Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

พิมพ์ PDF

 

ความเห็น ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท เรื่องนโยบายการส่งเสริมการแขางขันทางการค้า

พิมพ์ PDF

Tuesday August 16, 2011 09:11 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ส.ค.--พีอาร์ โฟกัส เมื่อเร็วๆนี้ ผมมีโอกาสร่วมฟังการประชุมนโยบายเรื่องการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า และความเหมาะสมของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง จัดโดยสถาบัน Sasin Institute for Global Affairs (SIGA) ได้ฟังความเห็นของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท รองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งมีแง่คิดที่น่าสนใจ จึงอยากจะเล่าสู่กันฟัง

ม.ล.ชาญโชติ ให้ความเห็นเรื่องนโยบายส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าว่า พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า ที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน ล้าสมัยและไม่ตรงกับวัตถุประสงค์แรกเริ่มในการออกกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพรบ.ฉบับนี้ ต้องการปกป้องเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค แต่พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้าที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นกฎหมายที่ออกมากำกับดูแลระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ ซึ่งม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า รัฐไม่ควรเข้าไปกำกับผู้ประกอบการมากนัก ควรปล่อยให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันโดยเสรี แต่กฎหมายฉบับนี้กลับออกมากำกับไม่ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เอาเปรียบผู้ประกอบการรายเล็ก ซึ่งควรจะปล่อยให้แข่งขันไปตามกลไกของตลาด ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่น่าจะให้ประโยชน์กับฝ่ายใดเลย แต่กลับเป็นเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการต่างๆยื่นข้อร้องเรียน แล้วเรียกร้องให้รัฐเป็นกรรมการตัดสิน แทนที่รัฐจะทำหน้าที่ในการป้องกันเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ตามวัตถุประสงค์เริ่มแรกในการออกพรบ.ฉบับดังกล่าว
ม.ล.ชาญโชติ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงความล้าหลังของกฎหมายฉบับต่างๆ ที่กว่าจะออกมาได้แต่ละฉบับ ใช้เวลาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ปี ในขณะที่พัฒนาการทางธุรกิจ ตลอดจนความต้องการของตลาดและผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อเนื่องตลอดเวลา ดังนั้น กว่ากฎหมายแต่ละฉบับที่เกี่ยวข้องจะแล้วเสร็จ ธุรกิจนั้นๆก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เงื่อนไขและรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญไปแล้ว ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่า การออกกฎหมายของประเทศไทยส่วนใหญ่มักไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น การออกกฎหมายแต่ละฉบับควรเป็นกฎหมายที่สามารถปฏิบัติได้ด้วย


ม.ล. ชาญโชติ มีความเห็นว่า กฎหมายในบ้านเรามีมากมายหลายฉบับที่มีความซ้ำซ้อนกัน และบางฉบับยังมีข้อกำหนดที่หักล้างกันเอง แทนที่จะส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้น กลับมีผลทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
แต่กระนั้น ม.ล.ชาญโชติ ย้ำว่า ตนมิได้ไม่ต้องการให้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันทางการค้า แต่เห็นว่ากฎหมายที่ออกมาจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ตั้งแต่เริ่มแรก และที่สำคัญจะต้องสามารถนำมาปฏิบัติได้ด้วย เพราะหากกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวยังล้าหลัง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างภาคธุรกิจไทยให้มีศักยภาพที่จะแข่งขันในระดับสากลอีกด้วย
ม.ล. ชาญโชติ ยังกล่าวถึง การเข้ามาของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย โดยเห็นว่า เป็นสิ่งที่ดี แต่จำเป็น ต้องมีนโยบายในการกำกับดูแลบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจแข่งขันว่า การที่บริษัทต่างชาติต่างๆ เหล่านั้นเข้ามาใช้ทรัพยากรของประเทศ ก็ควรกำหนดเงื่อนไขค่าตอบแทนที่พึงจ่ายให้กับประเทศด้วย โดยรัฐสามารถออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขที่ไม่แตกต่างมากจนเกินไประหว่างบริษัทไทยกับบริษัทต่างชาติ ขณะเดียวกัน รัฐจะต้องมีนโยบาย ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไทย รวมทั้งผู้ประกอบการขนาดเล็ก ตลอดจนผู้ประกอบการที่อ่อนแอกว่า เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน


