Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

เรียนรู้มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคมที่สหราชอาณาจักร ๕. นักศึกษาเรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมกับหุ้นส่วน

พิมพ์ PDF

งานผลิตบัณฑิตในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ต้องดำเนินการโดยยึดหลัก learning sciences (https://en.wikipedia.org/wiki/Learning_sciences)     หรือการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑    รองรับเป้าหมายของการผลิตบัณฑิตที่เปลี่ยนไป    คือผลลัพธ์การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ แตกต่างจากผลลัพธ์การเรียนรู้ในยุคก่อนๆ    เปลี่ยนจากเรียนสาระความรู้ มาเป็นเรียนรู้บูรณาการ ได้ทั้ง ASK (A = Attitude หรือ character, S = Skills, K= Knowledge)   (https://www.gotoknow.org/posts/619014 )    โดยผมขอเพิ่มเติมว่า ทักษะที่สำคัญที่สุดคือทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต


หากจะให้การผลิตบัณฑิตมีส่วนขับเคลื่อนประเทศไทย ๔.๐ ต้องไม่แค่จัดหลักสูตรตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตเท่านั้น    ต้องใช้หลักการของการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑   ที่ผู้เรียนต้องเป็นผู้ลงมือกระทำเพื่อการเรียนรู้ของตน    โดยเป็นการลงมือทำในสภาพจริง หรือคล้ายจริงที่สุด    ตามด้วยการไตร่ตรองสะท้อนคิด (reflection) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกหรือรู้จริง (mastery learning)    


บัณฑิตในศตวรรษที่ ๒๑ จึงต้องมีทั้งความรู้ทฤษฎี และ ความรู้ปฏิบัติ   ต้องมีทักษะการเรียนรู้ ทั้งจากแหล่งความรู้และจากการปฏิบัติงาน และการดำรงชีวิตของตนเอง   และจากปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น   แหล่งปฏิบัติงานของนักศึกษาที่ดีที่สุดคือสถานประกอบการนั่นเอง    ทั้งสถานประกอบการในภาคธุรกิจ  ภาครัฐ  ภาคประชาสังคม  และภาคชีวิตจริงอื่นๆ


การศึกษาในมหาวิทยาลัย ๔.๐ ต้องพัฒนา A.S.K. ดังกล่าวให้งอกงามขึ้นในนักศึกษา    ด้วยมาตรการดังกล่าว   


ในยุคนี้ เป็นที่บ่นกันทั่วไป (อาจกล่าวได้ว่าเกือบทั่วโลก) ว่า สถาบันอุดมศึกษาผลิตบัณฑิตไม่ตรงตามความต้องการ    บัณฑิตไม่มีทักษะและคุณลักษณะที่ต้องการ    ดังนั้น ทางแก้ที่ดีที่สุดคือ “การผลิตบัณฑิตแบบหุ้นส่วน”    ซึ่งหมายความว่า มีการร่วมกันคิดกำหนดคุณลักษณะ (characters)  สมรรถนะ (competencies)  และความรู้ (knowledge) ของบัณฑิตที่ต้องการ    ร่วมกันคิดวิธีการจัดการเรียนการฝึกฝน  และวิธีการวัดผลลัพธ์การเรียนที่ต้องการ     แล้วร่วมกันดำเนินการผลิตบัณฑิต และการวัดผล    ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็น engaged curriculum    


ในการประชุม Engage Conference 2017 ไม่มีการกล่าวถึงภาพรวมของหุ้นส่วนการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการผลิตบัณฑิตตามที่กล่าวในย่อหน้าบน    แต่มีการกล่าวถึงในเว็บไซต์มากมาย    ในปี 2011 มีการเผยแพร่เอกสาร  Embedding Public Engagement in the Curriculum: A Framework for the Assessment of Student Learning from Public Engagement   ( https://www.publicengagement.ac.uk/sites/default/files/publication/assessing_student_learning_from_pe.pdf )       


ทำให้พอจะเดาได้ว่า สหราชอาณาจักรใช้การสร้าง framework เพื่อการประเมินตนเอง สำหรับใช้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมด้านต่างๆ ของสถาบันอุดมศึกษา    รวมทั้งด้านการเรียนการสอน 


ในเอกสารดังกล่าวรูปที่ ๒ หน้า ๙ ระบุ framework สำหรับประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาจากกิจกรรม PE รวม ๕ ด้านคือ knowledge co-creation, managing engagement, awareness of self and others, communication, และ reflective practice   โดยมีรายละเอียดของแต่ละด้านในตาราง assessment framework ในหน้าถัดไป    โดยการประเมินแต่ละรายการมี ๓ ระดับ   


รายละเอียดในส่วนของ co-creation สะท้อนมุมมองของการเรียนรู้ทฤษฎีจากการปฏิบัติของนักศึกษาในสถานการณ์จริง    ตรงตามหลักของ learning sciences ที่กล่าวแล้ว 


นอกจากนั้น ยังมีเอกสาร DRAFT Attributes Framework for Public Engagement for university staff and students (https://www.publicengagement.ac.uk/sites/default/files/publication/an_attributes_framework_for_public_engagement_december_2010_0_0.pdf

โปรดสังเกตว่า ทั้งสองเอกสารใช้ปัจจัยหลัก ๓ กลุ่ม (domain) ในการตรวจสอบระดับของ engagement ของอาจารย์และนักศึกษา คือ communication, empathy, และ reflection    ซึ่งผมตีความว่า ปัจจัยหลักทั้งสามกลุ่ม (โปรดดูรายละเอียดของแต่ละกลุ่มในเอกสารต้นฉบับ) เป็นตัวบ่งชี้การเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งเชื่อมมาจากการเปลี่ยน mindset


