Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๘๕. พลังของความไม่สนใจ

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๘๕. พลังของความไม่สนใจ

พิมพ์ PDF
ในโลกยุคข้อมูลข่าวสารระเบิด คนเราถูกกระตุ้นจากภายนอกอยู่ตลอดเวลา หากเราไม่มี “ภูมิคุ้มกันภายใน” เพื่อปกป้องตัวเองจากสิ่งเร้าที่ไร้ความหมายต่อเรา เราก็จะตกเป็นทาสของสิ่งรอบตัว ไม่เป็นตัวของตัวเอง ไม่มีพลังแห่งสมาธิ ผมตีความว่า ภูมิคุ้มกันภายในนี้คือ cognitive control เป็นวัคซีนที่เราต้องฉีดให้แก่ตัวเอง ผ่านการฝึก ไม่มีวัคซีนจากภายนอกมาช่วยเราได้

บทความโดย Daniel Goleman เรื่อง Mind games that matter : Training to stay focused ลงพิมพ์ใน นสพ. International New York Times ฉบับวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ชี้ให้เห็นว่าคนสมัยนี้ต้องมี “ความไม่สนใจ” ต่อสิ่งรบกวนสมาธิทั้งหลาย ที่เรียกว่า distractions

คนที่อดทนต่อสิ่งเร้ารอบตัวไม่เป็นเรียกว่าคนสมาธิสั้น ถ้าเป็นเด็กเรียกว่าเป็นโรค ADHD (Attention Deficit and Hyperactive Disorder) ถ้าเป็นผู้ใหญ่เรียกว่าเป็นโรค ADD (Attention Deficit Disorder) แต่สาวน้อยวินิจฉัยว่า ผมเป็นโรค “คนแก่ไฮเปอร์” (EHD – Elderly Hyperactivity Disorder - ผมตั้งชื่อเอง) โดยเป็นคนมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ตนสนใจเท่านั้น ไม่สนใจสิ่งอื่น

กลับมาที่บทความ ซึ่งอ้างผลงานวิจัยของ Susan Smalley แห่ง UCLA ซึ่งในปี ค.ศ. ๒๐๐๗ ไปศึกษา เด็กวัยรุ่นที่ฟินแลนด์ พบว่ามีอัตราเป็น ADHD พอๆ กันกับในสหรัฐอเมริกา ความต่างอยู่ที่วัยรุ่นเหล่านี้ ในอเมริกาได้รับยา แต่เกือบทั้งหมดของวัยรุ่นที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ในฟินแลนด์ เกือบทั้งหมด ไม่ได้รับยารักษา

เขาอ้างผลการวิจัยของ James Swanson แห่ง UC Irvine ว่ายารักษา ADHD ให้ผลดีในปีแรกเท่านั้น หลังจากนั้นจะไม่ได้ผล

คนที่มีปัญหาเหล่านี้ขาดสิ่งที่เรียกว่า cognitive control ซึ่งหมายถึงความสามารถจดจ่อความสนใจอยู่ ที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยไม่เอาใจใส่สิ่งที่เข้ามารบกวนหรือดึงดูดความสนใจไปทางอื่น คนที่มี cognitive control เข้มแข็ง จะไม่พ่ายแห้ต่อสิ่งเร้าที่เย้ายวน (impulse)

คนที่มีพฤติกรรมตามสิ่งเร้า เรียกว่ามี impulsive behavior เป็นคนที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือควบคุม ไม่ได้ดี จะมีปัญหาในการทำงาน และมีปัญหาในชีวิต เพราะมักตัดสินใจผิดพลาด ขาดความรอบคอบ ซึ่งเกิดจากขาด cognitive control

จะเห็นว่า คนที่มีความสามารถพุ่งความสนใจไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง และสนใจเรื่องนั้นเป็นเวลานาน ไม่วอกแวกไปกับสิ่งกระตุ้นทั้งหลาย เป็นคนที่มี cognitive control สูง นี่คือที่มาของชื่อบันทึกนี้ - พลังของความไม่สนใจ

บทความบอกว่า มีวิธีพัฒนา cognitive control อย่างได้ผลดี คือการฝึกสมาธิ (mindfulness) กับ cognitive therapy เขาบอกว่า cognitive therapy จะช่วยลดความรู้สึกผิดจากการตัดสินใจที่ผิดพลาด

บทความบอกว่า นิยามของ cognitive control มีได้หลากหลาย แล้วแต่ว่าใครเป็นคนนิยาม เขาบอกว่า หมายรวมถึง ความสามารถอดเปรี้ยวไว้กินหวาน หรือรอได้ (delayed gratification), การจัดการความพลุ่งพล่าน (impulse management), การควบคุมอารมณ์ของตนเอง (emotional self-regulation or self-control), การบังคับ ไม่ให้คิดนอกเรื่อง (the suppression of irrelevant thoughts), และการพุ่งความสนใจ หรือความพร้อมที่จะเรียน (the allocation of attention or learning readiness)

ทั้งหมดนี้ ทำให้ผมคิดว่า เป็นเรื่องเดียวกันกับ EF

บทความอ้าง Betty J. Casey แห่ง Well Cornell Medical College ว่า cognitive control เพิ่มระหว่างอายุ ๔ - ๑๒แล้วหลังจากนั้นจะมีระดับคงที่ ซึ่งผมไม่เชื่อ ผมเชื่อว่าคนเราสามารถฝึก cognitive control ให้มีพลัง เพิ่มขึ้นได้ตลอดชีวิต

ในโลกยุคข้อมูลข่าวสารระเบิด คนเราถูกกระตุ้นจากภายนอกอยู่ตลอดเวลา หากเราไม่มี “ภูมิคุ้มกันภายใน” เพื่อปกป้องตัวเองจากสิ่งเร้าที่ไร้ความหมายต่อเรา เราก็จะตกเป็นทาสของสิ่งรอบตัว ไม่เป็นตัวของตัวเอง ไม่มีพลังแห่งสมาธิ

ผมตีความว่า ภูมิคุ้มกันภายในนี้คือ cognitive control เป็นวัคซีนที่เราต้องฉีดให้แก่ตัวเอง ผ่านการฝึก ไม่มีวัคซีนจากภายนอกมาช่วยเราได้

วิจารณ์ พานิช

๑๔ พ.ค. ๕๗

บนเครื่องบิน China Airlines ไปปักกิ่ง

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน 2014 เวลา 22:27 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๘๕. พลังของความไม่สนใจ

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8739447

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า