Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ทำไมเราต้องรักราชวงศ์จักรี

พิมพ์ PDF

 
 

"กฎหมาย กับ การเลือกตั้ง ตอนสอง" เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน พุธที่ 6 มีนาคม 2562 เวลา 19.00 -20.00 น

พิมพ์ PDF

“กฎหมายกับการเลือกตั้ง” (2) เสวนาสด  

รายการ เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน พุธที่ 6 มีนาคม 2562 เวลา 19.00-20.00

(ออกอากาศซ้ำวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2562 เวลา 9.30-10.30 น)

แขกรับเชิญ อาจารย์สมพร มูสิกะ ผู้อำนวยการสถาบันหลักนิติธรรม

หม่อมหลวงชาญโชติ ชมพูนุท ผู้ดำเนินรายการ

ทางสถานีโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ  (WBTV) วัดยานนาวา        สามารถรับชมได้หลายช่องทางดังนี้

·      ชมผ่านมือถือ www.stationg.com/wbtv

·      ทาง ทีวี ผ่านจานดาวเทียม ตามช่องต่างๆดังนี้

·      ทางกล่องดาวเทียมค่าย GMM ช่อง 175

·      ทางกล่องดาวเทียมค่าย PSI ช่อง 239

·      ทางกล่องดาวเทียมค่าย CTH  ช่อง 870

·      ทางกล่องดาวเทียมค่าย  Infosat ;Thaisat; Indeasat ; Leotech ช่อง 189


 

ทำความเข้าใจที่ถูกต้องกับ "ประชาธิปไตย"

พิมพ์ PDF

ผมได้อ่านบทความของ ผู้ใช้นามปากกาว่า "ซามูไร อโยธยา" เห็นว่าน่าสนใจ จึงขอนำมาเผยแพร่ต่อครับ 

หม่อมหลวงชาญโชติ ชมพูนุท

๒ มีนาคม ๒๕๖๒


ประเทศไทยไม่เคยมีประชาธิปไตยที่แท้จริงเชื่อกันว่าการเขียนรัฐธรรมนูญบังคับใช้เป็นประชาธิปไตย ซึ่งต้องทำความเข้าใจกันเสียใหม่โดยประชาชนต้องทำความเข้าใจระบอบและนโยบายในการสร้างประชาธิปไตย ( ๔ )

๖ วัฒนธรรม

๖.๑ กำจัดวัฒนธรรมต่ำทรามที่แพร่หลายมาจากต่างประเทศ และรับวัฒนธรรมต่างประเทศโดยกลั่นกรอง

วัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบอันสำคัญอย่างหนึ่งของระบบสังคม และมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับองค์ประกอบสำคัญอีกสองประการ คือ เศรษฐกิจและการเมือง ฉะนั้น การแก้ปัญหาวัฒนธรรมจึงต้องประสานกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง เศรษฐกิจซึ่งระบบผูกขาดของเอกชนครอบงำการครองชีพของประชาชน และการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย นอกจากจะบั่นทอนวัฒนธรรมอันดีงาม ยังเป็นแหล่งรองรับวัฒนธรรมต่ำทรามที่แพร่มาจากต่างประเทศอีกด้วย การพัฒนาระบบเศรษฐกิจระบบเสรีนิยมที่ก้าวหน้าและพัฒนาการเมืองให้เป็นระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง คือ มาตรการพื้นฐานในการป้องกันและกำจัดวัฒนธรรมต่ำทรามต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศและที่แพร่มาจากต่างประเทศ ในขณะเดียวกันก็ใช้มาตรการทางกฎหมายและทางการศึกษาอบรมควบคู่กันไปด้วย วัฒนธรรมต่ำทรามนั้นไม่เป็นสิ่งพึงประสงค์ไม่ว่าของเทศใดๆ แต่วัฒนธรรมที่ดีของแต่ละชาติก็ไม่ใช่ว่าจะยอมรับซึ่งกันและกันใด้เสมอไป วัฒนธรรมซึ่งชาติหนึ่งถือว่าดี อีกชาติหนึ่อาจถือว่าไม่ดีก็ได้ เช่น ประเพณีความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงซึ่งชาติหนึ่งถือว่าดีงาม แต่อีกชาติหนึ่งถือว่าเป็นการอนาจารไปก็มี ฉะนั้น การรับวัฒนธรรมจากต่างชาติ จึงต้องคัดเลือกกลั่นกรองเอาแต่เฉพาะที่ไม่ขัดกับวัฒนธรรมไทย แม้ว่าวัฒนธรรมเหล่านั้นจะไม่ใช่วัฒนธรรมต่ำทรามก็ตาม