นอกจากดูภาพในเอกสาร ขอให้ดูตารางบอกประเด็นย่อยของปัจจัยหลักแต่ละกลุ่ม    ที่รายละเอียดจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องได้ปรับปรุงพัฒนาตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้กิจการของมหาวิทยาลัย ค่อยๆ เปลี่ยนไปสู่มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคม 


จะเห็นว่าวงการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของสถาบันอุดมศึกษาเข้าไปใกล้ชิดสังคมของสหราชอาณาจักร มองเรื่อง PE อย่างละเอียดอ่อนลึกซึ้งมาก    และดำเนินการจัดการการเปลี่ยนแปลงอย่างมีระบบและขั้นตอน   โดยจับที่กลุ่มนักศึกษาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงร่วมกับอาจารย์    นักศึกษาไม่ใช่แค่ผู้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเพื่อเปลี่ยนแปลงตนเองไปเป็น “บัณฑิตย์” เท่านั้น   แต่ยังสามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (change agent) ได้ด้วย    ผมตีความว่า หากนักศึกษาได้ร่วมขบานการ PE  และได้ฝึกฝนทักษะ communication, empathy, และ reflection ซ้ำแล้วซ้ำเล่าในสถานการณ์จริง จะช่วยให้นักศึกษาได้พัฒนาสมรรถนะสำคัญหลากหลายด้านที่จำเป็นสำหรับชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑   โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการบรรลุ transformative learning ในโอกาสข้างหน้า  


เอกสารนี้มีคุณค่ามาก ผมขอเสนอให้ผู้บริหารและสมาชิกในมหาวิทยาลัยทุกระดับอ่านเอกสารนี้อย่างพินิจพิเคราะห์   เพื่อร่วมกัน “redefine what it means to be a university in the 21st century” ตามคำของ Sir Alan Langlands, Chief Executive, HEFCE ที่เอกสารนำมาอ้างถึง

เป้าหมายสำคัญที่สุดสามประการ ต่อการจัดให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากกระบวนการปฏิสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนกับสังคมคือ (๑) การสร้างจิตสาธารณะ, (๒) การได้มีโอกาสเรียนรู้ในสถานการณ์จริงเพื่อบรรลุการเรียนรู้แบบรู้จริง (mastery learning)  และ (๓) การได้ฝึกเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ transformative learning 

PE จึงเป็นทั้ง means และ end ในชีวิตของนักศึกษา


ตอนไปเยี่ยมเรียนรู้กิจกรรม PE ของมหาวิทยาลัย UWE ในวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๐  เขานำเสนอโครงการ PE ที่เขาภูมิใจคือ BGCP (Bristol Green Capital Partnership - http://bristolgreencapital.org)    ที่มีโครงการย่อยจำนวนมากร่วมกันทำให้นครบริสตอลเป็นเมือง “สีเขียว”   ที่เมื่ออ่านรายการโครงการย่อยแล้ว    เขาบอกว่านักศึกษามีบทบาทต่อผลสำเร็จของ BGCP มาก    ผมคิดว่าสามารถจัดให้นักศึกษาเข้าร่วมทำงานเพื่อการเรียนรู้ของตนได้มากมายหลากหลายวิชา โดยอาจารย์ต้องออกแบบการเรียนจากการทำงานแบบบูรณาการวิชา


ในการดูงานที่มหาวิทยาลัยบริสตอล บ่ายวันที่ ๔ ธันวาคม      เขาบอกชัดเจนว่า การทำงานหุ้นส่วนสังคมได้รับการบรรจุ (embed) ในทุกหลักสูตร ทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา    รวมทั้งสนับสนุนให้นักศึกษาทำงานอาสาสมัคร และงานแลกเปลี่ยนความรู้ (knowledge echange) กับภาคี


ทีมงานของมหาวิทยาลัยบริสตอล เสนอโครงการ Student capital : the power of student engagement https://www.bristol2015.co.uk/media/filer_public/6f/d3/6fd3fa25-0041-4c9e-a3dd-ed2b55f07073/bristol_method_student_capital_module_finalml.pdf     ซึ่งทำร่วมกับ UWE ใช้พลังนักศึกษาร่วมทำโครงการ BGCP    ตามในเอกสารบอกว่าตามโครงการ European Green Capital ที่ทำอยู่เดิม นักศึกษามีบทบาทจำกัด    เขาจึงริเริ่มโครงการ Green capital : student capital ขึ้นในปี 2015   ให้นักศึกษาได้มีบทบาททั้งในหลักสูตร และในกิจกรรมนอกหลักสูตรผ่าน Student union ของมหาวิทยาลัยบริสตอล และมหาวิทยาลัยอิงก์แลนด์ตะวันตก    โดย student union ทำงานร่วมกับเมืองและชุมชนท้องถิ่น โดยใช้ทุนจากโครงการ Catalyst ที่ได้จาก HEFCE ในการทำงาน     


เอกสารบอกว่า นครบริสตอลมีนักศึกษาจำนวน ๕ หมื่นคน คิดเป็นร้อยละ ๑๐ ของพลเมือง    และมีจุดโอกาสคือ นักศึกษาและอาจารย์จำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนของเมืองอยู่แล้ว    รู้จักคุ้นเคยกับแกนนำชุมชนที่ร่วมขับเคลื่อนขบวนการเมืองสีเขียวเป็นอย่างดี   นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมได้หลายช่องทาง ได้แก่ เป็นอาสาสมัคร, มหาวิทยาลัยจัดให้ไปฝึกงาน (ทำงาน) อย่างเป็นทางการ ที่เรียกว่า placement, เข้าทำงานเป็น intern, และทำโครงการ


