Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

คุณสำนึกในเป้าหมายของคุณอยู่หรือเปล่า? ถอดใจความสุนทรพจน์ของ Mark Zuckerberg ให้กับนักศึกษา Harvard ’17

พิมพ์ PDF

คุณสำนึกในเป้าหมายของคุณอยู่หรือเปล่า? ถอดใจความสุนทรพจน์ของ Mark Zuckerberg ให้กับนักศึกษา Harvard ’17

วันนี้ผมจะมาพูดถึงเรื่องเป้าหมาย แต่ผมไม่ได้มาที่นี่เพราะมาพูดถึงการหาเป้าหมาย เราเป็นพวกมิลเลนเนียม (พวก Generation Y) เราใช้สัญชาติญาณพยายามหาเป้าหมาย ผมมาที่นี่เพื่อจะมาบอกว่าแค่หาเป้าหมายในชีวิตอย่างเดียวมันไม่พอหรอก ความท้าทายของคนรุ่นเราคือการสร้างโลกที่ทุกคนสำนึกในเป้าหมายต่างหาก

ผมชอบตอนที่ John F Kenedy ไปที่ศูนย์อวกาศของนาซ่า แล้วเห็นพนักงานถือไม้กวาดเดินมา ท่านเลยถามพนักงานคนนั้นว่าทำอะไรอยู่ เขาตอบผมว่า “ท่านประธานาธิบดีครับ ผมกำลังช่วยพาคนไปดวงจันทร์อยู่”

พวกเราต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ใหญ่กว่าตัวพวกเราเอง พวกเราเป็นที่ต้องการ มีบางอย่างที่ใหญ่กว่า และเราก็ทำงานเพื่อมัน

เป้าหมายคือสิ่งที่สร้างความสุขให้พวกเรา

พวกคุณกำลังจบการศึกษาในห้วงเวลาที่สำคัญสุดๆ ตอนที่พ่อแม่พวกเราเรียนจบ เป้าหมายมันก็มาจากงาน จากโบสถ์ จากชุมชน แต่วันนี้ วันที่เทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติจะมาแทนที่งานประจำหลายๆงาน สมาชิกในชุมชนค่อยๆหายไป หลายคนห่างหายไปจากผู้คน หดหู่สิ้นหวังและไร้ค่า และพยายามที่จะทำให้ตัวเองมีประโยชน์ขึ้นมาบ้าง

ผมเดินทางมาหลายที่ ผมเคยนั่งข้างๆเด็กในสถานกักกันเยาวชนและพวกติดยา ครั้งหนึ่งเด็กพวกนี้เคยบอกผมว่าชีวิตพวกเขาแตกต่างจากตอนนี้ได้ ถ้าพวกเขาแค่มีอะไรทำหลังจากเลิกเรียน หรือมีที่ๆจะไป ผมเจอพนักงานโรงงานที่รู้ว่างานเก่าที่เขาเคยทำมันไม่กลับมาอีกแล้ว พวกเขาแค่ต้องการใช้ชีวิตที่ๆเป็นของพวกเขาจริงๆ

ฉะนั้นถ้าจะทำให้สังคมของพวกเรามันไปข้างหน้า เราต้องเจอความท้าทายอย่างหนึ่งร่วมกัน ไม่ใช่แค่สร้างงานใหม่ๆ แต่ต้องสำนึกในเป้าหมายอีกครั้ง

ผมจำคืนที่ผมให้บริการ Facebook ในหอพักเล็กๆของผมในบ้านเคริกแลนด์ได้ ผมไปที่น็อชซ์กับเพื่อนที่ชื่อเคเอ็กซ์ ผมจำได้ว่าผมบอกเขาว่าผมตื่นเต้นมากที่จะเข้าถึงชุมชมฮาร์เวิร์ด แต่สักวันหนึ่งต้องมีสักคนที่เข้าถึงโลกนี้ทั้งใบได้

ความจริงคือ พวกเราก็แค่เด็กนักเรียน เราไม่รู้เรื่องอะไรแบบนั้นหรอก ไม่รู้ว่าจะมีบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่มีทรัพยากรพร้อม ผมแค่คิดว่าจะใครสักคนที่เข้าถึงโลกทั้งใบได้ แต่ไอเดียนี้มันชัดเจนสำหรับพวกเรา ว่าทุกคนต้องการเชื่อมต่อกัน เข้าถึงกันและกัน เราถึงใช้ชีวิตเดินไปข้างหน้าได้ในแต่ละวัน

ถ้าคุณเห็นว่าโลกนี้มันเปลี่ยนไป คุณเห็นชัดว่าจะต้องมีคนไปเปลี่ยนมัน แต่คนๆนั้นมันไม่ไปเปลี่ยนให้คุณหรอก คุณนั่นแหละที่จะไปเปลี่ยนมัน

แต่แค่นั้นมันก็ไม่พอที่จะทำให้คุณมีเป้าหมายหรอก คุณต้องสร้างสำนึกในเป้าหมายเพื่อคนอื่นด้วย

