Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง : 2960b. โรงงานผลิตปัญญา : 2. วงจรกึ่งสหัสวรรษของมหาวิทยาลัย.

พิมพ์ PDF

ชีวิตที่พอเพียง : 2960b. โรงงานผลิตปัญญา :  2. วงจรกึ่งสหัสวรรษของมหาวิทยาลัย.

บันทึกชุด โรงงานผลิตปัญญา ตีความจากหนังสือ Wisdom’s Workshop : The Rise of the Modern University  เขียนโดย James Axtell บทที่ 2 Oxbridge เล่าเรื่องกำเนิด และการเปลี่ยนโฉม (transformation) ของสองมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในอังกฤษ    ซึ่งตั้งมาราวๆ หนึ่งพันปี    เทียบกับของเรามหาวิทยาลัยแห่งแรก คือจุฬาฯ เพิ่งฉลองอายุครบหนึ่งร้อยปีเมื่อเร็วๆ นี้   

ประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด และ เคมบริดจ์ มาเข้มข้นมากในช่วงศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๗    ที่มหาวิทยาลัยต้องยืนหยัดต่อสู้กับสภาพความเป็นจริงในสังคม    เพื่อดำรงความเป็นสถาบันวิชาการที่เป็นอิสระ และมีคุณภาพ  

ปัจจัยแรกที่ต้องต่อสู้ (และรอมชอม) คืออำนาจของเจ้า ขุนนาง และพระ    หนังสือเล่าสภาพที่ พระเจ้าแผ่นดิน และขุนนางฝากคนเข้าเรียน    ที่มหาวิทยาลัยรอมชอมในรายย่อย    แต่ก็มีหนังสือกราบบังคมทูล หลักการเป็นครั้งคราวว่า หากจะให้มหาวิทยาลัยมีคุณภาพสูง จะต้องมีกฎไม่รับฝากเด็กเข้าเรียน  ไม่ว่าจากใคร ก็ตาม    คือเขาพยายามรับนักศึกษาที่มีคุณภาพดีเป็นหลัก    หนังสือเล่าว่า นักศึกษาที่ไม่เอาใจใส่การเรียน สำมะเลเทเมา มักเป็นลูกของผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่    นักศึกษาที่เป็นลูกคนจน ตะเกียกตะกายเข้าเรียน ในมหาวิทยาลัย มักจะเอาใจใส่การเรียน มีความมานะพยายามสูง

ที่น่าสนใจคือ พระเจ้าแผ่นดินบางองค์ก็เป็นผู้ริเริ่มเรื่องการออกกฎกติกาเพื่อคุณภาพการศึกษาเอง

ปัจจัยที่สองคือเรื่องการสร้างความเป็นธรรมหรือความเท่าเทียมกันในสังคม    กล่าวง่ายๆ คือ ให้เด็กจากครอบครัวยากจนมีโอกาสเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเท่าๆ กันกับเด็กลูกคนรวยหรือบุญหนักศักดิ์ใหญ่    เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามสร้างความเท่าเทียมกันในสังคน    ที่น่าสนใจมากว่า เขาเริ่มกันมาตั้งแต่ ห้าร้อยปีก่อน   

ระหว่างปี 1560 – 1640 มีทุนเล่าเรียนใหม่เพิ่มขึ้นถึง ๕๐๐ ทุน สำหรับสนับสนุนนักศึกษายากจน ในมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ดและเคมบริดจ์    ช่วยให้จำนวนนักศึกษาที่มาจากครอบครัวยากจนมีพอๆ กันกับ ลูกคนรวยและสูงศักดิ์    นักศึกษายากจนเหล่านี้ยังช่วยทำงานบางอย่างให้เพื่อนที่รวย เพื่อรับค่าจ้างสำหรับ เลี้ยงชีพด้วย      

ปัจจัยที่สาม คือความพยายามจัดระบบนักศึกษา ให้เข้าไปอยู่ในมหาวิทยาลัยทั้งหมด    ยกเลิกนักศึกษา ที่ไปพักอาศัยอยู่ตามบ้านชาวบ้านในเมือง   