๖.๒ เชิดชูวัฒนธรรมไทยอันสูงส่งมาแต่บรรพกาล

ภูมิแห่งจิตใจของชนชาติไทยซึ่งแสดงออกทางขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ วรรณคดี และความสัมพันธ์กับต่างชาติ เป็นต้นนั้นสูงส่งอย่างยิ่ง ซึ่งจะต้องรักษาและเชิดชูไว้ตลอดไป วัฒนธรรมอันสูงส่งย่อมอาศัยระบอบประชาธิปไตยเป็นพื้นฐาน เพราะวัฒนธรรมอันสูงส่งก็คือวัฒนธรรมของประชาชน ถ้าไม่มีประชาธิปไตย วัฒนธรรมของประชาชนก็จะไม่สามารถพัฒนาอย่างเต็มที่ได้ การปกครองประเทศไทยมีลักษณะประชาธิปไตยมาตั้งแต่บรรพกาล นี่คือ ปัจจัยสำคัญให้วัฒนธรรมของประชาชนได้พัฒนาอย่างเต็มที่ จึงส่งเสริมให้วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่สูงส่ง ฉะนั้น มาตรการพื้นฐานของการเชิดชูวัฒนธรรมไทยก็คือ การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับประเทศไทยนั่นเอง ประสานกับการส่งเสริมวัฒนธรรมใดด้านต่าง ๆ โดยตรงด้วย

๖.๓ ส่งเสริมเสรีภาพของกลุ่มชนต่างเชื้อชาติในประเทศไทยในการพัฒนาวัฒนธรรมของตน

คนไทยประกอบด้วยชนหลายเชื้อชาติ นอกจากเชื้อชาติไทยแล้วยังมีชนเชื้อชาติอื่นๆ เช่น ชาวเขา ชาวมาเลย์ เป็นต้น ความแตกต่างทางเชื้อชาติย่อมกำหนดความแตกต่างทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ระบอบประชาธิปไตยยอมรับ ฉะนั้น ระบอบประชาธิปไตยจึงต้องให้เสรีภาพทางวัฒนธรรมแก่ชนเชื้อชาติต่างๆ ภายในประเทศ เพื่อให้วัฒนธรรมของประชาชนเชื้อชาติเหล่านั้นได้พัฒนาไปอย่างเต็มที่ แม้ว่าวัฒนธรรมของชนเชื้อชาติอื่นจะแตกต่างกับวัฒนธรรมของชนเชื้อชาติไทยก็ตาม แต่เมื่อเป็นวัฒนธรรมของประชาชนก็ย่อมเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามทั้งสิ้น ฉะนั้น การให้เสรีภาพทางวัฒนธรรมจึงมีผลดี โดยเฉพาะคือ ผลดีในการกระชับความสามัคคีแห่งชาติ

๖.๔ พัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองบนรากฐานของการส่งเสริมทรรศนะที่ถือว่า การเมืองคือคุณธรรมตามคตินิยมของคนไทยแต่โบราณ

โดยลักษณะการเมืองคือคุณธรรม เพราะมีความมุ่งหมายเพื่อความสุขของประชาชน ความจริงข้อนี้คนไทยได้ถือเป็นคตินิยมมาแต่โบราณ เช่น ทศพิธราชธรรม เป็นต้น

