Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > การปฏิรูปการเรียนรู้ในระบบการศึกษาไทย เป็นสิ่งที่เป็นไปได้

การปฏิรูปการเรียนรู้ในระบบการศึกษาไทย เป็นสิ่งที่เป็นไปได้

พิมพ์ PDF

หัวข้อข้างบน คือข้อสรุปของผม หลังจากกลับมาจากจันทบุรีไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้า ของ โครงการพัฒนาครูด้วยระบบหนุนนำต่อเนื่อง (Teacher Coaching - TC) โดยมีหลักการคือ ครูต้องไม่เน้นสอน หรือถ่ายทอดวิชาแต่ต้องจัดการเรียนรู้แบบ active learningให้ศิษย์ได้เรียนรู้วิชาไปพร้อมๆ กันกับการพัฒนา ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ขึ้นในตัว

เราเคยได้ยินว่า ผู้บริหารโรงเรียนถือว่าตนเองไม่มีหน้าที่รับผิดชอบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของนักเรียนครูจะจัดการเรียนการสอนอย่างไร ไม่ใช่เรื่องที่ผู้อำนวยการโรงเรียนจะต้องรับรู้นี่คือคำติฉินนินทาที่ผมได้ยิน เรื่อยมา

แต่เมื่อผมไปจันทบุรีระหว่างวันที่ ๒๕ - ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๗ผมได้เห็นกับตา ได้ยินกับหู ว่าทีมงานของ มรภ. รำไพพรรณี สามารถชักชวนผู้อำนวยการโรงเรียนของทุกโรงเรียน ที่มาเข้าโครงการ TC ให้เข้ามาทำหน้าที่โค้ช ให้ครูเปลี่ยนพฤติกรรมในการสอนคือไม่ใช่แค่มารับรู้แต่เข้ามาเป็นผู้นำ การเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง

แถมยังมีรูปแบบ ที่โรงเรียนรวมตัวกันเป็นเครือข่าย ผลัดกันทำหน้าที่ โค้ชและในโรงเรียนก็เกิด กิจกรรม peer coachingคือครูโค้ชกันเองครูกับโค้ชมีเวลาพบกันน้อยไป ก็ใช้วิธีถ่ายวีดิทัศน์บรรยากาศ ในห้องเรียนส่งไปให้โค้ชให้คำแนะนำมีการปรึกษาหารือกันผ่าน social media

เมื่อใจของครู ใจของผู้บริหาร อยู่ที่การเรียนรู้ของศิษย์คุณภาพการศึกษาย่อมพัฒนาขึ้นได้พัฒนาขึ้นโดยพฤติกรรมของครู และพฤติกรรมของผู้บริหาร ที่เปลี่ยนไป

ในวงการศึกษานานาชาติ มีคำเด็ดคือ student engagementว่าเป็นหัวใจของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑แต่ที่จันทบุรี ผมไปเห็น teachers engagement และ directors engagementที่เป็นแม่เหล็กดึง student engagement

การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เหล่านี้แหละที่จะเป็นเชื้อ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหญ่ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ

ในการประชุมนี้ คณะกรรมการชี้ทิศทางของโครงการ ได้แสดงความพึงพอใจอย่างยิ่ง ในความก้าวหน้า ของโครงการ TC มีจังหวัดจันทบุรีโดยเฉพาะวิธี “เข้ามวย” หรือกำหนดยุทธศาสตร์การทำงานเป็นตัวอย่างของ change management ชั้นครูแม้หัวหน้าโครงการจะยังสาวอยู่ คือ ดร. หฤทัย อนุสสรราชกิจ ผมเรียก ยุทธศาสตร์นี้ว่า “ยุทธศาสตร์ comprehensive engagement”

ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร แนะนำว่าทีมนักวิจัยในโครงการ TC ทุกโครงการกำลังทำ change managementดังนั้น ทีงานจึงควรเข้าใจเรื่อง KM และรู้จักใช้ KM เป็นเครื่องมือจัดการการเปลี่ยนแปลง ท่านเพิ่งฟังผมพูด เรื่อง KM สำหรับผู้บริหาร ให้กรรมการสภามหาวิทยาลัย และผู้บริหารของ มช.เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๗จึงแนะนำให้ผู้บริหารและทีมงานของโครงการ TC ทุกโครงการได้ทำความรู้จักสามารถฟัง narrated ppt ของการบรรยายนั้นได้ ที่นี่