เป้าหมายของโครงการ มี ๓ ส่วนคือ เพื่อพัฒนาเมือง, เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย (ให้เกิดวัฒนธรรมหุ้นส่วนสังคม), และเพื่อพัฒนานักศึกษา (ให้มีทักษะทำงานกับภาคีที่หลากหลาย และเกิด transformative learning เน้นที่จิตสาธารณะ)   รายงานนี้ให้ข้อมูลหลักฐานสรุปได้ว่าเกิดผลเกินเป้า    โดยเขาระบุเป้าหมายต่อนักศึกษาเป็นเป้าใหญ่ ๒ ประการ   เป้ารายละเอียด ๕ ประการ    บทบาทสำคัญของนักศึกษาคือเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (change agent)    ตามในเอกสารหน้า ๑๔ บอกว่า นักศึกษาทำหน้าที่ change maker ในกิจกรรม ๑๑ ประเภท เช่น อาหาร, พลังงาน, ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ, การขนส่ง/การเดินทาง, สุขภาพ  เป็นต้น   รายงานนี้มีกรณีตัวอย่าง ทำให้เห็นว่านักศึกษามีบทบาทอย่างไร


ผมขอเชิญชวนว่า รองอธิการบดี และรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยไทยควรอ่านเอกสารนี้ แล้วจับประเด็นมาเสวนากัน ว่าจะนำหลักการมาใช้ในบริบทของแต่ละพื้นที่ แต่ละมหาวิทยาลัยอย่างไร    


สำหรับประเทศไทย ผมขอเสนอว่า สถาบันอุดมศึกษาต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตบัณฑิตเพื่อหนุนขบวนการขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย ๔.๐ ในสองแนวทางร่วมกันและเสริมกัน คือ (๑) ใช้นักศึกษาเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศไทย ๔.๐  (๒) จัดการภาพรวมเพื่อให้บัณฑิตมีศักยภาพในการออกไปเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศไทย ๔.๐  



วิจารณ์ พานิช

๒๑ ธ.ค. ๖๐ 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2018 เวลา 16:24 น.
 

เรียนรู้มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคมที่สหราชอาณาจักร ๓. เปลี่ยนวัฒนธรรม

พิมพ์ PDF

ในเว็บไซต์ของ NCCPE (https://www.publicengagement.ac.uk ) ระบุเป้าหมายขององค์กรว่า “NCCPE seeks to support a culture change in universities. Our vision is of a higher education sector making a vital, strategic and valued contribution to 21st century society through its public engagement activity” 

อ่านแล้วผมตีความว่า ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ สถาบันอุดมศึกษาต้องไม่ใช่เพียงสร้างบัณฑิตออกไปทำงานพัฒนา บ้านเมือง     ตัวมหาวิทยาลัยเองต้องเข้าไปร่วมพัฒนาบ้านเมืองด้วย    ผมตีความต่อว่า การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเริ่มที่กิจกรรมในชีวิตจริง หรือเริ่มที่ความรู้ปฏิบัติ    แล้วจึงย้อนกลับมาเรียนความรู้ทฤษฎี    มหาวิทยาลัยจะเอื้อต่อการเรียนรู้แบบนี้ได้ดี มหาวิทยาลัยต้องมีประสบการณ์ในการปฏิบัติด้วย

มหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ ๒๑ จึงต้องเปลี่ยนหลายชั้นในเวลาเดียวกัน    และชั้นลึกที่สุดคือชุดความเชื่อ (mindset)  และวิถีปฏิบัติ หรือวัฒนธรรมของคนมหาวิทยาลัย  

ผมตีความว่า ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยทั่วโลก ทำงานวิชาการในรูปแบบ diffusion approach มาเป็นเวลานานนับร้อยปี   บัดนี้ต้องเปลี่ยนไปเป็น engagement approach   และสหราชอาณาจักรมีวิธีเปลี่ยนความเชื่อและวัฒนธรรมนี้อย่างแยบยล   ที่ผมต้องการไปสัมผัสและขุดคุ้ยตีความ    สำหรับนำมาเผยแพร่และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของอุดมศึกษาไทย    

Diffusion approach หมายความว่า มหาวิทยาลัยทำงานค้นคว้าสร้างสรรค์ความรู้ใหม่จากการทดลองหรือคิดค้นทางทฤษฎี    แล้วเผยแพร่อย่างกว้างขวางให้คนนำไปใช้อย่างอิสระ   เมื่อเอาความรู้นั้นไปใช้ได้ผลอย่างไรแล้วมีการตีความยกระดับความรู้และเผยแพร่ต่อไปอีก    ทำให้เกิดวัฒนธรรมวิชาการแบบต่อยอดซึ่งกันและกัน ก่อความก้าวหน้าแก่สังคมมนุษย์อย่างมหาศาล    แต่บัดนี้พบว่า วิชาการแบบ diffusion approach ไม่เพียงพอ    ต้องการ engagement approach เข้ามาเสริม หรือดำเนินการคู่ขนาน

Engagement approach หมายความตามที่กล่าวแล้วในตอนที่ ๑ ว่า  “ร่วมคิดร่วมทำแบบหุ้นส่วน   เกิดประโยชน์ร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย   มีการใช้ความรู้และการเรียนรู้ร่วมกัน   เกิดผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้”    และมีการสร้างกระบวนทัศน์ของผู้เกี่ยวข้อง  มียุทธศาสตร์สร้างการเปลี่ยนแปลง  มีกลไกดำเนินงานให้ได้ผล   และมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมมหาวิทยาลัย 

 การเปลี่ยนวัฒนธรรมไม่สามารถทำได้ผ่านการบังคับ    ต้องผ่านการกระทำ เรียนรู้ เห็นคุณค่า  และซึมซับ    นี่คือจุดสำคัญที่สุดที่ผมไปเรียนรู้ในช่วงเวลา ๘ วันของการเดินทาง    และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบันทึกชุด “มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคม” นี้

