Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ไปสหรัฐอเมริกา : ๑๑. ร่วมประชุม CUGH 5 วันที่ ๓ วันสุดท้าย

ไปสหรัฐอเมริกา : ๑๑. ร่วมประชุม CUGH 5 วันที่ ๓ วันสุดท้าย

พิมพ์ PDF

วันจันทร์ที่ ๑๒ พ.ค. ๒๕๕๗ เป็นวันที่สาม ของการประชุม Fifth Annual Global Health Conference ที่เราได้ฟังมุมมองต่อ GH ของยักษ์ใหญ่ด้านการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพอีกท่านหนึ่ง คือ Harvey Feinberg อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และปัจจุบันเป็นประธานของ IOM (Institute of Medicine) ที่มารับรางวัล CUGH Global Distinguished Leadership Award และปาฐกถาพิเศษเรื่อง Challenges and Opportunities in Global Health : The Road Ahead

ผมชอบฟังคนเก่งๆ เช่นนี้ เพราะท่านจะมีมุมมองที่เรานึกไม่ถึง โดยท่านขึ้นต้นว่า สุขภาวะเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยรอบตัว (local) ที่หลากหลาย ได้แก่ ได้แก่ปัจจัยด้านประชากร ๑๔ ประการ (อายุ เชื้อชาติ ภาษา การศึกษา เสรีภาพ การเกิด/การตาย ความกลัว น้ำ เงิน อาหาร คอมพิวเตอร์ ศาสนา เชื้อเอ็ชไอวี), เศรษฐกิจ, ภูมิอากาศ, ระบบการเมืองและสังคม, ภาระโรค (burden of disease)

และขึ้นกับปัจจัยระดับโลก (global) ที่ต้องเผชิญร่วมกัน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของการกระจายกลุ่ม อายุของประชากร (ที่เข้ามาคล้ายกันมากขึ้น เรื่อยๆ คือมีคนกลุ่มอายุต่างๆ พอๆ กัน เขาใช้คำว่า squaring of age distribution of world population), ระบาดวิทยาของโรคก็คล้ายกันมากขึ้นๆ คือโรคไม่ติดต่อกลายเป็นปัญหาหลัก, โลกาภิวัตน์, การสร้างภาระด้านสิ่งแวดล้อมแก่โลก, โลกาภิวัตน์ของวิทยาศาสตร์และการวิจัย, โลกาภิวัตน์ของ กำลังคนด้านสุขภาพ, ความไม่เท่าเทียมกันภายในประเทศเพิ่มขึ้น, ปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และการเข้าถึง บริการสุขภาพ, กติกาด้านอาหารและยา, การต้องเผชิญกับโรคระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อทั่วโลก

หัวใจคือ สุขภาวะ ไม่ใช่ผลบวกของปัจจัยเหล่านี้ แต่เป็นผลของปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อนและปรับตัว อยู่ตลอดเวลา

มหาวิทยาลัยมีภารกิจต่อ GH 5 ประการ ได้แก่ (1) Research and discovery (2) Education for leadership and engagement (3) Partnership in many directiona and levels (4) Civic leadership (5) Preserve and instill values for health

ต่อด้วยพิธีมอบรางวัล Gairdner Global Health Award ซึ่งเริ่มปี 2009 และมีเกณฑ์ในการให้รางวัลคล้าย รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาสาธารณสุข ดังนั้น จึงมีผู้ได้รับรางวัลซ้อนกันมาก คือ Nick White และ Robert Black และผู้ได้รับรางวัลปีนี้คือ Satoshi Omura ก็เคยได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลปี ๒๕๔๐ จากผลงานการค้นพบยา Ivermectin เช่นเดียวกัน รางวัลนี้มูลค่า ๑๐๐,๐๐๐ เหรียญแคนาดา

ศาสตราจารย์ โอมูระ เล่าว่ายานี้สะกัดจากเชื้อราที่แยกมาจากดินที่สนามกอล์ฟแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น เมื่อแยกสารออกฤทธิ์ได้ในห้องปฏิบัติการที่ญี่ปุ่น ก็ได้ร่วมมือกับบริษัท Merck พัฒนาเป็นยา เดิมมีเป้าให้เป็นยา ฆ่าพยาธิในสุนัข แต่ต่อมาพบว่าฆ่าพยาธิที่ทำให้เกิดโรค River blindness ในคนได้ บริษัท เมิร์ค จึงบริจาคยาให้ รัฐบาลอเมริกันนำไปใช้กวาดล้างโรคนี้ในอัฟริกา และตอนนี้มีผู้ค้นพบว่า ยานี้ฆ่าเชื้อวัณโรค มาลาเรีย และฆ่า เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ได้

ต่อจากนั้น ศาสตราจารย์ William Foege (อ่านว่า เฟกี้) บรรยายเสริมเรื่อง Pharmaco – Philantropy เล่าประวัติศาสตร์ของการที่บริษัทยาบำเพ็ญกุศลเป็นสาธารณประโยชน์ ทำให้มีผู้ฟังลุกขึ้นมาแสดงความเห็นว่า เดิมเขามองบริษัทยาเป็นผู้ร้าย มาฟังวันนี้แล้วจึงรู้ว่า บริษัทยาบางแห่งก็มีจิตกุศลบ้างเหมือนกัน ในบางเรื่องและ บางเวลา

ตอน ๑๑.๐๐ - ๑๒.๓๐ น. ผมไปฟังเรื่อง New Directions for Global Health Research : A Conversation with NIH Leaders ดำเนินการอภิปรายโดย Roger Glass ผอ. FIC มีผู้อภิปราย ๔ คนคือ ผอ. NIAID (ใหญ่เป็นที่ สองใน NIH), NIEHS, NCI (ใหญ่ที่สุดใน NIH), และ NINDS พอจะจับความได้ว่า เขายุให้นักวิจัยจับทำงานที่ไม่ ซับซ้อน น่าจะสำเร็จไม่ยาก แต่ยังไม่มีคนคิดทำ ที่เขาเรียกว่า low-hanging fruits และมีความรู้ที่รู้ๆ กัน แต่ไม่ มีคนเอาไปใช้แก้ปัญหา ณ จุดที่มีปัญหา เขาจึงสนับสนุน implementation science ผมเองมองว่า มหาวิทยาลัย ไทยน่าจะส่งเสริม implementation science มากกว่า discovery science

ผมได้เข้าใจว่าปัญหาโรคทางสมองอย่างหนึ่งคือการเสพติด

วิจารณ์ พานิช

๑๒ พ.ค. ๕๗

โรงแรม The Churchill Hotel, วอชิงตัน ดีซี

ต้องการดูภาพประกอบกด Link :http://www.gotoknow.org/posts/570945

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน 2014 เวลา 22:18 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ไปสหรัฐอเมริกา : ๑๑. ร่วมประชุม CUGH 5 วันที่ ๓ วันสุดท้าย

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8739352

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า