นอกจากนี้ ม.ล. ชาญโชติ ยังได้กล่าวถึงนโยบายการเปิดเสรีว่า ความจริงแล้วไม่ใช่เป็นการเปิดเสรีจริงๆ เพราะแต่ละประเทศต่างก็มีกฎหมายแตกต่างกันในการกำกับดูแลกรณีต่างๆ เช่น กรณีที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ก็มีกฎหมายที่ดินที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับการถือครองกรรมสิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ ม.ล.ชาญโชติกล่าวว่า ต้องยอมรับว่ากฎหมายยังมีความอ่อนแอมาก จึงทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในมือของต่างชาติ จึงจำเป็นที่จะต้อง พิจารณา สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และต้องวางแผน วางหลักเกณฑ์ในการออกกฎหมายใหม่ ตัวอย่างเช่น กรณี BOI ที่ต้องการจูงใจให้ต่างชาติที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศ แต่กลับไม่มีการส่งเสริมสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยให้ออกไปลงทุนแข่งขันในต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งในความเป็นจริง BOI ควรมีมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลางให้สามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศ มากกว่ามาตรการ ลด แลก แจก แถม เพื่อชักจูงให้ผู้ประกอบการต่างชาติรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเท่านั้น


อย่างไรก็ตาม ม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะกับการลงทุน มีหลายประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในไทย ยกตัวอย่าง บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยบริษัทที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อคนไทยไปปรึกษาข้อกฎหมาย ข้อมูลต่างๆที่เป็นข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลที่เป็นข้อพิพาทสำคัญๆ ก็จะกลายเป็นข้อมูลของบริษัทที่เป็นต่างประเทศดังกล่าว ดังนั้น รัฐจึงควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล เช่น การจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมาย จะต้องเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายที่เป็นคนไทยเท่านั้น โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น ซึ่งคนไทยมีความสามารถไม่ด้อยไปกว่าชาติอื่นๆ และไม่ควรกลัวต่างชาติ อาจจะยอมเสียเปรียบต่างชาติบ้าง แต่ต้องอยู่ในขอบเขต และที่สำคัญ ม.ร. ชาญโชติ ย้ำว่า จะต้องไม่ยอมให้ต่างชาติเอาเปรียบตลอดเวลา และจะต้องกำหนดประเภทธุรกิจ และข้อจำกัดการประกอบธุรกิจไว้ให้เป็นของคนไทยอย่างชัดเจน
และในตอนท้าย ม.ล.ชาญโชติ ยังกล่าวว่า ที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องบุคลากร ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจต้องเอาคนเป็นที่ตั้ง โดยเริ่มจากประชาชนคนไทย คือการสร้างคนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญ โดยพิจารณาถึงความสามารถ ว่าคนไทยมีความสามารถในด้านใด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คนไทยมีความสามารถในด้านการให้บริการ ในด้านการบริหารจัดการซึ่งจะต้องพัฒนาให้คนไทยสามารถบริหารจัดการร่วมกันอย่างเป็นทีม แต่อย่างไรก็ตาม แผนเศรษฐกิจของประเทศไทยฉบับปัจจุบัน กลับไม่กล่าวถึงเศรษฐกิจภาคบริการ ทั้งๆที่ภาคบริการมีความสำคัญ นอกจากนี้ ต้องให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ90 ของประเทศเป็น SME ที่มีความสามารถทั้งสิ้น

ผมอยากจะฝากประเด็นแง่คิดของม.ล.ชาญโชติ ซึ่งเป็นรองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนพิจารณา เพราะธุรกิจปัจจุบันพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ก็ควรที่จะหันมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกรอบของกฎหมายให้ทันสมัย รองรับความต้องการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเข้มแข็ง สามารถแข่งขันในเวทีระดับโลกได้อย่างแท้จริง

บทความ: อาจารย์รุจิระ บุนนาค
กรรมการผู้จัดการ สำนักงานกฎหมายมารุต บุนนาค


 