 กลไกสำคัญที่สุดคือ “พื้นที่ดำเนินการ” (action space)    ให้คนมหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งได้มีโอกาสทำสิ่งใหม่ๆ ที่มีคุณค่า  แล้วเรียนรู้คุณค่านั้น    ทั้งด้วยสัมผัสของตนเอง และด้วยการเข้าร่วม “พื้นที่เรียนรู้คุณค่า” (learning space)    โดยผมตีความว่า การประชุม Engagement 2017 นี้ เป็น “พื้นที่เรียนรู้คุณค่า” ของกิจกรรมมหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคม  

แน่นอนว่า การประชุม Engagement Conference 2017 เป็นพื้นที่เรียนรู้เทคนิควิธีการจัดการและดำเนินการกิจกรรมมหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคมด้วย   แต่คุณค่าสำคัญที่สุดของการประชุม Engagement 2017 ในสายตาของผม คือ เป็น “พื้นที่เรียนรู้คุณค่า”

การเรียนรู้คุณค่า  นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีปฏิบัติในชีวิตการทำงานประจำวัน  เปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ ซึ่งก็คือการเปลี่ยนวัฒนธรรม    ซึ่งในที่นี้เป็นการเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในระบบอุดมศึกษา     จากวัฒนธรรมวิชาการลอยตัว ไปสู่วัฒนธรรมวิชาการหุ้นส่วนสังคม    ที่หากประเทศไทยเราดำเนินการได้ผลภายใน ๑๐ ปี    ก็จะมีความหมายต่อการบรรลุเป้าหมาย ประเทศไทย ๔.๐    ดังที่ผมเคยเสนอไว้ว่า ประเทศไทย ๔.๐ ไม่มีทางบรรลุได้ หากมหาวิทยาลัยไม่เปลี่ยนกระบวนทัศน์ (https://www.gotoknow.org/posts/634621) 

ผมตั้งข้อสังเกตว่า NCPPE มีเครื่องมือหลายชิ้น สำหรับช่วยให้มหาวิทยาลัยเปลี่ยนวัฒนธรรมของตนเอง เช่นเครื่องมือประเมินตนเอง ที่เรียกว่า EDGE (https://www.publicengagement.ac.uk/support-it/self-assess-with-edge-tool)    ในชื่อเต็มว่า Embryonic, Developing, Gripping, and Embedded approaches to supporting engagement     

ในปี 2014 NCCPE ออกรายงาน  Building an Engaged Future for UK Higher Education ซึ่งอ่านรายงานสรุปได้ที่ https://www.publicengagement.ac.uk/sites/default/files/publication/engaged_futures_summary_report_final.pdf    และอ่านรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ที่ https://www.publicengagement.ac.uk/sites/default/files/publication/t64422_-_engaged_futures_final_report_72.pdf    รายงานดังกล่าวชี้ชวนให้เห็นว่าสถานการณ์แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ทำให้มหาวิทยาลัยจะต้องเปลี่ยนแปลง     เปลี่ยนจากการเป็นหอคอยงาช้าง  ไปเป็นสถาบันที่มองออกข้างนอก และเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนากิจการต่างๆ ของสังคม    โดยที่รายงานนี้ไม่ใช่ได้จากการนั่งเทียนเขียน   แต่มาจากการทำงานวิจัยตั้งคำถามหลัก ๕ คำถาม    สอบถามความเห็นของผู้คนในภาคส่วนต่างๆ     

ผมสรุปสาระหลักจากรายงานดังกล่าวว่า  มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรถูกกดดันเรียกร้อง ให้ต้องรับผิดชอบเพิ่มจากเดิมหลากหลายด้าน    และการตอบสนองไม่มีทางทำได้โดยมหาวิทยาลัยเอง    ต้องอาศัยการทำงานร่วมกับหุ้นส่วนต่างๆ ในสังคม    รายงานสรุปหน้า ๓ ระบุหุ้นส่วนดังนี้ “public, students, museums, local authorities, local and national charities, think tanks and artists, across all fields of economy and society” 

รางวัล Engage Watermark  (https://www.publicengagement.ac.uk/work-with-us/engage-watermark) เป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งของการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรเปลี่ยนวัฒนธรรม สู่วัฒนธรรมหุ้นส่วนสังคม    เป็นรางวัลที่มอบให้แก่มหาวิทยาลัยที่เป็นเลิศในการดำเนินการสนับสนุนเชิงสถาบันต่อ engagement    คำว่า watermark แปลว่า “ลายน้ำ” หมายถึงลายน้ำในกระดาษ ที่ฝังอยู่ในเนื้อกระดาษ    ในกรณีของรางวัล Engage Watermark จึงหมายถึงมีการจัดการที่มี engagement ฝังอยู่ในเนื้อใน (embedded) ทั่วทั้งองค์กร    

การยื่นขอรางวัล เป็นการสำรวจตนเองของสถาบัน     ช่วยการปรับปรุงการดำเนินการด้านต่างๆ ให้เอื้อต่อการทำหน้าที่หุ้นส่วนสังคม

รางวัลนี้มี ๔ ระดับ คือ เหรียญบรอนซ์, เงิน, ทอง, และพลาตินั่ม    มีรายละเอียดที่ https://www.publicengagement.ac.uk/work-with-us/engage-watermark/engage-watermark-award-levels     และในปี 2018 จะเริ่มมีรางวัลให้แก่ระดับคณะหรือสถาบันวิจัย เรียกว่า Engage Watermark Faculty Award  

NCCPE Public Engagement Network (https://www.publicengagement.ac.uk/work-with-us/public-engagement-network) เป็นอีกกลไกหนึ่งของการส่งเสริมวัฒนธรรมหุ้นส่วนสังคม    ในระดับบุคคล    ผ่านกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน digital platform  

  ในเว็บไซต์ของ NCCPE ส่วน Work with Us (https://www.publicengagement.ac.uk/work-with-us) ระบุกิจรรมที่ทำร่วมกับภาคีไว้ ๑๔ รายการ    ซึ่งผมตีความว่า เป็นกิจกรรมที่มีผลเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยสู่วัฒนธรรมหุ้นส่วนสังคมทั้งสิ้น    และบางประเด็นผมได้นำมาตีความดังข้างบน  



วิจารณ์ พานิช

๒๐ พ.ย. ๖๐  ปรับปรุง ๑๘ ธ.ค. ๖๐ 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2018 เวลา 16:30 น.
 

