Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > เครือข่ายการพัฒนาครู

เครือข่ายการพัฒนาครู

พิมพ์ PDF

หนังสือ พลังเครือข่ายในพื้นที่เขียนโดย ดร. เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ และอรุณศรี จิตต์แจ้ง บอกว่า เครือข่ายการเรียนรู้เป็นสิ่งที่มีพลัง หากดำเนินการอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการจัดการเครือข่าย ดังกรณีโครงการ LLEN ประสบความสำเร็จสูงยิ่งในการยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียน สู่การเรียนรู้ แห่งศตวรรษที่ ๒๑ จากความสามารถในการจัดการโดย ดร. เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ สนับสนุนโดย สกว.

จาก LLEN สู่โครงการ TC ก็จัดการเครือข่ายโดย ดร. เจือจันทร์ เจ้าเก่า คราวนี้เราเน้นที่ครูเป็นตัวหลัก และเน้นเทคนิคcoaching ที่ผมเน้นว่า ต้อง โค้ชด้วยการตั้งคำถาม (เชิงกัลยาณมิตร) มากกว่าด้วยการ “สอน” หรือแนะนำ ด้วยท่าทีที่เสมอกัน มากกว่าท่าทีของผู้รู้บอกผู้ไม่รู้ และต้องเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างครูกันเอง ที่เรียกว่า peer coaching

โดยมีเป้าหมายที่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ จากเน้นถ่ายทอดความรู้ สู่เน้นให้นักเรียน ลงมือทำหรือปฏิบัติ เพื่องอกงามความรู้ขึ้นภายในตน มีเป้าหมายให้นักเรียนได้งอกงามพัฒนาครบด้าน ของทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ไม่ใช่หวังให้เรียนวิชาเพียงอย่างเดียว

ที่จันทบุรี ออกแบบการทำโครงการ TC โดยให้ผู้อำนวยการโรงเรียนเข้ามาทำหน้าที่ โค้ช ด้วย และให้ทีมของโรงเรียนหนึ่งไปโค้ช อีกโรงเรียนหนึ่ง สลับบทบาทกัน

โค้ช แบบพบหน้ากัน ทำได้ไม่บ่อย ก็ถ่ายวีดิทัศน์ ส่งไปให้ช่วยโค้ช

ทั้งหมดนี้มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาครู พัฒนาให้เป็น โค้ช การเรียนรู้ของนักเรียนอีกต่อหนึ่ง

ซึ่งหมายความว่า ต่อไปนี้ เรารณรงค์และส่งเสริมให้ครูลดบทบาท “ครูสอน” หันไปเน้นบทบาท “ครูฝึก” เน้นให้นักเรียนเรียนโดยลงมือปฏิบัติและคิดไตร่ตรอง

บ่ายวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๗ ผมไปร่วมการประชุมประจำปี โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ที่ มศก. นครปฐม ได้ฟังครูสะท้อนให้ฟังว่า หลังเข้าโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา (ซึ่งก็เน้นส่งเสริมให้ครูเปลี่ยนมาเป็น ครูฝึกเช่นเดียวกัน) ครูเปลี่ยนไปอย่างไร สรุปได้ว่า ครูพัฒนาขึ้นอย่างมากมาย ในเวลาปีเดียว พัฒนาความเป็นครู ทั้งด้านจิตวิญญาณของความเป็นครู และด้านทักษะของการเป็น “ครูฝึก”

จึงสรุปได้ว่า การรวมตัวกันเป็นชุมชนเรียนรู้ เครือข่ายเรียนรู้ ของครู เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง โดยมีการจัดการเครือข่าย เป็นกระบวนการพัฒนาครูที่แท้จริง ดีกว่ากระบวนการพัฒนาครูในโครงการ SP2 ในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ และดีกว่ากระบวนการพัฒนาครูโดยการสั่งให้ไปรับการฝึกอบรม ของกระทรวงศึกษาธิการ

การพัฒนาครูในรูปแบบโครงการ TC และโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา จะช่วยยกระดับคุณภาพครู ยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และช่วยลดความสูญเปล่าของงบประมาณพัฒนาครู

วิจารณ์ พานิช

๒๘ มี.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 30 เมษายน 2014 เวลา 21:50 น.  
Home > Articles > การศึกษา > เครือข่ายการพัฒนาครู

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8739602

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า