ขอยุติการออกอากาศเสวนาสด "ทำมาหารวยกับโบบิ"

พิมพ์ PDF

ขอยุติการออกรายการเสวนาสด “ทำมาหารวยกับโบบิ”

ในรายการของ มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

ทางสถานีโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ ฯ WBTV วัดยานนาวา

 

 เมื่อวานผมต้อยุติรายการ "ทำมาหารวยกับโบบิ" เนื่องจาก อจ.โบบิ ต้องการจะใช้รายการนี้นำเสนอให้เกิดการต่อต้าน การพิจารณาเข้าร่วมเป็นสมาชิก CPTPP โดยใช้ข้อมูลด้านเดียว ผมได้พยายามอธิบายในขั้นตอนต่าง ๆที่จะเข้าถึงการลงนาม ยังอีกนาน อันดับแรกคือมีการนำเรื่องนี้มาเป็นเรื่องการเมือง ซึ่งจะใช้เรื่องนี้มา ทำให้การบริหารของ ท่านนายกรัฐมนตรี และทำให้คณะรัฐบาลทำงานอยากขึ้น ก่อกวนทุกวิถีทางเพื่อล้มล้างคณะรัฐบาลให้ได้ สร้างความแตกแยก อย่างไรก็ตาม ผมไม่สามารถ ที่จะปรับวิธีการออกรายการให้เข้าใจในแนวทางและการปฏิบัติติตามกฎของทางสถานีกับ อจ.โบบิ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนรายการได้ จึงจำเป็นต้องยกเลิกรายการ "ทำมาหารวยกับโบบิ" ตั้งเดือนมิถุนายน เป็นต้นไป

ความเห็นต่างเป็นเรื่อง ปกติ แต่การทำงานร่วมเป็นเรื่องยากสำหรับคนไทย เนื่องจากเรายังไม่สามารถบริหารความต่าง  ความคิดดี ๆ ต้องมาสะดุดไม่สามารถนำสู่การปฏิบัติได้เพราะความเห็นต่าง ผมอายุ 70 ปีเต็มแล้ว พยายามแก้ปัญหานี้ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับผม แต่ก็ยังไม่เกิดผลอย่างสมบูรณ์

 

 

รายการ เปลี่ยนเป็นเปลี่ยน เป็นรายการเสวนาเพื่อการเรียนรู้ ของมูลนิธิฯ เป็นกิจกรรมต่อเนื่อง   มีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายเป็นเงินเหลือเข้ามูลนิธิฯนิดหน่อย พอมีรายการ "ทำมาหารวยกับโบบิ" เข้ามาเพิ่มทำให้ มูลนิธิฯมีรายได้มากขึ้น แต่เมื่อจำเป็นต้องยกเลิกรายการก็เสียดาย เนื่องจาก รายการ "ทำมาหารวยกับโบบิ" เป็นรายการที่ดีให้ความรู้กับผู้รับชม อย่างไรก็ตามการเสวนาจากผู้ร่วมรายการ มีทั้งส่วนที่ดี และส่วนที่อาจสร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องหรือทำให้เกิดการละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือทำให้เกิดการเสียหาย ต่อสังคม ประเทศชาติได้ ดังนั้นทางสถานวิทยุโทรทัศน์ จึงต้องมีกฎข้อบังคับ และกรอบในการออกรายการ ให้ผู้เป็นเจ้าของรายการ และผู้ร่วมออกรายการต้องปฏิบัติตามที่ได้กำหนดไว้  เมื่อผมไม่สามารถสื่อสารให้ผู้ร่วมรายการกับผม ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนรายการให้ปฏิบัติ ตามกฎข้อบังคับของทางสถานี ในการร่วมออกรายการกับผมได้  ผู้ร่วมออกรายการมีวิธีการทำงานของท่านเฉพาะ  ผมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องยกเลิกการจัดรายการ “ทำมาหารวยกับโบบิ” ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

 

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

26 พฤษภาคม 2563


 

ประชาชนไทยถูกสอน (อย่างไม่รู้ตัว) โดยผู้สอนคือ "นักการเมือง"

