Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ไปสหรัฐอเมริกา : ๑๐. ร่วมประชุม CUGH 5 วันที่ ๒

ไปสหรัฐอเมริกา : ๑๐. ร่วมประชุม CUGH 5 วันที่ ๒

พิมพ์ PDF

วันอาทิตย์ที่ ๑๑ พ.ค. ๒๕๕๗ เป็นวันที่สอง ของการประชุม Fifth Annual Global Health Conference ที่แค่ฟัง Keynote เรื่อง New Challenges for Global Health in the Post-MDG Eraโดย Peter Piot, Director, London School of Hygiene and Tropical Medicine และเป็นผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปี ๒๕๕๖ จากผลงานด้านการทำให้ยารักษาโรคเอดส์เข้าถึงคนทั่วโลก แค่ได้ฟังท่านพูด ๑ ชั่วโมง ก็ถือว่าคุ้มกับการเดินทาง มาเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ คือทำให้ผมเข้าใจมิติด้าน GH ที่กว้างขวางหลากหลายมาก

ท่านชี้ให้เห็นว่าขบวนการ MDG ได้ก่อความสำเร็จหลายด้าน ได้แก่ ความยากจนลดลง, การตายของ ทารกและเด็กลดลง, การตายจากโรคมาลาเรียลดลง, เงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาเพิ่มขึ้น, มีความหวังว่าจะ พัฒนายาตัวใหม่สำหรับบำบัดวัณโรคได้สำเร็จ, มีความหวังว่าจะกวาดล้างโรคโปลิโอ lymphatic filariasis, และ Guinea Worm ได้สำเร็จ, มีความหวังว่าจะเกิด Grand Convergence ในปี 2035 ซึ่งหมายความว่า อัตราการตาย ของเด็กตั้งแต่เกิดจนอายุ ๕ ปี ในประเทศรายได้ต่ำ จะลดลงมาเท่าอัตราในประเทศรายได้ปานกลางที่ดีที่สุด, อายุขัยเฉลี่ยของประเทศกำลังพัฒนากำลังเพิ่มขึ้นใกล้จะไล่ตามทันประเทศอุตสาหกรรม

แต่ GH ก็เข้าสู่สภาพเปลี่ยนแปลง ที่ยังมีประเด็นท้าทาย ๕ ด้าน คือ (๑) ยังมีประเด็นของ MDG ที่ยังทรงๆ ไม่มีท่าทีว่าจะก้าวหน้าและบรรลุ เช่น ในบางประเทศผู้ติดเชื้อ เอ็ชไอวี รายใหม่ ไม่ลดลง ผู้ป่วย มาลาเรียกลับเพิ่มขึ้นในบางประเทศ ประชากรในประเทศ Sub-Saharan Africa เพิ่มขึ้นมาก (๒) มีปัญหาใหม่ ด้านสุขภาพ และความเสี่ยงลุกลามทั่วโลก เช่นเมื่อดูจาก Global Burden of Disease ภาระโรค เอ็ชไอวี เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็งปอด ฯลฯ เพิ่มขึ้น และมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคตามรูปที่ ๒ (๓) ภาวะคุกคามใหม่ๆ ต่อโลก ได้แก่การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ มลภาวะในอากาศ ปัญหาเรื่องน้ำ การเคลื่อนย้ายประชากรสู่เมือง (๔) โลกาภิวัตน์ของสุขภาพโลก (๕) ระบบทุนสนับสนุนที่เปลี่ยนแปลงไป มีแหล่งทุนใหม่เกิดขึ้น ที่เพิ่มขึ้น ในเชิงเปรียบเทียบ ได้แก่ ของรัฐบาลสหรัฐ ของเอ็นจีโอสหรัฐ ที่เกิดใหม่คือ Global Fund, GAVI ที่ลดลง ในเชิงเปรียบเทียบคือขององค์การอนามัยโลก และของหน่วยงานลูกขององค์การสหประชาชาติ นอกจากนั้น เมื่อวิเคราะห์ลงรายละเอียด การลงทุนของโลกไม่สอดคล้องกับภาระโรคในหลายโรค เช่น เอ็ชไอวีได้รับทุน สนับสนุนมาก แต่วัณโรคได้รับทุนสนับสนุนน้อย สภาพของทุนสนับสนุนการวิจัยก็เปลี่ยนแปลงไป ตามรูปที่ ๓

มองไปในอนาคต ท่านมองขนาดของปัญหา GH ตามรูปที่ ๔ จะเห็นว่าตัวที่ก่อความทุกข์ยากที่สุดคือ การระบาดใหญ่ของการสูบบุหรี่ และการที่ควบคุมโรคเบาหวานให้ลดลงไม่ได้

