Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ประเมินเพื่อมอบอำนาจ : ๙. บทส่งท้าย

ประเมินเพื่อมอบอำนาจ : ๙. บทส่งท้าย

พิมพ์ PDF

บันทึกชุด “ประเมินเพื่อมอบอำนาจ” (การเรียนรู้) ๑๐ ตอน ชุดนี้ ตีความจากหนังสือ Embedded Formative Assessment เขียนโดย Dylan Wiliam เพื่อเสนอใช้การทดสอบหรือการประเมินในทางบวก ต่อการเรียนรู้ โดยใช้แบบเนียนไปการกระบวนการเรียนรู้ของศิษย์ และเนียนไปกับการโค้ชศิษย์ เพื่อใช้ “การประเมินเพื่อพัฒนา” (formative assessment) ยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียน ด้วยความเชื่อว่า การใช้ “การประเมินเพื่อพัฒนา” ที่ดำเนินการโดยครูในชั้นเรียน และดำเนินการอย่างถูกต้อง เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของการเรียน (learning outcomes)

บันทึกตอนที่ ๙ มาจากบท Epilogue เป็นการสรุปประเด็นสำคัญของหนังสือทั้งเล่ม ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ผมเห็นว่าผู้เขียนได้ให้ข้อมูลบางอย่างที่น่าสนใจเพิ่มจากในข้อความแต่ละบท จึงสรุปบทส่งท้ายมาลงบันทึก ไว้ด้วย

การศึกษาในปัจจุบัน ไม่ใช่เพื่อสร้างคนออกไปอยู่ในโลกที่มีความคงที่ เปลี่ยนแปลงน้อย อย่างในยุค เกษตรกรรม แต่ต้องสร้างคนให้เหมาะต่อการออกไปอยู่ในสังคมข้อมูลข่าวสาร ที่โลกเปลี่ยนเร็วและพลิกผัน เอาแน่นอนไม่ได้ นั่นคือต้องติดอาวุธผู้เรียนด้วย “ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑” ซึ่งต้องฝึก ในสภาพจริง หรือเกือบจริง (authentic learning) โดยตระหนักตลอดเวลาว่า การเรียนรู้เป็นกิจกรรมของผู้เรียน ไม่ใช่ครู ทำให้เกิดได้ ครูทำได้เพียงจัดบรรยากาศให้เอื้อ

และตระหนักอยู่ตลอดเวาว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ไมใช่ ๑ + ๑ = ๒ จึงต้องการการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ซับซ้อน ที่ท้าทายครูในยุคปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง

หนังสือเล่มนี้เขียนเพื่อสังคมอเมริกันเป็นหลัก ผมจึงตัดสาระบางตอนที่เขารำพึงรำพันถึงสังคม อเมริกันออกไป แต่ก็มาสะดุดใจ เอาตอนที่เขาบอกว่า เหตุที่สหรัฐอเมริการุ่งเรืองสุดขีดในครึ่งหลัง ของศตวรรษที่ ๒๐ เพราะเขาดำเนินการนโยบายการศึกษาถูกต้อง ในขณะที่ทางยุโรปเดินผิด

นั่นคือในช่วง ค.ศ. ๑๙๑๐ - ๑๙๔๐ สหรัฐฯ ลงทุนการศึกษาพื้นฐานแก่เยาวชนทุกคนจนถึงอายุ ๑๘ ปี ในขณะที่ทางยุโรปคิดว่าการลงทุนเช่นนั้นเป็นการสูญเปล่า หากไม่ใช่เป็นการเตรียมเยาวชนเข้ามหาวิทยาลัย สู้ให้เด็กอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปเรียนอาชีวศึกษาเพื่ออาชีพไม่ได้ หนังสืออ้างผลการวิจัยชิ้นหนึ่งว่า นโยบายดังกล่าว ของสหรัฐฯ ทำให้ประเทศมีแรงงานมีฝีมือเพื่อการผลิต และทำให้มีผู้บริโภคที่การศึกษาสูง ที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆ ได้ แนวคิดเช่นนี้ จะยังใช้ได้ในยุคเกือบร้อยปีให้หลังหรือไม่?

Dylan Wiliam บอกว่า เคล็ดลับคือ ในช่วงนั้นสหรัฐฯ ลงทุนด้านการศึกษาทั่วไป โดยไม่พยายามทำนาย อนาคต เน้นว่าลงทุนมากที่การศึกษาทั่วไปแก่เยาวชนทั้งมวล มากกว่าเน้นที่อาชีวศึกษาเพื่อผลิตคนมีทักษะ จำเพาะ ข้อเขียนนี้ดูจะสวนทางกับแนวคิดในสังคมไทยในปัจจุบัน และเป็นโจทย์วิจัยเชิงนโยบายการศึกษา ที่สำคัญยิ่ง โดยต้องไม่ลืมว่า สังคมไทยกับสังคมอเมริกันต่างกันมาก ในอีกหลากหลายด้าน เวลาคิดเรื่อง นโยบายด้านใดด้านหนึ่ง คิดแคบๆ ไม่พอ ต้องคิดเชื่อมโยง