ผมบทเรียนหนักๆอยู่เรื่องหนึ่ง ดูสิ ผมไม่ได้คิดจะตั้งบริษัทเลยนะ ผมแค่อยากสร้างผลกระทบ และต่อมาหลายคนก็เริ่มมาร่วมงานกับพวกเรา ผมก็เลยคิดว่าคนพวกนั้นก็อยากสร้างผลกระทบแบบผมเหมือนกัน ผมก็เลยไม่ได้บอกว่าสักวันหนึ่งเราจะตั้งบริษัทขึ้นมา

ปีสองปีที่ผ่านมา มีบริษัทใหญ่ๆบางเจ้าอยากซื้อบริษัทของพวกเรา ผมไม่อยากขายมัน ผมอยากเห็นว่าพวกเราจะเข้าถึงผู้คนให้ได้มากกว่านี้ เราเคยสร้าง News Feed ครั้งแรก และผมก็คิดว่าถ้าเราให้บริการตัวนี้เมื่อไหร่ มันจะเปลี่ยนวิธีที่เรารู้จักโลกนี้ได้แน่

เป็นคนอื่นคงขายบริษัทนี้ไปแล้วล่ะ แต่ถ้าขายโดยที่ไม่ได้สำนึกในเป้าหมายที่เหนือกว่าแค่เงิน ความฝันของสตาร์ทอัพตัวนี้มันก็คงไม่เป็นจริง หลังจากที่พวกเราทะเลาะกันหนัก ก็มีคนแนะนำผมว่า ถ้าผมไม่ขาย ผมจะต้องเสียใจไปตลอดชีวิต จากนั้นความสัมพันธ์ในทีมก็แย่ลงๆจนทุกคนในทีมบริหารทยอยลาออกกันหมดในปีเดียว

ตอนนั้นเป็นช่วงที่หนักมาก ช่วงที่ผมกำลังนำ Facebook ผมเชื่อในสิ่งที่พวกเราทำก็จริง แต่ผมรู้สึกเหมือนอยู่คนเดียว ที่แย่กว่านั้น มันเป็นความผิดของผมเอง ผมเคยสงสัยนะ ว่าถ้าผมคิดผิดล่ะ? ผมมันเป็นพวกคนหลอกลวงหรือเปล่า? ผมมันก็แค่เด็กอายุ 22 ที่ไร้เตียงสาว่าโลกนี้มันเป็นอย่างไร

หลายปีจนถึงตอนนี้ ผมเข้าใจแล้วว่าเรื่องที่เกิดขึ้นมันก็เพราะว่าเราขาดสำนึก สำนึกในเป้าหมายที่เหนือกว่า พวกเราเป็นคนที่กำหนดมันขึ้นมาเพื่อที่จะก้าวไปด้วยกัน


วันนี้ผมจะบอก 3 ทางที่จะจะสร้างโลกที่สำนึกในเป้าหมายที่ว่า อย่างแรกคือทำงานกับโปรเจคที่มีความหมายมากๆไปด้วยกัน อย่างที่สองคือต้องกำหนดความหมายของความเท่าเทียมกันใหม่ ให้ทุกคนมีอิสระที่จะไล่ตามเป้าหมาย และสุดท้ายคือสร้างชุมชนไปทั่วโลก


เริ่มจากอย่างแรกก่อนคือทำงานกับโปรเจคที่มีความหมายมากๆ

ยุครุ่นเราต้องเจอกับงานอีกเป็นล้านๆที่ระบบอัตโนมัติจะมาแทนที่ อย่างรถที่ขับเองได้ แต่พวกเราเก่งพอที่จะทำงานร่วมกันได้

คนทุกรุ่นต้องให้ความหมายของคำว่า “งาน” คนมากกว่า 3 แสนคนทำงานร่วมกันเพื่อจะพาคนๆเดียวขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ รวมถึงพนักงานทำความสะอาดคนนั้นด้วย อาสาสมัครนับล้านคนก็ช่วยให้เด็กๆมีภูมิคุ้มกันจากโรคโปลิโอ คนอีกล้านก็ช่วยกันสร้างเขื่อนฮูเวอร์และอีกหลายๆโครงการขึ้นมา

โปรเจคพวกนี้มันไม่ได้ให้แค่เป้าหมายกับคนที่ทำงานพวกนั้น มันทำให้ทั้งประเทศมีสำนึก ภูมิใจที่พวกเราทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้สำเร็จด้วยกัน

และตอนนี้ก็ถึงเวลาของพวกเราที่จะทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่ว่าแล้ว ผมรู้ คุณอาจคิดว่า ผมจะไปรู้ว่าผมสร้างเขื่อนได้ยังไง? หรือผมจะเอาคนเป็นล้านๆคนมาทำงานได้ยังไง?