เมื่ออ่านไปเรื่อยๆ ผมก็จับประเด็นได้ว่า ราวๆ กลางศตวรรษที่ ๑๖  มหาวิทยาลัยทั้งสอง ก็รับนักศึกษาที่ เป็นเยาวชน ศึกษาระดับปริญญาตรี (ได้รับปริญญา B.A.) เป็นหลัก    โดยที่ก่อนหน้านั้นมีนักศึกษาผู้ใหญ่ ทำงานแล้วจำนวนมาก เข้าไปศึกษาเพื่อยกระดับความรู้ของตนเอง  

ขณะอ่านผมก็ต้องเตือนตนเองว่าเรื่องราวที่กำลังอ่าน อยู่ก่อนยุควิทยาศาสตร์สมัยใหม่  ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม   การเรียนเน้นการเรียนความรู้ตั้งแต่สมัยกรีกและโรมัน ต่อเนื่องมา    การเรียนรู้เน้นเรียนความรู้ย้อนหลัง    ต่างจากสมัยปัจจุบันโดยสิ้นเชิง ที่เราเรียนความรู้แบบก้าวไปข้างหน้า    ความรู้ใหม่เข้าไปทดแทนความรู้เดิมอยู่ตลอดเวลา   

คือเมื่อครึ่งสหัสวรรษที่แล้ว มนุษย์เรา Learn อย่างเดียว    แต่ในปัจจุบัน เราต้องทั้ง Learn, Unlearn, และ Relearn ไปพร้อมๆ กัน

บันทึกนี้ตั้งใจบอกท่านผู้อ่านว่า     เมื่อห้าร้อยปีก่อน มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด และเคมบริดจ์ นำหน้าโลกด้วยการพัฒนาเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ให้การศึกษาอบรมบ่มเพาะเยาวชน เพื่อเรียนระดับ ปริญญาตรีเป็นหลัก    เปลี่ยนมาจากเดิมประชากรนักศึกษามีสภาพคละ มีทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนอยู่ด้วยกัน

บัดนี้ ห้าร้อยปีให้หลัง     มหาวิทยาลัยน่าจะค่อยๆ ปรับตัว ให้มีประชากรนักศึกษาผู้ใหญ่มากขึ้น    ใช้ผู้มีแวดวงและประสบการณ์เหล่านี้ ช่วยให้มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ social engagement ได้ดียิ่งขึ้น   

วนกลับไปคล้าย (แต่ไม่เหมือน) มหาวิทยาลัยเมื่อห้าร้อยปีก่อน 

วิจารณ์ พานิช

๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย  ใน KMI Thailand

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/631111

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 18 กรกฏาคม 2017 เวลา 03:28 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง 2960. Talent diversity กับ Thailand 4.0.

พิมพ์ PDF

มีคนรักกันถามผมว่า ผมไปทำงานให้แก่รัฐบาลบ้างหรือไม่    ซึ่งผมตอบว่าไม่มี    แต่ก็ทำให้ฉุกคิด ว่าคนถามอาจมองแง่ดี ว่าผมน่าจะทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง ผ่านระบบการเมืองยุค รสช. ได้


ผมกลับมาไตร่ตรองที่บ้าน ว่าคนถามคงจะมองว่า คนแก่อย่างผมน่าจะยังทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง หรือสังคมได้    แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์    ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง     เพราะปัจจุบันนี้ ผมยังทำงาน ที่ผมภูมิใจว่า ทำประโยชน์แก่สังคมมาก    มากในฐานะคนแก่นะครับ  ไม่ใช่มากอย่างคนหนุ่มสาว 