รูปที่ ๕ - ๑๒ บอกประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ GH ที่ดีมาก อ่านเอาเองนะครับ ผมใช้กล้องถ่ายรูปถ่าย ppt จากจอ เอามาทบทวนทีหลังแทนการจด

หลังจากนั้น เป็นการโต้วาที ในหัวข้อ “เงินช่วยเหลือดอลล่าร์ต่อไปควรให้แก่ฝ่าย demand ไม่ใช่ให้แก่ ฝ่าย supply” โดยฝ่ายเสนอมาจาก Center for Global Development ของ สรอ. ฝ่ายค้านมาจากธนาคารโลก ซึ่งประเด็นจริงๆ คือ ทำอย่างไรเงินช่วยเหลือจะเกิดผลที่สุดต่อสุขภาพของผู้คน

ประเด็นประทับใจของผมคือ ต้องคิดในภาพใหญ่ อย่ามัวหลงอยู่กับจุดเล็กๆ ของการพัฒนา และต้อง หาทางทำให้รัฐบาลของประเทศด้อยพัฒนารับผิดชอบต่อหน้าที่ด้านการพัฒนาสุขภาวะของผู้คน สิ่งที่สองฝ่าย ไม่ได้กล่าวชัดคือ supply side ของสุขภาพ ไม่ได้มีแต่ฝ่ายรัฐบาล ยังมี NGO และภาคธุรกิจเอกชนด้วย

ช่วง ๑๑.๐๐ - ๑๒.๓๐ น. เป็น Concurrent Symposium 8 ห้องพร้อมกัน ผมไปเข้าห้อง Global Health Innovators Taking Their Ideas to Market เป็นเรื่องของหน่วยงาน NCIIA นำเรื่องราวความสำเร็จในการ ส่งเสริมอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัย ให้ทำงานสร้างนวัตกรรมสู่ตลาด มานำเสนอ โดยเป็นเรื่องของ มหาวิทยาลัย Johns Hopkins กับของมหาวิทยาลัย บอสตัน ผมเดาว่าหน่วยงานนี้คงจะมีเรื่องราวความสำเร็จ ด้านอื่นๆ อีกมากมาย ที่เลือกนำมาเสนอเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น โดยของ Johns Hopkins มาจากหน่วยงาน Bioengineering Innovation and Design เป็นผลงานของ นศ. ระดับปริญญาตรี แต่งานที่จะออกสู่ตลาด ต้องทำต่ออีกหลายปี เขาจึงจ้างบัณฑิตผู้คิดค้นนวัตกรรมให้ทำงานต่อ ในหน่วยงานชื่อJHPiego ที่เป็นองค์กรไม่ค้ากำไร ทำงานเพื่อสังคม เรื่องเล่านี้ บอกเราว่า ต้องไม่ใช่แค่ ทำงานพัฒนาเทคโนโลยี ต้องเตรียมการด้านอื่นๆ อีกหลายด้านไปพร้อมๆ กัน

ส่วนของ Boston University เป็นผลงานของ นศ. ปริญญาเอก ผลงานของทั้งสองกลุ่มเน้นเอาไปใช้ ในประเทศรายได้ต่ำ และมีการทดลองนำไปใช้ในสภาพจริง โดยร่วมมือกับทางประเทศปลายทาง คือดำเนินการแบบร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี ไม่ใช่พัฒนาเทคโนโลยีสำเร็จรูป แล้วถ่ายทอดเทคโนโลยี

ผมสังเกตว่า อาจารย์ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมโครงการนี้ของทั้งสองมหาวิทยาลัย เป็นอาจารย์ที่มีพื้นฐานจาก ต่างประเทศ ซึ่งน่าจะเป็นข้อได้เปรียบในการร่วมมือกับประเทศรายได้ต่ำ ผมเดาว่าทางมหาวิทยาลัยน่าจะ จงใจหาอาจารย์ ที่มีพื้นเพจากประเทศด้อยพัฒนามารับผิดชอบโครงการนี้

ช่วงบ่ายผมไปเป็นกองเชียร์ใน Poster Session ที่มีโปสเตอร์ จากไทย ๒ เรื่อง คือเรื่อง Food Security in Older Thai Women โดย รศ. ดร. นพวรรณ อาจารย์พยาบาลแห่งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และเรื่อง Capacity Building on Global Health Diplomacy : Experience from South East Asia Region โดย รศ. ดร. ชื่นฤทัย กาญจนจิตรา