แต่ผมจะบอกอะไรให้นะ ไม่มีใครทำได้ตั้งแต่แรกหรอก ไอเดียมันไม่ได้ออกมาสมบูรณ์แบบตั้งแต่แรก แต่ไอเดียมันจะชัดเจนตอนที่คุณทำงานกับมัน คุณแค่เริ่มแค่นั้นเอง

ถ้าผมต้องเข้าใจทุกอย่างเกี่ยวกับการเชื่อมต่อคนก่อนผมจะเริ่มทำ Facebook ก็ไม่เกิดขึ้นมาหรอก

หนังและวัฒนธรรมป๊อปถึงทำให้พวกเราเข้าใจผิดกันหมด ความคิดที่ว่าเราปิ้งอะไรในหัวแค่ครั้งเดียวแล้วเข้าใจทุกอย่างมันเป็นคำโกหกที่อันตรายสุดๆ มันทำให้เราไม่รู้สึกพอ เราไม่มีอะไรที่เป็นของพวกเราเองเลย เราถึงไม่มีไอเดียดีๆตั้งแต่ต้น อ้อ แล้วไม่มีใครเขาเขียนสูตรบนกระจกหรอก ไม่เข้าท่าเลย


คุณมีอุดมคติมันก็ดี แต่ต่อจากนี้ไปถ้ามีใครเข้าใจคุณผิดล่ะ คุณพร้อมหรือยัง?  ใครก็ตามที่ฝันใหญ่ มีวิสัยทัศน์ใหญ่จะโดนด่าว่าบ้า ต่อให้สุดท้ายคุณคิดถูกก็เถอะ คนที่คิดแก้ปัญหายากๆซับซ้อนจะถูกด่าว่าไม่เข้าใจความท้าทาย ต่อให้มันเป็นไปไม่ได้ที่จะรู้ทุกอย่างล่วงหน้า

ใครก็ตามที่มีคิดริเริ่มอะไรก็ตามจะโดนวิพากษ์วิจารณ์สารพัดว่าลงมือทำเร็วเกินไป เพราะมันจะมีบางคนเสมอที่ต้องการถ่วงเราไง

ในสังคมที่เราอยู่ เราไม่ได้ทำการใหญ่เพราะเรากลัวทำพลาดเอามากๆ ถึงขนาดที่ว่ามันไม่มีอะไรผิดปรกติหรอก ถ้าเราไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ความจริงคือ อะไรที่เราทำตอนนี้จะมีผลต่ออนาคตหมด แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ลงมือทำหรอก


ฉะนั้นรออะไรอยู่? มันถึงเวลาที่คนรุ่นเราที่จะกำหนดได้แล้วว่างานส่วนรวมมันคืออะไร? งานที่แก้ไขสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปล่ะ เป็นไง ก่อนที่เราจะทำลายดาวเคราะห์ดวงนี้ เริ่มให้คนนับล้านเข้าไปอยู่ในภาคการผลิตและติตตั้งแผงโซล่าร์เซลส์ก่อนดีมั้ย? แล้วงานรักษาโรคทุกชนิดและขออาสาสมัครที่คอยติดตามข้อมูลสุขภาพล่ะ? ทุกวันนี้เราใช้ทรัพยากรหมดไปกับรักษาคนมากกว่าหาทางป้องกันไม่ให้คนเป็นโรคนั้นตั้งแต่แรกถึง 50 เท่า มันไม่เข้าท่าเลย เราแก้ไขปัญหานี้ได้ แล้วการทำให้ประชาธิปไตยมันสมัยขึ้นโดยการให้ทุกคนสามารถโหวดออนไลน์ได้ล่ะ? ทำให้การศึกษาเหมาะกับแต่ละคนจนทุกคนมีโอกาสได้เรียนหนังสือล่ะ?

ความสำเร็จพวกนี้อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม เราทำให้อนาคตที่ว่าเกิดขึ้นจริงกันดีกว่า ทุกคนจะได้มีบทบาทหน้าที่ มาทำการใหญ่กัน ไม่ใช่แค่สร้างขั้นตอนอย่างเดียว แต่สร้างสำนึกในเป้าหมายด้วย

ฉะนั้นการทำโปรเจคที่มีความหมายใหญ่ๆก็เป็นสิ่งแรกที่เราทำได้เพื่อสร้างโลกที่ทุกคนสำนึกในเป้าหมาย


อย่างที่สองคือกำหนดความหมายของความเท่าเทียมกันเพื่อให้ทุกคนได้ไล่ตามเป้าหมายได้อย่างอิสระ

พ่อแม่เราหลายคนมีการงานมั่นคงตลอดทั้งชีวิต แต่ตอนนี้เราทุกคนมีความเป็นผู้ประกอบการไม่ว่าเราจะเริ่มทำโปรเจคหรือกำลังหาบทบาทของตัวเองอยู่ นั่นเป็นเรื่องดี วัฒนธรรมผู้ประกอบการของเราคือวิธีที่เราก้าวหน้าขึ้นมากๆ

ในวัฒนธรรมผู้ประกอบการที่ว่าจะเจริญขึ้นเมื่อการลองไอเดียใหม่ๆมันทำง่ายๆ Facebook ไม่ใช่อย่างแรกที่ผมทำ ผมทำเกม ทำระบบแชท ทำเครื่องมือการเรียน ทำเครื่องเล่นดนตรี แล้วผมก็ไม่ใช่คนเดียวที่ทำแบบนี้ เจ เค โรวลิงถูกปฏิเสธตั้ง 12 ครั้งก่อนตีพิมพ์แฮร์รี่ พอตเตอร์ แม้แต่บียอนเซ่ต้องทำเพลงเป็นร้อยก่อนถึงจะดัง

ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่มาจากอิสระที่จะทำเรื่องผิดพลาดเสมอ

