Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > แนวทางสร้างตัวเป็นนักวิชาการชั้นยอด

แนวทางสร้างตัวเป็นนักวิชาการชั้นยอด

พิมพ์ PDF

วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๗ ผมไปร่วมการประชุม ริมเจ้าพระยา ฟอรั่ม โดยมี ศ. นพ. ดร. นรัตถพล เจริญพันธุ์ เป็นผู้มาเล่าเรื่องวิธีคิด และวิธีปฏิบัติในการทำงานวิชาการจนประสบผลสำเร็จ ได้ตำแหน่ง ศาสตราจารย์ตั้งแต่อายุ ๓๕ ปีนับเป็นศาสตราจารย์ที่อายุน้อยที่สุดในประเทศไทย เท่าที่เคยมี

ศ. นรัตถพล เรียนหลักสูตร PhD MD ที่ศิริราช จบรุ่นที่ ๑๑๐เป็นอาจารย์ภาควิชาสรีรวิทยาคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล

ผมสรุปกับตัวเองว่า ศ. นรัตถพล ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่ในชีวิตวิชาการ เพราะท่านจับหลักการ เชิงมโนทัศน์ (concept) ที่สำคัญๆ ได้หลักการเหล่านี้ได้แก่

  • หลักการใช้พลังเสริมระหว่างหน้าที่ที่คนทั่วไปคิดว่าขัดกันแต่ ศ. นรัตถพลเชื่อว่ามัน เสริมกันที่สำคัญที่สุดคือ ระหว่างหน้าที่สอน กับหน้าที่วิจัยท่านเสนอว่าผู้บริหารต้องอย่า มีนโยบายส่งเสริมให้อาจารย์ใหม่ที่รักงานวิจัยขอลดงานสอน ต้องแนะ/ฝึกให้อาจารย์ใหม่ รู้จักวิธีทำให้เกิดการสนธิพลังกันระหว่างหน้าที่ทั้งสอง

อีกคู่หนึ่งที่นักวิชาการทั่วไปบ่นมากคือ งานวิชาการ - งานธุรการ เช่นเสียเวลาเขียน มคอ. ของ TQFงานเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ ฯลฯศ. นรัตถพล กลับเสนอว่า นักวิชาการ ต้องเข้าใจระเบียบพัสดุ และอื่นๆสำหรับนำมาใช้ในการทำงานให้ราบรื่นและมีระบบที่ ทรงประสิทธิภาพแล้ว “ก้าวข้าม” ภารกิจเหล่านั้นคือฝึกคนขึ้นมาทำงานในลักษณะงานประจำเหล่านั้นลดภาระของตนลงไป

  • หลักการ “ความรู้เป็นมายา ท่านชี้ให้เห็นว่า ความรู้ และวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่เลื่อนไหล (dynamic) ไม่ใช่สิ่งที่ “นิ่งสถิตย์” (static) ข้อความ หรือความรู้ในตำรา เป็นเพียงโครงสร้าง ความรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ใช่ “ความจริง” (fact)นานไปอาจพบว่าผิดก็ได้และความรู้ใน วารสาร ไม่ใช่การ “พิสูจน์” สิ่งใดเป็นเพียงการยืนยัน หรือแย้ง “ข้อสังเกต” (observation)

