Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ไปเรียนรู้ที่ มรภ. เพชรบุรี

ไปเรียนรู้ที่ มรภ. เพชรบุรี

พิมพ์ PDF

 

มรภ. เพชรบุรี จัดโครงการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ และเชิญผมไปบรรยายเรื่อง “การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑” จึงนำ narrated ppt มา ลปรร. ที่ ๑ , ๒

 

ผมได้เรียนรู้เรื่องดีๆ หลายอย่าง จากการพบปะพูดคุยกับผู้บริหาร และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย ที่ประทับใจมากคือการผลิตครู ที่เน้นความหนักแน่นของวิชาเอก คือครูภาษาและครูสังคม ผลิตโดยคณะ มนุษยศาสตร์ ครูวิทยาศาสตร์ ผลิตโดยคณะวิทยาศาสตร์ โดยที่คณะครุศาสตร์ทำหน้าที่สอนเฉพาะวิชาครู เท่านั้น

 

หลักสูตรที่คณะครุศาสตร์รับผิดชอบเองมีเพียง ๒ หลักสูตร คือ การศึกษาปฐมวัย กับ สาขาพลศึกษา ผมได้ข้อมูลนี้จากท่านคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ผศ. ดร. ปัญญา ทองนิล

 

ประเด็นที่เราคุยกันในวงข้าว (เที่ยง) คือการยอมรับสภาพที่นักศึกษาที่เข้าเรียนส่วนใหญ่คุณภาพไม่สูง ทั้งด้านวิชาความรู้ ความขยัน และแรงบันดาลใจ ผมเสนอให้มองเป็นความท้าทาย และเสาะหาโจทย์วิจัย จากความท้าทายนั้น และออกแบบการวิจัยให้เป็น R&D ใช้ KM เป็นเครื่องมือ เช่นตั้งคำถามว่ามีนักศึกษา ที่เมื่อเข้ามาเรียนเป็นคนขี้เกียจ แต่เมื่อเรียนไประยะหนึ่งกลายเป็นคนขยัน ตั้งใจเรียน ไหม มีมากพอที่จะเป็นกลุ่ม ประชากร (cohort) ได้ไหม สำหรับนำมาวิจัยหาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งอาจศึกษา ผลกระทบต่อชีวิต หากสามารถศึกษาย้อนหลัง และศึกษาไปข้างหน้าได้เป็นระยะเวลายาว เช่น ๑๐ ปี หรือ ๒๐ ปี

 

ที่น่าชื่นชมคือการจัดสรรทุนช่วยเหลือนักศึกษา โดยใช้เงินรายได้ของมหาวิทยาลัย เช่นทุนช่วยเหลือ นักศึกษาจาก ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

ผมได้ประจักษ์ด้วยตนเอง ว่า โครงการครุทายาท น่าจะก่อผลดีต่อวงการศึกษามาก ไม่ทราบว่า มีการวิจัยผลกระทบของโครงการนี้ไหม ผมทราบว่า ครูวิเชียร ไชยบัง ผู้อำนวยการผู้ก่อตั้งโรงเรียน ลำปลายมาศพัฒนา ก็เป็นนักศึกษาในโครงการครุทายาท วันนี้ผมก็ได้มาพบ อาจารย์ ดร. สุกัญญรัตน์ คงงาม ที่แสดงความกระตือรือร้น ในเรื่องการวิจัยด้านการศึกษา ก็เป็นนักศึกษาโครงการครุทายาท เช่นเดียวกัน คนที่มีไฟในการทำงานนี่ คุยด้วยหน่อยเดียว ก็สัมผัสได้นะครับ

 

ผมเอ่ยถึง ดร. สุมาลี พงศ์ติยะไพบูลย์ ดาราของ มรภ. เพชรบุรี ที่ไปร่วมโครงการ LLEN และ TC ผศ. ดร. ปัญญา จึงเล่าว่า คณะศึกษาศาสตร์ไม่สามารถเปิดหลักสูตรจิตวิทยาการศึกษาได้ เพราะคุรุสภาไม่เห็นชอบ เพราะไม่ต้องการครูเฉพาะทางด้านจิตวิทยาการศึกษา ต้องการให้ครูทุกคนมีความรู้ด้านจิตวิทยาการศึกษา

 

ผมคิดว่า นโยบายนี้ของคุรุสภา (หากผมจับความมาถูดต้อง) น่าจะทั้งถูกและไม่ถูก ส่วนที่ผมคิดว่า ถูกคือ ครูทุกคนต้องมีความรู้เรื่องจิตวิทยาการศึกษา แต่ส่วนที่ผมคิดว่าผิดคือ การไม่ให้วิทยะฐานะครูแก่ผู้จบ ด้านจิตวิทยากาศึกษา

 

ผมมีความเห็นว่า เรื่องจิตวิทยาการศึกษาในสังคมไทยปัจจุบันเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง และตำราที่อายุเกิน ๒๐ ปี ควรได้รับการชำระ ด้วยการวิจัยจากกลุ่มนักเรียนในยุคนี้ เรารู้กันว่า ลักษณะของเด็กในยุคปัจจุบัน แตกต่างจากเด็กเมื่อ ๑๐ - ๒๐ ปีก่อนอย่างมากมาย ชุดความรู้เรื่องจิตวิทยาการศึกษาที่ใช้ได้ผลกับเด็กรุ่นเก่า หลายส่วนน่าจะใช้ไม่ได้ผลกับเด็กรุ่นปัจจุบัน เราต้องการครูที่มีความรู้ด้านจิตวิทยาการศึกษา เข้าไปทำงาน ถอดบทเรียน และวิจัยสร้างชุดความรู้ชุดใหม่ เอามาใช้งาน

 

การไปเรียนรู้สั้นๆ ครั้งนี้ ทำให้ผมเกิดความคิด ว่าผมน่าจะหาโอกาสเรียนรู้สถานการณ์การเรียนรู้ ในสภาพจริง ในสถาบันอุดมศึกษาไทย

 

วิจารณ์ พานิช

 

๓ เม.ย. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 06 พฤษภาคม 2014 เวลา 16:23 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ไปเรียนรู้ที่ มรภ. เพชรบุรี

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8739462

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า