Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

มาตราการช่วยเหลือผู้ประกอบการ และลูกจ้าง สู้ภัย โควิค 19 เสวนาสด รายการทำมาหารวยกับโบบิ พุธที่ 23 มีนาคม 2563 เวลา 17.00-18.00 น

พิมพ์ PDF

เชิญรับชมรายการ เสวนาสด “ทำมาหารวยกับโบบิ” ทุกวันจันทร์ 17.00-18.00

สำหรับวันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2563 ตอน “วิธีหารายได้ปีละ140 ล้านล้านบาท”

“มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ และลูกจ้าง สู้ภัย โควิค 19

ดำเนินรายการโดย :

Ø อาจารย์โบบิ (นายสมบูรณ์ นำทิพย์จันทาเจริญ)

ประธานศูนย์แว่นตาไอซอพติก

Ø หม่อมหลวงชาญโชติ ชมพูนุท

ประธานกรรมการ มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

ทางสถานีโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ  (WBTV) วัดยานนาวา        สามารถรับชมทาง ทีวี ผ่านจานดาวเทียม ตามช่องต่างๆดังนี้

·     ทางกล่องดาวเทียมค่าย GMM ช่อง 175

·     ทางกล่องดาวเทียมค่าย PSI ช่อง 239

·     ทางกล่องดาวเทียมค่าย CTH  ช่อง 870

·     ทางกล่องดาวเทียมค่าย  Infosat ;Thaisat; Indeasat ; Leotech ช่อง 189

 

ออกอากาศซ้ำวันพุธที่ 25 มีนาคม 2563 เวลา 10.00-11.00


 
 

เชิญชม "นวัตกรรมอาหารไทยเพื่อสุขภาพสู่ครัวโลก" รายการเปลี่ยนเป็นเปลี่ยน พุธที่ 18 มีนาคม 2563

พิมพ์ PDF

เชิญชม เสวนาสด  “ นวัตกรรมอาหารไทยเพื่อสุขภาพสู่ครัวโลก”       รายการ เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน  

พุธที่ 18 มีนาคม 2563 เวลา 18.00-19.00

(ออกอากาศซ้ำวันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม 2563 เวลา 9.30-10.30 น)

ดำเนินรายการโดย: ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท และ นพ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์  

วิทยากร :

·     นายทรงวิทย์ หงสประภาส

ผู้จัดการธุรกิจอาหาร บริษัท สหภัณฑ์ เซ็นจูรี จำกัด

·     นายวรธกานต์ เพราธุรส   

ผู้จัดการงานขายต่างประเทศ สหภัณฑ์ เซ็นจูรี จำกัด

·     เภสัชกรสมนึก สุชัยธนาวนิช                                               ที่ปรึกษากรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ทางสถานีโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ  (WBTV) วัดยานนาวา        สามารถรับชมทาง ทีวี ผ่านจานดาวเทียม ตามช่องต่าง ๆดังนี้

·     ทางกล่องดาวเทียมค่าย GMM ช่อง 175

·     ทางกล่องดาวเทียมค่าย PSI ช่อง 239

·     ทางกล่องดาวเทียมค่าย CTH  ช่อง 870

·     ทางกล่องดาวเทียมค่าย  Infosat ;Thaisat; Indeasat ; Leotech ช่อง 189


 

ทำมาหารวยกับโบบิ เสวนาสด จันทร์ที่ 16 มีนาคม 2563

พิมพ์ PDF

 

รับมือ Covid-19 แบบบูรณาการ-ข้อเสนอแนะของ ศ.ดร.นพ.สุรศักดิ์ บูรณะตรีเวทย์

พิมพ์ PDF

รับมือ Covid-19 แบบบูรณาการ - ข้อเสนอแนะของ ศ. ดร. นพ. สุรศักดิ์ บูรณะตรีเวทย์

รับมือ Covid-19 แบบบูรณาการ  - ข้อเสนอแนะของ ศ. ดร. นพ.สุรศักดิ์ บูรณะตรีเวทย์

ผมได้รับอีเมล์ จาก ศ. ดร. นพ. สุรศักดิ์ บูรณะตรีเวทย์ ดังข้างล่าง    และเห็นว่าเสนอแนวความคิดการดำเนินการรับมืการระบาดของโควิด ๑๙ อย่างเป็นระบบ    เป็นการเสนอแนะไม่ใช่บอกว่าต้องทำอย่างที่เสนอทั้งหมด   น่าจะมีมาตรการที่ดีและครบถ้วนกว่านี้   จึงช่วยนำมาบอกต่อ  