พิมพ์ PDF

 ประชาชนไทยถูกสอน (อย่างไม่รู้ตัว) โดยผู้สอนคือ "นักการเมือง"

นักการเมือง มีกลุ่มขั้วการเมืองตรงกันข้าม จึงเกิดการสอนให้ประชาชนเลือกมองแต่ข้อด้อยของสิ่งต่าง ๆ หากสิ่ง ๆ นั้นเป็นสิ่งที่ฝ่ายการเมืองขั้วตรงกันข้ามต้นเป็นคนดำเนินการ

เราเคยตั้งคำถามไหมว่าทำไมเวียดนามจึงเข้าร่วม CPTPP

อ. ยักษ์ และลูกศิษย์อาจารย์ยักษ์เคยตั้งคำถามไหมทำไมเวียดนามจึงเข้าร่วม CPTPP

เวียดนามมีชาวนาเวียดนามปลูกข้าวหอมมะลิเหมือนกับชาวนาไทย

และทำไมประเทศมาเลเซียจึงเข้าร่วม ซึ่งประเทศมาเลเซียมียางพาราเหมือนประเทศไทย

ทำไมชาวนาในเวียดนามจึงไม่ออกมาคัดค้านรัฐบาลเวียดนามในการลงนามข้อตกลง CPTPP

เมื่อค้นหาคำตอบ ก็จะเห็นคำตอบ "อ๋อ...ก็เพราะชาวนาเวียดนามเขามองเห็น "โอกาส โอกาส และโอกาส" ส่วนปัญหา เดี๋ยวมีกระบวนการ "เจรจา ต่อรอง ปรับปรุงข้อตกลงได้ในอนาคต ยังมีเวลาอีกระยะหนึ่ง ที่เราจะปรับตัวได้ แต่โอกาสคือเราจะมีตลาดเพิ่มขึ้นอย่างน้อยอีก ๑๐ ประเทศ ดี ๆ โอกาสแบบนี้ไม่ค่อยมีบ่อยนัก" รัฐบาลเวียดนามลงนาม เราจะได้ขายข้าวของเวียดนามให้ประเทศ ๑๐ ประเทศได้อย่างสบายใจ

ชาวนาเวียดนามได้อ่านข่าว "เอ๋... ทำไมประเทศไทยไม่ลงนาม CPTPP" พอติดตามข่าวของประเทศไทย "อ๋อ...เกษตรกรไทยไม่เอาด้วย บอกว่ามีปัญหาเรื่องเมล็ดพันธุ์ เอ๋...ก็เขาแก้ไข ปรับปรุงข้อตกลงแล้วนี่ ไม่มีเรื่องเมล็กพันธุ์แล้วนี่ ทำไมชาวนาไทยไม่รู้เรื่องนี้นะ น่าแปลกใจจริง"

เรื่องราวจากชีวิตจริง ในประเทศไทย ที่ไม่ใช่นิทานสอนใจ แต่เป็น "เรื่องจริงสอนใจ" 


 (เมื่อไร ประชาชนไทยจะหลุดพ้นจากวงจร "ขอค้านไว้ก่อน" ที่ก่อเหตุโดยนักการเมืองกลุ่มต่าง ๆ เสียที ประเทศไทยจะได้มีโอกาสระดับโลกมากขึ้น) ไม่รู้ว่าต้องรออีกกี่ปี จึงจะได้เห็นการหลุดพ้นของประชาชนไทย จากวงจร "ขอค้านไว้ก่อน" เสียที

วงจร "ขอค้านไว้ก่อน" จะไม่เกิดในภูมิพลมหาวิทยาลัย และจะต้องไม่เกิดในองค์กรผู้นำพลเมือง (ประเทศไทย) เพราะองค์กรทำงานเครือข่ายระดับโลก มีผลประโยชน์ส่วนรวมของสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ มาก่อนประโยชน์ส่วนตนขององค์กรฯใดองค์กรหนึ่ง

 

ดร. หนึ่ง
ผู้ก่อตั้งระบบพอเพียงนิยม (Sufficientism)
๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓

ขออนุญาติแก้ข้อความสุดท้าย


 