ในบรรดาระบอบการปกครองทั้งหลาย ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่มีคุณธรรมสูงสุด เพราะระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่รักษาผลประโยชน์ของประชาชน ดังนั้น ประชาธิปไตยก็คือธรรมาธิปไตย นั่นเอง จึงไม่มีการเมืองใดจะมีคุณธรรมสูงส่งเสมอด้วยการเมืองประชาธิปไตย และดังนั้นถ้าจะเป็นประชาธิปไตยก็จำเป็นจะต้องกำจัดทรรศนะที่เห็นการเมืองเป็นของสกปรกและกลับไปสู่ทรรศนะเดิม คือ การเมืองเป็นคุณธรรมต่อไป และบนรากฐานของทรรศนะที่ถูกต้องนี้ ดำเนินการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เช่นความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความอดทนต่อความเห็นที่ตรงกันข้ามกับของตน ความมีวินัย ความยอมรับเสียงข้างมาก ความยืนหยัดในหลักการที่ถูกต้องแม้ว่าจะเป็นฝ่ายข้างน้อย ความใจกว้าง ความยอมแพ้ต่อเหตุผล ความเคารพในหลักวิชา ความอุทิศตนเพื่อประเทศชาติเพื่อประชาชน และเพื่อคุณธรรม เป็นต้น ให้มีทรรศนะที่เห็นการเมืองเป็นคุณธรรม และให้สมบูรณ์ด้วยวัฒนธรรทางการเมืองอย่างมากที่สุด

๖.๕ ส่งเสริมความบริสุทธิ์ผุดผ่องของพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติไทย รวมทั้งศาสนาอื่นๆ ในประเทศไทย

พระพุทธศาสนาเป็นองค์ประกอบอันสำคัญที่สุดของวัฒนธรรมไทย เพราะหลักธรรมของพระพุทธศาสนาสอดคล้องอย่างลึกซึ้งกับลักษณะพิเศษประจำชาติไทย โดยเฉพาะคือ อหิงสา (ความไม่เบียดเบียน) เป็นลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของคนไทย และหลักธรรมอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนาคือ อหิงสา ปรโม ธมฺโม (ความไม่เบียดเบียนเป็นธรรมอย่างยิ่ง) ด้วยเหตุนี้ คนไทยซึ่งรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ จึงเข้ากับศาสนาอื่นได้เป็นอย่างดี ในประวัติศาสตร์ของชาติไทยไม่เคยมีการเลือกปฏิบัติต่อศาสนาอื่น และไม่เคยมีเหตุการณ์ร้ายแรงอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางศาสนา การที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะนับถือพุทธศาสนาของคนไทยนั้น โดยพื้นฐานเป็นการนับถือหลักธรรมอันแท้จริง แม้ว่าจะประกอบด้วยพิธีการ และลัทธินิยมอื่นๆ มากมาย แต่โดยพื้นฐานก็มิได้ละทิ้งหลักธรรมอันแท้จริง หลักธรรมอันแท้จริงนี่เอง คือ ความบริสุทธิ์ผุดผ่องของศาสนา ซึ่งควรเน้นหนักในการส่งเสริมโดยร่วมมือกับบรรดานักปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง.

เมื่อได้ปฏิบัติหลังการต่างๆที่ยกมาข้างต้นปรากฏเป็นจริงอย่างรอบด้านต่อสังคมไทยแล้วตัวแทนประชาชน(ตัวแทนเขตและตัวแทนทุกสาขาอาชีพ)ที่มาจากการเลือกตั้ง มาพิจารณาร่างกฎหมายรัฐธรรมนูนเพื่อรักษาทุกสิ่งทุกอย่างข้างต้น เพื่อแสดงถึงการถืออำนาจอธิปไตยของปวงชนตลอดไปเหมือนกับอนารยะประเทศทั้งหลายที่เป็นประชาธิปไตยแล้วทั่วโลก

 

พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

พิมพ์ PDF

ผมอ่านบทความของ คุณ ไพบูลย์ สถาปนาวิสุทธิ์ ใน Facebook มีความเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง จึงขออนุญาต นำเผยแพร่ต่อครับ