 เป็นที่มาของชื่อบันทึกนี้    ว่าคนเรามีความถนัดไม่เหมือนกัน    คนอย่างผมถนัดงานวิชาการ วิชาความรู้ ชอบเรียนรู้    งานที่ทำในด้านส่งเสริมการเรียนรู้จึงเป็นงานที่ถนัด และทำแล้วมีความสุข    ชีวิตช่วงนี้จึงเป็นชีวิตที่มีความสุขมาก    โดยเชื่อว่า เป็นงานที่ช่วยหนุน ประเทศไทย ๔.๐    งานที่ผมไม่ถนัดเลยคืองานการเมือง

ที่จริงคนแก่ขนาดผม หน้าที่สำคัญคือประคองตัวให้ดี ให้ยังพอทำประโยชน์ได้    และไม่เป็นภาระแก่คนอื่น    ก็น่าจะพอใจแล้ว    ไม่น่าจะไปหวังมีตำแหน่งหน้าที่อะไรอีก  


วิจารณ์ พานิช

๑๕ มิ.ย. ๖๐

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/631154

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 18 กรกฏาคม 2017 เวลา 02:54 น.
 

"การทำงานการเมือง ไม่เหมือนการทำมาค้าขาย

พิมพ์ PDF

"การทำงานการเมือง ไม่เหมือนการทำมาค้าขาย 
การลงทุนค้าขาย ซึ่งลงทุนผิดก็ล้มละลายแต่ ตัวเองเท่านั้น

แต่การทำงานการเมือง ถ้าทำการเมืองผิด หรือทำโดยปราศจากความรู้ทางวิชาการเมืองแล้วนั้น ไม่เพียงแต่ตัวเองจะล่มจมคนเดียวเท่านั้น หากแต่ยังทำให้ประเทศชาติและประชาชนวินาศล่มจมตามไปด้วย

การเมืองเป็นปรากฏการณ์สังคมอันสูงส่ง สูงส่งเป็นอันดับสองรองจากศาสนา ในขณะที่ ศาสนามีความมุ่งหมายเพื่อ ความสันติสุขของสรรพสัตว์ แต่การเมืองมีความมุ่งหมายเพื่อ ความสันติ สุขของประชาชนและมนุษยชน

เรื่องของการเมืองจึงเป็นเรื่องของส่วนรวม เป็นเรื่องของประชาชนทุกคน ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ไม่ใช่เรื่องของอาชีพ นักการเมืองอาชีพจึงไม่มี

เมื่อนักเลือกตั้งหรือรัฐบาล ถูกตำหนิ ถูกด่าถูกขับไล่ หรือได้รับการดูถูกเหยียดหยาม จึงไม่มีสิทธิฟ้องร้องประชาชน หรือทำร้าย ประชาชน

เพราะความเห็นผิด หรือความเข้าใจผิด ของประเทศเราก็คือ เรามี “การปกครองแบบเผด็จการ” (Dictatorship) และเป็น “ระบอบเผด็จการ” (Dictatorial Regime) มานานถึง 85 ปีแล้ว เป็นเรื่องง่ายๆ เดี๋ยวนี้ประชาชนธรรมดาก็รู้ เพราะรู้สึกได้ถึงความไม่เป็นธรรมเป็นอย่างดี

แต่นักการเมืองและนักวิชาการยังล้าหลัง เข้าใจว่าเป็นประชาธิปไตยแล้ว จึงเกิดความสับสน อลหม่าน กลายเป็นเรื่องใหญ่ขัดแย้งกัน ถึงขนาดว่าไม่รู้ว่าจะสร้างความปรองดองกันได้อย่างไร นี่คือ ความเข้าใจผิด หรือ ความเห็นผิดทางการเมือง ที่เป็นปัญหาพื้นฐานที่สุดของประเทศ

ถ้ายังแก้ปัญหา ความเห็นผิดทางการเมืองอันนี้ไม่ตก ปัญหาอื่นๆ ที่สะสมกันมาอย่างยาวนานในประเทศก็แก้ไม่ตกทั้งสิ้น และก็ย่อมจะต้องเกิด มิคสัญญีกลียุคอย่างไม่ต้องสงสัย

