Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

เรื่องเก่าเล่าใหม่ ต่อตั้งมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

พิมพ์ PDF

ชาญโชติ เขียนที่ GO TO KNOW

 

เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2012 11:56 น. (9 ปีที่แล้ว) (พ.ศ.2555)

พันธกิจของศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

1. ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดัน ให้มีการสร้างความเป็นเลิศในการให้บริการของประเทศไทยโดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคบริการแบบบูรณาการอย่างต่อเนื่อง

2. เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ และการสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคบริการ

3. ดำเนินการและจัดให้มีบริการอบรมบุคลากร หรือให้คำปรึกษาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่สถานประกอบการ บุคลากรในองค์กรต่างๆ และบุคคลทั่วไปที่อยู่ในภาคบริการ

4. ดำเนินการศึกษา วิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้สำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคบริการ

ครงการ ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.)

หลักการและเหตุผล

ภาคธุรกิจบริการของประเทศไทยเป็นสาขาเศรษฐกิจที่ทวีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน ตามระดับการเพิ่มขึ้นของการพัฒนา ความทันสมัย และการเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจโลก กระแสโลกาภิวัฒน์ทำให้เกิดการไหลและแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศทั้งในเรื่องของธุรกิจ ข้อมูลข่าวสาร และกิจกรรมการค้าและบริการ การแข่งขันในยุคของการค้าแบบไร้พรมแดนนอกจากเน้นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแล้วก็ยังให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการที่จะเสนอให้กับลูกค้า

หัวใจของธุรกิจบริการอยู่ที่ทรัพยากรมนุษย์ เพราะปัจจัยมนุษย์มีความสำคัญสูงในการให้บริการ ซึ่งไม่เพียงแต่ต้องการความรู้และความเชี่ยวชาญเท่านั้น หากยังต้องการความรับผิดชอบ ความสามารถในการบริการ การเอาใจใส่กับความต้องการของลูกค้า และการมีคุณธรรมและจริยธรรม ผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการหรือบุคลากรในภาคบริการจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาและพัฒนาเพื่อสร้างทัศนคติที่ดี เพิ่มความรู้ และทักษะให้ตนเอง โดยมีเป้าหมายที่การสร้างให้เกิด จิตใจและคุณธรรมในการให้บริการ(Service mind) และความเป็นเลิศของบุคลากรในทุกระดับเพื่อเป็นปัจจัยนำไปสู่ความเป็นเลิศในการให้บริการ และการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับธุรกิจของตนเองอย่างยั่งยืน โดยมีผลลัพธ์สุดท้ายที่การสร้างรายได้และความก้าวหน้าในอาชีพอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรีให้กับบุคลากรทุกระดับในภาคบริการ

ปัจจุบันแม้ว่าจะมีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมากมายทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แต่ส่วนใหญ่มักดำเนินการในเชิงการค้าและมุ่งเน้นไปที่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมและมีการให้บริการอบรมพัฒนาแบบเฉพาะด้านมากกว่าพัฒนามนุษย์แบบองค์รวม เนื่องจากงานบริการเป็นงานที่ต้องมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างใกล้ชิดจึงต้องการการพัฒนาแบบบูรณาการ ภายใต้เงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้นจึงไม่เป็นที่น่าปลาดใจว่าทำไมยังมีบุคลากรในภาคบริการอีกมากยังไม่ได้รับการพัฒนา

ดังนั้น ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) ซึ่งประกอบด้วยคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยว ธุรกิจบริการ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการบริหารจัดการด้านอื่น ซึ่งมีอุดมการณ์และเป้าหมายในแนวทางเดียวกัน ได้ตระหนักถึงช่องว่างดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกันจัดตั้งศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) ขึ้นเพื่อผลักดันและดำเนินการให้เกิดการพัฒนามนุษย์ในภาคบริการอย่างเป็นองค์รวม

พันธกิจของศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

1. ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดัน ให้มีการสร้างความเป็นเลิศในการให้บริการของประเทศไทยโดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคบริการแบบบูรณาการอย่างต่อเนื่อง

2. เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ และการสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคบริการ

3. ดำเนินการและจัดให้มีบริการอบรมบุคลากร หรือให้คำปรึกษาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่สถานประกอบการ บุคลากรในองค์กรต่างๆ และบุคคลทั่วไปที่อยู่ในภาคบริการ

4. ดำเนินการศึกษา วิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้สำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคบริการ

