Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ๖ นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา ๗. Place-Based Learning

๖ นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา ๗. Place-Based Learning

พิมพ์ PDF

บันทึกชุดนี้มี ๑๐ ตอน   ที่ตีความจากการอ่านหนังสือ Education Nation : Six Leading Edges of Innovation in Our Schools เขียนโดย Milton Chen

บันทึกตอนที่ ๗ นี้ ตีความจาก Edge 4. The Time/Place Edge : Learning Anytime, Anywhere   ต่อจากตอนที่ ๖

การเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ต้องไม่ใช้วิธีคิด วิธีปฏิบัติ ในเรื่องเวลาและสถานที่เรียน    แบบที่ ถือปฏิบัติมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐ จนเคยชิน    เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องจำกัด อยู่ในโรงเรียน ตามเวลาโรงเรียนเปิด-โรงเรียนเลิก และตามภาคการศึกษา อีกต่อไป    สิ่งเหล่านั้น เป็นสมมติทั้งสิ้น

ของจริง คือชีวิตจริงที่เยาวชนจะต้องเผชิญต่อไปในชีวิต   การเรียนรู้ในชีวิตจริงจึงเป็นสิ่งจำเป็น   เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงในบ้าน (ครอบครัว)    และชีวิตจริงในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่    ดังนั้น โรงเรียนจึงต้องหาทางจัดการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงกับองค์กรหรือกลไกต่างๆ ในชุมชนและในสังคม

การเรียนรู้แบบโครงงาน (PBL – Project-Based Learning)    จึงบรรจบเข้ากับการเรียนรู้แบบ “สถานที่เป็นฐาน” (PBL - Place-Based Learning)    ซึ่งอาจเรียกว่า การเรียนรู้แบบชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning) ก็ได้

เกิดเป็นการเรียนรู้ในชีวิตจริงได้มากมาย    ตั้งคำถาม และค้นคว้าเจาะลึก หรือเชื่อมโยง ปรากฏการณ์จริง เข้ากับความรู้เชิงทฤษฎีได้อย่างไม่สิ้นสุด    แล้วนำออกรายงานแก่ชุมชนเอง หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ออกไปใน วงกว้าง ผ่านทาง อินเทอร์เน็ต    ก็จะมีคนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดสัมพันธ์กว้างขวางขึ้นไปอีก

นี่คือการเรียนรู้ ที่ออกนอกกรอบ “กาละ เทศะ” ที่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียน หรือรั้วโรงเรียน และ “เวลาเรียน” ที่สมมติขึ้น    โดยหากเป็นไปได้ ควรให้นักเรียนทำโครงงานเป็นทีม ๓ - ๕ คน    จำนวนสมาชิก ของทีมต้องอย่าให้มาก จนมีคนหลบงานได้    ต้องให้สมาชิกในทีมทุกคนต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำ

หรือจริงๆ แล้ว แม้ภายในรั้วโรงเรียนนั่นเอง ก็สามารถ “แหกคอกเวลา” ได้     คือ นักเรียนเรียนโดย การปฏิบัติ หรือทำโครงงานภายในพื้นที่ของโรงเรียน    เช่นทำโครงการเกษตรในโรงเรียน    ซึ่งที่จริงโรงเรียนไทย จำนวนหนึ่งทำอยู่แล้ว    ในโครงการปลูกผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ เพื่ออาหารกลางวัน    หากครูชวนนักเรียนทำ  AAR การเรียนรู้ เชื่อมโยงเข้ากับการเรียนรู้ ๘ หน่วยสาระ   เชื่อมโยงเข้ากับการเรียนรู้ ๘ หน่วยพหุปัญญา    ก็จะเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและเชื่อมโยงได้

สาระในหนังสือว่าด้วยการไปเรียนรู้จากป่าสงวนแห่งชาติ  (National Parks) ซึ่งในสหรัฐอเมริกา มีจำนวนมากมายในทุกรัฐ   และมีระบบบริการให้ครอบครัวไปพักผ่อนเรียนรู้    รวมทั้งมีบริการให้โรงเรียน พานักเรียนไปเข้าค่ายค้างแรมและศึกษาธรรมชาติ    ป่าสงวนแห่งชาติของไทยแม้บริการจะไม่ดีเท่า แต่ก็ใช้ได้ทีเดียว ดังที่ผมเล่าประสบการณ์ ที่นี่ และ ที่นี่