แต่ทุกวันนี้ เรามั่งคั่งที่ไม่เท่าเทียมกันในหลายๆระดับ และนั่นก็ทำให้ทุกคนต้องเจ็บใจ เมื่อไหร่ที่คุณไม่มีอิสระที่จะเอาไอเดียดีๆเปลี่ยนเป็นบริษัทที่ประวัติศาสตร์ต้องจดจำ ทุกคนก็แพ้หมด

สังคมเราตอนนี้ให้ค่ากับความสำเร็จมากเกินไปแล้ว ในขณะที่เราไม่ทำให้ทุกคนทดลองลงมือทำอะไรใหม่ได้ง่ายๆเลยสักนิดเดียว


ยอมรับความจริงเถอะ ระบบของเรามันต้องมีอะไรบางอย่างผิดปรกติ ตอนที่ผมทำงานได้เงินเป็นพันล้านเหรียญ ยังมีนักเรียนอีกเป็นล้านที่ยังใช้หนี้ไม่หมดเลย แต่มีคนๆเดียวที่ตั้งธุรกิจพันล้านได้แบบนี้มันใช่หรือเปล่า?


ผมเองก็รู้จักผู้ประกอบการอยู่หลายคน และผมก็ไม่รู้จักคนที่ยอมแพ้ที่จะทำธุรกิจเพียงเพราะแค่มันทำเงินได้ไม่มากพอหรอก แต่ผมรู้จักหลายๆคนที่ไม่ยอมไล่ตามความฝันเพราะไม่มีแผนกันพลาดเช่นกัน

พวกเราทุกคนรู้ดีว่าแค่มีไอเดียดีๆอย่างเดียวไม่พอที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จหรอก เราต้องอาศัยโชคด้วย แล้วถ้าแต่ก่อนผมต้องดูแลครอบครัวแทนที่จะเอาเวลามาเขียนโค้ต ถ้าเมื่อก่อนผมไม่รู้ว่าผมไม่เป็นไรถ้า Facebook มันไม่เข้าท่า ผมไม่ได้มายืนตรงนี้หรอก ถ้าเราซื่อสัตย์กับตัวเอง เราก็จะรู้ว่าเราโชคดีแค่ไหน

คนทุกรุ่นให้นิยามกับคำว่า “ความเท่าเทียม” คนรุ่นก่อนหน้าสู้เพื่อจะได้ใช้สิทธิเลือกตั้งและสิทธิพลเมือง มีข้อเสมอใหม่ๆ มีสังคมที่เจริญ และตอนนี้ก็เป็นเวลาของเราที่จะกำหนดสัญญาประชาคมเพื่อคนรุ่นเราได้แล้ว

เราควรจะมีสังคมที่วัดความก้าวหน้าที่ไม่ใช่แค่ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจอย่าง GDP แต่ต้องมีตัวบอกจำนวนคนของเราที่ได้บทบาทที่มีความหมายสำหรับพวกเรา เราต้องค้นหาแนวคิดอย่างรายได้พื้นฐานสากลที่ทำให้พวกเรากล้าที่จะทำพลาด เราจะเปลี่ยนงานไปอีกหลายๆครั้ง ฉะนั้นเราต้องมีบริการสุขภาพสำหรับเด็กที่เรามีเงินใช้บริการได้ มีบริการสุขภาพดีๆที่ไม่ได้ผูกขาดอยู่แค่เจ้าสองเจ้า เราทุกคนจะทำเรื่องผิดพลาด ฉะนั้นเราต้องการสังคมที่โฟกัสกับการขังตัวเองให้น้อยลง เทคโนโลยีมันก้าวหน้าขึ้นมาก ฉะนั้นเราต้องการสังคมที่โฟกัสไปที่การศึกษาตลอดชีวิตให้มากกว่านี้ด้วย

ใช่ การไล่ล่าตามเป้าหมายของเรามันต้องเอาตัวเข้าแลก คนอย่างผมต้องเสียบางอย่างเพื่อแลกกับการไล่ล่าตามเป้าหมาย หลายคนจะไล่ตามเป้าหมายได้ดี และคุณก็ควรไล่ล่าเป้าหมายของคุณเองด้วย


ผมกับพริสซิเลียถึงเริ่มมูลนิธิ ชาน ซักเกอร์เบิร์ค ให้ความมั่งคั่งที่เรามีสนับสนุนโอกาสที่เท่าเทียมกัน มันเป็นคุณค่าของคนรุ่นเรา ไม่เคยมีคำถามหรอกว่าเราจะทำมันมั้ย แต่ให้ถามว่าเราจะทำมันเมื่อไหร่ดีกว่า

มิลเลนเนียมเป็นหนึ่งในรุ่นที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ในปีหนึ่ง ถ้ามีมิลเลนเนียม 4 คน 3 ใน 4 นั้นจะได้บริจาคช่วยเหลือคน ถ้ามีมิลเลนเนียม 10 คน 7 ใน 10 จะระดมเงินสำหรับการกุศล