เปิดใจ ดร.หนึ่ง ถึง ผู้ที่ส่งข้อมูลบางท่านเข้ามาที่ไลน์กลุ่ม "องค์กรผู้นำพลเมือง"

พิมพ์ PDF

เปิดใจ ดร.หนึ่ง ถึงผู้ที่ส่งข้อมูลบางท่านเข้ามาในไลน์กลุ่ม “องค์กรผู้นำพลเมือง”

๑. ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ขนมหวานหรือไม่ขนมหวาน แต่ประเด็นอยู่ที่ข้อมูลที่ นำเข้ากลุ่มเป็นข้อมูลที่บิดเบือน และบางข้อมูลไม่ตรงกับความจริง

๒. ท่านสมาชิกในกลุ่มควรได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงจริง

๓. เมื่อส่งข้อมูลบิดเบือนแล้ว ยังใช้ข้อมูลบิดเบือนนั้น มาสรุปต่อเรื่องนักศึกษา กับ ผู้มีอายุมาก อย่างเข้าใจผิด ชี้นำไปในทางที่ผิด ตรงนี้อันตรายต่อชาติบ้านเมือง เพราะส่งเข้ากลุ่ม ซึ่งถือเป็นสังคมขององค์กรผู้นำพลเมือง (ประเทศไทย) ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสังคม

๔. โดยส่วนตัว ดร. หนึ่ง อยากให้นายทักษิณ  ชินวัตร นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร และนางเยาวภา ฯ ถูกจับมาดำเนินคดีในประเทศไทย และชดใช้ค่าเสียหายให้ประเทศไทย ทั้งเรื่องการบินไทย โครงการรับจำนำข้าว ฯลฯ การหนีคดีทำให้กระบวนการยุติธรรมของประเทศเสียหาย ซึ่งไม่เห็น  กล่าวถึงเรื่องนี้

๕. การยุยง ปลุกปั่นให้คนในประเทศทะเลาะกัน เป็นกระบวนการที่อันตรายต่อความสามัคคีของคนในชาติและเป็นอันตรายต่อชีวิตประชาชนโดยเฉพาะในช่วงการระบาดของไวรัสนี้ เพราะข้อมูลที่ส่งเข้ากลุ่ม นอกจากจะบิดเบือนแล้ว ยังก่อให้เกิดอคติเชิงลบต่อลุงตู่ ซึ่งกำลังบริหารประเทศในขณะนี้ อคติในใจของประชาชน ทำให้ประชาชนไม่ฟังข้อควรปฏิบัติ และไม่อยากปฏิบัติตาม

๖. เพื่อนที่ฮ่องกง เขาได้ยินข่าวว่านายธนาธร  จึงรุ่งเรืองกิจ เดินทางไปฮ่องกงเพื่อไปพบกับแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมในฮ่องกง เขาเป็นห่วงประเทศไทย รีบส่งข้อความมาเตือน ให้ ดร. หนึ่ง บอกลูก บอกพ่อแม่ อย่าให้ลูกออกมาชุมนุมเด็ดขาด เขารักเมืองไทย เพราะมาเมืองไทยทุกปี เขาไม่อยากให้นิสิตนักศึกษาไทยสร้างปัญหาเหมือนในฮ่องกง เขาบอกว่าคนรุ่นใหม่ถูกหลอกด้วยคำว่า "democracy" จริง ๆ ฮ่องกงก็ดีอยู่แล้ว เขาบอกว่ากลุ่มผู้ชุมนุมที่อ้าง democracy ในฮ่องกง ปาก democracy แต่การกระทำเป็นเผด็จการฝูงชน ไม่อยู่ในกฎกติกา หัวรุนแรง ก่อปัญหาให้ฮ่องกง เขาเป็นห่วง ไม่อยากให้คนรุ่นใหม่ของไทยถูกหลอกเหมือนในฮ่องกง

 