เพราะในสถานการณ์ในวันนี้ เป็นความขัดแย้งทางทฤษฎี คือ เมื่อเกิดความเห็นผิดครอบงำแล้ว ย่อมนำไปสู่ความขัดแย้งที่แก้ไม่ตก เป็นความเห็นที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักวิชา ด้วยกันทุกฝ่าย ก็ไม่มีวันที่จะตัดสินปัญหาได้ จะมีได้ก็แต่มหาวินาศเท่านั้น

การเมืองคือลมหายใจ คือเส้นเลือดเส้นชีวิตของมนุษย์ การทำงานการเมืองเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่ง ทุกคนจึงจำเป็นต้องทำตลอดไปจนกว่าจะสิ้นลมหายใจ"

ไพบูลย์ สถาปนาวิสุทธิ์
ผู้อำนวยการ
สถาบันการศึกษา เพื่อการสร้างประชาธิปไตย

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 17 กรกฏาคม 2017 เวลา 11:40 น.
 

ปัญหาของชาติ

พิมพ์ PDF

เรื่อง เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง ถูกหลักวิชาหรือไม่?
-
สุดท้ายนี้ ผมขอเรียนชี้แจงให้พี่น้องประชาชนที่เคารพได้เข้าใจถึงปัญหาต่างๆ ของชาติในสภาวการณ์ขณะนี้ ดังต่อไปนี้ครับ
-
1. สภาวการณ์ของประเทศไทยขณะนี้ เป็นสภาวการณ์เพื่อประชาธิปไตยโดยมีการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยของประชาชนดำรงอยู่ต่อเนื่องนั้น ในทางวิชาการเรียกว่า “สถานการณ์ปฏิวัติ” แต่ที่ยังปฏิวัติไม่ได้เพราะยังมีฝ่ายปฏิกิริยาบางกลุ่มบางพวกต่อต้านการปฏิวัติ ด้วยการทำให้ประชาชนเข้าใจว่า “การปฏิวัติ” (Revolution) หมายถึง “รัฐประหาร”(Coup D’Etat) แต่ผมคิดว่าก็คงต้านได้ไม่นานครับ เพราะเขาผืนกฎธรรมชาติไม่ได้ดอกครับ
-
2. ปัจจัยสำคัญของความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้คือ ความขัดแย้งระหว่าง “ฝ่ายประชาชน” กับ “ฝ่ายระบอบเผด็จการ” ซึ่งเป็นความขัดแย้งที่มีบทบาทครอบงำสถานการณ์ทั้งหมด และมีบทบาทชี้ขาดสถานการณ์ในที่สุด ส่วนความขัดแย้งของฝ่ายเผด็จการด้วยกัน เป็นเพียง “ปรากฏการณ์”(Appearance) ภายนอก ที่สะท้อนออกมาจากความขัดแย้งด้านภายใน (Essence) ดังนั้นการสร้างความปรองดองกันของฝ่ายระบอบเผด็จการรัฐสภาด้วยกัน จึงมิใช่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของความขัดแย้งที่แท้จริง การสร้างความปรองดองแห่งชาติจึงย่อมเป็นไปไม่ได้ จะเป็นได้ก็แต่มิคสัญญีกลียุคเท่านั้นครับ
-
3. การโฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนเข้าใจว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เป็นรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง และรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการ เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐประหารนั้น เป็นการโฆษณาชวนเชื่อที่ไม่ชอบด้วยหลักวิชา เพราะคำว่า “ระบอบเผด็จการ” (Dictatorial Regime) หมายถึง อำนาจอธิปไตยมิใช่เป็นของปวงชน ซึ่งไม่เกี่ยวกับการที่ผู้ได้อำนาจนั้นต้องเลือกตั้งหรือไม่เลือกตั้งเพราะการเลือกตั้งนั้นเป็นเพียงวิธีการได้อำนาจ เรียกว่า “วิธีการแบบประชาธิปไตย” (Democratic Means) ฉะนั้นจึงไม่ควรเอา “ระบอบประชาธิปไตย” ไปปะปนกับ “วิธีการแบบประชาธิปไตย” และปัญหาก็มิใช่อยู่ที่รัฐธรรมนูญฉบับไหน แต่อยู่ที่ระบอบเผด็จการ รัฐธรรมนูญ 2540 และรัฐธรรมนูญ 2550 ต่างก็เป็นรัฐธรรมนูญภายใต้ระบอบเผด็จการเหมือนกันจึงเป็นรัฐธรรมนูญของระบอบเผด็จการเท่ากันครับ การแก้รัฐธรรมนูญโดยไม่แก้ระบอบเผด็จการ จึงเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อหลอกประชาชนไปร่วมกันรักษาระบอบเผด็จการเท่านั้นครับไม่ใช่เรื่องอื่นเลย