แผนการดำเนินงานเบื้องต้น

ก่อตั้ง และจัดโครงสร้างองค์กร

จัดตั้งทีมทำงานโครงการ และแต่งตั้งคณะทำงาน กำหนดโครงสร้างองค์กร

พัฒนา และจัดหาทรัพยากร

รับสมาชิก

จัดหาวิทยากร และพัฒนาหลักสูตร

จัดหาเงินทุนและผู้สนับสนุนทางการเงิน

พัฒนาฐานความรู้ และเผยแพร่

พัฒนาฐานความรู้เกี่ยวกับ ความต้องการพัฒนากำลังคนภาคบริการ ของประเทศ

จัดทำเอกสารแนะนำศูนย์ฯ

ดำเนินการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์

สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ HRD ของภาคบริการ และนำเสนอต่อองค์กร สถาบัน ต่างๆในวาระโอกาสที่เหมาะสม

พัฒนา และขยายเครือข่าย

Roundtable Discussion เรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคบริการในอีก 10 ปีข้างหน้า

จัดการประชุมนานาชาติ

มีกิจกรรมร่วมกับ บุคคลากรภาคธุรกิจบริการ ผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการ ตัวแทนสมาคมภาคธุรกิจ ตัวแทนสภาหอการค้า ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่นตัวแทนหน่วยงานที่ให้ทุน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สถานศึกษา นักวิชาการ

ดให้มีบริการด้านการอบรม และให้คำปรึกษา

จัดอบรมนำร่อง อย่างต่อเนื่อง

ให้คำปรึกษาผู้ประกอบการหรือผู้บริหารด้านการบริหารจัดการด้านทุนมนุษย์ หรือ ทรัพยากรมนุษย์

เป็นโค้ชในการบริหารจัดการทุนมนุษย์

วันที่ 20 มีนาคม  2012 (พ.ศ.2555)

คณะกรรมการจัดตั้งมูลนิธิ ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ประชุมพิจารณาทบทวนหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งมูลนิธิ และพิจารณาทบทวนพันธกิจของมูลนิธิ ในวันที่ 15 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยได้รับมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์หลังจากการระดมความคิดอย่างกว้างชวาง

1.เป็นองค์กรนิติบุคคล เพื่อผลักดันและดำเนินการให้เกิดการพัฒนามนุษย์อย่างเป็นองค์รวม

2.พันธกิจของมูลนิธิ ประกอบด้วย

2.1.ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดัน ให้มีการสร้างความเป็นเลิศโดยการพัฒนามนุษย์แบบบูรณาการอย่างต่อเนื่อง

2.2 เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ และการสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนามนุษย์ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค

2.3.พัฒนาปรับปรุงองค์กรและบุคลากรโดยพัฒนามนุษย์แบบบูรณาการ และประสานกับภาคส่วนอื่น

2.4 ดำเนินการและจัดให้มีบริการอบรมบุคลากร หรือให้คำปรึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์แก่องค์กรต่างๆ และบุคคลทั่วไป

2.5 ดำเนินการศึกษา วิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้สำหรับการพัฒนามนุษย์

ส่วนการพิจารณาทบทวนเรื่องกรอบการดำเนินงานและการจัดองค์กร แผนดำเนินงาน และแต่งตั้งกรรมการ ต้องเลือนการพิจารณาออกไปเป็นการประชุมในครั้งต่อไป

ที่ประชุมลงมติแต่งตั้งให้ผู้บริจาดเงินจัดตั้งมูลนิธิทั้ง 21 ท่านเป็นกรรมการจัดตั้งมูลนิธิ และในเบื้องต้นได้แต่ตั้ง ศ.ดร.จีระ เป็นประธาน ดร.ธรรมชัย ดร.อนุชา น.สพ.สมชัย และคุณกิตติ เป็นรองประธาน ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท เป็น เลขาธิการ ส่วนกรรมการบริหารท่านอื่นๆ จะแต่งตั้งหลังจากพิจารณากรอบการดำเนินงานและจัดองค์กรเสร็จเรียบร้อย

 

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

20 ธันวาคม 2564


 

ก่อนมาเป็นมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

พิมพ์ PDF

บทความเก่าตั้งแต่ปี 2550

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ได้ก่อตั้งเมื่อปี 2550 ประกอบด้วยคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยว ธุรกิจบริการ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการบริหารจัดการด้านอื่นๆ ซึ่งมีอุดมการณ์และเป้าหมายในแนวทางเดียวกัน ได้แก่การผลักดันและดำเนินการให้เกิดการพัฒนามนุษย์ในภาคบริการอย่างเป็นองค์รวม ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ศูนย์ได้รับความสนใจและเป็นที่รู้จักมากขึ้น กิจกรรมยังมีน้อยเนื่องจาก กรรมการแต่ละท่านอาสามาทำงานโดยไม่ได้รับค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น แถมต้องเสียสละเงินส่วนตัวร่วมทำกิจกรรมในบางครั้ง กรรมการแต่ละท่านมีหน้าที่ประจำในหน่วยงานของแต่ละท่าน จึงไม่สามารถขับเคลื่อนงานของศูนย์ได้เต็มที่ ประกอบกับศูนย์ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จึงทำให้ผลงานที่ตั้งไว้ยังห่างไกลจากเป้าหมายมากพอควร กรรมการจึงเห็นว่าควรจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและได้เลือกเป็นมูลนิธิ ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการจดทะเบียนมูลนิธิ โดยมีกรรมการเดิมของ ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษยื และบุคคลภายนอกที่ติดตามผลงานของศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์มาได้ระยะเวลาหนึ่ง ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อใช้เป็นเงินในการจดทะเบียนมูลนิธิ และผู้บริจาคเงินถึงว่าเป็นกรรมการจัดตั้งมูลนิธิ เป็นกรรมการตลอดชีพ ประกอบด้วย

