Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > KM วันละคำ : ๖๒๘. ทำไมจึงต้องให้ความสำคัญแก่ความรู้ฝังลึก

KM วันละคำ : ๖๒๘. ทำไมจึงต้องให้ความสำคัญแก่ความรู้ฝังลึก

พิมพ์ PDF

วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ ผมไปร่วมประชุมคณะผู้เขียน (ที่เป็นทั้งคนไทย และต่างชาติ) หนังสือเรื่อง Tacit Knowledgein Health Policy and Systems Development ที่นำโดย นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งาติ หนึ่งในคณะผู้เขียน คือ ดร. วัลลา ตัยตโยทัย แห่ง Gotoknow

ผมมีหน้าที่ไปให้ความเห็นในภาพรวม และร่วมประชุมในช่วงแรกเพียงชั่วโมงครึ่งเท่านั้น แล้วก็ต้อง กลับบ้านเพื่อเตรียมตัวไปนอร์เวย์ในคืนนั้น คณะที่ประชุมเรื่อง Tacit Knowledge เขาประชุมกัน ถึงวันที่ ๒๔

ผมเกิดความคิดขึ้นว่า น่าจะลองใคร่ครวญไตร่ตรองดูว่า ทำไมเราจึงต้องให้ความสำคัญแก่ TK การให้ความสำคัญแก่ TK และเอา TK มาใช้ประโยชน์เป็น มันก่อคุณประโยชน์อย่างไรบ้าง เอาผลการ ใคร่ครวญตีความนี้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยไม่ยืนยันว่า สิ่งที่เอามาแลกเปลี่ยนจะถูกต้อง

ผมขอให้ความเห็นว่าทำไมเราต้องให้ความสำคัญแก่ความรู้ฝังลึก เป็นข้อๆ ดังนี้

  • ๑.เพื่อให้ความรู้ครบถ้วน สิ่งที่เรียกว่าความรู้นั้น จริงๆ แล้วเป็นสมมติ พัฒนาการความรู้ ที่มาทางสายวิทยาศาสตร์ เน้นพยานหลักฐาน (evidence) ที่ตรวจสอบหรือทำซ้ำได้ ทำให้คนเรายึดมั่นถือมั่นเฉพาะความรู้แนววิทยาศาสตร์ (scientific) ปฏิเสธความรู้ แนวประสบการณ์ (experiential) ที่มีลักษณะผูกพันอยู่กับบริบท (context) ที่จำเพาะ ที่เรียกว่า tacit knowledge แม้ Polanyi จะเสนอความสำคัญของ “personal knowledge” ไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๑
  • ๒.เพื่อให้เกิดพลังในการนำเอาความรู้มาสร้างการเปลี่ยนแปลง ประสบการณ์ชีวิตบอกผมว่า ในหลายกรณี ความรู้ทฤษฎี (Explicit Knowledge) ที่มีพยานหลักฐานสนับสนุนอย่างดี ไม่มีพลังเพียงพอในการ สร้างการเปลี่ยนแปลง หากนำเอาความรู้ฝังลึกเข้ามาช่วย หรือในหลายกรณี เอาความรู้ฝังลึกเป็นตัวหลัก ใช้ความรู้ทฤษฎีหนุน ก็สามารถขับเคลื่อน การเปลี่ยนแปลงยากๆ ในระดับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เปลี่ยนวัฒนธรรม ได้ ดังตัวอย่าง ขบวนการ HA, ขบวนการ R2R ของไทย รวมทั้งที่เรากำลังใช้ขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้ ของบุคลากรสุขภาพ อยู่ในขณะนี้
  • ๓.เพื่อสร้างกระบวนทัศน์ และวัฒนธรรมเกี่ยวกับความรู้เพื่อการใช้งาน เน้นความรู้เพื่อ การทำงานให้เกิผลที่ต้องการ ไม่ใช่ความรู้เพื่อรู้แต่ไม่ทำ ไม่ใช่ความรู้เพื่อการอภิปราย หรือโอ้อวดว่าเป็นผู้รู้ โดยผลเสนอต่อที่ประชุม (และทุกคนเห็นด้วย) ว่า ให้นิยาม tacit knowledge ที่การกระทำ และระบุ TK จากผลของการกระทำ มอง TK ว่าเป็นความรู้ เพื่อการกระทำ และเป็นความรู้เพื่อการกระทำ
  • ๔.TK มีผลเสริมพลัง (empower) EK และในทางกลับกันก็สามารถใช้ EK ในการตีความ ทำความเข้าใจ TK ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เกิดเป็นวงจรหมุนเกลียวความรู้ ยกระดับความรู้ ผ่านการปฏิบัติ

วิจารณ์ พานิช

๒๒ เม.ย. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 02 พฤษภาคม 2014 เวลา 21:29 น.  
Home > Articles > การศึกษา > KM วันละคำ : ๖๒๘. ทำไมจึงต้องให้ความสำคัญแก่ความรู้ฝังลึก

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8739463

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า