Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๖๖. ดื่มด่ำปิติสุขจากการประชุมคณะทำงาน HPER

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๖๖. ดื่มด่ำปิติสุขจากการประชุมคณะทำงาน HPER

พิมพ์ PDF

วันที่ ๑๙ - ๒๐ เมษายน ๒๕๕๗ ผมไปร่วมประชุมคณะทำงาน HPER (Health Professional Education Reform) เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการศึกษาของวิชาชีพสุขภาพ โดยแม่งาน (อ. วิม - ศ. พญ. วณิชา ชื่นกองแก้ว) ตั้งชื่อการประชุมว่า “Journal Club : WHO Guidelines 2013” การประชุมนี้จัดที่ สวนสามพราน

ผู้เข้าร่วมประชุมมีเกือบ ๓๐ คน เดิมผมคิดว่าผมจะเป็นคนที่แก่ที่สุด แต่เอาเข้าจริง ศ. นพ. สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา แก่กว่าผม คือจริงๆ อายุ ๗๒ ปีเท่ากัน แต่ท่านแก่เดือนกว่า มีคณบดีและ ผู้อำนวยการวิทยาลัยมาร่วมหลายท่าน ขาดไปวิชาชีพเดียวคือเทคนิคการแพทย์

ผมกล่าวต่อที่ประชุมว่า คนที่มาประชุมนี้มาด้วยจิตอาสา ไม่มีอำนาจใดๆ สั่งการให้มา ที่มาก็เพราะต้องการร่วมกันปฏิรูปการศึกษาของวิชาชีพสุขภาพให้มีคุณภาพตามแนวทางในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นการมาร่วมประชุมเพื่อประโยชน์ของวงการสุขภาพ และเพื่อบ้านเมือง และผมเชื่อว่า กระบวนการคุณภาพ ในวงการศึกษาของวิชาชีพสุขภาพ จะมีส่วนออกไปกระทบให้มีการปฏิรูปการเรียนรู้ในวิชาชีพกลุ่มอื่น และของการศึกษาระดับพื้นฐานด้วย

ผมได้กล่าวว่าการปฏิรูป ๒ ยุทธศาสตร์ใหญ่คือ Institutional Reform และ Instructional Reform คือปฏิรูประบบบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในระดับสถาบัน กับปฏิรูประบบการเรียนการสอน โดยที่การปฏิรูประบบการเรียนการสอนนั้น ต้องไม่ใช่แค่ปฏิรูปหลักสูตร (Curriculum Reform) เพราะหนังสือ Embedded Formative Assessment สรุปมาจากผลการวิจัยว่า สิ่งที่เรียกว่า “หลักสูตร” นั้น มี ๓ ชั้น คือ (๑)หลักสูตรในกฎหมายกฎระเบียบ หรือเอกสาร TQF ซึ่งอาจเรียกว่า “หลักสูตรในกระดาษ” (๒) หลักสูตร ตามที่สะท้อนใน ตำราประกอบการเรียน หรือเอกสารรายงานต่างๆ และ (๓) หลักสูตรตามที่อาจารย์เอาไป จัดการเรียนรู้จริง มีผลต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ผลการวิจัยจากทั่วโลกบอกว่า หลักสูตร ตามข้อ ๑ และ ๒ ไม่ตรงกับหลักสูตรตามข้อ ๓ ซึ่งเป็นการปฏิบัติจริง Instructional Reform หมายถึงส่วนที่ ๓ นี้ ซึ่งจะเป็นการดำเนินการที่ก่อคุณประโยชน์แก่ศิษย์ของเราอย่างแท้จริง

ผู้เข้าร่วมประชุมต่างก็ “ทำการบ้าน” มาล่วงหน้าอย่างน่าชื่นใจ คือ อ. วิม ให้การบ้านเป็นรายทีม เมื่อตอนเราไปประชุมที่เขาใหญ่ ตามบันทึกนี้ แล้วนัดให้แต่ละทีมมาเล่าสาระในแต่ละบทสำคัญๆ ของเอกสาร Transforming and scaling up health professionals’ education and training ขององค์การอนามัยโลก รวมทั้งเล่า best practice ในหัวข้อนั้นๆ ในประเทศไทยเท่าที่ทราบ

หัวข้อที่นำมานำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้แก่

  • Faculty Development โดย ศ. ดร. นพ. สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์
    • Curriculum Development โดย รศ. นพ. อานุภาพ เลขะกุล
    • Inter-professional Education โดย พญ. ปาริชาติ วงศ์เสนา
    • Direct Entry of Graduates โดย ดร. กมลรัตน์ เทอร์เนอร์
    • Admission Procedures โดย พญ. บุญรัตน์ วราชิต
    • Streamlined educational pathways and ladder programmes โดย ดร. ศุกร์ใจ เจริญสุข
    • Accreditation โดย ศ. นพ. พงษ์ศักดิ์ วรรณไกรโรจน์
    • Simulation Methods โดย ผศ. นพ. พิศิษฐ วัฒนเรืองโกวิท
    • CPD for Health Professionals โดย รศ. ดร. ดรุณี รุจกรกานต์