 หมดเวลาที่จะมัวชี้นิ้วใส่รัฐบาลและคนอื่นในการจัดการแก้ไขปัญหาCovid-19 แล้ว รอให้ปัญหาคลี่คลายค่อยมาตามจัดการกันถึงเวลาที่เราประชาชนชาวไทยทุกคนจะต้องร่วมด้วยช่วยกันเพื่อให้ผ่านวิกฤต Covid-19 นี้ไปด้วยกัน ช่วยกันคิดช่วยกันทำผมลองคิดเบื้องต้นมาได้ประมาณข้างล่างนี้จะทำปลายเปิดไว้ให้ช่วยใส่เพิ่มเติมได้เรื่อย ๆและช่วยกันส่งต่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและช่วยกันทำหน้าที่ของตนเองทั้งตามหน้าที่การงานและหน้าที่การเป็นพลเมืองที่ดีดูแลตนเองและคนรอบข้างให้ได้มากที่สุด

 1. การเฝ้าระวังและสอบสวนโรค Covid-19 ผมเชื่อมั่นในทีมงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เพราะผมรู้จักนักระบาดวิทยาหลายคนที่ทำเรื่องนี้อยู่ว่าเป็นคนจริงจังขนาดไหนแต่เรื่องกำลังคนและแรงกายแรงใจของคนที่ทำอยู่จะไม่เพียงพอ ต้องระดมนักระบาดวิทยามาร่วมด้วยช่วยกันโดยผู้ทำงานต้องมีความปลอดภัยปลอดโรคด้วยสำหรับการเฝ้าระวังผู้กักกันตัวที่บ้านต้องสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เป็นกำลังหลักในการเฝ้าระวังกลุ่มนี้และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยจากการติดโรคสำหรับเจ้าหน้าที่และ อสม. เหล่านี้ด้วย

 2. การตรวจวินิจฉัยโรค Covid-19 อันนี้ผมไม่แน่ใจว่าแนวทางการตรวจคัดกรองโรคในรายที่ไม่มีประวัติอาการเสี่ยงจะมีประโยชน์ในระยะที่ 2 มากน้อยเท่าไร และเมื่อประกาศเป็นระยะที่ 3จะมีประโยชน์มากขึ้นหรือไม่อันนี้ผู้เชี่ยวชาญต้องออกมาร่วมคุยกันและออกแนวทางที่ชัดเจนโดยคำนึงถึงความคุ้มค่า คุ้มทุนมากที่สุด

 3. การรักษาโรค Covid-19 สถานพยาบาลทุกแห่ง ทุกระดับทุกสังกัดต้องเตรียมพร้อมรองรับการรักษาผู้ป่วยโรค Covid-19 ใน กทม ซึ่งระบบบริการสุขภาพมีความซับซ้อนมาก ผู้ว่าราชการ กทมควรนั่งเป็นประธานร่วมกับกลไก คกก ควบคุมโรคติดต่อ กทมวางแนวทางในการรับมือผู้ป่วยใน กทม สำหรับจังหวัดอื่นๆ ผมเสนอแนวทางดังนี้

3.1 ผู้ป่วยที่ไม่ใช่โรค Covid-19

3.1.กรณีผู้ป่วยนอก ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องจัดให้มีการโยกย้ายกำลังคนและทรัพยากรด้านสุขภาพไปที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้พร้อมให้ผู้รับบริการที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรค Covid-19 และจัดการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลชุมชนโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ในรายที่ไม่สามารถรักษาได้