1.ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

2.ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก

3.น.สพ.สมชัย วิเศษมงคล

4.ดร.ธรรมชัย เชาว์ปรีชา

5.คุณธวัชชัย แสงห้าว

6.ดร.วีรชัย วงศ์บุญสิน

7.คุณฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล

8.รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล

9.คุณพัฒนศักย์ ฮุ่นตระกูล

10.คุณกิตติ คัมภีระ

11.คุณสามารถ ดวงวิจิตรกุล

12.ดร.เอกฤทธิ์ เลี้ยงพาณิชย์

13.คุณโสทรินทร์ โชคคติวัฒน์

14.คุณวิสูตร เทศสมบูรณ์

15.คุณสยาม เศรษฐบุตร

16.คุณพรศิลป์ พัชรินทร์-ตนะกุล

17.คุณทำนอง ดาศรี

18.คุณเกรียงไกร ภูวณิชย์

19.ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี

20.คุณชนินท์ ธำรงวิทวัสพงศ์

21.ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

นอกเหนือจากรายชื่อทั้ง 21 ท่าน ที่บริจาคเงินเพื่อเป็นทุนในการจัดตั้งมูลนิธิ และดำรงตำแหน่งกรรมการจัดตั้งมูลนิธิ แล้วยังมีกรรมการ และที่ปรึกษาอีกหลายท่านที่ให้การสนับสนุนและช่วยเหลืองานของ ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ มาตั้งแต่ต้น และเชื่อว่าท่านยังพร้อมให้การสนับสนุนเช่นเดิม กรรมการจัดตั้งทั้ง 21 ท่านจะมีการประชุมในวันที่ 15 มีนาคม 2555 เพื่อกำหนดกรอบแผนงานของมูลนิธิในระยะ 3 ปี คัดเลือกกรรมการบริหาร และพิจารณาเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษา สำหรับกรรมการและที่ปรึกษาที่เคยให้การสนับสนุนศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ จะได้รับการติดต่อให้มาร่วมเป็นกรรมการหรือที่ปรึกษามูลนิธิ ต่อไป สำหรับท่านที่ต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนามูลนิธิให้เป็นองค์กรแห่งการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน โปรดติดต่อแจ้งความจำนงได้ที่ e-mail address:  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน  หรือ โทร 089-1381950

เขียนใน GotoKnow
 
โดย ชาญโชติ
 
ใน ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

คำสำคัญ (Tags): #มูลนิธิ ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์#ความยั่งยืน#บริหารทรัพยากรมนุษย์#พัฒนาคน#พัฒนาทุนมนุษย์#สร้างความสุข.ความมั่นคง

หมายเลขบันทึก: 481105เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2012 00:32 น. (9 ปีที่แล้ว)แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 21:54 น. (9 ปีที่แล้ว)สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน

 

ความเห็น (9)

วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

 

เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2012 02:19 น. (9 ปีที่แล้ว)

เห็นรายนามผู้ก่อการ พัฒนามนุษย์แล้วล้วนสุดยอด หัวกระทิ ของประเทศ

ขอสนับสนุน แม้ไร้ทุนแต่มีใจ

ชาญโชติ

 

เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2012 11:46 น. (9 ปีที่แล้ว)

เรียนวอญ่า

ขอบพระคุณที่ให้ความสนใจครับ ท่านไม่ได้ไรทุนครับ สิ่งที่มูลนิธิ ศูนย์พัฒนามนุษย์ต้องการที่สุดคือทุนมนุษย์ ไม่ใช่ทุนทรัพย์ เราคิดว่าเราไม่จำเป็นต้องใช้ทุนทรัพย์ (เงินทอง) มากมาย มีพอประมาณก็เพียงพอในการขับเคลื่อน แต่สิ่งที่สำคัญคือทุนมนุษย์ ผมเชื่อว่าคุณวอญ่ามีทุนมนุษย์มากพอที่จะมีช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนมูลนิธิได้ ถ้ามีเวลาว่างและสนใจ ขอได้โปรดแจ้งความจำนง เข้ามาได้เลยครับ รวมถึงท่านอื่นๆด้วยครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านที่มีความจริงใจที่จะเข้ามาช่วยให้การสนับสนุนมูลนิธิครับ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

