหมดบุญ หมดสิ้นอายุขัยในภพนั้นแล้ว จะกลับมาจุติในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อีก หรือไปเกิดในสวรรค์ชั้นที่สูงขึ้นไปตามกำลังบุญ

สรุปว่าเป็นการย้ำให้เทวดาไม่ประมาทให้เจริญพุทธานุสติอยู่เสมอ หลังจากท้าวสักกะให้โอวาทเสร็จ เวลาค่ำของโลกมนุษย์ ท้าวสักกะจะประกาศให้แก่เทวดาที่มาประชุมที่สุธรรมเทวสภาว่า ในช่วงเวลาในวันที่ผ่านมานี่คือวันพระ หมู่มนุษย์ทำบุญ บางพวกก็ดูแลบิดามารดา บางพวกก็ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา มีจำนวนมากน้อยเพียงใด หรือทำกุศลกรรมอะไรต่างๆ เป็นต้น คือจะประกาศในช่วงพระจันทร์ขึ้นในเมืองมนุษย์ จะประกาศถึงมนุษย์และหมู่มนุษย์ว่าพวกไหนที่ทำบุญใหญ่ให้เทวดาทั้งหลายได้อนุโมทนากัน ถ้าช่วงใดที่มนุษย์สร้างบุญน้อยเทวดาที่ดาวดึงส์ก็จะคุยกันในหมู่เทวดาว่าสวรรค์คงจะว่าง นรกคงจะแน่น หากมนุษย์ประมาทในการดำเนินชีวิต หากช่วงใดที่มนุษย์ที่ทำบุญมีจำนวนมากเทวดาที่ดาวดึงส์ก็จะดีใจ รัศมีกายก็จะแพรวพราวทีเดียว จะปรารถว่าในอนาคตสวรรค์คงจะเนื่องแน่น นรกคงจะว่างแน่นอนเลย

ในยมโลกวันพระก็จะหยุดพักทรมานสัตว์นรก

ในช่วงเวลาที่ตรงกับวันพระขึ้น 15 ค่ำ คือวันพักในยมโลก แต่ในมหานรกไม่ได้พัก อุสสทนรกก็ไม่ได้พัก ในช่วงคืนเดือนเพ็ญเจ้าหน้าที่ยมโลกก็จะหยุดทัณฑ์ทรมานสัตว์นรก จะยืนดูเฉยๆ เจ้าหน้าที่บางพวกที่คบกะก็จะกลับไปพักที่จาตุมหาราชิกา แล้วก็จะมีพลัดใหม่เข้ามา พวกที่ยังไม่หมดกะ ก็จะยืนดู ยืนเฝ้าสัตว์นรกไม่ให้หนีไปไหน สัตว์นรกก็จะหมดแรงนอนอยู่กับพื้น บางพวกที่อยู่ในหม้อทองแดงไฟก็จะไม่ลุกไหม้ แต่น้ำในหม้อยังร้อนอยู่ แต่ลดลงมาหน่อย เหมือนไฟในเตาโลกมนุษย์ที่พอดับไฟน้ำก็ยังร้อนอยู่แต่ไม่เดือดพล่าน บางพวกก็ขึ้นมาอยู่บนปากหมอได้ พวกที่กำลังปีนต้นงิ้ว ต้นงิ้วนี้ไม่มีในมหานรก จะมีแต่ในยมโลก ต้นงิ้วในวันพระ หนามงิ้วจะหดกลับเข้าไป สัตว์นรกก็จะมีโอกาสลงมานอนพักอยู่กับพื้น บางพวกก็ร้องควรครางร้องขอความเห็นใจ


เจ้าหน้าที่ในยมโลกจะหยุดพักในวันพระ

ส่วนเจ้าหน้าที่ที่แปลงร่างเป็นสุนัขปากเหล็ก อีกาปากเหล็ก ก็จะกลับคืนสู่ร่างเดิมที่เป็นกุมภัณฑ์ แต่เจ้าหน้าที่ที่ใกล้จะหมดกรรมจากที่เป็นเจ้าหน้าที่ ก็จะไม่ค่อยมีอารมณ์อยากทำโทษสัตว์นรกซักเท่าใด ก็จะปลอบสัตว์นรกเช่น อดทนหน่อยนะ แต่พอเลยวันพระไปก็จะเริ่มทัณฑ์ทรมานกันต่อไปตามปกติ ถ้าโชคดีญาติที่อยู่บนเมืองมนุษย์อุทิศบุญมาให้ก็จะพ้นกรรมเร็วขึ้น 

ที่นี้เรามาดูในส่วนของผู้พิพากษาคือพญายมราช พอถึงวันพระใหญ่หรือวันเพ็ญก็จะพักการพิพากษา บางท่านหมดกะก็จะไปพักที่จาตุมหาราชิกา แล้วก็จะมีพญายมราชชุดใหม่มาเปลี่ยนรับหน้าที่แทน พวกที่ยังไม่หมดกะก็มีโอกาสพัก แล้วก็อาจจะไปทานอาหารทิพย์ตามกำลังบุญของตน โดยส่วนใหญ่อาหารจะเป็นเนื้อสดๆ เป็นของสด ของคาว ถ้าหากญาติทำบุญให้ โดยอุทิศแบบเจาะจง สัตว์นรกในยมโลกก็จะได้รับบุญนั้น พอพ้นวันพระแรม 1 ค่ำ ถ้าหากสัตว์นรกหมดกรรมก็จะพามาที่โรงพิพากษาอีกครั้งหนึ่งเพื่อรับรู้ในบุญที่ญาติอุทิศมาให้ แล้วจะส่งไปเกิดตามกำลังบุญ

ไม่เคยรู้...ก็ได้รู้แล้ว
ตักตวงบุญ...ตักตวงบาปเลือกเอาเด้อ
จะเพลินอยู่กับกิเลสก็ตามใจ

(อาตมารออยู่ที่วัดป่าธรรมคีรี พุทโธๆๆ)

 


หน้า 485 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5643
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8741685

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า