องค์กรแห่งยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

พิมพ์ PDF

ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านทางสังคม: คลื่นอารยะ 7 ลูก ในหนังสือสยามอารยะ แมนนิเฟสโต ที่ผมเขียนนั้น กล่าวได้ว่า ปัจจุบัน โลกกำลังอยู่ในคลื่นลูกที่ 3 ยุคข้อมูลข่าวสาร และกำลังเคลื่อนไปสู่คลื่นลูกที่ 4 ยุคสังคมแห่งความรู้ การเปลี่ยนแปลงแต่ละยุคเกิดจากการที่มนุษย์รู้จักใช้ความคิดปฏิวัติสังคม และประเทศใดที่สามารถขี่ยอดคลื่นการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ก่อนจะเป็น “ผู้ชนะ” คือ สามารถก้าวกระโดดสู่การเป็นประเทศชั้นแนวหน้าที่ทรงอิทธิพลของโลก ในมิติทางเศรษฐกิจ ผมมีแนวคิดมโนทัศน์ “เศรษฐกิจหลากสี” อันเป็นแนวคิดที่ระบุถึง เศรษฐกิจหลากหลายมิติที่เราควรให้ความสำคัญ เพื่อสร้างชาติให้เป็นผู้ชนะในโลกคลื่นลูกที่ 3 ถึง 6 โดยเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) หรือเศรษฐกิจ “สี” ใสเป็นมิติหนึ่งในแนวคิดดังกล่าว


เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นเทคโนโลยีสำคัญของโลกในคลื่นลูกที่ 3 และ 4 ซึ่งแนวโน้มสำคัญของการปฏิวัติดิจิทัล เช่น การเคลื่อนย้ายถ่ายโอนมากและเร็วขึ้น เครือข่ายสังคมออนไลน์กลายเป็นสื่อกระแสหลักของโลก เส้นแบ่งระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์จะไม่ชัดเจน ข้อมูลดิจิทัลจะไหลทะลักไปยังทุกพื้นที่ หุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์จะมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น

การที่จะประสบความสำเร็จในยุคเศรษฐกิจสีใส องค์กรต้องเตรียมพร้อมปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง โดยลักษณะองค์กรที่จะประสบความสำเร็จในยุคเศรษฐกิจสีใส (เศรษฐกิจดิจิทัล) มีดังต่อไปนี้

1. องค์กรแห่งเทคโนโลยี คือ เป็นองค์กรที่มีความสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานและปฏิบัติงาน มีการริเริ่มนำเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่มาใช้ในองค์กร เช่น การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับทุกสิ่งในสำนักงาน การสื่อสารแบบไร้สายบนเครือข่ายความเร็วสูง หรือการนำระบบ big data และคลาวด์คอมพิวติ้งมาใช้ รวมไปถึงการใช้ AI และ หุ่นยนต์ ปฏิบัติงานแทนมนุษย์ เป็นต้น 2. องค์กรจัดการข้อมูล องค์กรในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลต้องเผชิญกับสถานการณ์ข้อมูลท่วม เนื่องจาก การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศหรือสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้ข้อมูลมาจากหลากหลายช่องทาง องค์กรจำเป็นต้องมีศักยภาพในการจัดการข้อมูล เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน การจัดการข้อมูล รวมไปถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างเป็นระบบและพร้อมใช้ สามารถวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลได้อย่างถูกต้อง สามารถสรุปผลการวิเคราะห์ นำเสนอทางเลือก และระบุข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือก สามารถพยากรณ์ หรือสร้างแบบจำลอง เพื่อพยากรณ์หรือตีความโดยอ้างอิงจากข้อมูลที่มีอยู่ หรือสามารถออกแบบเลือกใช้หรือประยุกต์วิธีการจัดทำแบบจำลองต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นต้น 3. องค์กรวิจัยและนวัตกรรม ระบบขององค์กรต้องสนับสนุนให้เกิดการสร้างนวัตกรรม ซึ่งนวัตกรรมในที่นี้ ควรเป็นไปตาม โมเดลนวัตกรรม 3 I” ที่ผมได้เสนอไว้เมื่อ 5 ปีที่แล้ว กล่าวคือ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่

  1. นวัตกรรมความคิด (ideation innovation) อันเป็นได้ทั้งจุดเริ่มต้นนวัตกรรมและเป็นนวัตกรรมในตัวเอง ซึ่งเป็นพื้นฐานสามารถต่อยอดสู่นวัตกรรมสิ่งปฏิบัติ
  2. นวัตกรรมสิ่งปฏิบัติ (implementation innovation) เป็นสิ่งที่สามารถจับต้องหรือมองเห็นได้ เป็นรูปธรรม หรือ ถูกนำไปปฏิบัติ เช่น สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ สังคม การบริหารจัดการ การจัดระบบการอยู่ร่วมกัน โดยอาจอยู่ในรูปกระบวนการ วิธีการ มาตรการ ผลิตภัณฑ์ หรือผลงาน
  3. นวัตกรรมผลกระทบ (impact innovation) หมายความว่า นวัตกรรมที่ดีต้องมีพลังสร้างผลกระทบที่ดีงามให้เกิดขึ้น ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ระดับหน่วยงาน และระดับองค์กร ระดับชุมชน ระดับสังคมประเทศชาติ