แต่เงินก็ไม่ใช่อย่างเดียวที่คุณให้ เวลา คุณก็ให้มันได้ ผมบอกเลยว่าถ้าคุณให้เวลากับเรื่องนี้สัก 1-2 ชั่วโมงทุกอาทิตย์ นั่นก็พอที่จะช่วยเหลือคนอื่นให้มีศักยภาพมากขึ้นแล้ว

บางทีคุณคิดว่า 1-2 ชั่วโมงมันมากเกินไป ผมก็เคยคิดแบบนั้นเหมือนกัน ตอนที่พริสซิเลียจบฮาร์เวิร์ดแล้วเป็นครู ก่อนหน้านั้นเธอก็ทำงานการศึกษาร่วมกับผม เธอบอกว่าผมต้องสอนหนังสือนะ ผมบ่นไปว่า “เอ่อ ผมยุ่งๆ ผมทำงานบริษัทอยู่น่ะ” แต่เธอก็ยืนกรานจะให้ผมสอนหนังสือ ผมเลยมาสอนวิชาผู้ประกอบการในโรงเรียนแห่งหน่งที่ชมรมบอยแอนด์เกิร์ลท้องถิ่น

ผมสอนนักเรียนเรื่องการพัฒนาสินค้าและการทำการตลาด แล้วพวกนักเรียนก็สอนผมเรื่องความรู้สึกตอนที่ถูกเป็นเป้าเวลาพูดถึงเชื้อชาติและมีคนในครอบครัวที่ติดคุก ผมเล่าเรื่องของผมให้นักเรียนฟัง พวกนักเรียนก็บอกว่าสักวันเขาจะได้เข้าโรงเรียนด้วย 5 ปีผ่านไป ผมกินข้าวเย็นกับเด็กพวกนั้นทุกเดือน เด็กก็อาบน้ำให้ลูกของผมกับพริสซิเลีย ปีต่อมาเด็กพวกนั้นก็ได้เข้าโรงเรียน ไปเรียนหนังสือ ทุกคนเป็นคนแรกของครอบครัวที่ได้เรียน

 รามีเวลาช่วยเหลือคนอื่นเสมอ ให้ทุกคนได้มีอิสระที่จะไล่ตามเป้าหมายของตัวเองเถอะ ไม่ใช่แค่เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่จะทำ แต่เมื่อไหร่ที่อีกหลายคนสามารถเปลี่ยนความฝันของพวกเขาให้กลายเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้ พวกเราทุกคนก็ได้ดีกันทุกคน

เพราะเป้าหมายมันไม่ได้เจอแค่ตอนทำงานอย่างเดียว


ทางสุดท้ายที่เราจะสร้างสำนักในเป้าหมายเพื่อทุกคนคือการสร้างชุมชน

และเมื่อรุ่นเราพูดว่า “ทุกคน” เราหมายถึงทุกคนบนโลก

ยกมือขึ้น ใครที่มาจากประเทศอื่นบ้าง? ไหนใครเป็นเพื่อนกับคนพวกนี้แล้วบ้างยกมือขึ้นซิ? นี่แหละที่เราพูดถึงอยู่ เราโตขึ้นแล้วก็รู้จักกันในที่สุด

เวลาสำรวจพวกมิลเลนเนี่ยมทั่วโลกว่าอะไรที่กำหนดความเป็นตัวตน คำตอบยอดฮิตสุดๆไม่ใช่เชื่อชาติ ศาสนาหรือจริยธรรมที่เชื่อ แต่คือ “พลเมืองโลก” นี่เรื่องใหญ่นะ

คนทุกรุ่นขยายขอบเขตของคน คนที่คิดว่าเป็นพวกเดียวกับเรา แล้วขอบเขตที่ว่ามันก็รวมถึงทุกคนบนโลกแล้ว เราเข้าใจประวัติศาสตร์ของมนุษย์ผ่านคนที่รวมตัวกันเยอะขึ้นเรื่อยๆ จากชนเผ่าเป็นเมือง จากเมืองเป็นชาติ เพื่อทำอะไรบางอย่างที่พวกเราทำกันเองไม่ได้หรอก

เราเข้าใจแล้วว่าโอกาสที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเรามันเป็นระดับโลก เราเป็นคนรุ่นที่จบความยากจนได้ จบโรคร้ายต่างๆได้ เราเข้าใจแล้วว่าความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต้องการความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเช่นเดียวกัน ไม่มีประเทศไหนที่เอาชนะสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปหรือโรคร้ายได้ประเทศเดียวหรอก ต้องร่วมมือกันในแต่ละขั้นๆ ไม่ใช่แค่เมืองจับมือกับเมืองอื่น ประเทศจับมือกับประเทศอื่น แต่ต้องเป็นทุกชุมชนทั่วโลก


เราใช้ชีวิตในเวลาที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ โลกาภิวัตน์ทำให้ยังมีคนที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง การดูแลเอาใส่ใจคนที่อยู่ต่างที่มันยากถ้าเรายังไม่รู้สึกดีเวลาเราใช้ชีวิตในบ้านและสังคมของเราเอง

