Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง: ๒๑๕๐. วาทกรรมลวง

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๑๕๐. วาทกรรมลวง

พิมพ์ PDF

 

เฝ้าติดตามวง อีเมล์ วงหนึ่ง เสวนาถกเถียงกันเรื่องการเมืองการแบ่งขั้วในสุงคมไทยยุคปัจจุบันได้ความรู้มากทีเดียวว่าความเชื่อและความยึดมั่นถือมั่นแตกต่างกันมากในกลุ่มคนที่เชื่อต่างกัน หรือในคนต่างขั้วโดยที่คนต่างขั้ว ต่างก็ยึดถือมายากันคนละแบบ

 

ผมยึดถือมายา (บางทีเรียกว่าอุดมคติ) ไม่เอาคนโกง มาปกครองบ้านเมือง และหาทางรู้เท่าทันคนโกง

 

มีคนตั้งกระทู้ว่า “คุณเคยโกงโอทีไหม” “เคยเอาเวลาราชการไปทำกิจส่วนตัวไหม” “เคยรับค่านายหน้าจากบริษัทยาไหม”ในทำนองเพื่อจะบอกว่า การโกงนั้นเป็นปกติวิสัยในเมื่อตัวคุณเองก็เคยโกง เมื่อรัฐบาลโกงบ้าง จะร้องแรกแหกกะเฌอไปไย

 

ไม่ว่าจะโดยจงใจหรือไม่ ผมเรียกกระทู้เหล่านี้ว่า วาทกรรมลวง ล่อหลอกให้คนคิดว่าการโกงหรือคอรัปชั่น เป็นเรื่อง ธรรมดา

 

ประเด็นหนึ่งที่เดี๋ยวนี้เราไม่ค่อยพูดกัน คือจริยธรรมของผู้ทำงานสาธารณะ (public service) อันได้แก่นักการเมือง และข้าราชการและในยุคปัจจุบัน แม้งานธุรกิจ ก็มีแนวโน้มกลายเป็นงานสาธารณะมากขึ้นจึงมีการพูดกันถึงเรื่อง Corporate Social Responsibility มากขึ้น

 

คนที่ทำงานสาธารณะ หากทำชั่ว จะก่อผลร้ายต่อสังคม ต่อบ้านเมืองรุนแรงมากกว่าชาวบ้านทั่วๆ ไป เพราะมีโอกาสมากกว่ามีโอกาส “กินคำโต” กว่าและมีโอกาส “กินแบบปิดบังมิดชิด” ได้มากกว่าโชคดีของประเทศไทย ที่รัฐบาลทักษิณที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิดกินมูมมามมากกินอย่างโจ่งแจ้ง และกินทั้งตระกูล จึงปิดบังความชั่วยาก

 

คนทำงานสาธารณะในตำแหน่งสูงจึงต้อง “ถือศีล” ข้อ “จริยธรรมในการไม่แสวงหาลาภโดยมิชอบจากตำแหน่งหน้าที่” ที่มีความเคร่งครัดกว่าเจ้าหน้าที่ระดับล่าง และเคร่งครัดกว่าคนทั่วไป นี่คือศีลที่ผมยึดถือมาตลอดชีวิตและให้คุณประโยชน์ทางอ้อมแก่ชีวิตที่ดีอย่างคาดไม่ถึง

 

วาทกรรมลวงของคนที่สนับสนุนหรือรักชอบรัฐบาลทักษิณ ที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิดเป็นวาทกรรมที่ทำร้ายประเทศไทยฉุดดึงระดับศีลธรรม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของผู้คนให้ตกต่ำ

 

สังคมที่ศีลธรรม จริยธรรมตกต่ำ เป็นสังคมที่ไม่เข้มแข็ง ไม่ยั่งยืน เกิดวิกฤติต่างๆ ได้ง่าย

 

วิจารณ์ พานิช

 

๑ เม.ย. ๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 07 พฤษภาคม 2014 เวลา 22:09 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง: ๒๑๕๐. วาทกรรมลวง

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8739688

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า