ตัวอย่างแนวทางส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร ได้แก่ การสนับสนุนจากผู้นำระดับสูงให้พนักงานกล้าคิดกล้าทำสิ่งใหม่ การประสานความร่วมมือ ระดมสมอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นข้อมูล การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา การประเมินผลงานด้านนวัตกรรมที่ได้ลงทุนไป การให้รางวัลจูงใจกับบุคลากร โดยเฉพาะการยกย่องให้เกียรติ รวมทั้งติดตามการเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าอย่างใกล้ชิด เช่น สตาร์บัคจัดทริปไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการดื่มกาแฟของแต่ละเชื้อชาติ เป็นต้น

4. องค์กรเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรจึงต้องตามให้ทันการเปลี่ยนแปลง แนวทางการสร้างองค์กรเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น การสร้างระบบจัดการความรู้ในองค์กร เพื่อให้มีการรวบรวม สะสม จัดระบบ แบ่งปัน ถ่ายทอดความรู้ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงแหล่งความรู้ขององค์กร องค์กรควรมีการจัดการฝึกอบรมและจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น สร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมให้คนนำข้อผิดพลาดของตนเองมาแบ่งปัน หรือออกแบบให้สำนักงานเป็นแหล่งเรียนรู้ การประเมินผลบุคลากร จากการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นต้น 5. องค์กรพลวัตร คือ องค์กรที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวได้เร็ว เนื่องจากเทคโนโลยีและภาวะการแข่งขันมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว วงจรชีวิตของสินค้าและบริการสั้นลง ลูกค้าต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็ว และมีความต้องการเฉพาะเจาะจง

ลักษณะองค์กรพลวัตร คือ

  1. มีโครงสร้างแนวราบ (Horizontal structure) เพื่อลดขั้นตอนการบังคับบัญชา เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ จากการสั่งการและควบคุมเปลี่ยนเป็นใช้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน (mutual trust based) เป็นหลัก เน้นการกระจายอำนาจ มีความยืดหยุ่นและความคล่องตัว
  2. มีโครงสร้างเฉพาะกิจ (Adhocracy) ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้มารวมตัวกัน ทีมงานอาจมาส่วนต่างๆ ของโลกมาทำงานร่วมกัน เพื่อทำงานแบบภารกิจชั่วคราวหรือจัดทำโครงการให้สำเร็จ ไม่เน้นการทำงานแบบสายการบังคับบัญชาเป็นลำดับชั้นหรือการทำงานแบบเป็นทางการ เป็นโครงสร้างไม่ถาวร ขึ้นอยู่กับอายุโครงการ
  3. มีความยืดหยุ่นในบริบทกาละและเทศะ (Time and space flexibility) เนื่องด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมต่อสถานที่ทำงาน บ้าน พื้นที่ทางสังคมและสมาร์ทโฟนของแต่ละบุคคล ทำให้การทำงานมีความยืดหยุ่น ทั้งด้านเวลาการทำงาน รูปแบบการทำงาน สถานที่ทำงาน จึงสามารถเปิดโอกาสให้บุคลากรทำงานได้จากทุกที่โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Work force mobility)

6. องค์กรเครือข่าย เป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรหลายแห่งในรูปแบบต่างๆ โดยเชื่อมโยงกิจกรรมหรืองานที่แต่ละองค์กรต้องการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินการ ค้นหาทรัพยากรใหม่ๆ จากทั่วโลก เกิดการคิดสร้างสรรค์มากขึ้น และมุ่งเน้นดำเนินกิจกรรมบนฐานสมรรถนะที่เป็นจุดแกร่งของแต่ละองค์กร ทำให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัวสูง มากกว่าการทำตามลำพัง

โลกและประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไปในสู่เศรษฐกิจดิจิทัล องค์กรถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงไปด้วย การเตรียมความพร้อมจึงกำหนดความสำเร็จในการบริหารงาน ดังคำกล่าวของเบนจามิน แฟรงคลินที่ว่า “ความล้มเหลวที่จะเตรียมตัวในปัจจุบัน เท่ากับเราเตรียมตัวที่จะล้มเหลวในอนาคตที่จะมาถึง”

ผมหวังว่า ทุกท่านจะสามารถกลับไปเปลี่ยนแปลงองค์กรที่ตนเองอยู่เพื่อเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ได้อย่างประสบความสำเร็จ

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD)
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน http://www.kriengsak.com














แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม 2018 เวลา 19:56 น.
 

สร้างสังคมปัญญานิยม: นวัตกรรมการสร้างคนเพื่อการสร้างชาติ

พิมพ์ PDF

ประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำทางรายได้ การศึกษา การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน สวัสดิภาพและสวัสดิการทางสังคม รวมไปถึง “ความเหลื่อมล้ำทางปัญญา” ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องพัฒนาและสร้างสังคมปัญญานิยมให้เกิดขึ้นให้ได้ โดยเริ่มต้นจากเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร เพราะประเทศต่างๆ ทั่วโลกเกิดการพัฒนาอย่างก้าวไกลในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม หากประเทศไทยยังนิ่งเฉย จะยิ่งทำให้เกิดช่องว่างความแตกต่างด้านสังคมแห่งปัญญาระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ


ผมได้เสนอแนวคิด “เมือง 10 ส” เพื่อสร้างกรุงเทพฯ ในช่วงที่ผมหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ปี 2551 เพื่อสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่ใน 10 มิติ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ เป็นเมืองสมองสร้างสรรค์ กล่าวคือ เป็นเมืองที่ผู้คนมีโอกาสได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพในทุกช่วงชั้น มีโอกาสได้เรียนรู้ตลอดชีวิตตามความถนัดและสนใจ โดยมีโรงเรียนที่มีคุณภาพ มีแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับคนทุกช่วงวัยที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้สะดวกและรวดเร็ว และประชาชนมีส่วนร่วมใช้ความรู้และความสามารถในการพัฒนาและปรับปรุงเมืองในด้านต่าง ๆ