เราทุกคนมีช่วงเวลาที่ต้องดิ้นรน พลังของอิสรภาพ ความเปิดกว้าง และชุมชนโลก จะต้องปะทะกับพลังของเผด็จการ เอกเทศ และชาตินิยม พลังของกระแสความรู้ การค้าและการอพยบจะเจอกันพลังที่ถ่วงเรื่องพวกนี้เอาไว้ นี่ไม่ใช่การต่อสู้กันระหว่างชาติ แต่เป็นการต่อสู่ระหว่างแนวคิด มีหลายคนในหลายประเทศที่ใช้ชีวิตเพื่อสังคมโลกและก็มีคนดีๆที่ต่อต้านมันด้วยเช่นกัน

แล้วเรื่องนี้ UN ก็ไม่ได้เป็นคนตัดสินใจ มันจะเกิดขึ้นในแต่ละท้องถิ่นเมื่อมีคนแบบพวกเราเพียงพอที่จะสำนึกในเป้าหมายและความมั่นคงในชีวิตของพวกเราเองที่เราเปิดกว้างแล้วก็เอาใจใส่ทุกคนได้ ทางที่ดีที่สุดคือสร้างชุมชนในพื้นที่ของเราเองตอนนี้เลย

เราทุกคนมีความหมายต่อชุมชน ต่อสังคมที่เราอยู่ ไม่ว่าสังคมของเราจะเป็นบ้าน หรือทีมกีฬา โบสถ์ หรือคณะประสานเสียง สังคมพวกนี้ให้สำนักว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ใหญ่กว่า ว่าเราไม่ได้อยู่คนเดียวนะ คนพวกนี้แหละที่ทำให้เราแข็มแข็งและข้ามขีดจำกัดของตัวเราเอง


พวกสมาชิกในทุกๆกลุ่ม ทุกๆชุมชนถึงทยอยหายๆกันไปในหลายๆศตวรรษ เพราะหลายๆคนตอนนี้ต้องการหาเป้าหมายที่อื่นกัน แต่ผมรู้ว่าเราสร้างชุมชนขึ้นมาใหม่ได้เพราะหลายๆคนก็อยู่ที่นั่นกัน

ผมเจอแอกเนส อิกกอยที่เรียนจบวันนี้ อยู่ไหน? แอกเนส? ตอนเด็กๆเธออยู่ในพื้นที่โซนค้ามนุษย์ในอูกานดา ตอนนี้เธอฝึกพนักงานบังคับกฎหมายเพื่อให้ชุมชนหลายๆที่ปลอดภัย

ผมเจอไคล่า โอกเล่ย์ กัยนิฮา ไจยิน เรียนจบวันนี้เหมือนกัน ยืนขึ้นเลย สองคนนี้เริ่มกิจการไม่แสวงหากำไรที่รวมคนที่ทุกข์ทรมานกับโรคเรื้อรังกับคนในชุมชนที่อยากจะช่วย

ผมเจอเดวิด ราซู อาซน่า จบจากเคเนดี้สคูลวันนี้ เดวิด ยืนขึ้นหน่อย เดวิทเคยเป็นสมาชิกสภาเมืองที่สู้ให้เมืองแมคซิโกให้ผ่านสิทธิการแต่งงานที่เท่าเทียมกันสำเร็จก่อนซานฟรนาซิสโกด้วยซ้ำ

ผมมีเรื่การเปลี่ยนแปลงเริ่มจากพื้นที่ของเราก่อน ต่อให้การเปลี่ยนแปลงระดับโลกก็ต้องเริ่มจากพื้นที่เล็กๆก่อนเสมอเหมือนอย่างพวกเรา ในรุ่นเรา เราดิ้นรนที่จะเชื่อมต่อรู้จักกับผู้คน คว้าโอกาสที่ยิ่งใหญ่ที่สุด สร้างชุมชนที่ทุกๆคนสำนึกในเป้าหมาย

ทุกคนที่จบการศึกษาในปีนี้ ปี 2017 คุณกำลังเข้าสู่โลกที่ที่ต้องการเป้าหมาย มันขึ้นอยู่กับคุณที่สร้างมันขึ้นมา

ตอนนี้คุณอาจจะคิดว่า อย่างเรามันจะทำได้หรอ?

จำที่ผมบอกเรื่องที่ผมสอนเด็กที่ชมรมบอยแอนด์เกิร์ลได้มั้ย? วันหนึ่งหลังเลิกเรียนผมคุยเรื่องโรงเรียนกับเด็กๆ นักเรียนหัวกะทิของผมคนหนึ่งยกมือขึ้นแล้วบอกผมว่าเขาไม่แน่ใจว่าเขาจะได้เข้าโรงเรียนมั้ยเพราะเขาเป็นพวกไร้สัญชาติ

ปีที่แล้ว ผมพาเขาไปกินข้าวเช้าเลี้ยงวันเกิด ผมอยากให้ของขวัญ เลยถามว่าอยากได้อะไรหรือเปล่า เขาก็เริ่มเล่าเรื่องนักเรียนที่ดิ้นรนใช้ชีวิต แล้วก็พูดขึ้นมากว่า “รู้ปะ ผมอยากได้หนังสือเกี่ยวกับความยุติธรรมในสังคมแค่นั้นเอง”