-
4. ปัญหาแก้รัฐธรรมนูญ เป็นปัญหาความขัดแย้งของผู้ปกครองเท่านั้นมิใช่เรื่องของประชาชนเลยแม้แต่น้อย จึงเป็นเรื่องผลประโยชน์ของเผด็จการทั้งสิ้น ประชาชนจะไปยืนข้างไหนก็ไม่ถูกต้องทั้งนั้น มีแต่ต้องทำให้เผด็จการรัฐสภาถูกทำลายลงไปเท่านั้น คือผลประโยชน์ของประชาชนที่แท้จริง และยังชอบด้วยกฎหมายแม่บทที่กำหนดให้ “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” อีกด้วย
-
5. การแก้รัฐธรรมนูญที่จะส่งผลดีต่อประเทศชาติและประชาชนนั้น ต้องแก้โดยอาศัยผู้รู้จริงเพียงไม่กี่คนเท่านั้น เช่นรัฐธรรมนูญของอเมริกาก็ใช้ผู้ร่างไม่เกิน 15 คน จีนคอมมิวนิสต์ก็ใช้เพียง 4 คน อินเดียก็ร่างเพียงคนเดียวเท่านั้น มิใช่ว่าจะต้องเลือกตั้งกันมาทุกจังหวัดโดยที่เลือกกันมาก็ล้วนแต่ปราศจากความรู้หลักวิชาทั้งสิ้น เพราะการร่างรัฐธรรมนูญมิใช่ว่าจะเขียนอย่างไรก็ได้ เพราะรัฐธรรมนูญมิใช่นโยบาย หรือมาประชุมกันเพียงเพื่อลอกเอาแบบอย่างของประเทศอื่นมาใช้มาสวมแทน การร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกต้องนั้นจึงนอกจากต้องเคารพหลักการและหลักวิชาที่ใช้กันทางสากลอย่างเคร่งครัดแล้ว ที่สำคัญยังต้องมีความสามารถในการประยุกต์หลักการสากลเหล่านั้น ให้เข้ากับสภาวการณ์ทางประวัติศาสตร์ และสภาพการณ์ทางสังคมของประเทศไทยให้ได้อีกด้วย มิฉะนั้น ก็จะกลายเป็นการร่างรัฐธรรมนูญที่ไร้สาระหาประโยชน์อันใดมิได้เลยเสียเวลาเปล่าๆ ครับ
-
6. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญในบ้านเราจำนวน 18 ครั้ง ที่ผ่านมาโดยไร้หลักการนั้น จึงเป็นการเขียนรัฐธรรมนูญกันตามชอบใจ นอกจากยิ่งแก้ก็ยิ่งผิดมากขึ้นเป็นดินพอกหางหมู จนหมูเดินไม่ไหวแล้ว ยังเกิดปัญหายิ่งแก้ก็ยิ่งบั่นทอน “พระราชอำนาจ” ของพระมหากษัตริย์อีกด้วย ถึงขนาดมีการเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันเลยทีเดียว แล้วก็ยังมีนักวิชาการบางคนบอกว่าสามารถทำได้ ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 291 (1) วรรค 2 กำหนดไว้ว่า “ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลง “รูปของรัฐ” จะเสนอมิได้”
-
โดยหลักวิชา ถ้านายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนก็หมายถึง “การเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ” นั่นเองครับ คือเปลี่ยนรูปจาก “ราชอาณาจักร” เป็น “สาธารณรัฐ” ครับ ไม่น่าเชื่อเลยว่านักวิชาการจะไม่รู้ว่า “รูปของรัฐ” หมายความว่าอย่างไร
-
ท้ายที่สุดนี้ ขอเรียนว่า ประชาธิปไตยในบ้านเราจะเป็นจริงได้ก็มีแต่ประชาชนต้องร่วมมือกันสร้างขึ้นเองเท่านั้นครับ
-
วันชัย พรหมภา เขียน
ไพบูลย์ สถาปนาวิสุทธิ์ เรียบเรียง