หม่อมหลวงชาญโชติ ชมพูนุท

๒ มีนาคม ๒๕๖๒

 

ผมขอชี้แจงว่า ที่มาของประมุขฝ่ายบริหารของประเทศ มาได้แบบเดียวเท่านั้นครับเพราะเป็น พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะครับ

ตามธรรมดาประมุขแห่งรัฐ ตั้งนายกรัฐมนตรีจากพรรคที่เป็น ฝ่ายข้างมากเด็ดขาด (Absolutemajority) ในสภาผู้แทนราษฎร ถ้าไม่มีฝ่ายข้างมากเด็ดขาด ประมุขแห่งรัฐอาจหารือประธานสภาหรือพรรคการเมือง เพื่อประกอบการพิจารณาว่าจะแต่งตั้งผู้ใดเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้ หรือไม่หารือก็ได้ หรือจะไม่แต่งนายกรัฐมนตรีจากพรรคที่เป็นฝ่ายข้างมากก็ได้ เช่นกรณี สมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธ พระประมุขแห่งอังกฤษ ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากบุคคลนอกสภาหลายครั้ง ซึ่งถือเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะตัวของประมุขแห่งรัฐ เพราะนายกรัฐมนตรีถือเป็นผู้แทนประมุขแห่งรัฐ และถ้าประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ ต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งก็คือประธานรัฐสภา

แต่บ้านเราดูเหมือนจะมีผู้เข้าใจผิดว่า ประธานรัฐสภาเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นผู้นำชื่อผู้จะได้รับแต่งตั้งกราบบังคมทูล หรือเพราะมีการซาวเสียงกันมาแล้วในสภา จึงเข้าใจว่าที่มาของฝ่ายบริหารมาได้หลายแบบ และไปไกลถึงขนาดมีแบบให้ประชาชนเลือกนายกฯ โดยตรงได้กันเลยทีเดียว ความจริงประธานสภาเป็น “ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ” เท่านั้นครับ แปลไทยเป็นไทยว่า “ผู้รับคำสั่ง” อาจนำชื่อบุคคลใดไปกราบบังคมทูลได้ แต่พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งบุคคลใดนั้นเป็นพระราชอำนาจ หาใช่ว่าจะทรงแต่งตั้งตามที่ประธานรัฐสภากราบบังคมทูลไม่ เช่นการตั้งอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีคุณสมบัติสร้างความสามัคคีแห่งชาติได้ก็เป็นตัวอย่างที่ถูกต้องที่สุดของ “ระบบรัฐสภา” และ “ระบบกึ่งรัฐสภา” เรียกว่า “รัฐบาลพระราชทาน” และก็ชอบด้วยกฎหมายและนิติประเพณีครับ

ส่วนการ “ซาวเสียง” หรือที่เข้าใจกันว่า “ประชาชนเลือก ส.ส. แล้ว ส.ส.ไปเลือกนายกฯ ในสภา” นั้น ไม่ใช่หลักการครับ แต่เป็นการแหวกแนว การแหวกแนวนี้สืบเนื่องมาจาก การแหวกแนวที่รัฐธรรมนูญวันที่ 27 มิถุนายน 2475 บัญญัติให้ “สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เลือกตั้งนายกรัฐมนตรี” คณะราษฎรปกครองโดย “ระบบพรรคเดียว” (One-Party System) และอยู่ในช่วงการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งไม่อาจใช้รูปการปกครอง “ระบบรัฐสภา” ได้จึงใช้การซาวเสียงในสภา เป็นวิธีเลือกเฟ้นนายกรัฐมนตรีในคณะของตน ซึ่งต้องเข้าใจว่า การซาวเสียง มิใช่หลักการของระบบรัฐสภา และไม่ควรถือเอามาเป็นแบบอย่างเพราะ “ผิดหลักวิชา” ครับจึงขอเรียนชี้แจงว่า ที่มาของนายกรัฐมนตรีมาได้แบบเดียวครับ คือโดยการแต่งตั้งของประมุขประเทศ เท่านั้น ครับ
-
การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชน ทำให้นายกรัฐมนตรีผู้กุมอำนาจบริหารอยู่แล้ว มีอำนาจอธิปไตยเพิ่มขึ้นอีกอำนาจหนึ่ง ทำให้นายกรัฐมนตรีกลายเป็น “ประมุขของประเทศ” ลักษณะเดียวกับประธานาธิบดีนั่นเองครับ ที่ ดร.ปริญญา บอกว่าในโลกนี้จึงยังไม่มีใครทำนั้นก็ถูกต้องแล้วเพราะมันผิดหลักวิชานั่นเองครับ จึงไม่มีใครทำ

