Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ๖ นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา ๑๐. นักเรียนยุคดิจิตัล (จบ)

๖ นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา ๑๐. นักเรียนยุคดิจิตัล (จบ)

พิมพ์ PDF

บันทึกชุดนี้มี ๑๐ ตอน ที่ตีความจากการอ่านหนังสือ Education Nation : Six Leading Edges of Innovation in Our Schools เขียนโดย Milton Chen

บันทึกตอนที่ ๑๐ นี้ ตีความจาก Edge 6. The Youth Edge : Digital Learners Carrying Change in Their Pockets

นักเรียนในยุคปัจจุบันเกิดมาในยุคดิจิตัล และเติบโตมากับเครื่องเหล่านั้น เขามีทักษะในการใช้เครื่อง ไอซีที เป็นเรื่องปกติในชีวิต พูดง่ายๆ คือ เก่งกว่าครู

ชีวิตประจำวันของเด็กเหล่านี้ อยู่กับเครื่องมือ ไอซีที และหากได้รับการชักชวนให้ใช้เครื่องมือนี้ทำงาน สร้างสรรค์ที่ตนชอบ เขาจะทำอย่างกระตือรือร้น และเกิดการเรียนรู้สูงมาก มีความสามารถสร้างสรรค์สูงมาก อย่างไม่น่าเชื่อ

ดังนั้น นวัตกรรมทางการศึกษาอย่างหนึ่งคือ ให้/ใช้ นักเรียนเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงวิธีเรียนรู้ของตนเอง วิธีจัดการเรียนการสอนของครู และเปลี่ยนบทบาทของนักเรียน โดยเขาให้นักเรียนช่วยกันเขียน “บทบาทหน้าที่ (job description) ของนักเรียน” ตามแนวความคิดว่า นักเรียนเป็นผู้สร้างสรรค์ ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนักเรียนจะต้องมีทักษะ/สมรรถนะ ดังต่อไปนี้


ทักษะ (skills)

/ ด้านสารสนเทศ

-มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีค้นหาและวิเคราะห์สารสนเทศที่ต้องการ โดยที่ทักษะด้านการอ่านและเขียนตามคตินิยมของการเรียนรู้แบบเดิม บูรณาการอยู่ในทักษะที่ซับซ้อนชุดนี้

-มีทักษะในการผลิตสื่อผสม (multimedia) โดยสามารถเลือกใช้และผสมคำ ภาพ และเสียง เพื่อสื่อสารเรื่องราว บทเรียน หรือแนวความคิด

/ ด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำให้ชั้นเรียนเป็นเสมือนที่ทำงานสมัยใหม่ โดยทีมนักเรียนร่วมกันผลิตผลงานที่ทะเยอทะยานก้าวหน้ากว่าที่คนคนเดียวจะสร้างสรรค์ได้ มีความสามารถสื่อสารต่อกัน และทำให้ความร่วมมือกันสร้างสรรค์เป็นสิ่งสนุกสนาน มีความเคารพในความแตกต่างทางความคิดและความแตกต่างอื่นๆ


คุณลักษณะ (qualifications)

/ มีความสงสัยใคร่รู้รอบด้าน เกี่ยวกับโลก ความสนใจวิทยาศาสตร์ และกลไกการทำงานของสิ่งต่างๆ รวมทั้งสนใจวิทยาศาสตร์ วรรณกรรม ศิลปะ

/ อยากมาโรงเรียน และไปยังสถานที่เพื่อการเรียนรู้ต่างๆ โดยมาโรงเรียนตรงเวลา และมีความพร้อมที่จะเรียน

/ รู้หน้าที่เรียนของตน

/ มีความขยันหมั่นเพียร มีความยืดหยุ่นยืนหยัดในสถานการณ์ยากลำบากและไม่ชัดเจน

ข้อที่ควรย้ำคือ ต้องเน้นที่ตัวนักเรียน เป็นผู้ลงมือทำเพื่อการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในระหว่างเพื่อนๆ รวมทั้งตัวนักเรียนก็เอื้อเฟื้อต่อครู ให้การทำหน้าที่ครูมีความสนุกสนานภาคภูมิใจ

โรงเรียน กลายเป็น “ศูนย์เรียนรู้” ทั้งของนักเรียน ครู และคนในชุมชน เรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ

วิจารณ์ พานิช

๒ ม.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

 
Home > Articles > การศึกษา > ๖ นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา ๑๐. นักเรียนยุคดิจิตัล (จบ)

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8739679

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า