14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555


คัดลอกจาก :https://www.facebook.com/sthapanavisuth/posts/489948684675072

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฏาคม 2017 เวลา 18:31 น.
 

ความเชื่อของครู

พิมพ์ PDF

เชื่อว่าศิษย์ทุกคนเรียนรู้ได้ แต่นักเรียนอาจต้องใช้เวลา ความพยายาม แตกต่างกัน และครูอาจต้องช่วยเหลือ แตกต่างกัน  

  


ความเชื่อของครู

หนังสือ Variable Learning for Teachers : Maximizing Impact on Learning โดย John Hattie  หน้า ๒๖ เอ่ยถึง) ความเชื่อของครู    แยกแยะเป็นความเชื่อผิดๆ หรือความเชื่อที่ทำลายวิญญาณความเป็นครู    กับความเชื่อ ที่จำเป็นในการเป็นครูเพื่อศิษย์ 

ความเชื่อหรือกระบวนทัศน์ที่ผิด ได้แก่

  • ผู้รับผิดชอบในการบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ไม่ใช่ครู   ตัวนักเรียนต้องเป็นผู้รับผิดชอบตนเอง
  • ครูมีหน้าที่สอนให้ครบตามหลักสูตร และดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความเสมอหน้า (fairness) ในห้องเรียน    ผมขอขยายความว่าข้อความนี้ไม่ผิด แต่ไม่ครบ ครูต้องรับผิดชอบ มากกว่านี้ ลึกซึ้ง และมีคุณค่ามากกว่านี้      
  • นักเรียนและห้องเรียน เป็นไปตามทฤษฎี (?อคติ) ที่ตนเชื่อเสมอ    ครูจึงปฏิบัติต่อนักเรียน ตามความเชื่อของตน     ผมขอขยายความข้อนี้ว่าความเชื่อที่ให้ผลลบต่อความเป็นครูคือ fixed mindset   และอคติที่ทำลายความเป็นครูคืออคติต่อเชื้อชาติ  ฐานะทางบ้าน  เพศ
  • ครูที่มีประสบการณ์สูง เป็นครูที่ดีเสมอ    ขอขยายความว่า ครูเชี่ยวชาญ กับครูทำงานมานาน แตกต่างกัน  

ความเชื่อหรือกระบวนทัศน์ที่จำเป็นสำหรับความเป็นครู ได้แก่   

  • เชื่อว่าศิษย์ทุกคนเรียนรู้ได้    แต่นักเรียนอาจต้องใช้เวลา ความพยายาม แตกต่างกัน    และครูอาจต้องช่วยเหลือ แตกต่างกัน
  • ครูรักศิษย์   ที่จริงข้อนี้เลยจากความเชื่อ
  • ครูหลงใหล (passionate)  และมีแรงบันดาลใจ (inspired) ต่อการทำหน้าที่ครู    พูดภาษาไทยง่ายๆ ว่ามีไฟ    ข้อนี้ก็เลยจากความเชื่อ
  • เชื่อว่าศิษย์ทุกคนสามารถบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนดได้   

วิจารณ์ พานิช

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/631086

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฏาคม 2017 เวลา 15:21 น.
 


หน้า 189 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8744285

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า