ผมทึ่งนะ กะเด็กคนหนึ่งที่มีมีหลายเหตุผลที่จะโดนหยาม เขาไม่รู้ว่าประเทศที่เขาเรียกมันว่าบ้านเกิด ซึ่งก็มีอยุ่ประเทศเดียว จะปฎิเสธความฝันที่เขาอยากจะเข้าโรงเรียน แต่เขาไม่ได้เสียใจเลย เขาไม่ได้คิดถึงตัวเองเลยด้วยซ้ำ เขามีสำนึกในเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่า และเขาจะมีพวกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆด้วย

มันบอกถึงสถานการณ์ตอนนี้ของเรา ผมบอกชื่อเขาไม่ได้ ผมไม่อยากให้เขามาเสี่ยง แต่ถ้าเด็กม.ปลายที่ไม่รู้ว่าอนาคตตัวเองจะทำอะไรได้บ้างเพื่อที่จะผลักดันโลกไปข้างหน้า เราก็เป็นหนี้กับโลกนี้ เราต้องทำงานในส่วนของเราด้วย

แหล่งที่มา

https://www.facebook.com/zuck/posts/10154853758606634




แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม 2017 เวลา 08:30 น.
 

คุณสำนึกในเป้าหมายของคุณอยู่หรือเปล่า? ถอดใจความสุนทรพจน์ของ Mark Zuckerberg ให้กับนักศึกษา Harvard ’17

พิมพ์ PDF

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม 2017 เวลา 07:05 น.
 

เนื่องจากคืนคืนฝนตก วันที่ 24 พ.ค.2560 ทำให้ .....

พิมพ์ PDF

คืน 24 พฤษภาคม 2560 

ฝนตกหนักตั้งแต่ 4 ทุ่ม กลับมาถึงบ้านรอในรถเพื่อให้ฝนเบาจึงค่อยไปเปิดประตูบ้าน ปรากฎว่าฝนยิ่งตกหนักขึ้นไม่เบาจึงเดินฝ่าฝนไปเปิดประตูบ้าน ขณะนั้นน้ำฝนเริ่มขึ้นมาท่วมเต็มถนน น้ำล้นท่อระบายน้ำแล้ว แต่ยังไม่เข้าในบ้าน แมวอยู่นอกบ้านเข้าใจว่าคงติดฝนอยู่ที่ไหนสักแห่ง สงสารมากคิดว่าคงต้องนอนนอกบ้านแน่ๆ พอ 5 ทุ่มกว่าๆได้ยินเสียงแมวร้องรีบเปิดประตูออกไปแมววิ่งฝ่าฝนจากหลังคาลงมาที่รั้วบ้านแต่ไม่กล้ากระโดดลงมาเพราะเห็นน้ำนองเต็มไปหมด เลยวิ่งขึ้นหลังคาไปอีกและไปโผล่ตรงหลังคาที่ซ้อนกันอยู่และเป็นจุดที่หลบฝนได้ ต้องไปอุ้มลงมาจากหลังคาบ้าน น้ำเริ่มท่วมห้องน้ำ และบางส่วนในตัวบ้านที่มีพื้นต่ำ บริเวณห้องส่วนใหญ่ในบ้านยังไม่ท่วม เริ่มเดินเช็คของและเก็บของบางส่วนไว้บนโต๊ะ สำรวจห้องนอนชั้นล่างยังไม่ท่วมแต่ถ้าฝนไม่หยุดและเจ้าหน้าที่ยังไม่สูบน้ำออกคงจะท่วมแน่ๆ ประมาณ เกือบตีสองเข้านอนฝนเริ่มเบาลง พอตี่สี่ ปวดปัสวะจะไปเข้าห้องน้ำพอก้าวเท้าลงจากเตียงเจอน้ำอย่างเต็มที่ เปิดไฟจึงรู้ว่าน้ำท่วมบ้านชั้นล่างทั้งหมด ของที่วางกับพื้นลอยน้ำ และเปี๊ยกน้ำหมด ทำอะไรไม่ทัน วันพรุ่งนี้เช้า มีงานสัมมนาที่ นิดาเป็นงานที่ดีมาก ไม่ทราบว่าจะได้ไปหรือไม่เพราะฝนยังตกอยู่เลย เปิดทีวีดูก็ไม่มีรายงานอะไร เข้าใจว่ามีแต่รายการเทป ไม่ทราบว่าตกที่ไหนบ้าง และเส้นทางไปนิดาน้ำท่วมมากน้อยแค่ไหน สงสัยจะไม่ได้ไปนอกจากกลัวน้ำท่วมทางไปแล้วยังต้องจัดการกับบ้านที่มีน้ำท่วมทั้งบ้าน เสียดายจริงๆ คงต้องรอช่วงเช้าค่อยตัดสินใจอีกทีว่าจะไปหรือไม่