แต่ที่เป็นความจริงตรงกันหมดในทุกสังคมคือ คุณภาพครูเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด แนวความคิดว่า ครูคือครู ที่ทำหน้าที่ครูได้เหมือนๆ กัน เป็นความคิดที่ผิด เวลานี้เป็นที่รู้กันว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดที่กำหนดว่า นักเรียนจะเรียนได้ดีเพียงใด คือคุณภาพครู ในชั้นเรียนของครูดี ผลการเรียนของเด็กจากครอบครัวยากจน จะเท่าเทียมกับผลการเรียนของเด็กจากครอบครัวที่ฐานะดี

มีผลการวิจัยว่า ครูในนักเรียนอนุบาล ครูดี จะส่งผลไปถึงชีวิตตอนทำงาน นักเรียนของครูดี มีรายได้สูงกว่า และคุณภาพโรงเรียนนั้น แท้จริงแล้ว ขึ้นกับคุณภาพครูของโรงเรียนนั้น หากจะเพิ่มผลสัมฤทธิ์ ในการเรียนของเด็ก ต้องเพิ่มคุณภาพครู

แต่การเพิ่มคุณภาพครูเป็นเรื่องซับซ้อน เคยมีนักเศรษฐศาสตร์เสนอให้เลือกเก็บไว้เฉพาะครูดี คัดครูไม่ดีส่วนหางของกราฟการกระจายคุณภาพครูออกไป ทดแทนด้วยครูใหม่ที่คัดมาอย่างดี แต่วิธีนี้กว่าจะได้ผลเต็มที่ต้องใช้เวลา ๓๐ ปี

ดังนั้นในสภาพความเป็นจริง วิธีที่ดีที่สุดคือหาทางยกระดับคุณภาพครูขึ้นทั้งแผง โดยวิธีการที่พิสูจน์ แล้วว่า เกิดผลดีต่อผลการเรียนรู้ของศิษย์

วิธีการดังกล่าวคือ การบูรณาการการประเมินเพื่อพัฒนา (formative assessment) เข้าไปในกระบวนการ เรียนรู้ประจำวัน โดยที่สามารถเพิ่มประสิทธิผลการเรียนรู้ขึ้นได้ถึงร้อยละ ๗๐ - ๘๐ โดยที่วิธีการนี้ไม่แพง ผลการวิจัยบอกว่า การจัดบูรณาการการประเมินเพื่อพัฒนา ลงทุนน้อยกว่าการลดขนาดห้องเรียน ในระดับที่ น้อยกว่ากัน ๒๐ เท่า และมีหลักฐานว่า ในปัจจุบัน การประยุกต์บูรณาการการประเมินเพื่อพัฒนาเข้าไปใน ชั้นเรียน ให้ผลต่อการยกระดับการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลภายใต้การลงทุนต่ำที่สุด

การประเมินเพื่อพัฒนาในห้องเรียนดำเนินการโดยใช้ ๕ ยุทธศาสตร์คือ (๑) ทำความชัดเจนระหว่างครู กับนักเรียนว่าเป้าหมายการเรียนคืออะไร และเกณฑ์วัดความสำเร็จคืออะไร (๒) ดำเนินการให้เกิดชั้นเรียน ที่มีการอภิปรายแลกเปลี่ยน การทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ ที่มีหลักฐานว่าเกิดการเรียนรู้ (๓) จัดให้มีการให้ ข้อมูลป้อนกลับ ที่ขับเคลื่อนการเรียนรู้ไปข้างหน้า (๔) ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นครู หรือแหล่งเรียนรู้ ซึ่งกันและกัน (๕) ให้ผู้เรียนเป็นเจ้าของกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง

มีเทคนิคมากมายที่ช่วยส่งเสริมยุทธศาสตร์ทั้ง ๕ ข้อข้างบน โดยที่หลายเทคนิคไม่ใช่เรื่องใหม่ ครูแต่ละคนควรทดลองและเลือกเทคนิคที่เหมาะต่อสถานการณ์ของตนและใช้จนชำนาญ อย่าจับจดกับเทคนิค หรืออย่าเห่อเทคนิคใหม่ๆ จนเกินไป จุดสำคัญที่สุดคือใช้ได้ผลต่อผลการเรียนของศิษย์

คำแนะนำต่อครูคือ อาชีพครูเปิดโอกาสให้เรียนรู้ได้ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และการเรียนรู้ที่ประเสริฐสุดคือ การเรียนรู้เพื่อหาวิธีเกื้อหนุนให้ศิษย์เรียนได้ผลลัพธ์การเรียนรู้สูงและครบถ้วน

วิจารณ์ พานิช

๑๐ ม.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 09 กรกฏาคม 2014 เวลา 21:09 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ประเมินเพื่อมอบอำนาจ : ๙. บทส่งท้าย

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8739727

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า