ความเห็นของ ศ. นรัตถพลนี้ ตรงกับสาระในบทที่ ๑ ของหนังสือ Teaching at Its Best

  • ให้ความสำคัญต่อการ “สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้โดยบอกว่า posdoc fellow เป็นผู้ช่วยสร้างบรรยากาศ ที่อาจารย์สร้างไม่ได้ผมตีความว่า หมายถึงบรรยากาศ “ส้นเท้า” (S.O.L.E. – Self-Organized Learning Environment) หรือบรรยากาศอิสระ
  • ปรับสมดุล ระหว่างการสอน Knowledge กับ Process อยู่ตลอดเวลาในประเด็นนี้ ผมขอนำภาพ ppt ที่ ศ. นรัตถพล ใช้นำเสนอ และผมถ่ายภาพไว้เอามาให้ดู รวม ๓ ภาพ
  • Active – Reflective / Problem-Based Learningเป็นการเรียนรู้ที่ตรงตามหลักการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ ๒๑และผมตีความว่า ทำให้ นศ. ในความดูแลของ ศ. นรัตถพล กลายเป็น ผู้ร่วมสร้างสรรค์วิชาการแทนที่จะเป็นภาระในการสอนของอาจารย์ อย่างที่อาจารย์ โดยทั่วไปเผชิญผมจึงเอาภาพ ppt ที่ ศ. นรัตถพล ใช้อธิบายตอนนี้มาให้ดูด้วย

ผมสรุปกับตนเองว่า ศ. นรัตถพล เป็นนักวิชาการที่ก้าวสู่สภาพ “รู้จริง” (Mastery) ตั้งแต่อายุน้อยมากและเข้าใจว่า ท่านได้จากการสังเกตเรียนรู้จากการปฏิบัติของตนเองอาจจะผสมกับมี mentor ที่ดีคอยช่วยชี้ทางและผมคิดว่า ใครก็ตามที่สามารถเข้าสู่มโนทัศน์แบบนี้ได้การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการก็ไม่เป็นเรื่องยากและน่าจะเป็นเรื่องสนุกบันเทิงใจดังที่แสดงออกมาในหน้าตาท่าทางของ ศ. นรัตถพล ตอนบ่ายวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๗ ที่อาคาร SiPH ชั้น ๘มองออกไปภายนอกเห็นวิวแม่น้ำเจ้าพระยาอันสวยงาม

เป็นหน้าตาท่าทางของคนหนุ่มที่ประสบความสำเร็จสูงยิ่งในชีวิตวิชาการ จากการคิดแหวกแนว จากมโนทัศน์เดิมๆแต่ไม่เปล่งประกาย อหังการ์ใดๆ เลย

ในตอนท้าย ศ. นพ. ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ของมหาวิทยาลัยมหิดล ถามผมว่า ผมจะแนะนำให้ ศ. นรัตถพล ทำอะไรในชีวิตที่เหลืออีก ๒๕ ปี จึงจะถึงอายุ ๖๐เพราะแค่อายุ ๓๕ ก็บรรลุ ตำแหน่งสูงสุดในชีวิตนักวิชาการเสียแล้ว

ผมตอบว่า การเป็นศาสตราจารย์ไม่ใช่เป้าหมายหรือไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดในชีวิตคนแต่เป็นเครื่องมือ หรือเป็นเส้นทาง สู่การทำคุณประโยชน์ มีคุณค่าที่ยิ่งใหญ่ ให้แก่สังคมซึ่งในที่นี้ ผมตีความว่า เป็นการ “สร้างคน” ที่เป็นนักวิชาการแท้นักวิชาการที่มีคุณภาพสูงให้แก่สังคมไทย

ศ. นรัตถพล มีเวลาทำงานสร้างสรรค์วิชาการอีก ๔๕ ปี ไม่ใช่ ๒๕ ปีเพราะนักวิชาการนั้นไม่ควรหยุด ทำงานวิชาการเมื่ออายุ ๖๐เพราะสมัยนี้คนอายุ ๖๐ ที่สุขภาพดีถือว่ายังหนุ่มนักวิชาการอาวุโสควรรับใช้ บ้านเมืองโดยการสร้างนักวิชาการชั้นยอดให้แก่ประเทศศ. นรัตถพล สามารถทำหน้าที่สร้างนักวิจัย/นักวิชาการ ชั้นยอด จนได้ชื่อว่าเป็น professor of the professors

วิจารณ์ พานิช

๒๑ มี.ค. ๕๗

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2014 เวลา 21:53 น.  
Home > Articles > การศึกษา > แนวทางสร้างตัวเป็นนักวิชาการชั้นยอด

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8739711

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า