๗. สถานการณ์ความไม่สงบในฮ่องกง เพื่อนชาวฮ่องกงบอกว่ากระทบกับประชาชนทุกด้าน แกนนำผู้ชุมนุมปลอดภัย เพราะพอยุยง ปลุกระดมได้แล้ว พวกแกนนำเหล่านี้ก็จะไม่เป็นแนวหน้า ส่งคนรุ่นใหม่เป็นแนวหน้า ตายแทนพวกเขา ไม่คุ้ม บาดเจ็บล้มตาย ถูกเขาหลอกใช้ พ่อแม่เสียใจ อย่าให้เกิดในประเทศไทยเด็ดขาด เพื่อนบอกกำชับอีกว่า "You need to tell your students. Make them understand. This "democracy thing" is just an excuse to cause trouble." (แปล "เธอต้องบอกนักศึกษาของเธอ ทำให้นักศึกษาของเธอเข้าใจ กระบวนการประชาธิปไตย มันเป็นเพียงข้ออ้างให้ก่อปัญหาเท่านั้น")

๘. วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ประเทศไทยมี ๔ ฝ่าย คือ มีฝ่ายพลเมือง อย่างเป็นทางการ เพราะ คสช. เข้ามาแก้ปัญหาของประเทศเมื่อ ๖ ปีที่แล้ว ประเทศจึงมีวันนี้ วันที่ประเทศมีฝ่ายพลเมือง มีความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และกำลังมีระบบพอเพียงนิยม

๙. คนที่ยุงยง ปลุกปั้น ให้เกิดความเข้าใจผิดในสังคม เกิดความไม่ชอบ คนเหล่านี้ถือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงภายในชาติ ดร. หนึ่งต้องการบ้านเมืองสงบสุข สามัคคีปรองดอง จะได้ร่วมกันพัฒนาแผ่นดิน คนที่ไม่ชอบ คสช. คือคนที่ก่อปัญหาให้ประเทศและชอบสร้างความไม่สงบ ดังนั้น ดร. หนึ่งจึงขอบคุณ คสช. จนถึงปัจจุบัน

๑๐. ท่านสมาชิกทุกท่าน ดร. หนึ่งได้ร่วมกับ คสช. มาตั้งแต่วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๗ วางรากฐานที่มั่นคงด้านการเมืองไทยและวางรากฐานด้านต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓ จึงเป็นหน้าที่ของพลเมืองทุกคนและประชาชนทุกคนที่จะต้องร่วมกันพัฒนาบ้านเมือง รับไม้ต่อจาก ดร. หนึ่ง (ซึ่งคณะผู้บริหารองค์กรฯ ได้ทำแล้ว ในกลุ่มคณะผู้บริหารองค์กรฯ) เหลือแต่รอท่านสมาชิกเข้าร่วมกับคณะผู้บริหารองค์กรเท่านั้น

คสช. ทำให้ประเทศมีวันนี้

หุ้นส่วนประเทศไม่ได้อยู่ที่ตัวอักษร แต่อยู่ที่การกระทำ ลงมือทำแบบอย่างหุ้นส่วนของประเทศ

 หน้าที่พลเมืองไม่ได้อยู่เพียงในหลักสูตร แต่อยู่ที่การปฏิบัติตนทุกวัน ทุกขณะของประชาชนและพลเมืองทุกคน ลงมือทำแบบอย่างที่ดี

ขอสงวนสิทธิ์ ไม่ตอบข้อความใด ๆ ที่มีอ้างชื่อ Dr. Worawadee เพราะตอนนี้ต้องเร่งทำงานด้านปากท้อง ด้วยระบบพอเพียงนิยมเป็นครั้งแรกของโลก (จะชวนอดีต คสช. มาร่วม เพราะปี ๒๕๕๗ คสช. ชวนประชาชนร่วม ปี ๒๕๖๓ ผู้นำพลเมือง (ประเทศไทย) ชวนอดีต คสช. มาร่วมด้วย เพื่อช่วย ดร. หนึ่งวางระบบความสงบสุขของคนในชาติ)

ขอบคุณค่ะ

ดร. หนึ่ง

ประชาชนผู้รักความสงบสุขในบ้านเมือง

๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๓

ใครรัก ไม่รัก คสช. เป็นสิทธิ์ส่วนบุคคล

ดร. หนึ่ง รักและขอบคุณ คสช.

(love)ประเทศไทย


 


หน้า 124 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8742950

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า