Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > คำนิยม หนังสือ อย่าเรียนหนังสือคนเดียว

คำนิยม หนังสือ อย่าเรียนหนังสือคนเดียว

พิมพ์ PDF

คำนิยม

หนังสือ อย่าเรียนหนังสือคนเดียว

โดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

………………..

 

คุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ เป็นนักเขียนที่เขียนหนังสือได้หลายแนว และเป็นผู้มีความรู้หลายด้าน เป็นมนุษย์อัจฉริยะสำหรับผม ที่ผมยกย่อง และเจียมตัวว่าทำตามอย่างไม่ได้

หนังสือ อย่าเรียนหนังสือคนเดียว เป็นหนังสือรวมบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ รวม ๒๑ เรื่อง เลือกมาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการศึกษาหรือการเรียนรู้ ด้วยความที่ผู้เขียนเป็นจิตแพทย์เด็ก เป็นนักดูหนัง นักอ่านและ นักวิจารณ์การ์ตูนทำให้หนังสือเล่มนี้มีสาระที่สนุกสนาน

ตอนที่สนุกที่สุดสำหรับผมคือเรื่องที่ ๘ การเล่นสมมติกับตอนที่ ๙ ยังเล่นกันเป็นอยู่มั๊ยเอ่ยซึ่งผมคิดว่ามีคุณค่าต่อพ่อแม่ที่มีลูกเล็กด้วยรวมทั้งต่อ ปู่ย่าตายายที่มีหลานเล็ก ผมถึงกับส่งบทความสองตอนนี้ไปให้ลูกสาวที่สิงคโปร์ เพราะเขามีลูกสาวอายุ ๓ ขวบ

ตอนที่ให้ความรู้ใหม่มากที่สุดสำหรับผมคือเรื่องที่ ๑๖ อย่าเรียนหนังสือคนเดียว ที่เล่าเรื่องวิวัฒนาการของมนุษย์ Homo sapiens ที่วิวัฒนาการมาจากมนุษย์ สปีชี่ส์ อื่น ก็ด้วยการพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรม โดยการปรึกษาหารือกับคนอื่น ทำให้เกิดการสร้างสรรค์รวมหมู่ (collective creativity) เป็นที่มาของหลักการเรียนรู้ว่าต้องเรียนโดยมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ที่เรียกว่า การเรียนรู้เป็นทีม (team learning) ซึ่งเป็นหลักการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑

ตอนที่สะเทือนใจผมมากที่สุดคือ ตอนที่ ๑๘ ปัญหาระบบบริการเด็กสมาธิสั้น ผมเกิดความรู้สึกว่าเด็กจำนวนไม่น้อย ถูกกระทำจากระบบที่อ่อนแอ หรือเป็นระบบที่ผิด เรื่องนี้เป็นตัวอย่างของรอยต่อหรือจุดสัมผัสระหว่างระบบการศึกษา กับระบบสาธารณสุข ผมขอเสนอว่า คุณหมอประเสริฐเองนี่แหละที่น่าจะช่วยเด็กไทย โดยทำโครงการพัฒนานำร่อง ที่จังหวัดเชียงรายเพื่อพัฒนาระบบนี้ น่าจะขอการสนับสนุนทุนจาก สสส. ได้ โดยหากได้ดำเนินการจริง ควรมีคณะกรรมการชี้ทิศทาง เข้าไปร่วมแนะนำและเรียนรู้ เพื่อหาทางขยายผลสู่จังหวัดอื่นๆ

ผมเคยอ่านบทความที่บอกว่าบริษัทยามีเล่ห์กลชักจูงให้หมอใช้ยาในเด็กสมาธิสั้น (อ่านได้จากบทความเรื่อง Drugging the Vulnerable : Atypical Antipsychotics in Children and the Elderly ที่อ้างในบันทึก http://www.gotoknow.org/posts/446653) ผมมองว่านี่เป็นอาชญากรรม และไม่อยากเห็นเด็กไทยตกเป็นเหยื่อ หากมีการพัฒนาระบบบริการเด็กสมาธิสั้น ผมเชื่อว่าจะลดจำนวน “เด็กสมาธิสั้น” ลงไปได้มากมาย