เสียดายงานประชุมสัมมนาที่นิด้ามาก เลยไม่ได้ไปร่วมทั้งๆที่ตั้งใจรอ จากคืนที่ 24 พ.ค. ที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ ไม่ได้ออกไปไหนเลยต้องยกเลิกกิจกรรมและนัดหมายทั้งหมด รวมทั้งการทำงานด้านเอกสารที่ค้างไว้ การติดตามค้นหาความรู้ตามสื่อต่างๆรวมถึงการพักผ่อนหาความสุขเช่นดูหนังฟังเพลง และการนอนให้พอเพียง ต้องหยุดหมด หันมาทำงานบ้าน รื้อนำของที่เปี๊กออกไม่ว่าจะเป็นหนังสือ เอกสาร และเสื่อผ้าที่เก็บไว้ตามชั้นเตี้ยๆที่เปียกน้ำ นำมาคัดเลือก ของที่จะต้องใช้และทิ้ง ส่วนเสื้อผ้าต้องรีดซัก (ดีว่ามีเครื่องซักผ้า) และตาก ตอนตากนี่เหนื่อยมาก เพราะเมื่อตากเสร็จฝนก็จะตกลงมาตลอดเวลา จนถึงวันนี้ก็ยังตกทุกวัน เพียงแต่ตกแล้วหยุด และตกอีก เรื่องการระบายน้ำที่บ้านหลังจากน้ำลดในเช้าวันที่ 25 พ.ค.แล้วก็ไม่มีปัญหาอีกเลย แต่รถขยะไม่มาเลยนะ ของที่จะทิ้ง ยังกองอยู่เต็มบ้าน ตั้งแต่ ตี 4 ของวันที่ 25 พ.ค. ถึงเมื่อคืน 28 พ.ค. นอนวันละ ไม่เกิน 4 ชั่วโมง เนื่องจากอยู่บ้านเพียงคนเดียว และมีห้องต่างๆชั้นล่างที่ถูกน้ำท่วม 8 ห้อง แต่ละห้องล้วนมีเอกสารและของใช้ต่างๆ เกือบทุกห้อง เพิ่งเคลีย์ไปได้แค่ 5 ห้อง เมื่อคืนหมดแรงนอนตั้งแต่ 21.00 น ตื่น 8.00 น วันนี้ หยุดงานบ้าน มาทำงานที่ค้างด้านเอกสาร และเริ่มเปิดดูทีวี และ ข้อมูลต่างๆรวมถึงเช็ค e-mail และเข้ามาที่ Facebook lส่วน line และ อื่นๆยังไม่ได้ติดตาม วันนี้ว่าจะไม่ยุ่งกับงานบ้านหนึ่งวันพักไว้ก่อน ต้องมาจัดการเรื่องเอกสารที่จะเริ่มโครงการ เปิดรับสมาชิก เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ อยู่ระหว่างการจัดเตรียมเอกสารเพื่อนำเสนอทางสื่อและกลุ่มต่างๆ เดิมกำหนดจะเริ่ม เดือน พ.ค. แต่ก็ต้องเลื่อนออกไปเป็นเดือน มิถุนายน เหลือเวลาแค่ 2 วัน เพื่อให้การเปิดโครงการทันตามกำหนดคือวันที่ 1 มิถุนายน 2560
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท 
29 พ.ค.2560

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2017 เวลา 16:45 น.
 

ความล้มเหลวของหลักสูตร MBA

พิมพ์ PDF

ความล้มเหลวของหลักสูตร MBA ในสหรัฐฯ

บทความเรื่อง Thinking of taking a pricey MBA course in the US? Think again ลงใน นสพ. เดอะเนชั่น วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐ บอกเราว่า เวลานี้ในสหรัฐฯ หลักสูตรและปริญญา MBA เฟ้อ และในหลายมหาวิทยาลัย คุณภาพต่ำ และที่ร้ายคือ ทำร้ายผู้เรียนด้วยการบ่มเพาะความโลภ (เขาใช้คำว่า “overwhelmed by a pervasive ethos of greed”) แทนที่จะบ่มเพาะปัญญา และจิตใจที่เห็นแก่สังคม ส่วนรวม

เขาบอกว่าหลักสูตร MBA ส่วนใหญ่ไม่ได้สอนวิชาจริงจัง กลายเป็นที่คนมาสร้างเครือข่ายกัน การจบ MBA จึงมีความหมายน้อยลง เวลานี้มีหลายตำแหน่งงาน ที่เดิมรับคนจบ MBA เขาหันมารับคนเก่งที่ไม่จบ MBA

ผู้เขียนเรียกร้องให้หลักสูตร MBA หันกลับไปหาอุดมการณ์เดิม ให้เน้นความเป็นวิชาชีพ เช่นเดียวกับวิชาชีพแพทย์ และนักกฎหมาย ซึ่งจะต้องบ่มเพาะอุดมการณ์เพื่อสังคม

วิจารณ์ พานิช

๒๗ พ.ค. ๖๐

ห้องรับรองของการบินไทย สนามบินเชียงใหม่

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย  ใน สภามหาวิทยาลัย

คัดลอกจาก: https://www.gotoknow.org/posts/628891

เรื่องที่กล่าวถึงข้างบน เป็นเรื่องที่รู้กันมานานแล้วครับ ผมพูดมานานกว่า 5 ปี แล้ว แต่ผมไม่ได้พูดถึงที่สหรัฐอเมริกา ผมพูดถึงในประเทศไทย  

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท


แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2017 เวลา 15:57 น.
 

เปลี่ยน เป็น เปลี่ยน onair 24052560

พิมพ์ PDF

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2017 เวลา 01:48 น.
 


หน้า 197 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8744463

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า