ท่านชื่นชมโครงการที่ให้ครูเขียนบันทึกการสอน และบันทึกการเปลี่ยนแปลงโดยแนะนำว่า การคิดมาจากการเขียนเป็นหลักเป็นกลไกช่วยการตกผลึกความคิดที่จริงผมเองก็เชื่อว่า หากให้นักเรียน เขียนบันทึกการเรียน แล้วนำมา ลปรร. กัน (เรียกว่าทำ reflection) จะเกิดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงและลึกซึ้ง ขึ้นอีกมาก

ดร. กฤษณพงศ์ท่านแนะนำให้ทำความเข้าใจแรงต้านการเปลี่ยนแปลงและวิธีหักมุม ให้แรงต้าน กลายเป็นแรงผลักทำให้ผมคิดว่าน่าจะมีคนทำวิจัยเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เรื่องแรงต้านการเปลี่ยนแปลง ในกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ ๒๑ และวิธีการทำแรงลบให้เป็นแรงบวก

มีการพูดกันถึงเครื่องมือวัดทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งควรทำไป ๒ ทางพร้อมๆ กันคือครูในวง TC รวมกลุ่มกันสร้างขึ้นกับ สกว. / สพฐ. ร่วมกันจัดทีมนักวิชาการดำเนินการพัฒนาแล้วจัด workshop เป็นระยะๆ เพื่อหลอมรวมเครื่องมือวัดจาก ๒ ทางเข้าด้วยกัน

ผมเองมีความเห็นว่า เครื่องมือวัดนี้ควรพัฒนาขึ้นจากการปฏิบัติ ให้น้ำหนัก ๒ ส่วนที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎี ให้น้ำหนัก ๑ ส่วนแล้วนำมาหลอมรวมกันเป็นแนวทางย้ำว่าเป็นแนวทาง ไม่ใช่เป็นมาตรฐานตายตัวเพื่อให้ครูเอาไปใช้และพัฒนาขึ้นไปอีก

ตัวสำคัญในการประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ไม่ใช่เครื่องมือไม่ใช่คอมพิวเตอร์แต่เป็นคน คือครู ย้ำว่าครูคือบุคคลสำคัญที่สุดที่จะทำหน้าที่ประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ของศิษย์เป็นรายคนเพราะจะต้องประเมินทั้งส่วนที่เป็น objective และส่วนที่เป็น subjectiveโดยผมเชื่อว่า ในสัดส่วน objective : subjective = 1 : 2คือส่วน subjective ต้องมีน้ำหนักสูงกว่าส่วนนี้วัดได้โดยมนุษย์สัมผัสมนุษย์แต่คนที่เป็นผู้ประเมินต้องมีทั้งความรู้เชิงทฤษฎี และมีทักษะในการประเมินนี่คือ EmbeddedFormative Assessment ที่ครูทุกคนต้องมีและต้องใช้อยู่ตลอดเวลาเพื่อเอามาเป็นสารสนเทศ/ความรู้ ในการให้ Formative Feedback ให้ศิษย์คิดไปข้างหน้า คิดมุ่งมั่นปรับปรุงตนเองด้วยความมั่นใจว่าตนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้นั้นได้

ดร. สีลาภรณ์ บัวสาย เสนอว่า คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ต้อง Transform ตนเองเปลี่ยนหลักสูตร ผลิตครูเน้นที่ทักษะการเป็น Learning Person ของครูและทักษะในการสร้าง Learning Culture ในโรงเรียน

โครงการ TC เป็นโครงการเล็กๆ สามารถเข้าไปสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ครูที่วิธีคิดของครูและที่รอยต่อระหว่างครูกับศิษย์ ได้โดยที่โครงสร้างเดิมไม่เปลี่ยนจึงเกิดความท้าทายว่า ทำอย่างไร การเปลี่ยนแปลงนี้จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนในที่สุดเกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ของครู และของวงการศึกษาไทย

วิจารณ์ พานิช

๒๗ มี.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 29 เมษายน 2014 เวลา 08:16 น.  
Home > Articles > การศึกษา > การปฏิรูปการเรียนรู้ในระบบการศึกษาไทย เป็นสิ่งที่เป็นไปได้

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8739697

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า