หลังจากนั้น ผมเลือกไปเข้า Workshop เรื่อง International Experiences : Advancing Global Mobility and Student-Driven Activities ซึ่งเป็นการนำตัวอย่างผลงานของ GHLO ซึ่งสนับสนุนโดยสมาคมโรงเรียนแพทย์ ในสหรัฐอเมริกา มาเสนอ เป็นตัวอย่างวิธีการจัดการเพื่อส่งเสริม student mobility ของนักศึกษาแพทย์ อีกหน่วยงานหนึ่งที่ทำงานคล้ายกันคือ GlobeMed ที่เป็น NGO รับทุนสนับสนุนการทำหน้าที่จัดการเชื่อมโยง เครือข่าย นักศึกษา, มหาวิทยาลัย, และองค์กรประชาสังคมในพื้นที่ เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ทำงาน เพื่อสังคมในต่างประเทศ

ช่วง ๑๔.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. เป็นการประชุมรวมในห้องใหญ่ (Plenary) เรื่อง The Sustainability Challenge in the Post-MDG Era เขาเชิญยักษ์ใหญ่ในวงการสุขภาพ ๓ คนมาตอบคำถามของผู้ดำเนินการ อภิปราย คือ คนหนึ่งเป็น รมต. ช่วยสาธารณสุข อีกคนเป็นบรรณาธิการวารสาร The Lancet อีกคนหนึ่งเป็นผู้อำนวยการ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ระหว่างฟังผมนึกในใจว่าเป็นมุมมองของประเทศ พัฒนาแล้วมากไปหน่อย แล้วก็มีผู้หญิงอินเดียลุกขึ้นมาสับ ว่าคณะผู้อภิปรายเอียง มีแต่จากประเทศรวย และไม่มีผู้หญิง คนปรบมือ กันกราว อย่างไรก็ตาม Richard Horton บรรณาธิการวารสาร The Lancet จากอังกฤษ พูดได้มีสีสันมากเช่นเคย ประเด็นที่ผมเห็นด้วยกับเขาคือ ผู้เล่นหรือแสดงบทบาทด้านสุขภาพ ไม่ได้มีเฉพาะรัฐบาล หรือต้องอย่าหวังพึ่ง รัฐบาล ต้องช่วยกันสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคประชาสังคม (civil society) ให้ลุกขึ้นมาแสดงบทบาท

ช่วง ๑๖.๓๐ - ๑๘.๓๐ น. ผมเลือกไปฟัง Symposium : Fogarty Global Health Fellows : Examing Global Health Through Multiple Lenses ได้เข้าใจว่า ทุนส่งเสริมให้นักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพอเมริกัน ไปทำงานวิจัยในต่างประเทศ (ประเทศรายได้ต่ำ) ๑๑ เดือน มีผลส่งเสริมความเข้มแข็งของ GH ของสหรัฐ อเมริกาอย่างไร ในที่สุดคนเหล่านี้ จะมีความผูกพันกับประเทศที่เคยไปทำงานวิจัยไปตลอดชีวิต ระหว่างฟัง ผมนึกถึง ทุนเยาวชน ของมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล แต่กลับทางกัน

เวลา ๑๘.๑๕ น. ท่านอธิการบดีรัชตะ, อ. บุ๋ม และผม มีนัดกับทีมบริหารของ CUGH เพื่อคุยความ ร่วมมือกัน คนที่มาคุยกับเรา คนหนึ่งรู้จักกันอยู่แล้ว คืออดีตประธาน CUGH ชื่อ Judith N. Wasserheit, Professor of Global Health and Medicine, Department of Global Health, University of Washington อีกคนหนึ่งจะเข้ามาเป็น ประธาน CUGH ปีนี้ คือ Timothy F. Brewer, Vice Provost, UCLA Interdisciplinary & Cross Campus Affairs ซึ่งยิ่งคุยกันเขาก็ยิ่งเห็นจุดแข็งของเรา ว่าจะร่วมมือกันได้มาก ผ่าน AAGH (Asia Alliance on Global Health) ที่ MUGH เป็นแม่ข่ายในขณะนี้ และผ่าน PMAC เมื่อเราเล่าเรื่อง PMAC 2015 : Global Health Post 2015 – Accellerating Equity เขาตาลุกทีเดียว

ทาง CUGH เขาเชิญไปรับประทานอาหารค่ำ ท่านอธิการบดีกับ อ. บุ๋มไป ผมขอตัวเพราะหมดแรงจาก การนอนไม่หลับ เนื่องจากการกินสเต๊กที่ Chima Brazilian Steakhouse เมื่อคืนก่อนมากไปหน่อย

วิจารณ์ พานิช

๑๓ พ.ค. ๕๗

โรงแรม The Churchill Hotel, วอชิงตัน ดีซี

ต้องการดูภาพประกอบโปรดกด Link :http://www.gotoknow.org/posts/570878

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน 2014 เวลา 22:24 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ไปสหรัฐอเมริกา : ๑๐. ร่วมประชุม CUGH 5 วันที่ ๒

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8739605

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า