การเรียนรู้ในชุมชนจากโจทย์ในชุมชน สามารถตั้งโจทย์และดำเนินการได้หลากหลายมาก  เช่นการจัดการขยะ  การจัดการแม่น้ำลำคลอง  การศึกษาและฟื้นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น   จะช่วยดึงนักเรียน ออกจากการเรียนในที่แคบ สู่โลกกว้าง    ให้นักเรียนได้ลงมือทำหลายสิ่งหลายอย่าง ที่นักเรียนไม่มีโอกาสฝึก    เพื่อการเรียนรู้ทักษะที่หลากหลาย ที่เรียกว่า ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

สิ่งที่ครูและโรงเรียนไทยพึงพัฒนา คือการทำให้การทำโครงงานทั้งหลายในชุมชนนั้น เป็นการทำงาน และเรียนรู้ “แบบจริงจัง”     ที่หนังสือเล่มนี้เรียกว่า authentic learning     ไม่ใช่แค่ทำเพื่อให้ได้ชื่อ ว่าได้ทำโครงงาน หรือเพื่อให้สอบผ่าน    หรือแม้แต่เพื่อหวังล่ารางวัล ก็ไม่ใช่เป้าหมายของ “การเรียนรู้แบบจริงจัง”

ผมขอเพิ่มเติมเองว่า ครู/นักเรียน ต้องอย่าหลงผิดในเรื่องการเรียนรู้แบบทำโครงงาน    หลงคิดว่าเมื่อโครงงานสำเร็จได้ผลดี นักเรียนย่อมได้เรียนรู้ครบถ้วนแจ่มแจ้งแล้ว    นี่คือความเข้าใจผิด    จะให้นักเรียนเรียนรู้แจ่มแจ้งครบถ้วนครูต้องชวนนักเรียนทำอีก ๓ อย่าง

 

๑. นักเรียนแต่ละคน เขียนบันทึกการทำงาน และการเรียนรู้ของตนเอง ในระหว่างการ ทำโครงงาน    โดยอาจเขียนทุกวันที่ทำโครงงาน หรือบ่อยตามสมควร    ที่สำคัญคือ ครูควรแนะให้นักเรียนเขียนบันทึกความในใจเรื่องเป้าหมายการทำงานและเรียนรู้ของตน   ความยากลำบากหรือความท้าทายที่เผชิญ   ความรู้สึกในใจเมื่อเผชิญความท้าทายนั้น    และวิธีการแก้ปัญหา    ค้นหาความรู้จากที่ไหนมาใช้    ผลเป็นอย่างไร ฯลฯ    ความบ่อยของการเขียนบันทึก ต้องอย่าให้ลืมความรู้สึกดังกล่าวไปเสีย    นี่คือการฝึกให้นักเรียนทบทวนไตร่ตรองด้วยตนเอง (ทำ auto-reflection)

๒. เมื่อทำโครงงานสำเร็จ    มีการนำเสนอผลงานต่อเพื่อนในชั้น    โดยนำเสนอเป็นทีม    สมาชิกของทีมเตรียมตัวร่วมกัน และร่วมกันนำเสนอ    โดยอาจนำเสนอเป็น presentation ก็ได้    หรืออาจนำเสนอเป็นหนังสั้น   เป็นการ์ตูนเล่าเรื่องราว    หรือเป็นละครก็ได้    การนำเสนอนี้เปิดโอกาสให้ทีมงานใช้ความสร้างสรรค์ได้ไม่จำกัด    แต่ครูต้องเตือนว่า อย่าหลงโชว์ฟอร์ม จนสาระไม่ชัดเจน

๓. ให้นักเรียนทั้งชั้นร่วมกันทำ reflection ว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง    และอยากเรียนอะไรต่อไปอีก    โดยให้นักเรียนผลัดกันพูดทีละคน พูดทุกคน    ครูทำหน้าที่เป็น “คุณอำนวย” ให้นักเรียนทำ AAR นี้ อย่างมีพลังของความใคร่รู้ และการเรียนอย่างสนุกสนาน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๘ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 15 เมษายน 2014 เวลา 21:52 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ๖ นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา ๗. Place-Based Learning

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8739348

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า