ทั้งนี้ ผมมองว่า การสร้างสังคมที่ดำเนินด้วยปัญญา ควรเริ่มตั้งแต่พัฒนาให้ทุกคนมีปรัชญาการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง พัฒนาให้ทุกคนมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต พัฒนาให้ทุกคนค้นพบเอกลักษณ์และเห็นคุณค่าในความเป็นมนุษย์ พัฒนาให้ทุกคนได้ใช้ส่วนดีในตัวได้เต็มศักยภาพ โดยผมขอนำเสนอนโยบายที่คิดว่า สามารถนำมาปรับใช้ได้ในระดับประเทศ ได้แก่ 1. สร้าง Brain Bank Park – สวนสาธารณะเพื่อการเรียนรู้ หนึ่งในนโยบายหาเสียงที่ผมเคยเสนอไว้ คือ การสร้าง “สวนสมองคนเมือง” หรือแหล่งเรียนรู้ของคนในเมือง โดยผมมองว่า ในการขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ จำเป็นต้องพัฒนาคนให้เป็นคนแห่งการเรียนรู้ เพื่อเผชิญหน้ารับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเท่าทัน สามารถปรับตัว อยู่รอด และแข่งขันได้

คนจำนวนมากมักใช้เวลาว่างดูโทรทัศน์ ฟังเพลง เล่นอินเทอร์เน็ต เดินเที่ยวห้างสรรพสินค้า ฯลฯ เนื่องจากขาดความหลากหลายของทางเลือกของแหล่งเรียนรู้และกิจกรรมสำหรับคนเมือง ดังนั้น แหล่งเรียนรู้และกิจกรรมที่หลากหลายและน่าสนใจ จึงควรจัดให้มีขึ้นมาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้คนได้รับการพัฒนาความรู้ตามที่ตนเองถนัดและสนใจได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต อันเป็นการส่งเสริม กระตุ้นค่านิยมรักการเรียนรู้ ลดปัญหาและป้องกันไม่ให้ใช้เวลาว่างไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์

2. มีแหล่งเรียนรู้ทุกตารางกิโลเมตร ผมเสนอให้ทุก 1 ตารางกิโลเมตรในพื้นที่ กทม. มีแหล่งเรียนรู้อย่างน้อย 1 แห่ง โดยพื้นที่ กทม. มี 1,562.2 ตารางกิโลเมตร ดังนั้น แหล่งเรียนรู้ใน กทม. ต้องมีอย่างน้อย 1,562 แห่ง ทุกๆ ที่สามารถทำเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ ไม่ว่าจะเป็นป้ายรถเมล์ ต้นไม้ทุกต้น ถนนทุกสาย

พื้นที่ใดที่เก่าแก่หรือมีประวัติและเรื่องเล่าที่น่าสนใจ ควรทำให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เช่น รื้อฟื้นตลาดเก่า แหล่งวิถีชีวิตชุมชนดั้งเดิม เพื่อจัดทำเป็นถนนสายวัฒนธรรม ถนนคนเดิน เพื่อให้คนในพื้นที่มีต้นทุนในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่ำที่สุด สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้สะดวก และรวดเร็ว

3. แหล่งเรียนรู้ทุกประเภทสำหรับทุกวัย การจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ตั้งแต่ ปฐมวัย ถึง ผู้สูงวัย กระจายแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ต่าง ๆ ให้กลุ่มคนต่าง ๆ สามารถเข้าถึงได้ มีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ พัฒนาให้เป็น ”แหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิตอย่างครบวงจร” อาจเป็นห้องสมุดที่มีชีวิต สวนสาธารณะที่มีชีวิต พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ฯลฯ ผมเคยนำเสนอ “ศูนย์เรียนรู้ 4 มุมเมือง” มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อกระจายแหล่งเรียนรู้สำหรับทุกเพศทุกวัย ให้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพในด้านที่ตนสนใจ โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นในศูนย์ฯ ต้องเป็นสิ่งที่คนเมืองสนใจ มีความหลากหลาย มีความทันสมัย และเปิดโอกาสให้คิดสร้างสรรค์

นอกจากนี้ ผมยังได้นำเสนอ “ห้องสมุดอัจฉริยะ 50 เขต” โดยแต่ละเขตต้องมีห้องสมุดทันสมัย 1 แห่ง ที่ใช้ไอทีนำเสนอความรู้ ปฏิรูปห้องสมุดให้น่าเข้าใช้บริการ มีระบบให้บริการทางอินเทอร์เน็ต มีการจัดกิจกรรมตลอดปี จัดหาหนังสือ และ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย หรือพัฒนาเป็น “ห้องสมุดเฉพาะทาง” เช่น ห้องสมุดเกษตร ห้องสมุดดนตรี ห้องสมุดการแสดง ห้องสมุดกีฬา ห้องสมุดรีไซเคิล ห้องสมุดนักการเมือง ฯลฯ

4. พัฒนาแหล่งเรียนรู้บนพื้นฐาน “จุดแกร่ง” ของชุมชน ให้มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ผมเคยนำเสนอว่า ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ควรผสานจุดเด่นของเรา ให้กลายเป็นจุดดึงดูด ให้คนทั้งโลกอยากมาเรียนรู้ด้วย เช่น การพัฒนาสวนหลวง ร.9 ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ดอกไม้เขตร้อนที่ใหญ่ที่สุด หลากหลายและสวยที่สุดในโลก การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ว่าวที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก โดยเชื่อมโยงกับแหล่งผลิตว่าว เช่น ชุมชนสามัคคี ที่เขตมีนบุรี มีการจัดแข่งขัน ประกวดและพัฒนานวัตกรรมการผลิตและเล่นว่าว

การมีศูนย์หัตถกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก แสดงกิจกรรมผลิตและพัฒนานวัตกรรมด้านหัตถกรรม หรือศูนย์อาหารแห่งชาติที่อร่อยและใหญ่ที่สุดในโลก มีกิจกรรมประจำทั้งปีในการจัดแสดง แข่งขัน จำหน่าย และสอน ทำอาหารและขนมไทยที่อร่อยและใหญ่ที่สุดในโลก เป็นต้น

