Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๓๘. การพนันกับการเสพติด

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๓๘. การพนันกับการเสพติด

พิมพ์ PDF

หนังสือ เยาวชนกับการพนันในมุมมองของจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น บอกเราว่า เรายังมีความรู้ทางชีววิทยาเกี่ยวกับการติด การพนันไม่ชัดเจน   โดยองค์การอนามัยโลกจัดว่าเป็นโรคในกลุ่ม ผิดปกติในการควบคุมแรงผลักดัน (Impulse Control Disorder)    ซึ่งมีอยู่ ๔ โรคคือ โรคถอนผม โรคจุดไฟเผาตัวเอง โรคขโมยของ และโรคติดการพนัน    โรคกลุ่มนี้น่าจะเรียกง่ายๆ ว่า โรคขาดความยับยั้งชั่งใจ หรือ ขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง ตามคำของ นพ. ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เลขาธิการมูลนิธิสดศรีฯ

หนังสือเล่มนี้เน้นมุมมองที่ความอ่อนแอทางจิตใจ และการเป็นโรค ที่นำไปสู่การติดการพนัน   เป็นมุมมองเชิงชีววิทยา การแพทย์  (bio-medical)   บอกว่า สาเหตุมาจาก (พันธุกรรม (สมอง (สารสื่อนำประสาท (ทักษะการแก้ไขหรือ จัดการกับปัญหาของบุคคล (ครอบครัวหรือแหล่งสนันสนุนทางอารมณ์ (สิ่งแวดล้อม ระบบการพนันออนไลน์ ()​ เพื่อน

และบอกปัจจัยเสี่ยงที่สนับสนุนให้ติดการพนันในเยาวชน ว่า ได้แก่ ()​ อายุน้อย (เพศชาย (พันธุกรรม (อิทธิพลจากครอบครัว ตัวแบบที่เล่นพนัน (การติดสารเสพติต เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (บุคลิกภาพใจร้อน วู่วาม หุนหันพลันแล่น ()เศรษฐฐานะยากจน

จะเห็นว่า ไม่มีการกล่าวถึงปัจจัยด้านการศึกษาโดยตรงเลย    ทั้งๆ ที่เฉี่ยวไปเฉี่ยวมาในสาเหตุข้อ ๒, ๓, ๔, และ ๕    ผมจึงขอฟันธงว่า สาเหตุสำคัญคือความอ่อนแอของการศึกษาไทย    ที่ทั้งสังคม ทั้งในระบบการศึกษา และคนทั่วไป ไม่ตระหนักว่า การศึกษาที่ดี ที่ถูกต้อง เป็นเกราะ หรือภูมิคุ้มกันเยาวชน จากการติดการพนัน

การศึกษาในยุคสมัยใหม่ ที่เรียกว่า ศตวรรษที่ ๒๑ ต้องไม่ใช้ให้แก่นักเรียนเพียง รู้วิชา”    แต่ต้องเอื้อให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑” ครบด้าน    และด้านที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่คือ ทักษะชีวิต (Life Skills)    ซึ่งเป็นทักษะที่ซับซ้อน ชุดหนึ่ง    โดยที่องค์ประกอบสำคัญคือ ทักษะความยับยั้งชั่งใจ  ทักษะในการควบคุมตนเอง ไม่ให้ตกหลุมอบายมุข

ทักษะเหล่านี้ เด็กต้องได้ฝึกที่โรงเรียน และที่บ้าน (ในครอบครัว) ตั้งแต่ก่อนเข้าเรียนอนุบาล     และฝึกฝนเรื่อยไป จนตลอดชีวิต    แม้แก่เฒ่าขนาดผม ก็ยังต้องฝึกอยู่    ประมาทไม่ได้   เพราะความเย้ายวนล่อใจมันเปลี่ยนแปลงหาหนทาง ล่อหลอกเราตลอดเวลา     เราต้องเรียนรู้ ให้รู้เท่าทันสิ่งเหล่านั้น    แล้วเยาวชนของเราก็จะมี ภูมิคุ้มกัน” จากหายนภัย ที่เกิดจากการกระตุ้น โลภ โกรธ หลง ภายในตัวเราเอง     รวมทั้งมีภูมิคุ้มกันสิ่งยั่วยวนจากภายนอก รวมทั้งการพนัน และสิ่งเสพติดอื่นๆ

อคติของผมคือ เยาวชนไทย ส่วนใหญ่ติดการพนัน เพราะความอ่อนแอของระบบการศึกษา การเรียนรู้ฝึกฝน ให้มีความเข้มแข็งในจิตใจ ของสังคมไทยย่อหย่อน ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน

สาเหตุคือ เราไม่ตระหนักว่าเรื่องนี้แก้ไขได้    โดยการป้องกันที่ต้นเหตุจะได้ผลดีกว่า    การป้องกันนั้น ส่วนใหญ่อยู่ที่ระบบการเรียนรู้ที่ครบด้าน    ค่อยๆ พัฒนาทักษะชีวิตขึ้นมาตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียน    และพัฒนาต่อเนื่องตลอดชีวิต

 

นี่คือมุมมองต่อการติดการพนัน ที่เป็นมุมมองด้านการเรียนรู้

 

 

๑๓ มี.ค. ๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 15 เมษายน 2014 เวลา 21:49 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๓๘. การพนันกับการเสพติด

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8739413

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า