Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > สอนวิชาเวชจริยศาสตร์และการคิดเชิงวิพากษ์

สอนวิชาเวชจริยศาสตร์และการคิดเชิงวิพากษ์

พิมพ์ PDF
นศพ. ต้องขวนขวายฝึกตนให้มีทักษะในการเรียนรู้เรื่องนี้ตลอดชีวิต และต้องเน้นเรียนจากการลงมือปฏิบัติ คือใช้ร่างกาย (พฤติกรรม) ปลูกฝังจิตใจ ไม่ใช่แค่ใช้การคิด (สมอง) ควบคุมพฤติกรรม (ร่างกาย) 

สอนวิชาเวชจริยศาสตร์และการคิดเชิงวิพากษ์

วันที่ ๓ มิ.ย. ๕๒ ผมจะไปสอนวิชา เวชจริยศาสตร์และการคิดเชิงวิพากษ์ แก่ นศพ. ปี ๑ ของ มวล. อีกครั้งหนึ่ง (เป็นปีที่ ๒) โดยวิธีการเรียนของปีที่แล้วเล่าไว้ที่นี่

ปีนี้ในส่วนของการคิดเชิงวิพากษ์ผมจะให้ นศพ. เรียนจากการลงมือปฏิบัติ โดยเล่นเกม role play การคิดโดยใช้หมวก ๖ ใบ จะแบ่ง นศ. ออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน ๑๐ คน ให้แต่ละกลุ่มเลือกเรื่องที่จะร่วมกันคิดวางแผนดำเนินการ ๑ เรื่อง จากเรื่องที่จะต้องทำในเวลาอันใกล้ เอามาคิดวางแผนร่วมกันโดยประชุมกลุ่มแบบใช้หมวก ๖ ใบ โดยใช้เวลา ๔๐ นาที หลังจากนั้นจึงนำเสนอต่อเพื่อนทั้งชั้นว่ากระบวนการในกลุ่มดำเนินการไปอย่างไร เกิดการเรียนรู้อะไรบ้างในเรื่อง critical thinking

หมวกสีขาว คิดอย่างเป็นกลาง ให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง

หมวกสีแดง คิดอย่างมีอารมณ์ ใช้ความรู้สึก

หมวกสีดำ คิดระมัดระวัง หรือคิดเชิงลบ บอกข้อควรระวัง ข้อเสีย อันตราย

หมวกสีเหลือง คิดเชิงบวก บอกคุณค่า ประโยชน์ ข้อดี

หมวกสีเขียว คิดสร้างสรรค์ เสนอทางเลือกใหม่ คิดหลุดโลก หาแนวทางใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีคนทำมาก่อน หรือไม่ตรงกับวิธีคิดที่ใช้กันอยู่

หมวกสีฟ้า คิดรอบด้าน มองภาพรวม เสนอข้อสรุป ลงมติ

สิ่งที่ นศพ. น่าจะได้เรียนรู้ คือคุณค่าของการคิดหลายๆ แบบ และคุณค่าของการร่วมกันคิด คือการมีหลายหัว ที่มุ่งเป้าหมายเดียวกัน ในการเรียนปีต่อๆ ไป (และตลอดชีวิตการเป็นแพทย์) จะต้องเรียนรู้การคิดบนฐานของข้อมูลหลักฐานที่เชื่อถือได้ (evidence-based) ไม่เชื่อง่าย หรือเชื่อตามๆ กันไป เรื่องนี้มีความซับซ้อนมาก เรียนได้ไม่รู้จบ เฉพาะเรื่องการตัดสินใจใช้ยาเรื่องเดียวก็หาหลักฐานมาคิดเชิง evidence-based และ critical thinking ได้มากมาย

นอกจากนั้น แพทย์ (และในชีวิตจริงทุกเรื่อง) เรายังต้องฝึกตัดสินใจแบบที่ข้อมูลไม่ครบถ้วน และฝึกค้นหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้ได้ข้อมูลครบและลึก

ในเรื่องจริยศาสตร์ ก็เช่นเดียวกัน นศพ. ต้องขวนขวายฝึกตนให้มีทักษะในการเรียนรู้เรื่องนี้ตลอดชีวิต และต้องเน้นเรียนจากการลงมือปฏิบัติ คือใช้ร่างกาย (พฤติกรรม) ปลูกฝังจิตใจ ไม่ใช่แค่ใช้การคิด (สมอง) ควบคุมพฤติกรรม (ร่างกาย)

นศพ. ควรได้เข้าไปติดตาม เว็บไซต์ ของแผนพัฒนาจิต และควรเข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น อันจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจเชิงจริยศาสตร์ได้ดีกว่าการอ่านเอกสารวิชาการด้านนี้ สรุปการเตรียมตัวล่วงหน้าของ

นศพ. นอกจากอ่าน บล็อก นี้แล้ว นศพ. ต้องอ่าน ๒ เรื่องนี้มาล่วงหน้า

  1. http://gotoknow.org/blog/council/185603
  2. http://www.kruproong3.blogspot.com/

จารณ์ พานิช

๒๑ พ.ค. ๕๒

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

 
Home > Articles > การศึกษา > สอนวิชาเวชจริยศาสตร์และการคิดเชิงวิพากษ์

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8739582

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า