นพ. วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร เป็น ๑ ในคณะยกร่าง Guideline นี้ด้วย และมาทำหน้าที่เป็นผู้สรุป แต่ละหัวข้อ จากการเสวนากับหมอวิโรจน์ ทำให้ผมได้เข้าใจว่า WHO ออก Guideline นี้มาเพื่อให้มีการโต้แย้ง หรือลองเอาไปใช้ แล้วเสนอแนะกลับไป และทำให้ผมคิดว่า ข้อดีของ Guideline นี้คือ เป็นแหล่งหาโจทย์วิจัย ชั้นดี ในเรื่อง Health Professionals’ Education and Training คือในแต่ละ recommendation เขาจะระบุไว้ด้วยว่า evidence low, moderate หรือ high อันที่ low คือโจทย์วิจัย

เท่ากับ WHO ใช้การทำ guideline เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ในโลก นำไปสู่การยกระดับ Health Professionals’ Education and Training

การริเริ่มใหม่ๆ ในเมืองไทยมีมากกว่าที่คิด ทีมทำงานรวบรวมมาเล่าได้มากอย่างไม่น่าเชื่อ เป็นหลักฐานยืนยันข้อเสนอของผมหลังฟังการนำเสนอเรื่อง Faculty Development จบ ว่าวิธีการที่ WHO Guidelines เสนอ มีส่วนถูกเพียงไม่ถึง 50% เพราะเขาเน้นการจัดฝึกอบรมให้แก่คณาจารย์ เป็น top-down approach ซึ่งจะไม่ได้ผลต่อคนที่มีนิสัยหัวแข็งอย่างอาจารย์แพทย์ และวิชาชีพสุขภาพทั้งหลาย วิธีที่จะได้ผลต้องเน้น bottom-up change management อย่างน้อยร้อยละ ๗๐ โดยเสาะหาการริเริ่มตามแนวทาง instructional reform ตามที่เสนอในเอกสาร Health professionals for a new century : Transforming education to strengthen health systems in an interdependent world เอามายกย่องและจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหาทาง สนับสนุนการเชื่อมโยงขยายผลให้ลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้น

แนวคิดของ WHO Experts ที่ยังย่ำอยู่กับ old paradigm of education มาชัดเจนอีกทีในตอน CPD (Continuing Professional Development คือเขาเน้นที่การพัฒนาบุคลากรที่การกำหนดให้ไปเข้ารับการอบรม เป็น Training mode of personnel development ไปรับถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูปมาจากภายนอก ซึ่งผมเสนอว่า ควรให้น้ำหนักเพียง 20% อีก 80% เป็นเรื่อง Learning mode ในงานประจำนั้นเอง ซึ่งในประเทศไทยเรามีกลไก ด้านคุณภาพและการเรียนรู้ที่เข้มแข็งมาก ได้แก่ HA, R2R, KM, UM, Lean, CQI/TQM เป็นต้น

งาน HPER เป็นงานยากและซับซ้อน บัดนี้เราพอมองเห็นแสงสว่างรำไร ว่าหนทางแห่ง ความสำเร็จน่าจะอยู่ข้างหน้า เราน่าจะเดินคลำทางมาถูกทางแล้ว

ในตอนท้าย นพ. วิโรจน์สรุปการประชุมออกมาเป็น Applicability of WHO 2013 recommendations ซึ่งออกมาเป็นโจทย์วิจัยจำนวนมากมาย ที่ผมชอบใจมากคือการวิจัยติดตามผลระยะยาวของแพทย์ในโครงการ CPIRD ที่มีวิธีคัดเลือกที่แตกต่างจากวิธีทั่วไปที่ใช้คะแนนหรือ cognitive ability เป็นตัวตัดสิน แต่ในโครงการ CPIRD มีคะแนนจากการทดสอบทักษะและเจตคติด้านอื่นๆ ที่สำคัญต่อการเป็นแพทย์ร่วมด้วย ทำให้แม้ นศ. CPIRD จะมี cognitive ability ต่ำกว่า แต่ก็เรียนจบ ผ่านการสอบต่างๆ ได้ดีเท่า เพราะเป็นการเรียนกลุ่มเล็ก และใกล้ชิดอาจารย์ นี้คือผลการวิจัยของ พญ. บุญรัตน์ วราชิต แห่งศูนย์แพทย์ รพ. หาดใหญ่ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร วิชาการนานาชาติทีเดียว

เราตกลงกันว่า จะมี National HPER Forum ปีละครั้ง เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลของการริเริ่ม ในแนวทาง 21stCentury HPER และเป็นเวทีคบคิดแผนทำประโยชน์ด้านนี้ต่อยอดจากนวัตกรรม และ success story เหล่านั้น

บ่ายวันที่ ๒๐ เมษายน ผมขับรถกลับบ้านด้วยความอิ่มใจ

วิจารณ์ พานิช

๒๐ เม.ย. ๕๗

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม 2014 เวลา 14:48 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๖๖. ดื่มด่ำปิติสุขจากการประชุมคณะทำงาน HPER

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8739673

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า