3.1.2 กรณีผู้ป่วยใน จัดแยกหอผู้ป่วยที่ไม่ใช่โรคCovid-19 แยกห่างจากหอผู้ป่วย Covid-19

3.1.กรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน ให้จัดช่องทางการเข้ารับการรักษาแยกจากผู้ป่วย Covid-19 เพื่อลดการสัมผัสเชื้อให้มากที่สุด

 3.2 ผู้ป่วย Covid-19

3.2.โรงพยาบาลเฉพาะที่จะสร้างใหม่พยายามสร้างให้มีแสงแดดส่องถึงหอผู้ป่วยได้รอบทิศ และทำระบบระบายอากาศให้เหมาะสม การวางแผนนำบุคลากรสุขภาพมาช่วยงานต้องเป็นระบบชัดเจน

3.2.2 โรงพยาบาลที่มีอยู่ทั้งภาครัฐ(ทุกสังกัด) และเอกชนต้องมาวางแผนในการรองรับผู้ป่วยร่วมกันว่าจะให้โรงพยาบาลชุมชนโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลสังกัดอื่นๆและโรงพยาบาลเอกชนดูแลผู้ป่วย Covid-19 กลุ่มไหนอย่างไรบ้าง3.2.3 การส่งต่อผู้ป่วย Covid-19 ระหว่างสถานพยาบาลต้องมีระบบการส่งต่อที่ป้องกันการแพร่เชื้อโรค

3.2.4 จัดทำระบบข้อมูลทรัพยากรในการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะเครื่องช่วยหายใจ (ventilator) ว่าในแต่ละจังหวัดมีอยู่ที่ไหนและเป็นประเภทอะไรบ้างตลอดจนวางระบบการยืมคืนอย่างชัดเจน

 4. การป้องกันตนเองของประชาชนทั่วไปต้องปฏิบัติตามข้อแนะอย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงการออกไปในที่สาธารณะและแออัดหากจำเป็นต้องออกไปต้องใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่ไปสัมผัสพื้นผิววัตถุภายนอกบ้าน เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย1 เมตร

 5. หน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชนที่เกี่ยวข้องกับหน้ากากอนามัย เจลล้างมือต้องจัดการผลิต จัดหาและกระจายให้ถึงประชาชนอย่างทั่วถึง

5.1 บริษัทที่ผลิตหน้ากากอนามัย/เจลแอลกอฮอล์ให้รวมกลุ่มกันแจ้งจำนวนที่ผลิตได้ทั้งหมดต่อวัน และร่วมกับภาครัฐภาคประชาชนในการจัดจำหน่ายให้ทั่วถึงประชาชนโดยตรง

 6. ชาวบ้านร้านค้าบ้านเรือนที่อยู่ใกล้ที่ชุมนุมชนจัดเตรียมห้องน้ำและน้ำสบู่เอื้อเฟื้อให้แก่ประชาชนทั่วไปในการเข้าถึงการล้างมือ

 7. บริษัทที่ผลิตอาหารให้รวมกลุ่มกันและประกาศกำลังผลิตอาหารสำเร็จรูปให้ประชาชนรับทราบและจัดช่องทางการกระจายจำหน่ายสินค้าอย่างทั่วถึงตลอดจนวางแผนการผลิตสินค้ากรณีที่สินค้าขาดแคลน

 8. เกษตรกรที่ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ให้ช่วยเหลือกระจายจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรแก่เพื่อนบ้านและคนในชุมชนใกล้เคียง

 9. สถานศึกษา ปิดการเรียนในห้องเรียนจัดระบบเรียนออนไลน์

  10. รัฐบาล 
10.1 บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด

10.2 ออกมาตรการกักกันตัว 14 วันสำหรับทุกคนที่เข้ามาในประเทศไทย

10.3 ควบคุมกำกับสินค้าที่จำเป็นไม่ให้มีการกักตุน

10.4 สนับสนุนการดำเนินงานของภาคประชาชน

 11.....................   

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย  ใน KMI Thailand


 


หน้า 134 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8743149

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า