5. จัดตั้งศูนย์รับผิดชอบแหล่งเรียนรู้และจัดกิจกรรม แหล่งเรียนรู้จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องได้ จำเป็นต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยมีศูนย์รับผิดชอบแหล่งเรียนรู้และจัดกิจกรรม เพื่อทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานแหล่งเรียนรู้ พัฒนาฐานข้อมูลและการให้บริการ มีระบบชักชวนหรือจูงใจให้ประชาชนเข้าสู่แหล่งเรียนรู้ พัฒนาระบบระดมทุนเพื่อให้อยู่ได้ด้วยตนเอง มีระบบวัดประเมินผล และ พัฒนาแหล่งเรียนรู้และกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มากกว่านั้น ศูนย์นี้มีหน้าที่ที่สำคัญ คือ กระจายความรับผิดชอบในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โดยให้ภาคส่วนต่างๆ มีส่วนร่วมเป็น “เจ้าภาพ” เจาะจงในการรับผิดชอบแต่ละแหล่งเรียนรู้ โดยแบ่งตามความเชี่ยวชาญ เช่น ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน รัฐวิสาหกิจ หน่วยราชการ ชุมชน โรงเรียน หรืออาจเป็นสถานประกอบการเพื่อสังคมต่าง ๆ และรัฐควรสร้างแรงจูงใจ เช่น มาตรการด้านภาษี การให้สิทธิประโยชน์อื่น ๆ รวมถึงการอุดหนุนการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามความเชี่ยวชาญ ฯลฯ

จากข้อเสนอข้างต้น จะเห็นว่ามีหลายนโยบายที่ผมเคยนำเสนอไปแล้ว ในช่วงเวลาและวาระที่แตกต่างกัน ทว่าปัจจุบัน ยังไม่เห็นความเป็นสังคมปัญญานิยมเกิดขึ้นให้เห็นอย่างชัดเจน ผมมองว่า คนจำเป็นต้องถูกสร้าง โดยเฉพาะคนที่อุดมไปด้วยปัญญาเพื่อให้เกิดเป็นสังคมปัญญานิยม มิฉะนั้นสังคมไทยจะกลายเป็นสังคมปัญหานิยมแทนครับ

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD)
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน http://www.kriengsak.com

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม 2018 เวลา 19:51 น.
 

การเดินทางของชีวิต 1 ปีที่ผ่านมา

พิมพ์ PDF

กาลเวลาผ่านไปอีก 1 ปี เป็นเวลาที่ควรจะต้องทบทวนชีวิตที่ผ่านมา เพื่อที่จะได้เรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตที่มีทั้งสุข ทุกข์และหลากหลายอารมณ์ ผมคิดว่าการทบทวนนี้เพื่อจะได้เห็นด้วยสติ ในสิ่งที่ทำไปแล้ว ตัดสินใจไปแล้ว แก้ไขเหตุกาณ์ไม่ได้แล้ว แต่เพื่อได้บทเรียนกับสิ่งเหล่านั้น รับทราบและรับรู้เพื่อที่จะปล่อยวาง ผมคิดว่าปีใหม่นี้ สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือคำว่า สติ 

การมีสตินั้นดีที่สุด ดังนั้นถ้าจะให้ส่งความสุขกันในปีใหม่ ผมขอส่งความมีสติให้แด่ทุกคนดีกว่า ถ้ามีสติแล้ว จะสุขก็สุขอย่างมีสติ ทุกข์ก็ทุกข์แบบมีสติ สุขทุกข์แล้วก็สักแต่ คือไม่ยึดติดกับสิ่งที่เกิดขึ้นและดับไปแล้ว

ผมคิดว่ามนุษย์เราเกิดมาเพื่อจะมีชีวิต เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากชีวิตนั้นเพื่อพัฒนาจิตของตนเอง ดังนั้นไม่มีการสอบตกแต่อย่างใด จะสำเร้จหรือไม่สำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา ก็เป็นเรื่องที่มีโอกาสให้แก้ตัวเสมอ เพราะเรายังต้องเกิดอีกแน่นอน ดังนั้นถ้ามองดูเส้นของกาลเวลา ชีวิตคือการเดินทาง  การเดนิทางของจิต และมีแต่การเดินทาง ณ จุดอแรกของการเดินทางเมื่อจิตปฏิสนธิเกิดขึ้น การเดนทางครั้งใหม่ก็เริ่มขึ้นแแล้ว แต่จะไปไกลหรือไม่ไกลก้ขึ้นอยุ่กับพลังบุญของแต่ละคน บางคนยังไม่ทันคลอดก็จบการเดินทางแล้ว บางคนมีชีวิตอยุ่ยืนยาว อยากจะไปก็ไปไม่ได้เพราะยังมีพลังผลักดันอยู่ แต่ไม่ว่าจะสั้นหรือจะยาว ชีวิตก็คือการเดินทางที่เต้มไปด้วยการผจญภัยและการได้เรียนรู้ ถ้าได้เรียนรู้มากเพียงใด ก็ถือว่าได้ประโยชน์มากเท่านั้น 

โลกนี้ จักรวาลนี้กว้างใหญ่ยิ่งนัก มีเรื่องให้เราเรียนรู้มากมาย เป็นการเดินทางที่ยาวนาน ซึ่งจริงๆ ก็คือการเดินทางของจิตนั่นเอง 

ขอให้ทุกท่านสนุกกับการเดินทางและพัฒนาจิตของตนทุกขณะครับ 

คัดลอกจาก https://www.gotoknow.org/posts/643789

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 07 มกราคม 2018 เวลา 17:51 น.
 


หน้า 180 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8743972

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า