ปัญหาที่ทำให้เกิดความขัดแย้งของคนในชาติในหลายปีที่ผ่านมานั้นก็เพราะนักวิชาการและนักการเมืองบ้านเราไม่เคารพหลักวิชา โดยกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่า “นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” นั้นหมายถึง “นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง” นั่นเองครับ แม้ว่าจะยังมิใช่นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ตามที่คุณปริญญาเรียกร้องอยู่ในขณะนี้ก็ตาม แต่ก็ได้ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกันจนแก้ไม่ตก เพราะการเขียนรัฐธรรมนูญเช่นนี้มันผิดหลักวิชาอย่างร้ายแรง ซึ่งนอกจากจะทำให้นายกรัฐมนตรีเปลี่ยนสถานะเป็นประธานาธิบดีแล้ว ยังเป็นการละเมิดพระราชอำนาจ ละเมิดรัฐธรรมนูญ บั่นทอนราชอาณาจักร และสั่นคลอนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างร้ายแรง ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความขัดแย้งกับประชาชนอย่างเป็นไปเอง และหมดอำนาจลงตามลำดับ และที่สำคัญยังนำไปสู่ความขัดแย้งของบรรดานักเลือกตั้งในการระดมสรรพกำลังแย่งอำนาจบริหารและอำนาจอธิปไตยกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ชนิดที่ไม่มีใครยอมใครอีกด้วยครับและถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ความขัดแย้งในขณะนี้ก็จะบานปลายไปสู่ “สงครามประชาชน” อย่างไม่ต้องสงสัยเลยครับ
-
รัฐต้องมีประมุขเป็น ผู้ถือดุล มีอำนาจสูงสุดเหนือองค์กรอำนาจรัฐทั้งปวง รัฐนั้นจึงจะดำรงอยู่ได้ และทำให้เกิดความมั่นคงแห่งชาติ ถ้าประมุขแห่งรัฐเสียดุลอำนาจลงเมื่อใด รัฐนั้นก็จะกลายเป็น “รัฐล้มเหลว” (Failed State) ครับ 
-
นายกรัฐมนตรี (Priminister) เป็นประมุขของการปกครอง รับอำนาจการปกครอง หรือ อำนาจบริหาร (Administrative Power) มาจากประมุขของประเทศ (Head of State) ผู้ซึ่งถือ อำนาจอธิปไตย (Sovereign Power) นายกรัฐมนตรีจึงเป็น “ผู้แทน” (Agent) ของประมุขของประเทศในการใช้อำนาจบริหาร หรืออำนาจการปกครองจึงเรียกกันว่าเป็น รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยประมุขของรัฐ (ประเทศ) เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประมุขของการปกครอง ด้วยเหตุนี้ นายกรัฐมนตรีจึงเป็นตำแหน่งทางการแต่งตั้งครับ ไม่ใช่ตำแหน่งทางการเลือกตั้ง นายกรัฐมนตรีจะมาจากการเลือกตั้งมิได้ครับ นี่คือหลักวิชาที่ถูกต้อง ครับ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=824915244511746&set=a.100307720305839&type=3&eid=ARB89D77tPWw0w5Hi_rFVUDYAk1biW6iuCu86XtaR7GQliX4yR8nIjEh2jXp7417QVWzXwYCJx4vqcWW


 


หน้า 166 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8743674

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า