ในเรื่องที่ ๒ การศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ ช่วยทบทวนประสบการณ์ชีวิตของผมเกี่ยวกับมูลนิธิสดศรีฯ ที่ผมมีโอกาสร่วมด้วยตั้งแต่แรกในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ และยิ่งมีปิติสุขเมื่อทราบว่าในช่วงฟื้นฟูมูลนิธินี้ การทำงานใช้ soft KM เป็นเครื่องมือสำคัญ ผมใช้เวลาในชีวิต ๕ - ๖ ปีทุ่มเททำงานพัฒนาเครื่องมือ KM ให้แก่สังคมไทย จึงย่อมจะรู้สึกมีความสุข เมื่อทราบว่า มีการนำเครื่องมือนี้ไปทำงานสำคัญเพื่อประโยชน์สาธารณะ

แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ เป็นการจัดการเรียนรู้อย่างหนึ่ง เน้นการเรียนรู้ด้านใน เรียนรู้วิธีสร้างหรือสัมผัสความสุข ที่ซ่อนอยู่ในการทำงานเพื่อผู้อื่น หรือซ่อนอยู่ในมิติของความเป็นมนุษย์ ที่เรียกว่าการมีความสุขเมื่อได้เสียสละเพื่อผู้อื่น(altruism) ต้องใช้กระบวนการจัดการความรู้ แงะมันออกมาร่ายรำทำความสุขให้แก่ผู้ทำงาน ที่จริงการทำงานทุกชนิด สามารถตีความคุณค่า แก่ผู้อื่นหรือแก่ส่วนรวมได้ทั้งสิ้นสามารถนำวิธีการจัดการความรู้ด้านในออกมาสร้างสุขภาวะด้านใน หรือสุขภาพจิต ของผู้ทำงาน ได้ทั้งสิ้น

ในเรื่องที่ ๔ ชุมชนเรียนรู้ของครูมืออาชีพผมชอบที่ นพ. ประเสริฐบอกว่า PLC ที่แท้ขาดพ่อแม่เด็กไม่ได้ หลักการนี้เชื่อมโยงไปสู่หลักการในเรื่องที่ ๑๖ คือการเรียนรู้ที่ดีต้องเรียนแบบเชื่อมโยง หาทางใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์รวมหมู่ และการริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อเด็ก ย่อมเป็นสิ่งที่พ่อแม่ยินดีเข้าร่วม

สรุปความว่า ทุกตอนในหนังสือเล่มนี้สนุกและน่าตื่นตาตื่นใจทั้งสิ้นตอนที่ตื่นตาตื่นใจผมที่สุดคือเรื่องหนังการ์ตูน (ที่เป็นเรื่องชำนาญของผู้เขียน) เรื่องที่ ๑๒ โจทย์ปัญหาเรื่องกาเมร่า เพราะผมไม่เคยดูหนังการ์ตูนเลย ได้ความรู้ว่าหนัง การ์ตูนญี่ปุ่นชุดนี้เชื่อมโยงกับความอัดอั้นตันใจในสังคมญี่ปุ่นเกี่ยวกับการแพ้สงครามจากบทความนี้เอง และยิ่งทำให้ผมประทับใจในความรอบรู้ของคุณหมอประเสริฐ

หนังสือเล่มนี้อ่านง่าย เบาสมอง และสนุก ตามสไตล์ของผู้เขียน แต่ก็ให้ความประเทืองปัญญาด้วย เหมาะสำหรับคนที่เป็นพ่อแม่ เป็นครูและนักการศึกษา และสำหรับคนทุกคน เพราะคนทุกคนต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต

วิจารณ์ พานิช

๑๕ เมษายน ๒๕๕๗

……………………..

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม 2014 เวลา 09:43 น.  
Home > Articles > การศึกษา > คำนิยม หนังสือ อย่าเรียนหนังสือคนเดียว

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8739687

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า