20 ธันวาคม 2564


   

พระกตัญญูกตเวทิตาธรรมอย่างอภิชาตบุตร

พิมพ์ PDF

พระกตัญญูกตเวทิตาธรรมอย่างอภิชาตบุตร”

 

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เป็นพระโอรสพระองค์เดียวในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ ซึ่งประสูติแต่หม่อมปุ่น ชมพูนุท ณ อยุธยา ไม่มีพระเชษฐา พระอนุชา หรือพระภคินีร่วมพระมารดาเลย แม้สมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นั้นจะเสด็จอยู่ในสมณเพศ ก็ยังมีพระทัยห่วงหาอาทรในชีวิตความเป็นอยู่ของ “หม่อมโยม” เป็นอย่างยิ่ง ด้วยทรงเป็น “เสาหลัก” เพียงหนึ่งเดียวในชีวิตของพระชนนี

เมื่อพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงดำรงพระอิสริยยศที่ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระสถาพรพิริยพรต และทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงอุปการะ “หม่อมโยม” ให้มีที่พักอาศัยไม่ไกลจากวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เพื่อให้ทรงสอดส่องดูแลความเป็นอยู่ของ “หม่อมโยม” ได้สะดวก ทรงขอร้องเจ้าของห้องแถวมุมถนนราชบพิธ เชื่อมเฟื่องนครฟากตะวันตก ให้เป็นที่พักอาศัยของ “หม่อมโยม” จนตลอดชีวิต กับทั้งประทานสิ่งจำเป็นให้ “หม่อมโยม” ยังชีพได้อย่างผาสุก ครั้งนั้น ทรงได้รับนิตยภัตเดือนละ ๘๐ บาท ก็ประทาน “หม่อมโยม” ทั้งหมด แม้เมื่อทรงสถิตในพระอิสริยยศพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวง ที่สกลมหาสังฆปริณายก ทรงได้รับนิตยภัตเดือนละ ๘๐๐ บาท ก็ประทาน “หม่อมโยม” ทั้งสิ้นเช่นที่แล้วมา

 

นอกจากนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ยังทรงกะการล่วงหน้าถึงการศพหม่อมโยม โปรดให้พระคลังข้างที่เป็นไวยาวัจกรสะสมทุนไว้ถึง ๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อการศพ “หม่อมโยม “ และโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดมะขามใต้ (วัดชินวราราม จังหวัดปทุมธานี) สำหรับเป็นที่ปลงศพ “หม่อมโยม”อย่างสามัญชน

 

หม่อมปุ่น ชมพูนุท ณ อยุธยา เป็นสตรีที่มีบุญอย่างเต็มเปี่ยม ทันได้เห็นทายาทเพียงหนึ่งเดียวได้ทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก และทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเป็นคุณแก่พระพุทธศาสนาอย่างมากมาย ครั้ง “หม่อมโยม” ในสมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นั้นถึงแก่กรรมลง โปรดให้เชิญศพ “หม่อมโยม” มาตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาการเปรียญคณะนอก (ศาลาร้อยปี) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานโกศโถเป็นเกียรติยศประกอบศพเป็นกรณีพิเศษ มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพ ๓ คืน และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส เกียรติยศเช่นนี้ย่อมเกิดแต่การบำรุงเลี้ยงดูอภิชาตบุตรให้ถึงความเจริญรุ่งเรืองเช่นที่ “หม่อมโยม” อภิบาลสมเด็จพระสังฆราชเจ้าจนเติบใหญ่เป็นหลักพระศาสนา เมื่อรับพระราชทานเพลิงศพแล้ว จึงโปรดอัญเชิญอังคาร “หม่อมโยม” ไปบรรจุ ณ วัดมะขามใต้ แทนการปลงศพตามที่ตั้งพระทัยไว้เดิม นับว่าทรงจัดการศพ “หม่อมโยม” อย่างเพียบเพ็ญด้วยเกียรติอันสตรีสามัญจะพึงมีได้

 


พระกตัญญูกตเวทิตาธรรมในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ย่อมสรุปลงได้ดังที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ ทรงสรรเสริญพระเกียรติคุณข้อนี้ว่า “ทรงสนองคุณูปการหม่อมโยมมาด้วยพระหฤทัยเปี่ยมด้วยกตัญญูกตเวทิตาธรรมอย่างอภิชาตบุตรโดยแท้”



                                                   

 


หน้า 56 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8741323

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า